ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การพูดในที่สาธารณะอาจเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับใครหลายคน และการมีเวลาเตรียมตัวน้อยยิ่งเพิ่มความเครียดไปกันใหญ่ หากคุณได้รับเชิญให้เป็นตัวแทนกล่าวอวยพรในแต่งงาน พูดไว้อาลัยในงานศพ หรืองานใดๆ ที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกัน ลองพยายามพูดโดยอ้างอิงถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคำพูดที่คุณเคยได้ยินมาและพูดให้กระชับดูสิ หากคุณต้องพูดต่อหน้าคนอื่นๆ ในสถานการณ์ที่ต้องการความเป็นมืออาชีพ ทำตามวิธีการที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าได้ผล เพื่อจัดระบบความคิดของคุณให้สามารถพูดได้อย่างตรงประเด็นอย่างรวดเร็วดูสิ สูดหายใจลึกๆ ทำตัวมั่นใจเข้าไว้และคุณจะสามารถพูดต่อหน้าคนได้อย่างมีประสิทธิภาพเองแม้ว่าจะไม่มีเวลาเตรียมตัว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

พูดโดยอ้างอิงถึงเรื่องราวส่วนตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การพูดในที่สาธารณะไม่จำเป็นต้องเริ่มจากศูนย์เสมอไป การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเองเป็นหนทางที่ดีที่จะช่วยให้เกิดความคิดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะคุณรู้ดีว่าตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น คุณก็เลยรู้ว่าตัวเองจะต้องพูดอะไรโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น: [1]
    • หากต้องพูดในงานแต่งงาน คุณอาจจะเล่าเรื่องราวตลกๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างที่คุณและเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวโตมาด้วยกัน
    • หากต้องพูดในงานศพ คุณอาจจะเล่าว่าผู้ตายใจดีหรือมีน้ำใจกับคุณมากแค่ไหนและมีอิทธิพลต่อชีวิตคุณอย่างไร
  2. การอ้างอิงถึงคำพูดที่เคยมีผู้พูดไว้ก่อนแล้ว เป็นอีกวิธีในการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องคิดอะไรใหม่ทันทีที่ต้องพูด ลองคิดถึงคำพูดที่สร้างแรงบันดาลใจ เนื้อเพลง หรือคำคมอันโด่งดังที่สามารถนำมาปรับใช้กับสถานการณ์ที่คุณต้องพูดถึงดูสิ เริ่มต้นด้วยการเอ่ยถึงคำพูดนั้นก่อน จากนั้นก็ค่อยอธิบายความหมายเพิ่มเติมภายหลัง [2]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องพูดอวยพรวันเกิดให้กับแฟรงค์ในโอกาสวันเกิดอายุครบ 70 ปี คุณอาจจะพูดไปว่า “เคยได้ยินสำนวนว่า “แก่เกินเรียน” ไหมครับ วันนี้แฟรงค์ได้พิสูจน์แล้วว่าสำนวนนี้ไม่ใช่เรื่องจริง จะมีใครอีกที่มีความกล้าพอที่จะเริ่มวิ่งมาราธอนหลังเกษียณอายุเหมือนแฟรงค์?”
  3. การพูดพล่ามยาวเกินควรอาจจะทำให้การพูดในที่สาธารณะของคุณเละไม่เป็นท่าได้ ดังนั้น หลีกเลี่ยงไม่พูดมากเกินไปไว้ดีกว่า พยายามพูดให้กระชับและให้ความสำคัญเฉพาะกับประเด็นสำคัญหรือยกตัวอย่างซักสองถึงห้าประเด็นพอ [3]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังจะกล่าวอวยพรให้กับเจ้าบ่าวที่งานแต่งงาน เล่าเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับมิตรภาพของพวกคุณสักเรื่องสองเรื่องก็พอ
    • หากคุณสังเกตเห็นว่าคนฟังเริ่มทำอย่างอื่น เช่น หันหน้าไปทางอื่น คุยกันเอง หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู ก้มดูนาฬิกา หรือขยับไปมาบนที่นั่ง นี่อาจเป็นสัญญาณว่าคุณพูดยาวเกินไปจนคนฟังเริ่มหมดความสนใจ
    • หากเหตุการณ์แบบด้านบนเกิดขึ้น รีบรวบรัดตัดตอนโดยพูดแค่ประเด็นหลักและกล่าว "ขอบคุณ" เพื่อจบการพูดเลย
  4. กระทั่งนักพูดที่ผ่านการฝึกฝนมายังอาจจะรู้สึกกังวลได้เมื่อจู่ๆ ถูกขอให้พูดโดยไม่ทันตั้งตัว รวบรวมสติด้วยการสูดหายใจลึกๆ ก่อนเริ่มพูด และหยุดพูดเป็นช่วงสั้นๆ บ่อยๆ เวลาพูด ให้ความสำคัญกับการออกเสียงแต่ละคำให้ชัด และไม่พูดเร็วเกินไป [4]
  5. หลายคนรู้สึกกังวลที่ต้องพูดในที่สาธารณะโดยเฉพาะเมื่อจู่ๆ โดนบอกให้พูด แต่หากคุณแสดงให้เห็นว่าคุณมีความมั่นใจที่จะพูด คนก็จะปรบมือให้คุณเอง นอกจากนี้ คนฟังอาจจะยังรู้สึกโล่งใจที่ไม่ต้องเป็นคนพูดในที่สาธารณะเอง ดังนั้นพวกเขาอาจจะยิ่งแสดงท่าทีสนับสนุนสุดๆ ด้วย! [5]
    • วิธีการง่ายๆ ในการสร้างความมั่นใจให้ตัวเองก่อนพูดในที่สาธารณะก็เช่นการสูดหายใจลึกๆ ช้าๆ หรือหลับตาลงและจินตนาการถึงสถานที่ที่ทำให้คุณมีความสุขก่อนเริ่มพูด
    • หรือคุณอาจจะมองไปที่ผู้ฟัง เพื่อหาเพื่อนซักสองสามคนหรือใครก็ตามที่มีท่าทีเอาใจช่วยคุณแล้วมองไปที่คนเหล่านั้นก็ได้
    • หากคุณรู้สึกกังวล คุณอาจจะลองใช้มุกเก่าๆ ในการลดความเครียดอย่างการคิดว่าคนฟังทุกคนกำลังล่อนจ้อนอยู่ก็ยังได้!
    • ไม่ว่าจะอย่างไร แค่เตือนตัวเองไว้ว่าคนส่วนใหญ่มักจะชื่นชมความกล้าของคนที่กล้าลุกขึ้นยืนเพื่อพูดต่อหน้าคนอื่นๆ อยู่แล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

วิธีการวางแผนการพูดในที่สาธารณะอย่างรวดเร็ว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมีเวลาเตรียมตัวสำหรับพูดในที่สาธารณะนั้นดีกว่าไม่มีอยู่แล้ว หากคุณพอมีเวลาสักสองสามนาทีก่อนที่จะต้องพูดต่อหน้าคนอื่น จดโน้ตสั้นๆ สักสองสามประโยคว่าคุณอยากจะพูดอะไร โดยอาจจะเขียนอะไรสั้นๆ ง่ายๆ เรียกลงมาเป็นข้อๆ เพื่อเตือนตัวเองถึงประเด็นสำคัญเพื่อที่คุณจะได้ไม่ลืมพูดก็ได้ [6]
    • หากคุณไม่มีเวลาแม้แต่จะจดโน้ตสั้นๆ เพียงสองถึงสามประโยค แค่ลองวางโครงสร้างการพูดเร็วๆ ในใจก็ได้ บอกตัวเองว่า "อันดับแรก ฉันต้องพูดว่าจิมเป็นคนมีน้ำใจขนาดไหน แล้วก็จะเล่าเรื่องที่เขาเคยช่วยซ่อมยางรถที่แบนให้ฉันตอนกลางดึก จากนั้นก็เล่าถึงตอนที่เขาอบเค้กวันเกิดให้ฉันตอนที่ฉันป่วยเป็นหวัดและต้องนอนซมอยู่บนเตียง"
  2. ให้ความสำคัญกับการเปิดและปิดการพูดให้ทรงพลัง. คนเรามักจะจดจำช่วงแรกและช่วงท้ายๆ ของการพูดมากกว่าช่วงที่อยู่ตรงกลาง ใช้โอกาสนี้และเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจที่สุดในช่วงต้นและท้าย ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเริ่มต้นและ/หรือลงท้ายดังนี้: [7]
    • เล่าเรื่องที่ซาบซึ้งใจ
    • ยกข้อเท็จจริงหรือสถิติที่น่าเชื่อถือมาอ้าง
    • อ้างถึงคำพูดที่สร้างแรงบันดาลใจ
  3. นี่คืออีกวิธีการที่จะช่วยให้คุณจัดการกับความคิดของตัวเองได้เพื่อที่จะไม่ต้องพูดยาวเกินควร เริ่มต้นโดยการกล่าวถึงแง่มุมที่ดีของประเด็นถกเถียง จากนั้นจึงตามด้วยข้อเสีย และพูดแสดงจุดยืนของตัวเอง ตัวอย่างเช่น หากคุณถูกขอให้พูดถึงข้อดีของการแต่งกายตามสบายในวันศุกร์ คุณอาจจะพูดทำนองว่า: [8]
    • เริ่มต้นด้วยการบอกว่าการแต่งกายตามสบายในวันศุกร์นั้น สร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานซึ่งนำไปสู่การทำงานที่บรรลุเป้าหมายมากขึ้นและยังทำให้ภาพลักษณ์ของบริษัทดูทันสมัยขึ้นด้วย
    • จากนั้นก็ตามด้วยการยอมรับว่า การแต่งกายตามสบายในวันศุกร์อาจจะทำให้พนักงานบริษัทดูมีความเป็นมืออาชีพน้อยลงในช่วงสุดสัปดาห์ และถึงอย่างไรเหล่าพนักงานก็ยังอาจจะต้องทำตามข้อแนะนำว่าด้วยการแต่งกายตามสบายที่เหมาะสมอยู่ดี
    • จบลงด้วยการแสดงจุดยืนด้วยการพูดว่า เนื่องจากโดยปกติแล้วการประชุมกับลูกค้ามักจะเกิดขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ ดังนั้น การแต่งกายตามสบายในวันศุกร์นั่นส่งผลดีต่อบริษัทและไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไร
  4. เปลี่ยนการพูดในที่สาธารณะให้กลายเป็นการถามตอบปัญหาแทน. หากคุณเกิดสมองไม่แล่นและคิดไม่ออกว่าจะพูดอะไรดีหรือรู้สึกกังวลเกินกว่าจะพูดออกมาได้ ลองคิดซะว่าตัวเองเป็นเพียงผู้ดำเนินรายการของการอภิปรายแทนที่จะเป็นผู้ต้องกล่าวสุนทรพจน์สิ เปิดโอกาสให้คนอื่นๆ ได้พูดและทำหน้าที่คัดกรองคำถามเท่านั้น [9]
    • คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการพูดไปว่า "ผมรู้ว่าพวกคุณหลายคนกำลังคิดถึงการแต่งกายตามสบายในวันศกุร์ มีความเห็นต่างๆ มากมาย มาแสดงความเห็นเรื่องนี้กันดีกว่า มีใครมีคำถามหรืออยากจะแสดงความคิดเห็นส่วนตัวอะไรไหมครับ?
    • หากคุณอยากหรือจำเป็นต้องทำ คุณอาจจะเรียกชื่อใครเป็นการเฉพาะก็ได้ เช่น: “แฟรงค์ คุณทำงานที่นี่มานานที่สุด คุณเริ่มก่อนดีไหม?”
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้วิธีการ PREP สำหรับการพูดเฉพาะเรื่อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. PREP นั้นย่อมากจาก “Point (ประเด็นหลัก), Reason (เหตุผล), Example (ตัวอย่าง), Point (ประเด็นหลัก),” และนี่คือวิธีการง่ายๆ ในการเรียบเรียงความคิด เริ่มต้นโดยการพูดถึงแก่นสำคัญของเรื่องที่จะพูด ตัวอย่างเช่น จินตนาการว่ามีคนขอให้คุณพูดสนับสนุนการแต่งกายตามสบายในวันศุกร์แบบไม่ทันตั้งตัว คุณอาจจะ: [10]
    • เริ่มต้นโดยการบอกว่าคุณคิดว่าการแต่งกายตามสบายในวันศุกร์เป็นเรื่องดี เพราะจะช่วยเพิ่มกำลังใจในการทำงานของพนักงานได้
  2. จากนั้นก็ตามด้วยการอธิบายว่าทำไมประเด็นนี้ถึงเป็นเรื่องสำคัญ. จำไว้ว่าคุณกำลังพยายามโน้มน้าวใจของผู้ฟัง เช่น คุณอาจจะย้ำเตือนผู้ฟังว่ากำลังใจในการทำงานของพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยเพิ่มความคืบหน้าของงานและลดอัตราการลาออกจากงานได้
  3. เพื่อให้สิ่งที่คุณพูดดูน่าสนใจ ลองยกหลักฐานหรือคำอธิบายมาประกอบสิ่งที่คุณเสนอ เช่น การยกตัวอย่างก็ถือว่าใช้ได้เลย เมื่อยกตัวอย่างแล้ว คุณอาจจะพูดว่าคู่แข่งเช่น บริษัทแอคเม่ จำกัด ได้ทดลองให้พนักงานแต่งกายตามใจในวันศุกร์และส่งผลให้บริษัทประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
  4. การย้ำถึงสิ่งที่คุณพูดไปแล้วจะทำให้ผู้ฟังกลับไปขบคิด การจบด้วยการพูดถึงประเด็นหลักของคุณอีกครั้งจะทำให้สิ่งที่คุณพูดติดอยู่ในใจคนฟัง เช่น แค่พูดจบประเด็นว่าการแต่งกายตามสบายในวันศุกร์น่าจะดีต่อบริษัทของคุณเช่นเดียวกับบริษัทอื่นๆ ก็ใช้ได้แล้ว
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,604 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา