ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ภาษาฮินดี (मानक हिन्दी) เป็นหนึ่งในภาษาทางราชการของสาธารณรัฐอินเดีย [1] และเป็นภาษาพูดของทางอินเดียตอนเหนือ ภาษาฮินดีนั้นมีรากฐานร่วมกันกับภาษาตระกูลอินโด-อารยันอื่นๆ เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอูรดู และภาษาปัญจาบ เช่นเดียวกับภาษาอินโด-อิหร่านและอินโด-ยุโรปที่รวมภาษาตั้งแต่เปอร์เซียไปถึงเคอร์ดิช รัสเซียจนถึงแกลิคของพวกไอริช การเรียนพูดภาษาฮินดีนั้นนับเป็นความท้าทาย แต่คุณสามารถเริ่มต้นโดยการหัดพูดคำและประโยคง่ายๆ คุณควรหาทางได้ฝึกพูดฮินดีในชั้นเรียน ฝึกกับคนอื่นๆ หรือฝึกเองโดยใช้เครื่องมือออนไลน์

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เรียนรู้ไวยากรณ์ฮินดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในภาษาฮินดีนั้น คำนามทุกคำ ซึ่งก็คือคำสำหรับสิ่งของ สถานที่ และผู้คนนั้น จะมีการบ่งบอกเพศ: เพศชาย (M) หรือเพศหญิง (F) ให้แน่ใจว่าคุณจำเพศของคำนามทุกคำในภาษาฮินดีเพราะเพศในคำนามฮินดีนั้นสำคัญต่อไวยากรณ์และการสื่อสารทางภาษาที่ถูกต้องอย่างมาก [2]
    • คุณสามารถประยุกต์กฎทั่วไปเพื่อระบุเพศในคำนาม คำที่ลงท้ายด้วยสระ आ (อา) มักจะเป็นเพศชาย และคำที่ลงท้ายด้วยสระ ई (อี) มักเป็นเพศหญิง แต่จำไว้ว่ามีข้อยกเว้นมากมายในกฎข้อนี้ ทางที่ปลอดภัยจึงยังควรเป็นการจดจำเพศในคำนามต่างๆ และฝึกฝนโดยใช้มันในประโยคภาษาฮินดี [3]
    • ตัวอย่าง คำนามสำหรับเด็กผู้ชายคือ: लड़का ladkaa (แลดกา) (M) และคำนามสำหรับเด็กผู้หญิงคือ: लड़की ladkee (แลดกี) (F) กฎทั่วไปของเพศจะใช้ได้ในกรณีของคำนามเหล่านี้
    • แต่คำนามอย่าง मेज़ mez (เมซ) – โต๊ะ (F) หรือ घर ghar (การ์) – บ้าน (M) ล้วนเป็นข้อยกเว้นของกฎเพศในคำนาม
  2. เพื่อที่จะสื่อสารในภาษาฮินดีอย่างมีประสิทธิภาพ คุณจะต้องเรียนรู้คำสรรพนามง่ายๆ อย่าง “เขา, เธอ, ฉัน, พวกเรา, พวกเขา” คำสรรพนามในภาษาฮินดีได้แก่:
    • บุรุษที่หนึ่งเป็นเอกพจน์: मैं main (เมน์) - ฉัน
    • บุรุษที่หนึ่งเป็นพหูพจน์: हम hum (ฮัม) – เรา
    • บุรุษที่สองเป็นเอกพจน์: तू too (ตู) – เธอ (สนิทสนม)
    • บุรุษที่สองเป็นพหูพจน์: तुम tum (ตุม) – คุณ (ไม่เป็นทางการ), आप aap (อ๊าพ) – คุณ (เป็นทางการ)
      • พึงตระหนักว่าคำสรรพนามแต่ละคำนั้นจะใช้ตามระดับความสุภาพของการสนทนา คุณควรใช้คำว่า आप aap (อ๊าพ) อย่างเป็นทางการเมื่อพบกับใครสักคนเป็นครั้งแรก หรือในเวลาพูดกับผู้อาวุโสกว่า หรือหากคุณต้องการจะแสดงความเคารพนับถือกับคนที่คุณสนทนาด้วย
      • คำสรรพนาม तुम thum (ตุม) ที่ไม่เป็นทางการนั้นเอาไว้ใช้เวลาคุณพูดกับเพื่อนหรือญาติสนิท คำสรรพนาม तू too (ตู) ที่ไม่เป็นทางการนั้นสามารถใช้ในเวลาที่คุณพูดคุยเล่นๆ หรือเวลาแสดงความใกล้ชิด อย่างเช่นคุยกับคนรักหรือคุยกับลูก อย่าใช้คำสรรพนามที่ไม่เป็นทางการอย่าง तू too (ตู) เวลาคุยกับคนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่ได้สนิทสนม เพราะมันถือเป็นคำหยาบ
    • บุรุษที่สามเป็นเอกพจน์: यह yah (เยห์) – เขา / เธอ / มัน / นี่
    • บุรุษที่สามเป็นพหูพจน์: वह vah (วัวห์) – เขา / เธอ / มัน / นั่น
      • เวลาพูดฮินดี คำเหล่านี้จะอ่านแตกต่างออกไปเล็กน้อย: यह จะอ่านว่า เยห์ ส่วน वह จะอ่านว่า วอห์ คุณควรใช้ यह (เยห์) เวลาพูดถึงใครสักคนหรืออะไรสักอย่างที่อยู่ใกล้คุณ เช่น หากมีใครสักคนยืนข้างคุณ คุณจะใช้ यह (เยห์)
      • คุณควรใช้ वह (วัวห์) เวลาพูดถึงใครสักคนหรืออะไรสักอย่างที่อยู่ห่างออกไป เช่น หากใครคนหนึ่งกำลังเดินข้ามถนน คุณควรใช้ वह (วัวห์)
      • เวลาไม่แน่ใจ ให้ใช้ वह (วัวห์)
    • บุรุษที่สามเป็นพหูพจน์: ये ye (เย) – เหล่านี้ / พวกเขา
    • บุรุษที่สามเป็นพหูพจน์: वे ve (เว) – เหล่าโน้น / พวกเขา
      • คุณจะได้ยินคำว่า वे ve (เว) ถูกพูดเป็นเอกพจน์ว่า “voh” (วัวะ) อยู่บ่อยๆ คำสรรพนามบุรุษที่สามแบบพหูพจน์นั้นดป็นไปตามกฎเดียวกัน: ये ye (เย) สำหรับคน/สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวคุณ (ในเรื่องของระยะทาง) และ वे vo (วัวะ) สำหรับคน/สิ่งของที่อยู่ห่างออกไป
      • โปรดสังเกตว่าทั้ง यह yeh (เย) หรือ वह voh (วัวห์) สามารถหมายถึงทั้ง “เขา” หรือ “เธอ” ในภาษาฮินดีนั้น สรรพนามบุรุษที่สามจะไม่อยู่บนพื้นฐานของเพศคนที่คุณกำลังเอ่ยถึง หากจะดูว่าคนผู้นั้นเป็น “เขา” หรือ “เธอ” คุณต้องจับเอาจากบริบทภายในประโยค
  3. เริ่มจากการเรียนคำกริยาฮินดีในรูปปกติ (ในภาษาอังกฤษเหมือน “to ___”) เพราะคำกริยาในภาษาฮินดีจะผันโดยเอาคำลงท้ายกริยาออกแล้วเติมคำห้อยท้ายอื่นเข้าไปแทน คำกริยาปกติของฮินดีจะลงท้ายด้วย ना naa (นะ) [4]
    • ตัวอย่างของคำกริยารูปปกติ (ช่องที่ 1) ในภาษาฮินดีได้แก่: होना honaa (โฮน่ะ) – เป็น; पढ़ना padnaa (ปาดนา) – อ่านหรือเรียน; बोलना bolnaa (โบลนา) – พูด; सीखना seekhnaa (ซีคนา) – เรียน; जाना jaanaa (จานา) – ไป [5]
  4. คุณจะต้องผันคำกริยาในภาษาฮินดีเพื่อสะท้อนหัวข้อของไวยากรณ์เช่น ตัวเลข เพศ กาล และอารมณ์ [6]
    • ตัวอย่าง คำกริยารูปปกติ होना honaa (โฮน่ะ) – เป็น นั้นสามารถผันได้หลายแบบจนกลายเป็น: [7] :
      • मैं हूँ main hoon (เมน์ฮูน์ ตัว 'n' ไม่ออกเสียง) – ฉัน
      • हम हैं ham hain (ฮัมเฮน์ ตัว 'n' ไม่ออกเสียง) – พวกเรา
      • तू है thoo hai (ตูเฮ) – คุณ (สนิทสนม)
      • तुम हो thum ho (ตุมโฮะ) – คุณ (ไม่เป็นทางการ)
      • आप हैं aap hain (อ๊าพเฮน์) – คุณ (เป็นทางการ)
      • यह है yah hai (เยเฮ) – เขา/เธอ/นี่
      • वह है voh hai (วัวะเฮ) – เขา/เธอ/นั่น
      • ये हैं ye hain (เยเฮะ) – พวกนี่/พวกเขา
      • वे हैं ve hain (เวเฮะ) – พวกนั่น/พวกเขา
    • มีการผันคำกริยาตามเพศสามแบบในรูปแบบคำกริยากาลปัจจุบัน:
      • สำหรับประธานประโยคเอกพจน์ที่เป็นเพศชาย ให้ตัดคำตามท้ายกริยาปกติ ना naa (นา) แล้วเติม ता taa (ตา)
      • สำหรับประธานพหูพจน์เพศชาย ให้ตัดคำตามท้ายกริยาปกติ ना naa (นา) แล้วเติม ते te (เต)
      • สำหรับประธานประโยคที่เป็นเพศหญิงไม่ว่าจะเอกพจน์หรือพหูพจน์ ให้ตัดคำตามท้ายกริยาปกติ ना naa (นา) แล้วเติม ती tee (ตี)
    • คำกริยาในภาษาฮินดีมีหลายรูปกาล ดังนั้นคุณจำเป็นต้องใช้คู่มืออ้างอิงเช่น ตำราหรือคู่มือสอนภาษาเพื่อเรียนรู้ว่าจะผันคำกริยานอกเหนือจากกาลปัจจุบันอย่างไร คุณยังสามารถใช้พจนานุกรมดีๆ สักเล่มมาช่วยในการผันคำกริยาใหม่ๆ ด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เรียนคำง่ายๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คำว่า “สวัสดี” และ “ลาก่อน” เป็นคำเดียวกันในภาษาฮินดีนั่นคือ “namaste”, อ่านว่า nuh-MUS-stay (นมัสเต) ปกติคุณจะเอ่ยทักทายใครสักคนด้วยคำว่า “namaste” ในตอนต้นของการสนทนา หรือใช้ทักทายง่ายๆ เวลาเดินสวนกันก็ได้ [8]
    • “อรุณสวัสดิ์” ในภาษาฮินดีคือ “Suprabhaat” (ชุปปราผาด) และ “สายัณห์สวัสดิ์” ในภาษาฮินดีคือ“Shub sundhyaa” (ชุปสันเทีย) “ยินดีต้อนรับ” ในภาษาฮินดีคือ “Aapka swaagath hai!” (อ๊าพกา สวากุธ เฮ!)
    • คำแนะนำการอ่านออกเสียงคำเหล่านี้สามารถหาได้ที่นี่: https://www.youtube.com/watch?v=hD9serDDbY8#t=17 .
  2. ฝึกใช้คำในหนึ่งสัปดาห์เพื่อขยายคำศัพท์ภาษาฮินดีของคุณ มันจะช่วยได้ถ้าฟังคนอินเดียพูด ซึ่งสามารถหาได้จากที่นี่: https://www.youtube.com/watch?v=hD9serDDbY8#t=17 . [9]
    • วันอาทิตย์: RaveevaaR (ระวิวาร์)
    • วันจันทร์: SomvaaR (โสมวาร์)
    • วันอังคาร: MangalvaaR (มังกาลวาร์)
    • วันพุธ: BudvaaR (บุธวาร์)
    • วันพฤหัสบดี: guRoovaaR (กุรูวาร์)
    • วันศุกร์: shukRavaaR (ชุกราวาร์)
    • วันเสาร์: shaneevaaR (ชานีวาร์)
    • คุณยังสามารถฝึกพูด “เมื่อวานนี้” ซึ่งก็คือ “kal”(ไกล์); วันนี้ ซึ่งก็คือ “aaj” (อ๊าจ); กลางวัน ซึ่งก็คือ “dhin” (ดิน); กลางคืน ซึ่งก็คือ “raath” (ราธ)
  3. อีกหัวข้อที่ง่ายคือตัวเลข 1-20 ในภาษาฮินดี การเรียนนับตัวเลขเป็นอีกวิธีที่จะช่วยขยายคำศัพท์มากขึ้นและทำความคุ้นเคยกับเสียงอ่านภาษาฮินดีมากขึ้น [10]
    • ศูนย์: shunya/sifer (ชูนเนีย/ซิเฟอร์)
    • หนึ่ง: eyk (เอก)
    • สอง: dho (โด)
    • สาม: then (ตีน)
    • สี่: chaar (จาร์)
    • ห้า: paanch (ปัญจ์)
    • หก: chey (เชย์)
    • เจ็ด: saath (ศาธ)
    • แปด: aat (อ๊าธ)
    • เก้า: now (นอ)
    • สิบ: dhas (ดาส)
    • สิบเอ็ด: gyaaRah (เกียราห์)
    • สิบสอง: baaRah (บาราห์)
    • สิบสาม: teyRah (ตีราห์)
    • สิบสี่: chowdhah (ชอดาห์)
    • สิบห้า: pandhRaah (ปัญจ์ราห์)
    • สิบหก: solah (ซอลาห์)
    • สิบเจ็ด: sathRah (ศาธราห์)
    • สิบแปด: ataaRaah (อธาราห์)
    • สิบเก้า: unnees (อุนนีส)
    • ยี่สิบ: bees (บีส)
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เรียนรู้ประโยคง่ายๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอคุณเริ่มคุ้นเคยกับคำภาษาฮินดี อาจลองพูดประโยคง่ายๆ อย่าง “คุณชื่ออะไร” ซึ่งก็คือ “Aap ka nam kya hai?” ออกเสียงว่า “aap kaa NAAM kya hai” (อ๊าพ กา น้าม ยา เฮ) [11] [12]
    • คุณยังสามารถเรียนวิธีตอบเมื่อมีคนถามชื่อคุณเป็นภาษาฮินดีโดยการตอบว่า “ฉันชื่อ…” หรือ “Mera nam...hein” ออกเสียงว่า “MAY-ra naam...hay” (เม-รา นาม...เฮ) ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณชื่อ ถ้าคุณชื่อชมพู่ คุณอาจพูดว่า “Mera naam Chompoo hein” (เม-รา นาม ชมพู่ เฮน์)
  2. เพื่อให้บทสนทนาดำเนินต่อไป คุณอาจถามว่า “สบายดีไหม” หรือ “Aap kaisey hain?” ออกเสียงว่า “aap KAY-se hain” (อ๊าพ เก เส เฮน์) [13]
    • คุณอาจตอบคำถามนั้นด้วยคำว่า “ฉันสบายดี ขอบคุณมาก!” หรือ “Mein theek hoon, shukriya!” (เมน์ ธีค ฮูน์ ชุกรียา!)
    • คุณยังสามารถฝึกพูด “ขอบคุณ” หรือ “Dhanya vaad” ออกเสียงว่า “DUN-y e vaad” (ธัญญา วาด) คุณสามารถตอบกลับเวลาใครเอ่ยขอบคุณเป็นภาษาฮินดีโดยการพูดว่า “ด้วยความยินดี” หรือ “Shukriyaa” (ชุกรียา)
  3. พอคุ้นเคยกับคำและประโยคในภาษาฮินดีหลายคำมากขึ้น คุณอาจต้องการเรียงร้อยมันเข้าด้วยกันเป็นบทสนทนาสั้นๆ กับเพื่อน คุณยังสามารถฝึกด้วยตัวเอง บทสนทนาตัวอย่างได้แก่:
    • “Namaste!” (นมัสเต) (หรือ “Arrey, Dost!” (อาเร โดส!) ซึ่งหมายถึง “ว่าไงเพื่อน!” อันเป็นคำทักทายแบบเป็นกันเอง)
    • “Namaste!” (นมัสเต!)
    • “Aap kaisey hain?” (อ๊าพ เกเส เฮน์) (สบายดีหรือเปล่า)
    • “Mein theek hoon, shukriya! Aur aap?” (เมน์ ธีค ฮูน์ ชุกรียา! อาร์ อ๊าพ)(ฉันสบายดี ขอบใจนะ แล้วเธอล่ะ)
    • “Theek-thaak” (ธีค-ธาค) (สบายดี)
    • “Alvida!” (อาล์วิดา!) (ลาก่อน!)
    • “Namaste!” (นมัสเต!) (สวัสดี!)
  4. หากคุณวางแผนจะไปอินเดียหรือบริเวณที่คนพูดภาษาฮินดีกัน คุณอาจต้องการฝึกประโยคที่ใช้บ่อยๆ เพื่อช่วยคุณสื่อสารกับคนที่นั่นได้ คุณควรฝึกประโยคเหล่านี้กับเพื่อนที่เรียนภาษาฮินดีหรือคนอินเดีย เพื่อจะได้ออกเสียงคำเหล่านี้ได้คล่อง [14]
    • “ฉันหลงทาง”: “Hum kho gaye hain” (ฮัม โค กาย เฮน์)
    • “คุณพอช่วยฉันหน่อยได้ไหม”: “Kya aap meri madad kar saktey hain?” (กยา อ๊าพ เมรี มาด๊าด การ์ ซากะเต เฮน์)
    • “ห้องน้ำอยู่ที่ไหน”: “śaucaghara kahaan hai?” (ซอ-ซา-กฮาร์ คาฮา เฮ)
    • “เท่าไหร่”: “Yeh kaisey diyaa?” (เย เกเส ดิยา)
    • “ขอโทษนะครับ…” (ขอให้ทำอะไรสักอย่าง): “Kshama keejeeae…” (ชามะ คีเจีย...)
    • “โทษนะ…” (ขอทาง): “Kshama keejeeae…” (ชามะ คีเจีย...)
  5. เรียนรู้วิธีการสั่งอาหารในร้านอาหารอินเดีย. คุณสามารถฝึกสั่งอาหารเป็นภาษาฮินดีได้ ซึ่งเป็นอีกวิธีที่จะได้ใช้การสนทนาเป็นภาษาฮินดี บันทึกเสียงของประโยคภาษาฮินดีเหล่านี้สามารถหาฟังได้จากเว็บไซต์ Audible Hindi [15]
    • “คุณต้องการ …?” : “kya aapako … pasand hai?” (กยา อ๊าปะโก...ปาซาน ไฮ)
    • “คุณต้องการจะดื่มอะไร”: “Aap kya pina pasand karenge?” (อ๊าพ กยา ปินา ปาซาน กาเฮงเก้)
    • “ฉันอยากได้…”: “main … lena pasand karunga.” (เมน์...ลีนา ปาซาน การุงก้า)
    • “ฉันไม่ทานเนื้อหรือปลา”: “Main macchi ya maas nahin khata.” (เมน์ มาสชิ ยา มาส เนฮิน คาตา)
    • “ฉันไม่ดื่ม”: “main shrab nahin pita.” (เมน์ ชาหรับ เนฮิน ปิตา)
    • “มันไม่ได้เรื่อง!”: “yah bhayankar hai!” (เย พยังการ์ ไฮ)
    • “มันอร่อยมาก!”: “yah swadisht hai!” (เย สวาดิธ ไฮ)
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ฝึกฝนภาษาฮินดีของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการเรียนภาษาใหม่ๆ คือลงชื่อเข้าเรียนในชั้นเรียนเสริมภาษา ที่คุณจะได้พบปะกับครูผู้สอนและนักเรียนคนอื่นๆ อย่างน้อยก็สัปดาห์ละครั้ง คุณจะสามารถได้ฝึกบทสนทนาภาษาฮินดีต่อหน้ากับครูผู้สอนและได้รับคำแนะนำเรื่องการออกเสียงหรือสำเนียงกันเดี๋ยวนั้น
    • การได้อยู่แวดล้อมด้วยนักเรียนคนอื่นที่เรียนภาษาเดียวกันก็มีประโยชน์ เพราะจะได้ช่วยสนับสนุนกันและกันในการฝึกภาษา มองหาชั้นเรียนภาษาฮินดีดูทั้งในมหาวิทยาลัยหรือศูนย์ชุมชนชาวอินเดีย
  2. ใช้เครื่องมือออนไลน์อย่างวิดีโอหรือพอดคาสต์. มีเครื่องมือเรียนภาษาออนไลน์มากมายสำหรับคนหัดเรียนภาษาฮินดีที่เน้นการพูดคำหรือประโยคง่ายๆ จนไปถึงองค์ประกอบทางภาษาขั้นซับซ้อน อย่างเช่นการผันคำกริยา การเชื่อมประโยค คำคุณศัพท์ และเสียง
  3. หนังสือสำหรับเด็กในภาษาฮินดีเหมาะจะนำมาเรียนศัพท์กับประโยคพื้นฐานได้ในแบบที่สนุกด้วย หนังสือเด็กหลายเล่มยังเหมาะแก่การฝึกบทสนทนาในภาษาฮินดีให้คล่องขึ้น แถมยังมีภาพที่ช่วยเน้นศัพท์คำนั้นอีก
    • คุณสามารถหาหนังสือเด็กในภาษาฮินดีมากกว่า 60 เล่มได้ที่นี่: http://www.learning-hindi.com/ บางเล่มมีแบบบันทึกเสียงที่จะทำให้ฝึกออกเสียงได้เก่งขึ้นด้วย
  4. หากคุณมีเพื่อนที่พูดภาษาฮินดีได้คล่อง อาจนัดแนะขอเจอเขาทุกสัปดาห์เพื่อฝึกพูดด้วยกัน ใช้หัวข้อทั่วๆ ไป อย่างเรื่องสภาพอากาศหรือความรู้สึกในวันนั้น แล้วพยายามเลื่อนไปหาหัวข้อที่ซับซ้อนกว่านั้น
    • คุณยังสามารถออกไปหาการรวมกลุ่มคนพูดภาษาฮินดีแถวนั้นว่ามีหรือเปล่า ซึ่งจะช่วยคุณได้ฝึกกับคนที่พูดได้คล่องแคล่วกว่า
  5. อินเดียมีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ใหญ่มาก รู้จักกันดีว่า “บอลลีวูด” และมีหนังออกฉายมากกว่า 1,000 เรื่องต่อปี [16] คุณสามารถหาหนังที่พูดภาษาฮินดีได้ตามบริการสตรีมมิ่งหรือผ่านผู้ให้บริการเนื้อหาอย่าง iTunes หรือไปเช่าหนังจากร้านให้เช่าแถวพาหุรัด ดูหนังเหล่านี้เพื่อให้สนทนาได้เก่งขึ้น โดยจะดูทั้งที่เปิดซับไตเติลหรือไม่ก็ได้เพื่อฝึกการฟังภาษาฮินดีที่พูดโดยคนอินเดียโดยตรง
    • คุณอาจเริ่มด้วยการดูหนังยอดนิยมในแวดวงหนังอินเดียอย่าง Mughal-e-Azam (มักถูกจัดอันดับอยู่บ่อยครั้งให้เป็นภาพยนตร์บอลลีวูดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล) หนังตลกอย่าง Golmaal และหนังชีวิตเรื่อง Kahaani [17]
  6. เมืองใหญ่ทั้งหลายส่วนใหญ่จะมีชุมชนชาวอินเดียอาศัย ซึ่งมักจะจัดงานเทศกาลฮินดูหรืองานทางวัฒนธรรม นี่จะเป็นโอกาสให้ได้พบเจอเพื่อนใหม่ชาวอินเดียและเรียนรู้วัฒนธรรมฮินดูเพิ่มขึ้น อย่างงานฉลองบูชาพระแม่อุมาที่วัดแขก เป็นต้น
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 43,199 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา