ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การออกไปพบปะเพื่อนใหม่จะช่วยเพิ่มคุณค่าและสร้างสีสันให้แก่ชีวิตของเรา การรวบรวมความกล้าเพื่อให้สามารถเข้าไปพูดคุยกับผู้อื่นได้นั้นอาจทำได้ยากในตอนแรก แต่พอได้เริ่มทำความรู้จักคุ้นเคยกับคู่สนทนามากขึ้น เราก็จะเห็นว่าการเข้าไปพูดคุยกับผู้อื่นนั้นไม่ยากอย่างที่คิด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เริ่มบทสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งส่วนที่ยากที่สุดในการพูดคุยกับผู้อื่นคือการไม่รู้ว่าจะเริ่มบทสนทนาอย่างไร เราอาจยิ่งประหม่าหนัก ถ้าคนที่ตนเองคุยด้วยเป็นคนที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน เวลาเริ่มบทสนทนากับคนที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน พยายามค้นหาสิ่งที่เราและคู่สนทนามีเหมือนกัน [1]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังต่อแถวซื้อเครื่องดื่มที่ร้านกาแฟร้านหนึ่งและเราไม่เคยอุดหนุนร้านนี้มาก่อน เราอาจเริ่มบทสนทนากับบุคคลที่อยู่ข้างหน้าเราว่า "ร้านนี้มีเครื่องดื่มอะไรที่เป็นของเฉพาะของทางร้านเหรอคะ พอดีฉันไม่เคยลองซื้อเครื่องดื่มจากร้านนี้มาก่อน"
    • เราอาจแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในตอนนั้นก็ได้ สมมติว่าอากาศวันนั้นดีมาก เราก็อาจเริ่มบทสนทนาว่า "อากาศดีนะ คุณว่าไหม" ถ้าคนคนนั้นโต้ตอบเราด้วยน้ำเสียงที่เป็นมิตร เราก็สามารถที่จะเริ่มการสนทนากับเขาต่อไปได้
    • การเริ่มบทสนทนาอีกแบบหนึ่งคือการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่เราต้องการจะพูดคุยด้วย สมมติว่าเราเห็นเขาถือกระเป๋าใบหนึ่งมาและเห็นว่ากระเป๋าใบนั้นสวยดี เราก็อาจเริ่มบทสนทนาว่า "กระเป๋าคุณสวยจังเลย"
  2. อย่าเลือกเข้าไปพูดคุยกับคนที่กำลังยุ่งอยู่ ให้เลือกสนทนากับคนที่พร้อมจะพูดคุยกับเราและมีท่าทีเป็นมิตร ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังยืนต่อแถวและมีใครสักคนสบตาเรา ให้ยิ้มตอบเขาและเปิดบทสนทนาด้วยการถามคำถาม อย่าเริ่มบทสนทนากับคนที่พูดคุยกับคนอื่นอยู่หรือคนที่กำลังง่วนอยู่กับการทำธุระ งาน หรือหน้าที่อย่างแข็งขัน [2]
    • ในงานเลี้ยงบริเวณที่เหมาะจะเริ่มบทสนทนามากที่สุดคือบริเวณใกล้โต๊ะอาหารหรือบาร์เครื่องดื่ม เราสามารถเปิดบทสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติในบริเวณเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น เราเห็นอาหารจานหนึ่งน่ากินมาก แต่เราไม่เคยกินเมนูนี้มาก่อนและสงสัยว่ามันคืออะไร เราอาจเริ่มบทสนทนากับคนที่ตักอาหารอยู่ข้างๆ เราว่า "ฉันไม่เคยกินเมนูนี้มาก่อน มันเรียกว่าอะไรเหรอคะ" หรือเราต้องการเปิดขวดไวน์ แต่ไม่รู้ว่าที่เปิดขวดไวน์แบบใหม่นี้ใช้ยังไง เราอาจเริ่มบทสนทนากับคนที่ยืนอยู่ข้างๆ ว่า "ที่เปิดขวดไวน์อันนี้ใช้ยังไงเหรอคะ"
    • ถ้าไม่ถนัดเดินเข้าไปพูดคุยกับผู้คนภายในงานเลี้ยง ลองมุ่งตรงไปที่ห้องครัว ห้องครัวเป็นจุดที่ผู้คนมารวมตัวกันและเราสามารถเข้าไปช่วยผู้อื่นผสมเครื่องดื่มหรือจัดเตรียมของว่างได้
    • เมื่อต้องการเริ่มบทสนทนากับเพื่อนร่วมงาน เราก็ต้องดูก่อนว่าเขาพร้อมหรือสะดวกที่จะพูดคุยกับเราหรือไม่ ถ้าไม่ ให้รอจนกว่าเขาจะว่างและพร้อมจริงๆ เวลาอาหารกลางวันเป็นเวลาซึ่งเหมาะสมที่จะเริ่มบทสนทนากับเพื่อนร่วมงาน
  3. เราอาจอยากคุยกับคนที่เคยเจอกันมาก่อน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มบทสนทนาอย่างไร เราอาจเริ่มบทสนทนาด้วยการถามเรื่องเกี่ยวกับตัวของเขาก็ได้ การถามเป็นการเริ่มบทสนทนาที่ดีวิธีหนึ่ง [3]
    • ถ้าต้องการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานระหว่างรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน เราอาจเริ่มบทสนทนาด้วยการถามเรื่องเกี่ยวกับตัวของเขา เราอาจถามเพื่อนว่า "ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ได้ออกไปทำกิจกรรมอะไรบ้าง ออกไปเที่ยวที่ไหนบ้างไหม"
    • เราอาจอยากทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านคนใหม่ เมื่อเห็นเพื่อนบ้านออกมารับจดหมายหรือพัสดุ อาจทักทายไปว่า "เป็นยังไงบ้างคะ คุ้นชินกับที่นี่บ้างหรือยัง ถ้าอยากรู้ว่าร้านอาหารอร่อยๆ แถวนี้มีที่ไหนบ้าง ถามฉันได้นะ"
  4. เราไม่จำเป็นต้องเปิดบทสนทนาด้วยถ้อยคำที่หรูหรา เราอาจเริ่มบทสนทนาด้วยการทักทายอย่างเรียบง่ายว่า "ไง" หรือ "เป็นไงบ้าง" อีกฝ่ายมักจะเริ่มพูดคุยกับเราหลังจากที่ทักทายไปและพยายามดำเนินบทสนทนาไปเรื่อยๆ [4]
    • เราอาจพูดถึงตนเองก็ได้ ตัวอย่างเช่น หลังจากปั่นจักรยานออกกำลังกายอย่างหนักแล้ว เราอาจเอ่ยกับคนที่ออกกำลังกายอยู่ข้างเราว่า "ฉันรู้สึกปวดเมื่อยตัวไปหมดเลย"
    • เริ่มบทสนทนาอย่างเรียบง่ายและให้ผู้อื่นได้มีส่วนช่วยเริ่มบทสนทนาด้วย จะได้ลดความกดดันของตนเองในการหาเรื่องพูดคุยที่เหมาะสม
  5. เมื่อพยายามเริ่มบทสนทนา เราต้องไม่ทำให้คู่สนทนารู้สึกอึดอัด ผู้คนมากมายมักจะพูดพล่ามหรือพูดจ้อไปเรื่อยเมื่อสนทนากันเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเราเป็นแบบนั้น ก็อาจเผลอเปิดเผยเรื่องส่วนตัวมากเกินไปได้ [5]
    • ถ้าเราไม่ได้พูดคุยเป็นการส่วนตัวกับคนที่ตนเองรู้จักเป็นอย่างดี อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในเรื่องที่ละเอียดอ่อน ตัวอย่างเช่น อย่าเริ่มบทสนทนาด้วยการบอกผลตรวจสอบของแผนกนรีเวชเมื่อไม่นานมานี้ให้คนทั่วไปรู้
    • โดยปกติผู้คนจะรู้สึกอึดอัดเมื่อเราเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้รู้ พนักงานคิดเงินที่ร้านสะดวกซื้อคงไม่อยากรู้ว่าลูกสาววัยรุ่นของเราเรียนไม่เก่ง ฉะนั้นเมื่อกำลังเริ่มต้นบทสนทนา อย่าพูดเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน
  6. บางครั้งความเงียบก็ทำให้รู้สึกอึดอัด เราจึงมักจะอยากพูดคุยกับผู้อื่นเพื่อคลายบรรยากาศอันเงียบเชียบนี้ อย่างไรก็ตามก็มีช่วงเวลาที่เราควรเงียบไว้จะดีกว่าเช่นกัน [6]
    • ถ้าเรารู้สึกเบื่อระหว่างที่นั่งเครื่องบินนานๆ เราอาจต้องการแก้เบื่อด้วยการนั่งคุยกับคนที่นั่งอยู่ข้างๆ แต่ถ้าคนคนนั้นแสดงท่าทีบางอย่างที่บ่งบอกว่าไม่พร้อมจะคุยด้วย หาอย่างอื่นทำแก้เบื่อจะดีกว่า
    • ถ้าคนที่ตนเองอยากคุยด้วยหลีกเลี่ยงการสบตา แสดงว่าคนคนนั้นไม่อยากคุยกับเรา ถ้าเห็นว่าเขากำลังอ่านหนังสือ ดูหนัง หรือฟังเพลงอยู่ แสดงว่าคนคนนั้นต้องการอยู่เงียบๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ดำเนินบทสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอเริ่มบทสนทนาแล้ว เราสามารถทำให้บทสนทนาดำเนินต่อไปได้หลายวิธี การถามคำถามก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้บทสนทนาดำเนินต่อไปได้ เราอาจลองถามหาข้อมูลหรือคำแนะนำบางอย่างที่ตนเองต้องการจากผู้อืนก็ได้ [7]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังรอรับลูกอยู่ที่โรงเรียนและรู้มาว่าพรุ่งนี้โรงเรียนจะเลิกเร็วกว่าปกติ แต่เราไม่รู้ว่าโรงเรียนจะเลิกกี่โมง เราอาจถามผู้ปกครองที่มารอรับลูกเหมือนกันว่า "ช่วยบอกได้ไหมครับว่าพรุ่งนี้โรงเรียนจะเลิกกี่โมง"
    • เราอาจขอคำแนะนำเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากเพื่อนร่วมงานก็ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเพื่อนของเราสามารถใช้ Powerpoints นำเสนองานได้อย่างดีเยี่ยม เราอาจขอคำแนะนำจากเพื่อนของเราโดยพูดอย่างเช่นว่า "ช่วยบอกเคล็ดลับในการนำเสนองานหน่อยได้ไหม"
  2. การถามคำถามเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การสนทนาดำเนินไปได้ ยิ่งเป็นการถามคำถามแบบปลายเปิดด้วยแล้ว บทสนทนาก็จะยิ่งดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ถามคำถามที่ต้องการคำตอบมากกว่าใช่หรือไม่ [8]
    • ตัวอย่างเช่น เพื่อนของเราไปเที่ยวเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา ประเทศอเมริกามา แทนที่จะถามว่า "ไปเที่ยวฟีนิกซ์มาเหรอ?" ให้ถามว่า "เธอบอกว่าจะไปเที่ยวนี่นา ช่วงวันหยุดยาวนี้เธอไปเที่ยวที่ไหนมาบ้างล่ะ" เราจะได้รู้รายละเอียดเพิ่มเติม
    • ถามคำถามต่อหลังจากฟังคำตอบแรกจบแล้ว ถ้าเพื่อนตอบเราว่า "เราไปตีกอลฟ์กันตลอดช่วงวันหยุดยาว" เราก็อาจถามต่อว่า "โอ้โห ไปตีกอฟล์กันเหรอ ดูน่าสนุกจัง ฉันอยากฝึกตีกอล์ฟบ้าง เธอจะช่วยแนะนำโรงเรียนสอนตีกอลฟ์ดีๆ ให้ได้บ้างไหม "
    • เราอาจถามคำถามแบบปลายเปิดหลังจากแสดงความคิดเห็นของตนเองก็ได้ ตัวอย่างเช่น เราเห็นชุดเดรสของเพื่อนสวยมากและเราชอบชุดที่เขาใส่จริงๆ ก็อาจพูดว่า "ชุดเดรสนี้ของเธอสวยมากเลยนะ ซื้อมาจากร้านไหนเหรอจ๊ะ"
  3. พยายามพูดคุยในเรื่องที่ตนเองสนใจจริงๆ เพราะถ้าเราแกล้งทำเป็นพูดคุยในเรื่องที่ตนเองไม่สนใจเลยสักนิด การสนทนาก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่นแน่นอน [9]
    • เลือกเริ่มบทสนทนากับคนที่สนใจในเรื่องเดียวกันกับเรา ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราอยู่ที่งานเลี้ยงสังสรรค์งานหนึ่ง เราสนใจเรื่องจักรยานมากและได้ยินว่าไมค์เพื่อนของเราซึ่งมีความสนใจในเรื่องเดียวกันซื้อจักรยานคันใหม่ เราอาจเริ่มต้นบทสนทนาว่า "ไมค์ ได้ข่าวว่านายซื้อจักรยานคันใหม่เหรอ นายซื้อจักรยานยีห้ออะไรและรุ่นไหนเหรอ พอบอกฉันได้ไหม"
    • ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง สมมติว่าเรามีลูกสาวเป็นนักฟุตบอลเยาวชน ระหว่างดูลูกสาวแข่งขันอยู่เราอาจเริ่มบทสนทนากับผู้ปกครองที่มีลูกสาวเป็นนักฟุตบอลเยาวชนเหมือนกัน เราอาจเริ่มด้วยการพูดถึงผลการฝึกของลูกสาวว่า "ฉันรู้สึกว่าผลการฝึกเพิ่มเติมของลูกสาวตามคำแนะนำของโค้ชเแป้งออกมาดีทีเดียว แล้วผลการฝึกของลูกสาวคุณล่ะคะเป็นอย่างไรบ้าง"
  4. หลังจากพูดคุยกับผู้อื่นไปสักพัก เราอาจรู้สึกสบายใจมากขึ้นที่บทสนทนาดำเนินไปเรื่อยๆ แต่เราก็ต้องพยายามทำให้บทสนทนาดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น คุณสมบัติอย่างหนึ่งของการเป็นนักสนทนาที่ดีคือการรู้ว่าควรพูดอย่างไรผู้อื่นถึงจะไม่รู้สึกอึดอัด [10]
    • เราอาจได้ยินภาษิตเก่าๆ ว่าไม่ควรพูดเรื่องการเมืองหรือศาสนาในวงสังคม เราควรทำตามภาษิตนี้เมื่อสนทนากับกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย
    • อย่าทำให้คู่สนทนารู้สึกเบื่อ ตัวอย่างเช่น ถึงแม้เราจะชอบเรียลลิตีโชว์รายการหนึ่งหรืออยากบอกเรื่องสุขภาพของแมวที่เลี้ยงไว้มากแค่ไหน แต่เราไม่ควรเอาแต่พูดเรื่องของตัวเองอยู่ฝ่ายเดียว ให้ผู้อื่นได้มีโอกาสพูดเรื่องของเขาบ้าง
    • พูดคุยในเรื่องที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่แล้วการพูดคุยกันเล็กๆ น้อยๆ ควรจะเป็นอะไรที่ทำให้มีความสุข อย่างไรเสียเราก็กำลังพยายามทำให้คู่สนทนาชอบเรา และโดยปกติเราต่างก็ถูกดูดเข้าหาคนที่คิดบวกอยู่แล้ว เมื่อไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี พยายามหาเรื่องดีๆ พูดคุยกับผู้อื่น [11]
    • ตัวอย่างเช่น เมื่อเราและคู่สนทนาเห็นดอกไม้ที่สวยงามบานหลังจากที่ฝนตกมาหลายวัน เราอาจพูดว่า "โอ้โห ดูสิ! หลังจากฝนตกหนักเมื่อไม่นานมานี้ ในที่สุดเราก็ได้เห็นดอกไม้สวยๆ บานเสียที!"
    • เราอาจพูดแสดงความเห็นใจเมื่อคู่สนทนาเจอสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่กล่าวถึงด้านดีของสถานการณ์นั้นด้วย สมมติว่าเราและเพื่อนต่างต้องอยู่ทำงานจนดึกดื่น และเรารู้จักร้านอาหารอร่อยๆ ทีเปิดในช่วงดึก ฉะนั้นเราอาจพูดกับเพื่อนว่า "แย่จังที่เราต้องอยู่ทำงานจนดึกดื่น แต่สุดท้ายงานก็เสร็จนะ ฉันรู้จักร้านอาหารอร่อยๆ สำหรับคนนอนดึก ไปกินฉลองที่งานเสร็จกันเถอะ"
  5. พอบทสนทนาดำเนินไปเกินสองสามนาทีเราก็อาจพูดจบไปมากกว่าหนึ่งเรื่องแล้ว เราต้องเตรียมเปลี่ยนไปสนทนาเรืองใหม่ หากเรื่องที่ตนเองใช้เริ่มบทสนทนากำลังจะจบลงหรือไม่มีอะไรให้พูดถึงอีก เราสามารถเปลี่ยนมาพูดถึงเหตุการณ์ปัจจุบันและสิ่งที่อยู่ในกระแสนิยมได้ สองเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราสามารถนำมาพูดถึงได้เสมอ [12]
    • ตัวอย่างเช่น เราได้ฟังข่าวเรื่องภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนี้ เราก็นำมาสนทนากับผู้อื่นอย่างเช่นว่า "นายเห็นรายชื่อภาพยนตร์ที่เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมหรือยัง ฉันชอบเรื่องคนข่าวคลั่งมากเลย"
    • เตรียมที่จะเปลี่ยนไปพูดเรื่องใหม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าคู่สนทนาพูดถึงเรื่องการท่องเที่ยวต่างประเทศและพอถึงคราวที่ตนเองพูดบ้าง เรานึกขึ้นได้ว่าตนเองเคยไปเที่ยวกรีซ เราก็นำเรื่องนี้มาใช้ในการเปลี่ยนเรื่องสนทนาว่า "พอพูดถึงเรื่องการไปเที่ยวต่างประเทศ ฉันนึกถึงตอนที่ตนเองได้ไปเที่ยวกรีซ เธอเคยไปเที่ยวกรีซไหม" การเปลี่ยนเรื่องสนทนาตามความเหมาะสมจะช่วยให้การสนทนาดำเนินต่อไปอย่างเป็นธรรมชาติ
  6. ยิ่งมีคนมาร่วมวงสนทนามากเท่าไหร่ ความกดดันของเราก็จะยิ่งลดลง ชักชวนผู้อื่นให้ร่วมวงสนทนากับเรา ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังกินข้าวที่โรงอาหารและเห็นว่าเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งที่ชื่อลักษณ์กำลังหาที่นั่งกินข้าวอยู่ อาจชักชวนเขาให้มานั่งกินข้าวกับเราด้วยการพูดว่า "ลักษณ์มานั่งกินข้าวกับพวกเราไหม" [13]
    • ในงานสังคมเราสามารถชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมวงสนทนาได้ เราอาจกำลังพูดคุยเล็กๆ น้อยๆ กับคนรู้จักที่งานเลี้ยงแบบค็อกเทล ถ้าเราพบใครที่ยืนอยู่เพียงลำพัง ให้ชักชวนเขามาร่วมวงสนทนาด้วย ถ้าเรากำลังกินกุ้งอยู่และมันอร่อยมาก เราอาจพูดเพื่อชวนคุยว่า "โอ้โห กุ้งนี่อร่อยเหาะ คุณได้ลองกินมันแล้วหรือยัง"
    • การชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมวงสนทนาไม่เพียงสุภาพเท่านั้น แต่ยังช่วยให้บทสนทนาดำเนินต่อไปได้ ยิ่งมีคนร่วมวงสนทนามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีเรื่องพูดคุยกันมากขึ้นเท่านั้น
  7. การฟังสำคัญพอๆ กับการพูด ถ้าอยากเป็นนักสนทนาที่ดี เราก็ต้องเป็นนักฟังที่ดี เราต้องตั้งใจฟังและสนใจสิ่งที่คู่สนทนาพูด เราสามารถบอกให้คู่สนทนารับรู้ว่าเรากำลังฟังและสนใจเรื่องของเขาอยู่ [14]
    • เมื่อฟังสิ่งที่คู่สนทนาพูด พยายามแสดงความคิดเห็นที่เป็นกลาง เช่น "เรื่องนี้น่าสนใจ" ถ้าอยากให้คู่สนทนาเล่าเรื่องที่น่าสนใจเรื่องนั้นต่อไป อาจพูดว่า "เล่าต่อเถอะค่ะ ฉันอยากฟัง"
    • เราอาจใช้วิธีพูดทวนข้อมูลที่ได้ยินมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าตนเองตั้งใจฟังเรื่องที่คู่สนทนาพูด ตัวอย่างเช่น เมื่อได้ยินว่าเพื่อนของเราไปเที่ยวประเทศในยุโรปครบทุกประเทศแล้วและรู้สึกทึ่ง อาจพูดไปว่า "โอ้โห! เธอไปเที่ยวประเทศในยุโรปครบแล้วเหรอเนี่ย ยอดไปเลย"
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้ภาษากายแสดงความสนใจคู่สนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อเราสนทนากับผู้อื่น ภาษากายอาจสำคัญพอๆ กับถ้อยคำที่ใช้ การยิ้มให้คู่สนทนาเป็นวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราต้องติดต่อพูดคุยกับคนที่ตนเองยังไม่รู้จักดีพอ [15]
    • ตัวอย่างเช่น หากเราเลี้ยงสุนัขไว้ตัวหนึ่ง วันหนึ่งเราพาสุนัขไปเดินเล่นที่สวนสุนัข มีเจ้าของคนหนึ่งพาสุนัขมาเดินเล่นเช่นกัน เราสังเกตเห็นว่าสุนัขของเราเล่นกับสุนัขตัวนั้นได้เป็นอย่างดี ยิ้มกว้างให้กับเจ้าของสุนัขตัวนั้น จะทำให้เราดูเป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่าย
    • การยิ้มยังแสดงให้ผู้อื่นรู้ว่าเราพร้อมที่จะรับฟังด้วย ถ้าเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งแวะมาที่โต๊ะทำงานของเราเพื่อเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง ยิ้มให้เพื่อนร่วมงานคนนั้นเพื่อแสดงให้เขารู้ว่าเราพร้อมรับฟังเรื่องของเขา
  2. ขณะที่พูดคุยกับผู้อื่นอยู่ เราต้องสบตาคู่สนทนาด้วย เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราสนใจที่จะสนทนากับเขา การสบตาคู่สนทนายังเป็นการบอกว่าเรากำลังฟังเขาอยู่และเคารพสิ่งที่เขาพูด [16]
    • การสบตาคู่สนทนายังช่วยประเมินปฏิกิริยาของอีกฝ่ายด้วย ดวงตาจะสะท้อนอารมณ์ต่างๆ ของคน เช่น เบื่อ โกรธ ชอบ เป็นต้น
    • อย่าจ้องหน้าคู่สนทนาตลอดเวลา เราไม่จำเป็นต้องจ้องตาของอีกฝ่ายตลอดเวลา เราสามารถเปลี่ยนมามองบรรยากาศรอบตัวได้เช่นกัน
  3. การพยักหน้าเฉยๆ เป็นวิธีสื่อสารแบบไม่ใช้คำพูดที่มีประสิทธิผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง การพยักหน้าอาจแสดงความหมายได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น การพยักหน้าเป็นการแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าเราเข้าใจสิ่งที่เขาพูด [17]
    • การพยักหน้ายังเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราเห็นด้วย รวมทั้งยังเป็นการแสดงว่าเราสนับสนุนสิ่งที่เขาพูด
    • อย่าพยักหน้าบ่อยมากเกินไป อย่าพยักหน้าอยู่เรื่อยๆ เพราะจะทำให้เราดูไม่จริงจัง
  4. โดยปกติภาษากายจะสะท้อนให้เห็นถึงความกล้าหรือความวิตกกังวล เราอาจประเหม่าเวลาต้องพูดคุยกับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราเป็นคนขี้อาย วิธีเพิ่มความมั่นใจในการสนทนาคือการเตรียมตัวให้พร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ารู้ว่าต้องไปพบปะผู้คนที่ไม่เคยรู้จักในงานเลี้ยงสังสรรค์ เราควรเตรียมเรื่องที่จะใช้ในการพูดคุยสนทนาให้พร้อม [18]
    • ถ้าเราจะต้องไปงานเลี้ยงวันเกิดและเจ้าของงานวันเกิดรวมทั้งผู้มาเข้าร่วมงานส่วนใหญ่เป็นคนจากชมรมโบว์ลิ่งทั้งนั้น เราอาจเตรียมเรื่องราวสนุกๆ ที่เกิดขึ้นตอนที่เราเข้าแข่งขันโบว์ลิ่งสองครั้งมาเล่าให้คู่สนทนาฟังก็ได้
    • ฝึกสนทนากับผู้อื่น ฝึกตนเองให้พูดคุยกับคนที่ไม่รู้จักทุกวัน คู่สนทนาอาจเป็นคนที่เราพบตามสถานที่ต่างๆ หรือเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกัน ฝึกเริ่มและดำเนินบทสนทนาทุกวัน
    • ความมั่นใจเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าหาคนที่ตนเองชอบ พอเราพบวิธีการเปิดบทสนทนาที่สามารถนำมาใช้ได้ผล ลองใช้วิธีนั้นเปิดบทสนทนากับคนที่เราชอบดู
    • ตัวอย่างเช่น เราได้ยินเพลงประกอบการปั่นจักรยานออกกำลังกายแล้วรู้สึกชอบ เราอาจเริ่มบทสนทนากับคนที่มาออกกำลังกายด้วยกันว่า "เพลงตอนปั่นจักรยานออกกำลังกายสนุกมากจนอยากเต้นเลย คุณรู้ไหมว่าจะหาฟังเพลงนี้ได้จากที่ไหนบ้าง" อย่าลืมยิ้มและสบตาคู่สนทนาด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จดจำบทพูดสำหรับเริ่มการสนทนาไว้ในใจ จะได้นำไปใช้ได้ทันที
  • อย่ากลัว หากพบเจอสถานการณ์ที่ต่างออกไป การพยายามลองทำสิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้เราพบเพื่อนใหม่และฝึกทักษะการสนทนา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,430 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา