ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การหยุดมลพิษนั้นสำคัญต่อการอยู่รอดของโลกและสุขภาพของผู้คนที่ต้องพึ่งพาอาศัยโลกใบนี้ อากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้นถูกเจือด้วยสารปนเปื้อนที่เป็นพิษ และมหาสมุทรกับทางน้ำก็เป็นอันตรายจากสารเคมี หากปล่อยไว้ในอัตราคงที่เช่นนี้ มลพิษจะดูดกลืนความงดงาม ความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของโลกใบนี้ไปจนหมดสิ้น อ่านต่อเพื่อเรียนรู้วิธีที่คุณสามารถช่วยหยุดมลพิษได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

เลือกพาหนะการเดินทางที่ยั่งยืนกว่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีหยุดมลพิษที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือการหยุดใช้รถสำหรับการเดินทางระยะสั้นๆ หากอากาศดีและคุณไม่ได้ต้องเดินทางระยะไกล ให้ลองคิดถึงการเดินหรือปั่นจักรยานไปแทน คุณจะช่วยลดมลภาวะทางอากาศแถมยังได้ออกกำลังกายกับได้สูดอากาศบริสุทธิ์ไปอีกด้วย [1]
  2. นั่งรถเมล์ รถไฟ หรือรถไฟใต้ดินเป็นอีกวิธีในการหลีกเลี่ยงการใช้รถส่วนตัวและลดการปล่อยไอเสียลง หากมีขนส่งมวลชนผ่านบ้าน จงใช้ประโยชน์จากมัน เนื่องจากคุณไม่ต้องคอยมองทาง คุณเลยสามารถใช้เวลานั้นอ่านหนังสือ ติดตามข่าว หรือแค่พักผ่อนก็ยังได้ [2]
  3. การเดินทางระยะสั้นหลายๆ คราวนั้นทำให้สภาพแวดล้อมเกิดมลพิษทุกครั้งที่คุณขึ้นรถ แทนที่จะไปทำธุระเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงเวลาสองสามวัน ให้พยายามรวบมันเข้าเป็นการเดินทางระยะไกลคราวเดียว การรวบการเดินทางจะช่วยประหยัดเงินอีกด้วยเพราะการสตาร์ทรถตอนที่เครื่องเย็นจะต้องใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นกว่าตอนรถวิ่งถึง 20% [3]
  4. การเดินทางไกลไปโรงเรียนหรือไปทำงานนั้นเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ของใครหลายคน ถ้าหากคุณไม่สะดวกที่จะเดินหรือใช้รถสาธารณะ ให้ลองจัดทำคาร์พูลโดยการผลัดกันขับร่วมกับคนอื่นๆ คุณจะได้ลดปริมาณการปล่อยไอเสียและยังประหยัดค่าน้ำมันในแต่ละสัปดาห์อีกด้วย [4] คาร์พูลยังเป็นหนทางที่ดีในการพัฒนามิตรภาพระหว่างเพื่อนร่วมงานและลดความเครียดในการเดินทาง [5]
  5. นอกเหนือจากการพยายามหาทางใช้รถให้น้อยลงแล้ว การดูแลรักษารถให้อยู่ในสภาพดียังช่วยลดไอเสียลง ยิ่งไปกว่านั้น มันยังช่วยเลี่ยงปัญหาใหญ่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับรถ ให้ตรวจสภาพเป็นประจำให้มันวิ่งได้ดี [6]
    • เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกๆ 3 เดือนหรือ 6,600 กิโลเมตร
    • ให้ลมยางมีความหนาแน่นตามคำแนะนำของผู้ผลิตรถยนต์
    • ให้เปลี่ยนที่กรองอากาศ น้ำมันเครื่อง และน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำแนะนำของผู้ผลิตรถยนต์
  6. พฤติกรรมขับขี่รถยนต์แบบประมาทนั้นมีส่วนในการเพิ่มมลพิษ ดังนั้นโดยการขับขี่อย่างปลอดภัยก็จะช่วยลดมลพิษลง มันยังช่วยประหยัดเงินโดยการลดอัตราสิ้นเปลืองของเชื้อเพลิง เวลาที่อยู่หลังพวงมาลัย จงจำไว้ว่าจะขับขี่ปลอดภัยโดย: [7]
    • ค่อยๆ เหยียบคันเร่งช้าๆ
    • ขับด้วยความเร็วที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด
    • รักษาอัตราความเร็วให้คงที่ (หรือลองใช้ครูซคอนโทรลถ้ารถคุณมี)
    • เผื่อเวลามากๆ ในการหยุดรถ
  7. ลองพิจารณาการซื้อรถไฮบริดหรือรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับรถคันถัดไป. รถยนต์ไฟฟ้าสามารถแล่นได้ด้วยไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว มันจึงมีการปล่อยไอเสียเป็นศูนย์ รถยนต์ไฮบริดใช้ไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงประกอบกัน ถึงรถยนต์ไฟฟ้าจะไม่มีมลพิษมากที่สุด แต่ตัวเลือกทั้งคู่ต่างก็ช่วยหยุดยั้งมลพิษ ถึงจะใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงานอยู่บ้าง แต่รถยนต์ไฮบริดก็ประหยัดน้ำมันกว่ารถทั่วไป [8]
    • จำไว้ในใจก่อนว่าราคารถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ไฮบริดนั้นสูงกว่ารถทั่วไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

เลือกรับประทานอาหารที่ยั่งยืนกว่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การขนส่งอาหารไปทั่วประเทศหรือข้ามโลกนั้นต้องใช้เชื้อเพลิงจำนวนไม่น้อย เชื้อเพลิงที่ถูกใช้โดยไม่จำเป็นนี้มีผลต่อมลภาวะในอากาศ แทนที่จะเลือกซื้ออาหารที่ต้องขนส่งกันมาเป็นพันกิโลเมตรกว่าจะมาวางบนโต๊ะอาหาร ก็ให้เลือกวัตถุดิบที่มาจากฟาร์มเลี้ยงในละแวกนั้นและถูกเลี้ยงโดยวิธีการที่ยั่งยืน ก่อนจะซื้อก็สอบถามชาวนาหรือเกษตรกรผู้ปลูกถึงวิธีการเพื่อดูว่าได้มีความพยายามจะลดมลพิษหรือไม่ [9]
    • แวะซื้อแผงขายผลิตภัณฑ์สดจากไร่หรือตลาดเกษตรเพื่อให้ได้ผักผลไม้จากผู้ปลูกโดยตรง
    • เลือกซื้อข้าวของจากสหกรณ์การเกษตรเพื่อหาอาหารที่ปลูกและผลิตในท้องถิ่น
    • ตรวจดูร้านขายของชำในละแวกบ้านว่ามีสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นวางขายหรือไม่
  2. ลดหรือเลิกการบริโภคผลิตภัณฑ์สัตว์จากฟาร์มโรงงาน. ฟาร์มโรงงานนั้นปฏิบัติการโดยเน้นไปที่ประสิทธิผลซึ่งจะผลิตผลิตภัณฑ์จากสัตว์เช่น เนื้อ นม เนยแข็ง และไข่ [10] ฟาร์มโรงงานเป็นผู้สร้างมลภาวะรายใหญ่และบางเจ้าอาจสร้างมลภาวะทางอากาศและน้ำได้พอๆ กับเมืองเล็กๆ เลยทีเดียว [11] เพื่อช่วยหยุดยั้งมลภาวะ ให้หยุดการซื้อและรับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มาจากฟาร์มโรงงาน
    • ถ้าคุณไม่คิดว่าตนเองสามารถเลิกบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์อย่างเด็ดขาด ให้พยายามลดการบริโภคลงมาเหลือเพียงหนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์
    • หากคุณอยากเป็นผู้สร้างผลกระทบที่ใหญ่ขึ้นกว่าใคร ลองเปลี่ยนมารับประทานมังสวิรัติดู
  3. ผักผลไม้แบบออร์กานิคจะถูกปลูกโดยเกษตรกรที่ใช้วิธีการทำไร่แบบยั่งยืน เช่น พวกเขาจะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีฆ่าแมลง ซึ่งเป็นมลภาวะต่อน้ำบนดิน โดยการเลือกผักผลไม้แบบออร์กานิคจึงถือว่าคุณได้ช่วยวิธีการทำฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม [12]
    • มองหาผักผลไม้และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ติดฉลาก “ออร์กานิค” หรือ “รับรองความเป็นออร์กานิค”
  4. การเริ่มปลูกผักสวนครัวหลังบ้านเป็นอีกวิธีที่จะช่วยหยุดมลพิษ พืชนั้นจะเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจน ซึ่งหมายถึงมลพิษน้อยลง นอกจากนี้ พืชผักที่ปลูกหลังบ้านยังช่วยแทนที่ข้าวของที่ต้องซื้อจากร้านซึ่งต้องใช้การขนส่งกว่าจะมาถึงมือคุณ [13]
    • ถ้าหากคุณเป็นมือใหม่ในการทำสวน ให้เริ่มแบบเล็กๆ ปลูกพืชในกระถางเล็กบนระเบียงบ้านหรือปลูกพืชแบบมะเขือเทศ ผักกาดหอม และแตงกวาที่สวนหลังบ้าน คุณสามารถเพิ่มขนาดสวนได้เมื่อเริ่มมีความเชี่ยวชาญ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

เลือกใช้พลังงานอย่างยั่งยืน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณยังสามารถถอดปลั๊กเสียบเพื่อประหยัดพลังงานยิ่งขึ้นไปอีก การเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ากับรางปลั๊กพ่วงก็เป็นวิธีที่ดีเพราะคุณจะสามารถปิดสวิตซ์รางปลั๊กและปิดการจ่ายไฟไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกเครื่องในเวลาเดียวกัน
  2. มองหาการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่สามารถนำไปสู่การประหยัดพลังงานอย่างมาก. มีเรื่องเล็กน้อยมากมายที่คุณสามารถทำเพื่อให้มั่นใจว่าได้ประหยัดพลังงานมากเท่าที่จะทำได้ ให้จำกลวิธีเหล่านี้ไว้ในใจเพื่อเริ่มประหยัดพลังงาน
    • ให้รักษาอุณหภูมิของเครื่องทำน้ำร้อนไว้ที่ 48 องศาเซลเซียส เครื่องทำน้ำร้อนนั้นจะกินพลังงานที่ใช้ภายในบ้านระหว่าง 14-25% การตั้งอุณหภูมิเครื่องทำน้ำร้อนไว้ที่ 48 องศาจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก [14]
    • ใช้วิธีตากผ้าให้แห้ง คุณสามารถลดรอยเท้าคาร์บอนได้ถึง 2,400 ปอนด์ต่อปีโดยการตากผ้าผึ่งลมให้แห้งแทนที่จะใช้เครื่องอบผ้าแห้ง [15]
    • ล้างจานแล้วผึ่งลมหรือเช็ดให้แห้ง ลดการใช้พลังงานในบ้านคุณลง 2.5% ที่เกิดจากการใช้เครื่องล้างจาน ให้เปิดฝาเครื่องล้างจานแทนที่จะกดปุ่มอบให้จานแห้ง [16]
    • เลือกหลอดประหยัดไฟ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบประหยัด (CFLs) สามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 75% ที่ใช้ในการส่องสว่างภายในบ้าน หลอดไฟเหล่านี้ยังปล่อยความร้อนออกมาน้อยลงกว่าหลอดธรรมดาอีกด้วย [17]
  3. ให้เปิดเครื่องปรับอากาศตั้งเอาไว้ที่ 25 องศาเซลเซียสในหน้าร้อนและ 20 องศาในหน้าหนาว. โดยการลดการทำงานของระบบทำความร้อนและระบบปรับอากาศเย็นลงตลอดทั้งปีนั้น คุณจะสร้างความแตกต่างอย่างใหญ่หลวงในการใช้พลังงาน
    • ให้ลองพิจารณาการเปิดเครื่องทำความร้อนลงมาที่ 12 องศาในเวลากลางคืนตอนหน้าหนาวแล้วห่มผ้าห่มผืนหนาเพื่อความอบอุ่นแทน [18]
    • ให้ลองพิจารณาการใช้พัดลมแทนที่เครื่องปรับอากาศเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน พัดลมนั้นใช้พลังงานน้อยกว่า [19]
  4. ให้แน่ใจว่าหน้าต่างและช่องระบายอากาศได้รับการผนึกปิดอย่างแน่นหนา. การแก้ปัญหาง่ายๆ แค่ฉีดกาวอุดร่องขอบหน้าต่างก็อาจเพียงพอต่อการปิดรูต่างๆ แล้ว หรือไม่ก็อาจต้องเปลี่ยนกรอบหน้าต่างใหม่ คุณยังอาจใช้ม่านปิดในหน้าหนาวเพื่อกันไม่ให้ความร้อนรั่วไหลออกไปจากบ้าน [20]
  5. ดูว่าตัวเลือกการใช้พลังงานในชุมชนของคุณมีอะไรบ้าง. เมืองบางเมืองอนุญาตให้ประชาชนหาซื้อพลังงานที่ได้จากแหล่งที่ยั่งยืนในราคาที่ต่ำลงกว่าปกติ เช่น คุณอาจสามารถซื้อแหล่งพลังงานจากลม แผงโซลาร์เซลหรือน้ำแทนที่จะเป็นน้ำมันหรือถ่านหิน ตรวจดูถ้าเมืองคุณมีทางเลือก [22]
  6. การเปลี่ยนแหล่งเชื้อเพลิงก็คือการเปลี่ยนการใช้พลังงานที่ไม่ยั่งยืน เช่น น้ำมัน ไปหาแหล่งพลังงานที่มีความยั่งยืนกว่า เช่น ไฟฟ้า เช่น คุณสามารถใช้เตาอบไฟฟ้าแทนเตาแก๊สในบ้าน หรือเปลี่ยนเครื่องทำความร้อนแบบใช้น้ำมันมาเป็นใช้พลังงานไฟฟ้า [23]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

ลด, นำกลับมาใช้ และรีไซเคิลขยะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยการซื้อของมือสอง คุณได้ช่วยลดความต้องการสินค้าใหม่ๆ ลงมา คุณยังประหยัดเงิน ให้มองหาร้านของมือสอง ร้านเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้ว หรือใบปิดประกาศเพื่อมองหาของที่มี [24]
  2. ขยะจำนวนมากเกิดขึ้นจากการใช้แก้ว จาน ช้อนส้อม และกล่องใส่อาหารประเภทใช้แล้วทิ้ง แทนที่จะเพิ่มปริมาณขยะโดยการใช้ภาชนะแบบใช้แล้วทิ้ง ให้หันมาใช้เฉพาะแบบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ [25]
  3. เลือกสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์แบบน้อยรายละเอียดที่สุด. บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่อาหารจำต้องใช้วัตถุดิบใหม่ในการผลิต ให้ซื้ออาหารที่ใช้บรรจุภัณฑ์แบบมีรายละเอียดน้อยที่สุด เช่น ซื้อแบบยกโหลหรือแบบที่ไม่เน้นบรรจุภัณฑ์ ถ้าคุณจำต้องซื้ออะไรสักอย่างที่ต้องใส่บรรจุภัณฑ์ ให้พยายามเลือกชิ้นที่มีจำนวนการใช้บรรจุภัณฑ์น้อยที่สุด [26]
    • หลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์ที่บรรจุในกล่องโฟม สไตโรโฟมเป็นวัสดุที่นำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อย่างแพร่หลาย แต่มันเป็นขยะที่ยากต่อการรีไซเคิล ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สไตโรโฟมยังเพิ่มมลพิษจากการปล่อยไฮโดรคาร์บอนด้วย [27]
  4. เกือบทุกอย่างที่คุณซื้อมาสามารถนำมารีไซเคิลได้ พยายามหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสัญลักษณ์รีไซเคิลบนบรรจุภัณฑ์หรือทำมาจากวัตถุดิบผสมที่อาจทำให้รีไซเคิลได้ยาก [28]
    • ตรวจดูว่ารถเก็บขยะมีบริการเก็บขยะรีไซเคิลหรือไม่ ถ้าไม่ คุณยังสามารถแยกขยะเหล่านั้นไปให้ศูนย์รีไซเคิลใกล้เคียงได้
  5. โดยการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลนั้น คุณได้ช่วยลดปริมาณผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จำต้องถูกผลิตขึ้นมา [29]
    • มองหาสินค้าที่มีคำว่า “ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากวัสดุรีไซเคิล” หรือ “วัสดุที่ผ่านการรีไซเคิลแล้ว”
    • ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลนั้นมักจะบอกเปอร์เซ็นต์จำนวนของวัสดุที่มาจากวัสดุที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้ว ให้มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนเปอร์เซ็นต์สูงกว่าตัวอื่นๆ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

รักษาแหล่งน้ำไม่ให้ปนเปื้อนสารเคมี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สารเคมีที่เราใช้ในการทำความสะอาดบ้าน รถยนต์หรือแม้กระทั่งร่างกายเราเองที่ถูกล้างชำระลงไปในท่อน้ำทิ้งนั้น พวกมันมักจะมาจบลงในแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ สารเคมีเหล่านี้ไม่ดีต่อพืชและสัตว์ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ของเรา และมันก็ไม่เหมาะแก่การบริโภคเช่นกัน ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้จึงต้องใช้ตัวเลือกอื่นแทนสารเคมีเท่าที่จะทำได้ [30]
    • ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะใช้น้ำยาล้างห้องน้ำสูตรเข้มข้นเพื่อขัดถูห้องน้ำห้องครัว ให้ผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำหรือผงฟูกับเกลือหมก สารประกอบทำความสะอาดบ้านจากธรรมชาติเหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน และไม่ก่อมลภาวะเวลาที่เราล้างมันลงท่อด้วย
    • พยายามทำผงซักฟอกและน้ำยาล้างจานเอง ถ้าไม่มีเวลา ให้ซื้อผงซักฟอกชนิดที่ทำจากส่วนประกอบธรรมชาติล้วนๆ
    • เวลาที่คุณไม่มีตัวเลือกที่ดีมาใช้ทดแทนวัสดุที่มีพิษ ให้ใช้ในปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่จะยังทำงานอย่างได้ผล
  2. สารเคมีเข้มข้นเหล่านี้ถูกฉีดพ่นบนพื้นโดยตรง และเมื่อฝนตกพวกมันก็จะซึมลงใต้ดินไปปนกับน้ำบาดาล คุณอาจต้องการให้เพลี้ยหยุดกัดกินมะเขือเทศ แต่การใช้ยาฆ่าแมลงฉีดสวนครัวจะส่งผลกระทบมากกว่านั้นเมื่อมันปนเปื้อนกับแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ที่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จำต้องใช้ในการมีชีวิตรอด
  3. เป็นเรื่องยากสำหรับระบบสุขาภิบาลน้ำที่จะกำจัดยาที่มีปริมาณสูงออกจากแหล่งน้ำ และพวกมันลงเอยก็จะส่งผลกระทบกับทุกคนที่ดื่มน้ำ ยาแต่ละชนิดในท้องตลาดจะมีคำแนะนำจำเพาะว่ามันควรถูกทำลายทิ้งด้วยวิธีใด ถ้าคุณจำเป็นต้องทิ้งยา ให้หาวิธีทิ้งที่เหมาะสมมากกว่าแค่ทิ้งมันลงชักโครก
    • มียาที่ต้องอยู่ในการควบคุมอย่างเข้มงวดซึ่งทางราชการแนะนำให้เททิ้งชักโครกเพื่อไม่ให้มันไปตกอยู่ในมือผู้ไม่หวังดี ตรงนี้เป็นข้อยกเว้นของกฎทั่วไปที่ไม่ให้เทยาทิ้งชักโครก
  4. สารประกอบบางตัวไม่ควรจะถูกทิ้งไปพร้อมขยะอื่น เพราะพวกมันจะซึมลงสู่พื้นและทำให้น้ำบาดาลปนเปื้อน หากคุณมีสารเคมีมีพิษและไม่แน่ใจว่าจะทิ้งวิธีไหนดี ให้ติดต่อศูนย์อนามัยเพื่อค้นหาสถานที่ทิ้งขยะมีพิษ ให้ไปทิ้งที่นั่นเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
    • สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมของสหรัฐได้จัดทำบัญชีรายชื่อขยะมีพิษประเภทต่างๆ ไว้ ที่นี่ .
    • พึงระลึกไว้ว่าวัตถุอย่าง หลอดฟลูออเรสเซนต์ประหยัดไฟ ถ่านไฟฉาย และวัตถุพิเศษอื่นๆ ที่จำเป็นต้องถูกรีไซเคิลเป็นพิเศษ บางรัฐอาจบังคับให้วัตถุเหล่านี้ต้องถูกรีไซเคิลเพื่อป้องกันสารปรอทไม่ให้ปนเปื้อนดินและน้ำ ให้ตรวจสอบกับผู้จัดเก็บขยะว่ามีทางเลือกใดให้คุณสามารถรีไซเคิลมันได้บ้าง [31]
  5. เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดูแลน้ำที่มีและอนุรักษ์มันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีค่าและมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อสภาพแวดล้อม การวัดปริมาณน้ำที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องง่ายและจะช่วยคุณใช้น้ำน้อยลงและช่วยอนุรักษ์สภาพแวดล้อมในละแวกที่คุณอาศัยได้ดี นี่คือวิธีที่คุณจะช่วยประหยัดน้ำได้:
    • ซ่อมรอยรั่วในทันที
    • ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำควบคู่กับก๊อกน้ำและชักโครก อย่างเช่น หัวฝักบัวประหยัดน้ำ
    • อย่าล้างจานโดยเปิดให้น้ำไหลตลอด
    • เปลี่ยนอุปกรณ์และเครื่องใช้ในห้องน้ำเป็นรุ่นใหม่ที่ใช้น้ำน้อยกว่า
    • อย่ารดน้ำสนามหญ้าให้มากเกินจำเป็น โดยเฉพาะถ้าคุณอาศัยอยู่ในบริเวณที่แห้งแล้ง
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

มีส่วนร่วมและให้ความรู้กันและกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปห้องสมุด ค้นหาทางอินเทอร์เน็ต และสอบถามกับคนอื่นๆ ที่สามารถบอกคุณได้ว่าต้นตอตัวก่อมลพิษในย่านนั้นคืออะไร เรียนรู้ให้มากที่สุดจะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องมลภาวะได้ดีขึ้น
    • ในขณะที่เราแต่ละคนสามารถมีส่วนร่วมในการรักษาอากาศและน้ำให้ปราศจากมลพิษ บริษัทที่ทำอุตสาหกรรมที่สร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมนั้นถือเป็นผู้ร้ายตัวหลัก เพื่อที่จะปกป้องอากาศและน้ำในบริเวณที่คุณอาศัยอยู่ จึงสมควรที่จะค้นหาว่าอะไรสามารถเป็นต้นเหตุสำคัญที่จะทำให้มันตกอยู่ในอันตราย
  2. แม้คนจำนวนมากจะแสดงความสนใจในเรื่องการหยุดยั้งมลภาวะ แต่หลายคนก็ไม่เข้าใจในความร้ายแรงของปัญหาหรือไม่แน่ใจว่าต้องทำอย่างไรกับมัน เนื่องจากคุณได้หาข้อมูลในเรื่องนี้มา จงใช้ความรู้เพื่อสร้างความแตกต่างโดยการพูดคุยกับผู้อื่น ยิ่งมีคนรู้เรื่องปัญหามลภาวะมากขึ้น เราก็จะยิ่งมีโอกาสหาทางหยุดยั้งมันได้ง่ายขึ้น
    • แค่การพูดคุยเรื่องมลภาวะกับคนอื่นๆ ก็สามารถนำไปสู่การสนทนาที่น่าสนใจได้แล้ว เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการตอบปัญหาไขข้อข้องใจกับคนที่ไม่คิดว่าตนเองจะมีส่วนช่วยอะไรในเรื่องนี้ได้
    • ปัญหามลภาวะและความเสียหายที่มันสร้างขึ้นนั้นเป็นหัวข้อที่จริงจังจนคนบางคนอาจรู้สึกรังเกียจที่จะพูดเรื่องนี้ ในฐานะที่คุณให้ความใส่ใจในประเด็นนี้ จงเข้าใจในทัศนคติมุมมองของคนอื่นเพื่อจะได้ช่วยเขามีความเข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้
  3. เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือหนังสือพิมพ์ประจำโรงเรียน. การกระจายข่าวโดยตีพิมพ์ข้อมูลวิธีการหยุดยั้งมลภาวะเป็นวิธีที่ดีในการช่วยให้ผู้อื่นได้ตระหนักในปัญหานี้ยิ่งขึ้น ให้เขียนบทความที่ถกในประเด็นทั้งด้านปัญหาและทางออกที่คนอ่านสามารถนำมาเริ่มประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้ทันที
  4. ในบริเวณที่คุณอยู่มีโรงงานหรืออุตสาหกรรมใดที่ก่อมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นบ้างหรือเปล่า คุณสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยการเป็นปากเป็นเสียงแฉสิ่งที่เกิดขึ้นและเข้าร่วมกลุ่มกับคนอื่นที่ต้องการให้สภาพแวดล้อมสะอาดและปลอดภัยเหมือนๆ กัน ให้ค้นหาตามอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติมถึงสภาวะที่ท้องถิ่นคุณเป็นอยู่ในปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายสามารถเริ่มต้นได้จากที่บ้าน และการเป็นนักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมก็เป็นวิธีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้
  5. เป็นไปได้ว่ามันอาจจะมีกลุ่มรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมในท้องที่ที่คุณอาศัย ถ้าหาไม่ได้ คุณและเพื่อนๆ อาจเริ่มสร้างกลุ่มที่มาเจอกันสัปดาห์ละครั้งหรือบ่อยกว่านั้นเพื่อถกเถียงประเด็นกับรวมหัวออกความคิดว่าคุณจะมีส่วนช่วยเหลืออย่างไร [32] กระจายข่าวปากต่อปากให้คนอื่นได้เข้ามาร่วมกลุ่มผ่านทางเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ หรือติดประกาศรอบย่านนั้น ให้จัดงานที่จะช่วยกระจายข่าวเรื่องมลภาวะและให้คนอื่นมีโอกาสทำอะไรกับมัน นี่คือไอเดียบางส่วนสำหรับการจัดงาน:
    • จัดกิจกรรมร่วมทำความสะอาดขุดลอกคูคลอง
    • จัดการฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่องมลพิษ
    • ไปเยี่ยมโรงเรียนและพูดคุยกับเด็กๆ ว่าพวกเขาสามารถช่วยหยุดยั้งปัญหามลภาวะได้อย่างไร
    • ติดต่อสื่อท้องถิ่นเพื่อแสดงทัศนคติว่าจะทำให้สารเคมีไม่ปนเปื้อนในน้ำได้อย่างไร
    • เข้าร่วมกลุ่มปลูกต้นไม้เพื่ออากาศที่บริสุทธิ์ขึ้น
    • เป็นนักกิจกรรมรณรงค์เรื่องการปั่นจักรยาน เรียกร้องให้มีเส้นทางปั่นที่ปลอดภัยในเมืองที่คุณอยู่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พับแขนเสื้อแล้วลงมือทำอะไรสักอย่างที่ช่วยลดมลพิษ เช่นถ้าคุณเห็นขยะบนพื้น หยิบไปทิ้งลงถังเลย!
  • นำแก้วกาแฟติดตัวเวลาจะไปซื้อกาแฟที่ร้าน


โฆษณา
  1. https://www.aspca.org/fight-cruelty/farm-animal-cruelty/what-factory-farm
  2. http://www.nrdc.org/water/pollution/ffarms.asp
  3. http://www.fao.org/organicag/oa-faq/oa-faq6/en/
  4. http://www.healthguidance.org/entry/14789/1/Organic-Gardening-for-the-Environment.html
  5. http://energy.gov/articles/top-11-things-you-didnt-know-about-saving-energy-home-summer-edition
  6. http://www.greenamerica.org/livinggreen/dryer.cfm
  7. http://www.consumerenergycenter.org/residential/appliances/dishwashers.html
  8. http://energy.gov/articles/top-11-things-you-didnt-know-about-saving-energy-home-summer-edition
  9. http://www.consumerenergycenter.org/tips/winter.html
  10. http://energy.gov/articles/top-11-things-you-didnt-know-about-saving-energy-home-summer-edition
  11. http://energy.gov/energysaver/articles/energy-efficient-windows
  12. http://energy.gov/energysaver/articles/energy-efficient-windows
  13. https://www.climateactioncampaign.org/2015/07/01/what-is-community-choice-energy/
  14. https://cleantechnica.com/2016/05/23/fuel-switching-essential-step-towards-decarbonized-future/
  15. http://www2.epa.gov/recycle/reducing-and-reusing-basics
  16. http://www2.epa.gov/recycle/reducing-and-reusing-basics
  17. http://www2.epa.gov/recycle/reducing-and-reusing-basics
  18. http://www.earthresource.org/campaigns/capp/capp-styrofoam.html
  19. http://www2.epa.gov/recycle/recycling-basics
  20. http://www2.epa.gov/recycle/recycling-basics
  21. http://www.nrdc.org/water/pollution/gsteps.asp
  22. http://www2.epa.gov/cfl/recycling-and-disposal-after-cfl-burns-out
  23. http://www.saveourlandsaveourtowns.org/index.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 16,324 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา