ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลังโค้งหรือหลังค่อมสามารถสร้างปัญหาทางร่างกายและหากปล่อยทิ้งไว้จะยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ คุณควรพยายามทำให้หลังตรงเพื่อช่วยลดอาการป่วยที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณแก่ตัวลง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

จดจำสัญญาณของท่าทางที่แย่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้นตอนแรกของการปรับปรุงท่าทางของคุณ คือ การเรียนรู้ว่าคุณต้องสังเกตอะไรในตัวเอง ไหล่ต้องผายออกไปด้านหลัง ท้องไม่ยื่นไปข้างหน้า และหน้าอกยืดขึ้น ลองยืนหันข้างให้กระจกและสังเกตว่า ติ่งหู ไหล่ สะโพก เข่า ยาวไปจนถึงข้อเท้าเป็นเส้นตรงเดียวกันหรือไม่
    • ศีรษะและคอ: สังเกตว่าศีรษะตั้งตรง หลายคนมักจะเอียงศีรษะไปด้านหน้าโดยไม่รู้ตัว ถ้าใบหูคุณอยู่ในแนวเดียวกับส่วนหน้าของหน้าอก คุณต้องดึงศีรษะมาทางด้านหลังเล็กน้อย [1]
    • เมื่อปล่อยไหล่ แขน และมือ ตามสบาย แขนและมือทั้งสองข้างของคุณควรอยู่ที่ด้านข้างของร่างกาย คือ ท่าที่ถูกต้องของหัวไหล่ หากแขนอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนมาด้านหน้าของหน้าอก แปลว่าคุณควรดึงหัวไหล่ให้ถอยไปด้านหลัง [2]
    • สะโพก: ลองดันสะโพกไปข้างหน้าและข้างหลัง และสังเกตว่าตำแหน่งของสะโพกที่คุณรู้สึกสบายที่สุดอยู่ตรงไหน [3]
  2. สัญญาณที่เห็นได้ชัดที่สุดของท่าทางที่แย่คือ มีอาการปวดที่หลัง ไหล่ และคอ ท่าทางที่ไม่ดีจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกของคุณหดตัว ชดเชยที่กล้ามเนื้อหลังส่วนบนไม่ได้ออกแรง ส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอ และสร้างความปวดและความไม่สบายให้กับคุณ เนื่องจากกล้ามเนื้อทุกส่วนต้องทำงานด้วยกัน ถ้ากล้ามเนื้อใดทำงานผิดปกติ กล้ามเนื้ออื่นก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย [4]
    • แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่มีบุคลิกแย่จะต้องรู้สึกปวดและไม่สบายตัว เพราะร่างกายของคนเรามีความสามารถในการปรับตัวได้บ้าง
  3. ลองสังเกตว่าเท้าของคุณมีลักษณะ “แบน” หรือไม่. ส่วนโค้งที่เท้าของคุณเกือบจะแบนราบไปกับพื้น หรือที่เรียกว่า “เท้าแบน” ฝ่าเท้าคือส่วนล่างสุดของร่างกายที่คอยรักษาสมดุลให้กับร่างกาย ดังนั้นหากท่าทางหรือบุคลิกของคุณไม่ดีแล้ว ก็จะเป็นการเพิ่มภาระให้กับเท้าที่ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย มันจึงค่อยๆ “ทำตัวให้แบนลง” เพื่อทำให้ร่างกายมีฐานที่มั่นคงมากขึ้น ถ้าคุณปรับปรุงท่ายืนให้น้ำหนักตัวเกือบทั้งหมดอยู่เหนือส้นเท้า ส่วนที่เหลือของเท้าก็ไม่ต้องรับน้ำหนักและมีส่วนโค้งได้ตามปกติ [5]
    • นอกจาก “เท้าแบน” จะเป็นสัญญาณบอกถึงการมีบุคลิกที่ไม่ดีแล้ว ยังอาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บฝ่าเท้า ข้อเท้า น่อง หัวเข่า สะโพก และอาจรวมถึงบริเวณขาท่อนลงด้วย [6]
  4. มีงานวิจัยเก็บข้อมูลโดยให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกทดลองเดินในท่างอตัว ท่าตัวตรง และด้วยท่าเขย่ง นักศึกษากลุ่มที่เดินตัวงอรู้สึกว่ามีความรู้สึกง่วงและซึมเศร้าเกิดขึ้น อาจจะฟังดูแปลก แต่ลองคิดดูก่อน บางครั้งภาษาของร่างกายสามารถบ่งบอกถึงอารมณ์ของคุณได้ ถ้าคุณรู้สึกโกรธหรือเสียใจ คุณมักจะนั่งงอตัวอยู่มุมห้องพร้อมกับกอดอกไว้ และถ้าคุณมีความสุขก็มักจะยืดตัวเงยหน้าขึ้น ดังนั้นอารมณ์ก็อาจสามารถบอกถึงการมีท่าทางที่ไม่ดีได้ด้วย ถ้าคุณรู้สึกจมอยู่กับความเศร้านานๆ ลองปรับเปลี่ยนท่าทางดูบ้างสิ [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

พัฒนาบุคลิกภาพของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะใช้วิธีการตั้งเวลาเตือนจากโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ให้คอยสังเกตท่าทางของตัวเอง หรือใช้วิธีวางกระดาษโน้ตไว้ในบ้าน ในรถ และที่ออฟฟิศ บางทีการที่คุณจะมีบุคลิกภาพที่ดีก็แค่ต้องการตัวช่วยเตือนความจำและตัวเสริมแรง คุณต้องสร้างนิสัยยืนหลังตรงไปพร้อมๆ กับการสร้างกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงควบคู่ไปด้วย [8]
  2. โยคะมีผลดีกับการฝึกบุคลิกภาพของคุณมาก นี่คือตัวอย่างท่าที่ให้ผลดีกับการฝึก:
    • ท่างู นอนคว่ำหน้า ให้มืออยู่ใต้หัวไหล่ นิ้วมือชี้ไปด้านหน้า ข้อศอกแนบลำตัว กดสะบักหลังทั้งสองข้างเข้าหากัน หดกล้ามเนื้อท้องเพื่อช่วยให้หลังมั่นคงขึ้น จากนั้นค่อยๆ ยกหน้าอกขึ้นสูง พยายามให้คอตั้งตรง ใช้แขนช่วยพยุงตัวแต่ใช้หลังเป็นส่วนที่ออกแรงดึงขึ้น ค้างไว้ 10 ลมหายใจ แล้วลดหน้าอกลงเป็นท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 3 ครั้ง [9]
    • ท่าเด็ก คุกเข่า แขนอยู่เหนือศีรษะ หันฝ่ามือเข้าหากัน จากนั้นหายใจออกพร้อมกับก้มตัวไปด้านหน้าช้าๆ วางหน้าผากบนพื้น ยืดแขนออกไปด้านหน้า ฝ่ามือวางบนพื้น ค้างไว้สักพัก แล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 6 ครั้ง [10]
    • ท่าภูเขา ยืนตรงให้ฝ่าเท้าห่างกันเล็กน้อย พยายามกระจายน้ำหนักบนเท้าทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ยกข้อเท้าด้านในขึ้นเพื่อให้ฝ่าเท้าเป็นรูปถ้วย พยายามยืดอกให้สะบักหลังแตะกัน จากนั้นค่อยๆ ผ่อนลง ยกแขนขึ้นไปด้านบน ตามองตรงไปด้านหน้า [11]
  3. ออกกำลังกายในแบบต่างๆ และอย่าลืมยืดกล้ามเนื้อเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ. เทคนิคเหล่านี้เจาะจงไปที่กล้ามเนื้อท้องและหลังโดยเฉพาะ เพราะกล้ามเนื้อทั้งสองกลุ่มนี้เป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงกระดูกสันหลัง [12]
    • กดกระดูกสะบักเข้าหากัน จินตนาการว่าพยายามให้สะบักหลังบีบลูกบอลไว้ ค้างไว้ 10 วินาที ท่านี้จะช่วยยืดด้านหน้าของหัวไหล่ ซึ่งจะหดรัดตัวเมื่อคุณอยู่ในท่าทางที่ไม่ดี
    • หมุนหัวไหล่ โดยหมุนไหล่ข้างหนึ่งไปข้างหน้า ขึ้นบน ไปด้านหลังและกดลงด้านล่าง จินตนาการว่าคุณกำลังเลื่อนกระดูกสะบักให้ต่ำลงไปตามแนวกระดูกสันหลัง แล้วทำซ้ำที่หัวไหล่อีกข้าง ท่านี้จะช่วยให้คุณสามารถดึงไหล่ไปด้านหลังได้มากกว่าปกติ
    • ท่ายืดหน้าอก ท่านี้จะใช้ผ้าขนหนู่ช่วยในการออกกำลังกาย โดยเริ่มจากยืนตรงฝ่าเท้าแยกห่างกันหนึ่งช่วงไหล่ จับผ้าขนหนูให้ตึงด้วยมือทั้งสองข้างโดยให้ระยะมือห่างกันเท่าหัวไหล่ หายใจเข้ายกแขนขึ้นระดับเดียวกับหัวไหล่ จากนั้นหายใจออกพร้อมกับยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ พยายามดันแขนไปด้านหลังให้มากที่สุด ค้างไว้ 2 ลมหายใจ แล้วค่อยผ่อนแขนลง ทำซ้ำอีกครั้ง [13]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ปรับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าสตางค์ กระเป๋าหนังสือ หรือเป้สะพายหลังที่สามารถกระจายน้ำหนักไปทั่วแผ่นหลังของคุณได้ ซึ่งควรจะเป็นกระเป๋าที่มีสายสะพายไหล่สองข้าง และสายกว้าง บุฟองน้ำ [14]
  2. การสวมรองเท้าส้นสูงหรือรองเท้าที่ไม่มั่นคงเป็นประจำส่งผลให้หลังของคุณเกิดความเครียดเพิ่มขึ้น เลือกรองเท้าที่หัวรองเท้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีส้นที่แข็งแรง สูงไม่เกิน 1 นิ้ว เพราะการใส่รองเท้าที่ส้นสูงเกินไปจะทำให้น้ำหนักตัวของคุณเทไปด้านหน้า ทำให้คุณเดินหลังค่อม หรือเดินแอ่น ซึ่งเป็นท่าที่ไม่ดีกับหลังของคุณแน่ๆ [15]
  3. เท้าทั้งสองข้างของคุณควรวางอยู่บนพื้น นั่งหลังตรง คอตั้งตรงเป็นธรรมชาติ ท่านี้จะช่วยลดอาการปวดหลังและยังช่วยยืดหลังของคุณด้วย คุณอาจหาซื้อเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพเพื่อช่วยให้คุณสามารถนั่งหลังตรงได้สบายขึ้น [16]
  4. ลองนอนตะแคงข้างดูบ้าง โดยให้สะโพกงอประมาณ 30˚ งอเข่าทั้งสองข้างเป็นมุมประมาณ 30˚ เช่นเดียวกับสะโพก วางคอบนหมอนโดยให้คอเอียงมาด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อช่วยยืดกระดูกสันหลัง
    • ถ้าคุณชอบนอนหงาย ให้หาหมอนมารองไว้ใต้เข่าทั้งสองข้าง และใช้ผ้าขนหนูม้วนรองไว้ใต้แผ่นหลัง เพื่อช่วยลดแรงกดที่หลัง บรรเทาอาการปวดและช่วยให้หลังได้ยืดออก
    • ถ้าคุณนอนตะแคงข้าง ลองหาหมอนมาหนุนระหว่างเข่าทั้งสองข้าง เพื่อทำให้สะโพกอยู่ในแนวตรงกับกระดูกสันหลัง
    • หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ เพราะการนอนคว่ำจะเพิ่มแรงกดที่ไม่จำเป็นให้กับกระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของกระดูกได้ และยังมีโอกาสทำให้เกิดการปวดคอและปวดหลังเรื้อรังในอนาคตได้อีกด้วย [17]
  5. การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หลังอย่างรุนแรงได้ ถ้าคุณต้องยกของหนักเป็นประจำ ลองหาเข็มขัดพยุงหลังมาใช้ดู เข็มขัดนี้จะช่วยให้คุณยกของด้วยท่าที่ถูกต้อง โดยคุณสามารถฝึกได้ตามขั้นตอนนี้:
    • ย่อเข่า อย่าก้มเอว กล้ามเนื้อขาและท้องถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณสามารถยกของได้ แต่กล้ามเนื้อหลังไม่ได้มีหน้าที่นี้ ดังนั้นเมื่อคุณต้องก้มลงยกของอะไรสักชิ้น ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณย่อเข่าลงโดยไม่งอเอว เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการปวดที่หลังส่วนล่าง
    • พยายามถือของให้ชิดหน้าอกที่สุด ยิ่งของอยู่ใกล้ตัวคุณเท่าไหร่ หลังคุณก็ออกแรงทำงานน้อยลงเท่านั้น [18]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ไปพบผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณพบว่าหลังหรือกระดูกสันหลังของคุณมีอาการโค้งจนคุณไม่สามารถยืนหลังตรงได้ ควรไปรับคำปรึกษาจากแพทย์ คุณอาจมีอาการกระดูกสันหลังคด หรือโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังอื่นๆ แพทย์อาจให้คุณใส่ชุดค้ำหลัง และในกรณีที่คุณมีอาการร้ายแรงจริงๆ เท่านั้น แพทย์จึงจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดหลัง และยังมีวิธีการบรรเทาอาการปวดหลังอีกหลายวิธี [19]
  2. ผู้ฝึกกลุ่มนี้มีความเชี่ยวชาญในการปรับท่าทางของคุณ โดยพวกเขาจะแก้ไขอาการของคุณ (ถ้าคุณมีอาการผิดปกติ) แก้ไขท่ายืน ท่าเดิน และอื่นๆ ให้กับคุณ สอนวิธีการยืดหลังโดยเน้นในจุดที่คุณมีปัญหา จากนั้นพวกเขาจะออกแบบท่าออกกำลังกายและท่ายืดกล้ามเนื้อที่คุณสามารถทำได้เองที่บ้าน [20]
    • ท่าออกกำลังกายเหล่านี้จะมุ่งเน้นไปที่การขยายขอบเขตการเคลื่อนไหวของสะโพกของคุณ และยืดกระดูกสันหลัง ช่วยลดแรงกดที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ [21]
    • ถ้าปัญหาของคุณไม่ได้รุนแรง อาจแค่มองหาผู้ฝึกออกกำลังกาย บอกผู้ฝึกว่าคุณต้องการเน้นกล้ามเนื้อกลุ่มที่ช่วยให้มีบุคลิกท่าทางที่ดี (โดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านข้าง) พวกเขาจะสร้างเซทท่าออกกำลังกายและท่ายืดกล้ามเนื้อที่สามารถช่วยพัฒนาท่าทางของคุณได้ [22]
  3. พวกเขาจะทำการเอ็กซ์เรย์กระดูกสันหลังของคุณเพื่อวัดความโค้งของกระดูกสันหลังเพื่อตรวจดูว่าคุณมีอาการร้ายแรงหรือไม่ และอาจรวมไปถึงการตรวจกระดูกสันหลังแต่ละข้อว่ามีการเคลื่อนออกจากที่หรืออยู่ผิดตำแหน่งหรือไม่ ซึ่งอาการบางอย่างนักจัดกระดูกจะสามารถรักษาให้หายได้ แต่หากเป็นอาการอื่นๆ ที่ร้ายแรง พวกเขาจะแนะนำให้คุณไปพบผู้เชี่ยวชาญ [23]
  4. ความเครียดและแรงกดจะทำให้กล้ามเนื้อหลังเกิดการหดรัดตัว จนเกิดอาการหลังค่อม ถ้าชีวิตประจำวันของคุณเต็มไปด้วยความเครียด ลองหาโอกาสนวดบำบัดให้ตัวเองบ้าง [24]
    • หาเวลานวด อาจด้วยการใช้เก้าอี้นวดเพื่อผ่อนคลายความเครียด แต่การนวดด้วยเก้าอี้นี้ไม่สามารถที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดได้ตรงจุดเหมือนที่จะได้รับจากนักนวดบำบัดมืออาชีพ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,466 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา