ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณจะทำอย่างไรหากพลัดตกจากนั่งร้านบนตึกสูง 10 ชั้นเหนือพื้นดิน หรือพบว่ากำลังดิ่งส่งพื้นเพราะร่มชูชีพไม่กาง โชคช่างไม่เข้าข้างคุณเอาเสียเลย แต่ก็ยังเป็นไปได้ที่คุณจะรอดตาย หากมีสมองและการตอบโต้ที่ฉับไว มีหลายวิธีที่คุณยังสามารถจะมีอิทธิพลต่ออัตราความเร็วตอนร่วงหล่น และลดพลังสูงสุดของแรงกระแทกให้น้อยลง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ยุทธศาสตร์เพื่อรอดตายจากการตกตึกสูงหลายชั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณสามารถคว้าจับวัตถุขนาดใหญ่ เช่น แผ่นกระดาน หรือจันทันของโครงหลังคาได้สักแผ่นหนึ่ง จะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้มาก วัตถุชิ้นนั้นจะรองรับแรงกระแทกบางส่วนตอนคุณหล่นถึงพื้น ช่วยนำแรงเครียดจำนวนเล็กน้อยออกจากกระดูกของคุณ [1]
  2. หากคุณกำลังตกลงมาข้างๆ ตึกหลังหนึ่ง หรือตกลงจากหน้าผาในป่าดงพงพี ให้ทำอย่างดีที่สุดเพื่อแบ่งการตกออกเป็นช่วงๆ เช่น ให้ตกกระแทกชั้นหิน หน้าผาที่อยู่ต่ำลงไป ต้นไม้ต้นหนึ่ง หรือวัตถุอื่นใดสักอย่างหนึ่ง การทำเช่นนี้จะช่วยแยกแรงเหวี่ยงของการตกออก และแบ่งเป็นการตกช่วงสั้นๆ หลายช่วงแทน ทำให้มีโอกาสรอดตายมากขึ้น [2]
  3. หากเข่าทั้งคู่และข้อศอกสองข้างของคุณติดขัด แถมกล้ามเนื้อยังแข็งเกร็ง แรงกระทบจากการตกจะเป็นอันตรายเพิ่มมากขึ้นกับอวัยวะที่สำคัญยิ่ง เช่น ตับ ปอด หัวใจ อย่าทำตัวแข็งทื่อ คุณต้องทำให้ร่างกายผ่อนคลายอย่างดีที่สุด เพื่อที่เมื่อตกกระแทกพื้น ร่างกายจะสามารถรับแรงกระแทกได้ง่ายมากขึ้น
    • วิธีหนึ่งที่จิตใจของคุณจะยังคง (ค่อนข้าง) สงบก็คือ เพ่งความสนใจอยู่ที่การทำตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้มีอัตราการอยู่รอดสูงที่สุด
    • คอยสังเกตสภาพร่างกายของตัวเอง ขยับแขนและขาเพื่อให้แน่ใจว่าขยับได้ ไม่ติดขัด
  4. มีความเป็นไปได้ว่าไม่มีสิ่งใดจะสำคัญสำหรับการรอดตายจากการตก (หรือทำได้ง่าย) มากไปกว่าการงอเข่า ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าหากคุณงอขาข้างหนึ่งอยู่ตอนตกกระแทกพื้น จะสามารถลดแรงกระแทกลงได้ 36 เท่า แต่อย่างอเข่ามากเกินไป ให้งอเพียงเล็กน้อยเพื่อที่เข่าทั้งคู่จะได้ไม่ติดขัด
  5. ไม่ว่าจะตกจากความสูงระดับใด คุณสมควรพยายามให้เท้าลงถึงพื้นก่อนเสมอ การเอาเท้าลงก่อนจะเน้นแรงกระแทกลงบนพื้นที่ขนาดเล็ก ปล่อยให้เท้ากับขารองรับความเลวร้ายที่สุดจากการปะทะ หากคุณอยู่ในท่าอื่นใด จงทำให้ร่างกายอยู่ในท่าที่ถูกต้องก่อนจะตกถึงพื้น [3]
    • โชคดีที่ว่าท่าเอาเท้าลงก่อน ดูเหมือนจะเป็นปฏิกิริยาตามสัญชาติญาณอยู่แล้ว
    • หนีบขาและเท้าทั้งสองข้างแนบชิดกัน เพื่อให้เท้าทั้งคู่ตกถึงพื้นพร้อมกัน
    • ลงสู่พื้นบนปลายเท้า จิกนิ้วเท้าลงเล็กน้อยก่อนตกกระแทกพื้น คุณจะได้ลงสู่พื้นบนปลายเท้าทั้งสองข้าง จะช่วยให้ร่างกายท่อนล่างรองรับแรงกระแทกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  6. เมื่อตกลงมาโดยเอาเท้าลงก่อน คุณจะล้มลงตะแคงข้าง คว่ำหน้า หรือหงายหลังอย่างใดอย่างหนึ่ง จงพยายามหลีกเลี่ยงการตกลงนอนหงายหลัง สถิติบ่งบอกว่าการตกตะแคงข้างดีที่สุด แต่หากคุณไม่สามารถจัดการให้เป็นเช่นนั้นได้ ให้พยายามล้มคว่ำหน้าแทน และใช้แขนทั้งสองข้างยันหยุดการตก
  7. เมื่อตกจากที่สูงมากลงสู่พื้น ตามปกตินั้น คุณจะกระเด็นกระดอน บางคนรอดตายจากแรงกระแทกขั้นต้น (ซึ่งมักรอดตายเพราะเอาเท้าลงก่อน) แต่ต้องบาดเจ็บจนถึงตายจากแรงกระแทกครั้งที่สอง และมีความน่าจะเป็นมากที่สุดด้วยว่าคุณจะหมดสติช่วงกระเด็นกระดอน ให้ปกป้องศีรษะโดยยกแขนทั้งสองข้างขึ้น แล้ววางแขนทั้งคู่แนบข้างศีรษะ โดยดันข้อศอกมาด้านหน้า (และบังด้านหน้าของใบหน้า) กับกางนิ้วมือรองรับหลังศีรษะและลำคอ การทำเช่นนี้จะช่วยปกป้องส่วนใหญ่ของศีรษะ
  8. คุณอาจจะไม่รู้สึกเจ็บตอนตกถึงพื้น เพราะร่างกายหลั่งสารอะดรินาลีนออกมา เพื่อตอบสนองต่อการตก แต่ถึงหากมองดูแล้ว คุณไม่มีบาดแผลใดๆ คุณก็อาจมีบาดแผลฉีกขาดหรืออาการบาดเจ็บภายใน ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาในทันที ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะกำลังรู้สึกอย่างไร ให้รีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ยุทธศาสตร์เพื่อรอดตายเมื่อตกจากเครื่องบิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณจะไม่มีเวลามากพอที่จะลองทำท่านี้ นอกเสียจากว่ากำลังหล่นลงมาจากเครื่องบิน จงทำให้ผิวหน้าของคุณมีพื้นที่มากที่สุด โดยแผ่ตัวออกกว้างด้วยเทคนิคการดิ่งพสุธาดังต่อไปนี้
    • จัดตำแหน่งให้ร่างกายด้านหน้ากระแทกพื้นก่อน
    • งอแผ่นหลังกับอุ้งเชิงกรานและหงายศีรษะไปด้านหลัง ราวกับว่ากำลังจะแตะหลังศีรษะเข้ากับด้านหลังของขาทั้งคู่
    • กางแขนสองข้างออกและงอข้อศอกทำมุม 90 องศา เพื่อให้แขนช่วงล่างกับมือทั้งสองข้างชี้ขึ้นข้างบน (ขนานกับศีรษะคุณและอยู่ข้างศีรษะ) คว่ำฝ่ามือลง กางขาออกให้กว้างเท่ากับไหล่
    • งอเข่าเล็กน้อย อย่าเกร็งขาทั้งคู่ คอยทำให้กล้ามเนื้อขาผ่อนคลาย และเคลื่อนไหวไปตามการตก เพื่อรองรับแรงกระแทกให้ได้มากที่สุด
  2. สำหรับการตกจากที่สูงมากๆ สิ่งซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดต่อโอกาสรอดตาย คือพื้นผิวตรงจุดที่ตก ให้คุณมองหาเนินชันที่ค่อยๆ ราบเรียบมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะคุณจะไม่สูญเสียแรงเหวี่ยงทั้งหมดในทันทีที่ตกกระแทกพื้น ให้สังเกตดูภูมิประเทศเบื้องล่างในขณะร่วงตกลงมาด้วย
    • พื้นผิวที่แข็งและไม่ยืดหยุ่น เช่น คอนกรีต คือพื้นผิวเลวร้ายที่สุดสำหรับการตกกระแทก พื้นผิวที่ไม่เรียบและเป็นหยักๆ ซึ่งทำให้มีผิวหน้าที่จะกระจายแรงกระแทกลดน้อยลง ก็ไม่เป็นที่พึงประสงค์เช่นกัน
    • พื้นผิวดีที่สุดที่คุณจะตกใส่ คือพื้นผิวที่จะบีบอัดหรือยู่ลงไปตอนที่คุณตกกระแทก เช่น หิมะ พื้นนุ่มๆ (เช่น ท้องทุ่งที่เพิ่งไถคราดใหม่ๆ หรือหนองบึง) และต้นไม้หรือดงไม้หนาทึบ (แม้จะทำให้มีความเสี่ยงสูงที่คุณจะถูกกิ่งไม้เสียบก็ตาม)
    • คุณจะปลอดภัยหากตกลงน้ำ เฉพาะตกจากที่สูงไม่เกินประมาณ 150 ฟุต (45.7 เมตร) หากสูงกว่านั้น จะดีกว่าการตกลงบนคอนกรีตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะน้ำไม่สามารถซับแรงกระแทกที่รุนแรงขนาดนั้นได้ การตกลงน้ำยังมีความเสี่ยงสูงที่จะจมน้ำตายอีกด้วย (เพราะมีโอกาสมากที่คุณจะถูกกระแทกจนหมดสติ) น้ำจะปลอดภัยมากกว่าที่จะตกลงไป หากว่ามีคลื่นและ เต็มไปด้วยฟอง
  3. หากคุณกำลังตกลงจากเครื่องบิน ตามปกติจะมีเวลา 1-3 นาทีก่อนตกกระแทก และคุณจะยังสามารถเดินทางในแนวราบได้ดีทีเดียว (ไปได้ไกลมากสุดสองสามไมล์ หรือสามกิโลเมตร)
    • เมื่อใช้ท่าสะพานโค้งดังที่ได้อธิบายไว้ในตอนแรก คุณจะสามารถควบคุมการเหินฟ้าให้ไปข้างหน้าได้ โดยดึงแขนทั้งสองข้างกลับไปด้านหลังเล็กน้อยตรงบ่า (เพื่อแขนจะได้ไม่ล้ำออกมามากนัก) แล้วเหยียดตรง (ยื่น) ขาทั้งคู่ออกไป
    • คุณสามารถเคลื่อนตัวไปด้านหลัง โดยยื่นแขนทั้งสองข้างออกมา และงอเข่าเหมือนกำลังพยายามจะแตะศีรษะด้านหลังกับส้นเท้า
    • คุณอาจเลี้ยวขวาได้สำเร็จขณะอยู่ในท่าสะพานโค้ง โดยบิดร่างกายท่อนบนไปทางขวาเล็กน้อย (ลดบ่าขวาให้ต่ำลง) และอาจเลี้ยวซ้ายโดยลดบ่าซ้ายให้ต่ำลง
  4. จำไว้ว่าต้องทำให้ร่างกายผ่อนคลาย งอเข่าลง และเอาเท้าลงก่อน ตกลงโดยโน้มตัวไปข้างหน้าแทนที่จะหงายหลัง และปกป้องศีรษะด้วยแขนในกรณีที่เกิดกระเด็นกระดอน
    • หากอยู่ในท่าสะพานโค้ง จงจัดดีๆ ให้ร่างกายอยู่ในแนวดิ่งก่อนตกถึงพื้น จะได้ไม่ติดอยู่ในท่าอื่นตอนตกกระแทก (เพื่อเป็นแนวทาง กรุณาจำว่าที่ความสูง 1,000 ฟุตนั้น คุณมีเวลาเพียง 6-10 วินาทีก่อนจะตกกระแทก ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราความเร็วของคุณด้วย)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากพบว่าร่างกายกำลังแกว่งไปมาอย่างควบคุมไม่ได้ ให้พยายามกลับมามีเสถียรภาพด้วยท่าสะพานโค้ง เพราะอย่างน้อย ความมีเสถียรภาพจะช่วยให้จิตใจยังคงค่อนข้างจะสงบ
  • หากคุณตกถึงก้นบึ้งของแหล่งน้ำจริงๆ และพื้นล่างสุดเป็นวัตถุเหมือนทรายร่วน หรือคล้ายกับโคลน มีความเป็นไปได้ที่คุณจะติดอยู่ตรงนั้น อย่าตื่นตระหนก เพียงให้ทำท่าย่างก้าวราวกับว่ากำลังก้าวขึ้นบันได ขณะเดียวกันก็ใช้มือสองข้างดันตัวเองขึ้นข้างบน ทำด้วยจังหวะยาวและทรงพลังหลายๆ ครั้ง คุณจะมีออกซิเจนเพียงพออย่างน้อยหนึ่งนาที ทำให้มีเวลาเหลือเฟือที่จะขึ้นไปถึงผิวน้ำ
  • สงบใจไว้ หากมัวตื่นตระหนกเกินไป คุณไม่น่าจะคิดอะไรได้ถูกต้อง!
  • หากอยู่เหนือชุมชนเมือง คุณน่าจะไม่อาจควบคุมการตกได้ดีพอที่จะเลือกพื้นผิวจุดตกดีที่สุดได้ แต่การตกลงบนโครงสร้างหลังคาที่เป็นกระจกหรือดีบุก ผ้าใบบังแดด และรถยนต์ ยังน่าเลือกมากกว่าตกลงบนพื้นถนน หรือบนหลังคาคอนกรีต
  • ดูเหมือนว่าการมีสภาพร่างกายที่ดีและอ่อนวัย จะมีอิทธิพลในด้านบวกต่ออัตราการรอดตายเมื่อพลัดตกจากที่สูง คุณไม่อาจเปลี่ยนวัยตัวเอง แต่หากว่ากำลังมองหาเหตุผลอื่นที่จะมีหุ่นดี นี่คือเหตุผลข้อนั้น
  • อาจเข้าร่วมฝึกฝนในชั้นเรียนต่างๆ ที่จะช่วยคุณได้ หากตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้
  • พยายามให้ส้นเท้าแตะพื้นก่อน เพื่อตัวคุณจะได้เอียงลงไปแล้วหงายกลับเล็กน้อย
  • อย่าลงสู่พื้นบนส้นเท้าอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ขาทั้งสองหักและเข่าจะเสียหายไปด้วย เพราะคุณไม่อาจทั้งงอเข่าและลงสู่พื้นบนส้นเท้าพร้อมกันได้
  • หากมีสิ่งของในกระเป๋าต่างๆ เอาออกให้หมดขณะอยู่กลางอากาศ จะได้ไม่มีสิ่งของใดๆ ของคุณที่จะทิ่มแทงคุณได้


โฆษณา

คำเตือน

  • หาได้ยากที่คนเราจะรอดตายเมื่อตกจากความสูง 100 ฟุต (30.5 เมตร) ขึ้นไป และอัตราการตายก็ยังสูงแม้ที่ระดับความสูง 20-30 ฟุต (6.1-9.1 เมตร) จึงดีที่สุดเสมอหากคุณจะไม่พลัดตกเสียเลย
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.popularmechanics.com/technology/aviation/safety/4344036
  2. http://www.thedailybeast.com/newsweek/2008/01/09/falling-man.html
  3. http://www.thedailybeast.com/newsweek/2008/01/09/falling-man.html
  4. Injury Prevention Online Analysis of falls from heights of 50–150 feet (15.2–45.7 m)
  5. Jack R. Hunt Library, Embry-Riddle Aeronautical University “Survival of High-Velocity Free-falls in Water” by Richard G. Snyder, 1965: a Federal Aviation Administration report
  6. Greenharbor.com The Free Fall research page. Lots of information about free-falls from airplanes, including specific survival stories.
  7. Jack R. Hunt Library, Embry-Riddle Aeronautical University “Human Survivability of Extreme Impacts in Free-Fall” by Richard G. Snyder, 1963: a Federal Aviation Administration report

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,667 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา