PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ผู้คนมีความซับซ้อน เพราะไม่ได้ชัดเจนตรงไปตรงมาและต่างก็มีข้อบกพร่องอยู่บ้าง เราจึงไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อได้พูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น! ถ้าการพูดคุยกับคนที่รู้จักและไม่รู้จักเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับเรา บทความนี้ก็พร้อมที่จะให้คำแนะนำดีๆ เริ่มอ่านที่ขั้นตอนแรกกันเลยเพื่อจะได้รู้วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างราบรื่นและมีความสุข

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ก้าวข้ามอุปสรรคภายในจิตใจ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำไมเราถึงไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นตอนนี้ ถึงแม้เรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นแล้วแต่รู้สึกเหมือนตัวเองทำอะไรผิดใช่ไหม ถ้าเราหาสาเหตุของปัญหาพบ เราจะหาทางแก้ปัญหานั้นได้สำเร็จ ในระหว่างที่หาสาเหตุอยู่นี้ลองทำตามคำแนะนำอื่นๆ ในบทความนี้ดู [1]
  2. เอาชนะความกลัวการเข้าสังคม . หลายคนรู้สึกเครียดมากเวลาต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ถ้าเราวิตกกังวลเวลาที่ต้องพูดคุยกับผู้อื่น ให้มุ่งจัดการกับความวิตกกังวลของตนเองให้ได้ก่อน
  3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง . ถ้าเรากลัวว่าจะผูกมิตรกับใครไม่ได้สักคนหรือกลัวอยู่เสมอว่าจะทำให้ผู้อื่นรู้สึกแย่ เราก็จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ยากลำบากมาก เชื่อมั่นในตนเองแล้วเราจะเห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องง่าย
  4. มีความภาคภูมิใจในตนเอง . ถ้าเราเอาแต่คิดว่าไม่มีใครอยากคุยกับเราเพราะเขาดีกว่าหรือเหนือกว่าเราเยอะ เราก็จะพลาดโอกาสที่จะพบกับความมหัศจรรย์ของการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น! หาข้อดีของตัวเองให้พบ มีความภาคภูมิใจในตนเอง แล้วเราจะมองโลกในแบบที่ต่างออกไป
  5. มีความมั่นใจในตัวเอง. การขาดความมั่นใจในตัวเองอาจทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ยากมาก โดยปกติเป็นเพราะผู้อื่นรู้สึกได้ว่าเราไม่มีความมั่นใจในตัวเองและทำให้เขาพลอยรู้สึกประหม่าไปด้วย ฉะนั้นมีความมั่นใจในตัวเองหรืออย่างน้อยที่สุดก็เรียนรู้ที่จะแสร้งทำเป็นมีความมั่นใจในตัวเองเพื่อให้สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น
  6. หากต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีขึ้น เราก็ต้องฝึกฝนเหมือนทักษะอื่นๆ (การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นทักษะอย่างหนึ่งเหมือนกัน) ฝึกทักษะทางสังคมด้วยการหาโอกาสใช้ทักษะนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราอาจเริ่มจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวหรือคนแปลกหน้าที่เราพบเจออย่างเช่น พ่อค้าแม่ค้า พนักงานธนาคาร เป็นต้น [2]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เริ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แนะนำตัวเอง . เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับใครก็ตามเป็นครั้งแรก เราควรจะแนะนำตัวเอง แต่การกำหนดว่าควรจะแนะนำตัวเองในช่วงไหนของบทสนทนาขึ้นอยู่กับตัวบทสนทนานั้น
  2. พูดคุยกับคนแปลกหน้า . ถ้าตอนนี้เรายังไม่มีปฏิสัมพันธ์กับใครมากนักแต่อยากเริ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ควรลองหาโอกาสพูดคุยกับคนแปลกหน้าดู การพูดคุยกับคนแปลกหน้าไม่แย่อย่างที่คิด! หาเหตุผลในการพูดคุยและปล่อยให้บทสนทนาดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ เราอาจได้เพื่อนใหม่ก็ได้ ใครจะไปรู้!
  3. ผูกมิตร . หากเราเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่ดี เราก็จะได้มิตรที่ดีและพาให้ชีวิตของเราดีขึ้น อย่างไรก็ตามการผูกมิตรกับผู้อื่นอาจดูยากลำบากมากสำหรับคนที่ขี้อายและไม่ถนัดเข้าสังคม เราสามารถเป็นคนที่มีเพื่อนมากได้ ถ้าพยายามและอดทน อย่าลืมเป็นตัวของตัวเองและผูกมิตรกับเพื่อนที่จะทำให้เราเป็นคนที่ดีขึ้นเท่านั้น!
  4. เป็นเพื่อนที่ดีของผู้อื่น . เป็นเพื่อนที่ดีของผู้อื่น การเป็นเพื่อนที่ดีจะช่วยในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้คนที่กำลังประสบกับความทุกข์ยากลำบากด้วยการเข้าไปพูดคุยถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รับฟังเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตของผู้อื่น แล้วเราจะเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น
  5. พูดคุยกับเพื่อน . ถึงแม้เราจะไม่มีเรื่องอะไรพูดคุยกับเพื่อนเลยก็ตาม แต่เราก็ควรลองเริ่มบทสนทนากับเพื่อนดู เพราะความเงียบอันน่าอึดอัดอาจทำให้เพื่อนของเราวิตกกังวล ทำอะไรไม่ถูก หรืออาจถึงขั้นรู้สึกว่าถูกเมินเลยด้วยซ้ำ!
  6. ทำให้บทสนทนามีความสนุกสนาน . ทำให้บทสนทนามีความสนุกสนาน ถามคำถาม ฟัง และมีบทบาทในการสนทนา อย่าเอาแต่พูดอยู่ฝ่ายเดียวและอย่าเอาแต่นั่งเงียบเป็นผู้ฟังอยู่ฝ่ายเดียว ในการดำเนินบทสนทนาต่างฝ่ายต่างต้องเป็นทั้งผู้พูดและผู้ฟังสลับกันไป! [3]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

สร้างโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ความเป็นเพื่อนร่วมชั้นหรือเพื่อนร่วมงานให้เป็นประโยชน์. ไม่ว่าเราจะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือทำงานแล้ว เราควรมีผู้คนในชีวิตให้มีปฏิสัมพันธ์ด้วย นั้นคือเพื่อนที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เพื่อนร่วมชั้นหรือเพื่อนร่วมงานเป็นคนที่เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้
  2. ชุมชนออนไลน์เป็นสถานที่หนึ่งซึ่งเหมาะที่จะใช้ฝึกการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่กลัวการเข้าสังคมมาก เราสามารถเข้ากลุ่มที่ชื่นชอบรายการทีวีหรือหนังสือเหมือนเราได้ เราเลือกจะเป็นอาสาสมัครให้กับเว็บไซต์ต่างๆ เช่น วิกิฮาวก็ได้!
  3. มีชมรมและกลุ่มให้เราเข้าร่วมในโลกจริงด้วยเช่นกัน การเข้าร่วมชมรมหรือกลุ่มต่างๆ ในโลกจริงยังฝึกการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้ดีกว่าด้วย โรงเรียนส่วนใหญ่จะมีชมรมต่างๆ ให้นักเรียนเข้าร่วม ผู้ใหญ่เองก็สามารถเข้าร่วมชมรมหรือกลุ่มต่างๆ ได้ตามสถานที่ตั้งชมรมนั้นหรือศูนย์ชุมชน
  4. การเป็นอาสาสมัครจะทำให้เราได้พบปะผู้คนและตอบแทนชุมชนของเราในคราวเดียว มีหลายวิธีที่เราสามารถใช้ตอบแทนสังคมได้ เช่น ทำอาหารแจกผู้ที่มาทำบุญ สร้างบ้านเพื่อเป็นที่พักพิงแก่สัตว์ เป็นต้น การเป็นอาสาสมัครจะทำให้เราได้มีโอกาสพบปะผู้คนที่มีค่านิยมเดียวกัน!
  5. ไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ หรือศาสนาอื่นๆ เราสามารถเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาที่ตนนับถือเพื่อพบปะ มีปฏิสัมพันธ์ ผูกมิตรกับเพื่อนใหม่ที่มีความสนใจและค่านิยมเดียวกันได้ มีกลุ่มคนที่มีระบบความเชื่อแบบเดียวกับเราอยู่ ฉะนั้นลองเข้าร่วมกลุ่มเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาดู
  6. ถ้าเราไม่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า เราสามารถพบปะพูดคุยกับเพื่อนที่เรามีอยู่ได้ ลองจัดงานเลี้ยงแบบไม่ใช้เสียงหรือตั้งชมรมหนังสือก็ได้ จัดกิจกรรมอะไรก็ได้ที่เหมาะกับเราและสนุกสำหรับเพื่อนเรา!
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

รักษาการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไว้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดีต่อผู้อื่น . พูดจากับผู้อื่นดีๆ เมื่อสนทนากัน ยอมรับในตัวตนของผู้อื่นและมีความมั่นใจในการมีปฏิสัมพันธ์ของตนเอง อย่าโกหกหรือนินทาผู้อื่นลับหลัง กล่าวให้ชัดเจนคืออยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเราอย่างไร ให้ปฏิบัติต่อผู้อื่นแบบนั้น!
  2. สุภาพ . เมื่อพูดคุยกับผู้อื่น ให้พูดจาสุภาพ เราจะต้องสุภาพกับทุกคน ถึงแม้จะมีคนหยาบคายกับเราก็ตาม พูด “ขอโทษ” และ “ขอบคุณ” ให้เป็นนิสัย ให้ผู้อื่นพูดจบก่อนแล้วเราค่อยเริ่มพูด เราควรมีความอดทนต่อผู้อื่นด้วย เพราะอาจไม่ใช่เราแค่คนเดียวที่มีปัญหาการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ผู้อื่นก็อาจมีปัญหานี้ด้วยเช่นกัน (หรืออาจมีปัญหาอื่นอย่างเช่น ความพิการ ความเจ็บป่วยทางจิตใจ เป็นต้น) ปฏิบัติตัวในแบบที่ครอบครัวของเราจะต้องภูมิใจและในแบบที่เราควรจะเป็น
  3. ถ่อมตัว . เมื่อพูดคุยกับผู้อื่น ให้ถ่อมตัว อย่าคุยโวหรือเอาแต่พูดเรื่องของตัวเองอยู่ฝ่ายเดียว การทำแบบนี้จะทำให้ผู้อื่นไม่ชอบเราและไม่อย่าคุยกับเราอีก ให้โอกาสผู้อื่นพูดบ้าง เมื่อผู้อื่นระบายความในใจเรื่องใดให้เราฟัง ก็อย่านำเรื่องนั้นมาใช้หาผลประโยชน์จากผู้อื่น
  4. มีความเป็นมิตร . แสดงความเป็นมิตร เมื่อพูดคุยกับผู้อื่น อย่าทำเป็นเมินเฉยหรือไม่สนใจผู้อื่น สบตาคู่สนทนา ยิ้ม ฟัง และทำตัวให้อารมณ์ดีเข้าไว้ (ถึงแม้เราจะอยู่ในอารมณ์ที่ไม่ดีก็ตาม)
  5. ให้เกียรติผู้อื่น . ให้เกียรติทุกคนที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย ให้โอกาสผู้อื่นพูดบ้าง อย่าพูดอะไรหรือทำอะไรที่เป็นการดูหมิ่นผู้อื่น เคารพในความแตกต่าง และปฏิบัติต่อผู้อื่นในแบบเดียวกับที่เราต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา [4]
  6. ส่วนสำคัญที่สุดซึ่งช่วยรักษาการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไว้คือการตั้งใจฟังเรื่องที่ผู้อื่นพูด เราจะพูดมากแค่ไหนหรือพูดอย่างไรนั้นมีความสำคัญไม่เท่ากับการตอบสนองต่อเรื่องต่างๆ ที่เราได้ยินผู้อื่นพูด ฝึกทักษะการฟังพื้นฐานและทำความเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำพูด แล้วเราจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างเชี่ยวชาญในเวลาอันรวดเร็ว! [5]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • "สิ่งที่ฉันพูดสามครั้งเป็นความจริง" เราไม่สามารถแสร้งทำเป็นมีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งสามครั้งได้โดยไม่รู้สึกแบบนั้น ยิ้มให้ผู้คนแม้ในวันที่แย่สำหรับเรา อาจต้องฝืนตัวเองบ้างในสองครั้งแรก แต่ในไม่ช้าเราจะเห็นว่าตนเองรู้สึกดีขึ้นจริงๆ ในทางตรงกันข้ามเราไม่สามารถแสร้งทำเป็นโกรธหรือเศร้าได้โดยไม่รู้สึกโกรธหรือเศร้าจริงๆ ฉะนั้นอย่าแสร้งทำเป็นมีอารมณ์ในแง่ลบ เพราะความเห็นใจหรือคำข่มขู่ที่ตามมานั้นไม่คุ้มค่า
  • โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมาก เรารับรู้อารมณ์ของกันและกันได้จากท่าทางและคำพูด ผู้คนรอบตัวเรามีผลต่ออารมณ์ของเราและเราก็มีผลต่ออารมณ์ของผู้คนรอบตัว พยายามฝึกให้ตนเองยิ้ม เดินด้วยความกระฉับกระเฉง ไม่เดินลากเท้าและไม่เดินเซไปเซมา สนุกกับสิ่งรอบตัว ถึงแม้เราจะเห็นสิ่งรอบตัวมาแล้วมากมายหลายครั้ง แต่ก็ยังมีบางอย่างที่ทำให้เราตะลึงและเบิกบานได้อยู่ หากเรามองดูสิ่งรอบตัวให้ดีๆ
โฆษณา

คำเตือน

  • มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยความระมัดระวังเสมอ เพราะแม้จะเป็นการมีปฏิสัมพันธ์ที่มีเจตนาดี แต่ผู้อื่นก็อาจเข้าใจผิดได้
  • มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมีขอบเขต การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นสักเล็กน้อยเมื่ออีกฝ่ายเต็มใจเป็นเรื่องดี การบังคับให้คนแปลกหน้าเข้าร่วมสนทนาอย่างกะทันหันนั้นเป็นเรื่องไม่ดี เพราะอาจทำให้ผู้อื่นประหม่าและอึดอัด การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นต้องมีขอบเขต อย่าไปล่วงล้ำขอบเขตของผู้อื่น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,858 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา