ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ฟอร์แมตไดรฟ์แล้ว ข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบหายไปจากคอม เท่ากับสร้างระบบไฟล์ใหม่ขึ้นมา คุณต้องฟอร์แมตไดรฟ์ถ้าจะลง Windows ในไดรฟ์นั้น หรือตอนเริ่มใช้งานไดรฟ์หลังลงไดรฟ์เพิ่มเติม จะฟอร์แมตไดรฟ์เพื่อล้างข้อมูลทั้งหมดแบบเร็วทันใจก็ได้ หรือจะย่อไดรฟ์ที่มี แล้วฟอร์แมตพื้นที่ว่างที่เหลือ ให้กลายเป็นไดรฟ์ที่ 2 ในคอมก็ได้ ถ้าจะกำจัดคอมเครื่องเก่า ก็ใช้ tools พิเศษ ล้างข้อมูลทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยได้เช่นกัน
ขั้นตอน
-
backup ข้อมูลสำคัญเก็บไว้. ฟอร์แมตไดรฟ์แล้ว ข้อมูลทั้งหมดในนั้นจะถูกลบหายไป รวมถึงระบบปฏิบัติการด้วย เพราะงั้นต้อง backup ไฟล์สำคัญแยกไว้ เช่น ใส่ external drive หรืออัพเข้าเว็บ cloud
- ถ้าจะล้างข้อมูลทั้งหมดในไดรฟ์ก่อนทิ้งคอม ให้เลื่อนลงไปอ่านวิธีการ "ฟอร์แมตไดรฟ์แบบหมดจด"
-
ใส่แผ่นติดตั้ง Windows. ให้ใช้แผ่นติดตั้ง Windows ฟอร์แมตไดรฟ์ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการฟอร์แมตไดรฟ์หลัก เพราะทำจากในตัว Windows ไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นติดตั้งเก่า เพราะไม่จำเป็นต้องใส่ product key (เว้นแต่จะลง Windows ใหม่อีกรอบ) ถ้าหาไม่เจอแผ่นติดตั้งเดิมไม่เจอ ก็ยังมีวิธีอื่น แล้วแต่ Windows เวอร์ชั่นที่ใช้
- Windows 7 - ให้ดาวน์โหลดไฟล์ ISO ของ Windows 7 โดยกรอก product key ที่เว็บนี้ แล้วจะมีให้เซฟไฟล์ ISO ลงแผ่น DVD หรือ USB ว่าง ด้วย Windows 7 USB/DVD Download Tool ดาวน์โหลดได้ที่ เว็บนี้
- Windows 8 - ให้ดาวน์โหลด Windows 8 Media Creation tool จากเว็บ Microsoft เว็บนี้ จากนั้นเซฟไฟล์ติดตั้ง Windows ในแผ่น DVD หรือ USB ว่าง (4GB ขึ้นไป) เสร็จแล้วใช้ tool นี้ และทำตามขั้นตอนที่ปรากฏ เพื่อสร้างแผ่นหรือ USB สำหรับติดตั้ง
- Windows 10 - ให้ดาวน์โหลด Windows 10 Media Creation tool จากเว็บ Microsoft เว็บนี้ จากนั้นเปิดโปรแกรมเพื่อดาวน์โหลดแล้วเซฟไฟล์ติดตั้ง Windows 10 ในแผ่น DVD หรือ USB ว่าง ส่วนใหญ่คนจะใช้ tool เวอร์ชั่น 64-bit ถ้าไม่แน่ใจว่าคุณใช้เวอร์ชั่นไหน ให้อ่านบทความวิธีการ เช็คว่า Windows ของคุณเป็นเวอร์ชั่น 32 bit หรือ 64 bit
-
ตั้งค่าให้คอม boot จากไดรฟ์ติดตั้ง. จะเปิดไฟล์ติดตั้งและฟอร์แมตไดรฟ์ได้ ต้องตั้งค่าให้คอมบูทเครื่องจากไดรฟ์นั้น (หรือก็คือแผ่น DVD หรือ USB) แทนฮาร์ดไดรฟ์ซะก่อน ขั้นตอนนี้จะต่างกันไปตามคอมที่ใช้ ว่าเป็น Windows 7 (หรือเก่ากว่า) หรือ Windows 8 (หรือใหม่กว่า)
- Windows 7 (หรือเก่ากว่า) - ให้รีสตาร์ทคอม แล้วกดปุ่ม BIOS, SETUP หรือ BOOT ตามที่ขึ้นตอนเปิดคอม ส่วนใหญ่จะเป็นปุ่ม F2 , F11 , F12 และ Del ในเมนู BOOT ให้ตั้งค่าไดรฟ์ติดตั้งเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้บูทเครื่อง
- Windows 8 (หรือใหม่กว่า) - ให้คลิกปุ่ม Power ในหน้าหรือเมนู Start กดปุ่ม ⇧ Shift ค้างไว้ แล้วคลิก Restart เพื่อ reboot เข้าเมนู "Advanced startup" เลือก "Troubleshoot" จากนั้นเลือก "Advanced options" คลิก "UEFI Firmware Settings" แล้วเปิดเมนู BOOT สุดท้ายกำหนดให้ไดรฟ์ติดตั้งเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการบูทเครื่อง
-
เริ่มขั้นตอนติดตั้ง. Windows จะโหลดไฟล์ติดตั้ง แล้วเริ่มขั้นตอนติดตั้ง จะมีให้เลือกภาษา และยอมรับข้อตกลงการใช้งานก่อน
-
เลือกติดตั้งแบบ "Custom". เพื่อฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์ระหว่างติดตั้ง
-
เลือกพาร์ทิชั่นที่จะฟอร์แมต. พอทำไปตามขั้นตอนติดตั้งเบื้องต้น จะเห็นฮาร์ดไดรฟ์และพาร์ทิชั่นทั้งหมด ปกติคอมจะมีหลายพาร์ทิชั่น อันนึงสำหรับระบบปฏิบัติการ อีกอันสำหรับกู้คืนข้อมูล (recovery) และที่เหลือเป็นพาร์ทิชั่นเพิ่มเติม หรือไดรฟ์ที่ติดตั้งไป
- คุณลบพาร์ทิชั่นในไดรฟ์เดียวกันได้ เพื่อรวมทั้งหมดเป็น unallocated partition เดียว. ข้อมูลทั้งหมดในพาร์ทิชั่นนั้นจะถูกลบไป ให้คลิกปุ่ม "Drive options" แล้วจะเห็นตัวเลือก "Delete" ของพาร์ทิชั่น
- ถ้าลบพาร์ทิชั่นทั้งหมดไป ต้องสร้างพาร์ทิชั่นใหม่ก่อนถึงจะฟอร์แมตได้ ให้เลือก unallocated space แล้วคลิก "New" เพื่อสร้างพาร์ทิชั่นใหม่ จะมีให้กำหนดขนาดพาร์ทิชั่นจากพื้นที่ว่างที่มี แต่ปกติจะสร้างได้ไม่เกิน 4 พาร์ทิชั่นในไดรฟ์เดียว
-
ฟอร์แมตพาร์ทิชั่นที่เลือก. คลิกปุ่ม "Format" หลังเลือกพาร์ทิชั่นหรือไดรฟ์ ถ้าไม่เจอปุ่ม Format ให้คลิกปุ่ม "Drive options" แล้วจะมีขึ้นเตือนว่าฟอร์แมตแล้วข้อมูลทั้งหมดในพาร์ทิชั่นนั้นจะหายไป ถ้าตกลง ก็จะฟอร์แมตอัตโนมัติ รอสักพักก็เสร็จ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ติดตั้งระบบปฏิบัติการ. ฟอร์แมตไดรฟ์หลักแล้ว ระบบปฏิบัติการจะหายไป ก็จะใช้คอมไม่ได้ จนกว่าจะลงระบบปฏิบัติการใหม่ พอฟอร์แมตไดรฟ์แล้ว ก็ลง Windows ใหม่ได้เลย หรือติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่น อย่าง Linux ถ้าจะติดตั้ง Windows ให้ทำตามขั้นตอนที่ปรากฏในโปรแกรมติดตั้งไปเรื่อยๆ หลังฟอร์แมตไดรฟ์ แต่ถ้าจะติดตั้ง Linux ต้องมีอุปกรณ์ติดตั้งซะก่อน ลองอ่านวิธีการ ติดตั้ง Linux ดู ถ้าอยากรู้ขั้นตอนการติดตั้ง Linux เวอร์ชั่นต่างๆโฆษณา
-
เปิด Disk Management utility. พอเสียบ external drive หรือติดตั้งฮาร์ดไดรฟ์ใหม่แล้ว ก็ต้องฟอร์แมตก่อน ถึงจะโผล่มาใน Windows Explorer ทำได้โดยใช้ Disk Management utility
- กด ⊞ Win + R แล้วพิมพ์ diskmgmt.msc เพื่อเปิด Disk Management ถ้าใช้ Windows 8 กับ 10 ให้คลิกขวาที่ปุ่ม Start แล้วเลือก "Disk Management"
- อาจจะต้องรอหน่อย ฮาร์ดไดรฟ์ที่ติดตั้งไปทั้งหมดถึงจะโผล่มา
- ถ้าจะลบข้อมูลในไดรฟ์เก่าแบบหมดจดก่อนทิ้ง ให้อ่านวิธีการ "ฟอร์แมตไดรฟ์แบบหมดจด" ที่ด้านล่างของบทความนี้แทน
-
แบบพาร์ทิชั่นไดรฟ์ใหม่ (ถ้ามีให้ทำ). ถ้าเปิด Disk Management ครั้งแรกหลังติดตั้งไดรฟ์ใหม่ มักจะมีขั้นตอนการเริ่มต้นใช้ไดรฟ์ แต่ถ้าไม่มีหน้าต่างนี้ก็ไม่เป็นไร
- ให้เลือก "GPT" ถ้าไดรฟ์ใหม่ใหญ่ 2 TB ขึ้นไป และเลือก "MBR" ถ้าไดรฟ์ใหม่เล็กกว่า 2 TB
-
เลือกไดรฟ์ที่จะฟอร์แมต. จะเห็นรายชื่อไดรฟ์และพาร์ทิชั่นทั้งหมดใน Disk Management ถ้าเพิ่งลงไดรฟ์ใหม่ จะขึ้นอยู่ในแถวแยก เขียนว่า "Unallocated" ให้ขยายคอลัมน์ "Status" เพื่อดูรายละเอียดของแต่ละพาร์ทิชั่นเพิ่มเติม
- คุณฟอร์แมตพาร์ทิชั่น "Boot" ใน Windows ไม่ได้ เพราะพาร์ทิชั่นนี้ใช้ลง Windows
- ฟอร์แมตแล้วข้อมูลทั้งหมดในไดรฟ์จะหายไป เพราะงั้นต้องเลือกให้ถูกไดรฟ์
-
สร้างพาร์ทิชั่น (ถ้าจำเป็น). ถ้าไดรฟ์เป็น unallocated ต้องคลิกขวาที่ไดรฟ์ แล้วเลือก "New Simple Volume" จากนั้นทำตามขั้นตอนในหน้าจอ เพื่อสร้างพาร์ทิชั่นจาก Unallocated space
-
คลิกขวาที่ไดรฟ์หรือพาร์ทิชั่น แล้วเลือก "Format". เพื่อเปิดหน้าต่าง Format
-
ตั้งค่าการฟอร์แมต. คุณตั้งชื่อไดรฟ์ใหม่ได้ (Volume label) รวมถึงเลือก file system ถ้าใช้ Windows ให้เลือก file system เป็น "NTFS" เพื่อให้ใช้ได้ครอบคลุมที่สุด โดยจะเลือก quick format หรือไม่ก็ได้ ให้เอาติ๊กออกจากตัวเลือกนี้เฉพาะถ้ากลัวไดรฟ์เสียเท่านั้น
-
รอจนฟอร์แมตเสร็จ. คลิกปุ่ม Format เมื่อพอใจกับ settings แล้ว ขั้นตอนฟอร์แมตจะใช้เวลาไม่กี่นาที พอฟอร์แมตเสร็จ ก็เซฟไฟล์หรือติดตั้งโปรแกรมในไดรฟ์นั้นได้เลยโฆษณา
-
เปิด Disk Management utility. คุณย่อไดรฟ์ไหนที่มีก็ได้ เพื่อแปลงที่ว่างเป็นพาร์ทิชั่นใหม่ เหมาะสำหรับเวลามีที่ว่างในไดรฟ์เยอะๆ แล้วอยากสร้าง dedicated drive สำหรับบางประเภทไฟล์ เช่น media
- กด ⊞ Win + R แล้วพิมพ์ diskmgmt.msc เพื่อเปิด Disk Management utility ทันที หรือคลิกขวาที่ปุ่ม Start ใน Windows 8 และ 10 เพื่อเลือก Disk Management จากในเมนู
-
เลือกพาร์ทิชั่นที่จะย่อ. คุณย่อพาร์ทิชั่นไหนก็ได้ที่มีที่ว่าง โดยเลือกที่อย่างน้อยมีหลาย GB เพื่อให้ใช้ประโยชน์พาร์ทิชั่นใหม่นั้นได้สูงสุด อย่าลืมเผื่อที่ว่างไว้ให้พาร์ทิชั่นที่มีด้วย โดยเฉพาะพาร์ทิชั่นที่ต้องใช้ boot เครื่อง เพราะ Windows จะทำงานได้ดีที่สุด ถ้ามีพาร์ทิชั่นว่างอย่างน้อย 20%
-
คลิกขวาที่พาร์ทิชั่น แล้วเลือก "Shrink volume". เพื่อเปิดหน้าต่างใหม่หลัง Disk Management ระบุแล้วว่าเหลือพื้นที่ว่างสำหรับสร้างพาร์ทิชั่นใหม่ได้เท่าไหร่
-
ระบุขนาดพาร์ทิชั่นใหม่. หน้าต่างจะแสดงพื้นที่ว่างที่พอให้ย่อไดรฟ์ที่มีได้ ในหน่วย megabytes (MB) 1024 MB ก็เท่ากับ gigabyte (GB) เดียว ให้กรอกขนาดที่ต้องการย่อไดรฟ์ลง (ขนาดของพาร์ทิชั่นใหม่ที่จะสร้าง)
-
เริ่มขั้นตอนการย่อไดรฟ์. คลิก "Shrink" เพื่อแบ่งที่ว่างขนาดที่ระบุจากไดรฟ์ที่มี แล้วจะไปโผล่ใน Disk Management ในฐานะ Unallocated space ในไดรฟ์เดียวกันกับพาร์ทิชั่นเก่า
-
สร้างพาร์ทิชั่น. คลิกขวาที่ unallocated space แล้วเลือก "New simple volume" เพื่อเปิด Simple Volume Wizard
-
ทำตามขั้นตอนที่ปรากฏ เพื่อสร้างพาร์ทิชั่นใหม่. จะมีให้เลือกขนาด Unallocated space ที่จะใช้ในพาร์ทิชั่นใหม่ รวมถึงตั้งตัวอักษรประจำไดรฟ์ได้ด้วย
-
ฟอร์แมตพาร์ทิชั่นใหม่. ระหว่างทำตามขั้นตอนใน wizard จะมีให้ฟอร์แมตพาร์ทิชั่นด้วย จะฟอร์แมต file system ตอนนี้ หรือทำตามขั้นตอนในวิธีการที่ผ่านมาทีหลังก็ได้โฆษณา
-
ดาวน์โหลด DBAN. DBAN เป็น tool ฟอร์แมตฮาร์ดไดรฟ์ฟรี ใช้ overwrite หรือเซฟทับข้อมูลแบบกู้คืนไม่ได้ เหมาะสำหรับคนที่จะเอาคอม/ไดรฟ์ไปบริจาค ขายต่อ หรือรีไซเคิล จะได้ไม่เสี่ยงข้อมูลรั่วไหล
- คุณดาวน์โหลด DBAN ได้ที่ dban.org ถ้าเป็นผู้ใช้ทั่วไป ก็ใช้เวอร์ชั่นฟรีได้เลย
- คุณใช้ DBAN ล้างข้อมูลใน solid state drive (SSD) แบบหมดจดปลอดภัยหายห่วงไม่ได้ ต้องใช้โปรแกรมเสียเงินอย่าง Blancco ถึงจะชัวร์
-
ไรท์ DBAN ลงแผ่น DVD หรือ CD เปล่า. ไฟล์ของ DBAN เล็ก ไม่เกินพื้นที่แผ่น CD หรือ DVD แน่นอน ถ้าใช้ Windows 7 หรือใหม่กว่า ให้คลิกขวาที่ไฟล์ISO ที่ดาวน์โหลดมา แล้วเลือก "Burn to Disc" เพื่อไรท์ลงแผ่นเปล่าในไดรฟ์
-
กำหนดให้คอม boot จากแผ่น DBAN. ต้องตั้งค่าให้คอมบูทเครื่องจากไดรฟ์ที่มีแผ่น ถึงจะเปิด DBAN ได้
- Windows 7 (หรือเก่ากว่า) - ให้รีสตาร์ทคอม แล้วกดปุ่ม BIOS, SETUP หรือ BOOT ที่ขึ้นในหน้าโลโก้ยี่ห้อคอม ปกติปุ่มนี้จะเป็น F2 , F11 , F12 หรือ Del พอเปิดเมนู BOOT แล้วให้ตั้งไดรฟ์ที่มีแผ่นเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้บูทเครื่อง
- Windows 8 (หรือใหม่กว่า) - คลิกปุ่ม Power ในหน้าหรือเมนู Start กด ⇧ Shift ค้างไว้ แล้วคลิก Restart เพื่อเปิดเครื่องกลับมาเจอเมนู "Advanced startup" เลือก "Troubleshoot" แล้วเลือก "Advanced options" จากนั้นคลิก "UEFI Firmware Settings" แล้วไปที่เมนู BOOT สุดท้ายตั้งไดรฟ์อ่านแผ่นเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้บูทเครื่อง
-
เปิด DBAN. พอตั้งค่าอุปกรณ์ที่ใช้บูทเครื่องแล้ว ให้รีสตาร์ทคอมเพื่อเปิด DBAN โดยกด ↵ Enter ในหน้าหลักของ DBAN เพื่อเปิดโปรแกรม
-
เลือกไดรฟ์ที่จะล้างข้อมูล. กดปุ่มลูกศรเลื่อนมาเลือกฮาร์ดไดรฟ์ที่จะล้างข้อมูล แล้วกด Space เพื่อเลือก ระวังอย่าเผลอเลือกไดรฟ์ที่มีข้อมูลสำคัญ เพราะจะแก้ไขหรือกู้คืนมาไม่ได้ ถ้าไม่เช็คให้ดี อาจลบ Windows ที่ติดตั้งไว้ไปด้วย
-
กด . F10 เพื่อเริ่มล้างข้อมูล . เพื่อใช้ค่า default ของ DBAN ในการล้างข้อมูลแบบหมดจด หลังจากนี้ย้ำว่าจะกู้คืนข้อมูลไม่ได้อีก ขั้นตอนการล้างข้อมูลตามค่า default ของ DBAN ปกติจะใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะเสร็จสิ้น
- ถ้าอยากให้ชัวร์ว่าลบข้อมูลแบบหมดจดจริงๆ ให้กด M ในไดรฟ์ที่เลือก แล้วเลือก "DoD 5220.22-M" หรือ "Gutmann Wipe" จะใช้เวลานานกว่า แต่รับรองว่าลบข้อมูลหมดทุกซอกทุกมุม [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา