ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณปรารถนาอยากจะมีบุคลิกที่เข้มแข็งหรือไม่ คุณอยากกลายเป็นคนที่ตรงไปตรงมาและตัดสินใจเด็ดขาดกว่าเดิมไหม [1] หลายคนอยากจะพัฒนาลักษณะบุคลิกภาพให้ชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเป็นคนกล้าแสดงความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ และการเป็นคนเข้มแข็ง นิสัยเหล่านี้เป็นที่ปรารถนาเพราะคนที่มีนิสัยเหล่านี้มักถูกมองว่าเป็นคนกล้าได้กล้าเสีย อัธยาศัยดี ตื่นตัว และได้อยู่ในตำแหน่งผู้นำเสมอพร้อมกับมีความคิดเห็นที่ใครๆ ต่างก็เคารพ เรียนรู้ที่จะเห็นคุณค่าของลักษณะบุคลิกภาพ และพยายามพัฒนานิสัยที่เป็นจุดแข็ง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เข้าใจลักษณะบุคลิกภาพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บุคลิกภาพในความหมายเชิงจิตวิทยาบอกลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งได้แก่วิธีคิด ความรู้สึก และความประพฤติ [2] สิ่งต่างๆ เหล่านี้เมื่อรวมกันแล้วก็จะเป็นตัวกำหนดว่า บุคคลนั้นจะโต้ตอบกับสถานการณ์หนึ่งๆ อย่างไร [3]
    • ตัวอย่างลักษณะบุคลิกภาพก็เช่น ซื่อสัตย์ ขี้หงุดหงิด เข้ากับคนง่าย อัธยาศัยดี หรือหุนหันพลันแล่น [4]
  2. มีทฤษฎีต่างๆ หลายทฤษฎีที่อธิบายว่า บุคลิกภาพพัฒนาได้อย่างไรและทำไมบางคนถึงมีลักษณะบางอย่างแทนที่จะมีลักษณะอย่างอื่น [5] หลายทฤษฎีที่ว่านี้มาจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า บุคลิกภาพนั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดหรือขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม (ทฤษฎีที่ว่าด้วย "ธรรมชาติและการเติมแต่ง") [6] เมื่อบุคลิกภาพพัฒนาขึ้นมาแล้ว นิสัยก็มักจะคงที่เมื่อกาลเวลาผ่านไป [7]
  3. เห็นคุณค่าของลักษณะบุคลิกภาพของคุณที่ไม่เหมือนใคร. ตระหนักว่าบุคลิกภาพทุกส่วนในตัวคุณนั้นมีคุณค่า บางครั้งมันก็ยากที่จะรับรู้ว่าลักษณะบุคลิกภาพที่อยู่ข้างในเป็นอย่างไร เนื่องจากลักษณะที่ชัดเจนมักจะเด่นกว่า นิสัยที่อยู่ข้างใน เช่น การเป็นคนคาดเดาได้ง่าย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น [10] ก็เป็นนิสัยที่สำคัญเท่ากับนิสัยที่เห็นได้อย่างชัดเจน
    • อย่าลืมว่าลักษณะบุคลิกภาพที่ซ่อนอยู่นั้นจะแข็งแกร่งมากในสถานการณ์หนึ่งๆ หรือบทบาทใดบทบาทหนึ่ง เช่น การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและความรอบคอบนั้นเป็นสิ่งสำคัญในช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญในชีวิตเกิดขึ้น เช่น การแต่งงานหรืองานศพ
  4. เข้าใจว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีประเภทลักษณะบุคลิกภาพแบบเดียวกัน การเห็นคุณค่าของความแตกต่างด้านลักษณะบุคลิกภาพระหว่างบุคคลนั้นมีประโยชน์กับคุณเวลาที่คุณทำงานเป็นทีมหรือเป็นผู้จัดการ การให้คุณค่ากับนิสัยที่ซ่อนอยู่ข้างในแต่แข็งแกร่งอย่างความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยให้คุณเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง และทำให้การทำงานเป็นทีมง่ายขึ้น [11]
    • ผู้นำและผู้จัดการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ คนที่เห็นคุณค่า เสริมสร้าง และใช้บุคลิกภาพประเภทต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [12]
    • เช่น ถ้าคุณสังเกตว่ามีคนหนึ่งในทีมที่พูดน้อย แต่มีความรู้ในหัวข้อนั้นๆ เป็นอย่างมาก ก็ให้คนนั้นเป็นคนกำหนดสิ่งที่ต้องใช้ในโครงการหรือจัดทำโปรแกรม วิธีนี้เป็นการใช้ทักษะที่คนๆ นั้นมีอยู่แล้วโดยไม่ทำให้คนนั้นเกิดความวิตกกังวล
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

พัฒนาการกล้าแสดงความคิดเห็นของตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจว่าการกล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองเป็นจุดแข็งได้อย่างไร. การกล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองคือ ความสามารถในการแสดงความคิดเห็นหรือยืนหยัดเพื่อความต้องการของตัวเองอย่างละมุนละม่อม โดยไม่แสดงความก้าวร้าวหรือการปกป้องตัวเอง การกล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองมักถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความเฉื่อยชาหรือความเขินอาย มุมมองต่างๆ เกี่ยวกับการเป็นคนกล้าแสดงความคิดเห็นได้แก่ความสามารถในการ: [13]
    • ร้องขอสิ่งต่างๆ จากคนอื่น (เช่น ความช่วยเหลือ) การมอบหมายงาน การขอความช่วยเหลือ และการแสดงความจำเป็นหรือความต้องการ
    • แสดงอารมณ์เชิงลบ เช่น การไม่เห็นด้วย การตำหนิ ความต้องการที่จะอยู่ตามลำพัง และการปฏิเสธคำร้องขอจากผู้อื่น
    • แสดงอารมณ์เชิงบวก เช่น ความภาคภูมิใจหรือการดึงดูด และการชมผู้อื่น
    • ตั้งคำถามเรื่องอำนาจและแบบแผนดั้งเดิมด้วยการถามสาเหตุอย่างนอบน้อม สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าคุณลงทุนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและแสดงให้เห็นว่า คุณมีส่วนในการควบคุมการตัดสินใจ
    • เริ่ม ต่อ และหยุดการสนทนากับผู้อื่นได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งความสามารถในการเปลี่ยนหัวข้อสนทนาและแสดงความคิดเห็นหรือประสบการณ์ของตัวเองได้
    • รับมือกับความหงุดหงิดประจำวันในเชิงรุกก่อนที่จะกลายเป็นสาเหตุของความโกรธเคือง
  2. หาด้านของชีวิตที่คุณอยากจะกล้าแสดงความคิดเห็นมากกว่านี้. คุณอาจจะอยากกล้าแสดงความคิดเห็นมากกว่าเดิมในที่ทำงาน หรือคุณอาจจะอยากกล้าแสดงความคิดเห็นมากกว่าเดิมที่บ้าน [14] ใช้เวลาพิจารณาว่าส่วนไหนของชีวิตที่จะได้ประโยชน์จากการที่คุณยืนหยัดเพื่อตัวเอง การคิดถึงสิ่งที่คุณกำลังต่อสู้อยู่ตอนนี้อาจช่วยคุณได้
    • เช่น คุณอาจจะอยากมีความกล้าที่จะบอกหัวหน้าว่า คุณมีภาระงานมากเกินไปและอยากจะให้หัวหน้ามอบหมายงานไปให้สมาชิกคนอื่นๆ ในทีม
    • เช่น ถ้าคนรักของคุณทำอะไรที่คุณไม่ชอบซ้ำแล้วซ้ำอีก คุณอาจจะอยากได้ความสามารถในการแสดงความไม่พอใจของคุณอย่างละมุนละม่อม
  3. อธิบายสถานการณ์หรือปัญหา โดยพยายามเจาะจงให้ชัดเจนที่สุดว่าคุณเห็นสิ่งต่างๆ เป็นอย่างไร ระวังอย่าใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "คุณ" เพราะฟังดูเหมือนเป็นการกล่าวโทษและผู้ฟังก็มักจะไม่ชอบใจนัก ให้ใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ฉัน" แทน [15] แสดงความคิดเห็นของคุณอย่างหนักแน่นขณะที่สบตาและนิ่ง อธิบายอย่างชัดเจนและเจาะจงว่าคุณอยากให้สถานการณ์เปลี่ยนไปอย่างไร
    • เช่น ถ้าเพื่อนเบี้ยวนัดคุณบ่อยๆ คุณอาจจะพูดว่า "เวลาที่เธอเบี้ยวนัดฉัน ฉันรู้สึกแย่และเจ็บปวดนะ ต่อไปถ้าจะนัดก็ขอให้นัดเฉพาะเวลาที่เธอตั้งใจจะไปจริงๆ แล้วกัน หรือไม่ก็บอกฉันก่อน" [16]
    • ขอร้องอย่างสมเหตุสมผลและนึกถึงความจำเป็นหรือข้อจำกัดของคนอื่นด้วย เปิดใจรับความคิดเห็นกลับมาและเต็มใจที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น
  4. การสมมุติบทบาทคือการฝึกโดยที่คุณขอให้คนอื่นมาเล่นเป็นคนที่คุณจะพูดด้วยจริงๆ วิธีนี้เปิดโอกาสให้คุณได้ฝึกฝนการสร้างบุคลิกภาพที่ชัดเจนก่อนที่คุณจะได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนๆ นั้นจริงๆ ฝึกฝนด้วยการพูดทุกสิ่งที่คุณตั้งใจจะพูดกับคนๆ นั้นอย่างตรงไปตรงมา [17]
    • วิธีนี้ช่วยให้คุณก้าวข้ามจุดยากๆ ในการสนทนาได้ และเพิ่มความมั่นใจให้กับการสนทนาจริง
    • การสมมุติบทบาทนอกจากจะมีประโยชน์กับคุณแล้ว ยังมีประโยชน์กับคนที่คุณจะต้องพูดจริงๆ ด้วย เพราะทำให้คุณได้เข้าใจสไตล์การสื่อสารของคุณ และให้คุณได้เปลี่ยนบทสนทนาตามวิธีที่ได้ผลและไม่ได้ผลด้วย [18]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

พัฒนาความเป็นผู้นำและความเข้มแข็ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจว่าความเป็นผู้นำเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่ชัดเจนได้อย่างไร. ความเป็นผู้นำคือความสามารถในการสั่งการ กระตุ้น หรือสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นท้าทายตัวเองหรือทำเป้าหมายให้สำเร็จ [19] ลักษณะบุคลิกนี้อาจเป็นเรื่องธรรมชาติมากๆ สำหรับบางคน แต่คุณก็สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะนี้ได้ ความเป็นผู้นำไม่ได้แค่หมายถึงการนำคนกลุ่มใหญ่ คุณสามารถใช้ทักษะนี้ในการสร้างอิทธิพลเชิงบวกให้คนอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันกับคุณ เช่น การเปลี่ยนหัวข้อสนทนาให้เป็นบวกหรือน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
    • วิธีนี้ยังทำให้คุณได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาของคุณด้วย [20]
    • เช่น คุณอาจจะพบว่าปกติแล้วคุณจะนั่งเฉยๆ และฟังคนอื่นพูด แต่คุณก็อาจจะพบว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มคนที่ไม่มีอะไรจะพูด ความเป็นผู้นำอาจเป็นเรื่องธรรมดาๆ อย่างการให้คนในกลุ่มมีเรื่องคุย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองหรือรายการทีวีรายการใหม่
  2. ลองทำกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำให้แก่คุณ. การจะเป็นผู้นำได้นั้นไม่มีวิธีที่ตายตัว แต่ให้พัฒนาทักษะหลายๆ อย่างที่สร้างความรู้สึกเป็นผู้นำให้แก่คุณ คุณอาจจะอาสาเป็นโค้ชฝึกทีมกีฬาเล็กๆ เข้าร่วมการประชุมวางแผนที่ทำงาน สมัครโครงการผู้นำพิเศษที่ทำงาน หรือหาที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำและสร้างอิทธิพลต่อผู้อื่น [21] ใช้กิจกรรมเหล่านี้ในการพัฒนาทักษะดังต่อไปนี้: [22]
    • กระตุ้นคนอื่นและกำหนดทิศทาง
    • ผ่อนคลายเวลารับผิดชอบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และรับผิดชอบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
    • ใช้ความคิดริเริ่มเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
    • รวบรวมคน เช่น ในงานสังคมหรือการพบปะต่างๆ
    • เรียนรู้จากความคับข้องใจหรือความล้มเหลว
    • มีทักษะการฟังเป็นเลิศเพื่อให้ได้ยินความคิดเห็นและความต้องการของกลุ่ม
    • มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแผนถ้าจำเป็น
  3. ความเข้มแข็งคือความสามารถในการอดทนต่อความเครียด และความสามารถในการปรับตัวเข้าหาการเปลี่ยนแปลง [23] เช่น คุณอาจจะเข้มแข็งเมื่อรู้ว่าตัวเองมีโรคประจำตัว แต่ยังสามารถที่จะคงทัศนคติที่ดีและสร้างแรงบันดาลใจให้คนรอบข้างได้ ความเข้มแข็งอาจดูเป็นธรรมชาติของใครหลายคน แต่คุณก็สามารถเรียนรู้ที่จะเข้มแข็งขึ้นได้ [24] ถ้าคุณเป็นคนเข้มแข็ง คุณอาจจะสามารถ : [25]
    • สร้างและดำเนินแผนตามความเป็นจริงต่อไปได้
    • มั่นใจในความสามารถของตนเอง
    • สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาได้
    • จัดการอารมณ์และสิ่งกระตุ้นที่รุนแรง
  4. แม้แต่คนที่เข้มแข็งที่สุดก็อาจจะต้องต่อสู้กับการรับมือในสถานการณ์ที่ตึงเครียด การมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งสามารถช่วยให้คุณสร้างแรงต้านทานต่อช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ มองหาความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ครอบครัว หรือชุมชนของคุณ ความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถสร้างเครือข่ายช่วยเหลือที่แน่นแฟ้นที่ช่วยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับคุณได้ [26]
  5. คนที่ไม่ได้มีบุคลิกภาพที่เข้มแข็งอาจจะประสบปัญหาในการหาทางแก้ไขปัญหาต่อสถานการณ์ที่ยากลำบาก ถ้าอ่านแล้วใช่คุณเลย คุณอาจจะรู้สึกว่าสถานการณ์นี้จะอยู่ไปชั่วกาลปาวสานและคุณไม่สามารถทำอะไรได้ เสริมสร้างบุคลิกที่แข็งแกร่งด้วยการเรียนรู้ที่จะเชื่อใจตัวเอง ตระหนักว่าคุณอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้ แต่คุณสามารถเปลี่ยนวิธีที่คุณรู้สึกต่อสถานการณ์ได้ [27]
    • เช่น ถ้าคุณกำลังต่อสู้กับช่วงเทรนนิงที่หนักหนาหลังจากเริ่มงานใหม่ ให้เตือนตัวเองว่าช่วงเทรนนิงมีวันจบและคุณก็จะได้พร้อมทำงานจริงในสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ ช่วงเทรนนิงเป็นช่วงเวลาชั่วคราวเท่านั้น
  6. ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองติดแหง็กและชีวิตก็เป็นกิจวัตรเดิมๆ ทำอะไรสักอย่างเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกำลังก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบาก การตัดขาดและเอาแต่นั่งคิดเมื่อเจอเรื่องยากอาจเป็นทางออกที่เย้ายวน แต่คุณต้องพยายามข้ามผ่านปัญหาใดๆ ด้วยการทำในสิ่งที่คุณทำได้ ความรู้สึกก้าวไปข้างหน้าจะช่วยให้คุณกลับมายืนได้อีกครั้งและรู้สึกว่าตัวเองควบคุมสถานการณ์ได้ [28]
    • เช่น อาจจะมีคนบอกคุณว่าคุณไม่มีวันจะได้เป็นนักกีฬาอาชีพ คุณก็อาจจะพยายามก้าวข้ามอุปสรรค หรือทุ่มเทพลังงานไปกับงานอดิเรกใหม่ๆ อย่าแค่ล้มเลิกและยอมแพ้ไปเฉยๆ
    โฆษณา
  1. https://www.discinsights.com/personality-style-s# .VY1vS6ZEyRA
  2. https://www.discinsights.com/personality-style-s# .VY1vS6ZEyRA
  3. http://www.wright.edu/~scott.williams/LeaderLetter/personality.htm
  4. http://psychcentral.com/blog/archives/2010/02/25/building-assertiveness-in-4-steps/
  5. http://psychcentral.com/blog/archives/2010/02/25/building-assertiveness-in-4-steps/
  6. http://psychcentral.com/blog/archives/2010/02/25/building-assertiveness-in-4-steps/
  7. http://www.psychologicalselfhelp.org/Chapter13/chap13_21.html
  8. http://psychcentral.com/blog/archives/2010/02/25/building-assertiveness-in-4-steps/
  9. https://books.google.com/books?id=DEhf_eRLS6MC&pg=PA258&lpg=PA258&dq=benefits+of+roleplaying+assertiveness&source=bl&ots=5XBWUOnfMn&sig=VETKE4KvhaN5Mmi8mSs_GZW3npc&hl=en&sa=X&ei=8f2VVYe7JMi1yASlrabABw&ved=0CCcQ6AEwAQ#v=onepage&q=benefits%20of%20roleplaying%20assertiveness&f=false
  10. http://www.mindtools.com/pages/article/newLDR_41.htm
  11. http://www.confidencecenter.com/pdf-docs/Teen-BonusReport.pdf
  12. http://www.kent.ac.uk/careers/sk/leadership.htm
  13. https://www.psychologytoday.com/blog/smores-and-more/201212/teaching-teens-lead
  14. http://www.pbs.org/thisemotionallife/topic/resilience/what-resilience
  15. http://www.pbs.org/thisemotionallife/topic/resilience/what-resilience
  16. http://www.apa.org/helpcenter/road-resilience.aspx
  17. http://www.pbs.org/thisemotionallife/topic/resilience/what-resilience
  18. http://www.pbs.org/thisemotionallife/topic/resilience/what-resilience
  19. http://www.pbs.org/thisemotionallife/topic/resilience/what-resilience

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,785 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา