ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โปรแกรม Microsoft Word เวอร์ชั่นใหม่ๆ จะมีสัญลักษณ์และโครงสร้างต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ให้ได้เลือกใช้กัน จะพิมพ์ด้วยคีย์ลัดหรือเลือกจากในเมนู Equation ก็ตามสะดวก ถ้าใช้ Mac ขั้นตอนก็จะต่างออกไปนิดหน่อย รวมถึงคนใช้ Word 2003 หรือเก่ากว่าด้วย ถ้าเป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆ จะใช้วิธี "Insert Object" เหมือนใน Word 2003 ไม่ได้แล้ว แต่คุณซื้อ MathType add-in เพิ่มเติมได้ถ้าอยากใช้งานแบบเก่า

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

พิมพ์ด้วยคีย์บอร์ด (Microsoft Word 2007 หรือใหม่กว่า)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อใส่สมการในตำแหน่งที่คลิกเคอร์เซอร์ไว้ แล้วเปิด editor ขึ้นมา
  2. คุณใส่ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนตัวแปรต่างๆ ได้ แค่พิมพ์ลงไปเลย
  3. ถ้ารู้ชื่อสัญลักษณ์นั้น ก็ให้พิมพ์ \ ตามด้วยชื่อสัญลักษณ์ เช่น ถ้าจะพิมพ์ตัวอักษรกรีก theta ให้พิมพ์ \theta แล้วกด Space เพื่อแปลงเป็นสัญลักษณ์
  4. กด Space เพื่อแปลงข้อความเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ ในสมการ. ในขั้นตอนที่แล้วเราต้องกด Spacebar ก่อน ถึงจะได้สัญลักษณ์ที่พิมพ์ออกมา คุณแก้ไขสมการได้ด้วยวิธีนี้
  5. เช่น ถ้าพิมพ์ a/b (แล้วกด Space) a จะอยู่ข้างบน ส่วน b ก็อยู่ข้างล่าง
  6. วงเล็บ "()" นั้นใช้จับกลุ่มส่วนต่างๆ ของสมการใน editor ได้ เช่น (a+b)/c นิพจน์ a+b จะไปอยู่ด้านบนของเศษส่วน โดยเวลาแสดงผลไม่มีวงเล็บติดไปด้วย
  7. เช่น พิมพ์ a_b แล้ว b จะเป็นตัวห้อยของ a แต่ถ้าพิมพ์ a^b ตัว b จะเป็นเลขยกกำลังของ a ตัวห้อย (subscripts) และตัวยก (superscripts) นี้คุณใช้ได้เรื่อยๆ เป็นวิธีที่ equation editor กำหนดลิมิตให้ปริพันธ์ เช่น พิมพ์ \int_a^b แล้วกด Space จะได้ปริพันธ์จาก a ไป b
  8. คุณใส่ฟังก์ชั่นตรีโกณมิติอย่าง sin และ arctan ได้ รวมถึงฟังก์ชั่นอื่นๆ อย่าง log กับ exp แต่ต้องกด Space หลังพิมพ์ชื่อฟังก์ชั่นนั้น editor ถึงจะแสดงฟังก์ชั่นนั้นได้
  9. คุณเปลี่ยนฟอนต์ได้ระหว่างพิมพ์สมการ โดยเลือกตัวหนา (bold) หรือตัวเอียง (italic) ด้วยคีย์ลัดอย่าง Ctrl + B และ Ctrl + I ถ้าอยากพิมพ์ฟอนต์ 'ธรรมดา' ในสมการ ให้ล้อมหน้า-หลังด้วยเครื่องหมายคำถาม แต่ถ้าอยากพิมพ์เป็นตัวเขียน ให้พิมพ์ \script เช่น \scriptF จะได้ F ที่เป็นตัวเขียนออกมา
  10. พิมพ์สมการเองจะเร็วกว่ามานั่งเลือกสัญลักษณ์และโครงสร้างต่างๆ จากในเมนู แต่คุณก็ต้องพอรู้บ้างว่าต้องใช้คีย์ลัดอะไร ลองศึกษาขั้นตอนที่เราว่ามาดู ก็น่าจะพอเดาต่อได้ ว่าจะพิมพ์คีย์ลัดอื่นๆ ยังไง [1] [2] [3]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

Microsoft Word 2016, 2013, 2010 และ 2007

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แถบ ribbon จะเป็นเมนูแนวนอน อยู่ระหว่างชื่อเอกสารกับเนื้อหาของเอกสาร ให้หา tab Insert ในแถวบนสุดของเมนู แล้วคลิกเลย
  2. เมนู Insert จะมีหลายตัวเลือก แต่ตอนนี้เราจะใช้ Equations ที่อยู่ขวาสุด โดยมีไอคอนเป็นสัญลักษณ์ π (pi) ใหญ่ๆ อยู่ในกลุ่มเมนู "Symbols"
  3. จะมีกล่องโผล่มาตรงที่คลิกเคอร์เซอร์ไว้ คุณก็พิมพ์สมการลงไปในกล่องได้เลย หรือใช้ตัวเลือกอื่นในขั้นตอนถัดไป
  4. พอคลิกไอคอน Equations แล้ว ตัวเลือกในเมนู ribbon จะเปลี่ยนไป ให้สำรวจหาตัวเลือกที่ต้องการ แล้วพิมพ์สมการจนเสร็จสิ้นตามขั้นตอนข้างล่าง [4]
    • คลิกไอคอน Script เพื่อขยายเมนูลงมา จากนั้นเลือกเคอร์เซอร์มาที่แต่ละปุ่ม จะมี tooltip โผล่มาอธิบายว่าตัวเลือกนี้ใช้ทำอะไร
    • เลือก basic subscript แล้วจะมีสี่เหลี่ยม 2 อันโผล่มาในสมการ อันหนึ่งอยู่ล่างอีกอัน □
    • คลิกที่สี่เหลี่ยมแรก แล้วพิมพ์ค่าที่จะแสดงลงไป 5
    • คลิกสี่เหลี่ยมที่ 2 แล้วพิมพ์ตัวห้อย 5 3
  5. ถ้าไม่ต้องใช้ฟอร์แมตพิเศษ ก็พิมพ์สมการต่อไป Word จะใส่ช่องว่างกับตัวแปรที่เป็นตัวเอียงให้อัตโนมัติ
  6. คลิกเลือกทั้งกล่องสมการ แล้วจะเห็น tab ที่มีลูกศรทางขวา ให้คลิกลูกศรนี้เพื่อดูตัวเลือกการแสดงผลที่ต้องการ เช่น ตรงกลาง ชิดซ้าย หรือชิดขวา
    • พอคลุมข้อความในสมการแล้ว ก็เปลี่ยนฟอนต์หรือเพิ่ม-ลดขนาดฟอนต์ได้ตามปกติ
  7. ถ้าคุณใช้ Word 2016 ก็เขียน "สมการ" ด้วยลายมือโดยใช้เมาส์หรือเมาส์ปากกาได้ ให้เลือก Ink Equation จากในเมนู Equations ที่ขยายลงมา แล้วเริ่มเขียนได้เลย [5]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

Office for Mac 2016 และ 2011

ดาวน์โหลดบทความ
  1. tab นี้จะอยู่ในแถบ ribbon ถัดลงมาจากแถวบนสุดของไอคอนต่างๆ
  2. ถ้าเลือก Document Elements ไว้ Equation จะเป็นตัวเลือกขวาสุด ไอคอนเป็นสัญลักษณ์ π จะมี 3 ตัวเลือกด้วยกัน
    • คลิกลูกศรข้างไอคอน Equations จะมีตัวเลือกสมการที่ใช้บ่อยขยายลงมา
    • คลิกลูกศร แล้วคลิก Insert New Equation เพื่อพิมพ์สมการเอง
    • คลิกไอคอนเพื่อเปิดเมนูสมการเพิ่มเติมในแถบ ribbon
  3. ถ้าอยากใช้เมนูด้านบนสุด ให้เลือก "Insert" แล้วเลื่อนลงไปที่ "Equation" ในเมนูที่ขยายลงมา
    • เคอร์เซอร์ของคุณต้องอยู่ตรงที่ว่างของเอกสาร ถึงจะใช้คำสั่งนี้ได้ (เช่น ถ้าเลือกวัตถุไหนไว้อยู่ ตัวเลือกนี้จะจางๆ เลือกไม่ได้)
  4. คลิกลูกศรชี้ลงทางขวาของกล่องสมการ เมนูจะขยายลงมา คุณจะเห็นตัวเลือกสำหรับเปลี่ยนการแสดงผลสมการ
    • เช่น "save as new equation" สะดวกมากถ้าต้องใช้สมการนี้บ่อยๆ พอคลิกลูกศรข้างไอคอน Equations แล้วจะเป็นการเพิ่มสมการที่เลือก ลงในเมนูที่ขยายลงมา
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

Microsoft Word 2003

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมการที่สร้างใน Word 2003 หรือเก่ากว่า จะเอาไปแก้ไขใน Word เวอร์ชั่นใหม่ๆ ไม่ได้ ถ้าคุณต้องใช้ไฟล์เอกสารนั้นร่วมกันกับผู้ใช้ Word คนอื่นๆ ควรอัพเกรดไปใช้โปรแกรมเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่า [6]
  2. ในเมนูบนสุด ให้เลือก Insert Object Create New ถ้ามี "Microsoft Equation 3.0" หรือ "Math Type" ใน Objects list ให้เลือกเลยเพื่อใส่สมการ แต่ถ้าไม่มีก็ไปขั้นตอนต่อไป [7]
    • พอใส่สมการแล้ว จะมีหน้าต่างเล็กๆ โผล่ขึ้นมาพร้อมสัญลักษณ์ต่างๆ คุณคลิกปุ่มพวกนี้แล้วเลือกสัญลักษณ์ที่อยากใส่ในสมการได้เลย
    • ตัวเลือกฟอร์แมตของ Word 2003 จะต่างออกไปจากของเวอร์ชั่นใหม่ๆ บางสมการอาจดูไม่เนี้ยบเท่าที่ควร
  3. ถ้า Word 2003 ของคุณไม่มี add-in ที่บอกไปข้างบน ก็ต้องติดตั้งเอง ถ้าหาเพิ่มเติมอาจจะยาก ยังไงลองเช็คดูในคอมก่อน อาจจะมีแพ็คเกจพร้อมติดตั้ง [8]
    • ปิดโปรแกรม Microsoft Office ทั้งหมด
    • ไปที่ Start Control Panel Add or Remove Programs
    • เลือก Microsoft Office Change Add or Remove Features Next
    • คลิกสัญลักษณ์ + ข้าง Office Tools
    • เลือก Equation Editor แล้วคลิก Run จากนั้นคลิก Update
    • ทำตามขั้นตอนที่ขึ้น บางคนก็วุ่นวายหน่อยเพราะต้องใช้แผ่น CD ติดตั้ง Word 2003 ด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอยากพิมพ์สมการบรรทัดที่ 2 ให้กด Shift + Enter [9] Enter ใช้ออกจากสมการ หรือเริ่มสมการในย่อหน้าใหม่ อันนี้แล้วแต่ Word เวอร์ชั่นที่คุณใช้
  • ถ้าสมัครใช้ Office 365 จะได้ Word เวอร์ชั่นล่าสุดแถมมาด้วย ก็ทำไปตามขั้นตอนเพื่อเลือกเวอร์ชั่นล่าสุดที่ใช้ได้กับระบบปฏิบัติการของคุณ
  • ถ้าใช้ Word 2007 หรือใหม่กว่า แล้วอยากแก้ไขเอกสารที่สร้างใน Word 2003 หรือเก่ากว่า ให้ใช้คำสั่ง File Convert เพื่อให้แก้ไขสมการและใช้ฟีเจอร์อื่นๆ ได้ [10]
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าเซฟไฟล์เป็น .docx คนที่ใช้ Word 2003 หรือเก่ากว่าจะแก้ไขสมการในเอกสารไม่ได้ [11]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 30,273 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา