ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณกำลังพยายามที่จะเป็นผู้ประกาศในรายการวิทยุ หรือพยายามแสดงความเป็นเจ้านายกับลูกหมาน้อยตัวใหม่ การพูดด้วยเสียงทุ้มต่ำเป็นอะไรที่มีประโยชน์มาก มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ และโชคดีว่าเราได้หาข้อมูลมามากจนทราบว่า การควบคุมการหายใจ เป็นวิธีแรกที่สามารถช่วยคุณได้ คุณสามารถพูดด้วยเสียงทุ้มต่ำได้โดยการ เปล่งเสียงให้ดังฟังชัด และลองใช้เทคนิคบางอย่าง ณ ขณะนั้น อย่าง กลืนน้ำลาย ก่อนจะพูดช่วยร่วมด้วยก็ได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เปล่งเสียงให้ดังฟังชัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยืนตรงอกผายไหล่ผึ่ง เชิดคาง จากนั้น พูดชื่อตัวเองและฟังเสียงดู อีกทางหนึ่ง คือ คุณอาจอ่านบทความในหนังสือพิมพ์หรือหนังสือ พิจารณาความดัง น้ำเสียง ลมที่ปนมากับเสียง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับความสูงของเสียง [1]
    • ระดับความสูงของเสียง เป็นสิ่งที่จะวัดว่าเส้นเสียงของคุณสั่นมากน้อยแค่ไหน [2]
    • หากฟังดูแล้วรู้สึกว่าเสียงสูง หรือมีระดับเสียงที่สูง นั่นหมายความว่าเส้นเสียงของคุณสั่นด้วยความถี่สูง [3]
    • หากเสียงของคุณต่ำหรือทุ้ม นั่นหมายความว่าเส้นเสียงของคุณสั่นด้วยความถี่ต่ำ [4]
  2. เวลาที่คุณพยายามพูดด้วยเสียงต่ำกว่าปกติ โอกาสที่เสียงหลงจะมีน้อยกว่า ให้ตั้งเป้าในการพักคอให้มากเท่าที่จะทำได้เพื่อว่าเส้นเสียงจะได้ไม่ตึงเกินไป [5]
    • ทำให้กล่องเสียงชุ่มชื้นและรักษาเสียงให้ใสโดยการผลิตน้ำลายขึ้นมาเล็กน้อยเป็นบางครั้ง และกลืนน้ำลายนั้น
  3. เลือกบทความสักท่อนจากหนังสือหรือบทความโปรดของคุณ ฝึกอ่านช้าๆ และอ่านด้วยเสียงต่ำ หากพบว่าคุณอ่านเร็วไป คุณอาจสังเกตเห็นว่าน้ำเสียงของคุณจะเริ่มคุมไม่ได้ ให้เชิดคางขึ้น หายใจด้วยท้องและอ่านบทความออกเสียง [6]
  4. มีแอพพลิเคชั่นบนมือถือมากมายบนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ซึ่งคุณสามารถใช้ฝึกเส้นเสียงได้ในเวลาที่คุณต้องการ แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถฝึกตามเป้าหมายที่ตนต้องการ และช่วยให้คุณติดตามสังเกตเสียงของตัวเองได้ด้วย คุณอาจลองใช้แอพพลิเคชั่นอันใดอันหนึ่งดังต่อไปนี้: [7]
    • โวคูลาร์ (Vocular) ช่วยให้คุณวัดระดับเสียงของคุณว่าต่ำมากน้อยแค่ไหนได้ และบอกได้ว่าเสียงคุณต่ำแค่ไหนเวลาพูด อีกทั้งคุณยังสามารถเปรียบเทียบเสียงตัวเองกับคนดังที่มีเสียงคล้ายๆ คุณได้ด้วย [8]
    • อีวา (Eva) เป็นแอพพลิเคชั่นที่สร้างมาเพื่อกลุ่มคนข้ามเพศที่กำลังอยู่ในช่วยเปลี่ยนผ่าน และต้องการเปลี่ยนเสียงตนเอง เช่น ระดับเสียง น้ำเสียง หรือ เสียงลม [9]
  5. ฮัมจากคอลึกลงไป ริมฝีปากแยกออกจากกัน และคางลงต่ำ ปลายคางชี้ลงไปทางหน้าอกเพื่อเป็นการวอร์มเสียง การฮัมเพลงเป็นการวอร์มเสียงที่ยอดเยี่ยมมากสำหรับนักดนตรีและนักร้อง และใครก็ตามที่อยากพัฒนาเสียงพูดของตนเอง [10]
    • ยกคางขึ้นช้าๆ ขณะที่กำลังฮัม แล้วเริ่ม พูด โดยตรงจากเสียงฮัมนั้น เพื่อให้เสียงทุ้มต่ำลง
  6. แทนที่จะพูดผ่านจมูก คุณควรพูดผ่านปาก แม้ว่าคุณจะสามาถมีเสียงทุ้มต่ำซึ่งเป็นเสียงขึ้นจมูก เสียงพูดทุ้มต่ำที่ไม่ฟังเหมือนเสียงขึ้นจมูกก็ฟังดูดีกว่าอยู่ดี. [11]
    • เลี่ยงการใช้เสียงที่เป็นลมแผ่วเบา เสียงก้องเกินไปหรือเสียงก้องสะท้อนคุณรู้สึกได้ข้างในอก (เรียกว่า เสียงอก).
  7. ฝึกพูดเพื่อที่ว่าคุณจะได้ยินเสียงของตนต่อหน้าตัวคุณเอง อย่าแขม่วท้องขณะที่ฝึกเทคนิคนี้ หายใจจากกระบังลม คุณน่าจะรับรู้ได้ถึงอากาศที่ผ่านท้องขึ้นมาถึงอก และจากนั้นก็มาถึงปาก
  8. เลี่ยงความพยายามที่จะเปลี่ยนเสียงของคุณอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเสียงตึงในช่วงเริ่มต้น ให้คุณฝึกเป็นเวลาสั้นๆ และใช้เสียงต่ำกว่าระดับเสียงปกติของคุณสักสอง ½ เสียง เมื่อฝึกได้สักพัก ให้ลดระดับเสียงให้ต่ำลงอีกด้วยความระมัดระวัง และให้เวลากับตัวเองมากเป็นพิเศษสักหน่อย
    • สนุกกับมันและทดลองกับเพื่อนและครอบครัวเพื่อดูว่าพวกเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง (มีแนวโน้มว่าพวกเขาอาจจะไม่คิดอะไรมาก) ลองเสียงตลกๆ และใช้น้ำเสียงแปลกๆ เพื่อฝึกควบคุมเสียงให้ดีขึ้น และจดจ่อกับเป้าหมายของตน นั่นก็เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีเสียงแบบที่ตนปรารถนาแล้ว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ลองใช้เทคนิคต่างๆ ในสถานการณ์จริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การวางท่าทางที่ดีจะช่วยให้คุณคงเสียงทุ้มและเสียงที่มีพลังไว้ได้ สิ่งที่ควรทำ คือ แทนที่จะปล่อยให้ศีรษะโน้มต่ำลงหรือเอียงไปด้านข้างเวลาพูด คุณควรพยายามให้ศีรษะตั้งตรงและคางเชิดขึ้น [12]
    • ท่าทาง ของคุณเป็นสิ่งสำคัญในการมีเสียงพูดที่น่าฟัง
  2. เคล็ดลับข้อหนึ่งที่จะมีเสียงทุ้มต่ำลง คือ ให้ทำเหมือนจะกลืนอะไรสักอย่างก่อนเริ่มพูด คุณไม่จำเป็นต้องกลืนอะไรจริงๆ ลองนึกถึงว่าคุณกำลังกลืนอะไรสักอย่าง แล้วคุณก็พูดอะไรออกมา เสียงของคุณจะต่ำกว่าปกตินิดหน่อย [13]
  3. ลองพูดให้ช้าลงกว่าปกติ พูดด้วยเสียงต่ำในช่วงแรก แล้วลองค่อยๆ พูด หากคุณพูดเร็วไป มันจะทำให้เสียงของคุณสูงขึ้น [14]
  4. เลี่ยงการพูดด้วยเสียงคำรามหรือเสียงแหบพร่า. การพูดด้วยเสียงแบบนี้อาจทำลายเส้นเสียงของคุณได้ มันอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ เช่น คออักเสบ [15]
    • เลี่ยงการสูบบุหรี่ แม้การสูบบุหรี่จะทำให้เสียงแหบหรือทำให้คุณมีเสียงลม ในระยะยาวจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึงเส้นเสียงและปอดของคุณด้วย [16]
    • หากเสียงของคุณแหบไม่เลิก คุณควรพบแพทย์
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ควบคุมการหายใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เวลาสักนิดสังเกตลมหายใจของคุณเอง สังเกตดูว่าคุณหายใจผ่านปากหรือจมูก สำหรับตอนนี้ อย่าเพิ่งเปลี่ยนวิธีหายใจ แค่สังเกตความรู้สึกตัวเองและหายใจตามปกติ
  2. ลองหายใจผ่านทางจมูกให้อากาศผ่านลงไปถึงท้อง จากนั้น ขณะที่คุณหายใจออกให้พูด “สวัสดี” ฟังระดับเสียงและความทุ้มของเสียงของคุณเพื่อเป็นการเปรียบเทียบ ให้ลองฝึกทำอย่างเดียวกันแต่สูดเอาอากาศเข้าไปที่หน้าอกหรือลำคอ เสียงจะออกมาสูงแหลมมากเวลาที่สูดลมหายใจลงลึกถึงลำคอ เสียงสูงปานกลางหากหายใจเข้าไปถึงหน้าอก และเสียงจะทุ้มต่ำเมื่อสูดลมหายใจลึกเข้าไปถึงกระบังลมส่วนล่าง [17]
  3. สูดลมหายใจให้ลึกถึงกระบังลมส่วนล่าง ขณะที่หายใจออก พูดอะไรสักอย่างที่อยากพูด เสียงของคุณจะออกมาทุ้มกว่าเดิม หากคุณหายใจลงไปถึงท้องส่วนล่าง [18]
    • เปิดปากตามธรรมชาติสักหน่อย เพื่อที่จะพูดตามปกติ. อย่าทำปากจู๋ ห่อปาก หรือเปลี่ยนรูปทรงของปากหรือแก้ม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อัดเสียงของคุณ ซื้อหรือยืมเครื่องบันทึกเสียง บันทึกเสียงของคุณตอนอ่านบทความในหนังสือพิมพ์หรือหนังสือ
  • นักร้อง นักแสดงหลายคนพึ่งการดื่มชาขิงก่อนการขึ้นแสดงครั้งสำคัญ แม้จะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ นักแสดงจำนวนมากอ้างว่าชาดังกล่าวช่วยผ่อนคลายและอบอุ่นเส้นเสียง [19]
  • หากคุณจ่ายไหว ก็อาจลองไปเรียนการฝึกพูดหรือการใช้เสียงสักสองสามครั้ง หากเป็นเช่นนั้นแล้ว ลองพูดคุยกับครูสอนการพูดหรือครูสอนร้องเพลงเพื่อดูว่าจะได้รับคำแนะนำอะไร และค่าใช้จ่ายคิดเป็นเงินเท่าไหร่
โฆษณา

คำเตือน

  • เลี่ยงการพูดด้วยเสียงกระโชก หรือทำให้กระแอมไอให้คอโล่งหนักเกินไป นั่นจะทำให้เสียงของคุณเกิดปัญหาได้ในภายหลัง
  • อย่าทำใช้งานเสียงหนักไปด้วยการเค้นเสียงที่ชวนอึดอัด อย่างเสียงแหบ (แหบแห้ง) เส้นเสียงของคุณ
  • หากคุณมีเสียงที่สูง เช่น เสียงเทเนอร์ อย่าพยายามเค้นหรือเปลี่ยนเสียงธรรมชาติของคุณให้เป็นอื่น
  • การดื่มน้ำเย็นจะทำให้เส้นเสียงตึง [20]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 46,669 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา