ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ผิวไหม้แดดขึ้นมาแล้วแสนจะทรมาน แถมถ้าใครผิวไหม้แดดตอนอายุน้อยๆ ก็เสี่ยงลุกลามไปเป็นมะเร็งผิวหนังในภายหลังได้ [1] ผิวหน้านั้นบอบบาง เสียหายง่ายกว่าจุดอื่น จึงสำคัญมากว่าคุณต้องรู้วิธีรักษาและป้องกันอาการไหม้แดด บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการสังเกต รักษา และป้องกันอาการผิวหน้าไหม้แดดให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาบรรเทาอาการไหม้แดดทันทีทันใด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทันทีที่รู้สึกแสบร้อนใบหน้า หรือสังเกตเห็นว่าหน้าเริ่มแดง ให้เข้าบ้านหรือในอาคาร หรืออย่างน้อยก็หลบเข้าที่ร่ม กว่าอาการไหม้แดดจะแสดงอาการ ก็ต้องใช้เวลา 4 - 6 ชั่วโมงหลังหลบแดด แต่ถ้าหลบแดดทันที จะป้องกันไม่ให้ผิวไหม้แดดรุนแรงได้ [2]
  2. ทันทีที่เริ่มมีอาการผิวไหม้แดด ให้รีบดื่มน้ำ เติมความชุ่มชื้นให้ผิว [3] ไหม้แดดแล้วทำให้ขาดน้ำได้ จนหลอดเลือดขยาย (vasodilation) ทำให้ยิ่งขาดน้ำอย่างรวดเร็วและอ่อนเพลีย ถ้าดื่มน้ำเรื่อยๆ จะป้องกันผลที่จะตามมาได้ เช่น ปวดหัว [4]
  3. ถ้าร้อนหน้าเพราะผิวไหม้แดด ให้หมั่นสาดน้ำเย็นใส่หน้าเพื่อระบายความร้อน จากนั้นใช้ผ้านุ่มๆ ซับให้แห้งเบาๆ จะใช้ผ้าเปียกเย็นๆ โปะหน้าผากหรือประคบที่แก้มคลายร้อนก็ได้ [5]
  4. ทาหน้าด้วยมอยส์เจอไรเซอร์หรือว่านหางจระเข้. อย่าใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีปิโตรเลียม, benzocaine หรือ lidocaine ให้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้สดๆ หรือมอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองหรือว่านหางจระเข้แทน [6] ถ้าระคายผิวเป็นพิเศษ หรือหน้าบวม ให้ทาครีมสเตียรอยด์ (ครีม hydrocortisone 1%) [7] โดยอ่านคำแนะนำในการใช้งานให้ละเอียดหลังซื้อจากร้านขายยา [8]
  5. ให้กินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID (nonsteroidal anti-inflammatory drug) คือยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ทันทีที่รู้ตัวว่าผิวไหม้แดด จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ระคายเคือง และเจ็บปวดได้ โดยอ่านและทำตามคำแนะนำการใช้งานที่ฉลากอย่างเคร่งครัด [9]
  6. พออาการผิวไหม้แดดเห็นเด่นชัด ให้สำรวจผิวตัวเองอย่างใกล้ชิด ว่าไหม้แดดรุนแรงแค่ไหน [10] ถ้ามีอาการคลื่นไส้ หนาวสั่น ตาพร่ามัว มีแผลพุพองขนาดใหญ่ตามร่างกาย หรือมีไข้ ให้รีบไปหาหมอโดยเร็วที่สุด [11]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ดูแลผิวหน้าไหม้แดดระหว่างฟื้นตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะช่วยคืนความชุ่มชื้นให้ผิวหลังไหม้แดด เพราะผิวไหม้แดดแล้วทำให้ขาดน้ำได้ จนปวดหัวและอ่อนเพลีย นอกจากนี้น้ำยังจำเป็นต่อร่างกาย ส่วนเครื่องดื่มเกลือแร่ (sports drinks) ก็ทดแทนเกลือแร่ (electrolytes) ที่เสียไปได้ [12]
  2. ผิวไหม้แดดต้องได้รับมอยส์เจอไรเซอร์บ่อยๆ แต่อย่าเลือกที่มีปิโตรเลียม, benzocaine และ lidocaine [13] ให้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้สดๆ หรือมอยส์เจอไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองหรือว่านหางจระเข้แทน [14] ถ้าระคายผิวเป็นพิเศษ หรือหน้าบวม ให้ทาครีมสเตียรอยด์ (ครีม hydrocortisone 1%) [15]
  3. เพราะเสี่ยงเกิดแผลเป็นตามใบหน้า [16] ถ้ามีตุ่มพองหรือผิวแห้งลอก ก็ปล่อยไป รอจนหายสนิทเอง [17]
  4. ถ้าจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ให้ทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 - 50 ใส่หมวก หน้ากากอนามัย แว่นกันแดด เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และพยายามหลบแดดตามที่ร่มหรือเข้าตึกอาคารให้ได้มากที่สุด [18]
  5. มีของใช้ในบ้านหลายอย่างเลย ที่ใช้รักษาผิวไหม้แดดได้ตามธรรมชาติ ลองใช้ควบคู่ไปกับวิธีอื่นๆ ที่แนะนำมาดู [19]
    • ประคบชาคาโมไมล์หรือชามินต์อุ่นนิดๆ ที่ใบหน้า โดยชงชาคาโมไมล์สักถ้วย ทิ้งไว้ให้เย็นลงเท่าอุณหภูมิห้อง จากนั้นเอาสำลีก้อนมาจุ่ม นำไปประคบหรือซับๆ ตามใบหน้า [20]
    • ประคบด้วยนมสด [21] เอาผ้าก๊อซหรือผ้าขนหนูจุ่มนมสดเย็นๆ แล้วบิดหมาด จากนั้นนำไปประคบใบหน้า นมจะช่วยสร้างชั้นป้องกันให้ผิว แถมช่วยให้ผิวเย็น รักษาบรรเทาอาการระคายเคือง [22]
    • พอกหน้าด้วยมันฝรั่งที่ปั่นจนเหนียวข้นเป็น paste เริ่มจากหั่นและปั่นมันฝรั่งดิบ จากนั้นใช้สำลีก้อนจุ่มจนชุ่ม แล้วนำมาโปะที่หน้า [23]
    • มาสก์หน้าด้วยแตงกวา ปอกแล้วบดหรือปั่นแตงกวาให้เขละๆ จากนั้นพอกหน้าไว้ paste แตงกวาจะช่วยคลายร้อนให้ผิวได้ [24]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันผิวหน้าไหม้แดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกป้องผิวหน้าและผิวกายโดยทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 - 50 เสมอเมื่อรู้ตัวว่าต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยทาครีมกันแดดอย่างน้อย 15 นาทีก่อนออกแดด และทาซ้ำทุก 90 นาที ถ้าจะไปว่ายน้ำหรือทำอะไรให้เหงื่อออก ต้องใช้ครีมกันแดดแบบกันน้ำ [25]
  2. หมวกปีกกว้าง (4 นิ้ว) จะช่วยป้องกันไม่ให้หนังศีรษะ หู และคอไหม้แดด [26]
  3. ที่กันรังสียูวีได้ ดวงตาจะได้ไม่โดนแดดจัดๆ จนเสียสายตา [27]
  4. เพราะไหม้แดดได้เหมือนส่วนอื่นๆ เพราะงั้นต้องทาลิปมันเสมอ โดยเลือกที่มี SPF อย่างน้อย 30 [28]
  5. ถ้าเป็นไปได้ อย่าพยายามอยู่กลางแจ้งนานๆ ช่วง 10 โมง - 4 โมงเย็น เพราะเป็นช่วงที่ไหม้แดดง่ายกว่าช่วงเวลาอื่นของวัน [29]
  6. เวลาออกแดดต้องหมั่นสังเกตผิวตัวเอง ถ้าเริ่มแสบ คัน หรือแดง แสดงว่าเริ่มไหม้แดด ต้องรีบเข้าร่มด่วน [30]
  7. ถึงร่มจะช่วยให้ผิวไม่โดนแดดเผาโดยตรง แต่พื้นทรายก็สะท้อนแสงแดดมาไหม้ผิวได้ เพราะงั้นต้องทาครีมกันแดดเสมอ กระทั่งกางร่มเป็นประจำก็เถอะ [31]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ผิวไหม้แดด ป้องกันง่ายกว่ามานั่งรักษาทีหลัง เพราะงั้นต้องดูแลตัวเองแต่เนิ่นๆ ทุกครั้งที่ออกแดด [32]
  • ถึงจะแต่งหน้าปกปิดผิวไหม้แดดได้ ก็ไม่แนะนำ (ทั้งรองพื้น แป้ง และบลัชออน) ควรรอให้หายดีก่อน โดยเฉพาะถ้าไหม้แดดรุนแรง [33]
  • ใครๆ ก็เสี่ยงผิวไหม้แดดทั้งนั้น แต่เด็กเล็กและผู้ใหญ่ที่ผิวขาวหรือผิวบาง ต้องระวังเป็นพิเศษ (ทาครีมกันแดด สวมหมวก เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และอื่นๆ) เพราะผิวไหม้แดดง่ายกว่าคนอื่น [34]
  • เวลาออกแดด ต้องทาครีมกันแดดเสมอ เพื่อป้องกันผิวไหม้แดด
โฆษณา

คำเตือน

  • ให้รีบหาหมอทันที ถ้าคลื่นไส้ วิงเวียน ปวดหัว ไข้จับสั่น หน้าบวม หรือเจ็บปวดรุนแรง เพราะคุณอาจเป็นฮีทสโตรกได้ [35]
โฆษณา
  1. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  2. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  3. http://www.huffingtonpost.com/2014/08/17/sunburn-treatment_n_5679751.html
  4. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  5. http://www.medicinenet.com/10_home_remedies_for_sunburn_treatment/views.htm
  6. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  7. http://www.huffingtonpost.com/2014/08/17/sunburn-treatment_n_5679751.html
  8. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  9. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  10. http://everydayroots.com/sunburn-remedies
  11. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/other-home-treatment-measures-for-a-first-degree-burn-or-sunburn-topic
  12. http://everydayroots.com/sunburn-remedies
  13. http://www.medicinenet.com/10_home_remedies_for_sunburn_treatment/views.htm
  14. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/other-home-treatment-measures-for-a-first-degree-burn-or-sunburn-topic
  15. http://www.medicinenet.com/10_home_remedies_for_sunburn_treatment/views.htm
  16. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/sunburn-prevention
  17. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/sunburn-prevention
  18. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/sunburn-prevention
  19. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003227.htm
  20. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/sunburn-prevention
  21. http://www.skincancer.org/prevention/sunburn/five-ways-to-treat-a-sunburn
  22. http://www.cnn.com/2012/07/10/living/guide-to-sun-safety/
  23. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003227.htm
  24. http://www.huffingtonpost.com/2013/06/26/makeup-for-sunburn_n_3502676.html
  25. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003227.htm
  26. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/sun-poisoning

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,391 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา