ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แม้ว่าการที่แมวถูกงูกัดจะค่อนข้างไม่ใช่เรื่องที่พบได้ทั่วไป แต่หากเกิดขึ้นจริงก็อาจเป็นเรื่องร้ายแรงได้ เพราะน้องแมวตัวเล็กจึงอาจได้รับพิษจากพิษงูในปริมาณสูง การที่ร่างกายของน้องแมวจะตอบสนองอย่างไรต่อพิษงูขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณของพิษงูที่ได้รับ จุดที่ถูกกัด และสายพันธุ์ของงู [1] หากแมวของคุณถูกงูพิษกัด โอกาสรอดจะเพิ่มขึ้นหากคุณพาไปหาสัตว์แพทย์ได้ในทันที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ประเมินสถานการณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แผลงูกัดมักเกิดขึ้นแถวจมูกและปาก หรือที่ขาของน้องแมว [2] หากงูพิษกัดน้องแมว ผิวของแมวอาจจะมีรอยเขี้ยวหนึ่งรู หรือหลายรูตรงจุดที่ถูกกัด [3] โชคไม่ดีที่อาจเห็นรอยกัดเหล่านี้ได้ไม่ชัดเจนเพราะปกคลุมด้วยขนแมว [4] และเนื่องจากแผลงูกัดอาจเจ็บปวดอย่างยิ่ง น้องแมวอาจเจ็บปวดมากเกินไป หรือวิตกกังวลเกินกว่าที่จะยอมอนุญาตให้คุณมองหาแผลถูกกัด
    • แผลถูกงูพิษกัดอาจจะทำให้ผิวบวมและเริ่มแดง เพราะพิษงูสามารถส่งผลในด้านลบต่อการแข็งตัวของเลือด และน่าจะมีเลือดออกตรงจุดที่ถูกกัดด้วย [5]
    • ยิ่งแผลถูกงูพิษกัดอยู่ใกล้หัวใจมากเท่าไร พิษก็ยิ่งน่าจะดูดซึมเข้าไปในร่างกายและแผ่กระจายไปทั่วระบบต่อมน้ำเหลือง กับระบบการหมุนเวียนของโลหิตได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น [6]
    • หากน้องแมวถูกกัดโดยงูที่ไม่มีพิษ คุณจะเห็นรอยฟัน ไม่ใช่รอยเขี้ยวตรงจุดที่ถูกกัด นอกจากนี้ ยังอาจมีรอยบวมเล็กน้อยหรือไม่มี มีรอยแดง หรือมีเลือดออกตรงจุดที่งูกัดด้วย [7]
  2. หลังจากถูกงูพิษกัด น้องแมวอาจเริ่มเซื่องซึมและอาจเริ่มอาเจียน มันอาจจะเริ่มอ่อนแอมากและหมดแรงล้มลง นอกจากนั้น กล้ามเนื้ออาจจะเริ่มเกร็งกระตุก และม่านตาเริ่มขยายใหญ่ขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปมากขึ้นหลังจากงูกัด สัญญาณอาจจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น เช่น เป็นลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วน เป็นอัมพาต และช็อก [8] [9]
    • สัญญาณของอาการช็อก ได้แก่ หายใจตื้นเร็ว (Rapid shallow breathing) อาการภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (Hypothermia) และหัวใจเต้นเร็ว [10]
    • เป็นเพราะเจ็บปวดอย่างหนัก น้องแมวอาจร้องเสียงดังมากขึ้นด้วย
    • อย่ารอดูจนน้องแมวแสดงอาการว่าถูกงูกัด หากคุณเห็นงูกัดแมว หรือเห็นบาดแผลถูกกัด จงพาแมวไปหาสัตว์แพทย์ในทันที
    • ตามปกตินั้น อาการพิษหลังจากงูกัดจะเริ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว—ภายในไม่กี่นาทีจนถึงหนึ่งชั่วโมงหลังจากถูกกัด หากน้องแมวไม่แสดงอาการพิษหลังจาก 60 นาที แสดงว่าพิษของงูไม่น่าจะได้เข้าไปในระบบของมัน [11]
    • น้องแมวอาจไม่แสดงอาการพิษหากถูกกัดโดยงูไม่มีพิษ อย่างไรก็ตาม คุณสมควรยังคงพามันไปหาสัตว์แพทย์เพื่อให้ดูแลและเฝ้าสังเกต
  3. เพื่อให้เซรุ่มแก้พิษงูที่เหมาะสม จะช่วยได้หากสัตว์แพทย์รู้สายพันธุ์ของงูที่ทำร้ายน้องแมว ในสหรัฐนั้น งูพิษที่พบกันบ่อยที่สุดคืองูหางกระดิ่ง (Rattle snake) งูวอเตอร์ มอคคาซิน (Water moccasin) งูพิษคอปเปอเฮด (Copperhead) และงูปล้องหวาย (Coral snakes) [12]
    • หากคุณพบเห็นเหตุการณ์งูกัดแมว จงสงบและจดบันทึกเรื่องสี ความยาว และรูปแบบของงูตัวนั้น เพื่อความปลอดภัยของคุณ อย่าเข้าใกล้งูเพื่อดูให้ใกล้ชิดมากขึ้น
    • อย่าพยายามฆ่างู เพราะคุณจะทำให้ตัวเองมีอันตรายจากการถูกกัดมากขึ้น จากการที่คุณเข้าใกล้งูและพยายามจะฆ่ามัน [13]
    • งูพิษมีรูตาดำคล้ายขีด (เหมือนกับแมว) ในขณะที่งูไม่มีพิษมีรูตาดำกลม (เหมือนกับคน) [14] อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้น ตัวอย่างเช่น งูปล้องหวายซึ่งเป็นงูพิษมีรูตาดำกลม
    • หากคุณไม่อาจระบุได้ว่าเป็นงูอะไร หรือไม่รู้ว่าเป็นงูพิษหรือไม่ จงคาดคะเนเอาไว้ก่อนว่าเป็นงูพิษ [15]
    • ผลกระทบในด้านลบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular system) สามารถทำให้น้องแมวช็อกได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

พาน้องแมวไปหาสัตว์แพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับแผลงูพิษกัด จงดูแลให้น้องแมวสงบและอยู่เงียบๆ เป็นวิธีปฐมพยาบาลดีที่สุดที่คุณสามารถใช้ดูแลน้องแมว ก่อนที่มันจะได้รับการดูแลจากสัตว์แพทย์ ยิ่งมันตื่นเต้นตกใจไม่อยู่นิ่งมากเท่าไร พิษงูก็สามารถแพร่กระจายได้ไปทั่วร่างกายได้เร็วมากขึ้น และถึงกับทำให้คลื่นไส้อาเจียนมากขึ้นด้วย [16] มีคำแนะนำอย่างแท้จริงด้วยว่า การดูแลให้แมวสงบและเงียบเป็นการปฐมพยาบาล เพียงอย่างเดียว ที่คุณสมควรทำด้วยตัวคุณเอง [17]
    • อย่าอนุญาตให้น้องแมวออกเดินหรือวิ่งไปรอบๆ เพราะจะยิ่งเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจของมัน และยิ่งกระตุ้นการหมุนเวียนโลหิต
    • จงจำใส่ใจว่าน้องแมวอาจงับคุณหรือพยายามจะกัดคุณ เพราะความเจ็บปวดที่มันได้รับ [18]
  2. อย่าใช้วิธีปฐมพยาบาลใดๆ มากไปกว่าเพียงแค่ใช้แรงกดอย่างอ่อนโยน. แรงกดอย่างอ่อนโยนจะช่วยควบคุมเลือดที่ไหลจากบาดแผลถูกกัด ตัวอย่างของการปฐมพยาบาลที่คุณ ไม่ สมควรใช้ คือ การตัดเปิดบาดแผลเพื่อดูดพิษงูออกมา หรือทำให้บาดแผลแห้ง [19] [20] วิธีเหล่านี้ไม่เพียงใช้การไม่ได้ คุณจะยิ่งทำให้น้องแมวเจ็บปวดและทุกข์ทรมานมากขึ้น แถมพิษงูยังอาจเป็นพิษสำหรับคุณอีกด้วย [21]
    • อย่าใช้สายรัดห้ามเลือด (Tourniquet) หรือการพันผ้ารัด (Compression bandage) ในบริเวณใกล้กับบาดแผลถูกงูกัด [22]
    • อย่าใช้น้ำแข็งกับแผลถูกกัด [23] น้ำแข็งไม่ได้ช่วยชะลอการแพร่กระจายของพิษงู และสามารถสร้างความเสียหายอย่างแท้จริงให้กับผิวหนัง [24]
    • อย่าล้างแผลหากเป็นแผลถูกงูพิษกัด การล้างแผลจะยิ่งช่วยได้ดูดซึมพิษงูได้มากขึ้น [25]
  3. การกระทำที่น่าจะช่วยชีวิตน้องแมวได้มากที่สุดคือพาไปพบสัตว์แพทย์โดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ หากเป็นไปได้ จงขนน้องแมวโดยใส่ไว้ในกล่องใส่แมวเดินทางของมัน หรือในลังใบใหญ่ซึ่งมันสามารถนอนได้สะดวก [26] เพื่อช่วยให้น้องแมวยังคงสงบและอยู่นิ่งในระหว่างที่คุณขับรถไปหาสัตว์แพทย์ จงใช้ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่หรือผ้าปูที่นอนห่อตัวมันไว้หลวมๆ
    • ตามปกตินั้น ผลกระทบจากพิษงูนั้นถาวร และมักจะเริ่มขึ้นในทันทีหลังจากที่งูกัด [27] น้องแมวจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากสัตว์แพทย์ในทันที เพื่อเพิ่มโอกาสรอดตายและเพื่อรักษาผลกระทบจากพิษงู
  4. แจ้งประวัติเกี่ยวกับงูกัดให้สัตว์แพทย์ทราบมากที่สุดที่คุณจะทำได้. สัตว์แพทย์อาจมีชุดตรวจสอบแผลงูกัดซึ่งจะช่วยให้สามารถระบุชนิดของงูที่กัดน้องแมวได้ [28] อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สัตว์แพทย์ไม่มีชุดตรวจสอบดังกล่าว คุณจะจำเป็นต้องให้ข้อมูลเรื่องงูกัดมากที่สุดที่ทำได้ เช่น ลักษณะของงูตัวนั้น เวลาได้ผ่านไปนานแค่ไหนแล้วตั้งแต่ถูกงูกัด และน้องแมวเริ่มแสดงอาการพิษอะไรบ้างหลังจากถูกกัด
  5. แม้ว่าข้อมูลเรื่องอาการพิษ และลักษณะภายนอกของบาดแผลอาจดูเหมือนว่ามีมากพอที่จะเริ่มการรักษาได้แล้ว แต่สัตว์แพทย์อาจจะต้องการทำแบบทดสอบวินิจฉัย (Diagnostic tests) เพื่อประเมินความร้ายแรงของแผลงูกัดได้อย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น สัตว์แพทย์อาจจะตรวจเลือดเพื่อดูว่าเลือดของน้องแมวกำลังจับตัวเป็นก้อนอย่างดี (หรือเลว) เพียงใด แพทย์อาจจะเก็บตัวอย่างฉี่แมวด้วย (แผลงูกัดสามารถทำให้มีเลือดอยู่ในฉี่ได้) [29]
    • ขึ้นอยู่กับว่าคลินิกสัตว์แพทย์มีอุปกรณ์ดีมากเพียงใด สัตว์แพทย์อาจต้องการทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) เพื่อประเมินผลชีพจรของน้องแมว [30]
  6. ให้ความเห็นชอบกับแผนการรักษาที่สัตว์แพทย์แนะนำ. เพราะพิษงูสามารถแพร่กระจายและสร้างความเสียหายให้กับร่างกายแมวได้อย่างรวดเร็ว สัตว์แพทย์จึงอาจต้องการจะเริ่มทำการรักษาบางรูปแบบในทันทีเพื่อให้น้องแมวมีเสถียรภาพ อย่าแปลกใจหากสัตว์แพทย์จำเป็นต้องเริ่มการรักษาเพื่อให้น้องแมวมีเสถียรภาพ ก่อนจะได้ประวัติที่มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นแล้วจากคุณ รูปแบบหนึ่งของการรักษาในทันทีคือ ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ (Intravenous fluids) ซึ่งจะทำให้แรงดันเลือดของน้องแมวกลับคืนมา (สำคัญมากหากน้องแมวช็อกไปแล้ว). [31]
    • เซรุ่มแก้พิษงู (Antivenin) ทำงานโดยทำให้พิษงูเป็นกลาง และจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้ภายในหกชั่วโมงแรกที่ถูกงูกัด [32] มันสามารถช่วยป้องกันภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding disorders) และลดอาการบวมตรงแผลที่ถูกกัด [33] จงจำใส่ใจว่าเซรุ่มแก้พิษงูไม่ใช่วัคซีน และจะไม่ปกป้องน้องแมวจากการถูกงูกัดในอนาคต [34]
    • สัตว์แพทย์น่าจะใช้ยาสเตียรอยด์ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายของเนื้อเยื่อเพิ่มมากขึ้น ในการควบคุมอาการช็อก และป้องกันความเป็นไปได้ที่จะมีปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้จากการใช้เซรุ่มแก้พิษงู ตามปกติ จะให้ยาสเตียรอยด์ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังจากถูกงูกัดเท่านั้น [35]
    • น้องแมวอาจจำเป็นต้องได้รับการเสริมออกซิเจน และเครื่องช่วยหายใจเพิ่มเติม โดยขึ้นอยู่กับระดับภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress) ของน้องแมวตอนที่คุณพาไปหาสัตว์แพทย์ [36]
    • หากน้องแมวทุกข์ทรมานจากปัญหารุนแรงต่างๆ เกี่ยวกับการหมุนเวียนโลหิต (แทบจะไม่มีการจับตัวกันของเลือด การตรวจนับเม็ดเลือดได้ต่ำ) จะจำเป็นต้องรักษาด้วยผลิตภัณฑ์การเปลี่ยนเลือด และการรักษาที่เหมาะสมอื่นๆ [37]
    • ตามปกตินั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพราะหาได้ยากที่แผลงูกัดจะติดเชื้อ [38]
  7. การพยากรณ์โรคสำหรับน้องแมวอาจมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับปริมาณพิษงูที่เข้าไปในร่างกาย สายพันธุ์ของงู และเวลาได้ผ่านไปนานเพียงใดนับจากถูกงูกัด โชคดีที่เกือบ 80% ของสัตว์เลี้ยงจะรอดตายจากการถูกกัดหากได้รับการรักษาจากสัตว์แพทย์ในทันที [39] ถ้าหากว่าน้องแมวได้รับการพยากรณ์โรคดี มันน่าจะฟื้นตัวภายใน 24 - 48 ชั่วโมง การฟื้นตัวอาจใช้เวลานานกว่านั้น (อย่างน้อยหลายวัน) ขึ้นอยู่กับขนาดความเสียหายของเนื้อเยื่อ [40]
    • สัตว์แพทย์อาจแนะนำให้น้องแมวพักค้างคืนที่โรงพยาบาลสัตว์เพื่อสังเกตอาการ และมันอาจจำเป็นต้องนอนค้างคืนหากจำเป็นต้องรับการรักษาแบบเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อสัตว์แพทย์แน่ใจแล้วว่าน้องแมวฟื้นตัวดีแล้วจากแผลงูกัด ถึงจะส่งมันกลับบ้านกับคุณ [41]
  8. ดูแลน้องแมวเมื่อออกมาจากโรงพยาบาลสัตว์แล้ว. เมื่อน้องแมวหายดีพอที่จะกลับบ้านได้ คุณจะจำเป็นต้องรับผิดชอบในการดูแลมันที่บ้าน สัตว์แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดเพื่อควบคุมความเจ็บปวดจากแผลงูกัด น้องแมวอาจต้องรักษาด้วยยาเพิ่มเติมซึ่งขึ้นอยู่กับอาการพิษ (Clinical sign) และผลการตรวจวินิจฉัยโรค [42]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันไม่ให้ถูกงูกัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จงเรียนรู้ว่าพิษงูจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อน้องแมว. พวกงูจะใช้พิษบ่อยที่สุดเพื่อจับเหยื่อ. อย่างไรก็ตาม จงจำใส่ใจว่างูจะวิ่งหนีมากกว่าสู้/กัดหากเผชิญหน้ากับมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยง หากน้องแมวถูกงูกัด งูน่าจะกัดเพื่อป้องกันตัวมากกว่าจะเป็นการจู่โจมเพื่อล่าเหยื่อ [43]
    • พวกงูสามารถควบคุมว่าจะปล่อยพิษในตอนกัดหรือไม่ หากพวกมันไม่ปล่อยพิษออกมา เรียกแผลกัดนั้นว่า ‘การกัดแบบไม่ปล่อยพิษ’ [44] งุูอาจไม่ปล่อยพิษหากว่าเพิ่งจะสังหารเหยื่อไปและได้ใช้พิษไปแล้ว
    • งุสามารถควบคุมได้เช่นกันว่าจะปล่อยพิษออกมามากเพียงใดในตอนที่กัด ตัวอย่างเช่น งูขนาดเล็กกว่าที่กลัวตายอาจปล่อยพิษเป็นจำนวนมากกว่างูใหญ่กว่าที่ชีวิตไม่ได้ตกอยู่ในอันตราย [45]
    • พิษงูแพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านระบบน้ำเหลือง และระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกาย และในที่สุด สามารถมีผลกระทบอย่างถ้วนทั่วต่อระบบร่างกายทั้งหมด เป็นธรรมดาที่พิษงูเล็งเป้าหมายที่ระบบประสาทและระบบหมุนเวียนโลหิต [46] [47]
  2. รื้อจุดต่างๆ ซึ่งมีศักยภาพจะเป็นที่ซ่อนตัวสำหรับพวกงู. งูชอบซ่อนในกอหญ้าสูง ใบไม้ที่ขึ้นปกคลุมแน่นหนา และใต้กองไม้ [48] [49] พวกมันยังชอบซ่อนใต้กองหินและท่อนซุงอีกด้วย [50] หากแมวของคุณอยู่ในบ้าน/นอกบ้าน หรืออยู่เฉพาะนอกบ้าน การทำความสะอาดจุดใดๆ ที่มีศักยภาพเป็นที่ซ่อนของงู จะช่วยลดโอกาสที่น้องแมวจะพบเจอกับงูลง
    • คุณสามารถเก็บน้องแมวไว้ข้างในบ้านได้ด้วย [51]
  3. คุณอาจฉีดสเปรย์ไล่งูในลานบ้านเพื่อไล่งูให้อยู่ห่างๆ [52] ไปที่ร้านสัตว์เลี้ยงแถวบ้านของคุณเพื่อขอคำแนะนำว่าสมควรซื้อยาไล่งูแบบใด คุณยังสามารถหาซื้อยาไล่งูออนไลน์ได้ด้วย
  4. หนูเป็นแหล่งอาหารที่ดีแหล่งหนึ่งสำหรับงู บ้านของอาจจะดึงดูดงูหากคุณมีปัญหาเรื่องหนู [53] คุณสามารถวางกับดักหนูทั้งในและรอบๆ บ้าน หรือใช้ทางเลือก คือว่าจ้างบริการควบคุมสัตว์รบกวนเพื่อกำจัดหนูทั้งหลายออกไปจากบ้านคุณ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เตรียมตัวเตรียมใจคุณเองสำหรับความเป็นไปได้ที่ว่าน้องแมวอาจไม่รอดจากงูกัด สัตว์แพทย์จะทำทั้งหมดที่ทำได้เพื่อช่วยชีวิตน้องแมว แต่ความเสียหายจากการถูกงูกัดอาจรุนแรงมากเกินไป
  • แม้จะไม่ได้มีคำแนะนำให้ล้างแผลถูกงูพิษกัด แต่คุณสามารถทำความสะอาดแผลงูที่ไม่พิษกัดได้ด้วยน้ำเย็นกับสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย [54] อย่างไรก็ตาม คุณยังสมควรพาน้องแมวไปให้สัตว์แพทย์ดูแล
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเข้าใกล้ซากงูตาย เพราะอาจนานได้ถึงหนึ่งชั่วโมงหลังจากงูตาย ที่หากคุณแตะต้องซากของมัน อาจมีปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายอย่างฉับพลันทันทีที่มันจะรัดและฉกกัดคุณได้
  • เพราะอยู่ใกล้หัวใจ รอยกัดที่ท้องหรือหน้าอกจึงทำให้มีการทำนายอาการของโรคในแบบที่ไม่ดีต่อสุขภาพ มากกว่ารอยกัดที่ศีรษะหรือแขนขา [55]
โฆษณา
  1. http://www.petmd.com/cat/emergency/accidents-injuries/e_ct_shock
  2. Veterinary Emergency Medicine Secrets: Rattlesnake Envenomation. Hackett & Winfield. Hanley and Belfus.
  3. http://www.merckvetmanual.com/mvm/toxicology/snakebite/overview_of_snakebite.html
  4. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  5. The Illustrated Guide to Venomous Snakes. US Dept of the Army. Lyons Press.
  6. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  7. https://www.vetinfo.com/treating-cat-snake-bite.html
  8. http://www.merckvetmanual.com/mvm/toxicology/snakebite/overview_of_snakebite.html
  9. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  10. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  11. http://www.cathealth.com/safety/cat-first-aid
  12. http://www.doctordog.com/catbook/catsnake.html
  13. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  14. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  15. http://www.doctordog.com/catbook/catsnake.html
  16. http://www.doctordog.com/catbook/catsnake.html
  17. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  18. http://www.merckvetmanual.com/mvm/toxicology/snakebite/overview_of_snakebite.html
  19. http://www.vetwest.com.au/pet-library/snake-bite-and-your-pet
  20. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  21. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  22. http://www.pethealthnetwork.com/dog-health/dog-toxins-poisons/your-pet-venomous-snakes-part-ii
  23. http://www.merckvetmanual.com/mvm/toxicology/snakebite/overview_of_snakebite.html
  24. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  25. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  26. http://www.merckvetmanual.com/mvm/toxicology/snakebite/overview_of_snakebite.html
  27. http://www.vetwest.com.au/pet-library/snake-bite-and-your-pet
  28. http://www.merckvetmanual.com/mvm/toxicology/snakebite/overview_of_snakebite.html
  29. http://www.merckvetmanual.com/mvm/toxicology/snakebite/overview_of_snakebite.html
  30. http://www.vetwest.com.au/pet-library/snake-bite-and-your-pet
  31. http://www.vetwest.com.au/pet-library/snake-bite-and-your-pet
  32. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  33. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  34. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  35. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  36. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  37. http://www.snakesandspiders.com/understanding-snake-venom-works/
  38. http://www.merckvetmanual.com/mvm/toxicology/snakebite/overview_of_snakebite.html
  39. http://www.pethealthnetwork.com/dog-health/dog-toxins-poisons/your-pet-venomous-snakes-part-ii
  40. http://www.vetwest.com.au/pet-library/snake-bite-and-your-pet
  41. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  42. http://www.pethealthnetwork.com/dog-health/dog-toxins-poisons/your-pet-venomous-snakes-part-ii/page/0/1
  43. http://www.reachvet.com/snake-bites-pets
  44. http://www.pethealthnetwork.com/dog-health/dog-toxins-poisons/your-pet-venomous-snakes-part-ii
  45. https://www.vetinfo.com/treating-cat-snake-bite.html
  46. http://www.merckvetmanual.com/mvm/toxicology/snakebite/overview_of_snakebite.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 54,303 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา