ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Tai Chi Chuan (หรือ Taijiquan ซึ่งอ่านแบบภาษาจีนกลางว่า ไท่จี๋เฉวียน) คนไทยเราเรียกกันหลายชื่อ ทั้ง ไทชิฉวน ไทเก็ก และคำที่แพร่หลายที่สุดในยุคนี้ คือ ไทชิ นั่นเอง มันเป็นศิลปะป้องกันตัวของจีนที่เน้นความนุ่มนวลและการฝึกปราณภายใน มักถูกนำไปฝึกเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพและจิตวิญญาณ เพราะมันอ่อนโยน ไม่เน้นการแข่งขัน และมีท่าทางเคลื่อนไหวแบบเนิบช้า [1] ตรงข้ามกับแนวคิดตะวันตกที่ว่า “อยากได้มา ต้องฟาดฟัน” ที่จริงแล้ว การรำไทชิหนึ่งชั่วโมง ช่วยผลาญแคลอรี่ได้เทียบเท่ากับการเล่นสกีลงเขา และมากกว่าเล่นกระดานโต้คลื่นเสียอีก ดังนั้น มันจึงเป็นการออกกำลังกายอย่างแท้จริง [2] แต่นั่นเป็นเพียงหนึ่งในหลายคุณประโยชน์ของไทชิ ด้วยการเพิ่มความแข็งแกร่ง ความยืดหยุ่น ความตระหนักในกายของตน และสมาธิภายใน ไทชิจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมให้กับคุณด้วย [3]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ฝึกฝน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เคลื่อนไหวให้สมบูรณ์แบบด้วยการเข้าถึงปรัชญาและรู้จักผู้ให้กำเนิด. การจะเข้าใจธรรมชาติของไทชิฉวน (แปลว่า “กำปั้นขั้นสุดยอด”) เราต้องนำที่มาและวัฒนธรรมต้นกำเนิดมากล่าวถึงในบริบทนี้ด้วย ซึ่งหมายความว่า เราต้องมองลึกลงไปในวัฒนธรรมชาวจีนและปรัชญาเต๋า ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดและที่มาของไทชิฉวน หรือไทชิ [4]
    • กล่าวกันว่า ศิลปะแห่งไทชิ สามารถช่วยฟื้นฟูพลังชี่ หรือปราณ ซึ่งเป็นพลังชีวิตหรือพลังงานอันจับต้องไม่ได้ ตามแนวคิดของจีนโบราณ ในผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ไทชิสามารถช่วยรักษาอาการทางการแพทย์มากมาย รวมถึงอาการปวดเมื่อย โรคปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว กลุ่มอาการหลอดเลือดหัวใจ ข้อต่ออักเสบ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์คินสัน โรคอัลไซเมอร์ เบาหวาน และกลุ่มอาการสมาธิสั้น แม้ว่าการออกกำลังกายแบบไม่หนักหน่วงเช่นนี้จะเหมาะต่อผู้สูงอายุ แต่ไทชิเหมาะมีประโยชน์ทุกเพศทุกวัยและอาจดูเหมือนเรียบง่ายจากภายนอก
    • สิ่งที่ควรตระหนักเกี่ยวกับลัทธิเต๋า คือ มันเกี่ยวเนื่องกับการเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ไม่ใช่แค่ธรรมชาติภายนอก แต่รวมถึงธรรมชาติภายในตัวตนเราด้วย มันมาจากหลักการที่ เรียกว่า ซูจั่น (หรือ Ziran หากทับศัพท์ตามแบบพินอิ่น) ซึ่งมันคือหลักการผสานระหว่าง “อัตตา-ตถตา” หรือเป็นการหลอมรวมระหว่าง “ตัวตน-ธรรมชาติ” ดังนั้น ที่เหนือไปกว่าประโยชน์ด้านสุขภาพและการคลายเครียดแล้ว ไทชิยังเป็นเป็นเส้นทางไปสู่การเข้าถึงตัวตนที่อยู่ภายในเราทุกคนอีกด้วย [5]
  2. ไทชิไม่ใช่เรื่องของการวาดแขนไปข้างหน้า ไม่ ไม่ใช่เด็ดขาด ในทุกท่วงท่า มีทั้งเป้าหมาย ความลื่นไหล และในบางท่า มันสามารถใช้ต่อสู้ได้จริงๆ ขณะที่คุณกำลังฝึกรำ พยายามนึกถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย เช่น มันสื่อความหมายอะไร หรือท่วงท่าเรียบง่ายเช่นนี้ สามารถปลุกพลังงานออกมามากมายเช่นนั้นได้อย่างไร
  3. เราจะแนะนำบางท่วงท่าอย่างคร่าวๆ (มีท่ารำเยอะมาก) แต่ท่าที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐานและพบเห็นได้ตามสื่อต่างๆ ก็คือท่าสะบัดแส้ ซึ่งก็คือการนึกภาพท่อนแขนทั้งหมดของคุณ รวมถึงลำตัวช่วงบน เป็นเสมือนแส้ที่พร้อมจะระเบิดพลังงานได้ในทุกวินาที และกลายมาเป็นปลายแส้ เริ่มจะยากแล้วเห็นไหม [6]

    เคล็ดลับ: สำหรับท่านี้ โดยทั่วไปแล้ว มือข้างหนึ่งต้องทำเหมือนจะงอย ซึ่งคุณอาจจะเดาเหตุผลได้ -- เพราะมันดูเหมือนจะงอยปากนกนั่นเอง นิ้วทั้งสี่ของคุณจะสัมผัสนิ้วโป้งแบบหลวมๆ และฝ่ามือของคุณจะคว่ำลง ส่วนลักษณะของแขนนั้น ในไทชิแต่ละสไตล์จะต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้ว จะยกขึ้นมาเท่าระดับหัวไหล่และวาดออกไปคล้ายปีกสยาย

  4. สำหรับท่านี้ น้ำหนักของคุณต้องอยู่บนขาข้างใดข้างหนึ่งเสมอ แต่เท้าทั้งสองข้างจะอยู่ติดพื้นตลอด และคุณจะโยกน้ำหนักไปมาเพื่อหาจุดสมดุล ดังนั้น แขนสองข้างของคุณจะตรงข้ามกัน ข้างนึงเคลื่อนไหวเร็วและอยู่ต่างระดับกัน ส่วนอีกข้างจะเคลื่อนไหวช้าๆ อย่างบรรจง (ไม่ปวกเปียกหรืออ่อนแอ) [7]

    เคล็ดลับ: ชื่อของท่าดังกล่าวอาจดูนอบน้อม แต่มันสามารถนำไปต่อสู้ได้จริง ลองนึกดูแล้วกัน หากน้ำหนักและแขนของคุณสับเปลี่ยนอยู่เสมอ และเมื่อเทน้ำหนักทั้ง 100% ลงไปบนขาข้างหนึ่ง อีกข้างก็พร้อมจะเตะเสมอ นั่นแหละจุดประสงค์!

  5. คุณอาจทำท่านี้ตอนกำลังรอจ่ายตังที่เครื่องแคชเชียร์ก็ได้ ก็แค่ยืนด้วยเท้าสองข้าง ขนานกัน กางเท่าช่วงกว้างของหัวไหล่ จากนั้น ก็ค่อยๆ รินหรือเทน้ำหนักไปที่ขาข้างหนึ่ง และค้างไว้ หลังจากหายใจเข้าออกสองสามครั้งแล้ว ก็ค่อยๆ รินน้ำหนักให้ไหลมาที่ขาอีกข้าง และค้างไว้ ทำท่านี้สักสองสามนาที ทำใจให้ปลอดโปร่ง เพื่อตระหนักในความสมดุลของตนเอง [8]
  6. ยื่นข้อศอกไปข้างหน้า ผ่อนคลายข้อมือ และเริ่มวาดแขนออกเป็นวงกลม ขั้นแรกเริ่มวาดนิ้วเป็นวงกลมช้าๆ ก่อน จากนั้น ต่อด้วยข้อมือ ตามด้วยหน้าแขน และสุดท้ายก็วาดด้วยหัวไหล่ของคุณ พยายามรักษาสมดุลภายในให้นิ่งอยู่เสมอ [9]
    • ทำท่าวาดขาเป็นวงกลมด้วย นั่งลงและเริ่มตั้งแต่นิ้วเท้า ขึ้นมาถึงต้นขา หากจำเป็นก็อาจจะงอเข่าได้ อย่าลืมวนไปทั้งตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน
  7. ท่านี้อาจจะแตกต่างกันไปเล็กน้อยในไทชิแต่ละสไตล์ แต่หลักการโดยรวมแล้วเหมือนกัน คือ เคลื่อนจากท่ายืน ค่อยๆ ย่อลงข้างหลังไปสู่ระดับประมาณเอ็นร้อยหวาย อย่างสง่างามที่สุดเท่าที่จะทำได้ [10]
    • เมื่อย่อลงจนสุด ทดสอบความสมดุลของคุณด้วยแขนทั้งสองข้าง โดยเคลื่อนไหวมัด้ววยทิศทางและความเร็วให้แตกต่างกันไป คุณยังรักษาสมดุลได้หรือไม่
  8. สำหรับผู้ฝึกใหม่ส่วนใหญ่ คุณอาจจะอยากฝึกชุดเล็กไปเรื่อยๆ ก่อน ซึ่งมีประมาณ 13-40 ท่วงท่า และใช้เวลาประมาณ 5-20 นาที แต่เมื่อคุณเริ่มชำนาญแล้ว คุณอาจอยากยกระดับไปอีกขั้น ซึ่งท่าชุดใหญ่จะช่วยตอบโจทย์ได้ เพราะมันมีมากกว่า 80 ท่วงท่า และอาจต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งชั่วโมง ใช่แล้ว นี่แหละการคลายเครียด
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เทคนิค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อุ่นเครื่องด้วยการรวมศูนย์และหายใจอย่างถูกวิธี. เหมือนอย่างหลักการของศิลปะป้องกันตัวทั่วไป ที่ไม่ได้เน้นว่าจะกระแทกไม้กระดานหรือคว่ำคู่ต่อสู้ได้รวดเร็วและรุนแรงเพียงใด แต่หลักไทชิส่วนใหญ่ เน้นไปที่การจดจ่อภายในใจตนเอง การจะทำให้ใจของคุณปลอดโปร่ง คุณต้องโฟกัสไปที่ปราณและเข้าถึงศักยภาพในตนเอง ด้วยการเริ่มหายใจให้ถูกวิธีก่อน (และมันก็จะเป็นการรวมศูนย์ไปในตัวด้วย) [11]
    • กางขาออก ให้เท่าความกว้างช่วงไหล่ ไม่เกินนั้น
    • วางมือบนท้องช่วงล่าง ประมาณ 2 นิ้ว หรือ 5 ซม. ใต้ลิ้นปี่ กดมันเบาๆ
    • หายใจเข้าออกช้าๆ ให้อากาศผ่านมาทางจมูก (ริมฝีปากบนล่างประกบกันแค่ถากๆ) ด้วยหน้าท้องบริเวณดังกล่าว หากคุณไม่รู้สึกว่ามันกระเพื่อม ลองกดมือลงไปแรงขึ้นอีกนิด
  2. หลังจากที่หายใจในลักษณะนี้ได้คงที่แล้ว ก็เริ่มผ่อนคลายร่างกายทีละส่วน เริ่มจากเท้าของคุณและไล่ขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงกระหม่อม แยกให้ละเอียดเท่าที่คุณต้องการ แม้แต่ส่วนเล็บมือก็ยังได้ เสร็จแล้วคุณจะพบว่าตนเองนั้นมีความตึงเครียดในหลายส่วนของร่างกาย โดยไม่รู้ตัวเลย [12]

    เคล็ดลับ: หากคุณเริ่มเซ ถือเป็นเรื่องที่ดี! เพราะมันแสดงให้เห็นว่าร่างกายคุณผ่อนคลายเต็มที่ จนไม่ได้เกร็งเพื่อรักษาสมดุล หากเป็นเช่นนั้น พยายามค่อยๆ ขยับเท้าหรือท่าทาง หรือโฟกัสมาที่การรักษาสมดุล เพื่อให้ยืนได้คงที่เหมือนเดิมก่อน

  3. หนึ่งในปรัชญาของไทชิ คือ “การหยั่งราก” ซึ่งค่อนข้างแจ่มชัดในตัวมันเองอยู่แล้วว่า ให้จินตนาการคล้ายดั่งมีรากงอกฝังลงไปใต้เท้าคุณ เมื่อคุณเป็นหนึ่งเดียวกับผืนดิน ก็ไม่มีทางเสียศูนย์ สูญโฟกัส หรือขาดสมดุล แขนขาแกว่งไกวดุจกิ่งไม้ต้องสายลม ไม่หยุดชะงักด้วยความกลัวหรือสงสัย คุณได้หยั่งรากลงไปแล้ว [13]

    นี่ไม่ได้หมายความคุณและขาของคุณแข็งทื่อ ตรงกันข้ามเลย แค่ลองนึกภาพรากที่อยู่ใต้ผืนดิน เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายคุณ ก็ช่วยให้คุณเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระแล้ว เพราะคุณจะไม่มีวันล้ม ไม่ก้าวพลาด และจะเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติตลอดไป

  4. ในการรำไทชิ มีรูปแบบอยู่ไม่กี่อย่างที่ท่าทางของคุณถูกกำหนด โดยทั่วไปแล้ว ไทชิแต่ละสไตล์ ก็เอื้อต่อท่ารำแต่ละแบบ ซึ่งพื้นฐานทั่วไปมีดังนี้: [14]
    • อาณาเขตเล็ก สไตล์แบบนี้ (เป็นสไตล์แบบหวู่ หรือ ห่าว) ไม่ได้เน้นขยับขยายมากนัก ประกอบด้วยท่าทางที่แคบกว่า (ไม่แปลกใจใช่ไหม) และโดยรวมแล้วก็ใช้พื้นที่น้อยกว่า เน้นไปที่การปรับพลังงานภายใน เพื่อให้การเคลื่อนไหวและเปลี่ยนท่าถูกต้องในตัวมันเอง
    • อาณาเขตใหญ่ สไตล์แบบนี้ (เฉินและหยาง) ประกอบด้วยท่วงท่าทั้งต่ำและสูง ออกลีลามากกว่า และมีการแกว่งแขนร่วมด้วย มันเน้นไปที่การปรับท่าทางและความสอดรับของร่างกาย เพื่อปรับทิศทางพลังงานภายใน
      • มันยังมีสไตล์แบบอาณาเขตกลางด้วย แต่ก็เป็นเพียงจุดกึ่งกลางระหว่างสองแบบข้างต้น หากมีคำถาม จงถามอาจารย์ของคุณ
  5. การที่ไทชิแต่ละสไตล์ต่างก็มีดีด้วยกันทั้งสิ้น มันจึงสำคัญที่คุณควรจะลองมันทั้งหมด ดีกว่าจะไปกังวลว่าสไตล์ไหนเหมาะกับคุณที่สุด แต่เมื่อคุณเริ่มเข้าถึงมันแล้ว คุณอาจจะอยากทดลองดูบ้าง ตามสไตล์ต่อไปนี้:
    • สไตล์เฉิน เป็นการผสมผสานจังหวะ มีทั้งเนิ่นช้า และเร็วแบบสายฟ้าฟาด มันอาจยากสำหรับมือใหม่
    • สไตล์หยางเป็นที่นิยมมากที่สุด มันมีจังหวะรำที่คงที่ และอย่างที่บอกไปแล้วว่า ใช้การเคลื่อนไหวแบบอาณาเขตใหญ่ มันอาจจะเป็นภาพที่คุณนึกไว้ เวลาพูดถึงไทชิ
    • สไตล์หวู่ การเคลื่อนไหวแทบจะสังเกตไม่เห็น ซึ่งอาจทำให้รำง่าย แต่ยากในการรำให้สมบูรณ์แบบ มันเน้นโฟกัสที่การถ่ายเทพลังงานมหาศาล พร้อมด้วยการเคลื่อนไหวอย่างรัดกุมภายใน จังหวะเคลื่อนไหวจะช้าและบรรจงมาก
    • ส่วนสไตล์ห่าวนั้น ไม่ค่อยแพร่หลายเท่าไร คุณอาจจะหาอาจารย์ที่สอนแนวนี้ไม่เจอ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

มองหาคำแนะนำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไทชิมีแยกย่อยอยู่นับร้อยแบบ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีจุดเน้นเฉพาะในเรื่องของสุขภาพและศิลปะป้องกันตัวต่างกันไป นั่นหมายความว่า คุณต้องตัดสินใจว่า อยากจะได้อะไรจากการรำไทชิ ทั้งนี้ สไตล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อันสืบทอดมาจากแต่ละสายตระกูล ได้แก่ 6 สไตล์ดังนี้ เฉิน หยาง หวู่ ซุน และวู-ห่าว รวมถึง ฟะ ด้วย ซึ่งแบบหยางนั้น ได้รับความนิยมมากที่สุดในแง่ประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไรก็ดี สไตล์เฉิน อันเน้นไปที่จุดมุ่งหมายด้านการต่อสู้และมีท่วงท่าสั้นกว่า จึงได้รับความนิยมมากกว่าในแง่ศิลปะป้องกันตัว ไม่ว่าคุณจะเลือกสไตล์ไหน ก็ฝึกไปให้ชำนาญ และตระหนักไว้ว่า แม้ว่าท่วงท่าภายนอกจะต่างกันเพียงใด แต่ทุกสไตล์ล้วนแล้วแต่อยู่ภายใต้ปรัชญาเดียวกัน [15]
    • การที่มีไทชิให้เลือกหลายสไตล์ ย่อมหมายความว่า มีมากกว่า 100 ท่วงท่าและการเคลื่อนไหวให้คุณเรียนรู้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีชื่อเลียนมาจากสัตว์และธรรมชาติ
    • ความเชื่อมโยงระหว่างท่ารำไทชิในแต่ละแบบ อยู่ที่การจดจ่ออยู่กับลมหายใจที่สอดคล้องกับท่วงท่าเคลื่อนไหว รวมถึงเป้าหมายสูงสุดในการบรรลุความสงบภายใน ด้วยการจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน
  2. แน่นอนว่าทุกคนสามารถฝึกไทชิ ขอแค่คุณเลือกสไตล์ที่นุ่มนวลหน่อย ตามความจำเป็น สาเหตุเป็นเพราะว่า ไทชิเน้นที่เทคนิคมากกว่าความแข็งแก่ง เพื่อให้ทุกคนสามารถฝึกได้ โดยไม่คำนึงถึงอายุหรือพละกำลัง การออกกำลังกายแบบนี้ไม่หนักหน่วงมาก จึงเหมาะสมกับคนส่วนใหญ่ หากคุณสงสัยอะไร ลองถามแพทย์ของคุณดูก็ได้

    ข้อสังเกต: คนที่มีปัญหาข้อต่อและกระดูกสันหลัง รวมถึงโรคหัวใจ และผู้ที่ตั้งครรภ์ ควรลองปรึกษาแพทย์ถึงความเป็นไปได้ในการฝึกไทชิดูก่อน [16]

  3. การสอนไทชิไม่จำเป็นต้องมีใบประกาศฯ หรือปริญญาใดๆ รับรอง [17] หัวใจสำคัญอยู่ที่จริตของคุณกับครูผู้สอนมากกว่า แม้ว่าจะมีคำแนะนำทางสื่อต่างๆ แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเรียนผ่านทางหนังสือหรือวิดีโอ แผ่นดีวีดีไม่สามารถปรับแก้ท่วงท่าให้คุณได้ ซึ่งผู้ฝึกใหม่ทุกคนย่อมต้องมีการปรับแก้ไม่มากก็น้อย นอกจากนี้ กำลังใจที่ได้จากเพื่อนร่วมชั้นเรียนมันประเมินค่าไม่ได้ สถานที่ๆ สามารถมองหาครูผู้สอนไทชิได้ อาจรวมถึงสโมสรเพื่อสุขภาพต่างๆ ฟิตเนสเซ็นเตอร์ ศูนย์สุขภาพฯ โรงเรียนศิลปะป้องกันตัว รวมถึงสมาคม YMCA และ YWCA หรืออาจหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้สอนเพิ่มเองได้ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งปัจจัยสำคัญในการคัดเลือก มีดังนี้: [18]
    • ยังไม่มีระบบรับรองคุณภาพผู้สอนทางสากล ที่ใช้สำหรับครูผู้สอนไทชิ ซึ่งทำให้ผู้ต้องการฝึกใหม่ คัดกรองผู้สอนที่เหมาะสมได้ลำบาก คุณไม่ควรยอมรับครูผู้สอนที่ไม่สามารถตอบคำถามมากมาย และไม่สามารถแก้ไขท่วงท่าให้ผู้เรียนแต่ละคนได้ ดังนั้น การเชื่อสัญชาติญาณตัวเองและเลือกผู้สอนที่คุณรู้สึกถูกใจ จะดีที่สุด
    • หากคุณยังเป็นมือใหม่ในวงการ มันก็เป็นที่ยอมรับได้ หากคุณจะเรียนกับผู้ที่ฝึกมาก่อนจนชำนาญกว่าคุณ
    • หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ ต้องดูว่าคุณมีอาการเจ็บป่วยใดๆ ที่ต้องการๆ เฝ้าระวังเป็นพิเศษหรือไม่ เช่น ข้อต่ออักเสบ หรือโรคปลอกกระดูกอักเสบ เป็นต้น หากมี ก็จำเป็นที่จะต้องเลือกผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการสอนผู้ที่มีอาการเช่นคุณ
    • การหาครูผู้สอนที่สามารถเดินทางมาสอนได้รวดเร็ว เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการขีดฆ่าท่ารำไทชิที่คุณตั้งใจฝึกให้สำเร็จ ออกไปทีละท่าๆ จงหาผู้สอนที่อยู่ใกล้และติดต่อได้ง่าย
    • จ่ายในราคาที่คุณรับไหว ชั้นเรียนเก๋ๆ กับชุดฟอร์มที่แถมให้ อาจไม่มีค่าอะไรมากมาย หากคุณไม่ได้เรียนรู้มันอย่างแท้จริง ชั้นเรียนแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ จะสอนกลางแจ้ง และดูไม่ค่อยเป็นทางการเท่าไร หากเทียบกับโรงเรียนสอนเทควันโดทั่วไป
    • มีกระบวนการที่กำลังแพร่หลายในวงการไทชิ ที่บังคับให้ผู้สอนต้องสำเร็จชั่วโมงการสอนครบ 200 ชั่วโมงถึงจะได้เป็นสมาชิกระดับอาชีพของสมาคมไทชิแห่งชาติ (NQA).
  4. ไม่สำคัญว่าผู้สอนไทชิจะเป็นคุณแม่รุ่นใหม่ย้อมผมสีทอง หรือเป็นผู้เฒ่าแก่ๆ ไว้หนวดขาวยาวรุงรัง จงเลือกเรียนกับผู้ที่สอนแนวทางที่เหมาะกับคุณ ไม่สำคัญว่าพวกเขาจะความรู้แน่นเพียงใด หากคุณไม่สามารถเข้าใจพวกเขา คุณจะไม่ได้เห็นจากประสบการณ์ตรงในการเรียนของคุณกับพวกเขา จงแน่ใจว่า ได้เลือกครูผู้สอนที่มีเป้าหมายเดียวกับคุณ (เช่น เรื่องสุขภาพ หรือการป้องกันตัว ฯลฯ) หากอยากจะรู้แนวทางของแต่ละที่ก่อน คุณอาจจะไปลองเรียนแบบยังไม่ต้องสมัครหรือลงทะเบียน ผู้สอนที่ไม่ยอมให้ทดลองเรียนก่อน แสดงว่ามีบางอย่างปิดบัง ส่วนคนชอบขนานนามตัวเอง หรือชอบย้ำให้คุณเรียกพวกเขาว่าอาจารย์ ก็อย่าไปเรียนกับคนแบบนั้น ผู้สอนไทชิที่แท้จริง มักจะบอกคุณว่า พวกเขาก็กำลังเรียนรู้ไทชิอยู่เหมือนกัน ทั้งๆ ที่พวกเขาเรียนมาหลายปีแล้วก็ตาม [19]

    จำเอาไว้ว่า ไทชิไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแข่งขัน คุณไม่ได้ไปเรียนเพื่อแข่งกับผู้สอนหรือลูกศิษย์ในชั้นเดียวกัน คุณไปร่วมชั้นเรียนเพื่อเรียนรู้ ให้เกียรติ และสืบทอดศิลปะชนิดนี้จากผู้สอน

    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ก้าวสู่ความชำนาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การอ่านนิตยสารเก๋ๆ เกี่ยวกับไทชิ อาจเป็นเรื่องสนุก แต่วิธีเดียวในการพัฒนาท่ารำไทชิได้ คือ การฝึกฝน ในชีวประวัติของปรมาจารย์ไทชิอย่าง Chen Fake ผู้เป็นตำนานอย่างเขา ยังเคยยอมรับว่า เขาต้องฝึกไทชิสไตล์ของเขาเอง มากกว่า 30 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว แม้ว่าคุณอาจไม่จำเป็นต้องฝึกหนักแบบเขา แต่อย่างน้อยฝึกวันละครั้งก็ยังดี ถ้าอยากเห็นผลเป็นรูปธรรมและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นต่ำที่สุด คือ ฝึกสองครั้งต่อสัปดาห์ เวลาฝึก ควรโฟกัสไปในท่าที่คุณจำได้ อย่าตำหนิตัวเองกับส่วนที่จำไม่ได้ พยายามเน้นการปรับปรุงส่วนที่พอทำได้ แม้ว่าคุณอาจจะจำได้แค่ท่าเดียว การยืนและฝึกท่านั้นต่อไปก็ดีสำหรับคุณแล้ว [20]
    • จัดตารางกิจวัตรเพื่อให้ทั้งง่ายต่อการจดจำ และเพื่อให้คุณเชื่อมโยงความสุขในแต่ละวันไปกับการฝึกรำไทชิ
    • สิ่งที่คุณจะได้รับจากไทชิ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับว่า คุณฝึกอย่างไรและมากแค่ไหน การจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ต้องมีความต่อเนื่อง คุณควรจัดสรรเวลาสัก 15 นาทีในแต่ละวัน เพื่อใช้เป็นเวลาในการใส่ใจร่างกายตัวเอง และทำให้จิตใจปลอดโปร่งจากการรำไทชิ ผลที่ได้จะคุ้มค่า
    • คุณสามารถฝึกได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง เดี่ยวหรือกับเพื่อนก็ได้ อะไรก็ตามที่เหมาะสมกับคุณที่สุด ไทชิย่อมดีต่อคุณ
  2. คุณต้องมีเวลาอย่างน้อยสามเดือนก่อนที่จะเห็นผลดีจากไทชิ ในช่วงนั้น ผลลัพธ์น่าจะชัดเจนและกำลังเข้าที่แล้ว อย่าเพิ่งท้อแท้ ให้เวลาตัวเองอย่างน้อยเท่าที่บอกมา เพื่อรอดูผลลัพธ์ก่อน และเมื่อถึงจุดนั้นแล้ว ก็พยายามฝึกต่อไปเพื่อผลลัพธ์ที่มากยิ่งขึ้น และเพื่อทักษะการรำที่ดีขึ้นด้วย [21]
  3. ระหว่างชั่วโมงการฝึกไทชิ คุณควรจะกำจัดสิ่งรบกวนและจดจ่อกับการฝึก ช่วงของการสูดลมหายใจลึกๆ และการผ่อนคลาย สามารถช่วยคุณได้ :
    • ผ่อนคลาย การเกร็งร่างกายเป็นวิธีดีที่สุดในการกันตัวเองออกจากประโยชน์ของไทชิ อย่างไรก็ตาม การผ่อนคลายไม่ได้หมายถึงอ่อนปวกเปียก จงรักษาท่าทางเอาไว้โดยปราศจากการเกร็ง ตำราคลาสสิกของไทชิ ได้กล่าวถึงลักษณะเช่นนี้เอาไว้ว่า เป็นการยืน "ราวกับว่า มีเชือกเส้นหนึ่งผูกโยงที่ยอดกระหม่อมและดึงเราเอาไว้"
    • หายใจ ความลับส่วนหนึ่งของประโยชน์ที่เราได้รับจากไทชิ มาจากการหายใจลึกๆ จากช่องท้อง สไตล์ส่วนใหญ่จะสอนให้วิธีการ “หายใจจากช่องท้อง” ซึ่งเป็นการหายใจให้เกิดการขยายภายในช่องท้อง (ไม่ใช่บริเวณหน้าอก) และยุบลง เมื่อหายใจออก โดยลมหายใจเข้าจะผ่านทางจมูก ส่วนลมหายใจออกจะผ่านทางช่องปาก โดยให้ลิ้นแตะที่เพดานปากด้วย เพื่อกระตุ้นต่อมน้ำลาย
    • อยู่กับปัจจุบัน พยายามพัฒนาทัศนคติแบบไทชิ ด้วยการอยู่กับปัจจุบัน แทนที่จะเครียดในเรื่องที่กำลังกังวล
  4. หลังจากที่คุณเริ่มรำไทชิคล่องแล้ว ลองหันมาใช้มันในชีวิตประจำวันบ้าง ฝึกปรัชญาไทชิในสถานการณ์เครียดต่างๆ เช่น รถติด หรือประชุมเครียดๆ เป็นต้น เพื่อให้ความเครียดลดลง และคืนความสุขสงบภายในจิตใจกลับมาอีกครั้ง [22]
    • ในฐานะที่เป็นการทำสมาธิรูปแบบหนึ่ง ไทชิสามารถช่วยให้คุณรู้จักตัวเองมากขึ้นและรับมือกับคนอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เวลาเกิดสถานการณ์เครียดๆ ขึ้น การฝึกไทชิจะช่วยให้คุณกล้ายืนหยัด และให้เกียรติผู้อื่นด้วย รวมถึงจดจ่ออยู่กับปัจจุบันและรับมือสถานการณ์ตรงหน้าด้วยความสงบ ไทชิจะช่วยให้คุณผสานพลังขั้วตรงข้ามของหยินและหยาง หรือตัวเองและโลกใบนี้ เพื่อบรรลุความสมดุลภายในตามธรรมชาติ เพื่อความสุขทั้งทางกายและทางจิตวิญญาณ ความสมดุลดังกล่าวเป็นไปตามสัญลักษณ์ของไทชินั่นเอง
  5. หลังจากที่คุณได้บรรลุความชำนาญในการรำขั้นพื้นฐานมาแล้ว ลองฝึกข้ามแบบข้ามสไตล์ดูบ้าง เพราะมันมีประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ของไทชิ การฝึกฝนที่ขึ้นชื่อของไทชิ คือ การฝึก “มือ” ซึ่งสามารถรำแบบเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ แต่ไทชิยังมีท่าทางและรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและทักษะการป้องกันตัวของคุณอีกมาก ผู้สอนไทชิส่วนใหญ่ จะฝึกท่วงท่าเหล่านั้นต่อไป หลังจากที่ได้ชำนาญในท่วงท่าวิชามือนี้แล้วเท่านั้น
    • ศึกษาเกี่ยวกับท่าทางที่ใช้อาวุธ สไตล์ของไทชิส่วนใหญ่ รวมถึงสไตล์ที่ละเลยต่อการนำไปต่อสู้ด้วย จะมีรูปแบบการฝึกไทชิร่วมกับอาวุธด้วย ซึ่งมีตั้งแต่ดาบหรือไม้เท้าธรรมดาๆ ไปจนถึงอาวุธพิสดารของจีนโบราณ
    • ลองฝึกท่วงท่าที่เร็วขึ้น มันเป็นเรื่องเสียดสี และยังตรงข้ามกับความคิดของคนทั่วไปที่มีต่อไทชิด้วย ก็คือข้อเท็จจริงที่ว่า ไทชิตามสไตล์ที่สืบเชื้อสายมาดั้งเดิม (รวมถึงหยาง เฉิน ฟะ และหวู่) นั้น มีท่วงท่าแบบรวดเร็วรวมอยู่ด้วย ซึ่งรูปแบบของท่าดังกล่าวมักใช้ในแง่ที่ต้องการสำแดงพลังการต่อสู้ อันถูกขัดเกลาและรวบรวมอยู่ภายใต้ท่วงท่าการฝึกแบบเชื่องช้า โดยมีชื่อเรียกแบบสไตล์เฉินอีกอย่างว่า “กำปั้นปืนใหญ่” (เป๋าฉุ่ย)
    • เรียนรู้การฝึกแบบคู่ หากการฝึกตามรูปแบบเป็นการออกกำลังกายตามหลักไทชิสำหรับคนๆ เดียว การฝึกไทชิ “ดันมือ” ก็ถือเป็นการออกกำลังกายสำหรับแบบคู่ แม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว ตอนนี้มันถูกนำมาใช้ในการต่อสู้แข่งขันรูปแบบหนึ่ง แต่ที่จริงแล้ว มันถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะและความอ่อนไหวในแบบไทชิ ที่เน้นการประสานกายกัน โดยทั่วไปแล้ว การฝึกฝนดันมือนั้น มีพัฒนาการเรื่อยมา คือ เริ่มด้วยการฝึกท่วงท่าอันมีรูปแบบตายตัวด้วยมือข้างเดียว กลายมาเป็นแบบมีจังหวะเคลื่อนไหวและฝึกด้วยสองมือ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน มีความต่างเพียงในเรื่องของระดับสูงต่ำและความช้าเร็ว
  6. การฝึกภาคปฏิบัติถือเป็นส่วนหนึ่ง แต่การศึกษาความหมาย ปรัชญาที่ซ่อนอยู่ และประวัติของไทชิ ก็ต้องอาศัยเวลาและส่วนใหญ่ควรจะทำในเวลาส่วนตัวของคุณ นี่ถือเป็นส่วนสำคัญของไทชิ เนื่องจากมันจะช่วยให้คุณได้มีเวลาทำความเข้าใจว่า ไทชิสามารถเสริมสร้างกายและใจของคุณได้อย่างไร และยังช่วยให้คุณเกิดไอเดียในการฝึกไทชิอย่างสุขสมบูรณ์มากขึ้น แนวคิดของคนอื่นที่มีต่อไทชิ ก็สามารถแลกเปลี่ยนกับคุณได้ แถมคุณยังสามารถนำแนวคิดของพวกเขามาลองปรับใช้ในการฝึกไทชิเพื่อค้นหาบทสรุปที่ลงตัวกับคุณมากที่สุด
    • อย่าเกรงใจที่จะถามผู้สอนไทชิของคุณ เกี่ยวกับแนวทางในการศึกษาไทชิด้วยตนเอง เช่น ควรจะอ่านศึกษาจากแหล่งไหน หรือการถามในสิ่งที่คุณสงสัยหลังจากที่อ่านมาแล้ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเข้าใจให้แก่คุณอีกมากโข
    • ศึกษาหนังสือเกี่ยวกับ “เต๋าเต้อจิง” และ “อี้จิง” ด้วย ตำราเหล่านี้มีการพูดถึงแนวคิดเกี่ยวกับ “ชี่” และทำให้คุณเข้าใจกลไกเวลาที่มันถูกสกัดกั้นอยู่ภายในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เคลื่อนไหวช้าๆ ด้วยความเร็วคงที่ จำไว้ว่า คุณไม่ได้กำลังบริหารแค่ร่างกาย แต่ยังต้องบริหารพลังงานภายในร่างกายด้วย
  • พยามนึกถึงการเคลื่อนไหวร่างกายราวกับว่ามันเป็นหนึ่งเดียวกันทุกส่วน ไม่แยกจากกัน เช่น หากจะแกว่งแขนไปข้างหน้า ก็ให้นึกว่าแกว่งตั้งแต่ช่วงขามาเลย ไม่ใช่แค่แขนส่วนเดียว ตามตำราดั้งเดิมเรียกว่า การเคลื่อนไหวจาก “ตันเถียน” คือ บริเวณศูนย์กลางร่างกาย ซึ่งอยู่ใต้ลิ้นปี่เล็กน้อย การเคลื่อนไหวร่างกายแบบองค์รวม เป็นแหล่งกำเนิดของ ”พลังจากภายใน” (เหน่ยจิ้น) ตามหลักการป้องกันตัวแบบไทชิ
โฆษณา

คำเตือน

  • ไทชิเป็นศิลปะป้องกันตัวและถูกใช้ในการต่อสู้มาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่าคิดว่ามันเป็นการออกกำลังกายของคนจีนเท่านั้น การทำเช่นนี้ถือเป็นการดูถูกผู้ฝึกไทชิและย่อมจะถูกมองว่าโง่เขลาด้วย
  • อย่าให้หัวเข่าคุณถอยไปไกลกว่าช่วงโคนนิ้วเท้า หรือพับเข้าด้านใน นี่เป็นความผิดพลาดที่พบได้ทั่วไปสำหรับผู้ฝึกไทชิใหม่ๆ เวลาที่พวกเขาพยายามผ่อนคลายและ “หยั่งราก” ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าอย่างรุนแรง
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • รองเท้าส้นแบน เพราะในการฝึกไทชิ เราต้องรักษาความเชื่อมต่อกับพื้นดินเอาไว้ ดังนั้น รองเท้าส้นสูงหรือส้นหนา จึงไม่ค่อยเหมาะสม
  • เสื้อผ้าหลวมสบายเล็กน้อย กระโปรงและยีนส์ไม่เหมาะสม
  • ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดเป็นพิเศษ นี่คือสิ่งที่น่าสนใจสิ่งหนึ่งในการฝึกไทชิ เพราะมันประหยัดงบ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 47,312 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา