ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง (muscle spasms) สามารถเกิดได้กับทุกกล้ามเนื้อในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อลาย (skeletal muscles) ตามน่อง หลัง ต้นขา หรือมือ และกล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscles) ตามทางเดินอาหาร อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งจะเกิดเอง บังคับหรือควบคุมไม่ได้ ปกติมักมีสาเหตุมาจากการขาดน้ำ ใช้กล้ามเนื้อหนักเกินไป หรือขาดเกลือแร่ (อิเล็กโทรไลต์) ที่จำเป็น [1] บางทีก็เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้นเส้นประสาท การรักษาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งจะเห็นผลดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นกล้ามเนื้อตรงไหนและสาเหตุของอาการ แต่ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง ดูแลตัวเองที่บ้านก็หายได้ [2]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ดูแลตัวเองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอเริ่มรู้สึกว่ากล้ามเนื้อหดเกร็ง ให้หยุดทุกกิจกรรมที่ทำ กล้ามเนื้อหดเกร็งขึ้นมาได้ตอนคุณออกกำลังกายหรือตอนทำกิจวัตรประจำวัน ครั้งแรกที่แสดงอาการ ให้หยุดทุกอย่างที่ทำอยู่ แล้วหาทางแก้ไขรับมือ [3] ถึงจะเป็นแล้วมีอาการเจ็บปวด แต่จะไม่ส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว [4]
    • ลองนวดวนหรือบีบนวดบริเวณที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น [5]
  2. พักกล้ามเนื้อที่หดเกร็งสัก 2 - 3 วัน โดยเฉพาะถ้าเป็นกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อล้าก็เกิดหดเกร็งได้ บางทีกล้ามเนื้ออาจจะฉีก เพราะงั้นต้องให้เวลากล้ามเนื้อได้ฟื้นตัวโดยไม่ไปเพิ่มภาระ ระหว่างนี้ต้องขยับตัวช้าๆ ระวังตัว เพื่อไม่ให้เส้นยึดตึง
    • ใช้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งได้ แต่อย่าใช้หนัก แต่ถ้าเป็นตะคริวหรือปวดขึ้นมาเมื่อไหร่ต้องหยุดใช้ทันที พยายามเดินช้าๆ หรือยืดเหยียด แต่อย่าบิดหรือก้มตัว
  3. ถ้ามีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งหรือเป็นตะคริว ยืดเหยียดแล้วจะบรรเทาอาการได้ การยืดเหยียดเท่ากับดึงกล้ามเนื้อที่หดเกร็งให้ยืดออกไปในทิศทางตรงกันข้าม เวลายืดเหยียดต้องค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็งให้เหยียดตรง/คลายออก ห้ามทำทันทีทันใดหรือยืดเหยียดเกินองศาเด็ดขาด ถ้ารู้สึกเจ็บเมื่อไหร่ให้หยุดก่อน ถ้ารู้สึกตึงๆ ก็ทนหน่อย แต่อย่าเหยียดเพิ่มเติม ทำท่ายืดเหยียดค้างไว้ประมาณ 30 วินาที [6]
    • ถ้าเป็นตะคริวน่อง (Charley horse) ให้ยืนห่างจากผนัง 2 - 3 ไม้บรรทัด เอาท่อนแขนยันผนัง เข่ากับหลังเหยียดตรง พยายามให้ส้นเท้าราบไปกับพื้น [7] จากนั้นโน้มตัวไปข้างหน้า จะรู้สึกตึงๆ ที่กล้ามเนื้อน่อง สบายที่ได้ยืดเหยียดหรือเฉยๆ แต่ไม่ใช่รู้สึกเจ็บปวด ถ้าเป็นอย่างหลังต้องหยุดทันที [8]
    • ถ้าเป็นตะคริวเท้าหรือน่อง (Charley horse) ให้นั่งลงแล้วเกร็งนิ้วเท้าข้างที่ขาเป็นตะคริว ให้นิ้วเท้าชี้กลับมาทางจมูกเรา หรือค่อยๆ ดึงเท้ากลับมาทางหัวของเรา จะรู้สึกตึงๆ ที่กล้ามเนื้อน่องหรือเท้า
    • ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขาด้านหลัง (hamstring) ให้นั่งบนพื้นแล้วเหยียดขาออกไปข้างหน้า ไม่ต้องเกร็งนิ้วเท้าให้ชี้ไปทางไหน โน้มตัวจากส่วนเอวโดยที่หลังตรง ให้หน้าอกลงไปใกล้กับขา พอรู้สึกตึงๆ ที่ขาด้านหลังก็ไม่ต้องโน้มตัวเพิ่มอีก [9]
    • ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขาด้านหน้า ให้ยืนบนพื้นราบ มั่นคง จากนั้นจับข้อเท้าแล้วงอเข่าขึ้นมาให้เท้าชิดก้น [10] จะรู้สึกตึงที่ต้นขาด้านหน้า
    • ถ้ากล้ามเนื้อมือหดเกร็ง ให้แบมือบนผนัง แล้วออกแรงกดต้านผนังจากทั้งมือและนิ้ว [11]
  4. ถ้ากล้ามเนื้อหลังเกิดหดเกร็งขึ้นมา ออกกำลังกายเบาๆ หน่อยน่าจะช่วยได้ แต่ให้เริ่มบริหารก็ต่อเมื่อหลังที่หดเกร็งนั้นคลายความเจ็บปวดและอาการหดเกร็งลงบ้างแล้ว ห้ามทำถ้ากล้ามเนื้อหลังหดเกร็งรุนแรงหรือทำให้เจ็บปวดมาก ถ้าบริหารท่าไหนแล้วอาการหดเกร็งแย่กว่าเดิม ก็ให้เลิกทำ
    • หลังตรง แล้วเดินไปมาโดยยกเข่าสูงกว่าปกติ เป็นท่าบริหารเบาๆ ที่ช่วยยืดเหยียดหลังส่วนล่าง น่าจะช่วยแก้อาการตะคริวหรือกล้ามเนื้อหดเกร็งได้
    • ชูแขนเหนือหัว ทำซ้ำ 10 ครั้ง แต่ละครั้งให้ค้างไว้ 5 - 10 วินาที ทำซ้ำวันละ 3 - 4 ครั้ง เป็นท่าที่ช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังได้ [12]
    • นอนราบกับพื้น ชันเข่า แล้วค่อยๆ ดึงเข่าเข้ามาชิดอก ทำท่านี้ค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นสลับข้าง ให้บริหารท่านี้ซ้ำ 5 - 10 ครั้ง วันละ 2 - 3 เซ็ต [13] หรือจะงอเข่ามาชิดอกพร้อมกัน 2 ขาเลยก็ได้ ท่านี้ช่วยยืดเหยียดหลังส่วนล่าง ส่วนการนอนราบทำให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นได้พักและ "คลายตัว"
  5. ถ้าประคบร้อนจะช่วยคลายกล้ามเนื้อ ไม่ให้เกิดการหดเกร็ง แต่ถ้าประคบเย็นจะช่วยบรรเทาอาการปวดบวม ครั้งแรกที่กล้ามเนื้อเริ่มหดเกร็ง ให้รีบประคบเย็น โดยใช้เจลแพ็ค/ถุงน้ำแข็งห่อผ้าประคบบริเวณที่มีอาการสัก 1 - 2 วัน โดยประคบครั้งละ 20 - 30 นาที ทุก 3 - 4 ชั่วโมง ถ้าหลังจากนั้นกล้ามเนื้อยังหดเกร็ง ให้ประคบร้อนแบบชื้นๆ 20 - 30 นาทีตลอดวัน
    • ให้ท่องไว้ว่า "heat to play, ice to stay" แปลว่าให้ประคบร้อนถ้าหลังจากนั้นต้องทำกิจกรรมหรือใช้งานกล้ามเนื้อ แต่ให้ประคบเย็น ถ้าหลังจากนั้นจะอยู่เฉยๆ หรือพักผ่อน
    • ให้ประคบร้อน 15 นาที ทุก 4 ชั่วโมง จนหายเป็นตะคริว และประคบเย็น 12 - 15 นาที ทุก 2 ชั่วโมง ในช่วง 1 - 2 วันแรกที่มีอาการ
    • ใช้แผ่นประคบร้อนหรือผ้าห่มไฟฟ้าเวลาประคบร้อน และใช้เจลแพ็คหรือถุงน้ำแข็งห่อผ้า ถ้าจะประคบเย็น จะใช้วิธีเติมน้ำร้อนในขวด หรือเอาขวดน้ำไปแช่แข็งก็ได้ ย้ำว่าเวลาประคบเย็นต้องเอาผ้าห่อน้ำแข็งหรือถุงผักแช่แข็งซะก่อน [14]
  6. เวลากล้ามเนื้อขาดน้ำ สำคัญมากว่าต้องเติมน้ำกลับเข้าไป ให้ดื่มน้ำและเกลือแร่ (อิเล็กโทรไลต์) ทั้งแบบน้ำผลไม้ เครื่องดื่มเกลือแร่ และอื่นๆ ชดเชยสิ่งที่สูญเสียไป ทั้งโซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมถือว่าจำเป็นต่อการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมาก
    • ถ้ารู้ตัวว่าจะออกกำลังกายหนักๆ หรือใช้กล้ามเนื้อเยอะๆ ต้องเติมพลังกลับเข้าไปเยอะๆ โดยดื่มน้ำและเกลือแร่ [15]
    • กล้ามเนื้อหดเกร็งบางทีก็เป็นสัญญาณบอกว่าร่างกายคุณขาดวิตามินและแร่ธาตุ แบบนี้ต้องกินวิตามินรวมและแร่ธาตุรวมที่คุณภาพดีหน่อยเข้าไปทดแทน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

รักษาด้วยยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซื้อยาแก้ปวดกินเองแก้อาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง. บางทีพอกล้ามเนื้อหดเกร็งแล้วเจ็บปวดรุนแรง ลองปรึกษาคุณหมอดูว่าคุณสามารถซื้อยาแก้ปวดกินเองได้ไหม เช่น ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ NSAIDS (nonsteroidal anti-infammatory drugs) ตัวอย่างยากลุ่มนี้ก็เช่น ibuprofen (Advil) หรือ naproxen sodium (Aleve) [16] หรือจะเป็น acetaminophen (Tylenol) ก็ได้ [17]
  2. เพื่อบรรเทาอาการอักเสบรุนแรงหรืออาการบวมของกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง นอกจากนี้ยาแก้อักเสบยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้บริเวณนั้นหายเร็วขึ้น ปกติถ้าเพิ่งมีอาการแรกๆ คุณหมอจะแนะนำให้ซื้อยาแก้ปวดกินเองได้ (เช่น Ibuprofen) [18]
    • อาการข้างเคียงที่พบบ่อยของยา Ibuprofen ก็คือปัญหาในระบบทางเดินอาหาร แต่อย่างน้อยก็ไม่รุนแรงเท่าอาการข้างเคียงของยาแอสไพริน อาการข้างเคียงของ Ibuprofen ก็เช่น คลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ตะคริวท้อง วิงเวียน ปวดหัว ใจสั่น หรือผื่นแดง [19]
  3. ถ้าคุณมีอาการบาดเจ็บ หรือกล้ามเนื้อหดเกร็งซ้ำๆ เรื่อยๆ ก็ควรไปหาหมอ เพราะคุณหมอจะสั่งยาคลายกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ [20] ถ้าคิดว่ามียาตัวไหนที่ใช้อยู่เป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหดเกร็ง ก็ต้องปรึกษาคุณหมอด้วย [21]
    • Flexeril (cyclobenzaprine) เป็นหนึ่งในยาที่คุณหมอนิยมสั่งให้เพื่อแก้อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งแบบปานกลางไปจนถึงรุนแรง ยานี้จะไปออกฤทธิ์กับระบบประสาทส่วนกลางแล้วคลายกล้ามเนื้อ แต่ถึงยาตัวนี้จะได้ผลดี เขาก็วิจัยกันมาแล้วว่ายากลุ่ม NSAIDs (อย่าง ibuprofen) ช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งแบบเฉียบพลันได้เห็นผลกว่า [22]
    • ข้อควรระวังคือยาคลายกล้ามเนื้อบางตัวทำให้คุณเสพติดได้ เพราะงั้นต้องใช้ตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด
  4. ถ้ามีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งเรื้อรัง ต้องรีบหาหมอ. ปกติถ้ามีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง คุณก็ดูแลตัวเองที่บ้านจนหายได้ แต่ถ้าเจ็บปวดมาก อาการกำเริบบ่อย เป็นครั้งละนานๆ หรือส่งผลต่อกล้ามเนื้อส่วนอื่นด้วย แบบนี้ต้องรีบไปหาหมอ เพราะอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งที่เป็นอยู่ อาจเป็นสัญญาณบอกโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่าและต้องได้รับการรักษาโดยด่วน [23]
    • ปกติกล้ามเนื้อหดเกร็งก็ไม่ใช่ "โรค" อยู่แล้ว แต่เป็น "อาการ" เพราะแปลว่ามีความผิดปกติบางอย่างที่รอให้ตรวจวินิจฉัยและรักษา ความผิดปกติที่ว่าก็เป็นได้ตั้งแต่กล้ามเนื้อล้าเพราะใช้งานหนักไป ไปจนถึงความผิดปกติในระบบเผาผลาญ โดยเฉพาะถ้ากล้ามเนื้อหดเกร็งเรื้อรัง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

รักษาอาการกล้ามเนื้อเรียบหดเกร็ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งชนิดนี้จะต่างกันตามกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ถ้าลำไส้หดเกร็ง จะทำให้ปวดแปลบและท้องเสีย ถ้าทางเดินปัสสาวะหดเกร็ง มักมีสาเหตุมาจากนิ่วในไต ทำให้เจ็บปวดรุนแรง คลื่นไส้ และอาเจียน แต่ถ้าทางเดินหายใจหดเกร็งหรือหายใจลำบาก ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะถ้าถึงมือหมอช้า จะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    • ต้องรักษา หรือตรวจให้แน่ใจก่อนว่าไม่ได้เป็นโรคต่างๆ เกี่ยวกับลำไส้ เช่น เนื้องอกหรือนิ่วในถุงน้ำดี ส่วนอาการทางเดินปัสสาวะหดเกร็งจะดีขึ้นเอง ถ้าขับหรือสลายนิ่วในไตแล้ว ระหว่างนั้นอาจจะกินยาช่วยบรรเทาปวดด้วยก็ได้ [24]
  2. ต้องหาหมอ ถ้าทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ หรือทางเดินหายใจหดเกร็ง. กล้ามเนื้อเรียบต่างๆ อย่างที่พบในหัวใจและกระเพาะอาหาร เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณ เพราะงั้นถ้ากล้ามเนื้อพวกนี้หดเกร็งขึ้นมาเมื่อไหร่ แสดงว่ามีโรคหรือความผิดปกติอื่นๆ เป็นสาเหตุ [25]
  3. ถ้ากล้ามเนื้อเรียบหดเกร็งรุนแรง คุณหมออาจจะสั่งยาให้ เช่น ยาในกลุ่ม anticholinergic พวกนี้ช่วยรักษาอาการลำไส้หดเกร็งได้ ถ้าปรับเปลี่ยนอาหารและวิถีชีวิตแล้วไม่ได้ผล
    • คุณหมออาจสั่งยาปรับระดับสารสื่อประสาท (neurotransmitter) หรือโบท็อกซ์ (Botox) ให้คุณ เพื่อให้กล้ามเนื้อที่มีอาการเกิดอาการชา ยังไงลองปรึกษาคุณหมอเรื่องยาและทางเลือกในการรักษาดู
  4. ถ้าคุณเป็นโรค IBS หรือลำไส้แปรปรวน ก็อาจจะมีอาการลำไส้หดเกร็ง ถ้ากินยา antispasmodics จะช่วยคลายกล้ามเนื้อลำไส้ บรรเทาอาการปวดได้ ยังไงลองปรึกษาคุณหมอดูว่าใช่อาการลำไส้หดเกร็งหรือเปล่า ถ้าใช่คุณหมอก็จะสั่งยา antispasmodic และเลือกทางรักษาที่เหมาะสมเอง [26]
  5. หาเวลาเข้าห้องน้ำถ้ามีอาการกระเพาะปัสสาวะหดเกร็ง. หนึ่งในวิธีรักษากระเพาะปัสสาวะหดเกร็ง ก็คือเข้าห้องน้ำทุก 1.5 - 2 ชั่วโมง แบบนี้กระเพาะปัสสาวะจะได้โล่ง ไม่เสี่ยงเกิดเหตุไม่คาดคิด พอกล้ามเนื้อหดเกร็งน้อยลง ก็จะไม่ต้องลุกไปห้องน้ำถี่เหมือนเดิม
    • Kegel exercises หรือการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (พูดง่ายๆ ว่าฝึกขมิบ) ก็ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะหดเกร็งได้ เพราะทั้งเสริมสร้างความแข็งแรงและคลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไปในเวลาเดียวกัน เวลาจะกระชับกล้ามเนื้อเชิงกราน ให้เกร็งกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ (ขมิบ) เหมือนเวลาจะอั้นฉี่ หรือกลั้นผายลม ถ้าไม่แน่ใจลองปรึกษาคุณหมอให้ช่วยแนะนำขั้นตอนที่ถูกต้องก็ได้ [27]
  6. แผ่นประคบร้อนช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวหรือหดเกร็งได้ทุกส่วนของร่างกาย ให้นอนหงายแล้วใช้แผ่นประคบร้อนหรือผ้าห่มไฟฟ้าพันรอบท้อง ระวังอย่าให้โดนผิวหนังโดยตรง [28] ประคบร้อน 10 - 15 นาที แต่อย่าเกินครั้งละ 20 นาที ระหว่างประคบก็ผ่อนคลายให้สบายใจ [29]
    • ถ้าจะทำผ้าห่มไฟฟ้าใช้เอง ให้หาผ้าสักหลาดอ่อน (flannel) หรือผ้าอะไรก็ได้ ที่ผืนใหญ่พอจะคลุมท้องได้หลังพับแล้ว ให้ใช้เอาผ้าไปประกบกับแผ่นประคบร้อนหรือขวดใส่น้ำร้อน จากนั้นใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าอื่นๆ ห่มทับตัวคุณอีกที เพื่อให้ไม่เลื่อนหลุดไปไหน
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรักษาระดับน้ำในร่างกายนี่แหละจุดสำคัญในการป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง กล้ามเนื้อจะเป็นตะคริวง่ายมากถ้าขาดน้ำ โดยเฉพาะใครที่ออกกำลังกาย พยายามดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ดีต่อร่างกายให้ได้ 6 - 8 แก้วตลอดวัน [30]
    • ชดเชยเกลือแร่ (อิเล็กโทรไลต์) โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียมที่เสียไปตอนออกกำลังกายหรือไม่สบาย โดยกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่เยอะๆ [31]
  2. ร่างกายจะแข็งแรงถ้ากินอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็งได้ด้วย ให้ปรับเปลี่ยนอาหารการกินเพื่อบรรเทาอาการลำไส้หดเกร็งจากโรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome) อาหารที่ช่วยเรื่องกล้ามเนื้อหดเกร็งได้ดีก็คืออาหารที่มีโพแทสเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ และไขมันดี นอกจากนี้ถ้าอยากแก้อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งต้องกิน
    • กล้วย มันฝรั่ง น้ำลูกพรุน ผลไม้อบแห้ง [32] ส้ม ข้าวกล้อง อะโวคาโด ปวยเล้ง [33] อาหารทะเล อัลมอนด์ เมล็กแฟลกซ์ ข้าวโอ๊ต งา เต้าหู้ และผักเคล [34]
  3. การออกกำลังกายเป็นประจำก็ช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งได้ เพราะทั้งเสริมสร้างความแข็งแรงและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ [35] แถมยังรักษากล้ามเนื้อที่บาดเจ็บได้ด้วย การทำกายภาพบำบัดแบบเบาๆ ก็ค่อยๆ ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการหดเกร็งได้ ส่วนการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้สุขภาพร่างกายโดยรวมแข็งแรงดี
    • ลองปรึกษาคุณหมอหรือนักกายภาพบำบัดดู ว่าอาการของคุณเหมาะกับกีฬาหรือท่าบริหารแบบไหน [36]
  4. อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งก็ตรงตัวว่ากล้ามเนื้อ "หด" เข้ามา เพราะฉะนั้นการยืดเหยียดหรือการ "ยืด" กล้ามเนื้อให้ตรง ก็ช่วยป้องกันอาการนี้ได้แน่นอน ถ้ายืดเหยียดเป็นประจำ กล้ามเนื้อจะคลายตัวและยืดหยุ่น [37] ย้ำว่าต้องยืดเหยียดกล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย โดยเฉพาะถ้าจะออกกำลังกายหนักๆ หรือต่อเนื่องนานๆ [38]
    • ถ้าคุณชอบเป็นตะคริวตอนกลางคืน ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเจ้าปัญหาก่อนนอนทุกวันเพื่อคลายกล้ามเนื้อ [39] หรืออาจจะคาร์ดิโอเบาๆ ก่อนนอน เช่น ขี่จักรยานอยู่กับที่ เพื่อคลายกล้ามเนื้อไม่ให้เป็นตะคริวง่ายๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ากล้ามเนื้อหดเกร็งซ้ำหรือเรื้อรัง ควรไปหาหมอเพื่อตรวจรักษาอย่างจริงจังต่อไป เพราะอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งใครๆ ก็เป็นได้ แต่ถ้าเป็นไม่หาย หรือเป็นตะคริวต่อเนื่อง แสดงว่าเป็นเพราะโรคอื่นที่ต้องรักษาให้หายขาดต่อไป
  • รินน้ำใส่ถ้วยโฟมแล้วเอาไปแช่แข็ง จากนั้นตัดก้นแก้วออก แล้วใช้ประคบเย็นที่กล้ามเนื้อ นวดบริเวณที่เป็นตะคริว 10 - 12 นาที เอาออกไปให้ผิวหนังหายเย็น 20 นาที จากนั้นทำซ้ำ ทำแบบนี้วันละ 6 ครั้งด้วยกัน
  • แช่น้ำร้อนหรืออาบน้ำร้อนจากฝักบัวเพื่อบรรเทาอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง ถ้าแช่น้ำในอ่าง ให้ผสมดีเกลือฝรั่ง (Epsom salt) ลงไปด้วย [40]
โฆษณา
  1. http://www.webmd.com/pain-management/muscle-spasms-cramps-charley-horse#2
  2. http://www.emedicinehealth.com/muscle_cramps/page7_em.htm
  3. http://www.med-health.net/Back-Spasms.html
  4. http://www.joint-and-muscle-pain-management.com/back-spasm.html
  5. http://www.joint-and-muscle-pain-management.com/back-spasm.html
  6. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1150229/
  7. http://www.joint-and-muscle-pain-management.com/back-spasm.html
  8. http://www.consumerreports.org/cro/2009/12/treating-muscle-spasms-and-spasticity/index.htm
  9. http://www.aafp.org/afp/2008/0801/p365.html
  10. http://www.rxlist.com/ibuprofen-drug/clinical-pharmacology.htm
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/treatment/con-20014594
  12. http://www.aarp.org/health/conditions-treatments/info-02-2012/charley-horse-leg-cramps-relief-tips.html
  13. http://www.rxlist.com/ibuprofen-drug/clinical-pharmacology.htm
  14. http://www.webmd.com/pain-management/muscle-spasms-cramps-charley-horse?page=2
  15. http://www.aarp.org/health/conditions-treatments/info-02-2012/charley-horse-leg-cramps-relief-tips.html
  16. http://www.aarp.org/health/conditions-treatments/info-02-2012/charley-horse-leg-cramps-relief-tips.html
  17. http://www.patient.info/health/antispasmodic-medicines
  18. http://www.emedicinehealth.com/understanding_bladder_control_medications/page3_em.htm
  19. http://www.uchospitals.edu/online-library/content=P00918
  20. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=4483
  21. http://www.wisegeekhealth.com/what-is-a-muscle-spasm.htm
  22. http://www.emedicinehealth.com/muscle_cramps/page7_em.htm
  23. http://www.nativeremedies.com/ailment/muscle-spasms-and-twitches.html
  24. http://www.aarp.org/health/conditions-treatments/info-02-2012/charley-horse-leg-cramps-relief-tips.2.html
  25. http://www.nativeremedies.com/ailment/muscle-spasms-and-twitches.html
  26. http://abcnews.go.com/Health/CommonPainProblems/story?id=4047881
  27. http://www.wisegeekhealth.com/what-is-a-muscle-spasm.htm
  28. http://www.nativeremedies.com/ailment/muscle-spasms-and-twitches.html
  29. http://www.webmd.com/pain-management/muscle-spasms-cramps-charley-horse#2
  30. http://www.emedicinehealth.com/muscle_cramps/article_em.htm
  31. http://www.webmd.com/pain-management/muscle-spasms-cramps-charley-horse#2

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,712 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา