PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

นิ้วเท้าเป็นส่วนที่เกิดปัญหาต่างๆ นานาได้ง่าย ซึ่งอาจนำไปสู่อาการเจ็บปวด รวมถึงอาการอย่าง การบอบช้ำ การติดเชื้อ ข้ออักเสบ โรคเกาต์ ปัญหาการไหลเวียนโลหิต ปมเส้นประสาทนิ้วเท้าอักเสบ และภาวะหัวแม่เท้าเอียง [1] สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดนิ้วเท้า คือ ภาวะบอบช้ำแบบไม่รุนแรง การใส่รองเท้าที่ไม่พอดี และปัญหาเล็บขบจากการตัดเล็บไม่ถูกวิธี แต่ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ยังมีวิธีรักษาอยู่หลายทาง ทั้งการรักษาด้วยตัวเอง และด้วยวิธีทางการแพทย์ ซึ่งต่างช่วยลดความเจ็บปวดที่นิ้วเท้าได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รักษาอาการเจ็บนิ้วเท้าด้วยตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาอาการดังกล่าว คือ แค่พักเท้าและให้เท้าได้ผ่อนคลาย วิธีนี้ช่วยได้มากหากคุณคิดว่าที่เท้ามีอาการก็เพราะได้รับบาดเจ็บมา หรือเพราะคุณใช้งานมันหนักเกินไป พยายามพักเท้าสักสองสามวัน และลองดูว่าอาการเจ็บลงน้อยลงบ้างหรือไม่ อย่าออกกำลังกายหนักๆ และเลี่ยงการเดินหรือวิ่งจ๊อกกิ้งจนกว่าอาการบาดเจ็บจะหายไป [2]
  2. การใช้น้ำแข็งประคบนิ้วเท้าช่วยให้นิ้วเท้าหายเจ็บเร็วขึ้นได้ คุณสามารถทำถุงน้ำแข็งประคบเย็นใช้เองได้ หรือจะซื้อถุงประคบเย็นได้ที่ร้านขายยาก็ได้
  3. ยาแก้ปวดตามร้านขายยาทั่วไป เช่น อะเซตามีโนเฟน (ไทลินอล) หรือไอบูโพรเฟน ช่วยลดอาการเจ็บเท้าได้ ให้ทานยาพวกนี้ตามที่ฉลากแนะนำ ให้แน่ใจว่าคุณได้แจ้งกับหมอหรือเภสัชกรเรียบร้อยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่ ณ ตอนนี้ หรือคุณมีปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง คุณต้องมั่นใจว่ายาที่ซื้อจากร้านขายยาพวกนั้นจะไม่ไปทำปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์กับยาที่คุณกำลังใช้อยู่ [5]
  4. แม้จะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนประโยชน์ของดีเกลือมากนัก คนจำนวนมากต่างใช้มันเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เท้า คุณสามารถหาซื้อดีเกลือได้ตามร้านขายยาทั่วไป รองน้ำในอ่างอาบน้ำหรืออ่างน้ำด้วยน้ำค่อนข้างอุ่น และใส่เกลือหนึ่งกำมือเล็กๆ ลงไป แช่น้ำสัก 20 ถึง 30 นาที และลองดูว่าอาการเจ็บปวดลงลงหรือไม่ [6]
  5. การยกเท้าสูงสามารถช่วยลดอาการปวดและบวมที่เกิดกับเท้าและนิ้วเท้า ลองยกเท้าขึ้นสูงเหนือระดับหัวใจเล็กน้อยเมื่อไหร่ก็ตามที่มีโอกาสยกได้ ลองสังเกตดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ [7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รักษาด้วยวิธีทางการแพทย์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการปวดนิ้วเท้ามักหายได้เองในสองสามวัน ไม่ต้องใช้การรักษาทางการแพทย์ อย่างไรก็ดี คุณควรพบแพทย์หากมีอาการต่อไปนี้:
    • มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง หรือบวมอย่างรุนแรง
    • มีแผลเปิด
    • มีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น อาการแดง ร้อน กดเจ็บ หรือมีไข้สูงมากกว่า 37.78 องศาเซลเซียส หรือมีน้ำเหลืองออกมาจากบริเวณที่มีอาการเจ็บปวด
    • เดินไม่ได้
    • ไม่สามารถลงน้ำหนักที่เท้าได้ [8]
  2. ความเจ็บปวดที่นิ้วเท้าอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพหลายประการ ให้สังเกตดูว่าคุณมีอาการอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุร่วมที่พบบ่อยของการเจ็บปวดที่นิ้วเท้าหรือไม่ สาเหตุของอาการ เช่น การทำของหล่นใส่นิ้วเท้า เดินเตะของ หรือเดินสะดุด อาจทำให้นิ้วเท้าเจ็บอย่างรุนแรง ควรพบแพทย์หากคุณได้รับบาดเจ็บ และมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง มีอาการบวม หรืออาการรุนแรงอื่นๆ
    • โรคเกาต์ ซึ่งเป็นโรคข้อต่ออักเสบชนิดหนึ่ง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของที่ทำให้นิ้วเท้าเจ็บปวดได้เช่นกัน นอกเหนือจากนี้ บริเวณใกล้ๆ นิ้วเท้าอาจแดง ร้อน และมีอาการกดเจ็บด้วย [9]
    • เท้าพอง ตาปลา และหนังหนาด้านเป็นอาการทั่วไปที่ทำให้นิ้วเท้าเจ็บ คุณมักจะเจอถุงน้ำ จุดที่ดูเหมือนสิว และบริเวณที่ผิวมีสีออกเหลืองๆ ซึ่งแข็งและด้าน ตุ่มพองมักจะหายเองตามธรรมชาติ แต่หนังด้าน และตาปลา อาจต้องให้แพทย์ช่วยเอาออก [10]
    • เล็บขบก็เป็นสาเหตุที่พบมากในบรรดาผู้ที่เจ็บนิ้วเท้า อาการนี้เกิดเมื่อส่วนมุมของเล็บเท้างอกแทงเนื้อ ซึ่งทำให้เกิดอาการบวมแดง หรืออาการกดเจ็บ คณอาจสังเกตเห็นว่า สีของเล็บเท้าเปลี่ยนไป [11]
  3. ป้องกันตัวเองจากตัวการสำคัญของอาการที่นิ้วเท้า. สาเหตุของอาการดังกล่าวบางอย่างสามารถรักษาได้ง่ายๆ แต่บางอย่างก็ค่อนข้างรุนแรง และรักษาได้ยากอยู่ ให้ประเมินดูว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงเกี่ยวกับอาการเจ็บปวดนิ้วเท้าหรือไม่ และให้พบแพทย์เพื่อป้องกันตัวเองจากอาการรุนแรงเหล่านั้น
    • โรคเบาหวานอาจเป็นเหตุของอาการกดเจ็บที่เท้าและนิ้วเท้า อาการอื่นๆ จากโรคเบาหวาน ได้แก่ กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย หิวถี่ และแผลบาด แผลพกช้ำหายช้า หากคุณกังวลว่าคุณอาจเป็นโรคเบาหวาน แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการที่คุณรับการตรวจร่างกายเป็นประจำ และตรวจเลือด [12]
    • โรคไขข้อเป็นอาการเรื้อรัง ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อ หากคุณเป็นโรคไขข้อ คุณอาจสังเกตเห็นอาการบาดเจ็บทั่วทั้งร่างกาย นอกเหนือจากเท้า เป็นไปได้ว่าคุณอาจเป็นโรคไขข้อ หากคุณอายุมากแล้ว หรือกังวลเกี่ยวกับโรคนี้ ให้ปรึกษาแพทย์ [13]
  4. หากการรักษาด้วยตัวเองไม่ทำให้อาการปวดเท้าของคุณดีขึ้น ลองปรึกษาแพทย์ของคุณว่า สำหรับกรณีของคุณมีทางเลือกในการรักษาอะไรบ้าง แพทย์ของคุณจะตรวจดูอาการเพื่อดูว่าอะไรคือสาเหตุของอาการเจ็บเท้าของคุณ และแนะนำวิธีรักษาโดยเริ่มจากจุดนั้น
    • หากนิ้วเท้าของคุณหักมา แพทย์ของคุณอาจใช้เทปแปะแผลช่วยเพื่อให้กระดูกอยู่กับที่ และเพื่อรักษาอาการดังกล่าว นิ้วเท้าที่ได้รับบาดเจ็บมามักจะถูกพันติดกับนิ้วเท้าที่ไม่บาดเจ็บ โดยให้นิ้วเท้าที่ยังดีอยู่ทำหน้าที่เป็นตัวยึด แพทย์ของคุณอาจใส่เฝือกให้ หรือให้คุณใส่รองเท้าพื้นแข็งเพื่อเสริมส้น แต่ก็มีน้อยรายมากๆ ที่ต้องใช้การผ่าตัดเป็นตัวเลือกในการรักษา [14]
    • โดยทั่วไป ยาตามร้านขายยาเป็นอะไรที่เหมาะสมมากสำหรับการรักษาอาการที่กล่าวมานี้ อย่างไรก็ตามหากซื้อยามาใช้เองแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจสั่งยาให้โดยพิจารณาจากสาเหตุของอาการที่น่าจะเป็นไปได้ ประวัติการรักษา และยาที่คุณใช้อยู่ปัจจุบัน [15]
  5. ให้แพทย์ส่งตัวไปให้แพทย์รักษาเท้าหากจำเป็น. แพทย์รักษาเท้าคือ แพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับนิ้วเท้าของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากอาการเจ็บปวดยังไม่หายไป และกลายมาเป็นปัญหาเรื้อรัง แพทย์รักษาเท้าจะตรวจเท้าและนิ้วเท้าของคุณเพื่อหาอาการบอบช้ำ และตรวจดูว่ามีการเติบโตของก้อนเนื้อที่มีอันตรายหรือมีเนื้องอกหรือไม่ แพทย์ประจำของคุณจะส่งตัวคุณไปให้แพทย์เฉพาะทางหากจำเป็นต้องทำ [16]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันไม่ให้นิ้วเท้าเจ็บ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. รองเท้าส้นสูงที่เล็กหรือคับเกินไปอาจเป็นเหตุให้เท้าและนิ้วเท้าเจ็บได้ ให้แน่ใจว่าคุณเลือกรองเท้าที่ใส่สบายและพอดีเท้า หากหน้าที่การงานทำให้คุณต้องเดินเยอะ ให้เลือกรองเท้าส้นเตี้ยแทนรองเท้าส้นสูง หรือรองเท้าเป็นทางการที่ใส่แล้วบีบเท้าแน่น [17]
  2. หากคุณเป็นคนที่ปวดเท้าง่าย ลองซื้อแผ่นเสริมใต้ฝ่าเท้ามาใช้ดู คุณจะให้หมอทำแผ่นเสริมใต้ฝ่าเท้าให้ออกมาพอดีกับขนาดเท้า หรือซื้อตามร้านค้าใกล้ห้างสรรพสินค้าใกล้บ้านก็ได้ แผ่นเสริมดังกล่าวเป็นแผ่นแบนๆ มีลักษณะเหมือนเจลใช้วางในรองเท้า ช่วยให้คุณอยู่ไกลจากความไม่สบายเท้า ที่อาจนำไปสู่อาการปวดเท้าในเวลาต่อมาได้ [18]
  3. เนื่องจากเล็บขบทำให้นิ้วเท้าเจ็บได้ คุณควรแน่ใจว่าคุณตัดเล็บอย่างระมัดระวัง ตัดเล็บเท้าให้เป็นเส้นตรง และเลี่ยงการตัดตรงมุมเล็บเพราะมันอาจทำให้เล็บขบได้ [19]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จนกว่าอาการเจ็บนิ้วเท้าจะทุเลาลง ให้ลองสวมใส่รองเท้าหัวเปิด หรือใส่รองเท้าแตะแทนรองเท้าที่คุณใส่ปกติ
  • การใช้หลักปฐมพยาบาลแบบ พันรัย (พัก น้ำแข็ง รัด ยก หรือ RICE) เป็นวิธีที่ดีเยี่ยมที่จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจะกว่าคุณจะพบหมอ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 78,493 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา