ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Eczema ก็คือผื่นผิวหนังอักเสบ ที่เกิดจากผิวหนังขาดน้ำมันและความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ ถ้าผิวหนังแข็งแรงสุขภาพดี จะรักษาสมดุลของ 2 อย่างที่ว่าได้ เลยป้องกันผิวหนังจากมลภาวะ อาการระคายเคือง และการติดเชื้อได้ ส่วน scalp eczema หรือผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะ เกิดได้จากการอักเสบของต่อมไขมัน (seborrheic dermatitis) หรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis) อย่างหลังเป็นเพราะพันธุกรรม ผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะชนิดอื่นๆ ก็เช่น รังแค (dandruff), โรคสะเก็ดเงิน (seborrheic psoriasis) และ “cradle cap” ในทารก [1] ผื่นแพ้อักเสบที่ว่าบางทีก็พบบริเวณหน้า หน้าอก หลัง ท้องแขน และขาหนีบด้วย [2] เป็นแล้วผู้ป่วยจะทรมาน ไม่สบายตัว หรือบางคนก็รู้สึกอาย แต่ไม่ใช่โรคติดต่อแต่อย่างใด และไม่ได้เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดอย่างที่หลายคนเข้าใจ [3] พอคุณรู้จักสาเหตุและอาการของผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะแล้ว ก็จะบรรเทาอาการและรักษาตัวได้อย่างเห็นผล

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

รู้จักอาการและสาเหตุ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. scalp eczema ทำให้เกิดความผิดปกติบนหนังศีรษะหรือผิวหนังส่วนอื่นๆ อาการที่พบบ่อยก็เช่น ผิวแห้งแตก ตกสะเก็ด (รังแค), คัน, แดงเป็นปื้น, ผิวแข็งเป็นเกล็ดหรือแห้งแข็ง, ผิวมันเป็นปื้น หรือผมร่วง [4]
    • อาการอักเสบจะทำให้เกิดปื้นแดงเกิดกรดไขมันสูง ทำให้ผิวมันและสีออกเหลืองในบางเคส [5]
    • ในเด็กอ่อน มักเกิดกับหนังศีรษะ เป็นเกล็ดแข็ง แดง หรือในรายที่รุนแรงหน่อยจะเป็นเกล็ดหนาๆ สีขาว หรือเหนียวๆ สีเหลือง
    • โรคผิวหนังอื่นๆ เช่น เชื้อรา, สะเก็ดเงิน, ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และ lupus หรือโรคพุ่มพวง บางทีอาการก็คล้ายกับ scalp eczema แต่ต่างกันที่ตำแหน่งที่พบ และต่างชั้นผิวหนังกัน [6]
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าอาการของคุณเป็นอาการของ scalp eczema หรือเปล่า ก็ควรไปหาหมอ จะได้ตรวจหาสาเหตุของอาการ และรู้ว่ารุนแรงจนต้องรักษาเพิ่มเติมหรือเปล่า
  2. นอกจากผิวขาดน้ำมันและความชุ่มชื้นตามธรรมชาติแล้ว คุณหมอยังมักวินิจฉัยว่าเชื้อรา Malassezia furfur นี่แหละที่ก่อให้เกิดต่อมไขมันอักเสบ (seborrheic eczema) [7] เชื้อรา Malassezia มักพบในผิวหนังชั้นนอก ส่วนในเคสที่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะ เชื้อราชนิดนี้จะทะลุผ่านหนังกำพร้า แล้วหลั่งสารที่ทำให้กรดไขมันเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดอาการอักเสบ กระตุ้นการสร้างผิวหนัง ทำให้ยิ่งแห้งและหลุดลอก
    • ถ้าเป็นผื่นผิวหนังอักเสบจากพันธุกรรม แสดงว่าคนในครอบครัวมีแนวโน้มจะเกิดอาการ ไม่ได้เป็นเพราะเชื้อรา คุณหมอมักวินิจฉัยว่าเป็นเพราะเกราะป้องกันของผิวบกพร่องจากยีนส์ที่เปลี่ยนแปลงในโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของผิว [8]
  3. บางเคสคุณหมอก็พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ว่าทำไมถึงเกิดต่อมไขมันอักเสบได้ แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงได้ เช่น [9]
    • น้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน
    • พักผ่อนไม่เพียงพอ
    • สภาวะแวดล้อม (เช่น อากาศแห้ง)
    • ความเครียด
    • โรคผิวหนังอื่นๆ (เช่น สิว)
    • โรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, HIV, โรคพาร์กินสัน หรืออาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  4. อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผิวที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์. แอลกอฮอล์จะขจัดน้ำมันตามธรรมชาติที่ปกป้องผิวออกไป ทำให้หนังศีรษะแห้ง สุดท้ายก็ลอกและคันกว่าเดิม ดีไม่ดีจะเกิดต่อมไขมันอักเสบด้วย [10]
    • เวลาอาบน้ำสระผมอย่าเกาหรือถูแรงๆ ห้ามเอาเล็บขูดหรือเกาแกรกๆ เด็ดขาด! ต้องค่อยๆ ใช้นิ้วนวดวนตอนสระผม จะได้ชะล้างสิ่งสกปรกโดยไม่กำจัดน้ำมันตามธรรมชาติจากหนังศีรษะ
  5. เวลาตรงไหนแห้งคัน จะห้ามใจไม่ให้เกาได้ก็ยากน่าดู แต่บอกเลยว่าต้องพยายาม ไม่งั้นบริเวณที่แห้งคันอาจระคายเคืองจนเลือดออกได้
    • ถ้าเกาไม่หยุด ระวังอาการลุกลามกลายเป็นการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ได้
  6. โรคนี้ไม่เชิงว่าจะรักษาได้ “หายขาด” ผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะจะมาแล้วไปหลังรับการรักษา แต่ก็มักย้อนกลับมาอีก ซึ่งคุณก็ต้องรักษาต่อไป โชคดีที่เดี๋ยวนี้มีหลายวิธีใช้รักษาได้แบบยั่งยืน [11] [12]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

รักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะโดยซื้อยามาใช้เอง (สำหรับผู้ใหญ่)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงจะซื้อยามาใช้เองได้ แต่ก็ต้องระวังเรื่องโรคประจำตัวและยาตัวอื่นๆ ที่ใช้อยู่ เพราะงั้นควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนซื้อยามารักษาด้วยตัวเอง
    • ถ้าคุณเป็นภูมิแพ้/แพ้ยา มีโรคประจำตัว กินยาอะไรอยู่ หรือตั้งครรภ์/ให้นม ยิ่งต้องปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มรักษาผื่นผิวหนังอักเสบด้วยตัวเอง
    • ห้ามซื้อยามารักษาเด็กเองโดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อน เพราะการรักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะในเด็ก ก็จะมีขั้นตอนที่แตกต่างออกไปจากผู้ใหญ่ ให้อ่านวิธีการ "รักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะในเด็กอ่อนและเด็กโต" ด้านล่าง
  2. มีแชมพูหรือน้ำมันหลายตัวที่คุณซื้อมารักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะเองได้ ถือเป็นการรักษาด้วยตัวเองตามธรรมชาติก่อน แล้วค่อยรักษาด้วยแชมพูยาของคุณหมอต่อไป แชมพูที่ซื้อมาใช้เองมักเป็นแบบใช้ได้ทุกวันและใช้ต่อเนื่องในระยะยาวได้
    • แชมพูตามร้านขายยาพวกนี้ห้ามใช้กับเด็กเด็ดขาด! ให้ใช้รักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะในผู้ใหญ่เท่านั้น
  3. อันนี้ไม่สำคัญว่าใช้น้ำมันหรือแชมพูสูตรไหน เราจะมาแนะนำวิธีสระผมแบบถูกวิธีให้คุณเอง เพราะถ้าเกาแรงไปหรือใช้แชมพูที่มีแอลกอฮอล์ อาจทำให้อาการหนักกว่าเดิม
    • ขั้นแรก ให้ล้างผมและหนังศีรษะให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น (อย่าถึงกับร้อน)
    • ลงแชมพูให้ทั่วผมและหนังศีรษะ จากนั้นนวดวนเบาๆ ให้ทั่วๆ อย่าถูไถหรือเกาแรงๆ เพราะผิวหนังที่แห้งแตกเป็นเกล็ดจะเลือดออกหรือติดเชื้อได้
    • ทิ้งแชมพูไว้สักพักตามเวลาในคำแนะนำการใช้งาน ปกติคือ 5 นาทีขึ้นไป
    • ล้างผมให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น (ย้ำอีกทีว่าอย่าร้อน) จากนั้นเอาผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง
    • ถ้าแชมพูน้ำมันดิน (coal tar) เข้าปากจะเป็นอันตรายได้ เพราะงั้นระวังอย่าให้เข้าตาและปากตอนสระผม
    • แชมพูบางชนิด เช่น แชมพูที่มี ketoconazole จะใช้แล้วเห็นผลกว่าถ้าสลับใช้กับแชมพูดูแลหนังศีรษะชนิดอื่น อาทิตย์ละ 2 ครั้ง [13]
  4. เป็นแชมพูสำหรับกำจัดเชื้อราที่มักเป็นสาเหตุก่อผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะ ถ้าเชื้อราตายหมด ผิวหนังก็มีโอกาสฟื้นตัว ไม่แห้ง อักเสบ หรือเป็นเกล็ดคันเพิ่มขึ้น
    • อาการข้างเคียงที่พบบ่อยก็เช่น เส้นผมและหนังศีรษะแห้งหรือมันกว่าปกติ อาการข้างเคียงอื่นๆ ก็เช่น ผมสีอ่อนลง ผมร่วง หรือเกิดอาการระคายเคือง [14]
    • ต้องใช้แชมพูยาที่ว่าอย่างน้อย 2 ครั้งต่ออาทิตย์ ถึงจะเห็นผล
  5. Tea tree oil ( Melaleuca alternifolia ) มีสรรพคุณต้านเชื้อราตามธรรมชาติ ช่วยรักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะได้ มีงานวิจัยทางคลินิกที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยอาการดีขึ้นเมื่อใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ tea tree oil เข้มข้น 5% [15] โดยผลข้างเคียงอย่างเดียวที่พบคือหนังศีรษะระคายเคือง [16]
    • เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทุกวันได้
    • tea tree oil ห้ามใช้กิน เพราะจะเป็นพิษ และระวังอย่าให้เข้าตาและปาก
    • tea tree oil มีสรรพคุณคล้ายเอสโตนเจน และต้านฮอร์โมนเพศชาย ถ้าเด็กผู้ชายที่ยังไม่เข้าช่วงวัยรุ่นใช้ อาจทำให้มีผลข้างเคียงคือหน้าอกโตได้ [17]
  6. Egg Oil ( Ovum Oil ) มีสารภูมิต้านทาน (immunoglobulins) ตามธรรมชาติที่ช่วยรักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะได้ถ้าใช้เป็นประจำ
    • ให้ใช้อาทิตย์ละ 2 ครั้ง โดยชะโลมทิ้งไว้ข้ามคืน และใช้ต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี
    • Egg oil มีกรดไขมันโอเมก้า-3 Docosahexanoic Acid สูง ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์เยื่อบุผิวใหม่
  7. แชมพูขจัดรังแคส่วนใหญ่จะมี pyrithione zinc เป็น active ingredient หรือสารออกฤทธิ์ นักวิทยาศาสตร์เองก็ไม่รู้แน่ชัดว่าช่วยเรื่องผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะในแง่ไหน แต่น่าจะเป็นเพราะสรรพคุณต้านเชื้อราและแบคทีเรีย [18] นอกจากนี้ยังช่วยชะลอการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ทำให้หนังศีรษะลอกน้อยลง ผลข้างเคียงเดียวที่พบคือหนังศีรษะระคายเคือง
  8. แชมพูที่ว่าจะช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าและฟื้นฟูอาการแห้งลอกของหนังศีรษะชั้นบน จะใช้ให้เห็นผลต้องเลือกแชมพูที่เข้มข้น 1.8 - 3% ผลข้างเคียงเดียวที่พบคือผิวหนังระคายเคือง
  9. Ketoconazole ใช้รักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะได้เห็นผลดีมาก ตามร้านขายยามีทั้งแบบแชมพู โฟม ครีม และเจล ในตัวยาที่คุณหมอจ่ายให้ก็มี [21]
    • ถ้าเป็นแบบที่ซื้อมาใช้เองจากร้านขายยา ตัวยาจะอ่อนกว่าแชมพูหรือครีมแบบที่คุณหมอจ่ายให้ [22]
    • ผลข้างเคียงก็เช่น ลักษณะเส้นผมเปลี่ยนไป, สีซีดจาง, หนังศีรษะระคายเคือง หรือผม/หนังศีรษะแห้งหรือมันกว่าปกติ [23]
    • แชมพูที่มี ketoconazole 1% - 2% จะเห็นผลและปลอดภัยกว่า โดยเฉพาะในเด็กอ่อน ให้ใช้วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 2 อาทิตย์ [24]
  10. ถึงจะไม่ใช่แชมพู น้ำผึ้งดิบก็มีสรรพคุณต้านแบคทีเรียและเชื้อรา [25] ใช้บรรเทาอาการคันและผิวแห้งลอกได้ ไม่ถึงกับรักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะ แต่ช่วยลดรอยโรคที่ผิวหนังได้ [26] [27]
  11. เป็นแชมพูช่วยลดการสร้างเซลล์ผิวบนหนังศีรษะ และลดการเจริญเติบโตของเชื้อรา ช่วยให้หนังศีรษะแห้งแข็งเป็นเกล็ดจางและนุ่มขึ้น แต่เทียบกันแล้วไม่ค่อยปลอดภัยเท่าตัวยาอื่นๆ ที่ซื้อมาใช้เองได้ เพราะงั้นควรลองรักษาด้วยตัวเลือกอื่นก่อน [31]
    • ให้ใช้แชมพูนี้วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 4 อาทิตย์
    • อาการข้างเคียงที่อาจเกิดก็เช่น คัน ผมร่วงเป็นหย่อมๆ เกิดผื่นแพ้สัมผัสที่นิ้ว และสีผิวด่างหรือเปลี่ยนไป [32]
    • ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้แชมพูน้ำมันดิน และห้ามใช้กับเด็กและคนท้องหรือให้นม ที่สำคัญคือใช้แล้วอาจส่งผลต่อยาตัวอื่นที่ใช้อยู่ หรือทำให้เกิดอาการแพ้ได้ [33]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

รักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะในทารกและเด็กเล็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะในทารกและเด็กเล็ก มักหายไปเองใน 2 - 3 อาทิตย์ แต่บางทีก็ต้องรอนานเป็น 2 - 3 เดือน ถึงผู้ใหญ่จะดูแล้วเป็นห่วง แต่บอกเลยว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยเดือดร้อนตอนเป็นโรคนี้เท่าไหร่ [34]
    • ถ้าอาการไม่หายไปเอง ให้ปรึกษาหมอเด็กเพื่อหาวิธีรักษาต่อไป
    • ที่เหมือนกับผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะในผู้ใหญ่ คือจะเป็น หาย แล้วกลับมาเป็นใหม่ได้อีก [35]
  2. วิธีรักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะในทารกและเด็กเล็กกว่า 2 ขวบ แน่นอนว่าต้องต่างกับของผู้ใหญ่ ห้ามใช้แชมพูยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ สำหรับผู้ใหญ่เด็ดขาด [36]
  3. ส่วนใหญ่คุณแก้อาการหนังศีรษะแห้งแข็งเป็นเกล็ดได้ โดยนวดหนังหัวเด็กเบาๆ ด้วยนิ้วมือหรือผ้าขนหนูนุ่มๆ ให้ราดน้ำอุ่นให้ผมเปียกนุ่มขึ้นก่อน แล้วค่อยนวดเบาๆ ห้ามเกาหรือถูไถแรงๆ เด็ดขาด! [37]
  4. แชมพูรักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะของผู้ใหญ่แน่นอนว่าแรงไปสำหรับผิวบอบบางของเด็ก เพราะงั้นให้ใช้แชมพูเด็กสูตรอ่อนโยนทั่วไป เช่น ของ Johnson & Johnson’s หรือ Aveeno Baby [39]
    • สระผมให้เด็กทุกวัน
    • แชมพูที่มี ketoconazole 1% - 2% นั้นใช้ได้ผลและปลอดภัยสำหรับทารก แต่ยังไงก็ควรปรึกษาหมอเด็กก่อนเริ่มรักษาด้วยตัวเอง ใช้ได้ 2 ครั้งต่อวัน ติดต่อกัน 2 อาทิตย์ [40]
  5. ถ้านวดเบาๆ แล้วเกล็ดบนหัวไม่หาย ให้ใช้ปิโตรเลียมเจลลี่หรือน้ำมันแร่ทาบริเวณที่เป็นเกล็ด [41] อย่าใช้น้ำมันมะกอก [42]
    • ทิ้งไว้ให้น้ำมันซึมลงผิวประมาณ 2 - 3 นาที จากนั้นสระผมด้วยแชมพูเด็กอ่อนๆ แล้วล้างให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น เสร็จแล้วหวีผมให้เด็กตามปกติ
    • ทุกครั้งที่ชะโลมน้ำมันต้องล้างออกให้สะอาด ไม่งั้นน้ำมันจะตกค้างสะสม จนอาการหนักกว่าเดิม
  6. อาบน้ำอุ่น (อย่าร้อน) ให้ลูกทุก 2 - 3 วัน และแต่ละครั้งอย่าอาบนานเกิน 10 นาที
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

รักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะโดยใช้ยาที่คุณหมอจ่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าซื้อยาใช้เองแล้วไม่หาย หรือไม่พอใจผลที่ได้ ก็ต้องใช้ยาที่คุณหมอจ่ายให้โดยเฉพาะ เพราะตัวยาจะแรงขึ้น มีทั้งแบบครีม โลชั่น แชมพู กระทั่งยากิน [44] หรือบางทีคุณหมออาจแนะนำให้รักษาด้วยแสง UV [45]
    • แชมพูต้านเชื้อรากับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สำหรับทาภายนอกที่คุณหมอจ่ายให้ แน่นอนว่าใช้แล้วเห็นผลทันตา แต่ข้อเสียคือราคาแพง และมีผลข้างเคียงอันตรายถ้าใช้ในระยะยาว จึงนิยมใช้ในเคสที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อแชมพูตามร้านขายยาเท่านั้น
  2. แชมพูยาที่คุณหมอนิยมใช้รักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะ มักเป็นแชมพูขจัดเชื้อรา แชมพูประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมี ciclopirox เข้มข้น 1% และ ketoconazole 2% [46]
    • ผลข้างเคียงที่มักพบคืออาการระคายเคือง แสบร้อน ผิวแห้ง และคัน
    • ให้ใช้แชมพูนี้ทุกวัน หรืออย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ตามระยะเวลาที่คุณหมอสั่ง และทำตามคำแนะนำในการใช้งานอย่างเคร่งครัด
  3. ช่วยลดการอักเสบและอาการคัน รวมถึงหนังศีรษะแห้งลอก ส่วนผสมที่พบบ่อยในแชมพูชนิดนี้คือ hydrocortisone 1.0%, betamethasone 0.1%, clobetasol 0.1% และ fluocinolone 0.01% [47]
    • ผลข้างเคียงมักเกิดหลังใช้ติดต่อกันนานๆ เช่น ผมบาง คัน เจ็บแปลบ และ skin hypopigmentation (ผิวหนังเสียจุดสี ทำให้ผิวด่างขาวหรือซีดจางลง) แต่ถ้าใครใช้แชมพูนี้แค่ช่วงสั้นๆ จะไม่ค่อยเกิดผลข้างเคียง [48]
    • แชมพูนี้มีสเตียรอยด์ และตัวยาเล็กน้อยสามารถซึมเข้ากระแสเลือดได้ ถ้าเป็นเบาหวานหรือแพ้สเตียรอยด์ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มใช้
    • แชมพูที่มีคอร์ติโคสเตียรอยด์ราคาค่อนข้างแพงกว่าแชมพูชนิดอื่น
    • ใช้ได้ทุกวัน กระทั่งวันละ 2 ครั้ง ตามระยะเวลาที่คุณหมอสั่ง
    • คุณใช้แชมพูขจัดเชื้อรากับแชมพูที่มีคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกันได้ปลอดภัยดี แถมเห็นผลกว่าเดิม ยังไงลองปรึกษาคุณหมอดู [49]
  4. ปกติคุณหมอมักแนะนำให้รักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะโดยใช้แชมพูมากกว่าวิธีอื่น แต่นอกจากนี้ก็ยังมีครีม โลชั่น น้ำมัน หรือโฟมที่มีตัวยาเดียวหรือหลายตัวยาที่แนะนำไปด้านบน
  5. light therapy หรือ phototherapy ใช้ได้กับผู้ป่วยที่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะบางเคส [53] โดยมักใช้ร่วมกับยา เช่น psoralen [54]
  6. ยังมีอีก 2 - 3 วิธีใช้รักษาผื่นผิวหนังอักเสบบนหนังศีรษะได้ แต่มักสงวนไว้ใช้ในกรณีที่วิธีอื่นไม่ได้ผลจริงๆ เพราะมีผลข้างเคียงอันตราย ถ้าสุดท้ายวิธีต่างๆ ไม่ได้ผลจริงๆ ก็คงต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อรักษาด้วยวิธีอื่นต่อไป [58]
    โฆษณา

คำเตือน

  • บทความวิกิฮาวนี้มุ่งเน้นให้ความรู้เบื้องต้นในการดูแลตัวเองเท่านั้น ยังไงก็แนะนำให้ไปตรวจรักษากับคุณหมออยู่ดี ที่สำคัญควรปรึกษาคุณหมอก่อนเริ่มรักษาตัวด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะการซื้อยาใช้หรือกินเอง
โฆษณา
  1. http://www.healthline.com/health/skin/seborrheic-dermatitis#RiskFactors3
  2. Alavian CN, McEnery-Stonelake M. Keratosis, Seborrheic. The 5-Minute Clinical Consult Standard 2015. Philadelphia: Wolters Kluwer Health, 2015, 3572–3580.
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/basics/lifestyle-home-remedies/con-20031872
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/basics/treatment/con-20031872
  5. http://www.drugs.com/sfx/selenium-sulfide-topical-side-effects.html
  6. Satchell AC, Saurajen A, Bell C, Barnetson RS. Treatment of dandruff with 5% tea tree oil shampoo. J Am Acad Dermatol. 2002;47(6):852–855.
  7. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b33-ptj35_6p348
  8. Henley DV, Lipson N, Korach KS, Bloch CA. Prepubertal gynecomastia linked to lavender and tea tree oils. N Engl J Med.2007;356(5):479–485
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  10. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  11. http://www.drugs.com/cdi/pyrithione-zinc-shampoo.html
  12. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  13. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a605014.html
  14. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-75147-179/ketoconazole-topical/ketoconazoleshampoo-topical/details
  15. Peter RU, Richard-Barthauer U. Successful treatment and prophylaxis of scalp seborrhoeic dermatitis and dandruff with 2% ketoconazole shampoo: results of a multicentre, double-blind, placebo-controlled trial. Br J Dermatol. 1995;132(3):441-445.
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11485891
  17. http://www.nursingcenter.com/JournalArticle?Article_ID=1198036
  18. Al-Waili NS. Therapeutic and prophylactic effects of crude honey on chronic seborrheic dermatitis and dandruff. Eur J Med Res. 2001;6(7):306-308.
  19. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11485891
  20. http://www.nursingcenter.com/JournalArticle?Article_ID=1198036
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11485891
  22. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  23. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  24. http://www.drugs.com/cdi/coal-tar-shampoo.html
  25. http://kidshealth.org/parent/infections/skin/cradle_cap.html
  26. http://kidshealth.org/parent/infections/skin/cradle_cap.html#
  27. Clark GW, Pope SM, Jabari KA. Diagnosis and Treatment of Seborrheic Keratosis. Am Fam Physician. 91(3), 2015:185-190.
  28. http://kidshealth.org/parent/infections/skin/cradle_cap.html#
  29. http://nationaleczema.org/eczema/child-eczema/infants-toddlers/
  30. http://kidshealth.org/parent/infections/skin/cradle_cap.html#
  31. Peter RU, Richard-Barthauer U. Successful treatment and prophylaxis of scalp seborrhoeic dermatitis and dandruff with 2% ketoconazole shampoo: results of a multicentre, double-blind, placebo-controlled trial. Br J Dermatol. 1995;132(3):441-445.
  32. Poindexter GB, Burkhart CN, Morrell DS. Therapies for Pediatric seborrheic dermatitis. Pediatr Ann. 2009;38(6):333-338.
  33. http://kidshealth.org/parent/infections/skin/cradle_cap.html#
  34. http://nationaleczema.org/eczema/child-eczema/infants-toddlers/
  35. Schwartz JR, Rocchetta H, Asawanonda P, Luo F, Thomas JH. Does tachyphylaxis occur in the long-term management of scalp seborrheic dermatitis with pyridine zinc-based treatments? Int J Dermatol 48(1), 2009:79-85.
  36. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  37. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  38. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  39. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/basics/treatment/con-20031872
  40. Ortonne JP, Nikkels AF, Reich K, et al. Efficacious and safe management of moderate to severe scalp seborrhoeic dermatitis using clobetasol propionate shampoo 0.05% combined with ketoconazole shampoo 2%: a randomized, controlled study. Br J Dermatol. 2011;165(1):171-176.
  41. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  42. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  43. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/basics/treatment/con-20031872
  44. http://health.usnews.com/health-conditions/allergy-asthma-respiratory/atopic-dermatitis-or-eczema/treatment#8
  45. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/basics/treatment/con-20031872
  46. Lee E, Koo J, Berger T. UVB phototherapy and skin cancer risk: A review of the literature. Int J Dermatol. 2005;44(5):355–360.
  47. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b44-ptj35_6p348
  48. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eczema/basics/treatment/con-20032073
  49. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/basics/treatment/con-20031872
  50. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  51. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2888552/#b29-ptj35_6p348
  52. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/seborrheic-dermatitis/basics/treatment/con-20031872
  53. Berk T, Scheinfeld, N. Seborrheic Dermatitis. P T. 2010;35(6):348-352.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,887 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา