ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การพูดคุยเรื่องสัพเพเหระคือการละลายพฤติกรรมที่ดีเมื่อคุณเริ่มคุยกับคนที่คุณยังไม่รู้จักดีนัก การรู้จักพูดคุยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จะเปิดโอกาสให้คุณได้พบปะกับเพื่อนและนำมาซึ่งความสัมพันธ์ใหม่ๆ และยังจะส่งผลดีต่อหน้าที่การงานของคุณอีกด้วย หากฝึกฝนเสียหน่อย เดี๋ยวคุณก็จะสามารถพูดคุยเรื่องสัพเพเหระกับใครก็ได้อย่างสบายๆ เองแหละ!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ทำให้คู่สนทนารู้สึกผ่อนคลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณอยากให้คู่สนทนารู้สึกผ่อนคลาย สิ่งที่คุณควรทำที่สุดคือการ "แสดงทีท่าเปิดเผย" และใช้ภาษากายเข้าหาอีกฝ่ายโดยไม่ฝืนตัวเองเกินไป แค่สบตาอีกฝ่าย ไม่กอดอก และยืดไหล่ตรงตอนหันหน้าเข้าหาคนๆ นั้น คู่สนทนาของคุณจะได้รู้สึกว่าคุณใส่ใจอีกฝ่ายอย่างเต็มที่และไม่ได้คุยกับอีกฝ่ายอย่างขอไปที อย่าลืมรักษาระยะห่างที่พอเหมาะกับคู่สนทนาด้วยล่ะ
    • เก็บมือถือไปซะ ไม่มีอะไรน่ารำคาญไปกว่าการคุยกับคนที่เอาแต่เช็คมือถือหรอกนะ
    • แม้ว่าคุณควรจะมีท่าทีกระตือรือร้นที่จะพูดคุยกับคนๆ นั้น อย่าทำตัวกระตือรือร้น "มากเกินไป" อย่าขยับเข้าไปใกล้จนชิดและทำให้คู่สนทนารู้สึกเหมือนถูกคุกคาม หลายๆ คนไม่ชอบคนที่เข้ามาพูดคุยด้วยในระยะประชิดเกินไปนะ
  2. หากคุณเจอคนที่รู้จักกันอยู่แล้ว แค่กล่าวสวัสดีและทักชื่อของอีกฝ่าย เช่น "สวัสดีจ้ะเจน ดีใจจังที่ได้เจอเธอ" การทักทายอย่างเรียบง่ายและตรงไปตรงมานี้จะทำให้คู่สนทนารู้ว่าคุณรู้สึกตื่นเต้นที่จะได้พูดคุยกับอีกฝ่าย หากคุณไม่รู้จักชื่ออีกฝ่าย แนะนำตัวเองกับทางนั้นเสีย คุณจะได้มั่นใจในตัวเองและรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้คุมการสนทนา แค่พูดไปว่า "สวัสดีค่ะ ฉันชื่อมาเรีย คุณล่ะคะ?" จากนั้นก็ทวนชื่อของอีกฝ่าย ทางนั้นจะได้รู้สึกว่าตัวเองสำคัญสำหรับคุณไงล่ะ
    • อย่าลืมยิ้มและใส่ใจคู่สนทนาเมื่อคุณทักทายอีกฝ่าย อย่าทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณแค่ฆ่าเวลาเพื่อรอ “เพื่อนตัวจริง” ของคุณมาถึง
  3. การสนทนานั้นเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างกันพอๆ กับการแลกเปลี่ยนข้อมูล ดังนั้น การที่จะสร้างบทสนทนาที่ดีและพูดคุยเรื่องสัพเพเหระได้อย่างไหลลื่น คุณต้องพูดคุยเรื่องสบายๆ สนุกสนานและพูดถึงเรื่องดีๆ หากคุณทำตัวกระตือรือร้น พร้อมยิ้มแย้มเมื่อถึงจังหวะควรยิ้มและพร้อมหัวเราะในสิ่งที่อาจจะไม่ “ฮา”​ ขนาดนั้น คู่สนทนาของคุณจะรู้สึกอยากพูดคุยกับคุณเอง แม้ว่าเรื่องที่คุณพูดถึงอาจจะเป็นแค่เรื่องแบรนด์ซีเรียลสุดโปรดของคุณก็ตาม [1]
    • เรื่องจริงก็คืออาจจะเป็นเรื่องยากที่จะพูดคุยเรื่องเบาๆ และสนุกสนานหากคุณมีวันหรือสัปดาห์ที่แย่สุดๆ แต่จำไว้ว่าหากคุณชวนคนๆ นั้นพูดคุยเรื่องสัพเพเหระก็แปลว่าคนๆ นั้นไม่ใช่เพื่อนสนิทของคุณ และคุณก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงเรื่องในแง่ลบเกินไปกับคนที่ไม่สนิทอยู่แล้วไม่อย่างนั้นอีกฝ่ายอาจจะรู้สึกอึดอัดที่จะคุยกับคุณได้
  4. เริ่มต้นบทสนทนาด้วยการชื่นชมเรื่องเล็กๆ น้อยๆ. การพูดแค่ว่า “ฉันชอบรองเท้าคุณจัง ซื้อที่ไหนคะ?” อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นการพูดคุยกันอย่างสนุกสนานในเรื่องซื้อรองเท้า​ และแม้ว่าคำชมอาจจะไม่ได้นำพาบทสนทนาไปถึงไหน แต่ผู้ได้รับคำชมก็ย่อมรู้สึกว่าคุณให้ความสำคัญกับเขาหรือเธอก่อนที่คุณจะชวนอีกฝ่ายคุยเรื่องอื่นๆ ต่อไป คุณอาจลองใช้วิธีนี้ก่อนที่จะแนะนำตัวเองกับอีกฝ่ายอย่างเป็นเรื่องเป็นราวดูก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เริ่มพูดคุยกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พูดคุยเรื่องที่คุณและอีกฝ่ายต่างเข้าถึงได้. การเข้าถึงได้ในที่นี้ไม่ใช่ว่าคุณและอีกฝ่ายต้องเป็นนักขี่ม้าตัวยงเหมือนกันแต่ประการใด เรื่องที่พูดคุยอาจเป็นเพียงเรื่องสภาพอากาศอันเลวร้ายของสัปดาห์นั้นๆ ที่คุณและอีกฝ่ายต้องพบเจอเหมือนกัน หรืออาจจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามที่ฝ่ายนั้นเข้าถึงได้และเชื่อมโยงกับคุณได้ แม้ว่าเรื่องนั้นๆ จะเล็กน้อยเพียงใดก็นับว่าเป็นเรื่องที่สามารถหยิบยกมาพูดคุยกันได้ และถึงคุณอาจจะไม่อยากพูดคุยเรื่องสภาพอากาศ แต่จำไว้ว่า “เรื่องเล็กๆ น้อยๆ” พวกนี้อาจเปิดโอกาสให้คุณได้พูดคุยกับอีกฝ่ายในเรื่องที่สำคัญกับคุณมากกว่าได้ ตัวอย่างการพูดคุยเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างเข้าถึงได้ เช่น:
    • "ศาสตราจารย์โฮฟเฟอร์น่ะตลกชะมัดเลย"
    • "ปาร์ตี้ที่แอชลี่ย์จัดน่ะเยี่ยมยอดไปเลยเนอะ"
    • "ไม่น่าเชื่อเลยเนอะว่าฝนจะตกหนักขนาดนี้?"
    • "ฉันชอบมาที่อาร์เบอร์คาเฟ่สุดๆ เลยล่ะ"
  2. เมื่อหาเรื่องที่คุณและทางนั้นเชื่อมต่อกันได้แล้ว คุณอาจจะใช้เรื่องนี้เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นการสนทนาต่อไปและค่อยๆ ขยับไปพูดถึงเรื่องส่วนตัวมากขึ้น คุณไม่ควรพูดอะไรที่ส่วนตัวเกินไปจนอาจจะทำให้อีกฝ่ายตกใจ เช่น พูดว่า "จริงๆ แล้วฉันแอบรักศาสตราจารย์โฮฟเฟอร์มาห้าปีแล้วล่ะ"​ เป็นต้น แต่คุณอาจจะพูดเรื่องของตัวเองแบบสบายๆ ลองอ่านตัวอย่างสิ่งที่คุณอาจจะพูดต่อจากการเริ่มต้นบทสนทนาดูสิ: [2]
    • "เขาเป็นอาจารย์ที่ดีที่สุดที่ฉันเคยได้เรียนด้วยเลย จริงๆ แล้วเขาเป็นสาเหตุที่ทำให้ฉันเลือกวิชาเอกภาษาอังกฤษเลยด้วยล่ะ"
    • "ฉันเจอแอชลี่ย์เมื่อปีที่แล้วตอนที่เบนพาฉันไปที่งานเลี้ยงธีม Great Gatsby ที่เธอจัดน่ะ"
    • "ฝนตกหนักเกินไปจริงๆ ตอนนี้ฉันกำลังเตรียมพร้อมสำหรับวิ่งมาราธอนก็เลยต้องฝึกวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าแทน แย่สุดๆ ไปเลยเนอะ"
    • "ทุกครั้งที่ฉันมาที่คาเฟ่นี้ ฉันรู้สึกเหมือนได้อยู่ในพื้นที่ส่วนตัว อาจจะเป็นเพราะกาแฟดริปของที่นี่แรงมากก็ได้ แต่เอาจริงๆ เลยนะ ฉันสามารถทำงานที่นี่ได้เป็นชั่วโมงๆ เลยล่ะ"
  3. หลังจากหาเรื่องที่คุณและทางนั้นเข้าถึงได้เหมือนกันและได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวคุณให้ทางนั้นรู้แล้ว ถึงเวลาที่คุณต้องดึงดูดความสนใจจากอีกฝ่ายและเปิดโอกาสให้ฝ่ายนั้นได้พูดด้วยการถามคำถามเพื่อที่ทางนั้นจะได้เปิดเผยเรื่องของตัวเองบ้าง แต่อย่าถามอะไรที่ลึกซึ้งเกินไป เช่น ถามเรื่องสุขภาพ ศาสนา หรือมุมมองทางการเมืองล่ะ ถามแค่เรื่องเบาๆ สนุกสนาน ลองถามคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับความสนใจ หน้าที่การงาน หรือเรื่องราวรอบตัวของอีกฝ่ายดูสิ วิธีการที่จะดึงให้อีกฝ่ายพูดคุยกับคุณก็เช่น:
    • "แล้วเธอคิดว่าไงบ้าง? เธอเรียนเอกภาษาอังกฤษเหมือนกันหรือเปล่าหรือว่ามาเรียนวิชานี้เพราะอยากฟังเรื่องตลกๆ จากศาสตราจารย์โฮฟเฟอร์?"
    • "เธอได้ไปปาร์ตี้นั้นเหมือนกันไหม หรือนี่เป็นครั้งแรก? จริงๆ ปาร์ตี้ที่แล้วก็สนุกแต่ฉันว่าฉันดื่มเหล้ามินต์เยอะไปหน่อย"
    • "แล้วเธอล่ะ? เพราะฝนตกเลยไม่ได้ทำอะไรสนุกๆ สัปดาห์นี้เหมือนกันหรือเปล่า?"
    • "ปกติแล้วคุณมาทำงานที่คาเฟ่นี้หรือแค่ว่าหาที่อ่านหนังสือเล่นๆ คะ?"
  4. ตอบสนองสิ่งที่อีกฝ่ายพูดด้วยการถามคำถามหรือแสดงความคิดเห็น. คำตอบของอีกฝ่ายจะช่วยบอกเองว่าคุณควรจะถามคำถาม แสดงความเห็นหรือเล่นมุก พยายามหาจุดสมดุลระหว่างการถามคำถามและการแสดงความเห็นล่ะ หากถามคำถามเยอะเกินไปคนๆ นั้นอาจจะรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังโดนคุณสอบสวน แต่หากแสดงความเห็นมากเกินไปก็เหมือนกับว่าคุณไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายพูดเลย วิธีการที่คุณจะสร้างบทสนทนาที่ลื่นไหลก็เช่น:
    • อีกฝ่าย : "ฉันก็เรียนเอกภาษาอังกฤษเหมือนกัน จริงๆ ฉันอยากเรียนเอกภาษาอังกฤษมาโดยตลอดแต่การได้เรียนกับอาจารย์ฮอฟเฟอร์นั้นถือเป็นโบนัสเลยก็ได้ว่าได้"
      • คุณ : "จริงเหรอ? แล้วเธอรู้สึกอย่างไรกับการเรียนสาขานี้? ดีจังเลยที่ได้เจอคนที่เจอคนเรียนสาขาที่สร้างแรงบันดาลใจเหมือนๆ กัน”
    • อีกฝ่าย : "ฉันไปงานเลี้ยงนั้นไม่ได้ แต่ฉันได้ไปงานเลี้ยงธีม Cinco de Mayo ที่เธอจัดเมื่อเดือนที่แล้ว งานเลี้ยงนั้นก็สนุกมากเลยนะ"
      • คุณ : "จริง! ก็ว่าแล้วทำไหมฉันถึงคุ้นหน้าเธอ เธอรู้จักแอชลี่ย์ได้ยังไงเหรอ? แอชลี่ย์น่ะบ้ามากเลยว่าไหม "
    • อีกฝ่าย : "จริงๆ ฉันก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับฝนมากนักหรอก แต่พอฝนตกก็พาสุนัขออกไปเดินเล่นยากมากเลย! นั่นแหละที่ฉันรำคาญ"
      • คุณ : "เธอเลี้ยงสุนัขเหมือนกันเหรอ? ฉันมีสุนัขพุดเดิ้ลตัวเล็กๆ ชื่อสเตลล่าล่ะ เธอมีรูปสุนัขของเธอไหม?"
    • อีกฝ่าย : "ฉันมาอ่านหนังสือที่นี่เฉยๆ น่ะ ไม่น่าเชื่อเลยว่าฉันไม่ได้อ่าน The Catcher in the Rye มานานขนาดนี้แล้ว"
      • คุณ : "ฉันชอบหนังสือเล่มนี้มากเลย! บางคนบอกว่าหนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องเกินจริง แต่ฉันไม่เห็นด้วยเลยสักนิด"
  5. หลังคุณเริ่มพูดคุยกับอีกฝ่ายอย่างจริงจังและดำเนินบทสนทนาไปเรื่อยๆ แล้ว คุณอาจจะมองรอบกายเพื่อหาเรื่องคุยกับอีกฝ่ายต่อ เช่น คุณอาจจะสังเกตว่าอีกฝ่ายแต่งกายอย่างไรหรือถืออะไรอยู่ หรือสังเกตสิ่งต่างๆ บนกำแพงที่คุณทั้งสองอาจจะนำมาพูดคุยกันได้ ตัวอย่างสิ่งที่คุณอาจพูดถึง ได้แก่:
    • "คุณใส่เสื้อของ Sweet 9ers รุ่นคลาสสิคเสียด้วย เป็นแฟนคลับมานานหรือยังคะ?"
    • "คุณไปวิ่งงานนิวยอร์กมาราธอนด้วยเหรอ? ไปมาปีไหนคะ? ฉันก็ไปมาเหมือนกันแต่ไม่รู้เสื้อหายไปไหนแล้ว"
    • "คุณคิดยังไงกับคอนเสิร์ตประสานเสียงที่จะจัดคืนนี้คะ? ฉันเห็นใบปลิวโฆษณาเต็มมหาลัยเลย แต่ไม่แน่ใจว่าจะไปดีไหม"
    • "อ๋อ หนังสือเรื่อง American Pageant น่ะเหรอ หนังสือเล่มนี้แทบจะบอกทุกอย่างที่ฉันควรรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อเมริกาเลยล่ะ วิชานี้ง่ายเหมือนเดิมไหม?"
  6. การใส่ใจฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูดจะช่วยให้คุณหาสิ่งที่คุณและฝ่ายนั้นสนใจตรงกันและดำเนินบทสนทนาได้น่าสนุกและเป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้น คู่สนทนาของคุณอาจจะแสดงความเห็นเล็กๆ น้อยๆ ที่หลุดออกจากคำถามหรือหัวข้อที่กำลังสนทนากันอยู่ ดังนั้น จดจ่อตั้งใจฟังและสังเกตดูว่าสิ่งที่อีกฝ่ายพูดจะสามารถนำไปเป็นจุดเริ่มต้นของการพูดคุยกันเรื่องอื่นๆ ได้หรือไม่ ลองดูตัวอย่างด้านล่างที่แสดงให้เห็นวิธีการที่คนสองคนสามารถจับประเด็นและดำเนินบทสนทนาไปยังเรื่องใหม่เพื่อพูดคุยกันอย่างลึกซึ้งกว่าเดิมดูสิ:
    • คุณ : "จริงๆ แล้วฉันเจอแอชลี่ย์ครั้งแรกตอนไปทริปช่วงวันหยุดหน้าร้อน พวกเราไปเที่ยวเม็กซิโกพร้อมๆ กับเพื่อนคนอื่นๆ ด้วยกัน"
    • อีกฝ่าย : "ฉันจำได้ว่าเธอเคยเล่าเรื่องทริปให้ฟัง! จริงๆ แล้วฉันเป็นคนช่วยสอนภาษาสเปนให้เธอก่อนไปทริปเอง แต่ก็ไม่รู้ว่าเธอได้ใช้จริงแค่ไหน เว้นแต่ว่าจะนับคำว่า piña colada ล่ะก็นะ"
    • คุณ : "คุณพูดภาษาสเปนด้วยเหรอ? เจ๋งไปเลย ถ้าคุณช่วยสอนภาษาสเปนก่อนฉันไปแลกเปลี่ยนที่มาดริดเมื่อตอนโน้นได้ก็คงจะดี จริงๆ ภาษาสเปนของฉันก็พอใช้ได้ตอนเรียนจบ แต่ถ้ามีคนช่วยก่อนหน้านั้นก็คงจะดีมากเลย!"
    • อีกฝ่าย : "ฉัน รัก มาดริด จริงๆ แล้วยายของฉันยังอาศัยอยู่ที่นั่นอยู่เลย ฉันก็เลยไปเยี่ยมเธอเกือบทุกหน้าร้อน เธอพาฉันไปที่ Prado เกือบทุกวันอาทิตย์เลยล่ะ"
    • คุณ : "มาดริดเป็นเมืองโปรดของฉันเลยล่ะ! งานของ El Grecos ที่ Prado นี่ถึงตายก็ต้องได้ไปดูสักครั้ง"
    • อีกฝ่าย : "เธอชอบ El Grecos เหรอ? ฉันเป็นแฟนของ Goya มากกว่า"
    • คุณ : "โอ้ งั้นเหรอ? เธอรู้หรือเปล่าว่ากำลังจะมีหนังเกี่ยวกับ Goya เข้าโรงอาทิตย์หน้า ฉันคิดว่า Ethan Hawke เล่นเรื่องนี้ด้วยล่ะ! อยากไปดูด้วยกันไหม?"
    • อีกฝ่าย : "แน่นอน!"
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

จบบทสนทนาอย่างสวยงาม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะจบการสนทนา คุณควรจะเปิดเผยอะไรเกี่ยวกับตัวเองบ้าง จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ เช่น คุณอาจจะเป็นพวกคลั่งแมว คลั่งไคล้โยคะ หรืออาจจะพูดถึงความคิดเห็นของคุณต้องอัลบั้มใหม่ของวงโปรด การปล่อยให้อีกฝ่ายจากไปโดยรู้เรื่องราวของคุณบ้างจะเชื่อมโยงคุณและอีกฝ่ายไว้ด้วยกันอย่างลึกซึ้งกว่าเดิมและไม่ทำให้อีกฝ่ายคิดว่าคุณแค่ชวนคุยเรื่อยเปื่อยไปอย่างนั้น
    • คุณไม่ควรเปิดเผยความคิดลึกซึ้งถึงความหมายของชีวิต ความรักที่สูญเสียไป หรือพูดเรื่องความตายตอนคุยกับอีกฝ่ายเรื่องสัพเพเหระ แค่เปิดเผยอะไรเกี่ยวกับตัวเองและรอจนความสัมพันธ์ของคุณและอีกฝ่ายก้าวไปอีกขั้นก่อนแล้วค่อยเปิดเผยอะไรส่วนตัวให้อีกฝ่ายรับรู้
  2. หากบทสนทนาผ่านไปด้วยดี ลองชวนอีกฝ่ายออกมาเจอกันอีกดูสิ. หากคุณชอบคุยกับคนๆ นี้จริงๆ ไม่ว่าจะปิ๊งอีกฝ่ายแบบคนรักหรือแค่อยากสนิทด้วยแบบเพื่อน คุณอาจจะพูดไปว่าคุณชอบคุยกับคนๆ นี้ในเรื่องที่เฉพาะเจาะจงและถามอีกฝ่ายว่าอยากออกมาเจอกันอีกหรือไม่และขอเบอร์โทรของอีกฝ่ายไว้ หรือคุณอาจจะแค่เอ่ยถึงสถานที่ที่คุณทั้งสองอาจได้เจอกันอีกก็ได้ ตัวอย่างสิ่งที่คุณอาจพูด ได้แก่:
    • "ฉันอยากไปดูหนังเรื่องนี้กับเธอจริงๆ นะเนี่ย ขอเบอร์เธอไว้ได้ไหมจะได้นัดแนะรายละเอียดกันทีหลังได้?"
    • "ฉันไม่เคยเจอใครชอบดูรายการ The Bachelor แบบที่ฉันชอบเลย รูมเมทของฉันกับฉันมักจะจัดปาร์ตี้ดูรายการด้วยกันทุกคืนวันจันทร์ ฉันขอเบอร์เธอไว้ได้ไหมจะได้ส่งรายละเอียดไปให้?"
    • "บางทีเราอาจจะเจอกันอีกในงานเลี้ยงหน้าของแอชลี่ย์เนอะ? ได้ข่าวมาว่าเธอจะไม่ให้แขกเข้างานหากไม่ใส่ชุดกรีก แบบเหมือนจริง มา คงน่าดูพิลึกล่ะ "
  3. หลักจากพูดคุยกันเรื่องสัพเพเหระจบแล้วและต้องแยกกัน ไม่ว่าคุณจะต้องกลับไปเรียนหรือจะเดินไปคุยกับคนอื่นในงานเลี้ยงต่อ คุณควรจะทำให้คู่สนทนารู้ว่าคุณให้ความสำคัญกับอีกฝ่าย ไม่ใช่แค่คุยกันไปงั้นๆ วิธีการจบบทสนทนาอย่างสุภาพ ได้แก่: [3]
    • "พูดคุยกับคุณแล้วสนุกมากเลย เดี๋ยวพอได้ลองทำพาเอลลาตามสูตรที่คุณให้มาแล้วจะบอกนะคะว่าเป็นยังไงบ้าง"
    • "จริงๆ แล้วอยากคุยเรื่องสเปนต่อกับคุณมากเลย แต่ฉันยังไม่ได้ทักทายนีน่าเลยและดูเหมือนว่าเธอจะกำลังจะกลับแล้วเสียด้วย"
    • "อุ๊ย นั่นมันเคลลี่เพื่อนรักของฉันนี่ คุณเคยเจอเธอหรือยังคะ? มาด้วยกันสิ เดี๋ยวฉันจะแนะนำให้รู้จักกันเอง"
    • "ฉันอยากคุยกับคุณต่อจริงๆ แต่ต้องไปเรียนแคลคูลัสแล้วล่ะ แต่ยังไงเราก็คงได้คุยกันอีกเร็วๆ นี้นะคะ"
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อได้เริ่มคุยถึงเรื่องใดแล้ว บทสนทนาก็จะเปลี่ยนหัวข้อไปเรื่อยๆ เอง สิ่งที่ยากที่สุดคือการพูดคุยกันถึงเรื่องต่างๆ อย่างลื่นไหล
  • ผ่อนคลายเข้าไว้ คนทั้งโลกไม่ได้มาฟังว่าคุณคุยเรื่องอะไร
  • พยายามเตรียมเรื่องตลกที่สามารถเล่าให้ "ใครฟังก็ได้" ไว้สักสามเรื่อง (ถามตัวเองว่า "ฉันจะกล้าเล่าเรื่องตลกนี้ให้แม่หรือยายฟังไหม?")
  • ให้เกียรติอีกฝ่ายเสมอ
  • ระวังการหายใจ อย่าหายใจถี่ กลั้นหายใจ หรือหายใจแรงเกินไป
  • อย่านินทาคนอื่น พูดคุยกันเรื่องเบาๆ พอ
  • แม้ว่าปกติแล้วคุณจะไม่อ่านหรือดูข่าว อย่างน้อยก็อ่านหัวข้อข่าวผ่านๆ เป็นประจำทุกวันนะ
  • ติดตามการแข่งขันกีฬาประจำฤดูกาลนั้นๆ โดยเฉพาะถ้าคนที่คุณอยากจะคุยเรื่องสัพเพเหระด้วยชอบกีฬา
  • ฝึกซ้อมด้วยการชวนคนส่งนม ไปรษณีย์ ฯลฯ ​คุยดูสิ คุณอาจจะแค่กล่าว "สวัสดี"​ ก่อนก็ได้หากคุณรู้สึกเขินอายเกินไปที่จะพูดคุยกัน
  • เมื่อคุณและอีกฝ่ายคุ้นเคยกันประมาณหนึ่งแล้ว การเล่นมุกแป้กแต่ถูกจังหวะอาจจะเรียกรอยยิ้มจากเขาหรือเธอได้
  • การปล่อยมุกเป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นการสนทนาตราบใดที่มุกไม่แป้กเกินไปน่ะนะ
โฆษณา

คำเตือน

  • พยายามรักษาบทสนทนาให้ไปในทิศทางที่อีกฝ่ายต้องการ โดยเฉพาะหากฝ่ายนั้นเน้นย้ำถึงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง พยายามแสดงความสนใจและพูดคุยกับเขาหรือเธอในเรื่องนั้นให้ได้
  • อย่าบังคับให้คนอื่นมาคุยเรื่องสัพเพเหระกับคุณ คนบางคนก็เป็นคนเก็บตัวและคนทุกคนก็มีเวลาที่อยากพูดคุยกับคนอื่นต่างกันไป บางคนอาจจะไม่สนใจสภาพอากาศหรืออยากรู้ว่าคุณซื้อรองได้ที่ไหนก็ได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,336 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา