ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สุนัขบางตัวชอบนั่งรถเที่ยว การพามันติดตามเราไปทุกที่จึงทำให้การเดินทางของเรานั้นสนุก แต่เมื่อสุนัขไม่ได้ชอบนั่งรถเที่ยวทุกตัว เจ้าของก็ควรวางแผนการที่จะสามารถพาสัตว์เลี้ยงแสนรักขึ้นรถไปเที่ยวด้วยกันได้ ถึงแม้มันจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมสุนัขให้พร้อมออกเดินทาง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การปล่อยให้สุนัขซุกซน ปีนป่าย วิ่งไปวิ่งมาอยู่ในรถอย่างอิสระนั้นไม่ปลอดภัย อาจให้สุนัขอยู่ในกรง ถ้าหากเราต้องขับรถเป็นระยะทางไกล หรือถ้าสุนัขหวาดกลัวการนั่งรถ เพราะนี้เป็นวิธีที่ทำให้สุนัขอยู่นิ่งได้ดีที่สุดขณะที่เราขับรถ การให้สุนัขอยู่ในกรงจะช่วยให้เราจดจ่ออยู่กับการขับรถแทนที่จะต้องมาพะวงกับสุนัขที่อยู่ไม่สุข และการขาดสมาธิในการขับรถอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้ง่าย [1] นอกจากนี้กรงก็ยังช่วยให้สุนัขปลอดภัยเมื่อเราหยุดรถกะทันหัน หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้น
    • ถ้าไม่อยากให้สุนัขอยู่ในกรง อย่างน้อยก็หาวิธีอื่นที่ทำให้เราเบาใจว่าสุนัขจะปลอดภัย ตัวอย่างเช่น ถ้ารถยนต์เราเป็นรถแบบรถตรวจการ (station wagon) ให้สุนัขนั่งอยู่ที่ส่วนท้ายของรถ ถ้าส่วนท้ายรถของเรามีพื้นที่มาก ก็ให้ใส่ลูกกรงลวดเพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขกระโจนข้ามที่นั่งมาหาเรา วางผ้าห่มหรือเตียงไว้ในมุมที่สุนัขสามารถงีบหลับได้อย่างสบายช่วงระหว่างการเดินทาง อย่าให้มีวัตถุที่มีน้ำหนักใดๆ เช่น ชาม ขวด วางทิ้งไว้ เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุ วัตถุเหล่านั้นอาจพุ่งเข้ามาใส่ทำให้บาดเจ็บได้ สุนัขส่วนใหญ่จะหลับเมื่อมีอาการเมารถอยู่แล้ว
    • จะหาซื้อเบาะนิรภัยสำหรับสุนัขก็ได้ ถึงแม้เบาะนิรภัยจะไม่ปลอดภัยเท่ากรง แต่ก็ปลอดภัยและสะดวกสบายกว่าให้นั่งเบาะธรรมดา ถ้าเกิดเราต้องเลี้ยวหรือหยุดรถกะทันหัน เบาะนิรภัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือเบาะนั่งกระชับ (bucket seats) ให้ปูเบาะไว้แนบระหว่างด้านหลังของที่นั่งด้านหน้าและที่นั่งด้านหลัง เบาะนี้จะนุ่มสำหรับสุนัขและไว้รองรับฉี่ (หรือมูล!) ของสุนัขได้ จะใช้ผ้าห่มหรือใช้อะไรที่มีราคาประหยัดมาปูก็ได้
    • เข็มขัดนิรภัยสำหรับสุนัขก็เป็นเป็นตัวเลือกที่ดีอีกทาง ถ้าเราไม่อยากขังมันไว้ในที่แคบ หรือมีที่นั่งเหลือไว้ให้สุนัข ให้ติดเข็มขัดนิรภัยไว้กับสายจูง อย่าติดไว้กับปลอกคอ ปลายด้านหนึ่งของเข็มขัดติดไว้กับตัวล็อกเข็มขัดของที่นั่ง ปลายด้านหนึ่งติดกับสายจูงสุนัข การติดเข็มขัดนิรภัยเข้ากับสายจูงจะทำให้เราเบาใจว่าตัวสุนัขจะปลอดภัย และลำคอจะไม่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
    • ถ้าเราใช้กรง ก็ต้องมั่นใจว่าสุนัขอยู่ในนั้นแล้วจะปลอดภัย กรงนั้นต้องช่วยปกป้องสุนัขของเราให้ปลอดภัย ถ้าหากเราหยุดรถกะทันหัน หรือรถถูกชน กรงที่ไม่สามารถปกป้องสุนัขให้ปลอดภัยอาจเป็นอันตรายยิ่งกว่าการปล่อยให้สุนัขนั่งอยู่บนเบาะโดยไม่มีอะไรป้องกันเสียอีก
  2. ถ้าใช้กรง ก็ให้สุนัขได้ทำความคุ้นเคยกับกรงนั้นเสียก่อน. ปล่อยให้สุนัขเข้าไปหากรงเอง ให้มันดมกลิ่นทำความคุ้นเคยก่อนที่จะขึ้นรถ พอวางกรงไว้ในรถแล้ว ก็ค่อยให้สุนัขเข้ากรงไป เมื่อตรวจความเรียบร้อยของกรงและสุนัขแล้ว ก็ปล่อยสุนัขอยู่ในกรงตามลำพังสักหลายนาที จะล่อสุนัขเข้าไปในกรงด้วยของโปรดของมันก็ได้ แต่อย่าใช้กำลังบังคับให้มันเข้าไปในกรง [2]
  3. เราต้องให้สุนัขเหนื่อยก่อนจะพาเข้ากรง ถึงแม้สุนัขที่เหนื่อยจะยังรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องเข้าไปอยู่ในกรง แต่สุนัขที่ยังมีแรงเหลือเฟือพาเข้ากรงยากยิ่งกว่า
  4. ให้อาหารสุนัขก่อนออกเดินทางอย่างน้อยสองสามชั่วโมง สุนัขจะได้ไม่เมารถ
  5. จัดของที่จำเป็นสำหรับสุนัขเมื่อต้องเดินทางไกล. จัดบริเวณให้สุนัขนั่งได้อย่างสบายด้วยการวางเตียงหรือปูผ้าห่ม นำน้ำ ของกิน ปลอกคอ สายจูง ของเล่นสำหรับกัดเคี้ยวที่สุนัขชอบ และถุงพลาสติกใส่มูลสุนัขไปด้วย
  6. วางของเล่นสักสองสามชิ้นไว้ที่เบาะหลังให้สุนัขได้เล่นอย่างเพลิดเพลิน. อย่าให้ของโปรดที่เป็นกระดูกหรืออาหารแก่พวกมัน เพราะถ้าสุนัขรู้สึกคลื่นไส้ มันจะอาเจียนออกมา
    • ไม่ควรให้สุนัขเล่นพวกของเล่นที่ส่งเสียงแหลม เพราะถ้าเกิดเสียงดังหนวกหู เราจะเสียสมาธิในการขับรถ
  7. อย่าให้ยาดรามามีนหรือยาอื่นใดแก่สุนัขโดยไม่ขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ก่อน สัตวแพทย์อาจแนะนำวิธีแก้อาการเมารถวิธีอื่นให้เรา
  8. ถ้าสุนัขมีปัญหาสมาธิสั้น ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนวันเดินทาง สัตวแพทย์อาจแนะนำยาระงับประสาทแบบอ่อนที่มีขายและปลอดภัยสำหรับสุนัขของเรา โดยเฉพาะถ้าต้องพามันเดินทางไกล ใช้ยาในปริมาณตามที่สัตว์แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เดินทางไกลไปกับสุนัข

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ลูกสุนัขหรือสุนัขทำความคุ้นเคยกับการนั่งรถอย่างค่อยเป็นค่อยไป. เริ่มด้วยการให้สุนัขสำรวจรอบๆ รถของเราซึ่งจอดนิ่งไว้ จากนั้นเริ่มขับรถเดินทางในระยะสั้นๆ จนกระทั้งเราและสุนัขของเราเริ่มคุ้นเคยกับการเดินทางไปด้วยกัน
  2. ควรขับรถพาสุนัขไปสถานซึ่งทำให้มันได้วิ่งเล่นในการเดินทางสองสามครั้งแรก. อย่าเดินทางไกลตั้งแต่แรก ให้สุนัขได้ชินกับการนั่งรถทีละนิด ขับรถพาสุนัขไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะหรือทุ่งนา มันจะได้เห็นว่าการนั่งรถเป็นเรื่องสนุก ไม่ใช่แค่การไปหาสัตวแพทย์แต่เพียงอย่างเดียว
  3. ติดป้ายชื่อพร้อมข้อมูลติดต่อเจ้าของเผื่อกรณีพลัดลง. ถึงเราจะดูแลสุนัขดีมากแค่ไหน ก็ยังมีโอกาสที่สุนัขจะตกรถและพลัดหลงกับเรา ฉะนั้นติดป้ายชื่อและข้อมูลติดต่อเจ้าของไว้ด้วย คนที่พบเจอจะได้เอาสัตว์เลี้ยวแสนรักของเรามาคืนได้ ถ้าเกิดเราและสุนัขของเราเกิดพลัดหลังกันระหว่างเดินทาง
  4. ปล่อยสุนัขวิ่งเล่นไปทั่วจนกระทั่งเหนื่อย เราควรให้มันกินของว่างนิดหน่อยและดื่มน้ำเล็กน้อยระหว่างที่เราพัก เราควรพักทุกๆ หนึ่งชั่วโมงหรือมากกว่านั้นก็ได้ ออกไปเดินเล่นช่วงสั้นๆ ถึงแม้จะเป็นการเดินแถวร้านอาหารข้างทางก็ตาม ช่วงที่พักก็ปล่อยให้สุนัขได้ขับถ่าย และเราจะได้ใช้โอกาสนี้ให้มันกินน้ำด้วย การให้สุนัขได้ออกไปเดินเล่นช่วงสั้นๆ นั้นสำคัญ เพราะมันจะได้ยืดเส้นยืดสายบ้าง และหายเบื่อหน่าย
    • ถ้าการเดินทางของเราใช้เวลานานกว่าสองสามชั่วโมง นี้คือข้อแนะนำสำคัญ สุนัขสามารถทนนั่งรถได้สูงสุดโดยเฉลี่ยสี่ชั่วโมงโดยไม่มีการพัก ฉะนั้นเราต้องจอดรถพักในบริเวณที่มีหญ้า หรือบริเวณที่ค่อนข้างเงียบสงบ (ไม่ใช่ริมถนน) ล็อกรถ ให้อาหารและน้ำแก่สุนัข พาไปเดินเล่นเพื่อให้สุนัขได้ใช้พลังงานส่วนเกินไปบ้าง
    • ถ้าเราจอดรถอยู่ริมทางหลวง สุนัขต้องใส่สายจูงเพื่อความปลอดภัย
  5. วันที่อากาศร้อนอย่าปล่อยสุนัขไว้ในรถที่จอดสนิท. สุนัขอาจป่วยเป็นลมแดดอย่างรวดเร็วและตายในรถได้ ฉะนั้นอย่าทิ้งสุนัขไว้ในรถเพียงลำพังตอนที่อากาศร้อนเพื่อความปลอดภัย
    • ถ้าเราต้องจอดรถแวะซื้ออาหาร ให้จอดรถในบริเวณที่มีร่มเงา ลดกระจกลงมาประมาณหนึ่งนิ้วเพื่อให้อากาศเย็นเข้ามาภายในรถ วางชามน้ำเย็นไว้ในรถเพื่อสุนัขจะได้กิน และปลดเข็มขัดนิรภัยให้มัน ล็อกประตูและเดินมาซื้ออาหาร
    • พยายามอย่าทิ้งสุนัขไว้ในรถเกินห้านาที ถ้าวันนั้นเป็นวันที่อากาศร้อนและเราไม่อยากให้สุนัขของเราร้อนเกินไป ถ้าเราต้องทิ้งสุนัขไว้ในรถนานสักนิด เพราะกำลังต่อแถวยาวเหยียดซื้ออาหาร ให้ผูกสุนัขไว้กับเสาใกล้กับประตูหน้าของรถ หรืออยู่ใกล้กับสถานซึ่งเรากำลังทำธุระอยู่ เพื่อเราจะได้มองเห็นมันได้ ต้องผูกสุนัขไว้ด้วยเงื่อนที่แน่นหนา สุนัขจะได้ไม่วิ่งไปที่ถนน การผูกเงื่อนให้แน่นยังทำให้คนมาขโมยสุนัขยากขึ้นด้วย
  6. อย่าปลอบโยนสุนัข ถ้าเห็นมันมีอาการวิตกกังวล. เมื่อเราปลอบโยนสุนัข จะเป็นการแสดงให้เห็นว่ากำลังมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น พยายามให้ตนเองอยู่ในท่าทีที่สงบและคอยสังเกตอาการของสุนัขว่ามีความวิตกกังวลมากแค่ไหน (แทนที่จะปลอบโยน)
  7. ให้รางวัลแก่สุนัขเมื่อถึงจุดหมายปลายทางแล้ว. พาสุนัขไปเดินเล่นทันทีเมื่อมาถึงจุดหมาย ให้ของโปรด ชม และให้ความรักเพื่อเป็นรางวัลที่สุนัขอดทนเดินทางมาจนถึงจุดหมายปลายทาง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าสุนัขมีผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวผืนโปรด ให้นำติดตัวไปด้วยเพื่อให้มันสบายใจระหว่างการเดินทาง
  • พยายามให้ลูกสุนัข (ไม่ใช่ตุ๊กตา) อยู่ในสภาพ“ท้องว่าง” ด้วยการไม่ให้กินอะไรเป็นเวลา 2-4 ชั่วโมงก่อนพาขึ้นรถ การนั่งรถหลายครั้งโดยไม่มีอาการคลื่นไส้จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกสุนัขมีอาการเมารถได้มากทีเดียว
  • ถ้าต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า 24 ชั่วโมง ลองหาโรงแรมที่ให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักด้วยได้ เราและสุนัขของเราจะได้เข้าพักด้วยกันได้
  • ตอนเดินเล่นต้องนำถุงพลาสติกไปด้วยเพื่อเก็บมูลของสุนัข
  • จงอดทน มีเมตตาและรักสุนัข เพราะการเดินทางนั้นเป็นอะไรที่เคร่งเครียดสำหรับสุนัขเช่นเดียวกับเรา!
  • อย่าปล่อยให้สุนัขโผล่หัวออกนอกหน้าต่าง เพราะเศษผงอาจปลิวเข้าตาได้ หรือถ้าเกิดอุบัติเหตุ หรือเราหยุดรถกะทันหัน สุนัขก็อาจกระเด็นออกนอกหน้าต่างไป
  • พยายามให้สุนัขขับถ่ายก่อนเดินทาง จะช่วยลดโอกาสที่สุนัขจะขับถ่ายในรถของเรา และเราจะได้ไม่ต้องหาที่ให้มันขับถ่ายระหว่างเดินทางบ่อยนัก
โฆษณา

คำเตือน

  • สุนัขบางตัวอาจมีอาการคลื่นไส้ได้ง่าย คอยจับดูมันไว้และปูผ้าห่มเก่าๆ หรือกระดาษหนังสือพิมพ์เอาไว้ ถ้าเราไม่อยากให้รถเปรอะเปื้อน


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,522 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา