ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์แล้วเอามาใช้กับคอม เพื่อเก็บไฟล์และติดตั้งโปรแกรมได้เลย ต้องเช็คก่อนว่าจะเอาไดรฟ์ไปใช้กับอะไร ถึงจะเลือกฟอร์แมตให้รองรับ พอฟอร์แมตไดรฟ์แล้ว ข้อมูลทั้งหมดที่มีในไดรฟ์ตอนนั้นจะหายไป เพราะงั้นต้อง backup ข้อมูลเก็บไว้ก่อน บทความวิกิฮาวนี้แนะนำวิธีฟอร์แมตทั้งฮาร์ดไดรฟ์รอง (หรือฮาร์ดไดรฟ์ที่ 3, 4 และอื่นๆ) ของ Windows และ OS X รวมถึงฮาร์ดไดรฟ์หลักที่ใช้บูทเครื่อง ทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการเช่นกัน และวิธีล้างข้อมูลทั้งหมดในฮาร์ดไดรฟ์อย่างปลอดภัย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

ฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์รอง (Windows)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟอร์แมตไดรฟ์แล้ว ข้อมูลทั้งหมดจะหายไป เพราะงั้นถ้าอยากจะเก็บอะไรไว้ ก็ต้อง backup แยกไปอีกที่ เสร็จแล้วค่อยเซฟข้อมูลนั้นกลับคืนไดรฟ์ใหม่
    • ข้อเสียคือคุณ backup โปรแกรมที่ติดตั้งไว้ไม่ได้ ต้องลงในไดรฟ์ใหม่เลย แต่ปกติจะ backup ไฟล์ settings และ preferences ต่างๆ ไว้ได้
    • แนะนำให้อ่าน บทความนี้ ถ้าอยากรู้วิธี backup ข้อมูลโดยละเอียด
  2. ถ้าจะฟอร์แมตไดรฟ์ใหม่ ก็ต้องติดตั้งไว้ในเคสก่อน ให้อ่าน บทความนี้ ถ้าอยากรู้วิธีติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์ในเครื่องโดยละเอียด ถ้าเป็น external drive ให้เสียบกับคอมผ่าน USB ได้เลย
  3. โดยไปที่เมนู Start หรือกด Win + E ในหน้าต่างจะมีรายชื่อไดรฟ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับคอมไว้
  4. เลือก Format... เพื่อเปิด Windows disk formatting tool
    • ต้องเลือกให้ถูกไดรฟ์ เพราะทุกอย่างในนั้นจะหายไปหลังฟอร์แมต
  5. file system เป็นระบบที่ฮาร์ดไดรฟ์ใช้เก็บและจัดระเบียบไฟล์ ตัว file system นี้จะกำหนดว่าไดรฟ์นั้นใช้กับอะไรได้บ้าง ถ้าไดรฟ์อยู่ในเคสคอม และใช้เฉพาะกับคอม Windows ให้เลือก NTFS ถ้าเป็น external drive ให้เลือก FAT32 หรือ exFAT
    • FAT32 กับ exFAT จะเซฟไฟล์และอ่านไฟล์ในระบบปฏิบัติการใหม่ๆ ได้ โดย FAT32 เป็นระบบเก่ากว่า ไม่รองรับไฟล์ขนาดใหญ่กว่า 4 GB แต่จะใช้ได้กับแทบทุกระบบปฏิบัติการ ส่วน exFAT ไม่มีข้อจำกัด แต่จะใช้กับระบบปฏิบัติการเก่าๆ อย่าง Windows 95 ไม่ได้
    • ปกติแนะนำให้เลือกใช้ exFAT กับ external drive เพราะใช้ได้กับแทบทุกระบบ และใช้เก็บไฟล์ขนาดใหญ่ได้
  6. ถ้าหลักๆ แล้วใช้ไดรฟ์ด้วยจุดประสงค์เดียว ให้ตั้งชื่อแบบสังเกตง่าย เช่น ถ้าใช้ไดรฟ์รองเก็บไฟล์เพลง หนัง และรูป ให้ตั้งชื่อไดรฟ์ว่า "Media" จะได้รู้ทันทีว่าไดรฟ์นี้ใช้ทำอะไร
  7. Quick Format เป็นวิธีฟอร์แมตด่วนทันใจ เร็วกว่าฟอร์แมตแบบธรรมดา ถ้าเป็นผู้ใช้ทั่วไป เลือกฟอร์แมตแบบนี้ก็ได้ แนะนำให้ฟอร์แมตเฉพาะกรณีที่คาดว่าไดรฟ์จะ error จริงๆ ส่วนใหญ่ฟอร์แมตแล้วจะแก้ error ต่างๆ ได้
    • ตัวเลือก Quick Format จะไม่ได้ล้างข้อมูลหมดจดเท่าที่ควร ถ้าอยากแน่ใจว่าล้างข้อมูลในไดรฟ์อย่างปลอดภัยจริงๆ ให้อ่านวิธีการสุดท้ายของบทความนี้
  8. คลิก Start เพื่อเริ่มฟอร์แมต คลิก OK เพื่อยืนยันว่าคุณรู้แล้ว ว่าข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบหายไป ถ้าเลือก Quick Format ขั้นตอนจะใช้เวลาแค่ไม่กี่วินาที [1]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์รอง (OS X)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟอร์แมตไดรฟ์แล้ว ข้อมูลทั้งหมดจะหายไป เพราะงั้นถ้าอยากจะเก็บอะไรไว้ ก็ต้อง backup แยกไปอีกที่ เสร็จแล้วค่อยเซฟข้อมูลนั้นกลับคืนไดรฟ์ใหม่
    • ถ้าใช้ OS X และใช้ Time Machine (TM) ที่มีในเครื่อง โปรแกรมต่างๆ จะถูก backup ไว้ เลยไม่ต้องลงใหม่เอง ประหยัดเวลาไปได้เยอะ ถ้า backup ไว้เป็นไฟล์ copy ธรรมดา ส่วนใหญ่โปรแกรมจะยังใช้งานได้อยู่ เพราะโปรแกรมของ Mac มักเป็นไฟล์ใหญ่ไฟล์เดียว ไม่ได้ประกอบด้วยไฟล์เล็กๆ หลายไฟล์กระจายในระบบ
    • ไฟล์ settings กับ preferences ก็ backup ได้ พอใช้ TM ก็จะเซฟกลับคืนได้ถูกต้องอัตโนมัติ ไม่ต้องทำเอง
    • ลองอ่าน บทความนี้ ดู ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการ backup ข้อมูลด้วย TM โดยละเอียด
  2. ถ้าจะฟอร์แมตไดรฟ์ใหม่ ก็ต้องติดตั้งไว้ในเคสก่อน ให้อ่าน บทความนี้ ถ้าอยากรู้วิธีติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์ในเครื่องโดยละเอียด ถ้าเป็น external drive ให้เสียบกับคอมผ่าน USB, FireWire หรือ Thunderbolt ได้เลย
  3. คลิก Go แล้วเลือก Utilities ถ้าไม่เจอตัวเลือก Utilities ให้เลือก Applications แล้วดับเบิลคลิกโฟลเดอร์ "Utilities" จากนั้นเปิดโปรแกรม Disk Utility
  4. จะเห็นไดรฟ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อไว้ ในกรอบซ้ายของหน้าต่าง Disk Utility ต้องเลือกฟอร์แมตให้ถูกไดรฟ์
  5. เพื่อเปิดตัวเลือกการฟอร์แมตของไดรฟ์
  6. file system เป็นระบบที่ฮาร์ดไดรฟ์ใช้เก็บและจัดระเบียบไฟล์ ตัว file system นี้จะกำหนดว่าไดรฟ์นั้นใช้กับอะไรได้บ้าง คุณเลือก file system ได้จากในเมนู Volume Format ที่ขยายลงมา ถ้าไดรฟ์อยู่ในเครื่อง หรือใช้งานแค่กับ OS X ให้เลือก "Mac OS Extended (Journaled)" ถ้าเป็น external drive และใช้กับ PC ด้วย ให้เลือก "exFAT".
    • FAT32 กับ exFAT จะเซฟไฟล์และอ่านไฟล์ในระบบปฏิบัติการใหม่ๆ ได้ โดย FAT32 เป็นระบบเก่ากว่า ไม่รองรับไฟล์ขนาดใหญ่กว่า 4 GB แต่จะใช้ได้กับแทบทุกระบบปฏิบัติการ ส่วน exFAT ไม่มีข้อจำกัด แต่จะใช้กับระบบปฏิบัติการเก่าๆ อย่าง Windows 95 ไม่ได้
    • ปกติแนะนำให้เลือกใช้ exFAT กับ external drive เพราะใช้ได้กับแทบทุกระบบ และใช้เก็บไฟล์ขนาดใหญ่ได้
  7. ถ้าหลักๆ แล้วใช้ไดรฟ์ด้วยจุดประสงค์เดียว ให้ตั้งชื่อแบบสังเกตง่าย เช่น ถ้าใช้ไดรฟ์รองเก็บไฟล์เพลง หนัง และรูป ให้ตั้งชื่อไดรฟ์ว่า "Media" จะได้รู้ทันทีว่าไดรฟ์นี้ใช้ทำอะไร
  8. คลิก Erase เพื่อเริ่มฟอร์แมตไดรฟ์ โดยขั้นตอนการฟอร์แมตจะใช้เวลาไม่กี่วินาที
    • ฟอร์แมตไดรฟ์วิธีนี้ ไม่ได้ลบข้อมูลหมดจด ถ้าอยากแน่ใจว่าล้างข้อมูลไปหมดจริงๆ ให้อ่านวิธีการสุดท้ายของบทความนี้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์หลักที่ใช้บูทเครื่อง (Windows)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟอร์แมตไดรฟ์หลักที่ใช้บูทเครื่องแล้ว ระบบปฏิบัติการและไฟล์ทั้งหมดจะหายไปด้วย เพราะงั้นต้องเตรียมตัวเตรียมใจลงระบบปฏิบัติการในไดรฟ์ใหม่อีกที ถ้า backup ไฟล์สำคัญไว้ ก็เซฟคืนเครื่องใหม่ เริ่มใช้งานได้แบบไร้รอยต่อ
    • แนะนำให้อ่าน บทความนี้ ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการ backup ข้อมูลโดยละเอียด
  2. จะใช้แผ่นสำหรับบูทเครื่อง หรือ LiveCD ก็ได้ เพื่อบูทเครื่องจากแผ่นแทนฮาร์ดไดรฟ์ แล้วทำการฟอร์แมตเครื่องต่อไปได้
  3. ต้องไปตั้งค่า boot order ใน BIOS ให้บูทเครื่องจากแผ่นซะก่อน แนะนำให้อ่าน บทความนี้ ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการตั้งค่า boot order โดยละเอียด
    • ถ้าจะเปิด BIOS ให้รีสตาร์ทคอม แล้วกดปุ่ม setup ปกติจะเป็น F2 , F10 หรือ Del
  4. ต้องเปิดไฟล์ติดตั้ง แล้วทำขั้นตอนผ่านหน้าต่างๆ ไป 2 - 3 หน้า จนเจอหน้าที่มีรายชื่อไดรฟ์ที่ติดตั้งไว้ จะมีให้ติดตั้ง Windows แบบ Custom Installation
  5. จะเห็นรายชื่อไดรฟ์ทั้งหมดและพาร์ทิชั่นของไดรฟ์นั้น ให้เลือกไดรฟ์ที่จะฟอร์แมต แล้วคลิกปุ่ม "Format" ทางด้านล่างของรายชื่อ ไดรฟ์จะถูกฟอร์แมตเป็น NTFS
    • คุณฟอร์แมตไดรฟ์หลักสำหรับบูทเครื่องเป็น NTFS ได้เท่านั้น
  6. พอฟอร์แมตไดรฟ์แล้ว ก็ลง Windows หรือ Linux ใหม่ได้เลย เพราะคอมต้องมีระบบปฏิบัติการ ถึงจะใช้งานได้
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์หลักที่ใช้บูทเครื่อง (OS X)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฟอร์แมตไดรฟ์หลักที่ใช้บูทเครื่องแล้ว ระบบปฏิบัติการและไฟล์ทั้งหมดจะหายไปด้วย เพราะงั้นต้องเตรียมตัวเตรียมใจลงระบบปฏิบัติการในไดรฟ์ใหม่อีกที ถ้า backup ไฟล์สำคัญไว้ ก็เซฟคืนเครื่องใหม่ เริ่มใช้งานได้แบบไร้รอยต่อ
    • ถ้าใช้ OS X และใช้ Time Machine (TM) ที่มีในเครื่อง โปรแกรมต่างๆ จะถูก backup ไว้ เลยไม่ต้องลงใหม่เอง ประหยัดเวลาไปได้เยอะ ถ้า backup ไว้เป็นไฟล์ copy ธรรมดา ส่วนใหญ่โปรแกรมจะยังใช้งานได้อยู่ เพราะโปรแกรมของ Mac มักเป็นไฟล์ใหญ่ไฟล์เดียว ไม่ได้ประกอบด้วยไฟล์เล็กๆ หลายไฟล์กระจายในระบบ
    • ไฟล์ settings กับ preferences ก็ backup ได้ พอใช้ TM ก็จะเซฟกลับคืนได้ถูกต้องอัตโนมัติ ไม่ต้องทำเอง
    • ลองอ่าน บทความนี้ ดู ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการ backup ข้อมูลโดยละเอียด
  2. ต้องมีสัญญาณอินเทอร์เน็ต ถึงจะติดตั้งระบบปฏิบัติการกลับมาได้ในขั้นตอนสุดท้าย ให้อ่าน บทความนี้ ถ้าอยากรู้วิธีต่อเน็ตใน Mac โดยละเอียด
  3. คลิกเมนู Apple แล้วเลือก Restart แล้วกด Command + R ค้างไว้ตอนคอมรีสตาร์ท เพื่อเปิดเมนู boot
  4. เพื่อเปิดโปรแกรม Disk Utility เวอร์ชั่น boot
  5. จะเห็นรายชื่อไดรฟ์ทั้งหมดในกรอบซ้ายของ Disk Utility ระวังว่าต้องเลือกให้ถูกไดรฟ์ เพราะฟอร์แมตแล้วทุกอย่างจะถูกลบหายไป
  6. file system เป็นระบบที่ฮาร์ดไดรฟ์ใช้เก็บและจัดระเบียบไฟล์ ตัว file system นี้จะกำหนดว่าไดรฟ์นั้นใช้กับอะไรได้บ้าง ไดรฟ์ที่จะฟอร์แมตในวิธีการนี้เป็นไดรฟ์หลักสำหรับบูทเครื่อง เพราะงั้นให้เลือก "Mac OS Extended (Journaled)"
  7. เช่น ถ้าจะลงระบบปฏิบัติการกลับไปในไดรฟ์ ให้พิมพ์ว่า "OS X" หรืออะไรที่ใกล้เคียง
  8. คลิก Erase เพื่อฟอร์แมตไดรฟ์ ปกติขั้นตอนนี้จะใช้เวลาไม่กี่วินาที
  9. เพื่อกลับไปที่เมนู boot
  10. เลือก "Reinstall OS X" เพื่อเริ่มติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่อีกรอบ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ล้างข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์แบบหมดจด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าล้างข้อมูลไปจากฮาร์ดไดรฟ์แบบหมดจด ก็ไม่มีทางกู้กลับมาได้อีก ถ้าเปรียบให้เห็นภาพคือฮาร์ดไดรฟ์ที่ล้างข้อมูลหมดแล้วตามขั้นตอน ต้องใช้ระดับ supercomputer ของรัฐบาลนู่น ถึง "อาจจะ" กู้เศษชิ้นส่วนของไฟล์กลับมาได้ เพราะแบบนี้ เราเลยขอย้ำอีกทีว่า "ต้อง" backup ข้อมูลสำคัญแยกไว้ให้ดี ห้ามลืมเด็ดขาด
    • ลองอ่าน บทความนี้ ดู ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการ backup ข้อมูลโดยละเอียด
  2. DBAN เป็นโปรแกรมฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์ ที่เอาไว้ล้างข้อมูลในไดรฟ์แบบหมดจด โดยเซฟทับข้อมูลเดิมหลายๆ ครั้ง ช่วยป้องกันไม่ให้กู้ข้อมูลด้วยโปรแกรม data recovery ได้
    • DBAN ใช้กับไดรฟ์ SSD (solid state drives) ไม่ได้ ต้องใช้โปรแกรมอื่น เช่น Blancco
  3. ปกติจะดาวน์โหลด DBAN มาเป็นไฟล์ ISO (ไฟล์อิมเมจของแผ่น) พอไรท์ไฟล์ ISO ลงแผ่น ก็จะบูทเข้า interface ของ DBAN ได้โดยตรง
    • ลองอ่าน บทความนี้ ดู ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการไรท์ไฟล์ ISO ลงแผ่น DVD โดยละเอียด
  4. ใส่แผ่น DBAN ในคอมแล้วรีสตาร์ท จากนั้นเลือกไดรฟ์อ่านแผ่นเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้บูทเครื่อง
    • Windows - ต้องตั้งค่าให้ optical drive หรือไดรฟ์อ่านแผ่น เป็นไดรฟ์หลักสำหรับบูทเครื่อง จากในเมนู BIOS ลองอ่าน บทความนี้ ดู ถ้าอยากรู้วิธีตั้งค่า boot order โดยละเอียด
    • OS X - กด C ค้างไว้ตอนคอมรีสตาร์ท สักพัก DBAN จะบูทขึ้นมา
  5. กด Enter ในหน้าหลักของ DBAN แล้วเลือกไดรฟ์โดยกดปุ่มลูกศร เช็คให้ดีว่าเลือกถูกไดรฟ์แล้ว ถ้ามีอยู่หลายไดรฟ์
  6. "DoD" จะล้างข้อมูลไปแบบหมดจด ถ้าเป็นผู้ใช้ทั่วไป แค่นี้ก็พอให้ไม่เหลืออะไรในไดรฟ์แล้ว แต่ถ้ามีข้อมูลสำคัญที่เป็นความลับสุดยอด แนะนำให้เลือก "8-Pass PRNG Stream" เพื่อล้างฮาร์ดไดรฟ์ทั้งหมด 8 ครั้งแบบสุ่มเลข รับรองไม่เหลือซากแน่นอน
  7. พอเลือกวิธีล้างข้อมูลแล้ว จะเริ่มขั้นตอนฟอร์แมตไดรฟ์ เวลาลบข้อมูลด้วย DBAN แล้วใช้เวลาตั้งแต่หลายชั่วโมงไปจนถึงหลายวัน แล้วแต่วิธีการลบข้อมูลที่เลือก และขนาดของฮาร์ดไดรฟ์
    โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพยายามเชื่อมต่อ external hard drive กับคอมทีเดียวหลายเครื่อง เพราะพาร์ทิชั่นจะเสียหาย จนเสียข้อมูลข้างในได้
  • ต้อง backup ไฟล์ทั้งหมดก่อนฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,209 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา