ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ถ้าคุณมีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการหายใจ อย่าง ปอดบวม (pneumonia), หอบหืด (asthma), โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disorder) หรือโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ (respiratory infection) คุณอาจจำเป็นต้องใช้ nebulizer [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Nebulizer เป็นเครื่องที่ต้องเสียบปลั๊กหรือใช้ถ่าน เครื่องนี้ใช้เปลี่ยนยาน้ำให้กลายเป็นละอองน้ำละเอียดที่คุณสามารถสูดเข้าไปในปอดได้ โดยใช้หน้ากากครอบปากเหมือนหน้ากากออกซิเจน เมื่อสูดละอองยาเข้าไปคุณก็จะหายใจได้คล่องขึ้น
ขั้นตอน
-
ล้างมือให้สะอาด. เริ่มจากล้างมือด้วยสบู่ในน้ำที่ไหลจากก๊อกประมาณ 20 วินาที จากนั้นล้างให้สะอาดแล้วใช้กระดาษเช็ดให้แห้ง เวลาปิดก๊อกก็ต้องใช้ทิชชู่ปิดด้วยนะ [2] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Centers for Disease Control and Prevention ไปที่แหล่งข้อมูล
-
เทยาใส่ nebulizer. เปิดฝาถ้วย nebulizer ออกแล้วเทยาในปริมาณที่แนะนำลงไป ยาแก้โรคทางเดินหายใจหลายตัวที่ใช้กับ nebulizer จะมาในปริมาณที่ตวงวัดไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้ายาของคุณไม่ได้ตวงมา ให้คุณเทลงไปในปริมาณที่แนะนำสำหรับการพ่นยา 1 ครั้ง จากนั้นปิดฝาให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้ยาหก อย่าลืมเสียบปลั๊กก่อนใช้ด้วยถ้าไม่ได้เป็นเครื่องแบบใส่ถ่าน
- ยาที่ใช้กับ nebulizer ได้ก็เช่น beta agonist แบบสูดพ่น กับ anticholinergics หรือ glucocorticoids แบบสูดพ่น และยาปฏิชีวนะแบบสูดพ่น เป็นต้น ยาแบบสูดพ่นตัวอื่นๆ สำหรับรักษาโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคทางเดินหายใจก็มี แต่ไม่ใช่ยาทุกตัวที่จะพ่นเป็นละอองลอย (aerosol) ได้
- เครื่องแบบ jet nebulizer หรือ pneumatic nebulizer นั้นเป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด เครื่อง nebulizer แบบใหม่ๆ นั้นจะถูกออกแบบให้สูดยาได้ทั้งหมดในทีเดียว การทำงานของ nebulizer นั้นจะเป็นผลมาจากการฉีดพ่นละออง กลไกการก่อตัวของละอองลอยและตัวยา ถ้าคุณอยากศึกษาวิธีพ่นยาด้วย nebulizer ให้ละเอียดกว่านี้ ให้คุณปรึกษาคุณหมอหรือนักบำบัดโรคทางเดินหายใจดู
-
ประกอบช่องพ่นยา. ประกอบท่อหรือช่องพ่นยาเข้ากับถ้วย nebulizer ถึง jet nebulizer ของแต่ละผู้ผลิตจะแตกต่างกันไปไม่มากก็น้อย แต่ส่วนใหญ่ช่องพ่นยาก็จะติดที่ด้านบนของถ้วย nebulizer ทั้งนั้น เครื่อง nebulizer ส่วนใหญ่จะมีท่อหรือช่องพ่นยาไว้ใช้อมแทนหน้ากากครอบหน้า เพราะเดี๋ยวยาจะไปสะสมที่หน้าแทน
-
ต่อสาย. ต่อสายออกซิเจนด้านหนึ่งเข้ากับถ้วย nebulizer [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง เครื่อง nebulizer ส่วนใหญ่จะมีสายต่อเข้าที่ก้นถ้วย จากนั้นให้คุณต่อปลายอีกด้านกับเครื่องอัดลมของ nebulizer [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
เปิดเครื่องอัดลมหรือ air compressor แล้วพ่นยาด้วย nebulizer ได้เลย. อมท่อพ่นยาเข้าไปให้อยู่เหนือลิ้น จากนั้นปิดปากให้สนิท สูดยาเข้าไปช้าๆ ลึกๆ จะได้ต่อไปถึงปอด คุณจะหายใจออกทางปากหรือจมูกก็ได้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้บีบจมูกไว้ จะได้แน่ใจว่ายาถูกสูดเข้าไปทางปาก
- ถ้าเป็นเด็กหรือคนป่วยหนักเกินจะใช้ท่อแบบอม จะใช้หน้ากากแบบหน้ากากออกซิเจนแทนก็ได้ หน้ากากครอบปากแบบนี้ก็ต่อที่ด้านบนของถ้วย nebulizer เช่นกัน มีทั้งของเด็กและผู้ใหญ่เลย
-
สูดยาเข้าไปเรื่อยๆ. นั่งหลังตรงและหายใจเอายาเข้าไปเรื่อยๆ จนหมดละออง ปกติจะใช้เวลาประมาณ 10 - 15 นาที พอยาหมดแล้วละอองก็จะหยุดพ่น ดูให้แน่ว่าถ้วย nebulizer ว่างเปล่าแล้ว ระหว่างนั้นให้ดูทีวีหรือฟังเพลงฆ่าเวลาไปพลางๆ
- ถ้าเป็นเด็กต้องหากิจกรรมให้เขาทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ จะเล่นเกมปริศนา อ่านหนังสือ หรือระบายสีก็ได้ทั้งนั้น ขอแค่ทำให้เด็กนั่งเฉยๆ ได้นานจนยาหมด แต่จะดีที่สุดถ้าคุณให้เด็กนั่งตัก เพราะเด็กจะได้นั่งหลังตรงแล้วสูดยาเข้าไปได้มากที่สุด [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ปิดเครื่อง nebulizer แล้วทำความสะอาด. อย่าลืมถอดปลั๊กแล้วถอดสายต่อและแยกถ้วยยากับท่อพ่น ล้างถ้วยยากับท่อพ่นด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ จากนั้นล้างน้ำให้สะอาด เอาอุปกรณ์ไปผึ่งลมให้แห้งบนผ้าขนหนู เป็นขั้นตอนที่ต้องทำทุกครั้งหลังพ่นยาเสร็จ
- ไม่ต้องล้างสายต่อ เพราะถ้าสายเปียกต้องเปลี่ยนใหม่ และอย่าเอาส่วนไหนของเครื่อง nebulizer ไปล้างในเครื่องล้างจานเด็ดขาด เพราะความร้อนในเครื่องล้างจานจะทำให้พลาสติกบิดเบี้ยวได้
-
ฆ่าเชื้อเครื่อง nebulizer อาทิตย์ละครั้ง. เวลาจะฆ่าเชื้อให้ทำตามคู่มือที่ให้มาอย่างเคร่งครัด แช่น้ำยาได้ทุกส่วนยกเว้นสายต่อ ให้แช่ในส่วนผสมของน้ำส้มสายชูกลั่นขาว 1 ส่วน กับน้ำร้อน 3 ส่วน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วก็เททิ้งไปซะ ล้างแต่ละชิ้นส่วนในน้ำเย็นให้สะอาด (อย่าลืมว่ายกเว้นสายต่อ) แล้วผึ่งให้แห้งบนผ้าขนหนู พอแต่ละส่วนแห้งแล้วก็ให้เอาไปเก็บในกล่องให้สะอาด [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เพื่อสุขอนามัยที่ดี ห้ามใช้ nebulizer ร่วมกันเด็ดขาดไม่ว่าส่วนไหนและถึงจะล้างแล้วก็เถอะ แต่ละคนควรจะมีเครื่อง nebulizer ส่วนตัวแยกไปเลย
โฆษณา
เคล็ดลับ
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบถ้าใช้หน้ากากคับๆ หน่อยจะดีกว่า คุณหมอมักจะมีลูกเล่นที่หน้ากากเป็นพวกไดโนเสาร์หรืออะไรก็ว่าไป เด็กจะได้สนใจ ไม่คิดว่าน่ากลัว
- ถ้าจำเป็น ถังออกซิเจนก็ใช้แทนเครื่องอัดลมได้เหมือนกัน ให้ปรับระดับการไหล (flow rate) ไปที่ 6-8 ลิตรต่อนาทีสำหรับการใช้สร้างละอองลอย เป็นอีกวิธีที่ทำได้แต่ก็ไม่ค่อยแนะนำเพราะเดี๋ยวออกซิเจนจะหมดกลางคันขึ้นมา
โฆษณา
คำเตือน
- ถ้าใช้แล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาขึ้นมา อย่างหายใจหอบกว่าเดิม หายใจลำบากตอนกำลังสูดยา หรือปากบวม ให้หยุดรักษาด้วย nebulizer แล้วปรึกษาคุณหมอ รวมถึงในกรณีที่อาการของคุณทรุดหนักด้วย แต่ตามปกติคุณหมอจะเตือนเรื่องผลข้างเคียงไว้ก่อนแล้ว ว่าหัวใจอาจเต้นเร็วขึ้นหรือเวียนหัว ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนที่ใช้ nebulizer พ่นยาบางตัว [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- เครื่อง nebulizer
- เครื่องอัดลม (air compressor) สำหรับต่อกับ nebulizer
- ยาที่คุณหมอสั่ง
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://kidshealth.org/parent/medical/asthma/nebulizer_inhaler.html
- ↑ http://www.cdc.gov/handwashing/
- ↑ http://www.dukechildrens.org/repository/dukechildrens/2008/08/21/13/28/29/7454/nebulizer_mouth.pdf
- ↑ http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000006.htm
- ↑ http://www.nationwidechildrens.org/how-to-use-a-nebulizer
- ↑ http://justnebulizers.com/caring-for-your-nebulizer/
- ↑ http://www.rxlist.com/intal-nebulizer-solution-side-effects-drug-center.htm
- http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000006.htm
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,329 ครั้ง
โฆษณา