ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แรงบันดาลใจเป็นแก่นของทุกการกระทำ ซึ่งมันหมายถึงการขยับเพื่อทำอะไร [1] ไม่ว่าความสำเร็จ ความล้มเหลว หรือความก้าวหน้านั้นมักจะขึ้นอยู่กับแรงบันดาลใจทั้งสิ้น โดยการเข้าใจสิ่งที่กระตุ้นให้มีความคิดในแง่บวก และการเข้าใจและทำสิ่งที่ผลักดันเรานั้น จะทำให้มีสุขภาพที่ดี และชีวิตที่มีสุข

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ตั้งและไปให้ถึงเป้าหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แรงบันดาลใจต้องมีภาพรวม เพราะมันยากที่จะมีแรงบันดาลใจเมื่อเป้าหมายที่มีนั้นหละหลวม ไม่เฉพาะเจาะจง และผลก็คือ ไม่มีทางประสบความสำเร็จ [2] แต่จะมีแรงบันดาลใจมากกว่า ถ้ามีรายละเอียดในเป้าหมาย และทำให้มันกลายเป็นเป้าหมายที่เล็กลง ซึ่งจะทำให้ได้ลิ้มรสความสำเร็จเป็นประจำ โดยมั่นใจว่าได้ทำให้เป้าหมายเล็กๆ นั้นมีความหมายกับตัวเอง และทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่สามารถทำให้สำเร็จได้จริงๆ ไม่อย่างนั้นแรงบันดาลใจจะทำให้ต้องล้มเลิกไป
    • เช่น ถ้ามีแรงบันดาลใจที่จะเข้าโรงเรียนกฎหมาย ให้จำไว้ว่าเป็นเป้าหมายทั้งหมดที่มี แต่ทำให้เป้าหมายใหญ่ๆ เล็กลงเป็นวัตถุประสงค์ (สิ่งที่ทำได้) และภาระงาน (เฉพาะเจาะจง เป็นสิ่งเล็กๆ ที่ต้องทำ) เพื่อที่จะรักษาแรงบันดาลใจไว้ แล้วทำให้มันสำเร็จ
    • ดังนั้น ถ้าเป้าหมายคือ การสมัครและได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมาย จุดประสงค์ก็คือการสอบกฎหมาย LSAT และเลือกรายการโรงเรียนที่จะสมัคร
    • แล้วทำให้ “การสอบกฎหมาย” เพิ่มขึ้น โดยมีภาระงาน เช่น ค้นคว้าเกี่ยวกับหนังสือเตรียมสอบกฎหมาย ดูราคาการสอบกฎหมาย และสถานที่ที่ทำการสอบ โดยตัวอย่างของภาระงานที่อาจจะตั้ง คือ เลือกรายการโรงเรียนที่จะสมัคร ซึ่งจะเป็นการตัดสินใจถึงเกณฑ์ที่ดีที่สุด ที่จะใช้เลือกโรงเรียน (เช่น ที่ตั้งเป็นปัจจัยสำคัญไหม ชื่อเสียงของโรงเรียนล่ะ)
  2. คิดว่าเป้าหมายไหนสำคัญกับตัวเอง เป้าหมายไหนที่เป็นแรงบันดาลใจสูงสุดที่จะทำให้สำเร็จเป็นอย่างแรก คิดอยู่บนความเป็นจริง ว่าแต่ละเป้าหมายสามารถทำได้ไหม ขึ้นอยู่กับเวลาปัจจุบัน สถานภาพทางการเงิน และแหล่งข้อมูลอื่นๆ โดยบางครั้งเป้าหมายหนึ่งก็ต้องทำให้สำเร็จก่อนที่จะเริ่มอีกเป้าหมายหนึ่ง เพื่อความเข้าที (เช่น บางครั้งเป้าหมายก็สร้างขึ้นจากกันและกัน) และให้เพ่งความสนใจไปที่การปรับปรุง 1 หรือ 2 อย่างที่จะหยุดความรู้สึกพ่ายแพ้ ซึ่งมันจะทำลายแรงบันดาลใจได้ เพราะอาจจะถูกยั่วให้ละทิ้งการไปสู่เป้าหมาย ซึ่งคิดไปว่ามันไม่สำเร็จ [3]
    • ในบางเป้าหมายนั้นการเรียนรู้จะสำคัญ ก่อนจะจัดการกับอย่างอื่น เพราะ LSAT นั้นต้องใช้ในการเข้าโรงเรียนกฎหมาย ซึ่งต้องศึกษาและสอบก่อนที่จะสมัครเข้าได้
    • เริ่มด้วยเป้าหมายที่ทำสำเร็จได้ง่าย เพื่อจะได้สำเร็จได้เร็ว ซึ่งจะทำให้มีแรงบันดาลใจที่จะก้าวต่อไป
  3. เมื่อจัดการเป้าหมายด้วยการลำดับความสำคัญ ให้เลือกเป้าหมายที่สำคัญที่สุด 2 หรือ 3 อย่าง และทำรายการภาระหรือวัตถุประสงค์ของสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้ทำสำเร็จได้ และมันยังทำให้เป้าหมายกว้างขึ้นอีกด้วย [4] โดยตัวอย่างของเป้าหมายอาจจะเป็น ศึกษาหนังสือเตรียมสอบกฎหมาย 1 บท [5]
    • ต้องไม่ได้มีจุดประสงค์ที่มากเกินไปในครั้งเดียว หรือเป้าหมายที่ขัดแย้งกันเมื่อมันต้องแข่งกับเวลา และอาจจะต้องจบลงด้วยการมีแรงบันดาลใจที่ลดลง และทำงานได้น้อยลงนั่นเอง [6]
    • ทำให้จุดประสงค์เป็นภาระงานที่เล็กลง โดยภาระงานที่เล็ก เฉพาะเจาะจงจะทำให้สามารถทำตามจุดประสงค์ได้ [7] เช่น ภาระงานที่ต้องศึกษาหนังสือ LSAT เป็นเวลา 1 ชั่วโมงทุกวัน หรือ วันละ 10 หน้าต่อ 1 บท
  4. เขียนรายการภาระงานประจำวัน และกามันทิ้งเมื่อทำเสร็จในแต่ละวัน เพื่อรักษาแรงบันดาลใจ ซึ่งนี่จะเตือนใจให้ทำงาน และมันทำให้รู้สึกดีด้วย โดยทำวิธีนี้ซ้ำจนกว่าจะรู้สึกว่าทำจุดประสงค์นั้นได้ดีแล้ว และแทนที่มันด้วยอย่างอื่น
    • เช่น ในแต่ละครั้งที่ศึกษาหนังสือ LSAT ให้การายการภาระงานที่ต้องทำออก และเมื่อทำเสร็จในแต่ละตอน ให้ทำอย่างต่อไปต่อ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

เปลี่ยนวิธีคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรู้สึกในแง่ลบจะทำให้เป้าหมายดูทำให้สำเร็จได้ลดลง และเหมือนกับต้องปีนเขา แต่หากมีความคิดในแง่ที่ดีกว่า เป้าหมายเดียวกันก็สามารถกลายเป็นเหมือนว่าจะสามารถจัดการได้เลย [8] และในงานวิจัยชุดหนึ่งบอกว่า คนที่มีความเศร้าอย่างแท้จริง ทำให้พวกเขาไม่รู้จะประมาณความชันของหุบเขาได้อย่างไร เทียบกับความรู้สึกคนที่มีความสุขหรือเป็นกลาง [9]
    • ถ้าพบว่าตัวเองมีความคิดแง่ลบ ให้ลองหยุดด้วยการเปลี่ยนความคิด หรือเหวี่ยงมันไปสู่แสงความคิดแง่บวกใหม่ เช่น ถ้ากำลังต่อสู้กับแรงบันดาลใจที่จะเขียน และมีความคิดแง่ลบว่า “ฉันจะเขียนหนังสือไม่เสร็จแน่ๆ เป็นปีแล้วฉันยังอยู่แค่บท 3 อยู่เลย” แต่ให้ลองเอาความคิดที่เป็นแง่บวกมากกว่ามาแทน เช่น “ฉันเขียนหนังสือไป 3 บทแล้ว ถ้าฉันทำต่อ ฉันจะได้มากขึ้นเป็น 2 เท่า และหลังจากนั้นไม่นานก็จะเขียนหนังสือเสร็จ!” [10]
    • ลองยิ้ม แม้ว่าจะไม่รู้สึกอย่างนั้นก็ตาม โดยงานวิจัยจากสมมติฐานผลตอบรับทางใบหน้าแนะนำว่า มันคือ ความสัมพันธ์สองทิศทาง ระหว่างกล้ามเนื้อใบหน้าและความรู้สึกภายใน เหมือนกับการที่เรารู้สึกมีความสุข เราจึงยิ้ม และการยิ้มก็ทำให้เรารู้สึกมีความสุขขึ้นได้ด้วย [11]
    • ลองฟังเพลงที่ทำให้คิดในแง่บวก ซึ่งมันทำให้เรามีความคิดที่มีความสุขได้ และยังเพิ่มความรู้สึกในแง่บวกด้วย [12]
  2. ถ้ากำลังต่อสู้กับแรงบันดาลใจ แต่เคยมีความสำเร็จในเป้าหมายบางอย่างในอดีต ให้ใช้เวลาที่จะรู้สึกภูมิใจเกี่ยวกับความสำเร็จของเป้าหมายนั้น แม้ว่ายังไม่มีประสบการณ์ในการทำอะไรสำเร็จสักอย่างในพื้นที่ที่เฉพาะเจาะจงที่พยายามจะมีแรงบันดาลใจนั้นก็ตาม แต่ก็มีความสำเร็จในบางสิ่งในอดีตที่สามารถภูมิใจได้ โดยความรู้สึกภูมิใจในตัวเองจะทำให้ยังคงมีแรงบันดาลใจอยู่ โดยเฉพาะเมื่อมันยากลำบาก [13]
    • เช่น อาจจะช่วยบางคนให้สำเร็จเป้าหมายได้ด้วยการเสนอคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ หรือเสนอการบริการให้
    • ห้ามอายที่จะบอกว่าเป็นผลงานของตัวเอง ถ้ารู้ว่าได้ทำงานหนัก และได้รับคำชมจากคนอื่นจะทำให้มีความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาที่เจออยู่
    • การที่จะรู้สึกภูมิใจ ให้คิดเกี่ยวกับการที่ตัวเองจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการผลด้านบวก ถ้าอยู่ในส่วนหนึ่งขององค์กรการกุศลที่ช่วยให้อาหารคนที่อดอยาก โดยคิดเกี่ยวกับบทบาทที่สำคัญในโครงการนั้น และผลลัพธ์ด้านบวกที่ช่วยให้มันเกิดขึ้น เช่น ถ้ากำลังล้างจานที่คนจำนวนมากขึ้นจะได้กิน โดยคิดว่านั่นเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับคนอื่นที่จะมีมื้ออาหารดีๆ บนจานที่แสนสะอาด
  3. ให้รักษาความหลงใหลในเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นเหมือนไฟที่จะช่วยให้พลังงานและแรงบันดาลใจ โดยความชอบเกี่ยวกับเป้าหมายนั้นจะช่วยให้มีความพยายาม เมื่อถึงเวลาที่ยากลำบาก และอยากยอมแพ้ [14]
    • ถ้ากำลังสูญเสียความหลงใหลและกำลังต่อสู้กับแรงบันดาลใจอยู่ ให้เตือนตัวเองว่าทำไมถึงต้องกระตุ้นตัวเอง มันมีความสำคัญอะไร และทำไมถึงได้หลงใหลมันในตอนแรก แล้วถามตัวเองเกี่ยวกับผลลัพธ์ด้านบวกต่อตัวเองและคนอื่น ในการประสบความสำเร็จในความฝัน
    • เช่น ต้องการเข้าโรงเรียนกฎหมาย ดังนั้นก็ต้องมีสิ่งที่จำเป็นหรือเอาชนะความไม่เพียงพอทางการเงินได้ โดยมองภาพว่ามันมีความสำคัญอย่างไร ที่จะทำความฝันในการเป็นทนายความให้เป็นจริง และใช้ภาพนั้นจุดชนวนความหลงใหลอีกครั้ง
    • ถ้าไม่มีความหลงใหลในเป้าหมายตั้งแต่เริ่มต้น แต่ทำมันเพื่อเหตุผลอย่างอื่น เช่น ถ้าต้องการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดี หรือดูผอมบางลง แต่ไม่คิดว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญกับความชอบ มันก็คือจุดจบของเป้าหมายแล้ว ดังนั้นให้คิดเกี่ยวกับว่าสุขภาพดีมีประโยชน์อย่างไร: ก็ทำให้รู้สึกดีขึ้นได้ ดูจะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และรู้สึกภูมิใจต่อความสำเร็จได้
  4. การให้คุณค่าในการเรียนรู้และศึกษา และทำงานตามเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง ดีกว่าสนใจกับสิ่งภายนอก เช่น สิ่งที่คนอื่นจะคิดเกี่ยวกับตัวเรา เมื่อทำตามเป้าหมายสำเร็จ
    • นี่เรียกว่า แรงกระตุ้นจากภายใน และมันเป็นวิธีที่ดีในการรักษาแรงบันดาลใจ เพราะมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนอื่น แต่แค่พลังความคิดและความต้องการของตัวเอง จะเป็นตัวจุดไฟแห่งแรงบันดาลใจ ที่จะให้พลังงานในการทำเป้าหมายให้สำเร็จได้ [15]
    • ให้คิดเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้สนใจ เพื่อประคับประคองแรงกระตุ้นจากภายในไปสู่เป้าหมาย โดยคิดว่ามันมีการกระตุ้นทางใจอย่างไร และความรู้สึกในการจัดการกับเป้าหมาย ถ้ามั่นใจว่าทำเป้าหมายให้สำเร็จได้ ก็ควรรู้สึกว่ามันอยู่ในอยู่ในความควบคุมของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้จะรักษาแรงกระตุ้นจากภายในได้ [16]
  5. โดยระงับความกังวลเกี่ยวกับความผิดพลาดที่มากเกินไป เพราะเมื่อคนเราคิดเกี่ยวกับ “ความผิดพลาด” มันมักจะเป็นการทึกทักว่าจะไร้ความสำเร็จไปตลอดโดยปริยาย และจะเอาไปวัดค่าตัวเอง ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องจริงเลย ดังนั้นให้ยึดเอาความคิดที่ว่าสามารถคนเราเรียนรู้ได้จากความผิดพลาด [17]
    • ความสำเร็จมักจะต้องมีความพยายามที่ล้มเหลวมากมายในที่สุด โดยอาจจะไม่สำเร็จตามเป้าหมายในครั้งที่ 10 12 หรือแม้กระทั่ง 15 แต่ให้จำไว้ว่าความผิดพลาดนั้นมักจะเป็นสูตรของความสำเร็จที่จะช่วยให้มีแรงบันดาลใจ ในการพยายามแรกเริ่ม และช่วยให้รักษามันไปบนถนนที่แสนขรุขระ
    • คิดถึงสิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้น ถ้าล้มเหลวที่จะทำตามเป้าหมาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มันไม่ได้แย่ขนาดนั้นหรอก ดังนั้น จะกลัวอะไรอยู่ล่ะ เพราะคนเรามักจะคิดเกี่ยวกับความเลวร้ายที่ตัวเองจะรู้สึกหลังจากความล้มเหลว เพราะฉะนั้นให้จำขึ้นใจเอาไว้ หากกำลังต่อสู้กับแรงบันดาลใจ เพราะสิ่งที่กำลังกังวลคือ ความพยายามต่างหาก ไม่ใช่ความสำเร็จ [18]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

มีแรงบันดาลใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้ากำลังต่อสู้กับแรงบันดาลใจ ให้คิดเกี่ยวกับครั้งอื่นที่สามารถทำตามแผนได้ และทำเป้าหมายได้สำเร็จ โดยคิดเกี่ยวกับผลของสิ่งที่บรรลุเป้าหมาย และความรู้สึกเมื่อทำสำเร็จ
    • เช่น ถ้ากำลังต่อสู้กับแรงบันดาลใจที่จะออกกำลังกาย ให้คิดเกี่ยวกับเวลาที่มีพลัง และออกกำลังกาย และความรู้สึกดีหลังจากนั้น คิดว่ารู้สึกอย่างไรขณะออกกำลังกาย และรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองอย่างไรหลังจากนั้น เพื่อเป็นแรงผลักดันตัวเองในการไล่ตามเป้าหมายที่มีค่า เช่น การแข็งแรงขึ้น
  2. แม้จะไม่รู้สึกมีแรงบันดาลใจ แต่แค่ลองเริ่มต้นดู [19] บางครั้งเราจะสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมาในใจ และทำให้มันดูเหมือนมันจะแย่มากกว่าที่มันเป็นจริงๆ ซึ่งนี่เรียกว่า การคาดการณ์ที่เกี่ยวกับอารมณ์ และเราก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกแย่กับมัน แต่เมื่อได้เริ่มต้นก็มักจะพบว่ามันไม่ได้แย่ขนาดนั้น [20]
    • เช่น ถ้ากำลังมีปัญหาในการมีแรงบันดาลใจที่จะเขียนหนังสือ ให้เปิดคีย์บอร์ดและแค่เริ่มพิมพ์ แล้วบอกตัวเองว่าจะพิมพ์แค่ 5 นาที และถ้ามันไม่ทำให้อยากทำก็จะหยุด แต่ก็จะได้รู้ว่าการหลอกให้ตัวเองเริ่มทำอะไร จะได้รับแรงบันดาลใจและทำต่อไปได้มากกว่า 5 นาที [21]
  3. คู่ต่อสู้ส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจ คือมันมักมีอย่างอื่นที่ดูจะน่าสนใจกว่ารอบตัวเรา มาแย่งความสนใจไป โดยสามารถมีแรงบันดาลใจในการทำบางอย่างขึ้นมาได้ ด้วยการตัดสิ่งที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการทำอย่างอื่นออกไป [22]
    • เช่น ถ้ากำลังพยายามทำการบ้าน แต่ยังมีสิ่งรบกวน จากการส่งข้อความหาเพื่อน หรือเปิดเว็บไซต์บนมือถือ ก็ต้องปิดโทรศัพท์ซะ
    • เมื่อปิดโทรศัพท์แล้ว ให้วางมันในที่ที่มองไม่เห็น เช่น ซอกลึกในกระเป๋า และทำให้มันยากที่จะเข้าถึง โดยการย้ายกระเป๋าไป แล้วมันก็จะเอื้อมหยิบไม่ถึง
    • เมื่อไม่มีทางเลือกที่เข้าถึงได้ง่าย อย่างการส่งข้อความหาเพื่อน หรือเปิดเว็บไซต์แล้ว ก็จะพบว่าทางอื่นที่จะไม่ทำการบ้านก็ไม่ได้น่าสนใจนัก และอาจจะมีแรงบันดาลใจในการทำการบ้านที่ง่ายขึ้น
  4. บางคนจะมีแรงบันดาลใจมาจากการแข่งขัน โดยให้คิดย้อนไปในอดีต และหากเคยมีกรณีที่มีแรงบันดาลใจมาจากบางสิ่ง เพราะกำลังต้องแข่งกับใครบางคน (หรือตัวเอง) ซึ่งถ้ามันเป็นเรื่องจริงของตัวเอง ก็ให้มีการแข่งขันที่เป็นมิตรขึ้นมา โดยที่คนอื่นไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเรากำลังแข่งกับเขาอยู่ก็ได้ [23]
  5. สามารถไปให้คนอื่นช่วยให้แรงบันดาลใจได้ โดยการบอกเพื่อนและครอบครัว เกี่ยวกับสิ่งที่หวังที่จะทำให้สำเร็จ และสิ่งที่กำลังต่อสู้อยู่ ซึ่งการพูดคุยกับพวกเขาจะช่วยให้รักษาแรงบันดาลใจไว้ได้ และเอาความรู้สึกด้านลบที่จะทำลายแรงบันดาลใจให้หมดไป [24] [25] [26]
    • หาคนรอบตัวที่มีความคิดในแง่บวก และมีการกระตุ้นตัวเองให้ทำสำเร็จตามเป้าหมาย โดยสามารถจับอารมณ์ด้านบวกและความยืนหยัด แล้วมันจะทำให้เรามีแรงบันดาลใจ [27]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องเข้าใจว่าร่างกายก็มีความต้องการเหมือนกัน และถ้าปฏิเสธมัน ร่างกายก็จะบอก โดยการรู้สึกแย่ ซึ่งจะทำลายแรงบันดาลใจลง ดังนั้นการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้นสำคัญต่อการรักษาแรงบันดาลใจ [28]
    • ตัวอย่างของอาหารที่ดีต่อสุขภาพก็มี เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วเปลือกแข็ง ผลไม้ และผัก [29]
  2. การออกกำลังกายจะช่วยหลั่งสารเอนโดรฟินที่ทำให้รู้สึกดี และสามารถช่วยปรับประคองแรงบันดาลใจไว้ได้ ซึ่งมันช่วยลดความเครียด และสามารถต่อสู้กับความหดหู่เล็กๆ ได้ เพราะทั้งความเครียดและความหดหู่จะทำให้เกิดความเหนื่อยใจและทำลายแรงบันดาลใจลง [30] [31]
    • เมื่อออกกำลังกาย ให้ลองฟังเพลงที่ช่วยกระตุ้น และมีแรงบันดาลใจที่จะออกแรง
  3. แม้ว่ามันจะดูเหมือนว่าการกินคาเฟอีนจะช่วยกระตุ้น แต่ถ้ามากเกินไปจะทำให้มีอาการสั่นและกระวนกระวาย ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกเครียดและกังวลใจ และทำให้รู้สึก [32]
  4. การนอนไม่พอจะทำให้สุขภาพจิตแย่ เช่น จะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า เศร้าหมอง และเป็นกังวล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำลายแรงบันดาลใจลงได้ [33] [34]
    • ถ้ามีปัญหาการนอนหลับ ก็ให้ดูว่าห้องนอนนั้นมืดพอหรือยังในเวลากลางคืน รวมทั้งไม่มีเสียงที่ทำให้ตื่น และพยายามทำให้เป็นกิจวัตรประจำวันในการทำทุกคืน และจดจำนวนชั่วโมงที่นอนแล้วรู้สึกว่าได้พักเต็มที่ และตั้งเป้าให้นอนได้ตามนั้นทุกคืน
    • เช่น ถ้ามีแนวโน้มที่จะเข้านอนตอน 4 ทุ่มครึ่ง ก็ให้อ่านก่อนจะหลับประมาณ 30 นาที แล้วพยายามทำตามตารางให้บ่อยเท่าที่ทำได้ ซึ่งนี่จะเป็นการฝึกร่างกายให้หลับ [35]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มองโลกในแง่บวกเข้าไว้ เพราะความคิดแง่ลบจะทำให้ทำสิ่งที่แย่ลง ดังนั้นต้องเชื่อมั่นในตัวเอง และบอกว่าหากทำอะไรพลาดไป ก็ไม่เป็นไร แต่ให้แก้ไขในครั้งถัดไป
  • พัฒนาชีวิตมีทัศนคติในการไม่ยอมแพ้ เพราะคนส่วนใหญ่ยอมแพ้โดยไม่รู้ตัว หรือพูดว่า “มันเป็นกรรมพันธุ์” “มันไม่มีเหตุผลที่จะพยายาม” หรือ “มันเป็นพรหมลิขิต”
  • ระวังคนเหน็บแนม หรือคนที่ไม่ชอบเห็นคนอื่นได้ดี ซึ่งเป็นคนที่จะพยายามเข้ามาควบคุมในการทำสิ่งต่างๆ ของเรา
โฆษณา

คำเตือน

  • บางครั้งการพัก เมื่อรู้สึกไร้แรงบันดาลใจก็ไม่เป็นไร เพราะอาจจะต้องการการพักผ่อนบ้าง
โฆษณา
  1. http://psychcentral.com/lib/replacing-your-negative-thoughts/
  2. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3379579
  3. http://munews.missouri.edu/news-releases/2013/0514-trying-to-be-happier-works-when-listening-to-upbeat-music-according-to-mu-research/
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18505314
  5. http://rrhs.schoolwires.net/cms/lib7/WI01001304/Centricity/Domain/187/Grit%20JPSP.pdf
  6. http://mmrg.pbworks.com/f/Ryan,+Deci+00.pdf
  7. http://cft.vanderbilt.edu/guides-sub-pages/motivating-students/#intrinsic
  8. http://www.forbes.com/sites/danschawbel/2013/05/09/jon-acuff-why-most-people-dont-reach-their-full-potential-and-how-you-can/
  9. http://web.mit.edu/curhan/www/docs/Articles/biases/75_J_Personality_Social_Psychology_617_%28Gilbert%29.pdf
  10. http://www.apa.org/news/press/releases/2010/04/procrastination.aspx
  11. http://www.apa.org/science/about/psa/2004/04/pelham.aspx
  12. http://www.forbes.com/sites/actiontrumpseverything/2012/12/29/how-the-most-successful-people-motivate-themselves-and-stay-motivated/
  13. http://www.apa.org/news/press/releases/2010/04/procrastination.aspx
  14. https://www.psychologytoday.com/blog/brain-wise/201210/when-competition-helps-and-hurts-motivation
  15. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/social-support/art-20044445
  16. http://www.psy.cmu.edu/~scohen/buffer84.pdf
  17. http://www.forbes.com/sites/nextavenue/2013/07/19/how-to-stay-motivated-and-accomplish-anything/
  18. https://www.psychologytoday.com/blog/the-science-work/201410/faster-speeding-text-emotional-contagion-work
  19. https://www.cmha.bc.ca/get-informed/mental-health-information/improving-mh
  20. https://www.cmha.bc.ca/get-informed/mental-health-information/improving-mh
  21. https://www.cmha.bc.ca/get-informed/mental-health-information/improving-mh
  22. http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.409.6927&rep=rep1&type=pdf
  23. https://www.cmha.bc.ca/get-informed/mental-health-information/improving-mh
  24. https://www.cmha.bc.ca/get-informed/mental-health-information/improving-mh
  25. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18505314
  26. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/sleep/art-20048379

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,434 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา