PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ทักษะทางสังคมที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการมีชีวิตที่ดี มีความสุข และเพลิดเพลินเจริญใจ ทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และเป็นทักษะจำเป็นเสียด้วยหากคุณเป็นคนทำงานหรือเรียนอยู่ งานศึกษาหลายชิ้นได้พิสูจน์พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างทักษะทางสังคมและสุขภาพจิต [1] แม้คุณจะบอกว่าคุณเป็นคนเก็บตัว วิกิฮาวก็จะให้คำแนะนำในการพัฒนาทักษะทางสังคมที่คุณนำไปใช้ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับปรุงการสื่อสารด้วยวาจาให้ดีขึ้น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าพูดเบาไปหรือดังไป พูดด้วยความดังที่คนฟังได้ยินง่าย และแสดงถึงความมั่นใจ แต่อย่าให้ฟังดูก้าวร้าวเด็ดขาด
    • อย่าลืมปรับระดับความดังของเสียงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
    • หากเป็นไปได้ ให้คุณพูดด้วยระดับความดังและน้ำเสียงที่เท่าๆ กันกับผู้คนรอบตัวคุณ ณ ตอนนั้น
  2. คุณสามารถเริ่มจากการพูดเรื่องทั่วๆ ไปหรือเรื่องที่คนต่างเห็นพ้องว่าจริงแทนที่จะพูดเรื่องที่เป็นส่วนตัวเกินไป เพราะนั่นอาจเป็นการไปดูถูกหรือทำให้คนฟังไม่พอใจได้ ให้พูดถึงอากาศ หรือสถานการณ์ปัจจุบันที่คุณได้ยินจากข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ หรืออาจกล่าวชมเสื้อผ้าหรือผมของใครสักคนก็ได้ [2] การพูดเจ๊าะแจ๊ะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันอาจยากที่จะต้องเจาะจงหาเรื่องบางเรื่องมาคุย และนี่เป็นตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ:
    • "หมวกสวยนะครับ/ค่ะ ซื้อมาจากไหนหรือ”
    • "นี่มันอากาศบ้าบออะไรกันเนี่ย"
    • "ผม/ฉันรักวิวตรงนี้มากๆ เลย"
    • "คลาสเรียนวิชาอาจารย์เจมส์น่าสนใจมากเลยนะ ว่ามั้ย"
  3. หลังจากที่คุยกันเรื่องทั่วๆ ไป เช่น เหตุการณ์ปัจจุบัน ลองพูดเรื่องที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น หรือเรื่องที่ผู้สนทนาสามารถเชื่อมโยงกับตัวเองได้ ถามคำถามที่ช่วยให้รู้จักอีกฝ่ายมากกว่าเรื่องผิวเผิน เช่น ถามคำถามเกี่ยวกับครอบครัวอย่างสุภาพ หน้าที่การงาน หรืองานอดิเรก สามารถทำให้สนทนาดำเนินไปได้นานขึ้นและมีความหมายมากขึ้น จำไว้ว่าการสนทนาอาศัยคนท้ังสองฝ่ายเพื่อจะเลี่ยงเหตุการณ์ที่ใครพูดน้อยหรือพูดมากเกินไป พยายามถามคำถามปลายเปิดให้มากเท่าที่จะมากได้ พูดอีกอย่างก็คือ ให้เริ่มด้วยการถาม "อย่างไร" "ทำไม" หรือ "อะไร" แทนที่จะถามสิ่งที่อีกฝ่ายตอบได้แค่ "ใช่" หรือ "ไม่" ไม่ได้ช่วยให้คนที่คุณกำลังคุยด้วยพูดอะไรได้มากกว่านั้น และนี่เป็นไอเดียในการทำให้บทสนทนาดำเนินไปได้ยาวนาน และลึกซึ้งขึ้น:
    • "แล้วคุณทำงานอะไรหรือ"
    • "เล่าเรื่องครอบครัวคุณให้ฟังสักหน่อยได้มั้ย"
    • "คุณรู้จักกับเจ้าภาพงานปาร์ตี้นี้ได้ยังไง"
    • "คุณเข้าร่วม/เป็นสมาชิกกลุ่มคุมน้ำหนักมานานแค่ไหนแล้ว"
    • "สุดสัปดาห์นี้คุณมีแผนจะทำอะไร"
  4. อยู่ให้ห่างจากหัวข้อสนทนาที่จะสร้างความโกรธเคือง. มีบางหัวข้อที่คุณไม่ควรพูดถึงเวลาที่พูดคุยกับคนที่คุณไม่ได้รู้จักดีมากสักเท่าไหร่ โดยทั่วไปจะหมายรวาถึงหัวข้อที่ชวนให้เกิดความขัดแย้งอย่าง ศาสนา การเมือง หรือชาติพันธุ์/เชื้อชาติ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น:
    • แม้ว่าการถามคำถามเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นจะไม่ได้เป็นเรื่องน่าเกลียดอะไร มันก็อาจจะสร้างความขุ่นเคืองได้ถ้าไปถามคนอื่นว่าเขาเลือกผู้สมัครคนไหน
    • แม้ว่าการถามคำถามทั่วๆ ไปเกี่ยวกับศาสนาของเขา มันอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีที่จะถามเขาเกี่ยวกับมุมมองของศาสนาของเขาที่มีต่อเรื่องทางเพศ
  5. จบบทสนทนาด้วยความสุภาพแทนที่จะตัดบทและจากไปดื้อๆ. คุณควรพยายามรักษามารยาทในการสนทนา บอกอีกฝ่ายด้วยคำพูดดีๆ และไม่สร้างความขุ่นเคืองว่าคุณต้องไปแล้ว และทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณสนุกที่ได้พูดคุยกับเขา [3] ลองจบด้วยคำพูดดีๆ เช่น:
    • “ผม/ฉันต้องรีบไปแล้ว แต่หวังว่าเราจะพบกันอีกเร็วๆ นี้”
    • "คือ ผม/ฉันมีนัดกับธนาคาร แต่การได้คุยกับคุณมันสนุกทีเดียวเลย"
    • "ผม/ฉันรู้ว่าคุณยุ่ง ผม/ฉันจะปล่อยคุณไปทำธุระแล้วล่ะ ดีใจที่ได้คุยกับคุณนะ"
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

พัฒนาอวัจนภาษา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ภาษากายของเรามักจะสื่อสารที่มีพลังมากกว่าคำพูด [4] จำไว้ว่าภาษากายมีบทบาทสำคัญต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม ระมัดระวัง และใช้เวลาไตร่ตรองสิ่งที่คุณสื่อไปยังผู้อื่นผ่านท่าทาง การจ้องตา และสีหน้าของคุณ
    • หากคุณเลี่ยงการสบตา ยืนห่าง หรือกอดอก นั่นอาจเป็นการบอกกลายๆ ว่าคุณไม่อยากจะสนทนากับอีกฝ่าย [5]
    • ใช้ท่าทางที่แสดงความมั่นใจและยิ้มให้มากขึ้นสักหน่อย สบตากับคนที่คุยด้วยบ่อยๆ ยืนตัวตรงและอย่ากอดอก วิธีนี้น่าจะช่วยให้คนที่คุณสนทนาด้วยประทับใจในตัวคุณได้บ้าง
  2. สังเกตดูว่าคนอื่นๆ มีท่าทางยังไงระหว่างที่มีปฏิสัมพันธ์กันในสถานการณ์ต่างๆ. จับตาดูภาษากายของผู้อื่นให้ดี และพิจารณาดูว่าทำไมพวกเขาถึงทำได้ดีเวลามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น สังเกตท่าทาง มือไม้ สีหน้า และดูว่ามีการสบตาเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน ลองคิดดูว่าคุณจะลองทำตาม หรือพัฒนาภาษากายของคุณเวลาที่พูดคุยกับคนอื่นได้อย่างไรบ้าง
    • บอกให้ได้ว่าในกลุ่มคนที่คุณจับตามองอยู่ พวกเขารู้จักกัน 'ดีขนาดไหน' สิ่งนี้สำคัญเพราะภาษากายที่ใช้ร่วมกันในหมู่เพื่อนสนิทที่กำลังคุยกันอยู่ มีความแตกต่างกับภาษากายที่คนแปลกหน้าสองคนใช้เวลาคุยกันอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้จะอยู่ในสถานการณ์ปกติทั่วไปก็ตาม
    • บันทึกสิ่งที่สังเกตเห็นไว้ในใจ วิธีนี้เป็นแนวทางและช่วยให้คุณตระหนักรู้ถึงภาษากายที่คุณแสดงออกมามากขึ้นกว่าเคย
  3. บ้านมักจะเป็นที่ที่ดีที่สุดที่จะเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ เพราะคุณจะไม่รู้สึกเขินอายในสถานที่ที่คุ้นเคย คุณอาจลองอัดวิดีโอตัวเองเวลาสนทนากับคนในบ้าน และลองพิจารณาดูว่าคุณจะปรับปรุงภาษากายของตัวเองให้ดีขึ้นได้อย่างไร คุณยังอาจฝึกท่าทางเพื่อใช้สื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด หน้ากระจกด้วยก็ยังได้ เลือกขอความช่วยเหลือคนในครอบครัวที่คุณสนิท หรือจะเพื่อนสนิทก็ได้ - นี่ก็เป็นอีกวิธีที่ใช้ได้ดี เพราะคนเหล่านี้สามารถให้ข้อคิดเห็นที่จริงใจและเป็นประโยชน์กับคุณได้อย่างที่คนอื่นๆ ไม่สามารถให้ได้ และยังมีเคล็ดลับอื่นๆ อย่าง 'การยืด' ไหล่ไปด้านหลัง ให้กระดูกสันหลังยืดตรง และเชิดคางขึ้นให้ขนานไปกับพื้น
    • หนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกซ้อมที่บ้าน คือ บ้านเป็นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนตัว และมีแรงกดดันต่ำอย่างเห็นได้ชัด
    • อย่าเขินอาย! มันมีแค่คุณกับกระจกเท่านั้น! ขอให้สนุกกับการลองใช้ภาษากายและมือไม้ในแบบต่างๆ
  4. มุ่งมั่นกับการยิ้มอย่างจริงใจตั้งแต่วินาทีที่คุณพบหน้าอีกฝ่าย. รอยยิ้มเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ยอมรับว่าเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมที่จะแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณเปิดรับคนอื่นๆ และทำให้คนอื่นๆ รู้สึกสบายใจ แค่เพียงให้ความสำคัญกับการยิ้มเวลาที่คุณเจอคนอื่นๆ ก็จะทำให้อะไรๆ ง่ายขึ้นได้บ้าง [6]
  5. ฝึกสบตาคนให้มากขึ้นเมื่อคุณเริ่มรู้สึกไม่อึดอัดกับการมองตาคนแล้ว แต่อย่าจ้องตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณรู้สึกอึดอัดใจที่จะทำ เพราะมันอาจสร้างความรำคาญได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณนึกถึงการสบตา ให้หาใครสักคน แล้วมองตาคนๆ นั้นสัก 3-5 วินาทีก็พอ เมื่อคุณรู้สึกว่าส่ิงนี้เป็นเรื่องง่ายขึ้นแล้ว คุณก็จะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ
    • หากคุณไม่ได้อยู่ติดกับอีกคน ให้จ้องมองไปที่ติ่งหูของเขา หรือบริเวณระหว่างดวงตา ถึงจะเป็นการแสร้งทำแต่คนก็ไม่รู้หรอก
    • หากคุณเป็นกังวลเวลาสบตาคน นักจิตวิทยาสังคมบางคนแนะนำว่า ให้คุณฝึกกับคนในโทรทัศน์ เปิดข่าวดู และลองสบตากับผู้สื่อข่าว [7]
  6. ใช้เวลาเพิ่มเติมกับตัวเองเพิ่มสักเล็กน้อยระหว่างเตรียมพร้อมจะออกไปข้างนอก. คุณจะมั่นใจขึ้นกับรูปลักษณ์ของคุณ การให้เวลากับตัวเองเพิ่มขึ้นสักหน่อยเพื่อให้แน่ใจว่าคุณชอบรูปลักษณ์ของตัวเอง และรู้สึกมั่นใจ จะช่วยให้การเข้าสังคมของคุณ ไม่ว่าครั้งไหนก็ตามแต่ ง่ายขึ้น สร้างกิจวัตรที่ดีๆ ซื้อเสื้อผ้าใหม่ หรือรองเท้าใหม่ที่คุณชอบ และแต่งตัวให้ดีที่สุด ไม่เพียงเพื่อพัฒนาความมั่นใจในตนเอง แต่ยังทำให้คุณดูเป็นคนเข้าสังคมเก่งโดยธรรมชาติด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ฝึกในสถานการณ์จริง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเริ่มการสนทนากับคนที่ไม่รู้จักอาจเป็นการเสี่ยงน้อยกว่า และเป็นส่ิงที่คน ณ ที่นั้นๆ ยอมรับว่าทำได้มากกว่า และบางสถานการณ์ก็ง่ายกว่าบางสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาจะเริ่มต้นมีปฏิสัมพันธ์ ซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือธนาคารต่างเป็นสถานที่ที่มักถูกจัดว่าไม่เหมาะสมที่สุด ที่จะเริ่มต้นสนทนากับคนแปลกหน้า (คนต่างแค่ต้องการซื้อของชำให้เสร็จๆ ไป) ร้านกาแฟ การแข่งกีฬา และศูนย์กิจกรรมชุมชน เป็นสถานที่ที่เหมาะกับการพูดคุยกับคนใหม่ๆ
    • เพื่อจะได้เจอผู้คนใหม่ๆ ลองเข้าร่วมกลุ่ม เช่น ชมรมกีฬาสมัครเล่น หรือชมรมหนังสือ คลาสฟิตเนสก็มักจะเป็นสถานที่ที่ดีเยี่ยมในการเริ่มต้นการสนทนา
  2. เริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากการพูดคุยกับพนักงานที่ให้บริการคุณ. ถามบาริสต้าว่าวันนี้เป็นยังไงบ้าง ขอบคุณบุรุษไปรษณีย์เมื่อเขาแวะผ่านมา หรือถามเพื่อนร่วมงานว่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง คุณไม่ต้องรีบถามคำถามลึกซึ้งที่เป็นการละลาบละล้วง และทำให้บทสนทนาสะดุดทันที ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป จำไว้ว่า การกล่าว 'ว่าไง' เพื่อทักทายใครสังคนไม่มีอะไรเสียหาย โดยมากแล้วคุณจะไม่ได้เจอคนๆ นั้นอีกหรอก และบทสนทนาง่ายๆ เหล่านี้ก็เหมาะมากที่สุดที่จะใช้ฝึกฝน [8]
  3. เข้าหาอีกฝ่ายด้วยภาษากายที่ดูเปิดเผย และดูเหมือนคนที่สนใจที่จะทำความรู้จักอีกฝ่ายให้มากขึ้น นี่มักจะเป็นโอกาสดีที่จะมีบทสนทนาที่มีความหมาย
    • มั่นใจเวลาเข้าหาอีกฝ่าย หากคุณตื่นเต้นเกิน คุณอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแบบเดียวกันด้วย!
    • จำไว้ว่าคุณควรเก็บโทรศัพท์มือถือไปเสีย การเช็กโทรศัพท์ตลอดเวลาระหว่างพูดคุยจะสร้างความรำคาญให้คนอื่น และทำให้เขาคิดว่าคุณสนใจโทรศัพท์มากกว่าการพูดคุยกับอีกฝ่าย!
  4. หากการพบปะพูดคุยเป็นไปด้วยดี ลองบันทึกไว้ว่าอะไรที่คุณทำได้ดี และพยายามทำซ้ำในครั้งต่อๆ ไป แต่หากว่ามันแย่ ให้ประเมินสถานการณ์ในใจดู เพื่อจะได้ระบุได้ว่าอะไรกันแน่ที่ทำให้อะไรๆ มันไม่น่าประทับใจ
    • คุณเลือกเข้าหาคนที่กำลังง่วนอยู่กับการทำอะไรสักอย่าง หรือคนที่แสดงภาษากายแบบปิดกั้นการมีปฏิสัมพันธ์หรือไม่
    • ภาษากายของคุณแสดงถึงความเปิดเผยและเชื้อเชิญหรือไม่
    • คุณเริ่มบทสนทนาด้วยหัวข้อที่เหมาะสมหรือไม่
  5. ทักษะทางสังคมจะพัฒนาขึ้นด้วยการฝึกฝน ยิ่งคุณสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน คุณก็จะยิ่งทำมันได้ดีขึ้น
    • พยายามอย่าให้การมีพูดคุยที่ผ่านมาที่ไม่ค่อยดีทำให้คุณรู้สึกแย่ หลายๆ ครั้งที่เป็นแบบนั้นมันไม่ได้เป็นเพราะคุณเลย
  6. วิธีนี้มักจะให้พื้นที่ที่คุณรู้สึกสบายใจและปลอดภัย ซึ่งเป็นที่ที่การเรียนรู้ที่จะพูดคุยกับผู้คนเกิดขึ้นได้ง่าย เป็นที่ที่ไม่ได้มีแต่คุณคนเดียวที่อยากจะฝึกทักษะการพูด ทำไมไม่ลองฝึกกับคนอื่นๆ ที่ตกอยู่ในสภาพเดียวกับคุณล่ะ ความจริงที่ว่าคุณก็ต้องการพัฒนาทักษะทางสังคม แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนที่จิตใจดีและใจกว้าง เป็นคนที่ยินดีที่จะพัฒนาตนเอง ให้คุณแวดล้อมตัวเองในหมู่คนที่มีเป้าหมายเดียวกันเพื่อทำให้คุณเติบโตขึ้น [9]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สำหรับคนที่ประสบปัญหาจากความวิตกกังวลเวลาเข้าสังคม และปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ยากลำบากในการพูดคุยกับคนอื่นๆ การศึกษาหลายๆ ชิ้นไม่นานมานี้เผยว่า การบำบัดกลุ่มที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะทางสังคมให้ผลดีกับผู้ร่วมบำบัด [10]
  • หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลในการเข้าสังคม ให้ลองพิจารณาหาโอกาสร่วมกลุ่มบำบัดใกล้บ้านคุณ [11]
  • พยายามทำให้ตัวเองดูมีความกระตือรือร้นขณะที่คุณกำลังรักษามารยาทและความอ่อนน้อม การยิ้มให้เป็นนิสัยไม่ใช่สิ่งเสียหาย
  • เชิญชวนให้คนมาพูดคุยกับคุณเป็นกลุ่ม ผู้คนจะเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของคุณ และจะค่อยๆ ให้ความเคารพคุณ
  • รักษาความเป็นสุภาพชนไว้ตลอด และจงเชื่อว่าการมีปฏิสัมพันธ์โดยเคารพซึ่งกันและกันสามารถสอนอะไรหลายอย่างแก่คุณระหว่างที่คุณพยายามเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่น
  • อย่าลืมว่าประสบการณ์มักจะเป็นครูที่ดีที่สุด!
โฆษณา

คำเตือน

  • ระวังการสัมผัสตัวกันระหว่างการพูดคุย บางคนอาจไม่ถือการสัมผัสและการถูกเนื้อต้องตัวกัน อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจรู้สึกว่ามันไม่เหมาะสม หรือกระทั่งรู้สึกขุ่นเคืองใจได้ คุณต้องสร้างความสนิทสนมกับคนๆ นั้นในระดับหนึ่งก่อน เมื่อถึงตอนนั้นค่อยลองพยายามแตะไหล่หรือประสานมือทำไฮไฟว์กับเขา
  • การดื่มแอลกอฮอล์หรือเล่นยาอาจจะช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ชั่วคราว แต่มันไม่ได้พัฒนาทักษะทางสังคมของคุณในระยะยาวได้เลย
  • ทักษะทางสังคมเป็นเรื่องของวัฒนธรรม จำไว้ว่าสิ่งที่คุณสังเกตเห็นว่าเป็นสิ่งเหมาะสมสำหรับสังคมตะวันตกอาจไม่เป็นที่ยอมรับในภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศกำลังพัฒนาหลายๆ แห่ง ซึ่งผู้คนมักจะยังมีความอนุรักษ์นิยมอยู่ รวมถึงมีหลักศีลธรรมและค่านิยมที่ยึดถือต่างออกไป
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,664 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา