ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การติดเชื้อที่นิ้วเท้ามีหลายระดับตั้งแต่การติดเชื้อที่ไม่รุนแรงนักอย่างเล็บขบหรือโรคเชื้อราที่เล็บเท้า ไปจนถึงการติดเชื้อที่ผิวหนังอย่างรุนแรง (ฝีหนองหรือเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ) การติดเชื้อที่นิ้วเท้าอาจจะรุนแรงมากและลุกลามไปสู่การติดเชื้อที่ข้อต่อหรือกระดูก แม้ว่าการติดเชื้อที่บริเวณพื้นผิวมักจะไม่ค่อยรุนแรงเท่าไหร่และสามารถรักษาเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน แต่ถ้าเป็นติดเชื้ออย่างรุนแรงก็ต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ คุณควรเรียนรู้ที่จะแยกความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อสองประเภทนี้ เพราะการติดเชื้อรุนแรงจะต้องได้รับการประเมินจากแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่า มันจะไม่รุนแรงยิ่งกว่าเดิมหรือลุกลาม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ประเมินการติดเชื้อที่นิ้วเท้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งมันก็ยากที่จะบอกว่า การติดเชื้อที่นิ้วเท้าเป็นชนิดไหนและมันร้ายแรงหรือเปล่า มันอาจจะเป็นแค่เล็บขบธรรมดาหรือเป็นการติดเชื้อรุนแรงที่อาจจะลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ในการที่จะแยกความแตกต่างนั้น คุณควรประเมินอาการก่อน
    • สัญญาณและอาการของการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงได้แก่: อาการปวดและ/หรือกดเจ็บ บวม แดง และเมื่อสัมผัสบริเวณนั้นจะรู้สึกว่ามันอุ่นขึ้น [1]
    • สัญญาณและอาการของการติดเชื้อที่รุนแรงได้แก่: มีหนองขึ้น รอยจ้ำแดงขยายจากบริเวณที่เป็นแผลในตอนแรก และมีไข้
  2. เข้ารับการรักษาหากคุณมีอาการของการติดเชื้อชนิดรุนแรง. อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า อาการของการติดเชื้อประเภทนี้ได้แก่ มีหนอง มีรอยจ้ำแดงกระจายออกมาจากแผล หรือมีไข้ ซึ่งถ้าคุณมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ให้โทรปรึกษาแพทย์ทันที [2]
    • การติดเชื้อที่รุนแรงอาจจะลุกลามจากนิ้วเท้าไปยังส่วนอื่นๆ ในร่างกาย การติดเชื้อที่รุนแรงอาจถึงขั้นทำให้ระบบของร่างกายเข้าสู่ภาวะช็อกและเป็นอันตรายถึงชีวิต และด้วยความร้ายแรงในระดับนี้ คุณจึงควรให้บุคลากรทางการแพทย์ตรวจดูโดยเร็วหากเป็นการติดเชื้ออย่างรุนแรง
  3. พิจารณาว่าการติดเชื้อที่นิ้วเท้าในระดับพื้นผิวสามารถรักษาเองที่บ้านได้หรือไม่. ถ้าคุณไม่ได้มีอาการของการติดเชื้อชนิดรุนแรง แต่รู้สึกรำคาญหน่อยๆ คุณก็สามารถรักษาอาการติดเชื้อได้เองที่บ้าน เช่นเดียวกับอาการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ คุณสามารถรักษาอาการติดเชื้อได้ด้วยการทำความสะอาดบริเวณที่เป็นแผล ทายาปฏิชีวนะ และพันแผลไว้สัก 2-3 วัน ถ้าอาการติดเชื้อของคุณไม่รุนแรง ก็ให้รักษาตามขั้นตอนที่ว่านี้ได้เลย
    • ถ้าคุณทำความสะอาดแผลทุกซอกทุกมุม ทายาปฏิชีวนะ และพันแผลพร้อมกับรักษาความสะอาดแล้ว แต่มันก็ยังปวดอยู่ ปวดมากกว่าเดิม หรืออักเสบ ก็ถึงเวลาต้องให้บุคลากรทาการแพทย์เป็นคนตรวจดูแล้ว
    • ถึงแม้ว่าการติดเชื้อจะไม่รุนแรงและดูท่าจะไม่มีความเสี่ยงร้ายแรงต่อสุขภาพ คุณก็ยังสามารถนัดแพทย์เพื่อตรวจดูได้ ใช้วิจารณญาณของตัวเองและจำไว้ว่า ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เข้ารับการรักษาทางการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการรักษาการติดเชื้อชนิดที่ไม่รุนแรง. การรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าอะไรที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ แพทย์อาจจะจ่ายยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานหรือทาเฉพาะที่ แต่บ่อยครั้งที่แพทย์เองก็อาจจะแค่แนะนำให้ผสมน้ำอุ่นกับสบู่เหลวที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างละครึ่ง จากนั้นแช่นิ้วเท้าไว้ครั้งละ 15 นาที วันละ 3-4 ครั้ง และรักษาความสะอาดของแผลบริเวณนั้น [3]
    • การแช่นิ้วเท้าช่วยบรรเทาอาการติดเชื้อและทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนนุ่ม เพื่อให้เชื้อ “โผล่หัวออกมา"
    • ในกรณีที่ติดเชื้อราที่เล็บเท้า แพทย์ก็อาจจะจ่ายยาต้านเชื้อราชนิดรับประทานหรือยาทาเล็บฆ่าเชื้อรา [4]
  2. เข้ารับการรักษาทางการแพทย์สำหรับการติดเชื้อชนิดรุนแรง. ถ้าการติดเชื้ออยู่ลึกลงไปและรุนแรง แพทย์อาจจะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเล็ก [5] ซึ่งก็คือการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำออกจากแผลที่ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งมักใช้กับการรักษาฝี
    • ก่อนอื่นแพทย์อาจจะฉีดลิโดเคนเพื่อให้นิ้วเท้าชา จากนั้นก็ใช้มีดผ่าตัดกรีดลงบนแผลที่ติดเชื้อเพื่อให้น้ำหนองไหลออกมา จากนั้นแพทย์ก็อาจจะแปะที่ดูดหนองลงบนแผลเพื่อให้น้ำหนองระบายออกมามากขึ้น แล้วแต่ว่าการติดเชื้ออยู่ลึกแค่ไหน
    • จากนั้นแพทย์ก็จะเอาผ้าก๊อซพันแผลไว้ 24-48 ชั่วโมง หลังจากครบกำหนดแล้วแพทย์ก็จะเอาผ้าก๊อซออกเพื่อตรวจแผล จากนั้นก็พันแผลอีกครั้ง [6]
    • แพทย์อาจจะจ่ายยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานให้ด้วย
  3. การติดเชื้อระดับพื้นผิวที่นิ้วเท้าสามารถรักษาได้หลายวิธี ได้แก่:
    • การแช่นิ้วเท้า: เช่นเดียวกับการรักษาอาการติดเชื้อที่รุนแรง คุณควรผสมน้ำอุ่นกับสบู่เหลวที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างละครึ่ง แล้วแช่นิ้วเท้าเอาไว้ คุณควรแช่นิ้วเท้าทุกวันวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที
    • ยาปฏิชีวนะชนิดครีมที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป และขี้ผึ้งยาสำหรับรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย: ได้แก่ โพลีสปอริน นีโอสปอริน บาซิทราซิน หรือขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะที่มีส่วนผสม 3 ชนิด
    • ยาต้านเชื้อราชนิดครีมที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อรา: ได้แก่ โลทริมิน เดอร์แมน คาเนสเทน หรือยาต้านเชื้อราอื่นๆ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาอาการด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทาน้ำมันทีทรีลงบนแผลที่ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราโดยตรง น้ำมันทีทรีมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียตามธรรมชาติและช่วยฆ่าเชื้อได้ [7]
    • เช่น น้ำมันทีทรีได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถลดการติดเชื้อของโรคน้ำกัดเท้าได้ในงานวิจัยทางคลินิก [8]
  2. คุณควรทำวิธีนี้วันละ 15 นาทีทุกวัน โดยน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลที่ใช้จะอุ่นหรือเย็นก็ได้ เลือกระดับอุณหภูมิเท่าไหร่ก็ได้ที่คุณคิดว่าสบายที่สุด [9]
    • มีการบันทึกไว้ว่าน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลมีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพ อย่างน้อยที่สุดส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะลักษณะที่เป็นกรด แต่โดยทั่วไปก็มีการใช้น้ำส้มสายชูรักษาอาการติดเชื้อรามาหลายร้อยปีแล้ว [10]
  3. บดกระเทียมปอกเปลือก 2-3 กลีบแล้วผสมกับน้ำมันมะกอก น้ำมันละหุ่ง หรือน้ำผึ้งมานูกา ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพเช่นเดียวกัน [11] ทาลงบนบริเวณที่ติดเชื้อแล้วพันพลาสเตอร์ทับไว้อีกที [12]
    • บดกระเทียมใหม่ทุกวัน
    • กระเทียมมีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะธรรมชาติที่มีประโยชน์ในการต่อสู้กับการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น เชื้อสแตฟ [13]
  4. ผสมดีเกลือฝรั่ง ½ ถ้วยกับน้ำอุ่น 3 ถ้วย แช่นิ้วเท้าในส่วนผสม 15 นาทีหรือจนกว่าน้ำจะเย็น
    • ปริมาณเกลือที่มากสามารถรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้
  5. เจือจางน้ำยาบ้วนปากลิสเตอรีนในน้ำอุ่นแล้วแช่นิ้วเท้าลงไป. ผสมลิสเตอรีนกับน้ำอุ่นอย่างละเท่าๆ กันแล้วแช่นิ้วเท้าลงในส่วนผสมทุกวัน ลิสเตอรีนสามารถช่วยรักษาอาการติดเชื้อทั่วไปได้ เพราะมันประกอบด้วยเมนทอล ไธมอล และยูคาลิปทอล ซึ่งทั้งหมดนี้มาจากแหล่งยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติหลายๆ แหล่ง [14]
    • ถ้าคุณติดเชื้อราที่เล็บเท้า การผสมลิสเตอรีนกับน้ำส้มสายชูขาวในอัตราส่วน 50/50 แล้วจุ่มนิ้วเท้าลงไปในส่วนผสมนั้นสามารถรักษาอาการติดเชื้อได้ [15]
  6. ถ้ารักษาด้วยตัวเองที่บ้านแล้วอาการติดเชื้อไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วันหรือดูท่าจะแย่ลง คุณก็ต้องไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา เพราะฉะนั้นถ้ารักษาด้วยวิธีการเหล่านี้แล้วไม่ได้ผล ให้เลิกทำ
    โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1785201/
  2. Jenkins, Rowena, Aled Roberts, and Helen Louise Brown. "On the antibacterial effects of manuka honey: mechanistic insights." Research and Reports in Biology 6 (2015): 215-224.
  3. Gupta, Shivani, Suman Kapur, and Apoorva Verma. "Garlic: An Effective Functional Food to Combat the Growing Antimicrobial Resistance." Pertanika Journal of Tropical Agricultural Science 38.2 (2015).
  4. http://www.staph-infection-resources.com/treatment/alternative/garlic/
  5. http://www.listerine.com/active-ingredients?icid=subnav
  6. http://www.peoplespharmacy.com/2013/12/02/listerine-soaks-proved-effective-against-toenail-fungus/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,715 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา