ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยสังเกตไหม ว่าน้องเหมียวของคุณมีจุดดำเล็กๆ เต็มคางไปหมด? นั่นอาจเป็น "สิวแมว" หรือ feline acne ก็ได้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับแมวทุกพันธุ์ทุกวัยเลยทีเดียว ถึงตอนนี้เราจะยังไม่รู้แน่ชัดว่าอะไรทำให้แมวเป็นสิว แต่คนเขาสังเกตกันว่ายิ่งแก่ก็ยิ่งเป็น แต่จริงๆ แล้วก็เกิดได้ทั้งจากความเครียด ภูมิต้านทานต่ำ ดูแลรักษาความสะอาดไม่ดี กระทั่งโรคผิวหนังชนิดต่างๆ [1] ปกติแมวเป็นสิวก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่ก็ทำให้น้องเหมียวของคุณรำคาญหรือระคายเคืองได้ไม่น้อย โดยเฉพาะถ้าเกิดติดเชื้อขึ้นมาน่ะ วันนี้คุณมาถูกที่แล้ว เพราะเรามีวิธีรักษาสิวของน้องแมวมาฝากกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สัญญาณบอกว่าแมวเป็นสิว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติรอยสิวจะกระจายตามคางของน้องแมว เป็นจุดเล็กๆ (สิวหัวดำหรือสิวหนอง) แข็งๆ สีดำ ถ้าคุณลองเอามือลูบใต้คางน้องเหมียวดู จะรู้สึกได้ว่าผิวตรงนั้นสากๆ [2]
    • ปกติสิวแมวมักขึ้นตามคาง แต่บางทีก็เห่อขึ้นมาแถวปากได้เหมือนกัน
  2. ถึงจะยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัด แต่ก็มีหลายปัจจัยที่กระตุ้นให้แมวเป็นสิวขึ้นมา ปัจจัยที่ว่าก็เช่น เจ้าของไม่ค่อยดูแลรักษาความสะอาดให้ คราบอาหารเลอะเกรอะกรังตามคาง หรือภูมิต้านทานต่ำเพราะอายุมากขึ้น ปกติสิวแบบนี้ไม่เจ็บปวดหรือเป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่ถ้าแบคทีเรียทำเอาติดเชื้อเข้าเมื่อไหร่ก็จะเกิดระคายเคืองขึ้นมา [3]
    • จุดสิวของแมวเกิดขึ้นเพราะไขมัน หรือ sebaceous อุดตันในรูขุมขน ทำให้รูขุมขนบวมเต่งขึ้นมา จนเห็นได้ชัดเจนที่ผิวหนัง
  3. ถ้าสิวติดเชื้อ ผิวหนังแถวนั้นจะดูบวมเต่งเป็นพิเศษ จนคางตุ่ยผิดปกติ ประมาณว่าเหมือนแมวทำคางยื่นน่ะ นอกจากนี้ก็อาจมีมูกปนเลือดไหลออกมา เป็นน้ำหนองเหม็นๆ ตามสิวแต่ละจุด [4]
    • อาการติดเชื้อมักเกิดเวลาแมวสิวแตกหรือไขมันที่อุดตันเกิดแบคทีเรียปนเปื้อน ถ้าเป็นแบบนี้ต้องรีบรักษาทันที เพราะจะทำให้เจ็บระคายที่คางได้ ยิ่งเจ็บแมวก็ยิ่งเกาหรือถู จนทำเอาเห่อไปหมด ดีไม่ดีจะระคายเคืองลุกลาม อักเสบมากกว่าเดิมจนเป็นอันตรายได้
  4. ถ้าแมวเป็นสิวซ้ำที่เดิมบ่อยๆ รูขุมขนอาจเสียหายร้ายแรง จนเนื้อตายเป็นแผลเป็น ขนที่คางไม่งอกขึ้นมาอีก จนทำให้ผิวแถวนั้นหยาบหนาไปโดยปริยาย
    • ถ้าคุณรู้สึกได้ว่าผิวส่วนไหนของแมวเกิดหยาบ หนา หรือสากขึ้นมา น่าจะลองเอาไปหาหมอหน่อย เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ต้องรับการรักษา อย่างการแพ้อาหารหรือเนื้องอก เป็นต้น [5] [6]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตรวจให้แน่ แมวเป็นสิวจริงหรือเปล่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแมวมีจุดดำๆ ขึ้น แต่ท่าทางยังร่าเริงตามปกติ คุณหมออาจแนะนำให้คุณทำความสะอาดฆ่าเชื้อบริเวณนั้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ อย่างพวก chlorhexidine เจือจาง แล้วคอยสังเกตอาการว่าสิวยังขึ้นอีกไหม แต่ถ้าบริเวณนั้นบวมเต่ง ระคายเคือง หรือติดเชื้อ คุณหมออาจต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม รวมถึงตรวจสุขภาพแมวโดยรวมด้วย [7]
    • ถ้าสาเหตุมาจากภูมิต้านทานต่ำ แมวจะเป็นสิวอยู่เรื่อยๆ และอาการหนัก คุณหมออาจขอตรวจเลือดหาโรคโลหิตจางในแมว คือดูระดับเซลล์เม็ดเลือดขาว และตรวจร่างกายเพื่อดูการทำงานของอวัยวะภายใน
  2. คุณหมออาจสงสัยว่าปรสิตอย่าง ไรขี้เรื้อนเปียก (demodex mite) กำลังครองรูขุมขนของแมวคุณอยู่ เพราะอาการจะแทบไม่ต่างกับสิวแมวเลย [8] คุณหมอจะทดสอบโดยบีบให้สิวแตกออกมา จากนั้นก็เก็บอะไรที่ไหลออกมาไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ตัวอย่างบนแผ่นสไลด์นี่แหละที่ใช้ตรวจหาปรสิต
    • ถ้าคุณหมอตรวจแล้วเจอปรสิต อาจแนะนำให้ใช้ยาภายนอก อย่างแชมพูยา ยาหยด หรือสเปรย์
  3. คุณหมออาจตรวจร่างกายแมวหาอาการติดเชื้ออื่นๆ อย่างโรคกลาก (ringworm) ที่ทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบระคายเคืองได้ เวลาตรวจคุณหมอจะเอาไม้พันสำลีที่ฆ่าเชื้อแล้ว มาถูหรือเขี่ยที่ผิวหนังบริเวณนั้นเพื่อเก็บตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ ตัวอย่างจะถูกเก็บไว้ใน transport medium คือหลอดเก็บบรรจุเชื้อหรือหลอดบรรจุอาหารเลี้ยงเชื้อ เพื่อสังเกตการเจริญเติบโตของเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคกลากได้ [9]
    • การตรวจด้วยวิธีนี้นอกจากจะบอกได้ว่าแมวติดเชื้อแบคทีเรียหรือเปล่า ยังเจาะจงได้อีกด้วยว่าควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะตัวไหน
  4. คุณหมอสามารถตรวจสิวแมวแบบเฉพาะเจาะจงลงไปได้ด้วยวิธีการตัดชิ้นเนื้อตรวจ (biopsy) โดยต้องผ่าตัดเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อชิ้นเล็กๆ ตรงบริเวณที่เป็นสิว จากนั้นตัวอย่างเนื้อเยื่อก็จะถูกส่งไปยังนักพยาธิวิทยาเพื่อทดสอบและวินิจฉัยต่อไป [10]
    • วิธีนี้จะช่วยตัดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ออกไปได้ อย่าง ตัวไร (ที่ซุ่มอยู่ในผิวหนังจนแสดงอาการเหมือนการติดเชื้อขึ้นมาได้) มะเร็ง หรือการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานที่เรียกว่า eosinophilic granuloma complex (EGC)
  5. สิวในแมวบางทีก็ไม่จำเป็นต้องหาวิธีไหนมารักษา ถ้าแมวมีสิวอุดตันหรือ comedone (เป็นจุดดำๆ) ขึ้นมาแค่เม็ดสองเม็ด แถมเจ้าตัวก็ดูไม่ทุกข์ร้อนอะไร คุณเอากลับไปดูแลต่อเองที่บ้านก็ได้ แค่คอยล้างทำความสะอาดเบาๆ ตรงบริเวณที่เป็น โดยเฉพาะหลังแมวกินอาหารน่ะ [11]
    • ถ้าแมวเคยเป็นสิวอักเสบมาก่อน ก็ให้คุณหมอรักษาจะดีกว่า
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รักษาสิวให้แมว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแมวเป็นสิวแต่ไม่ได้ติดเชื้อ คุณก็แค่ล้างทำความสะอาดเท่านั้น โดยเอาก้อนสำลีมาชุบน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในการผ่าตัด (surgical spirit) แล้วใช้เช็ดทำความสะอาดคางให้แมว 2 ครั้งต่อวัน จนกว่าสิวหรือรอยด่างดำจะหายไป หรือจะใช้น้ำยาทำความสะอาดเฉพาะที่ก็ได้ อย่างพวก chlorhexidine เป็นน้ำยาสีชมพูเข้มข้น มีฟองเหมือนสบู่ ให้คุณเจือจาง chlorhexidine ด้วยน้ำในอัตราส่วน chlorhexidine 5 มล. ต่อน้ำ 100 มล. จากนั้นเอาก้อนสำลีมาชุบ ใช้เช็ดทำความสะอาดคางให้แมว 2 ครั้งต่อวัน อย่าลืมเฝ้าสังเกตอาการว่าแมวเป็นสิวน้อยลงหรือเยอะขึ้น แล้วค่อยไปปรึกษาคุณหมอ [12]
    • Chlorhexidine นั้นใช้กับแมวได้ไม่เป็นอันตราย เพราะไม่มีสารที่เป็นพิษและไม่แสบระคาย ใช้แล้วผิวสะอาดปราศจากแบคทีเรีย และลดโอกาสที่แบคทีเรียจะไปซุกซ่อนอยู่ตามรูขุมขนด้วย
  2. เวลาจะเช็ดทำความสะอาดคางน้องแมว ให้เอาสำลีเช็ดคางแมวให้ชุ่มก่อน แล้วค่อยตามด้วยสำลีที่หยดแชมพูสูตร benzyl peroxide ลงไป 1 หยด ถูคางให้ทั่วแล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีจนแห้ง จากนั้นล้างออกด้วยผ้าสักหลาดชุบน้ำ ถ้าคุณอยากทำความสะอาดแมวทั้งตัวเลยละก็ ให้เอาแชมพูไปเจือจางแล้วใช้อาบน้ำให้แมว จากนั้นล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น ใช้ล้างทำความสะอาดบริเวณที่เป็นได้ทั้งตอนเช้าและตอนเย็น ถ้าใช้แล้วเป็นผื่นแดงหรือระคายเคือง ให้หยุดใช้ทันทีจนกว่าผิวหนังของแมวจะหายดีแล้วค่อยลองใช้ใหม่ โดยเจือจางแชมพูให้อ่อนลงกว่าเดิม
    • แชมพูสำหรับสัตว์เลี้ยงที่มี benzyl peroxide เหมาะจะใช้รักษาสิวในแมว เพราะ benzyl peroxide จะทำความสะอาดลึกถึงรูขุมขน ช่วยกำจัดแบคทีเรียได้แบบทะลุทะลวง แถมกำจัดไขมันส่วนเกินที่อาจเป็นต้นตอของสิวได้ [13]
  3. เอาสำลีก้อนชุบน้ำเกลืออุ่นๆ กำลังดี ตอนเตรียมน้ำให้ต้มน้ำแล้วผสมเกลือ 1 ช้อนชาลงไป จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็นลงพอจับได้ไม่ร้อนมาก พอเอาสำลีไปชุบแล้ว ก็ให้บีบน้ำออกพอหมาด จากนั้นเอาไปประคบที่คางของแมว พยายามประคบให้ได้สัก 5 นาที ทำซ้ำ 2 - 3 ครั้งต่อวัน จนกว่าสิวจะแตกหรือยุบลงไปเอง [14]
    • การประคบร้อนช่วยทำให้สิวยุบหรือแตกได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ช่วยระบายความดันและสิ่งอุดตันในรูขุมขนได้ทั้งนั้น แมวจะได้หายระคายเคืองไงล่ะ
  4. คุณหมออาจจ่ายยาปฏิชีวนะให้แมวกินเพื่อฆ่าแบคทีเรียบนผิวหน้า โดยแมวต้องกินในปริมาณที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัดจนกว่าสิวจะหาย และกินต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 1 อาทิตย์ บรรดายาปฏิชีวนะที่คุณหมอนิยมจ่ายรักษาสิวให้แมวก็คือ
    • Cephalexin: เป็นยาปฏิชีวนะรุ่นบุกเบิกกลุ่ม beta-lactam ที่เน้นสกัดจับและทำลายแบคทีเรีย ปริมาณที่คุณหมอนิยมจ่ายให้จะอยู่ที่ 30 - 50 มก. โดยกิน 2 ครั้งต่อวัน เพราะฉะนั้นถ้าเป็นแมวน้ำหนักมาตรฐาน 5 กก. ก็ต้องกินยา Cephalexin 50 มก. 2 ครั้งต่อวัน ถ้าแมวของคุณเสาะท้องหรืออ้วกง่าย ก็ต้องกินยาร่วมกับอาหาร [15]
    • Clindamycin: เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่ม lincosamide ที่ช่วยยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแบคทีเรีย ปกติปริมาณที่แนะนำคือ 5 - 10 มก. ต่อน้ำหนักแมว 1 กก. โดยกิน 2 ครั้งต่อวัน หรือจะรวมปริมาณ 2 ครั้งแล้วกินวันละครั้งไปเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นถ้าแมวคุณหนัก 5 กก. ก็ต้องกินแคปซูลปริมาณ 25 มก. 2 ครั้งต่อวัน ยาปฏิชีวนะชนิดนี้จะออกฤทธิ์ได้ดีกว่าถ้าแมวท้องว่าง
    • Clavulanate-potentiated amoxycillin: ยาปฏิชีวนะตัวนี้ออกฤทธิ์โดยไปรบกวนการเผาผลาญและสร้างความเสียหายให้ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ปริมาณที่แนะนำคือ 50 มก. ต่อน้ำหนักแมว 5 กก. เพราะฉะนั้นแมวที่หนัก 5 กก. ก็ต้องกินยา 50 มก. 2 ครั้งต่อวัน โดยจะกินคู่กับอาหารหรือไม่ก็ได้
  5. แมวยิ่งแก่ก็ยิ่งเป็นสิวง่าย (อาจเพราะแมวแก่มักเป็นโรคข้ออักเสบ หรือ arthritis เลยทำให้เลียทำความสะอาดตัวลำบาก จนเหลือคราบอาหารติดค้างอยู่ตามคางได้) แต่จริงๆ แล้วคุณช่วยป้องกันไม่ให้แมวเป็นสิว (บ่อยๆ) ได้อีกแรง ถ้าแมวคุณเคยเป็นสิวมาก่อน ให้หมั่นล้างทำความสะอาดคางหลังแมวกินอาหาร เสร็จแล้วซับให้แห้ง จะได้ลดไขมันอุดตันและการติดเชื้อจากแบคทีเรีย อันมีสาเหตุมาจากเศษอาหารตกค้างตามรูขุมขน [16]
    • ชามอาหารของแมวก็ต้องหมั่นล้างทุก 2 - 3 วัน แบคทีเรียจะได้ไม่สะสมจนเป็นสาเหตุให้แมวสิวขึ้นได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณหมอมักไม่นิยมใช้ยาทาภายนอก อย่างพวกยาปฏิชีวนะแบบเจลหรือครีม มารักษาสิวในแมว เพราะอาจทำให้รูขุมขนอุดตันได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 79,066 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา