ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ก้อนเลือด (hematoma) เกิดขึ้นเมื่อมีเลือดออกเนื่องจากเส้นเลือดได้รับความเสียหาย ต่างกับรอยจ้ำเลือดทั่วไป เพราะมักจะมีอาการบวมมากประกอบด้วย [1] อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากก้อนเลือด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมัน และก้อนเลือดบางก้อนอาจจะต้องให้แพทย์เป็นผู้เจาะเอาเลือดออก หรือใช้เวลานานกว่าจะหาย คุณควรให้แพทย์ตรวจดูก้อนเลือดที่เกิดขึ้นบนศีรษะหรือใกล้อวัยวะภายในทันทีที่ทำได้ [2] อย่าพยายามรักษาก้อนเลือดประเภทนี้เองที่บ้าน ส่วนก้อนเลือดที่เกิดขึ้นใต้ผิวหนัง (แบบ subdermal) ที่แขนและขานั้น คุณสามารถรักษาเองได้ แต่ต้องให้แพทย์ได้ดูก่อนเพื่อที่จะได้มั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้น [3]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รักษาก้อนเลือดเองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. R.I.C.E. ย่อมาจาก Rest (พัก) Ice (น้ำแข็ง) Compression (กด) และ Elevation (ยก) คุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้เองได้เพื่อรักษาก้อนเลือดที่แขนและขา ทางที่ดีควรทำทุกวันเพื่อให้ได้ผลอย่างดีที่สุด [4]
    • พยายามทำตามขั้นตอน R.I.C.E. ทันทีที่คุณเริ่มสังเกตว่ามีก้อนเลือด เพื่อที่จะได้หายไวๆ
  2. ปล่อยให้ร่างกายส่วนที่มีก้อนเลือดได้พักในช่วง 24-72 ชั่วโมงแรกที่ก้อนเลือดขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลเพิ่มขึ้น และช่วยให้ร่างกายบริเวณนั้นได้รักษาตัวเอง [5]
    • แพทย์บางคนแนะนำให้พักขาที่มีก้อนเลือดอย่างน้อย 48 ชั่วโมง ระยะเวลาการพักจะขึ้นอยู่กับว่าอาการของก้อนเลือดรุนแรงแค่ไหน
  3. ในช่วง 48 ชั่วโมงแรก ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่เป็นก้อนเลือด 20 นาที วันละหลายๆ ครั้ง. นำถุงน้ำแข็งห่อผ้าขนหนูมาประคบ หรือนวดน้ำแข็งที่แขนหรือขาที่มีก้อนเลือด การทำแบบนี้จะช่วยลดอาการปวดและบวมของก้อนเลือดลงได้ [6]
    • ถ้าจะนวดน้ำแข็ง ให้เทน้ำใส่แก้วโฟมพลาสติกแล้วนำไปแช่แข็ง เมื่อน้ำแข็งแล้วก็ให้นำผ้าหรือกระดาษทิชชู่มาปูคลุมแขนหรือขา และนำแก้วน้ำแข็งมาประคบ
    • อย่าประคบน้ำแข็งหรือถุงน้ำแข็งลงไปบนผิวโดยตรง เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลไหม้ (thermal burn) หรือเกิดอาการหนาวไหม้ (frostbite)
    • หลังจากผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมง คุณสามารถใช้แผ่นให้ความร้อนหรือผ้าขนหนูอุ่นๆ ประคบร้อนได้ วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยให้ร่างกายได้ดูดซึมเลือดจากก้อนเลือดกลับไป
  4. ใช้ผ้ายืดรัดรอบๆ ก้อนเลือดจนมันดูบวมน้อยลง คุณสามารถซื้อผ้ายืดประเภทนี้ได้ตามร้านขายยาทั่วไป [7]
    • คุณควรกดบริเวณที่มีก้อนเลือดไว้อย่างน้อย 2-7 วัน ดูให้แน่ว่ารัดผ้าไว้แน่นดีแล้ว แต่ไม่ได้แน่นจนทำให้เลือดไม่หมุนเวียนไปที่แขนหรือขาข้างนั้น
    • ถ้ารัดผ้าแน่นเกินไปจนเลือดไม่ไหลเวียน คุณจะรู้สึกปวดตึบๆ ที่บริเวณนั้น และผิวหนังจะเปลี่ยนสี อาจกลายเป็นสีม่วงคล้ำ หรือซีดไปเลย
  5. ทำแบบนี้จะช่วยลดอาการปวดและบวมได้ ให้ยกขาหรือแขนขึ้นเหนือระดับหัวใจ วางพาดไว้บนเก้าอี้หรือหมอนที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ [8]
  6. ยาประเภทนี้จะช่วยลดอาการปวดและบวมที่อาจเกิดขึ้นระหว่างที่ก้อนเลือดกำลังหาย [9] [10]
    • ตัวยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) สามารถแก้ปวดและแก้อักเสบได้ดี ให้กินยาตามฉลากข้างขวด และอย่ากินยาเกินครั้งละ 2 เม็ด กินซ้ำทุก 4-6 ชั่วโมง
    • ตัวยานาโพรเซน (naproxen sodium) ก็เป็นยาแก้อักเสบอีกชนิดหนึ่ง คุณสามารถกินยานี้ได้ทุก 12 ชั่วโมงเมื่อจำเป็น เพื่อลดอาการปวดและบวม
    • ตัวยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) แบบไทลินอล เป็นยาแก้ปวดที่ดี สามารถใช้ลดอาการเจ็บปวดใดก็ได้
    • หากคุณมีภาวะเลือดออกผิดปกติ ให้หลีกเลี่ยงการกินยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) อย่างเช่นแอสไพริน เนื่องจากยาเหล่านี้อาจส่งผลต่อเกล็ดเลือดและทำให้คุณเลือดออกนานขึ้นได้
  7. หากคุณมีก้อนเลือดที่แขน ขา หรือมือ คุณควรทำตามขั้นตอนการรักษาที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ และใจเย็น รอให้ร่างกายดูดซึมเลือดกลับเข้าไป หลังจากเวลาผ่านไป 2-3 เดือน ก้อนเลือดน่าจะหายไปเอง และอาการเจ็บปวดก็น่าจะลดลง [11]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ให้แพทย์รักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดหากคุณมีก้อนเลือดที่ศีรษะหรือบริเวณอวัยวะภายใน. คุณควรให้แพทย์ตรวจอาการบาดเจ็บที่ไม่ได้เกิดที่แขนหรือขาทันที เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดก้อนเลือดภายในร่างกาย [12]
    • ก้อนเลือดร้ายแรงเหนือหรือใต้เยื่อหุ้มสมองอาจเกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง ก้อนเลือดทั้งสองประเภทเกิดขึ้นรอบๆ/ในสมอง มีสาเหตุมาจากแรงกระแทก และต้องได้รับการตรวจทันที หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก้อนเลือดอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บของสมองอย่างรุนแรงและอาจถึงตายได้ ก้อนเลือดใต้เยื่อหุ้มสมองมักมาพร้อมกับอาการปวดหัวเหมือนถูกฟ้าผ่า
    • ยังมีความเป็นไปได้ด้วยว่าจะเกิดอาการตกเลือดใต้เยื่อหุ้มสมองแบบเรื้อรัง การตกเลือดแบบนี้อาจเกิดขึ้นภายในเวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ และคุณอาจไม่สังเกตอาการอะไรจนกระทั่งก้อนเลือดเกิดขึ้นซักพักแล้ว ฉะนั้น คุณจะต้องให้แพทย์ตรวจดูก้อนเลือดที่ศีรษะหรืออวัยวะภายใน เพื่อที่จะได้มั่นใจได้ว่าไม่มีปัญหาอะไรร้ายแรง
  2. ให้ไปโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการการแพทย์ที่ใกล้ที่สุดหากผิวหนังที่หุ้มก้อนเลือดแตก. หากผิวหนังแตกแล้ว คุณอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ แพทย์จะต้องตรวจดูก้อนเลือดและตัดสินใจว่าควรดูดเลือดออกจากก้อนเลือดหรือไม่ [13]
    • หากคุณมีรอยจ้ำเลือดเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีสาเหตุ นี่อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติอื่น คุณควรให้แพทย์ตรวจดูรอยจ้ำใหม่เหล่านี้ และวินิจฉัยว่าสาเหตุของมันเกิดจากอะไร
  3. ไปพบแพทย์หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังจากเวลาผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์. ถ้าก้อนเลือดที่แขนหรือขาไม่ดีขึ้นเลยทั้งที่คุณพยายามรักษาที่บ้านอย่างสม่ำเสมอมาแล้ว 2 สัปดาห์ ให้นัดพบแพทย์ เพราะปกติแล้วอาการบวมและปวดจากก้อนเลือดควรลดลงหลังรักษาเอง 2 สัปดาห์ แพทย์ของคุณจะตรวจดูก้อนเลือดและวินิจฉัยว่ามีปัญหาอื่นที่เป็นเหตุทำให้ก้อนเลือดไม่หายซักทีหรือเปล่า [14]
    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำแข็ง
  • ผ้ายืดไว้พันขาหรือแขน
  • ยาแก้อักเสบที่ซื้อได้ตามร้านขายยา
  • หมอน
  • แผ่นให้ความร้อน หรือผ้าขนหนูอุ่น

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 31,563 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา