ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตั้งแต่เราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล ทักษะการพิมพ์ข้อความ โดยเฉพาะพิมพ์ได้อย่างรวดเร็วนั้น ถือเป็นทักษะที่สำคัญและควรได้รับการฝึกฝน ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่ต้องมานั่งหานั่งจิ้มคีย์บอร์ดทีละตัว แนะนำให้ลองฝึกพิมพ์สัมผัสดู หรือขยับนิ้วไปยังคีย์ต่างๆ ด้วยความรู้สึก ด้วยความเคยชิน แทนการเหลือบมองคีย์บอร์ดเป็นระยะ จะช่วยให้พิมพ์คล่องขึ้นเยอะเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

หัดพิมพ์สัมผัส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ทำมือป้องเหนือคีย์ พักข้อมือบนโต๊ะ อย่าออกแรงกดที่ข้อมือ นั่งหลังตรง งอข้อศอก ถ้านั่งพิมพ์ถูกท่า จะพิมพ์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น แถมช่วยให้ไม่เกร็งแขน มือ และไหล่ เวลาต้องพิมพ์นานๆ ด้วย
  2. เวลาพักมือ นิ้วทั้ง 4 ของทั้ง 2 มือ ต้องอยู่ที่จุดตั้งต้น หรือ home row (base position) ให้พักมือซ้ายที่คีย์ A, S, D และ F โดยวางนิ้วก้อยที่ A ส่วนมือขวาพักที่คีย์ J, K, L และ ; โดยวางนิ้วชี้ที่ J [1] ถ้าพักมือโดยวางนิ้วตามคีย์ตั้งต้นที่บอก ก็จะรู้ว่าตัวอักษรต่างๆ อยู่ที่ไหน นอกจากนี้จะง่ายกว่าถ้าคุณขยับนิ้วไปพิมพ์คีย์อื่นๆ ในคีย์บอร์ด โดยที่วางมือไว้จุดตั้งต้น
    • ถ้าปกติเวลาพิมพ์ก็ใช้ทุกนิ้วอยู่แล้ว ให้ฝึกพิมพ์ให้ถูกคีย์เสมอ ถ้ายังไม่ถูกหลัก ให้ฝึกพิมพ์แล้วกลับมาที่จุดตั้งต้นจนเคยชิน
    • ปกติคีย์บอร์ดทั่วไป จะมีเส้นนูนขึ้นมาตรงคีย์ "F" และ "J" เพื่อช่วยให้คุณกลับมาวางนิ้วได้ถูกตำแหน่งตามเดิมเพียงสัมผัส ไม่ต้องเหลือบตาลงมอง [2]
  3. ปกติแต่ละนิ้วจะพิมพ์เฉียงลงไปทางขวา เช่น นิ้วก้อยซ้ายใช้พิมพ์เลข 1 และตัว Q, A กับ Z ส่วนนิ้วนางพิมพ์ 2, W, S และ X นิ้วชี้ซ้ายและขวาก็ใช้พิมพ์คีย์ในแถวติดกัน เพิ่มเติมจากแถวตัวเองด้วย เช่น นิ้วชี้ขวาใช้พิมพ์ 7, U, J และ M รวมถึง 6, Y, H และ N [3]
  4. ปกติเราจะใช้นิ้วก้อยคนละมือกับที่พิมพ์ตัวอักษรอยู่ รวมถึงใช้นิ้วก้อยกดปุ่มอย่าง "Tab", "Caps Lock" และ "CTRL" ทางซ้าย และปุ่มเครื่องหมายวรรคตอน ปุ่ม "Backspace" และปุ่มลูกศร
  5. ทุกครั้งต้องพักนิ้วโป้งอย่างน้อย 1 นิ้วไว้ที่ space bar. ห้ามยกมือออกจาก space bar พร้อมกันทั้ง 2 ข้าง พอวางนิ้วโป้งที่ space bar แล้ว เท่ากับคุณไม่ต้องขยับมือไปมาเวลาจะเว้นวรรคระหว่างคำ ช่วยประหยัดเวลาพิมพ์ไปได้เยอะ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ฝึกทักษะใหม่ๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองพิมพ์ตัวอักษรแต่ละคีย์ให้คุ้นเคยว่าอะไรอยู่ตรงไหนในคีย์บอร์ด ตอนแรกจะพิมพ์ไปมองคีย์บอร์ดไปก็ได้ ต่อไปค่อยลองพิมพ์โดยมองหน้าจออย่างเดียว
  2. จะพิมพ์บทอาขยานสมัยเรียนที่ท่องจำขึ้นใจ หรือพิมพ์เนื้อเพลงโปรดก็ได้
  3. เช่น พิมพ์ pangram อย่าง "The quick brown fox jumps over the lazy dog." pangram ที่ว่าก็คือประโยคหรือวลีที่รวมทุกตัวอักษรในภาษาอังกฤษไว้ เหมาะมากสำหรับฝึกพิมพ์ เพราะทำให้คุณได้พิมพ์ทุกตัวอักษรที่มี [4]
  4. ถ้าต้องพิมพ์อีเมลหาใคร ก็อย่าใช้นิ้วจิ้มทีละคีย์ตามเดิม ให้ท้าทายตัวเองโดยพิมพ์สัมผัสให้ครบทุกนิ้ว พอเริ่มคล่องแล้ว ให้พิมพ์โดยไม่มอง อาจจะทำให้พิมพ์ช้าลงในตอนแรก แต่จะช่วยให้พิมพ์ได้ถูกหลักในระยะยาว
    • อย่าลืมไปเช็คอีเมลว่ามีตรงไหนพิมพ์ผิดบ้าง หลังฝึกเทคนิคที่ว่าไปแล้ว ตอนแรกๆ ที่เริ่มฝึกก็จะมีพิมพ์ผิดบ้าง ก็ให้แก้ไขก่อนส่งอีเมล
  5. โปรแกรมพวกนี้ช่วยให้รู้สึกสนุกกับการฝึกเทคนิคการพิมพ์เหมือนเล่นเกม ทำให้มีกำลังใจจะฝึกฝน พัฒนาตัวเอง
  6. พิมพ์ให้จังหวะสม่ำเสมอ ถึงเจอคำที่คุ้นเคยก็อย่าพิมพ์รัวๆ. ระหว่างฝึกฝน ให้ชะลอความเร็วเป็นระยะ ฝึกพิมพ์เป็นจังหวะสม่ำเสมอสัก 2 - 3 นาที โดยพิมพ์จังหวะละตัวอักษร การฝึกพิมพ์เป็นจังหวะแบบนี้จะช่วยให้เกิด muscle memory คือร่างกาย (หรือก็คือมือและนิ้ว) จะจดจำการเคลื่อนไหวได้ จำเป็นสำหรับการพิมพ์แบบรวดเร็ว [5]
  7. ถ้าชอบพิมพ์ผิดที่เดิมซ้ำๆ เช่น บางคำหรือกลุ่มตัวอักษร ให้เช็คตำแหน่งของมือ ว่าวางมือถูกหรือยัง รวมถึงอย่าเกร็งนิ้ว เพราะอาจเผลอไปกดคีย์อื่นหรือ space bar ไปด้วยโดยไม่ตั้งใจ
  8. ต้องใช้เวลาฝึกฝน กว่าจะพิมพ์เร็วพิมพ์คล่องได้ตามต้องการ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เพิ่มความเร็ว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จากนั้นแบมือช้าๆ กางนิ้วไปด้านหลังจนไม่สามารถกางต่อได้ เว้นแต่จะช่วยดัด ทำแบบนี้ซ้ำ 5 ครั้ง แล้วจะพิมพ์คล่องกว่าเดิม
  2. ถ้าต้องเหลือบมองคีย์บอร์ดเรื่อยๆ ระหว่างพิมพ์ จะทำให้พิมพ์ช้าลง เพราะทำให้ไม่ได้ใช้ muscle memory ถ้าจำเป็นต้องมองคีย์บอร์ดจริงๆ อนุโลมให้ทำได้เฉพาะตอนจะเริ่มประโยคใหม่ เพื่อเช็คตำแหน่งตั้งต้นของนิ้วเท่านั้น [6]
  3. ใช้โปรแกรมฝึกพิมพ์ที่เน้นเพิ่มความเร็วในการพิมพ์. เช่น Rapid Typing Tutor เป็นโปรแกรมที่มีหลายเลเวล ช่วยเพิ่มความเร็วในการพิมพ์ได้เมื่อฝึกฝนต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่ง [7]
  4. ฝึกพิมพ์เป็นประจำ จะช่วยเพิ่ม muscle memory พอมือและนิ้วจดจำตำแหน่งของคีย์และลักษณะการเคลื่อนไหวได้ ก็จะพิมพ์เร็วขึ้นแน่นอน
  5. เวลาพิมพ์ตอบคู่สนทนาต้องพิมพ์อย่างรวดเร็ว รอไม่ได้ ทำให้คุณพิมพ์เร็วขึ้นโดยปริยาย [8]
  6. เพราะยิ่งกระแทกคีย์แรง ก็ยิ่งเสียเวลาพิมพ์แต่ละคีย์มากขึ้นเท่านั้น คีย์บอร์ดส่วนใหญ่ไวต่อสัมผัสอยู่แล้ว แค่แตะหรือกดเบาๆ ก็พอ แถมการพิมพ์เบาๆ จะช่วยให้มือไม่ปวดหรือล้าง่ายด้วย
  7. ท่าทางการนั่งและวางมือให้ถูกต้อง จะช่วยให้พิมพ์คล่องพิมพ์ไว โดยเฉพาะอย่าเกร็งข้อมือ ให้พักข้อมือไว้แล้วทำมือป้องเวลาพิมพ์
  8. ถึงจะคิดว่าตัวเองพิมพ์คล่องแล้ว แต่ก็ไม่เสียหายถ้าจะทบทวนเทคนิคการพิมพ์ที่ถูกต้องเรื่อยๆ ให้แน่ใจว่าไม่ทำผิดพลาดตรงไหนไป
  9. หาแบบฝึกพิมพ์ (แนะนำให้ใช้ผังคีย์บอร์ด Dvorak) แล้วหัดพิมพ์. มีหลายเว็บและโปรแกรมให้เลือกใช้และเหมาะกับคุณ ย้ำว่าเวลาพิมพ์อย่ามองคีย์บอร์ด และถ้าตัดสินใจจะใช้ผังคีย์บอร์ด Dvorak ก็อย่าย้ายคีย์ไปมา เพราะจะทำให้สับสน ฝึกแล้วเห็นผลช้าลง คุณจะฝึกพิมพ์ให้เห็นผลเร็วขึ้นได้ ต้องใช้ข้อความที่เป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่ตัวอักษรหรือข้อความมั่วๆ ซ้ำๆ เพราะไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่
  10. ถ้ามั่นใจทักษะการพิมพ์ แล้วอยากท้าทายตัวเองไปอีกขั้น โดยทำลายสถิติโลก ให้ลองเข้าไปที่เว็บ [1] แล้วเลือกแบบทดสอบได้เลย พยายามเลือกที่ไม่เกิน 3 นาที จะช่วยให้ผลการทดสอบแม่นยำยิ่งขึ้น. ถ้าอยากกระตุ้นตัวเอง ให้วัดผลไว้ก่อนหัดพิมพ์ ระหว่างหัดพิมพ์ และสุดท้ายคือหลังจากฝึกพิมพ์จนคล่องแล้ว แนะนำให้เลือกแบบทดสอบต่างกันไป จะได้ไม่เผลอจดจำข้อความที่ต้องพิมพ์ (ซึ่งจะทำให้ผลออกมาไม่แม่นยำ)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลาพิมพ์ให้ใช้ทุกนิ้ว อย่าจิ้มคีย์แค่นิ้วสองนิ้ว
  • จะพิมพ์ถูกคีย์หรือผิดคีย์ ก็ใช้เวลากดปุ่มเท่ากัน เพราะงั้นพิมพ์ให้มันถูกๆ จะดีกว่า
  • ลองเข้าไปดูเว็บที่รวมแบบฝึกพิมพ์กับเกมแข่งพิมพ์กับคนอื่น ก็น่าสนุกดี ลองค้นด้วยคำว่า "Type fast games" และ "Test your typing speed" หรือ "เกมพิมพ์ดีด" ดู
  • จะใช้ Typing Master ในคอมก็ได้ เป็นโอกาสให้ได้ฝึกฝนจนพิมพ์เก่งขึ้นเรื่อยๆ
  • ถ้ารู้จักตำแหน่งคีย์พอสมควรแล้ว ลองใช้ NitroType ดู จะช่วยให้พิมพ์เร็วขึ้นได้
  • เล่นเกมออนไลน์ที่ทำให้คุณสนุกกับการพิมพ์ อย่าไปเลือกเกมแนว "type the alphabet" หรือพิมพ์ตัวอักษรอย่างเดียว เพราะจะสอนคำเดิมซ้ำๆ จนฝังหัว ไม่มีผลต่อความเร็วในการพิมพ์
  • อย่าด่วนถอดใจถ้าตอนแรกยังพิมพ์เร็วไม่ได้ ฝึกฝนไปเดี๋ยวก็เก่งขึ้นเอง พยายามเข้า
  • ฝึกพิมพ์เนื้อหาจากหน้าหนังสือ หรือพิมพ์บทความลง Microsoft Word ก็ได้
  • ฝึกฝนเป็นเรื่องดี แต่ก็อย่าหักโหมเกินไป เพราะจะทำให้มือเกร็ง เป็นตะคริว หรือปวดมือได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าเริ่มเจ็บมือ ให้หยุดพัก จะช่วยให้หายปวดมือ ไม่บาดเจ็บระยะยาว
  • ค่อยๆ ฝึกไป ถ้าปกติไม่ค่อยได้ใช้คอม ก็กำหนดเวลาฝึกในแต่ละวันแทน
  • อย่านั่งทำงานหน้าจอทั้งวันโดยไม่หยุดพัก เพราะเสียสุขภาพได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,127 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา