ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเห่าเป็นวิธีที่หมาใช้สื่อสารกันตามธรรมชาติ ที่หมาเห่าก็เพราะหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น เรียกร้องความสนใจ คึก อยากเล่น หรืออีกทีคือเป็นสัญญาณเตือนว่ามีเรื่องอันตราย [1] แต่ถ้าหมาคุณมีนิสัยชอบเห่าหมาตัวอื่นๆ ก็เป็นปัญหาแถมน่ารำคาญได้ เพราะงั้นต้องรู้จักจับสังเกตแล้วรีบดัดนิสัย โดยฝึกฝนตามวิธีต่างๆ ในบทความนี้ ก่อนจะกลายเป็นพฤติกรรมอันตรายต่อไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ปลอบให้หมาผ่อนคลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าหมาคุณชอบเห่าเป็นบ้าเป็นหลังตอนจูงไปเดินเล่นหรือตอนอยู่ในรั้วบ้าน แสดงว่าเกิดอาการ ‘barrier frustration’ คือรู้สึกไม่ปลอดภัย กลัวจะถูกทำร้ายแล้วป้องกันตัวหรือสู้กลับไม่ได้ เพราะมีรั้วขังหรือมีเชือกรั้งไว้ ต้องปลอบให้หมาผ่อนคลายหายกังวล โดยใส่สายจูงแล้วยืนใกล้พอจะเห็นหมาตัวอื่น แต่ไม่ใกล้จนรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือหวงอาณาเขต [2]
    • เลือกสถานที่ที่หมาไปบ่อย คุ้นเคย เช่น สวนสาธารณะสำหรับน้องหมา หรือร้านขายสัตว์เลี้ยง [3]
    • ตอนแรกอาจต้องลองผิดลองถูกสักพัก กว่าจะเจอระยะปลอดภัยสำหรับทั้งคุณและหมา อย่างเวลาไปร้านขายสัตว์เลี้ยง ให้ยืนที่ริมลานจอดรถ แต่ห่างทางเท้า ส่วนถ้าไปสวนสาธารณะ ให้ยืนที่ริมสวนหรือมุมใดมุมหนึ่งที่ห่างออกมา
  2. พอหมาคุณสังเกตเห็นหมาตัวอื่น แต่ไม่เห่าหรือแสดงอาการใดๆ ให้รีบตบรางวัลด้วยขนมที่หมาชอบ [4] แต่อย่าให้ทีเดียวเยอะๆ หรือทีเดียวหมด ต้องค่อยๆ แบ่งให้ตลอดระยะเวลาที่หมาเห็นหมาตัวอื่นแล้วไม่แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบ [5] การให้ขนมเรื่อยๆ นอกจากเป็นการให้รางวัลว่าหมาทำสิ่งที่ถูกแล้ว ยังช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของหมาไปจากหมาตัวอื่นที่เดินผ่านด้วย
    • พอหมาตัวอื่นเดินผ่านไปแล้ว ก็หยุดให้ขนมได้ ถ้าให้ขนมหมาช่วงฝึกพฤติกรรมไปเยอะแล้ว ก็อย่าลืมลดอาหารหลักลงสักหน่อย จะได้ไม่เยอะเกินพิกัด [6]
    • พอฝึกไปนานๆ เข้า ให้เปลี่ยนขนมเป็นคำชมและการลูบแทน [7]
    • ต้องสังเกตพฤติกรรมหมาให้ดี ว่ามีสัญญาณ (เช่น ขู่ ขนตั้งชัน หรือจ้องหน้ากัน) เตรียมเห่าไหม [8] เป้าหมายของเราคือต้องให้ขนม ก่อน หมาจะเริ่มเห่าหรือกระทั่งแสดงอาการ
    • ถ้าหมั่นฝึกฝนซ้ำๆ หมาจะเริ่มหยุดเห่าหรือแสดงอาการ แล้วหันมาสนใจคุณ มองหาขนมแทน
  3. นอกจากให้ขนมแล้ว ต้องออกคำสั่งเป็นคำพูดชัดเจน ดึงความสนใจของหมามาที่คุณด้วย ให้เลือกวลี (‘ดูนี่’) หรือคำเดียวสั้นๆ (‘มอง’, ‘ดู’) และพูดซ้ำทุกครั้งที่มีหมาตัวไหนโผล่มา [9] ต้องออกคำสั่งก่อนให้ขนม หมาจะได้เชื่อมโยงคำสั่งกับรางวัล
  4. เพิ่มความท้าทายโดยจูงหมาไปใกล้หมาตัวอื่นขึ้นเรื่อยๆ (เช่น ใกล้ร้านขายสัตว์เลี้ยง หรือทางเข้าสวนสาธารณะ) ถ้าหมาของคุณเริ่มมีอาการหรือเริ่มเห่า ให้ถอยห่างออกมา แล้วค่อยฝึกเข้าใกล้ใหม่วันหลัง [11] พยายามขยับเข้าไปใกล้ขึ้นอีก 2 - 3 ไม้บรรทัดหรือ 2 - 3 เมตรในแต่ละครั้งที่ฝึก โดยให้ขนมเหมือนที่ผ่านๆ มา ขอแค่หมาอย่าเห่าหรือแสดงอาการ
    • เมื่อคุณเข้าไปใกล้ขึ้น เฝ้าดูภาษากายของน้องหมาเพื่อดูว่ามันอยากเล่นหรือออกอาการก้าวร้าวใส่หมาตัวอื่น หมาขี้เล่นจะแกว่งหางและกระโดดไปมา ในขณะที่หมาที่ก้าวร้าวและไม่เป็นมิตรจะเกร็งร่างและแยกเขี้ยวยิงฟัน [12]
    • อาจจะต้องใช้ไอเดียหน่อยว่าจะพาน้องหมาขยับเข้าไปใกล้ยังไงดีไม่ให้ตื่น เช่น ถ้าอยู่แถวร้านขายสัตว์เลี้ยง ก็ให้อยู่แถวทางเท้า หรือลานจอดรถ
  5. การฝึกฝนซ้ำๆ ทุกวันถือว่าจำเป็นมาก ถ้าอยากให้หมาหยุดเห่าใส่หมาตัวอื่นอย่างเห็นผล แต่ถ้าจะทำให้หมาสนใจฝึก ต้องอย่าฝึกนานเกิน 5 - 10 นาที [13] และต้องฝึกอย่างใจเย็น สนุกสนาน มีอะไรให้หมาสนใจ มีความสุข (เช่น ขนม คำชม และการลูบ) [14]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำให้หมาเลิกเห่าตอนพาไปเดินเล่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้สายจูงที่แข็งแรงทนทาน หรือใช้สายจูงรัดอก. การพาหมาไปเดินเล่นควรเป็นเรื่องสนุก ไม่ใช่เครียดเพราะต้องมาคอยกันไม่ให้หมาเห่าหรือกระโจนใส่หมาตัวอื่น ถ้าใช้สายจูงที่ปลอกคอหรือรัดอก จะช่วยป้องกันได้เวลาหมาเริ่มเห่าหรือกระโจน ถ้าใช้สายจูงแบบรัดอกยิ่งดี เพราะจะไม่ทำหมาเจ็บเวลาดึงทันทีทันใดให้หมาถอยออกมา [15]
    • เวลาเจ้าของกลัวหมากระโจนใส่หมาคนอื่น มักชอบรวบสายจูงสั้นๆ แน่นๆ แต่จริงๆ แล้วหมา จะยิ่ง กระชาก แนะนำให้จับสายจูงให้มั่น แต่อย่าแน่นหรือตึงเกินไปจะดีกว่า [16]
    • ระหว่างเดินเล่น ถ้ามีเหตุให้ต้องดึงหมาออกห่าง ห้ามกระตุกหรือกระชากสายจูงเด็ดขาด [17]
  2. คุณห้ามไม่ให้หมาเห่าหมาตัวอื่นตอนเดินเล่นได้ด้วยหลายวิธี แต่ง่ายที่สุดคือพาหมาไปเดินเล่นที่อื่นแทน อย่างน้อยหมาก็ไม่เจอหมาตัวเดิมที่มีปัญหากัน [18] ให้เลือกที่โล่งๆ คนน้อยๆ หมาจะได้เดินเล่นได้อย่างผ่อนคลาย [19]
  3. ถ้าจำเป็นต้องพาหมาไปเดินที่เดิมจริงๆ ก็ต้องห้ามหมาไม่ให้เห่าตอนเข้าใกล้หมาตัวอื่นด้วยวิธีอื่น เช่น พอมีหมาตัวอื่นเดินผ่านมา ให้รีบหันไปอีกทาง แล้วเดินห่างออกไปจากหมาตัวนั้น ถ้าเป็นไปได้ให้ทำตามนี้ก่อนหมาคุณจะทันสังเกตเห็นหมาอีกตัว อย่ารอจนหมาแสดงอาการเรียบร้อย [20]
    • หมุนตัวไปทางด้านตัวเอง ที่หมาคุณยืนอยู่ แล้วดันเบาๆ ให้หมาหันไปพร้อมกับคุณ
    • ฝึกให้หมาหันตามคำสั่ง โดยออกคำสั่ง (เช่น ‘หัน’, ‘หมุนตัว’) พร้อมกับล่อด้วยขนม [21] ถ้าฝึกซ้ำเรื่อยๆ พร้อมรางวัล หมาจะเข้าใจและจดจำคำสั่งได้เอง
    • เรียกชื่อหมาเพื่อดึงความสนใจ แล้ววิ่งหรือเดินถอยหลังโดยที่ยังมองหน้าหมาอยู่ [22] เพื่อคงความสนใจของหมาไว้ที่คุณ ในขณะที่เพิ่มระยะห่างระหว่างหมาคุณและหมาตัวอื่น
  4. ถ้าดึงความสนใจของหมาไปจากหมาตัวอื่นได้ หมาคุณก็จะเลิกเห่าหรือหมดแรงจูงใจที่จะเห่าไป หนึ่งในวิธีดึงความสนใจก็คือโยนขนมไปที่พื้น ตอนหมาตัวอื่นเดินผ่านไป ก็จะเป็นจังหวะเดียวกับที่หมาคุณมัวแต่ก้มหาขนมที่พื้นพอดี [23]
    • หรือพกของเล่นบีบๆ ให้มีเสียงเพื่อดึงความสนใจของหมาแทน [24]
  5. เวลาหมาตัวอื่นเดินเฉียดมาใกล้หมาคุณ แน่นอนว่ามักกระตุ้นให้อยากกระโจนเข้าใส่ หรือเห่าหน่อยก็ยังดี แบบนี้ต้องสั่ง "ชิด" หรือ "heel" เพื่อป้องกันการจู่โจม ถ้าหมาทำตามคำสั่งเมื่อไหร่ก็ให้ขนมตามทันที [25]
    • แต่ระวังว่าหมาคุณอาจจะยังถูกยั่วยุให้เห่าอยู่ ถึงจะควบคุมการเคลื่อนไหวของหมาได้ก็เถอะ
  6. ถ้ามีอะไรท้าทายหน่อย เท่ากับบังคับให้หมาของคุณต้องมุ่งความสนใจมาที่คุณ ลืมหมาตัวอื่นไป เช่น ถ้าปกติคุณเดินบนทางเรียบ ก็ให้หาเส้นทางที่ลาดเอียงหน่อย [26] หรือเพิ่มความท้าทายโดยทำให้หมาจับทางไม่ได้ เช่น อยู่ๆ ก็เปลี่ยนความเร็วหรือทิศทางในการเดิน เดินอ้อมพุ่มไม้หรือต้นไม้ ไม่ก็เดินขึ้นลงฟุตบาธ (ย้ำว่าต้องดูรถดีๆ) [27]
    • ความท้าทายที่ว่าต้องทำให้หมาสนุกด้วย [28]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำให้หมาเลิกเห่าตอนอยู่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าหมาชอบเห่าหมาตัวอื่นที่เดินผ่านหน้าบ้าน ให้แก้พฤติกรรมนี้โดยควบคุมการเห่าของหมา ขั้นแรกคือต้องสอนคำสั่ง ‘เห่า’ โดยพูดว่า ‘เห่า’ แล้วทำอะไรก็ตามให้หมาเห่า เช่น เคาะประตู พอหมาเห่า 2 - 3 ครั้ง ให้ถือขนมไว้ตรงจมูกหมา แล้วให้รางวัลตอนที่หมาหยุดเห่าแล้วดมขนม [29]
    • พอหมาเข้าใจและหัดเห่าตอนคุณพูดว่า ‘เห่า’ ได้แล้ว ก็ถึงเวลาฝึกคำสั่ง ‘เงียบ’ เพื่อให้หมาหยุดเห่า โดยถือขนมที่หน้าจมูกหมาตามเดิม แล้วให้รางวัลตอนหมาหยุดเห่า ถ้าฝึกซ้ำเรื่อยๆ หมาจะเข้าใจและจดจำว่าต้องหยุดเห่าตอนคุณพูดว่า ‘เงียบ’ [30]
    • จะดีกว่าถ้าฝึกคำสั่ง ‘เงียบ’ ในมุมสงบ ไร้เสียงและสิ่งรบกวน [31] จากนั้นค่อยย้ายมาฝึกในบริเวณที่หมามักเห็นหรือได้ยินเสียงหมาตัวอื่น
    • ห้ามตะคอกหมาวว่า 'เงียบ' เพราะหมาจะคิดว่าคุณก็เห่าใส่มันเหมือนกัน!
  2. เป้าหมายคือดึงดูดความสนใจหมาไปจากการเห่าหอน [32] เช่น ตอนหมาเริ่มเห่า ให้ชวนหมาเล่นแกล้งตาย หรือ กลิ้งตัว เพราะเป็นท่าที่หมาเห่าได้ลำบากแน่นอน แถมทำให้หมาต้องเพ่งสมาธิไปที่การทำตามคำสั่งจนลืมเห่าไปเลย
  3. ถ้าหมาอยู่ในสวน ก็อาจจะยังมองเห็นและได้ยินเสียงหมาตัวอื่นผ่านรั้วที่ล้อมรอบได้ จนเห่าเป็นบ้าเป็นหลัง คุณแก้ไขพฤติกรรมนี้ได้โดยพาหมาเข้าบ้าน ไม่ให้เห็นหรือได้ยินหมาตัวอื่น [33] พอเอาหมาเข้าบ้านแล้วให้ปิดมู่ลี่หรือม่านด้วย [34]
    • ถ้าหมาไม่เห็นหรือได้ยินเสียงหมาตัวอื่นแล้ว ก็จะหมดความสนใจ เลิกเห่าไปเอง
    • หมาอาจจะมีพฤติกรรม ‘หวงอาณาเขต’ คือวิ่งไปมาตามแนวรั้วบ้าน พร้อมเห่าไล่หมาตัวอื่นไปด้วย [35] หมาอาจจะรู้สึกตื่นเต้นดี แต่พฤติกรรมนี้ทำคุณเหนื่อยหน่ายแน่นอน รวมถึงไม่ดีต่อหมาตัวอื่นและเจ้าของ ถ้าหมาแสดงพฤติกรรมนี้เมื่อไหร่รีบเอาหมาเข้าบ้านจะดีกว่า
  4. ก็เหมือนตอนพาไปเดินเล่น คือถ้ามีอะไรเบี่ยงเบนความสนใจ หมาจะหยุดเห่า เลิกสนใจหมาตัวอื่น ที่น่าลองคือของเล่นที่ใส่อาหารไว้ข้างใน แล้วหมาต้องหาทางเอาอาหารออกมา เป็นของเล่นที่ต้องใช้สมาธิจดจ่อเป็นเวลานาน หรือชวนหมาเล่นเกมกับคุณก็ได้ เช่น ซ่อนหา หรือคาบของ เท่านี้ก็ดึงความสนใจหมาได้แล้ว [36]
  5. หรือเสียงบรรยากาศนั่นเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงที่ดึงความสนใจหมาไปก็ได้ แต่เป็นการใช้เสียง white noise กลบเสียงป้ายที่ปลอกคอหมาหรือเสียงหมาที่เดินผ่านไปมาหน้าบ้าน ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าหมาเริ่มจ้องไปที่หน้าต่าง เตรียมตัวเห่า (หรือเห่าไปแล้ว) ให้เปิด white noise ทันที (เช่น ทีวี หรือวิทยุ)
    • เสียงป้ายห้อยปลอกคอหมาที่กระทบกันไปมา หรือเสียงพูดคุย เสียงหมาเดินผ่านหน้าบ้าน เป็นตัวกระตุ้นให้หมาเห่าได้เป็นอย่างดี [37]
    • พอหมาหยุดเห่าแล้ว รีบให้ขนมเป็นรางวัลที่ทำตัวดีทันที
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หมาเห่าแล้วร่างกายจะหลั่งอะดรีนาลีนออกมา ทำให้หมายิ่งตื่นเต้น รู้สึกดี [38] ซึ่งถึงหมาจะรู้สึกแบบนั้น แต่ไม่ใช่พฤติกรรมที่ควรสนับสนุนเลย
  • ถ้ารู้ตัวว่าดึงสายจูงซะตึงตอนหมาตัวอื่นเดินผ่าน ให้รีบให้ขนมหมาเพื่อจับคู่การกระทำนั้น [39] หมาจะได้เชื่อมโยงพฤติกรรมนั้นในแง่ดี ไม่เห่าหมาตัวอื่นตามปกติ
  • อาจต้องฝึกหลายวันไปจนถึงหลายอาทิตย์ กว่าหมาจะเลิกเห่าหมาตัวอื่น [40] ยิ่งปล่อยหมาเห่าพร่ำเพรื่อมานานเท่าไหร่ ก็ยิ่งแก้พฤติกรรมได้ยากและนานขึ้นเท่านั้น
  • ก่อนจะพาหมาไปเดินเล่น พยายามเล่นโยนรับ ให้หมาคาบของมาคืนสักครู่สั้นๆ หมาจะได้เหนื่อยก่อนออกไป [41] แบบนี้จะได้ไม่บ้าพลังจนเห่าใส่หมาตัวอื่นรัวๆ
  • เวลาพาหมาเดินเล่นต้องสงบนิ่ง ใจเย็น ถ้ากลัวหรือเกร็ง หมาจะเครียดตามไปด้วย กลายเป็นระแวงหรือดุได้ [42]
  • ถ้าแก้พฤติกรรมหมาชอบเห่าใส่หมาตัวอื่นเองไม่สำเร็จ ลองปรึกษาสัตวแพทย์หรือนักปรับพฤติกรรมสัตว์ดู [43]
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าไม่รีบปรับพฤติกรรม ระวังการเห่าใส่หมาตัวอื่นและพฤติกรรมก้าวร้าวของหมา จะรุนแรงขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป [44]
  • อาการตื่นเต้นตื่นตัวจนอะดรีนาลีนพลุ่งพล่านของหมา อาจกลายเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงได้ในเวลาอันรวดเร็ว ถ้าสังเกตเห็นหมาตัวเองตื่นเต้นในบางสถานการณ์เป็นพิเศษ (เช่น ตอนเดินเล่นในสวนสาธารณะสำหรับหมา หรือที่ฝากเลี้ยงที่มีหมาตัวอื่น) ก็เป็นไปได้ว่าจะตื่นตัวเกินเหตุในสถานการณ์อื่นๆ ด้วย [45]
  • ห้ามตะคอกว่า ‘อย่า!’ ตอนหมาเห่า เพราะหมาจะรู้สึกว่าคุณเห่าใส่ [46]
  • บางทีที่หมาเห่าเรี่ยราดก็เป็นอาการของโรคบางอย่างได้ แนะนำให้พาหมาไปตรวจรักษากับสัตวแพทย์ น่าจะหาสาเหตุหรือแก้ไขพฤติกรรมเห่าหรือก้าวร้าวได้ [47]
โฆษณา
  1. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  2. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  3. Beverly Ulbrich. Dog Trainer and Behaviorist. Personal interview. 30 January 2020.
  4. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=2+2085&aid=153
  5. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  6. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  7. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  8. http://shibashake.com/dog/the-squirrel-instinct-can-it-be-retrained
  9. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  10. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  11. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  12. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/help-my-dog-lunges-at-other-dogs
  13. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  14. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/help-my-dog-lunges-at-other-dogs?page=2
  15. http://yourdogsfriend.org/help/chasing/
  16. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/help-my-dog-lunges-at-other-dogs
  17. https://www.cesarsway.com/dog-behavior/barking-and-howling/5-tips-for-handling-nuisance-barking
  18. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  19. https://www.cesarsway.com/dog-behavior/barking-and-howling/5-tips-for-handling-nuisance-barking
  20. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  21. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  22. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  23. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  24. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  25. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  26. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  27. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/help-my-dog-lunges-at-other-dogs?page=2
  28. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/help-my-dog-lunges-at-other-dogs?page=2
  29. http://www.adoptapet.com/blog/stop-dog-on-leash-barking/
  30. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/help-my-dog-lunges-at-other-dogs?page=2
  31. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  32. http://www.humanesociety.org/animals/dogs/tips/how_to_stop_barking.html
  33. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  34. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=2+2085&aid=153
  35. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/help-my-dog-lunges-at-other-dogs?page=2
  36. http://yourdogsfriend.org/help/dogs/
  37. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=2+2085&aid=153
  38. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/help-my-dog-lunges-at-other-dogs

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,311 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา