ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทุกคนทราบดีว่าแสงแดดเป็นอันตรายต่อผิวหนังมากเพียงใด แต่หลายคนกลับหลงลืมและละเลยการทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ซึ่งการรับรังสีอัลตราไวโอเลต (UVR) ในปริมาณมากเกินไปจะส่งผลให้ดีเอ็นเอ (DNA) ถูกทำลายจนเสียหายได้ [1] ในขณะที่การสัมผัสถูกแสงแดดที่ไม่รุนแรงมากนักในช่วงระยะเวลาสั้นๆ สามารถช่วยเปลี่ยนสีผิวของคุณให้ดูแทนยิ่งขึ้น (เม็ดสีผิวถูกผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเลต) แต่การสัมผัสถูกรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นระยะเวลานานเกินไปจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังทุกประเภทจนอาจนำไปสู่โรคมะเร็งผิวหนังได้ [2] อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะผิวไหม้แดดจะก่อให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนัง แต่ผิวไหม้จากแสงแดดโดยส่วนใหญ่นั้นถูกจัดเป็นแผลไหม้ระดับที่ 1 ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงของแผลไหม้ที่ต่ำที่สุด เมื่อผิวหนังของคุณสัมผัสถูกแสงแดดติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกิดอาการผิวไหม้แดดที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บแสบที่ผิวหนัง แม้ว่าคุณจะไม่สามารถฟื้นฟูผิวของคุณให้กลับมาหายดีดังเดิมได้โดยทันที แต่คุณสามารถบรรเทาอาการเจ็บแสบให้ดีขึ้นได้ในช่วงที่ผิวของคุณกำลังใช้เวลาในการฟื้นฟู ซึ่งโชคดีที่แผลไหม้จากแสงแดดโดยส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายเองได้โดยไม่ต้องพึ่งวิธีทางการแพทย์

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รักษาผิวไหม้แดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ชำระล้างผิวด้วยสบู่สูตรอ่อนโยนและน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น [3]
    • คุณสามารถใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบผิวตรงบริเวณที่ไหม้แดดได้เช่นกันโดยหลีกเลี่ยงการถูแรงๆ เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองบนผิวหนัง นำผ้าขนหนูชุบน้ำและวางประคบเบาๆ บนผิวหนังโดยเช็คให้แน่ใจว่าอุณหภูมิของน้ำไม่เย็นจนเกินไปเพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงต่อผิวหนังของคุณ (การสัมผัสถูกความเย็นโดยทันทีหลังผิวไหม้แดดจะชะลอกระบวนการฟื้นฟูของผิวหนังและเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ผิวหนังจะถูกทำลายจากความเย็นจัด) [4]
    • หากผิวบริเวณที่ไหม้แดดเกิดการระคายเคือง คุณสามารถบรรเทาอาการได้โดยการหมั่นอาบน้ำเย็นบ่อยๆ (น้ำไม่ควรเย็นจัดจนเกินไป) [5]
    • หลังอาบน้ำเสร็จแล้ว พยายามอย่าเช็ดตัวให้แห้งสนิทจนเกินไปเพื่อคงเหลือความชุ่มชื้นเล็กน้อยไว้ในผิวของคุณ
  2. ปรึกษาแพทย์หากเกิดตุ่มพองตรงบริเวณที่ไหม้แดด. หากผิวไหม้แดดมีอาการที่รุนแรง คุณอาจพบตุ่มพองเกิดขึ้นบนผิวหนังรวมถึงมีน้ำหนองไหลออกมาจากตุ่มพอง เพื่อป้องกันการเกิดตุ่มพอง คุณควรรักษาความสะอาดผิวบริเวณที่ไหม้แดดโดยหมั่นชำระล้างด้วยน้ำเปล่าและสบู่สูตรอ่อนโยน การเกิดตุ่มพองบนผิวหนังแสดงว่าผิวของคุณกำลังเกิดแผลไหม้ระดับที่ 2 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คุณจึงควรไปพบแพทย์โดยทันทีหากมีตุ่มหนองเกิดขึ้น โดยแพทย์ของคุณจะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะและอาจทำการเจาะตุ่มพองให้แตกหากจำเป็น
    • คุณสามารถใช้ยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนในการรักษาผิวไหม้แดดได้ ยาประเภทนี้มีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะและมีส่วนช่วยในการป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่ไหม้แดด อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาประเภทนี้กับผิวหน้าของคุณ [6]
    • การเจาะตุ่มพองให้แตกออกด้วยตัวเองเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ เนื่องจากผิวหนังกำลังได้รับความเสียหาย ผิวของคุณในช่วงนี้จึงไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก วิธีที่ดีที่สุดคือให้แพทย์ของคุณเป็นผู้เจาะตุ่มพองให้แตกออก เนื่องจากแพทย์จะจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่ปลอดเชื้อให้กับคุณ
  3. หากไม่มีแผ่นประคบเย็นสำเร็จรูป คุณสามารถใช้ผ้าขนหนูที่แช่ในน้ำเย็นจัดมาประคบตรงบริเวณที่ไหม้แดดแทนได้เช่นกัน [7]
  4. เจลว่านหางจระเข้หรือมอยเจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนประกอบหลังจากถั่วเหลืองจะช่วยให้ผิวบริเวณที่ไหม้แดดรู้สึกเย็นลง การวิจัยเบื้องต้นบางส่วนยืนยันว่าว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้ผิวไหม้แดดฟื้นฟูเร็วยิ่งขึ้น โดยจากผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ใช้ว่านหางจระเข้ในรักษาผิวไหม้แดดมีอาการดีขึ้นกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ว่านหางจระเข้เร็วกว่าถึง 9 วัน (โดยเฉลี่ย)
    • จากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ว่านหางจระเข้เหมาะสำหรับการรักษาแผลไหม้ระดับเล็กน้อยและอาการระคายเคืองบนผิวหนัง และควรหลีกเลี่ยงการนำไปใช้กับแผลเปิด
    • เมื่อเลือกซื้อมอยเจอร์ไรเซอร์สูตรถั่วเหลือง ควรมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติและออร์แกนิค อย่างเช่นผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ Aveeno ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง จึงช่วยให้ผิวหนังที่ได้รับความเสียหายฟื้นฟูเร็วยิ่งขึ้น
    • หลีกเลี่ยงการใช้โลชั่นหรือครีมที่มีส่วนประกอบของเบนโซเคนหรือลิโดเคน แม้ว่าจะใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถส่งผลให้เกิดการระคายเคืองและการแพ้บนผิวหนังได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์จากปิโตเลียมออยล์ (หรือที่รู้จักกันในยี่ห้อวาสลีน) เนื่องจากปิโตรเลียมออยล์จะอุดตันในรูขุมขนและกักเก็บความร้อนไว้ในผิวหนัง จึงเป็นการขัดขวางกระบวนการฟื้นฟูของผิวหนังให้ช้าลงกว่าปกติ [9]
  5. รักษาความสะอาดและความชุ่มชื้นของผิวบริเวณที่ไหม้แดด. หลีกเลี่ยงการใช้โลชั่นที่มีส่วนประกอบของน้ำหอมเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองมากยิ่งขึ้น
    • แพทย์โดยส่วนใหญ่มักแนะนำให้ใช้เจลว่านหางจระเข้ มอยเจอร์ไรเซอร์สูตรถั่วเหลือง หรือโลชั่นสูตรโอ๊ตมีล เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีคุณสมบัติช่วยรักษาความชุ่มชื้นพร้อมทั้งมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดการระคายเคืองที่ค่อนข้างต่ำ จึงช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูของผิวหนังให้ดียิ่งขึ้น
    • พยายามอาบน้ำเย็นบ่อยๆ หากคุณยังรู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนัง โดยคุณสามารถอาบน้ำเย็นได้บ่อยครั้งตามต้องการเพื่อคงความชุ่มชื้นบนผิวหนังของคุณ
  6. การสัมผัสถูกแสงแดดอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผิวหนังกำลังฟื้นฟูจะทำให้ผิวหนังได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นจนอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ เนื่องจากในช่วงนี้ผิวหนังของคุณต้องการการปกป้องเป็นพิเศษ คุณจึงควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดผิวหนังเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังสัมผัสถูกแสงแดดหรือรังสียูวีมากเกินไป
    • เลือกสวมใส่เนื้อผ้าที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง (พยายามหลีกเลี่ยงขนแกะหรือขนแคชเมียร์)
    • ไม่มีเนื้อผ้าประเภทใดที่เหมาะสมเป็นพิเศษ แต่การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม นุ่มสบาย และระบายอากาศได้ดี (เช่น ผ้าฝ้าย) จะช่วยให้คุณรู้สึกสบายตัวรวมถึงเพิ่มชั้นป้องกันผิวของคุณจากแสงแดด
    • เนื่องจากผิวหน้าเป็นส่วนที่บอบบางเป็นพิเศษ คุณจึงควรสวมหมวกเพื่อป้องกันผิวหน้าของคุณจากการถูกทำลายด้วยรังสียูวีจากแสงแดด
    • เมื่อเลือกเสื้อผ้าสำหรับสวมใส่เพื่อป้องกันแสงแดด ลองทดสอบโดยการยกเสื้อผ้าขึ้นสูงให้แสงแดดส่องผ่าน โดยเสื้อผ้าที่ช่วยป้องกันแสงแดดได้ดีจะมีแสงทะลุผ่านเพียงเล็กน้อย [10]
    • หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านระหว่าง 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็นซึ่งเป็นช่วงที่แสงแดดแรงที่สุด
  7. ผิวไหม้แดดโดยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติได้เองภายในเวลาเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ หรืออาจนานประมาณ 3 สัปดาห์หากผิวไหม้แดดรุนแรงจนเป็นแผลไหม้ระดับที่ 2 ที่เกิดพร้อมตุ่มพอง อย่างไรก็ตาม หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี แผลไหม้ระดับที่ 2 ที่เกิดพร้อมตุ่มพองก็จะหายดีเร็วยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้วผิวไหม้แดดจะหายดีโดยแทบไม่หลงเหลือรอยแผลเป็น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

บรรเทาอาการเจ็บปวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ยาตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนฉลาก
    • ไอบูโพรเฟน — ยาไอบูโพรเฟนมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ รอยแดง และอาการเจ็บ ขนาดการใช้ยาที่แนะนำในผู้ใหญ่สำหรับรักษาผิวไหม้แดดคือครั้งละ 400 มิลลิกรัมทุกๆ 6 ชั่วโมงหรือใช้ยาตามคำแนะนำจากแพทย์หรือที่ระบุไว้บนฉลาก อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ใช้ยาไอบูโพรเฟนในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน [11]
    • นาพรอกเซน — แพทย์ของคุณอาจสั่งจ่ายยานาพรอกเซนแทนหากยาไอบูโพรเฟนไม่เห็นผล ยานาพรอกเซนมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและบรรเทาอาการเจ็บที่สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างยาวนานหลังการใช้ยา คุณสามารถหาซื้อยานาพรอกเซนได้ตามร้านยาทั่วไป [12]
      • เนื่องจากยานาพรอกเซนจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) จึงอาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการไม่สบายท้องได้ [13]
  2. กรดอะซิติกในน้ำส้มสายชูมีคุณสมบัติช่วยในการบรรเทาอาการเจ็บและคันรวมถึงการอักเสบ เพียงเทแอปเปิ้ลไซเดอร์วีนีการ์ลงในอ่างอาบน้ำที่เติมน้ำอุ่นแล้วลงแช่น้ำ หรือจะใช้สำลีจุ่มน้ำส้มสายชูแล้วนำไปเช็ดบนผิวไหม้แดดบริเวณที่รู้สึกเจ็บมากที่สุดก็ได้เช่นกัน โดยพยายามหลีกเลี่ยงการถูแรงๆ เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีตรงผิวบริเวณที่ไหม้แดด [14]
  3. วิชฮาเซลมีคุณสมบัติช่วยในการต้านการอักเสบ เพียงใช้ผ้าขนหนูหรือสำลีจุ่มวิชฮาเซลแล้วนำไปประคบบนผิวนาน 20 นาทีวันละ 3-4 ครั้งเพื่อลดอาการเจ็บและคัน [15]
    • การใช้วิชฮาเซลมีข้างเคียงเพียงเล็กน้อยและปลอดภัยสำหรับเด็ก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำความเข้าใจในอันตรายของผิวไหม้แดด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผื่นแพ้แสงแดดเป็นคำเรียกรวมๆ ของผิวไหม้แดดและปฏิกิริยาตอบสนองต่อรังสียูวีที่รุนแรง หากเริ่มเกิดตุ่มพองบนผิวหนังของคุณ แผลไหม้มีอาการเจ็บอย่างรุนแรง หรือมีไข้และอาการเหน็ดเหนื่อยหรือกระหายน้ำอย่างรุนแรงเกิดขึ้นร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าภาวะผิวไหม้แดดของคุณกำลังมีอาการที่ค่อนข้างรุนแรงและเป็นอันตราย ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรม นอกจากนี้ อาการเหล่านี้ยังอาจมีสาเหตุเกิดจากการเผาผลาญของร่างกายที่ทำให้เกิดการขาดไนอาซินและวิตามินบี 3 สำหรับอาการทั่วไปและการรักษาเบื้องต้นนั้นได้มีการอธิบายในบทความนี้แล้ว ส่วนอาการที่รุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์มีดังนี้
    • ตุ่มพอง — ผิวของคุณอาจมีอาการคันและตุ่มพองเกิดขึ้นตรงบริเวณที่สัมผัสถูกแสงแดดในปริมาณมาก
    • ผื่น — เช่นเดียวกับตุ่มพอง ผิวของคุณอาจมีผื่นเกิดขึ้นทั้งที่มีและที่ไม่มีอาการคัน โดยผื่นที่เกิดขึ้นจะดูคล้ายคลึงกับผื่นคันเอ็คซีมา
    • อาการบวม — ผิวของคุณอาจมีอาการเจ็บและรอยแดงเกิดขึ้นตรงบริเวณที่สัมผัสถูกแสงแดดในปริมาณมาก
    • คลื่นไส้ มีไข้ ปวดศีรษะ และหนาวสั่น — อาการเหล่านี้อาจมีสาเหตุเกิดจากการแพ้แสงแดดและการสัมผัสถูกความร้อนในปริมาณมากเกินไป
    • หากสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ให้คุณรีบไปพบแพทย์โดยทันทีเพื่อประเมินระดับความรุนแรงของภาวะผิวไหม้แดดของคุณ
  2. โรคมะเร็งผิวหนังที่พบบ่อยทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ basal cell carcinoma และ squamous cell carcinoma มีสาเหตุโดยตรงมาจากการสัมผัสถูกแสงแดดในปริมาณมากเกินไป มักเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้า หู และมือ การเกิดภาวะผิวไหม้แดดติดต่อกันมากกว่า 5 ครั้งยังทำให้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังที่รุนแรงที่สุดอย่างเมลาโนมาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ยิ่งไปกว่านั้น หากภาวะผิวไหม้แดดของคุณมีอาการที่รุนแรง โอกาสเสี่ยงในการเกิดเมลาโนมาก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นอีก [16]
  3. โรคลมแดดเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียการควบคุมอุณหภูมิและส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการสัมผัสถูกแสงแดดในปริมาณมากเกินเป็นสาเหตุทำให้เกิดทั้งผิวไหม้แดดและโรคลมแดด หลายๆ คนที่ประสบกับผิวไหม้แดดจึงมักเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมแดดเช่นกัน สัญญาณหลักๆ ของโรคลมแดดมีดังนี้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ป้องกันไม่ให้ผิวบริเวณที่ไหม้แดดสัมผัสถูกแสงแดดจนกระทั่งผิวไหม้แดดหายดี
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำแข็งประคบลงบนผิวบริเวณที่ไหม้แดดเนื่องจากความเย็นจากน้ำแข็งจะสร้างความเสียหายให้กับผิวหนังของคุณ เมื่อต้องการปรับอุณหภูมิผิวให้เย็นลง ให้คุณใช้วิธีการเปิดน้ำเย็นให้ไหลผ่านแทน
  • ทาครีมกันแดดสูตร broad spectrum ที่มีค่า SPF 30 หรือมากกว่า และอย่าลืมทาครีมกันแดดซ้ำระหว่างวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เหงื่อออกมากหรือเล่นกีฬาทางน้ำ
  • ในบางครั้งอาจต้องใช้เวลานานถึง 48 ชั่วโมงกว่าอาการของผิวไหม้แดดจะปรากฏให้เห็น
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Matsumura Y, Ananthaswamy HN. Toxic effects of ultraviolet radiation on the skin. Toxicol Appl Pharmacol. 2004 Mar 15. 195(3):298-308. [Medline]
  2. Narbutt J, Lesiak A, Sysa-Jedrzejowska A, Boncela J, Wozniacka A, Norval M. Repeated exposures of humans to low doses of solar simulated radiation lead to limited photoadaptation and photoprotection against UVB-induced erythema and cytokine mRNA up-regulation. J Dermatol Sci. 2007 Mar. 45(3):210-2. [Medline].
  3. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003227.htm
  4. http://surgery.ucsd.edu/divisions/trauma-burn/about/burn-center/Pages/minor.aspx
  5. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  6. http://www.emedicinehealth.com/sunburn/page8_em.htm#sunburn_medical_treatment
  7. http://www.nhs.uk/conditions/Sunburn/Pages/Introduction.aspx
  8. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  9. http://surgery.ucsd.edu/divisions/trauma-burn/about/burn-center/Pages/minor.aspx

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,178 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา