PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อพ่อแม่หย่ากัน ความรู้สึกบาดหมางและความไม่พอใจอาจนำไปสู่ภาวะจิตเวชในเด็กที่เกิดจากการถูกกีดกันจากพ่อ/แม่ ซึ่งก็คือการที่พ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กลวิธีบงการทางจิตใจที่ทำให้เด็กเชื่อว่าพ่อ/แม่อีกฝ่ายเป็นคนไม่ดีที่ไม่ได้รักหรือห่วงใยเขาเลย บ่อยครั้งที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่จริง และพ่อ/แม่ฝ่ายที่ถูกกีดกันก็จะทำทุกอย่างเพื่อหยุดยั้งพฤติกรรมบังคับจิตใจนี้และรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกไว้ ถ้าอดีตสามี/ภรรยาของคุณพยายามกีดกันคุณจากลูก คุณก็สามารถขอความช่วยเหลือจากศาลได้ แต่ก่อนอื่นคุณต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่ามีการกีดกัดคุณจากลูกจริง ซึ่งบ่อยครั้งเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

บันทึกรูปแบบพฤติกรรม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณไม่ได้ทำอยู่แล้ว ให้จดบันทึกประจำวันเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูก ได้แก่การพูดคุยหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพ่อ/แม่อีกฝ่ายหนึ่ง
    • การบันทึกว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างสำคัญต่อการพิสูจน์ว่ามีภาวะจิตเวชที่เกิดจากการถูกกีดกันจากพ่อ/แม่จริง ซึ่งบ่อยครั้งอาจหมายถึงการกล่าวโทษจากพ่อ/แม่อีกฝ่ายที่ไม่เป็นความจริง
    • เช่น พ่อ/แม่อีกฝ่ายอาจจะยื่นคำร้องต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงแผนการเลี้ยงดูของคุณเพราะคุณไม่มีเวลาอยู่กับลูก การบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่คุณและลูกมีร่วมกัน เช่น ตั๋วงานหรือกิจกรรมต่างๆ และรูปคู่คุณกับลูกอาจช่วยพิสูจน์ได้ว่าพ่อ/แม่อีกฝ่ายกำลังพยายามกีดกันลูกจากคุณหรือทำลายความสัมพันธ์ของคุณกับลูก
    • จดคำขอพิเศษของอดีตสามี/ภรรยาหรือการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับแผนการเลี้ยงดูตามคำสั่งศาลที่อีกฝ่ายต้องการ บ่อยครั้งที่พ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันจะร้องขอการปรับเปลี่ยนแล้วก็กล่าวโทษหากคุณไม่ตกลง [2]
    • บันทึกกิจกรรมสำคัญมากเป็นพิเศษหากคุณมีปัญหาในการเลี้ยงดูและการปฏิบัติตามตารางตามคำสั่งศาลบ่อยครั้ง [3]
    • จำไว้ว่าศาลจะแปรผันไปตามขอบเขตอำนาจการตัดสินใจของเด็กว่าจะไปพบพ่อแม่ที่ไม่ได้เป็นผู้ปกครองหรือไม่ และมักจะขึ้นอยู่กับอายุของเด็กด้วย แต่โดยทั่วไปศาลจะตั้งข้อสงสัยพ่อแม่ที่เปิดโอกาสให้เด็กเลือกทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับคำสั่งศาล ถ้าลูกของคุณพูดประมาณว่า "พ่อบอกว่าสัปดาห์หน้าหนูไม่ต้องมาหาแม่ก็ได้ถ้าหนูไม่อยากมา" ก็ให้จดคำพูดนั้นลงในบันทึกด้วยเพื่อเป็นหลักฐานว่าอาจมีการกีดกันเกิดขึ้น [4]
    • ถ้าคุณมีปัญหาในการสื่อสารกับอดีตสามี/ภรรยา พยายามให้การสื่อสารทุกอย่างอยู่ในรูปแบบลายลักษณ์อักษร เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้คุณทั้งคู่มีบันทึกว่าคุยอะไรกันบ้าง เก็บสำเนาข้อความหรืออีเมลไว้เพราะมันอาจเป็นหลักฐานที่มีประโยชน์หากอดีตสามี/ภรรยาของคุณอ้างในภายหลังว่าคุณไม่เห็นด้วยในเรื่องอะไร หรือพยายามอ้างว่าคุณเห็นด้วยในสิ่งที่คุณไม่เห็นด้วย [5]
    • ถ้าอดีตสามี/ภรรยาของคุณส่งข้อความกล่าวโทษหรือกีดกัน เก็บบันทึกข้อความตามลำดับเวลาเพื่อที่คุณจะได้สามารถแสดงรูปแบบการกีดกันได้ [6]
  2. พฤติกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงในทัศนคติของลูกบางอย่างอาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการถูกกีดกันจากพ่อ/แม่
    • การกีดกันมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีสัญญาณเตือนที่แตกต่างกันออกไป การเข้าใจประเภทของการกีดกันที่เกิดขึ้นอาจสำคัญพอๆ กับการรู้ว่ามีการกีดกันเกิดขึ้น เพราะบ่อยครั้งที่การกีดกันประเภทต่างๆ ต้องใช้กลยุทธ์ในการต่อสู้กับปัญหาที่แตกต่างกันออกไป [7]
    • จำไว้ว่าพ่อแม่หลายคนที่มีพฤติกรรมกีดกันลูกเห็นแก่ประโยชน์ของลูกมากที่สุด และเต็มใจที่จะขอความช่วยเหลือหากพวกเขาเข้าใจว่าพฤติกรรมของพวกเขากำลังทำลายพัฒนาการของลูกๆ อย่างไร [8]
    • การกีดกันจากพ่อ/แม่แตกต่างจากภาวะจิตเวชที่เกิดจากการถูกกีดกันจากพ่อ/แม่ในแง่ที่ว่า อาการของภาวะจิตเวชที่เกิดขึ้นมักจะพบในพฤติกรรมของเด็กมากที่สุด [9]
    • เช่น ถ้าลูกดูลังเลที่จะมาพบคุณหรือปฏิเสธที่จะใช้เวลาร่วมกับคุณ พฤติกรรมนั้นอาจเกี่ยวข้องกับการกีดกันจากพ่อ/แม่มากกว่าจะเป็นเพราะว่าลูกไม่ชอบคุณหรือไม่อยากใช้เวลาร่วมกับคุณ
    • เช่น พ่อ/แม่ที่เป็นฝ่ายกีดกันอาจจะสนับสนุนให้ลูกปฏิเสธที่จะไปพบคุณ แม้ว่าเด็กจะไม่ได้มีเหตุผลในการไม่ไปพบคุณก็ตาม สำหรับพ่อ/แม่ที่เป็นฝ่ายกีดกันแล้ว นั่นหมายความว่าลูกชอบเขามากกว่าคุณ [10]
    • ระวังว่าลูกอาจจะมีความลับร่วมกับพ่อ/แม่อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น รหัสลับหรือสัญญาณ เช่น ลูกอาจจะไม่บอกคุณว่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเธอกับพ่อทำอะไรกัน และอาจจะพูดด้วยว่า "พ่อไม่ให้หนูบอกแม่ค่ะ" หรือ "พ่อให้หนูเก็บเป็นความลับค่ะ" [11] แม้ว่าสิ่งที่พวกเขาทำอาจจะเป็นอะไรธรรมดาๆ และบริสุทธิ์ใจอย่างการไปดูแข่งเบสบอลด้วยกัน การที่อดีตสามีสอนให้ลูกปิดบังบางสิ่งจากคุณก็เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการกีดกันจากแม่
  3. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากพ่อ/แม่อีกฝ่ายพยายามทำให้ลูกเชื่อว่าคุณไม่รักหรือห่วงใยพวกเขา การเปิดโทรศัพท์ไว้ให้ลูกติดต่อได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ฟังให้ดีว่าลูกต้องการจะพูดอะไร ประเมินความสมเหตุสมผลในความรู้สึกของลูกๆ และแสดงออกอย่างชัดเจนว่าคุณห่วงใยพวกเขา
    • ระวังหากลูกแค่จำคำพูดของพ่อ/แม่อีกฝ่ายมาพูดมากกว่าที่จะแสดงความรู้สึกหรืออธิบายเหตุการณ์ด้วยคำพูดของตัวเอง [12] เช่น ถ้าคุณถามลูกว่าทำไมเธอถึงไม่มาพบคุณเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ลูกก็อาจจะบอกว่า "แม่บอกว่าพ่อยุ่งมากจนไม่มีเวลาให้หนูค่ะ"
    • ถ้าพ่อ/แม่อีกฝ่ายกล่าวโทษว่าคุณทำร้ายลูก หรือสร้างความคิดในหัวของลูกขึ้นมาว่าสิ่งที่คุณทำถือเป็นการทำร้ายอย่างหนึ่ง ให้จัดการกับข้อกล่าวหาโดยทันทีและขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญให้ลูก [13]
    • ถามลูกว่าลูกทำอะไรที่บ้านอดีตสามี/ภรรยาของคุณ แต่อย่าถามคำถามที่เป็นการซักไซ้สืบสวนหรือถามคำถามชี้นำ ถ้าลูกอยากบอกว่าพวกเขาทำอะไรที่บ้านของพ่อบ้าง ให้เต็มใจรับฟังอย่างเปิดใจ แต่อย่าสืบหรือพยายามเค้นข้อมูลที่อาจเป็นอันตรายจากลูก [14]
    • ถ้าลูกเล่าเรื่องที่บอกเป็นนัยถึงพฤติกรรมที่เป็นการทำร้ายหรือไม่ใส่ใจ ให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญแทนที่จะไม่พอใจหรือถามเรื่องนั้นต่อไป จำไว้ว่าลูกอาจจะไม่สบายใจ เพราะเธออาจรู้สึกว่าตัวเองกำลัง "นินทา" พ่ออยู่ เป็นต้น [15]
  4. ปฏิบัติตามสิทธิในการดูแลเด็กหรือคำสั่งการเยี่ยมเยียนทุกอย่าง. แม้ว่าพ่อ/แม่อีกฝ่ายจะทำทุกอย่างเพื่อแทรกแซงตารางเวลาเยี่ยมเยียน คุณก็ต้องให้ลูกมีเวลากับทั้งพ่อและแม่ให้ได้
    • ถ้าพ่อ/แม่อีกฝ่ายละเมิดสิทธิในการดูแลเด็กหรือคำสั่งการเยี่ยมเยียน ให้ติดต่อทนายและศาลทันที ย้ำกับลูกว่าต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล ไม่อย่างนั้นจะมีผลร้ายแรงตามมา
    • ในหลายกรณี ศาลจะพิจารณาการแทรกแซงแผนการเลี้ยงดูลูกตามคำสั่งศาลอย่างเป็นระบบว่าเป็นการละเมิดมาตรฐาน "การคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก" [16]
    • ถ้าพ่อ/แม่อีกฝ่ายปฏิเสธที่จะให้ประวัติการรักษาหรือประวัติการเรียนที่ต้องให้ตามคำสั่งเดิม ให้ไปที่ศาลแล้วให้ศาลออกคำสั่งแทนที่จะหาทางด้วยตัวเอง การกีดกันไม่ให้ประวัติเหล่านั้นกับคุณอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการกีดกัน และเป็นการไม่สนับสนุนการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ของพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายในชีวิตลูก [17] [18]
    • บันทึกของศาลสามารถนำมาใช้พิสูจน์การกีดกันลูกจากคุณได้ในภายหลังถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ถ้าอดีตสามี/ภรรยาของคุณไม่ให้ความร่วมมือและปฏิเสธไม่ให้คุณเข้าถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของลูก ศาลจะพิจารณาว่านี่ไม่ใช่การกระทำที่ยึดประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นหลัก [19]
    • ถ้าพ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันแนะนำหรือเสนอแนะบางสิ่ง ให้ค้นคว้าและพิจารณาแรงจูงใจของอดีตสามี/ภรรยาก่อนจะตกลง อ่านเอกสารของศาลทุกฉบับอย่างละเอียดและมองหาช่องโหว่ในอะไรก็ตามที่อดีตสามี/ภรรยาของคุณเห็นด้วยหรือเสนอแนะอย่างรวดเร็ว [20]
    • แม้ว่าศาลในประเทศไทยอาจจะไม่ได้ใช้คำว่า "ภาวะจิตเวชที่เกิดจากการถูกกีดกันจากพ่อ/แม่" โดยตรง แต่โดยทั่วไปพวกเขาต้องพิจารณาหลักฐานการกีดกันจากพ่อแม่ควบคู่กับปัจจัยอื่นๆ ในการระบุประโยชน์สูงสุดของเด็ก [21] [22]
    • โดยทั่วไปศาลจะใช้นโยบายที่ว่า โดยอุดมคติแล้วเด็กควรมีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดกับทั้งพ่อและแม่ ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วการที่พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งพยายามตัดขาดหรือกีดกันพ่อ/แม่อีกฝ่ายนั้นถือว่าไม่ใช่ประโยชน์สูงสุดของเด็ก [23]
  5. ผู้ปกครองที่ศาลตั้งเฉพาะคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของศาลที่รับผิดชอบเรื่องการเป็นตัวแทนชี้แจงประโยชน์สูงสุดของเด็ก และยังตรวจสอบการปฏิบัติตามคำสั่งศาลของพ่อแม่อีกด้วย [24]
    • ศาลอาจให้ผู้ปกครองที่ศาลตั้งเฉพาะคดีไปเยี่ยมเด็กที่บ้านของพ่อ/แม่อีกฝ่ายหนึ่งและสังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อ/แม่ พวกเขาจะสัมภาษณ์พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายและลูก ทั้งแบบรวมและแบบแยก และรายงานผลให้ศาลทราบด้วย
  6. ถ้าคุณมีสิ่งที่เชื่อว่าเป็นหลักฐานการกีดกันลูกจากพ่อ/แม่ ทนายจะรู้ว่าต้องเสนอเรื่องนี้ต่อศาลอย่างไรจึงจะดีที่สุด
    • จำไว้ว่าภาวะจิตเวชที่เกิดจากการถูกกีดกันจากพ่อ/แม่ไม่ใช่ "ภาวะ" ที่แท้จริงในเชิงการแพทย์ ก็คือมันไม่ใช่อาการทางจิตที่เกิดขึ้นกับคนๆ หนึ่ง แต่หมายถึงประเภทของความสัมพันธ์ที่มีปัญหาระหว่างพ่อกับแม่และความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันกับเด็ก [25] [26]
    • แม้ว่าศาลส่วนใหญ่จะยอมรับและพิจารณาหลักฐานการกีดกันลูกจากพ่อ/แม่และพฤติกรรมการกีดกัน แต่หลายศาลไม่ยอมรับการวินิจฉัย "ภาวะจิตเวชที่เกิดจากการถูกกีดกันจากพ่อ/แม่" ในเด็ก เนื่องจากภาวะนี้ไม่ได้เป็นที่ยอมรับโดยสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทยหรือรวมอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-5) ฉบับล่าสุด จึงไม่สามารถระบุว่าเป็นความผิดปกติทางจิตได้ถูกต้องตามกฎหมาย [27] [28]
    • โดยทั่วไปกระบวนการที่ซับซ้อนอย่างการระบุว่าการกีดกันลูกจากพ่อ/แม่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของลูกกับคุณอย่างไรต้องอาศัยความช่วยเหลือจากศาล และจะไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน [29]
    • ถ้าอดีตสามี/ภรรยาของคุณยังคงคอยเปลี่ยนแปลงการเยี่ยมเยียนตามตารางที่วางไว้หรือวางแผนการไปเที่ยวระยะสั้นหรือไปทริปสุดพิเศษเพื่อชักจูงไม่ให้ลูกไปเยี่ยมเยียนคุณตามตารางที่วางไว้ คุณก็สามารถแจ้งทนายความและตัดสินใจได้ว่าจะให้ศาลเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ไหม แม้ว่าศาลจะคาดไว้ก่อนแล้วว่าแผนการเลี้ยงลูกสามารถยื่นหยุ่นได้และให้พิจารณาถึงความจำเป็นของพ่อแม่และลูกๆ แต่ถ้ามีพ่อ/แม่ฝ่ายหนึ่งที่ยังพยายามเปลี่ยนแผนคำสั่งศาลอย่างต่อเนื่องก็อาจเป็นการแสดงถึงพฤติกรรมที่เป็นการกีดกันและสมควรถูกยับยั้ง [30]
  7. ถ้าอดีตสามี/ภรรยาของคุณยื่นคำร้องต่อศาล เช่น คำร้องในการเปลี่ยนสิทธิในการดูแลเด็กที่คุณเชื่อว่ามีเหตุจูงใจมาจากการกีดกันคุณจากลูก คุณควรจัดทำการบันทึกคําพยานนอกศาลเพื่อประเมินเหตุผลในการยื่นคำร้องและสิ่งที่เขาหวังว่าจะได้จากการยื่นคำร้องนี้ [31]
    • ปรึกษาทนายเรื่องการถามคำถามที่อาจทำให้คุณได้คำตอบที่แสดงถึงการกีดกัน เช่น ทนายของคุณอาจจะถามอดีตสามี/ภรรยาของคุณว่า เขาเคยคุยเรื่องชีวิตส่วนตัวของคุณให้ลูกฟังไหม หรือเขาเคยวิจารณ์คุณในเชิงลบให้ลูกฟังหรือเปล่า [32]
    • ทนายความอาจจะอยากจ้างพยานผู้เชี่ยวชาญให้มานั่งระหว่างการบันทึกคําพยานนอกศาลหรืออ่านทวนบันทึกถ้อยคำเพื่อที่เขาได้สามารถวิเคราะห์คำตอบที่ได้รับได้ [33]
    • ศาลหลายแห่งจะพิจารณาว่าพ่อ/แม่ฝ่ายหนึ่งได้พูดเรื่องที่เสื่อมเสียเกียรติของพ่อ/แม่อีกฝ่ายหนึ่งให้ลูกฟังหรือไม่ เล่าการฟ้องร้องเรื่องการหย่ากับลูก หรือส่งเสริมให้ลูกไม่เชื่อฟังหรือไม่เคารพพ่อ/แม่อีกฝ่ายหรือเปล่า คุณสามารถถามเกี่ยวกับพฤติกรรมเหล่านี้ในระหว่างการสืบปากคำอดีตสามี/ภรรยาของคุณได้ [34]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

คุยกับพยาน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    คุยกับผู้ใหญ่คนอื่นที่อยู่ใกล้ตัวลูกเป็นประจำ. แม้ว่าเด็กอาจจะไม่ได้พูดอะไรตรงๆ กับคุณมากนัก แต่เขาอาจจะพูดเรื่องต่างๆ เวลาอยู่กับผู้ใหญ่คนอื่นๆ ก็ได้
    • จำไว้ว่าสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ก็อาจจะทำให้เกิดการกีดกันคุณกับลูกได้เช่นกัน กรณีนี้อาจจะเกิดได้อย่างเช่น พ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันรู้สึกตกเป็นเหยื่อจากการถูกคุณทำร้าย ถ้าคุณขอให้สามีหย่าโดยที่เขาไม่ได้อยากหย่า เขาอาจจะรู้สึกว่าชีวิตแต่งงานที่จบลงนั้นเป็นความผิดของคุณ พ่อแม่หรือพี่น้องของเขาก็อาจจะเข้าข้างเขาโดยอัตโนมัติและเชื่อว่าสิ่งที่เขาพูดเกี่ยวกับคุณเป็นความจริงแม้ว่ามันจะไม่จริงก็ตาม [35]
    • บุคคลที่สามที่เป็นกลางอย่างครูหรือโค้ชของลูกอาจเป็นแหล่งข้อมูลในเรื่องพฤติกรรมของพ่อ/แม่อีกฝ่ายได้ดีกว่า เช่น ถ้าอดีตสามีของคุณมีพฤติกรรมกีดกันคุณจากลูก ครูอาจจะสังเกตได้ถึงความแตกต่างในพฤติกรรมของเด็กเวลาอยู่กับเขาที่ไม่เหมือนกับเวลาอยู่กับคุณ
    • คนที่เต็มใจให้การช่วยเหลือในชุมชน เช่น ครู โค้ช และผู้นำทางศาสนาโดยทั่วไปคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กอยู่แล้ว และสามารถเป็นพยานคนสำคัญแทนคุณในตอนที่คุณพยายามจะพิสูจน์การกีดกันคุณจากลูกได้ [36]
  2. เนื่องจากพ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันคุณจากลูกมักจะโกหกเพื่อให้ลูกต่อต้านพ่อ/แม่อีกฝ่ายหนึ่ง คุณจึงต้องแน่ใจว่าลูกและผู้ใหญ่คนอื่นๆ รู้ความจริง [37] [38]
    • วิธีนี้อาจเป็นเรื่องยากหากผู้ใหญ่คนอื่นๆ ที่คุณคุยด้วยเป็นคนที่เข้าข้างอดีตสามี/ภรรยาของคุณมากกว่า เช่น ถ้าอดีตสามีบอกพี่สาวของเขาว่าคุณติดเหล้า คุณก็อาจจะโน้มน้าวไม่ให้เธอมีแรงจูงใจตามธรรมชาติที่จะไว้ใจและปกป้องน้องชายของเธอได้ยาก
    • พ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันอาจส่งเสริมแนวคิด "ธรรมะปะทะอธรรม" ขึ้นมา เพราะฉะนั้นคุณต้องย้ำว่าคุณคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของลูกเป็นสำคัญและไม่ได้พยายามที่จะเป็นศัตรูกับอดีตสามี/ภรรยาของคุณ [39]
  3. 3
    พาลูกไปพบนักจิตวิทยา. จิตบำบัดไม่เพียงสำคัญต่อการพิสูจน์การกีดกันลูกจากคุณเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อสุขภาพของลูกด้วย
    • ลูกอาจจะเล่าสิ่งที่พวกเขาไม่เคยพูดกับคุณให้นักจิตวิทยาฟัง นอกจากนี้นักจิตวิทยายังได้รับการอบรมให้ตระหนักถึงความสำคัญของพฤติกรรมบางอย่างและรูปแบบพฤติกรรมที่คุณอาจไม่ได้สังเกต
    • นอกจากนี้ลูกอาจจะสบายใจที่จะพูดเรื่องที่พ่อ/แม่อีกฝ่ายพูดถึงคุณมากกว่าจะเล่าเรื่องนี้ให้คุณฟังโดยตรง
    • ในบางกรณีคุณสามารถขอให้ศาลออกคำสั่งประเมินสภาพจิตของลูกคุณได้ ปรึกษาทนายว่ากระบวนการนี้เป็นอย่างไร [40] รายงานจากผู้ตรวจสอบสภาพจิตสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์ว่ามีการกีดกันลูกจากพ่อ/แม่เกิดขึ้นจริงได้
    • นอกจากนี้มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กก็สามารถช่วยคุณได้หากคุณมีปัญหากับพ่อ/แม่อีกฝ่ายหรือเชื่อว่าลูกทุกข์ทรมานจากภาวะจิตเวชที่เกิดจากการถูกกีดกันจากพ่อ/แม่ องค์กรนี้มีทรัพยากรที่จะช่วยเหลือคุณและมีผู้ช่วยที่จะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้เมื่อเทียบกับการพาลูกไปพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์แบบเป็นส่วนตัว [41]
    • จำไว้ว่าในการพิสูจน์การกีดกันลูกจากคุณนั้น คุณต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมเชิงลบของอดีตสามี/ภรรยาเป็นอันตรายต่อลูกจริงๆ คำให้การของนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เด็กอาจจำเป็นต่อการพิสูจน์อันตรายนี้ [42]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปกป้องลูกของคุณ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    รักษาความสัมพันธ์ของคุณสองคน. วิธีที่ดีที่สุดที่จะต่อสู้กับการบงการลูกด้านจิตใจโดยเจตนาจากพ่อ/แม่อีกฝ่ายก็คือ การพิสูจน์ให้อีกฝ่ายเห็นว่ามันไม่มีวันสำเร็จ
    • คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของลูกเป็นสำคัญและอย่ายอมแพ้แค่เพราะว่าอดีตสามี/ภรรยาของคุณทำให้สิ่งต่างๆ มันยากขึ้น ลูกจะสังเกตได้หากคุณดูเหมือนจะเลิกห่วงใยหรือถ้าคุณเอาแต่ยอมแพ้ต่อข้อเรียกร้องของอดีตสามี/ภรรยาอยู่เสมอ [43] [44]
    • นอกจากนี้คุณก็ควรรักษาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและคนอื่นๆ ในชุมชนด้วย การสนับสนุนให้ลูกออกไปเล่นกับเพื่อนๆ หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนจะเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างพวกเขากับคุณให้แข็งแกร่งในทางบวกมากยิ่งขึ้น และสามารถช่วยต่อสู้กับผลกระทบที่เกิดจากการกีดกันได้ด้วย [45]
  2. หลีกเลี่ยงปฏิสัมพันธ์เชิงลบกับพ่อ/แม่อีกฝ่าย. การทะเลาะกับอดีตสามี/ภรรยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหน้าลูกมีแต่จะทำให้เด็กสับสนยิ่งกว่าเดิม และจะทำให้พ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันต่อกรได้มากขึ้นด้วย
    • พยายามแก้ไขความขัดแย้งที่คุณมีกับพ่อ/แม่อีกฝ่ายโดยไม่ดึงลูกมาเกี่ยว ลูกรู้ว่าคุณสองคนเข้ากันไม่ได้ คุณหย่ากันแล้ว แต่ก็ไม่ควรนำลูกเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งหรือทำให้พวกเขารู้สึกว่าเขาต้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณสองคน [46]
  3. จำไว้ว่าการกีดกันลูกจากพ่อ/แม่เป็นการทำร้ายจิตใจรูปแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นคุณจึงไม่ควรทำพฤติกรรมในลักษณะเดียวกัน
    • จำไว้ว่าแม้ว่าลูกจะทำเป็นเมินเฉยต่อคำพูดดูถูกเป็นครั้งคราวเวลาที่คุณโกรธจัดหรือไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด แต่คำพูดเหล่านี้อาจมีผลร้ายแรงตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพ่อ/แม่อีกฝ่ายก็พูดสิ่งเดียวกันนี้เกี่ยวกับคุณเช่นกัน [47]
    • พยายามรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกและสอดส่องพฤติกรรมของตัวเอง ควบคุมการแสดงความโกรธและความเจ็บปวดให้ได้ [48] รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองแล้วเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น คุณอาจจะบอกลูกว่า "ตอนนี้แม่ไม่สบายใจมากเลย และแม่ก็ไม่อยากให้ลูกคิดมากเรื่องนี้ด้วย เพราะฉะนั้นเรามาทำอะไรสนุกๆ กันเถอะ" และรับมือกับอารมณ์ที่ยากลำบากตอนที่ลูกไม่ได้อยู่ด้วย
    • แทนที่จะพูดถึงพ่อ/แม่อีกฝ่ายในทางที่ไม่ดีหรือกล่าวโทษ ให้สนใจสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกแทน ถ้าคุณเชื่อจริงๆ ว่าลูกกำลังตกอยู่ในอันตราย ถูกทำร้ายหรือไม่ได้รับความสนใจจากพ่อ/แม่อีกฝ่าย ให้ดำเนินการเพื่อบังคับใช้ตามกฎหมายทันที [49]
  4. พ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันมักจะบอกข้อมูลที่ลูกยังไม่โตพอที่จะเข้าใจ
    • นอกจากนี้พ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันยังอาจจะให้โอกาสลูกตัดสินใจในเรื่องที่ลูกยังไม่เป็นผู้ใหญ่พอที่จะตัดสินใจด้วย
    • เช่น พ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันอาจจะขอให้ลูกเลือกพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง หรือพูดเป็นนัยว่าลูกสามารถเลือกได้ว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งการเยี่ยมเยียนของศาลหรือไม่ก็ได้ [50]
    • การกีดกันลูกจากคุณรูปแบบอื่นๆ อาจเป็นการให้ลูกแอบรวบรวมข้อมูลเพื่อต่อต้านคุณ หรือพยายามใช้เด็กเป็นพยานในการต่อต้านพ่อ/แม่อีกฝ่ายหนึ่ง [51] เด็กไม่ควรต้องเข้ามาพัวพันในความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่ของคุณ
    • ถ้าลูกถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พ่อ/แม่ฝ่ายที่กีดกันพูด ระวังอย่าเล่าข้อมูลที่อาจโตเกินวัยลูกไป คุณสามารถให้คำตอบที่ซื่อสัตย์ได้ โดยที่ในขณะเดียวกันก็อธิบายว่าคุณจะพูดคุยเรื่องนี้กับลูกอย่างละเอียดทีหลัง [52]
  5. ถ้าพ่อ/แม่อีกฝ่ายมีพฤติกรรมบางอย่างที่กีดกันคุณจากลูก คุณสามารถไปศาลเพื่อให้ศาลสั่งห้ามไม่ให้เขากระทำพฤติกรรมเหล่านั้นได้ [53]
    • เช่น ถ้าอดีตสามีไม่อนุญาตให้ลูกนำของเล่นชิ้นโปรดไปด้วยเวลาที่เธอไปที่บ้านเขา หรือไม่อนุญาตให้เธอเก็บของขวัญที่คุณให้เธอ นี่ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการกีดกันลูกจากพ่อ/แม่ [54] คุณสามารถต่อสู้ในเรื่องนี้ได้ด้วยการขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามอดีตสามีเก็บสิ่งของของลูกเอาไว้
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถให้ศาลออกคำสั่งห้ามไม่ให้อดีตสามี/ภรรยาของคุณกำหนดตารางเวลาไปงานต่างๆ หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทับซ้อนกับตารางการเยี่ยมเยียน หรืออนุญาตให้มีการโทรศัพท์หากันได้ในบางช่วงเวลาของวัน [55]
    • ถ้าคุณกังวลเรื่องความปลอดภัยหรือสวัสดิภาพของลูกเวลาที่เธอไปเยี่ยมอดีตสามี/ภรรยาของคุณ คุณอาจจะยื่นคำร้องต่อศาลให้มีการเยี่ยมเยียนที่ต้องมีการกำกับ คนที่ไปควบคุมจะไม่รบกวนเวลาของอดีตสามี/ภรรยากับลูก แต่จะสังเกตการณ์และทำให้คุณแน่ใจได้ว่า อดีตสามี/ภรรยาของคุณจะไม่ได้อยู่กับลูกตามลำพัง [56]
    โฆษณา
  1. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  2. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  3. http://www.parentalalienation.org/articles/types-alienators.html
  4. http://www.parentalalienation.org/articles/types-alienators.html
  5. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  6. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  7. http://www.parentalalienation.org/articles/law/ohiolaws.html
  8. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  9. http://www.parentalalienation.org/articles/law/ohiolaws.html
  10. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  11. http://familylawyermagazine.com/articles/protecting-your-clients-in-parental-alienation-cases-when-the-courts-don’t
  12. http://www.parentalalienation.org/articles/law/ohiolaws.html
  13. http://www.charlestonlaw.net/parental-alienation-syndrome-south-carolina/
  14. http://www.parentalalienation.org/articles/law/ohiolaws.html
  15. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  16. http://family-law.lawyers.com/visitation-rights/parental-alienation-syndrome.html
  17. http://www.charlestonlaw.net/parental-alienation-syndrome-south-carolina/
  18. http://family-law.lawyers.com/visitation-rights/parental-alienation-syndrome.html
  19. http://www.charlestonlaw.net/parental-alienation-syndrome-south-carolina/
  20. http://www.parentalalienation.org/articles/types-alienators.html
  21. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  22. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  23. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  24. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  25. http://www.parentalalienation.org/articles/law/ohiolaws.html
  26. http://www.parentalalienation.org/articles/types-alienators.html
  27. http://familylawyermagazine.com/articles/protecting-your-clients-in-parental-alienation-cases-when-the-courts-don’t
  28. http://www.parentalalienation.org/articles/types-alienators.html
  29. http://familylawyermagazine.com/articles/protecting-your-clients-in-parental-alienation-cases-when-the-courts-don’t
  30. http://www.parentalalienation.org/articles/types-alienators.html
  31. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  32. http://familylawyermagazine.com/articles/protecting-your-clients-in-parental-alienation-cases-when-the-courts-don’t
  33. http://www.charlestonlaw.net/parental-alienation-syndrome-south-carolina/
  34. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  35. http://familylawyermagazine.com/articles/protecting-your-clients-in-parental-alienation-cases-when-the-courts-don’t
  36. http://familylawyermagazine.com/articles/protecting-your-clients-in-parental-alienation-cases-when-the-courts-don’t
  37. http://www.parentalalienation.org/articles/types-alienators.html
  38. http://www.parentalalienation.org/articles/types-alienators.html
  39. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  40. http://familylawyermagazine.com/articles/protecting-your-clients-in-parental-alienation-cases-when-the-courts-don’t
  41. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  42. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  43. http://familylawyermagazine.com/articles/protecting-your-clients-in-parental-alienation-cases-when-the-courts-don’t
  44. http://www.charlestonlaw.net/parental-alienation-syndrome-south-carolina/
  45. http://www.fact.on.ca/Info/pas/darnal99.htm
  46. http://www.charlestonlaw.net/parental-alienation-syndrome-south-carolina/
  47. http://familylawyermagazine.com/articles/protecting-your-clients-in-parental-alienation-cases-when-the-courts-don’t

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,817 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา