ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คำทักทาย “สวัสดี” ในภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานคือ “คนนิจิวะ(Konnichiwa)” แต่อันที่จริงแล้วภาษาญี่ปุ่นมีหลายวลีที่ใช้สำหรับการทักทาย คุณจะได้รู้เรียนรู้วิธีการทักทายในภาษาญี่ปุ่นที่เป็นประโยชน์มากที่สุด พร้อมกับรู้สถานการณ์ที่จะนำไปใช้จริงได้อีกด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

คำทักทายพื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คำว่า “คนนิจิวะ (Konnichiwa)” นำไปใช้ได้ในเกือบทุกสถานการณ์ [1] . นี่ถือเป็นคำทักทายสำหรับทุกๆคน และถ้าคุณจำคำว่า “Hello” ได้แค่อย่างเดียวล่ะก็ คำนี้ก็คล้ายๆกันนั่นแหละ
    • คุณใช้คำนี้ทักทายได้กับทุกคนโดยไม่เกี่ยงเพศหรือวัย
    • ภาษาญี่ปุ่นมีคำทักทายที่แบ่งตามแต่ละช่วงเวลาของวัน คำว่า คนนิจิวะ แปลอีกความหมายหนึ่งได้ว่า “สวัสดีตอนบ่าย”
    • อักษร คันจิ (kanji) ของคำนี้คือ 今日は และอักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ こんにちは
    • ออกเสียงคำทักทายนี้ว่า "คน-นิ-จิ-วะ"
  2. เวลาทักทายในโทรศัพท์ให้พูดว่า "โมชิ โมชิ (moshi moshi)" [2] . นี่ก็เป็นคำทักทายพื้นฐานเวลาพูด “สวัสดี” ทางโทรศัพท์
    • ใช้คำทักทายนี้ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายโทรหาหรือเป็นคนรับสาย คำว่า “โมชิ โมชิ” เหมาะใช้ทักทายเวลาโทรศัพท์มากกว่าคำว่า “คนนิจิวะ”
    • อย่าทักด้วยคำว่า โมชิ โมชิ เวลาเจอหน้ากัน
    • อักษร ฮิรางานะ (hiragana) เขียนว่า もしもし.
    • เวลาออกเสียง โมชิ โมชิ ให้ออกว่า มอชิ มอชิ
    โฆษณา


วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

คำทักทายแบบไม่เป็นทางการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คำว่า "โอสซุ (ossu)" ใช้ทักทายกันระหว่างเพื่อนผู้ชายที่สนิท [3] . นี่เป็นคำทักทายแบบเป็นกันเองสุดๆ ใช้ในหมู่เพื่อนผู้ชายที่สนิท หรือญาติผู้ชายที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน
    • คำนี้มักไม่ใช้ในหมู่เพื่อนผู้หญิง หรือเพื่อนต่างเพศ
    • โอสซุ อาจเทียบได้กับคำว่า “เฮ้ย แก” หรือ “ว่าไงแก” ในภาษาไทย
    • อักษร ฮิรางานะ (hiragana) สำหรับคำนี้เขียนว่า おっす
    • ออกเสียงคำนี้ว่า โอส
  2. ในโอซาก้า คำว่า "ยะโฮ (yaho)" เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ทักทายในหมู่เพื่อนฝูง
    • มักเขียนในรูปตัวอักษรคาตาคานะ เพราะใช้สื่ออารมณ์ได้ดี (ヤーホー)
    • ออกเสียงว่า “ยา-โฮ”
  3. )" เทียบกับภาษาไทยเหมือนกับคำว่า “เป็นไงบ้าง“
    • เวลาใช้คำทักทายนี้มีวิธีใช้เช่นเดียวกับคำทักทายแบบไม่เป็นทางการคำอื่นๆ คือควรใช้กับคนที่คุณคุ้นเคยเช่น เพื่อน พี่น้อง หรือกับเพื่อนร่วมชั้น หรือเพื่อนร่วมงานได้ในบางโอกาส
    • อักษร คันจิ (kanji) ของคำนี้คือ 最近どう? อักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ さいきん どう?.
    • ออกเสียงว่า ไซ-คิน-โด
  4. ทักทายคนที่ไม่ได้พบกันเป็นเวลานานใช้คำว่า "ฮิซาชิบุริ (hisashiburi)". ในภาษาไทยคล้ายกับคำว่า “ไม่ได้เจอกันนานเลยนะ” หรือ “นานแล้วที่ไม่ได้เจอกัน”
    • คุณอาจนำไปใช้พูดทักทายเวลาเจอเพื่อน หรือญาติสนิทที่ไม่ได้เจอกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือหลายปี
    • อักษร คันจิ (kanji) ของคำนี้คือ 久しぶり อักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ ひさしぶり
    • ถ้าต้องการพูดอย่างเป็นทางการ ให้พูดว่า "โอะ ฮิซาชิบุรีเดสเน (o hisashiburi desu ne)" อักษร คันจิ (kanji) ของคำนี้คือ お久しぶりですね อักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ おひさしぶりですね#*ออกเสียงทั้งประโยคเต็มว่า โอ-ฮี-ซา-ชี-บู-รี-เดส-สุ-เน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

มารยาทในการโค้ง

ดาวน์โหลดบทความ

เมื่อคุณต้องการแสดงความเคารพคนที่คุณเจอในประเทศญี่ปุ่น หรือในสังคมญี่ปุ่น การทักทายที่เหมาะสมคือ การโค้ง ซึ่งฝ่ายไหนเริ่มทำก่อนก็ได้ (คนที่ฝ่ายทักคนแรกมักเริ่มก่อน)

  1. การโค้งของคนญี่่ปุ่นเป็นการทำความเคารพเหมือนการไหว้ของคนไทย. สิ่งสำคัญที่คุณต้องจำคือ ตอนจะโค้งกลับ
  2. เวลาโค้งกลับ คุณต้องโค้งให้ต่ำกว่าคนที่โค้งทักทายคุณก่อน. การโค้งต่ำกว่าแสดงให้เห็นว่าคุณเคารพคนคนนั้น คนที่เป็นฝ่ายโค้งก่อนแสดงความเคารพโดยการโค้ง ถ้าคุณไม่โค้งต่ำกว่า คงคล้ายกับคุณยกมือรับไหว้ข้างเดียวซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบกันนัก
    • การโค้งเพื่อทักทายทั่วไปจะประมาณ 15 องศา สำหรับคนที่เพิ่งเจอกันครั้งแรกจะโค้ง 30 องศา ส่วนการโค้ง 45 องศานั้นจะไม่ค่อยใช้ทักทาย แต่จะเป็นโค้งกับบุคคลสำคัญเช่น นายกรัฐมนตรี หรือจักรพรรดิ
    • ถ้าเราต้องการจะทักทายเพื่อนที่ดี อาจใช้การก้มหัวหรือพยักหัวแทนได้ ซึ่งจะดูลำลองกว่า
  3. โค้งให้แขนแนบกับลำตัวและตามองไปทางเดียวกันกับหัวของเรา. โดยการโค้งต้องโค้งตั้งแต่เอว การโค้งเฉพาะไหล่และหัวนั้นดูไม่เป็นทางการและอาจเป็นการเสียมารยาท
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

คำทักทายตามช่วงเวลาของวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปลี่ยนจากคนนิจิวะเป็นคำว่า "โอะฮาโย โกไซมัส (ohayō gozaimasu)" เพื่อใช้ทักทายในตอนเช้า. เวลาที่คุณเจอใครก่อนเที่ยง นี่เป็นคำทักทายพื้นฐานเหมือนกับคำว่า “สวัสดี”
    • การทักทายแบ่งตามช่วงเวลานั้นถือว่าสำคัญมากในญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับไทย คุณอาจพูดคำว่า “คนนิจิวะ” ในตอนเช้าก็ได้ แต่คำว่า “โอะฮาโย โกไซมัส” จะฟังดูเป็นธรรมชาติมากกว่า
    • อักษร คันจิ (kanji) ของคำนี้คือ お早うございますและอักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ おはようございます.
    • คุณจะพูดคำทักทายในตอนเช้าสั้นๆ เหลือแค่คำว่า “โอะฮาโย” เวลาทักทายเพื่อนหรือคนอื่นๆ ที่คุณคุ้นเคยด้วยก็ได้ อักษร คันจิ (kanji) ของคำนี้ お早う และอักษร ฮิรางานะ (hiragana) おはよう.
    • ออกเสียงคำทักทายนี้ว่า โอะ-ฮา-โย-โก-ไซ-อิ-มัส
  2. หลังเวลาอาหารเย็น คุณคงอยากเริ่มทักทายด้วยคำอื่นๆ นอกเหนือจากคำว่า “คนนิจิวะ”
    • สำหรับคำทักทายในช่วงเวลาอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง คำว่า คมบังวะ ถือเป็นคำทักทายพื้นฐานในช่วงตอนค่ำ คุณอาจใช้ คนนิจิวะ แทนก็ได้ แต่คนมักใช้น้อยกว่า
    • อักษร คันจิ (kanji) ของคำนี้คือ 今晩はและอักษร ฮิรางานะ (hiragana) คือ こんばんは
    • ออกเสียงคำนี้ว่า คม-บัง-วะ
  3. ลองกล่าวราตรีสวัสดิ์ด้วยคำว่า "โอยาสึมินาไซ (oyasumi nasai)" ในตอนดึกหรือหลังท้องฟ้ามืดแล้ว. คุณสามารถใช้ประโยคนี้ทักทายได้เหมือนกัน
    • รู้ไว้ก่อนว่า โอยาสึมินาไซ มักใช้พูดแทนคำว่า “บาย” บ่อยกว่าในตอนกลางคืน และใช้มากกว่าเป็นคำสวัสดี ถึงแม้ว่าจะสามารถใช้ทักทายได้ก็ตาม
    • เวลาที่คุณอยู่กับเพื่อน เพื่อนร่วมชั้น หรือคนในครอบครัวที่สนิทกัน หรือคนที่คุณคุยได้อย่างสนิทสนมด้วย ประโยคนี้อาจพูดเหลือแค่คำว่า โอยาสึมิ (oyasumi)
    • อักษร ฮิรางานะ (hiragana) สำหรับคำว่า โอยาสึมิ (oyasumi) คือ おやすみ และอักษร ฮิรางานะ (hiragana) สำหรับทั้งประโยค โอยาสึมินาไซ (oyasumi nasai) คือ おやすみなさい
    • ออกเสียงคำทักทายนี้เร็วๆ ว่า โอ-ยา-สึ-มิ-นา-ไซ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าไม่มั่นใจ ให้โค้ง 30 องศาก่อนเสมอ
  • ถ้าอยากให้การทักทายดูเป็นธรรมชาติ ให้กล่างทักทายด้วยคำทักทายตามช่วงเวลา เพราะการกล่าวสวัสดีตอนเช้าในช่วงเย็นนั้นอาจจะดูประหลาด
  • รู้ไว้ก่อนว่าคำทักทายแบบมาตรฐานสามารถนำไปใช้ได้ทุกภูมิภาคในญี่ปุ่น และกับผู้ที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้เหมือนกัน แต่ก็มีคำทักทายพิเศษบางคำที่ใช้ตามแต่ละภาษาถิ่นของญี่ปุ่น ถ้าคุณต้องการสร้างความประทับใจกับคนที่พูดภาษาถิ่นในญี่ปุ่นแล้วล่ะก็ คุณสามารถใช้คำทักทายทั้งแบบมาตรฐานตามที่กล่าวมา หรือลองค้นคว้าหาคำทักทายในภาษาถิ่นนั้นดู [4]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 77,959 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา