ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แก้วน้ำของคุณมีน้ำอยู่ครึ่งแก้วหรือว่างอยู่ครึ่งแก้ว? วิธีที่คุณตอบคำถามนี้อาจสะท้อนให้เห็นมุมมองที่คุณมีต่อชีวิต ทัศนคติต่อตัวเอง และรู้ได้ว่าคุณเป็นคนมองโลกในแง่ดีหรือร้าย ซึ่งมันอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณได้ [1] [2] ทุกชีวิตมีทั้งช่วงเวลาดีและร้าย แต่การมองชีวิตในแง่ดีนั้นพบว่ามีผลด้านบวกต่อคุณภาพชีวิต เช่น ความมีสุขภาพดีของจิตใจและร่างกาย การมองโลกในแง่ดียังจัดเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการความเครียดอีกด้วย [3] การมองโลกในแง่ดีไม่ได้หมายถึงการไม่ใส่ใจความยากลำบากหรือความท้าทายในชีวิต แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีที่คุณเข้าถึงสิ่งต่างๆ หากคุณมองโลกในแง่ร้ายมาตลอด มันก็คงยากที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองในชีวิตของคุณ แต่มันก็เป็นไปได้ที่จะมุ่งเน้นไปที่ด้านบวกในชีวิตโดยอาศัยความอดทนและสติ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เรียนรู้วิธีการรับมือกับอารมณ์ของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พิจารณาด้านดีและด้านแย่ในชีวิต แล้วดูว่าคุณได้รับผลกระทบจากสองสิ่งอย่างไรบ้าง. การมองโลกในแง่ดีไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้อง “มีความสุข” ตลอดเวลา เพราะในความจริงแล้ว การพยายามบังคับตัวเองให้มีความสุขระหว่างเวลาที่บอบช้ำทางจิตใจนั้นไม่ดีต่อสุขภาพ [4] คุณควรปรับตัวเองไปตามอารมณ์ในชีวิตอย่างเต็มที่แทน และยอมรับว่าความรู้สึกทั้งด้านลบและด้านบวกเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ชีวิตมนุษย์ การพยายามข่มอารมณ์บางอย่างไว้อาจทำให้เกิดอารมณ์เศร้าเสียใจอย่างรุนแรงได้ [5] การไม่ใส่ใจในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป สามารถช่วยให้คุณปรับตัวได้ง่ายและควบคุมสถานการณ์ที่อาจเกิดอย่างไม่คาดคิดในอนาคตได้ [6] วิธีนี้จะเพิ่มความสามารถในการมองโลกในแง่ดีและฟื้นตัวได้ดีจากความไม่แน่นอน [7]
    • ความรู้สึกด้านลบสามารถกลายเป็นนิสัยประจำได้เมื่อเวลาผ่านไป หลีกเลี่ยงการต่อว่าตัวเองเพราะอารมณ์และความสัมพันธ์ด้านลบ การตำหนิไม่เป็นประโยชน์เพราะมันไม่ช่วยให้คุณเติบโต แต่มันคือการมองย้อนกลับไปยังสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว [8]
    • ให้คุณรู้ตัวอยู่เสมอว่าความรู้สึกด้านลบนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ การเขียนบันทึกจะช่วยคุณได้ ให้เขียนบันทึกลงไปเมื่อคุณมีความรู้สึกหรือความคิดด้านลบเกิดขึ้น แล้วจึงพิจารณาบริบทของมันและหาวิธีการต่างๆ ในการตอบโต้กับสิ่งแย่ๆ เหล่านั้น [9]
    • ตัวอย่างเช่น สมมติว่ามีคนขับรถตัดหน้าคุณ คุณตอบโต้ด้วยการรู้สึกโกรธ บีบแตร หรือตะโกนใส่คนขับรถแม้ว่าเขาอาจจะไม่ได้ยิน คุณอาจเขียนลงในสมุดบันทึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ามันทำให้คุณรู้สึกอย่างไร และปฏิกิริยาตอบโต้โดยทันทีของคุณเป็นอย่างไร อย่าตัดสินว่าตัวคุณ “ถูก” หรือ “ผิด” แค่เขียนว่าเกิดอะไรขึ้นเท่านั้น [10]
    • ขั้นตอนต่อไป ลองกลับมาคิดดูอีกครั้งถึงสิ่งที่คุณเขียนไป คุณตอบโต้อย่างเหมาะสมกับคุณค่าของตัวเองและเป็นแบบคนที่คุณอยากเป็นหรือไม่? หากไม่ คุณสามารถทำอะไรที่แตกต่างไปได้หรือไม่? คุณคิดว่าอะไรคือสิ่งที่คุณกำลังตอบโต้อยู่แน่? ตัวอย่างเช่น บางทีคุณอาจจะไม่ได้โกรธคนขับรถจริงๆ แต่เป็นเพราะคุณเครียดมาทั้งวัน คุณจึงระเบิดความเครียดใส่คนๆ นั้น
    • ตั้งตาคอยเวลาที่คุณเขียนบันทึกเหล่านี้ อย่าใช้มันเป็นเพียงที่ระบายความรู้สึกแย่ๆ ให้คิดว่าคุณสามารถเรียนรู้อะไรได้จากประสบการณ์เหล่านั้นบ้าง คุณสามารถใช้อะไรจากมันเพื่อเติบโตขึ้นได้บ้าง? คุณสามารถใช้ประสบการณ์นี้เพื่อเป็นบทเรียนแก่เรื่องอื่นๆ ได้หรือไม่? หากคุณประสบกับสถานการณ์ที่เหมือนกันในคราวหน้า คุณจะตอบโต้อย่างไรให้เหมาะสมกับคุณค่าของตัวคุณเอง? ตัวอย่างเช่น การรู้ว่าคุณตอบโต้ด้วยอารมณ์โกรธเพราะคุณเครียด สามารถช่วยให้รู้ได้ว่าทุกคนย่อมทำความผิดพลาดได้ และยังส่งเสริมให้คุณรู้สึกเห็นใจคนอื่นมากขึ้นในครั้งหน้าเวลาที่ใครแสดงอารมณ์โกรธใส่คุณ การมีความคิดไว้ก่อนแล้วว่าคุณ “อยาก” ตอบโต้กับสถานการณ์เลวร้ายอย่างไรจะช่วยคุณในเวลาที่ยากลำบากได้ [11]
  2. การวิปัสสนาคือกุญแจสำคัญของการมองโลกในแง่ดี เพราะมันส่งเสริมให้คุณจดจ่อไปยังการรับรู้อารมณ์ของคุณ ณ เวลานั้นโดยไร้การตัดสินก่อน [12] บ่อยครั้ง ปฏิกิริยาแย่ๆ มักเกิดขึ้นเวลาที่เราประสบปัญหากับอารมณ์ของตัวเอง หรือเวลาที่เราปล่อยให้ตัวเองถูกอารมณ์ครอบงำ จนเราไม่สามารถควบคุมวิธีที่จะแสดงออกได้ [13] จดจ่อไปที่ลมหายใจของคุณ ยอมรับในร่างกายและอารมณ์ของคุณ และการเรียนรู้จากอารมณ์ของคุณแทนที่จะปฏิเสธมันจะช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจกับตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากเวลาความรู้สึกแย่ๆ เหล่านั้นเกิดขึ้น [14]
    • การวิจัยพบว่าการวิปัสสนาจะช่วยในเรื่องความรู้สึกกังวลและความซึมเศร้า [15] มันสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการที่ร่างกายของคุณตอบรับความเครียด
    • มองหาชั้นเรียนวิปัสสนาในชุมชนของคุณ คุณยังสามารถหาแนวทางการนั่งสมาธิทางอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย เช่น ที่ศูนย์การวิจัยการเจริญสติแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียลอสแองเจลิส (UCLA Mindful Awareness Research Center) [16] หรือ BuddhaNet [17] (และมีการสอนหลากหลายใน wikiHow เช่นกัน)
    • คุณไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากมายในการนั่งสมาธิเพื่อให้เห็นผลของมัน แค่วันละไม่กี่นาทีก็สามารถช่วยให้คุณมีสติรับรู้และยอมรับอารมณ์ของคุณได้ [18]
  3. ลองสำรวจดูว่าการพูดคุยกับตัวเองหรือเสียงในใจของคุณนั้นเป็นด้านบวกหรือด้านลบ. การพูดกับตัวเองในใจคือตัวบ่งชี้ที่ดีในการบอกว่าคุณมองโลกในแง่ดีหรือร้าย ลองใส่ใจฟังสิ่งที่คุณพูดกับตัวเองเป็นเวลาหนึ่งวัน และดูว่ารูปแบบการพูดในใจที่เป็นด้านลบดังต่อไปนี้ (สิ่งที่คุณพูดคนเดียวในใจ) เริ่มปรากฏบ่อยขึ้นหรือไม่: [19]
    • การทำให้สถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิมและทำให้แง่ดีต่างๆ หายไป
    • ตำหนิตัวเองในทันทีเวลาที่มีสถานการณ์หรือเหตุการณ์แย่ๆ
    • คาดหวังผลที่แย่ที่สุดจากทุกๆ เรื่อง ร้านกาแฟแบบไดร์ฟทรูจดเมนูที่คุณสั่งผิด คุณเลยคิดโดยทันทีว่าทั้งวันนี้คงมีแต่เรื่องแย่ๆ [20]
    • คุณมองทุกเรื่องมีแค่แง่ดีหรือแง่ร้ายเท่านั้น (หรือที่เรียกว่าการมองโลกแง่เดียว) ในสายตาของคุณนั้นทุกสิ่งไม่มีตรงกลาง
  4. การปรับเปลี่ยนความคิดในใจของคุณนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะได้มุ่งเน้นไปที่ด้านดีๆ ของทั้งตัวคุณและโลกรอบๆ ตัวด้วย แม้การคิดด้านบวกเป็นเพียงหนึ่งในขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การเป็นคนมองโลกในแง่ดีอย่างแท้จริง แต่ผลที่ได้จากการคิดบวกต่อทั้งร่างกายและจิตใจของคุณนั้นอาจแตกต่าง ตัวอย่างเช่น: [21]
    • อายุยืนขึ้น
    • อัตราความหดหู่ต่ำลง
    • อัตราความเศร้าต่ำลง
    • ระบบภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น
    • สภาวะทางจิตใจและร่างกายที่ดีขึ้น
    • อัตราความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจที่ลดลง
    • ทักษะที่ดีขึ้นในการแก้ไขสถานการณ์ที่ยากลำบากและเวลาที่เครียด
  5. อย่าลืมว่าการมองโลกในแง่ดีอย่างแท้จริงนั้นต่างกับการมองโลกในแง่ดีอย่างไม่ลืมหูลืมตา. การมองโลกในแง่ดีอย่างไม่ลืมหูลืมตาเกิดขึ้นเวลาที่บุคคลหนึ่งเชื่อว่าจะไม่มีเรื่องร้ายใดๆ เกิดขึ้น สิ่งนี้อาจนำไปสู่สภาวะการมั่นใจมากเกินไปและความซื่อไม่ทันคน และมันอาจนำไปสู่ความผิดหวังหรือแม้แต่อันตรายได้ [22] การมองโลกในแง่ดีอย่างแท้จริงนั้นไม่ใช่การเพิกเฉยต่อความท้าทายหรือทำเหมือนว่าความรู้สึกและประสบการณ์ด้านลบนั้นไม่มีอยู่จริง แต่มันคือการยอมรับความท้าทายเหล่านั้นและพูดว่า “ฉันจะผ่านมันไปได้!”
    • ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจไปกระโดดร่มโดยไม่ฝึกหรือศึกษามาก่อน เพราะคิดว่า “มันคงไม่เป็นอะไร” คือตัวอย่างของการมองโลกในแง่ดีโดยไม่ลืมหูลืมตา (และอันตรายด้วย!) มันไม่ตรงกับความเป็นจริงและมันคือการไม่ยอมรับว่าคุณต้องลงมือทำก่อนเพื่อก้าวข้ามผ่านอุปสรรค การตัดสินใจแบบนี้อาจนำไปสู่อันตรายอย่างแท้จริงได้
    • คนที่มองโลกในแง่ดีอย่างแท้จริงจะดูการกระโดดร่ม และรู้ได้ว่ามันคือกีฬาอันซับซ้อนที่ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างมากและต้องมีมาตรการความปลอดภัยด้วย แทนที่จะท้อใจเพราะสิ่งที่ต้องเตรียม คนมองโลกในแง่ดีจะตั้งเป้าหมาย (“เรียนวิธีกระโดดร่ม”) แล้วจึงค่อยเริ่มฝึกฝนมัน โดยมั่นใจว่าตัวเองจะสามารถทำมันให้สำเร็จได้
  6. การจดบันทึกถ้อยคำสั้นๆ เอาไว้ จะช่วยให้เราเชื่อในความเป็นไปได้ของสิ่งที่เราอยากให้สำเร็จ เขียนคำที่ช่วยย้ำเตือนว่าอะไรที่คุณกำลังจะเปลี่ยนเกี่ยวกับแนวทางที่คุณมองโลก วางมันไว้ในที่ๆ คุณสามารถเห็นได้ทุกวัน เช่น บนกระจกในห้องน้ำ ในล็อกเกอร์ บนคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่แปะไว้บนกำแพงห้องน้ำ ตัวอย่างของการย้ำเตือนที่ดีคือ: [23]
    • "ทุกสิ่งเป็นไปได้"
    • "โอกาสไม่ได้สร้างฉัน แต่ฉันคือคนสร้างโอกาส"
    • "สิ่งเดียวที่ฉันควบคุมได้คือมุมมองของฉันต่อชีวิต"
    • "ฉันมีทางเลือกเสมอ"
  7. มันง่ายที่จะอิจฉาคนอื่น แต่สิ่งนี้จะนำไปสู่ความคิดด้านลบเพียงอย่างเดียว ("พวกเขามีเงินมากกว่าฉัน" หรือ "เธอวิ่งได้เร็วกว่าฉัน") จงจำไว้ว่ายังมีคนอื่นที่แย่กว่าเราเสมอ หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบในด้านลบกับคนอื่น และมุ่งเน้นไปที่ด้านบวกแทน การวิจัยพบว่าการคร่ำครวญเกี่ยวปัญหาของตัวเองอาจนำไปสู่ความซึมเศร้าและความกังวล [24]
    • การฝึกฝนความรู้สึกขอบคุณในชีวิตประจำวันเป็นวิธีที่ดีในการออกจากวังวนของการเปรียบเทียบที่เป็นลบ เขียนจดหมายเพื่อขอบคุณคนรอบตัวคุณหรือบอกต่อหน้าก็ได้ การมุ่งเน้นไปที่สิ่งดีๆ เหล่านี้ในชีวิตของคุณสามารถทำให้คุณอารมณ์ดีและรู้สึกว่าชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีได้ [25]
    • พิจารณาการเก็บบันทึกที่แสดงความขอบคุณเอาไว้ การวิจัยพบว่าผู้ชายและผู้หญิงที่เขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกขอบคุณอาทิตย์ละ 2-3 ประโยค มักจะรู้สึกมองโลกในแง่ดีและรู้สึกดีกับชีวิตโดยรวมของตัวเองมากกว่าเดิม [26]
  8. ปรับเปลี่ยนมุมมอง 1 หรือ 2 ด้านในชีวิตคุณให้ดีขึ้น. การมองโลกในแง่ร้ายมักมีรากฐานมาจากความรู้สึกหมดหนทางหรือเสียการควบคุม พิจารณา 1 หรือ 2 แง่มุมหลักที่คุณอยากเปลี่ยนในชีวิตของคุณและพยายามทำมันให้ดีขึ้น สิ่งนี้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในพลังของตัวเองและความสามารถในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของคุณ [27]
    • มองว่าตัวเองเป็นสาเหตุ ไม่ใช่ผล คนมองโลกในแง่ดีมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าสถานการณ์หรือเหตุการณ์ด้านลบนั้นสามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยความพยายามและความสามารถของตัวเอง [28]
    • เริ่มจากสิ่งเล็กๆ อย่าคิดว่าคุณต้องทำทุกอย่างในคราวเดียว
    • การคิดดีอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี ในการทดลองหนึ่ง การฝึกให้นักกีฬาบาสเกตบอลชายทำในสิ่งที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีจากความสามารถของเขา ตัวอย่างเช่น การชู้ตลูกโทษ และการได้ผลลัพธ์ที่แย่จากการขาดความพยายามนั้นแสดงให้เห็นว่าช่วยให้นักกีฬาพัฒนาศักยภาพที่ตามมาภายหลังได้ [29]
  9. การวิจัยพบว่า การยิ้มอย่างร่าเริงจะช่วยทำให้คุณรู้สึกมีความสุขมากกว่าเดิมและมองปัจจุบันและอนาคตในแง่ดี [30]
    • ในการทดลองหนึ่ง ผู้ร่วมทดลองที่ถูกขอให้อมปากกาไว้ในปาก (ทำให้พวกเขาขยับกล้ามเนื้อใบหน้าเหมือนกับการยิ้ม) ได้ให้คะแนนการ์ตูนว่าตลกกว่าผู้ร่วมทดลองคนอื่น แม้พวกเขาจะไม่รู้ว่าเป็นเพียงเพราะรอยยิ้มที่ช่วยให้เปลี่ยนปฏิกิริยาให้ดีขึ้น การตั้งใจเปลี่ยนกล้ามเนื้อใบหน้าให้แสดงออกถึงอารมณ์ด้านบวกจะส่งข้อความไปยังสมองแบบเดียวกัน และทำให้อารมณ์ดีขึ้น [31]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เพิ่มแง่มุมบวกในชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รับรู้ว่าคุณสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวคุณอย่างไร. การมองโลกในแง่ดีไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ในสมองของคุณแล้วส่งผ่านออกมาข้างนอก แต่มันเกิดจากคุณและโลกที่คุณอยู่ เรียนรู้ที่จะจำแนกมุมมองต่างๆ รอบตัวคุณที่คุณไม่ชอบ แล้วจึงใช้เวลาและพลังในการเปลี่ยนแปลงมัน
    • พยายามเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นด้วยวิธีที่เป็นรูปธรรม โดยเริ่มทีละการกระทำ อาจเป็นการเข้าร่วมขบวนการความยุติธรรมทางสังคมหรือเหตุผลทางการเมืองที่สำคัญต่อคุณก็ได้
    • จำไว้ว่า อย่างไรก็ตามโลกนี้ประกอบไปด้วยความหลากหลายมากมาย และคุณเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง อย่าคิดไปเองว่าวัฒนธรรมหรือวิธีการทำสิ่งต่างๆ ของคุณนั้นเหนือกว่าหรือเป็นวิธีที่ถูกวิธีเดียว การยอมรับความแตกต่างในโลกใบนี้และการพยายามช่วยคนอื่นจะช่วยสอนคุณให้มองเห็นความงามและแง่มุมบวกในหลายๆ สิ่ง [32]
    • ในระดับเล็กๆ แม้แต่การจัดเรียงสิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างเฟอร์นิเจอร์สามารถช่วยทำลายรูปแบบพฤติกรรมเก่าๆ ที่ไม่เกิดประโยชน์ของคุณ และทำให้คุณสร้างพฤติกรรมใหม่ขึ้นมา การศึกษาพบว่าการเลิกนิสัยบางอย่างนั้นจะง่ายขึ้นหากคุณเปลี่ยนวิถีปฏิบัติของคุณ เพราะมันช่วยกระตุ้นส่วนใหม่ๆ ในสมองคุณ [33] [34]
    • วิธีนี้ก็เหมือนกับการเรียนรู้ที่จะยอมรับและศึกษาขอบเขตอารมณ์ที่กว้างขวางของคุณ เนื่องจากมันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทดลองในสิ่งที่คุณไม่ต้องพบเจอ แทนที่จะจัดการกับอารมณ์ของคุณด้วยการอยู่กับความเคยชินเดิมๆ ทุกวัน ให้ทดลองกับแต่ละปฏิกิริยาและพยายามหาทางเพื่อทำให้สภาพแวดล้อมที่คุณใช้ร่วมกับคนอื่นดีขึ้น
    • สร้างเป้าหมายและความคาดหวังต่ออนาคตจากความสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรมที่คุณมีต่อคนอื่นและสภาพแวดล้อม ในการทำเช่นนี้ คุณสามารถหลีกเลี่ยงการสร้างความคาดหวังที่ไม่สมจริงต่อตนเองและผู้อื่นได้ [35]
  2. การฝึกแบบนี้มาจากผลการวิจัยของเบิร์กลีย์ ซึ่งได้แนะนำว่าคุณควรใช้เวลา 15 นาทีต่ออาทิตย์เพื่อฝึกฝน การคิดว่าชีวิตคุณจะแตกต่างไปอย่างไรหากไม่มีสิ่งที่คุณรักหรือรู้สึกขอบคุณนั้นสามารถช่วยให้คุณบ่มเพาะการมองโลกในแง่ดีได้โดยการโต้ตอบกับแนวโน้มทางธรรมชาติที่นึกเอาว่าสิ่งดีๆ ในชีวิตนั้น “ได้รับมา” การระลึกว่าเรานั้นโชคดีที่สิ่งดีๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นและมันอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ การคิดแบบนี้จะทำให้ทัศนคติเกี่ยวกับความรู้คุณในด้านดีเกิดขึ้น [36] [37]
    • เริ่มด้วยการมองไปที่เหตุการณ์ดีๆ อันหนึ่งในชีวิตคุณ เช่น ความสำเร็จ การไปท่องเที่ยว หรืออะไรก็ตามที่มีความหมายต่อคุณ
    • จดจำเหตุการณ์นั้น และคิดถึงสภาวะที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นขึ้น
    • ลองคิดถึงหนทางต่างๆ ที่อาจทำให้สถานการณ์ตอนนั้นต่างออกไป ตัวอย่างเช่น คุณก็คงไม่ได้เรียนภาษาที่ทำให้คุณเลือกการท่องเที่ยวที่นั้น หรือคุณอาจไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์วันที่คุณเจอประกาศรับสมัครของงานที่คุณรักมากในตอนนี้
    • เขียนเหตุการณ์ที่เป็นไปได้และการตัดสินใจต่างๆ ที่อาจเกิดแตกต่างออกไปและทำให้เหตุการณ์ดีๆ นี้ไม่เกิดขึ้น
    • ลองจินตนาการดูว่าชีวิตของคุณจะเป็นอย่างไรถ้าเหตุการณ์นี้ไม่เกิดขึ้น ลองจินตนาการดูว่าคุณจะพลาดอะไรไปบ้างหากคุณไม่ได้รับสิ่งดีอื่นๆ ที่ถูกสร้างมาจากเหตุการณ์นั้น
    • กลับมาย้อนนึกว่าเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นจริง ไตร่ตรองถึงสิ่งดีๆ ที่มันได้พามาในชีวิตคุณ กล่าวแสดงความขอบคุณว่าสิ่งเหล่านี้ ที่ไม่จำเป็นต้องเกิดก็ได้นั้น ผ่านไปด้วยดีและนำประสบการณ์อันแสนสนุกมาให้คุณ [38]
  3. มันคือเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่มีแนวโน้มจะคิดถึงแต่สิ่งที่ผิดพลาดในชีวิตมากกว่าจะคิดถึงสิ่งที่ผ่านไปได้ดี เผชิญหน้ากับแนวโน้มนี้ด้วยการวิเคราะห์เหตุการณ์แย่ๆ และหา “ด้านดี” ของมัน การวิจัยพบว่าวิธีนี้คือกุญแจสำคัญต่อการมองโลกในแง่ดี และยังช่วยในด้านความเครียด ความหดหู่ และความสัมพันธ์ของคุณและคนอื่นด้วย ลองทำวันละ 10 นาทีเป็นเวลา 3 อาทิตย์ แล้วคุณจะแปลกใจที่คุณมองโลกในแง่ดีมากขึ้น [39]
    • เริ่มด้วยการเขียน 5 สิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกว่าวันนี้ชีวิตดี [40]
    • จากนั้น ให้คิดถึงเวลาที่บางอย่างไม่เป็นไปตามที่หวังหรือทำให้คุณเจ็บหรือโกรธ เขียนลงไปคร่าวๆ ว่าสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไร
    • มองหา 3 สิ่งในสถานการณ์นั้นที่อาจช่วยให้คุณมองเห็น “ด้านดีๆ”
    • ตัวอย่างเช่น รถยนต์ของคุณอาจมีปัญหาซึ่งทำให้คุณไปทำงานสายเพราะคุณต้องไปรถเมล์แทน นี่ไม่ใช่สถานการณ์ที่น่ายินดี แต่คุณอาจมองว่ามันเป็นด้านดีได้เพราะสิ่งเหล่านี้:
      • คนเจอคนใหม่ๆ บนรถเมล์ที่ปกติคุณไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ด้วย
      • คุณขึ้นรถเมล์ทัน ซึ่งถูกกว่าการนั่งแท็กซี่ไปทำงาน
      • รถของคุณสามารถซ่อมได้
    • แม้ว่ามันจะเป็นสิ่งเล็กๆ แต่อย่าลืมหาให้ได้อย่างน้อย 3 อย่าง วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้ฝึกการเปลี่ยนแปลงการมองและตอบรับต่อเหตุการณ์ต่างๆ
  4. ใช้เวลาทำกิจกรรมที่ทำให้คุณยิ้มหรือหัวเราะ. อนุญาตให้ตัวเองหัวเราะได้ โลกเต็มไปด้วยเรื่องตลกขบขัน จงดื่มด่ำไปกับมันสิ! ดูละครตลกในโทรทัศน์ ไปฟังเดี่ยวตลก หรือซื้อหนังสือมุกขำขัน แต่ละคนก็มีอารมณ์ขันแตกต่างกันไป แต่ให้คุณเน้นหาสิ่งที่ทำให้คุณหัวเราะ ลองทำอะไรที่แปลกไปบ้างเพื่อทำให้ตัวเองยิ้มวันละครั้ง จำไว้ว่า เสียงหัวเราะคือสิ่งระบายความเครียดโดยธรรมชาติ [41]
  5. การมองโลกในแง่ดีและคิดในแง่ดีนั้นเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายและความสุขภาพดี ในความจริงแล้ว การออกกำลังเป็นสิ่งที่ทำให้อารมณ์ดีได้โดยธรรมชาติ เนื่องมาจากสารเอ็นดอร์ฟินที่ผลิตออกมาเมื่อคุณทำกิจกรรมทางกายภาพ [42]
    • ทำกิจกรรมทางกายภาพอย่างน้อย 3 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์ กิจกรรมทางกายภาพไม่จำเป็นต้องเป็นกายออกกำลังกายที่ยิม คุณสามารถออกไปเดินเล่นกับสุนัขของคุณ ใช้บันไดที่ทำงานแทนลิฟต์ กิจกรรมทางกายภาพมากเท่าใดก็ตามสามารถช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้ทั้งสิ้น
    • จำกัดการบริโภคสารที่ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ เช่น ยาเสพติดหรือแอลกอฮอล์ การวิจัยได้พบความเชื่อมโยงอันสำคัญระหว่างการมองโลกในแง่ร้ายและการใช้สารเสพติดและ/หรือแอลกอฮอล์มากเกินไป [43]
  6. อยู่ท่ามกลางเพื่อนและครอบครัวที่ช่วยให้คุณอารมณ์ดี. ตัวอย่างเช่น เล่นแต่งตัวกับลูกๆ ของคุณ หรือไปคอนเสิร์ตกับพี่สาว การใช้เวลาร่วมกับคนอื่นมักเป็นวิธีที่ดีในการลดความโดดเดี่ยวและความเหงา ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรู้สึกมองโลกในแง่ร้ายหรือความระแวงสงสัย [44]
    • ดูให้แน่ใจว่าบุคคลในชีวิตคุณเป็นคนดีและคอยสนับสนุนคุณ ไม่ใช่ทุกคนที่คุณเจอในชีวิตจะมีความเข้าใจและความคาดหวังในชีวิตเหมือนกับคุณ และนั่นก็ไม่เป็นไร อย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่าทัศนคติและพฤติกรรมของอีกบุคคลหนึ่งมีผลด้านลบกับคุณอย่างมาก ให้ลองเอาตัวออกห่างจากคนๆ นั้น มนุษย์มักจะหวั่นไหวง่ายต่อ “การติดต่อทางอารมณ์” ซึ่งความรู้สึกและทัศนคติของคนรอบข้างนั้นมีผลต่อความรู้สึกของเรา [45] คนที่คิดแง่ลบอาจเพิ่มระดับความเครียดของคุณและทำให้คุณสงสัยในความสามารถของตัวเองในการจัดการความเครียดอย่างดีต่อสุขภาพ [46]
    • อย่ากลัวที่จะทดลองกับความสัมพันธ์ของคุณ. คุณไม่รู้หรอกว่าใครบางคนที่แม้จะต่างจากคุณแค่ไหนก็อาจนำสิ่งที่มีค่ามาให้คุณได้ ให้ลองคิดว่ากระบวนการนี้เหมือนกับวิชาเคมี คุณจำเป็นต้องหาความลงตัวในการรวมตัวกันเพื่อที่จะบ่มเพาะการมองโลกในแง่ดีในอนาคต [47]
    • อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้หมายถึงนิสัยที่เปลี่ยนไป การเป็นคนมองโลกในแง่ดีก็ไม่เหมือนกับการเป็นคนเปิดเผย คุณไม่จำเป็นต้องเป็นคนเปิดเผยเพื่อที่จะเป็นคนมองโลกในแง่ดี เพราะในความจริงแล้ว การพยายามจะเป็นใครที่คุณไม่ได้เป็นอาจทำให้คุณรู้สึกว่างเปล่าและโศกเศร้า ไม่ใช่มองโลกในแง่ดี
  7. การมองโลกในแง่ดีนั้นเป็นโรคติดต่อ การแสดงออกถึงด้านดีๆ และแสดงความเห็นอกเห็นใจเวลามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นไม่เพียงจะทำให้คุณได้เปรียบ แต่มันยังสามารถสร้าง “ผลกระทบแบบระลอกคลื่น” ซึ่งคนอื่นจะได้รับการกระตุ้นให้ทำสิ่งดีๆ ต่อคนอื่นๆ อีกมากมาย [48] นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมงานการกุศลหรืองานอาสานั้นจัดเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้อารมณ์ดี [49] ไม่ว่าจะเป็นการซื้อกาแฟให้กับคนแปลกหน้าหรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในประเทศอื่น พลังด้านบวกในการกระทำของคุณจะตอบแทนด้วยการมองโลกในแง่ดีที่เพิ่มขึ้น
    • งานการกุศลได้รับการขนานนามว่าเป็นสิ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตัวเอง ซึ่งจะช่วยต่อสู้กับความรู้สึกมองโลกในแง่ร้ายและไร้กำลัง
    • การรับใช้หรือการให้จะช่วยทำให้คุณรู้สึกดีต่อความช่วยเหลือที่มอบให้แก่โลก สิ่งนี้จะยิ่งเป็นจริงหากคุณสามารถให้ความช่วยเหลือนี้ด้วยตัวเอง แทนที่จะทำอย่างไม่ระบุชื่อหรือผ่านทางอินเตอร์เน็ต [50]
    • งานอาสาจะช่วยให้คุณได้เพื่อนและคนรู้จักใหม่ๆ และห้อมล้อมคุณด้วยกลุ่มคนที่มีแต่แง่บวกซึ่งจะช่วยเพิ่มการมองโลกในแง่ดีได้ [51]
    • การยิ้มให้คนแปลกหน้านั้นเป็นพฤติกรรมทางวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น คนอเมริกันจะคิดว่ามันคือความเป็นมิตร แต่วัฒนธรรมรัสเซียมองว่ามันไม่น่าไว้วางใจ [52] ยิ้มให้กับคนอื่นในที่สาธารณะตามสบาย แต่ระวังด้วยว่าพวกเขาอาจมีประเพณีที่ต่างไปจากคุณ และอย่ารู้สึกขุ่นเคืองหากพวกเขาไม่ยิ้มตอบ (หรือแม้แต่ดูเหมือนถูกรบกวน) [53]
  8. ยิ่งคุณเข้าไปเกี่ยวข้องกับความคิดและการกระทำด้านบวกมากเท่าใด คุณก็จะยิ่งรักษากระแสความคิดบวกๆ ไว้ในชีวิตประจำวันของคุณได้ [54]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทุกคนต่างมีช่วงเวลาอ่อนแอทั้งสิ้น คุณอาจพบกับปัญหาเป็นบางครั้งและกลับไปทำนิสัยเสียเดิมๆ แต่ให้คุณจำความรู้สึกด้านบวกในอดีต และย้ำกับตัวเองว่าความรู้สึกด้านบวกนั้นอยู่แค่เอื้อมมือถึง จำไว้ว่า: คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ลองยื่นมือขอความสนับสนุนจากคนรอบตัวเพื่อให้พวกเขาช่วยนำคุณกลับไปสู่ความรู้สึกด้านบวก
  • ยิ้มและมองไปที่กระจก อ้างอิงจากทฤษฏีการจดจำใบหน้า วิธีนี้จะช่วยให้คุณคงความสุขและรักษาความคิดที่เป็นบวกไว้ได้
  • ลองนับด้านบวกและด้านลบ หรือข้อดีและข้อเสียในสถานการณ์ต่างๆ แต่ให้มุ่งเน้นไปที่ด้านบวก
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าสับสนระหว่างการมองโลกในแง่ร้ายและความซึมเศร้า ความซึมเศร้าอาจเป็นสภาวะร้ายแรงทางการแพทย์และสำคัญว่าต้องได้รับการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกฝน หากคุณคิดว่าการมองโลกในด้านลบของคุณอาจเป็นสัญญาณของสภาวะนี้
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950
  2. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/why_cynicism_can_hold_you_back
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2894461/
  4. Kelley, T. M., & Pransky, J. (2013). Principles for realizing resilience: A new view of trauma and inner resilience. J Trauma Stress Disor Treat 2, 1, 2.
  5. http://www.personal.kent.edu/~dfresco/CBT_Readings/JCP_Blackledge_%26_Hayes_2001.pdf
  6. Todd, R. M., Cunningham, W. A., Anderson, A. K., & Thompson, E. (2012). Affect-biased attention as emotion regulation. Trends in Cognitive Sciences, 16(7), 365–372. http://www.cell.com/trends/cognitive-sciences/abstract/S1364-6613(12)00129-5?_returnURL=http%3A%2F%2Flinkinghub.elsevier.com%2Fretrieve%2Fpii%2FS1364661312001295%3Fshowall%3Dtrue
  7. Kelley, T. M., & Pransky, J. (2013). Principles for realizing resilience: A new view of trauma and inner resilience. J Trauma Stress Disor Treat 2, 1, 2.
  8. L’Abate, L. (2013). The Criterion of Concreteness: Seven Psychological Orphans in Search of a Theory—Toward a Neo-Behaviorist View. In Clinical Psychology and Psychotherapy as a Science (pp. 131–147). Springer New York. Retrieved from http://link.springer.com/chapter/10.1007/978-1-4614-4451-0_6
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/anger-in-the-age-entitlement/201309/the-good-and-the-bad-journaling
  1. http://self-compassion.org/exercise-6-self-compassion-journal/
  2. https://www.psychologytoday.com/blog/anger-in-the-age-entitlement/201309/the-good-and-the-bad-journaling
  3. Siegel, R. D. (2010). The Mindfulness Solution: Everyday Practices for Everyday Problems (1 edition). New York: The Guilford Press.
  4. Hanh, T. N. (2003). The Present Moment: A Retreat on the Practice of Mindfulness (Abridged edition). Boulder, CO: Sounds True, Incorporated.
  5. http://www.helpguide.org/harvard/benefits-of-mindfulness.htm
  6. http://news.harvard.edu/gazette/story/2012/11/meditations-positive-residual-effects/
  7. http://marc.ucla.edu/body.cfm?id=22
  8. http://www.buddhanet.net/audio-meditation.htm
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/the-courage-be-present/201001/how-practice-mindfulness-meditation
  10. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950
  11. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950?pg=2
  12. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950
  13. https://www.psychologytoday.com/blog/happiness-in-world/201306/how-optimism-can-be-learned
  14. http://www.huffingtonpost.com/dr-carmen-harra/affirmations_b_3527028.html
  15. http://www.huffingtonpost.com/2014/11/25/everyday-gratitude-practices_n_6212270.html
  16. http://www.oprah.com/spirit/How-to-be-an-Optimist/4
  17. http://www.huffingtonpost.com/2014/11/25/everyday-gratitude-practices_n_6212270.html
  18. https://www.psychologytoday.com/blog/happiness-in-world/201306/how-optimism-can-be-learned
  19. http://www.newbridgefoundation.org/optimism-drug-alcohol-recovery/
  20. https://www.psychologytoday.com/blog/happiness-in-world/201306/how-optimism-can-be-learned
  21. http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=smile-it-could-make-you-happier
  22. http://www.oprah.com/spirit/How-to-be-an-Optimist/2
  23. Holland, D. (2001). Identity and Agency in Cultural Worlds. Harvard University Press.
  24. Duhigg, C. (2014). The Power of Habit: Why We Do What We Do in Life and Business (Reprint edition). New York: Random House Trade Paperbacks.
  25. http://www.npr.org/blogs/health/2012/01/02/144431794/what-vietnam-taught-us-about-breaking-bad-habits
  26. Bennardo, G. (2009). Language, Space, and Social Relationships: A Foundational Cultural Model in Polynesia. Cambridge University Press.
  27. http://ggia.berkeley.edu/practice/mental_subtraction_positive_events#data-tab-why
  28. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/why_cynicism_can_hold_you_back
  29. http://ggia.berkeley.edu/practice/mental_subtraction_positive_events#data-tab-how
  30. http://ggia.berkeley.edu/practice/finding_silver_linings
  31. http://ggia.berkeley.edu/practice/finding_silver_linings#data-tab-how
  32. http://www.webmd.com/depression/guide/exercise-depression
  33. http://www.webmd.com/depression/guide/exercise-depression
  34. http://www.newbridgefoundation.org/optimism-drug-alcohol-recovery/
  35. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950
  36. https://www.psychologytoday.com/blog/the-science-work/201410/faster-speeding-text-emotional-contagion-work
  37. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950?pg=2
  38. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/positive-thinking/art-20043950?pg=2
  39. http://greatergood.berkeley.edu/topic/compassion/definition#why_practice
  40. http://www.helpguide.org/articles/work-career/volunteering-and-its-surprising-benefits.htm
  41. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/12/22/how-giving-makes-us-happy/
  42. http://www.helpguide.org/articles/work-career/volunteering-and-its-surprising-benefits.htm
  43. https://www.rpi.edu/dept/advising/american_culture/social_skills/nonverbal_communication/reading_exercise.htm
  44. http://www.oprah.com/spirit/How-to-be-an-Optimist
  45. http://www.huffingtonpost.com/2013/10/03/optimism-and-health_n_4031688.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 33,629 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา