ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปกติในร่างกายคุณก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่เป็นพันๆ ชนิดอยู่แล้ว ซึ่งล้วนแต่ทำหน้าที่สำคัญอย่างการดูแลสุขภาพร่างกายของคุณ แต่การติดเชื้อแบคทีเรียอาจเกิดได้เมื่อแบคทีเรียพวกนี้เพิ่มจำนวนมากเกินพิกัด จนไประรานอวัยวะต่างๆ ของคุณซะแทน หรือเมื่อเชื้อแบคทีเรียร้ายจากภายนอกเล็ดลอดเข้าไปในร่างกายของคุณ การติดเชื้อแบคทีเรียมีด้วยกันหลายระดับ ตั้งแต่แบบอ่อนๆ ไปจนถึงระดับรุนแรง ลองอ่านบทความนี้ดู จะได้รู้จักสังเกตอาการและดูแลรักษาตัวได้เมื่อติดเชื้อแบคทีเรีย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

รักษากับคุณหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการต่อไปนี้พบบ่อยเมื่อร่างกายคุณเกิดการติดเชื้อ ควรพบแพทย์ด่วน [1]
    • มีไข้ โดยเฉพาะถ้าเจ็บปวดรุนแรงที่หัว คอ หรือหน้าอกร่วมด้วย
    • หายใจลำบากหรือเจ็บแน่นหน้าอก
    • ไอนานเกิน 1 อาทิตย์
    • บวมหรือมีผดผื่นแล้วไม่ยอมหาย
    • เจ็บหรือปวดทางเดินปัสสาวะมากขึ้นเรื่อยๆ (อาจเกิดอาการตอนฉี่ ปวดแถวเอว หรือท้องน้อย)
    • ปวด บวม ร้อนที่แผล รวมถึงมีหนองไหลหรือรอยแดงแผ่ออกมาจากแผล
  2. วิธีเดียวที่จะรู้แน่ชัดว่าคุณติดเชื้อแบคทีเรียหรือเปล่า และเป็นชนิดไหน ก็มีแต่การไปหาหมอเท่านั้น ถ้าคุณสงสัยว่าตัวเองน่าจะติดเชื้อ ให้รีบนัดหมอแล้วไปตรวจทันที คุณหมอจะได้ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจฉี่หาเชื้อ หรือเก็บตัวอย่างจากบริเวณที่ติดเชื้อไปตรวจว่าตกลงคุณติดเชื้อชนิดไหนกันแน่
    • บอกเลยว่าไม่มีอะไรแน่นอนไปกว่าการตรวจร่างกายโดยละเอียดกับคุณหมอ ถ้าคิดว่าตัวเองติดเชื้อ ก็ให้จดอาการที่พบไว้ แล้วรีบไปตรวจรักษากับคุณหมอให้เร็วที่สุด
  3. ปรึกษาคุณหมอเรื่องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ. ลองปรึกษาคุณหมอเรื่องยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ คุณจะได้พอรู้ว่าคุณหมอจ่ายยาอะไรให้คุณ
    • Broad-spectrum antibiotics คือยาปฏิชีวนะกลุ่มที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง ใช้รักษาแบคทีเรียชนิดแกรมบวก กับแบคทีเรียชนิดแกรมลบ (gram positive / negative bacteria) คุณหมอจะจ่ายยาชนิดนี้ให้ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าคุณติดเชื้อแบคทีเรียตัวไหนกันแน่
      • Amoxicillin, Augmentin, Tetracycline แล้วก็ Ciprofloxacin ก็จัดอยู่ในยาปฏิชีวนะจำพวกนี้
    • Medium-spectrum antibiotics คือยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ระดับปานกลาง มุ่งเน้นรักษาแบคทีเรียบางชนิด ตัวยาที่รู้จักกันดีก็เช่น Penicillin กับ bacitracin
    • Narrow-spectrum antibiotics คือยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์แคบ ใช้รักษาแบคทีเรียแค่ชนิดเดียว เช่นยา Polymyxins เป็นยาที่รักษาได้เห็นผลทันใจ หายง่ายกว่ายาตัวอื่น ในกรณีที่คุณหมอรู้แน่ชัดว่าคุณติดเชื้อจากแบคทีเรียตัวไหน [2]
  4. คุณหมอจะเลือกเองว่าเคสแบบคุณต้องใช้ยาปฏิชีวนะตัวไหน ถึงจะกำจัดแบคทีเรียตัวนั้นได้เห็นผลที่สุด ยาปฏิชีวนะนั้นมีด้วยกันมากมายหลากหลายชนิด มีแค่คุณหมอเท่านั้นที่จะเป็นคนกำหนดว่าจะจ่ายยาตัวไหนให้คุณ
    • คุณต้องรู้แน่ชัดว่าปริมาณยาที่คุณควรกินคือแค่ไหน และควรกินเมื่อไหร่ ยาปฏิชีวนะบางตัวต้องกินหลังอาหาร บางตัวก็ก่อนนอน เป็นต้น ต้องสอบถามคุณหมอหรือเภสัชกรเรื่องปริมาณและขั้นตอนต่างๆ ให้แน่ใจ
  5. ถ้ากินยาไม่ครบละก็ อาการติดเชื้อของคุณอาจลุกลามกว่าเดิม ดีไม่ดีเชื้อจะดื้อยาเอา ทีนี้ล่ะติดเชื้ออีกก็รักษายากเลย
    • ถึงจะรู้สึกว่าตัวเองหายดีแล้วก็ต้องกินยาปฏิชีวนะให้ครบ จะได้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อาจหลงเหลือในร่างกายของคุณ ถ้าเลิกกินเร็วเกินไป จะทำให้ไม่หายจากอาการติดเชื้ออย่างสมบูรณ์ [3]
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ทำความสะอาดแผลป้องกันการติดเชื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังโดยล้างและทำแผลทันที. การปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธีนั้นถือว่าสำคัญมากในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าเป็นแผลเปิดแบบรุนแรง (แต่ไม่ลึกถึงกระดูก) ก็ห้ามไปรักษาพยาบาลเองสุ่มสี่สุ่มห้าเด็ดขาด ถ้าแผลลึก กว้าง หรือเลือดไหลเยอะ ให้รีบเรียกรถพยาบาลโดยด่วน [4]
  2. ถ้าทำแผลโดยที่มือสกปรก จะยิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ให้ล้างมือด้วยน้ำอุ่นกับสบู่ฆ่าเชื้อประมาณ 20 วินาที แล้วเช็ดให้แห้ง ใส่ถุงมือยางหรือถุงมือไวนิลด้วยถ้ามี [5]
    • ถ้าแพ้ลาเท็กซ์ก็ระวังอย่าไปใส่ถุงมือยาง
  3. แต่ถ้าเลือดไหลเยอะ ให้รีบไปหาหมอจะดีกว่า อย่าดันทุรังรักษาแผลรุนแรงด้วยตัวเอง ให้รีบไปแผนกฉุกเฉินหรือโทรเรียกรถพยาบาล [6]
  4. เอาส่วนที่เป็นแผลไปรองใต้น้ำอุ่นที่ไหลไม่แรงมากเพื่อล้างแผล อย่าฟอกสบู่ที่แผลเว้นแต่แผลจะสกปรกจริงๆ ถ้าเป็นแบบนั้นให้ล้างรอบแผลเบาๆ ด้วยสบู่อย่างอ่อน ห้ามใช้ hydrogen peroxide ล้างแผลเด็ดขาด เพราะจะทำให้แผลฟื้นตัวยาก [7]
    • ถ้าเห็นว่ามีสิ่งสกปรกหรือเศษอะไรตกค้างในแผล ให้ใช้แหนบคีบออกเบาๆ แต่อย่าลืมฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ก่อน แต่ถ้ากลัวหรือทำเองไม่ได้ ก็ไปหาหมอจะดีกว่า
  5. ทายาปฏิชีวนะอย่าง Neosporin แผลจะได้หายเร็วขึ้นและไม่ติดเชื้อลุกลามไปกว่าเดิม ค่อยๆ ทายาตรงบริเวณที่เป็นแผลหลังทำความสะอาด
  6. ถ้าแผลถลอกเล็กๆ ก็เปิดรับลมไว้ แต่ถ้าแผลใหญ่ ลึก ให้ปิดไว้ด้วยผ้าก๊อซฆ่าเชื้อ [8] ถ้าแผลใหญ่ให้ใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าพันแผลแบบ nonstick ติดด้วยเทปสำหรับพันแผลอีกทีจะดีที่สุด หรือพลาสเตอร์ขนาดใหญ่พอดีแผลก็ได้เหมือนกัน ระวังอย่าเอาส่วนกาวไปติดทับแผลก็แล้วกัน เพราะตอนดึงออกจะพลอยทำให้แผลเปิดนี่สิ
    • เปลี่ยนผ้าก๊อซวันละครั้งถ้าสกปรก หลังอาบน้ำนี่แหละสะดวกสุด
  7. ถ้าแผลบวมแดงหรือมีหนองไหล รวมถึงรอยแดงเป็นเส้นรอบๆ แผล หรือดูอาการหนักขึ้น ให้รีบหาหมอทันที [9]
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ระวังติดเชื้อจากอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะหยิบจับอาหาร ให้ล้างมือด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ 20 วินาทีก่อนเสมอ จากนั้นเช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าแห้งสะอาดๆ ถ้าต้องหยิบจับเนื้อดิบ อย่าลืมล้างมือตามหลัง เวลาไปจับวัตถุดิบชนิดอื่นหรืออะไรต่อเชื้อจะได้ไม่ไปปนเปื้อน [10]
  2. ล้างผักผลไม้สดๆ ก่อนกิน ถึงจะบอกว่าเป็นออร์แกนิกก็ต้องล้างซ้ำ และล้างทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ที่สัมผัสกับอาหารสดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ จะได้ปราศจากแบคทีเรียร้าย [11]
    • แยกเขียงไปเลยตามชนิดอาหาร อย่างผักผลไม้กับเนื้อสด เป็นต้น จะได้ไม่ปนเปื้อนกัน [12]
  3. เช็คให้ดีว่าวัตถุดิบชนิดไหนต้องปรุงอย่างไรถึงจะสุกดี คอยใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิเนื้อ จะได้แน่ใจว่าเนื้อของคุณปรุงสุกดีแล้ว [13]
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ทำยังไงไม่ให้แพร่เชื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [14] หมั่นล้างมือให้สะอาด (โดยเฉพาะหลังไปจับหน้า ปาก หรือจมูกของตัวเองมาตอนป่วย รวมถึงหลังสัมผัสแตะต้องคนป่วยคนอื่นๆ แม้แต่ตอนเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกก็ด้วย) แล้วจะช่วยได้เยอะเรื่องขจัดเชื้อโรค ไม่เจ็บป่วยบ่อยๆ
  2. ตัวเองป่วยก็ช่วยคนอื่นหน่อย ทุกครั้งที่ไอจามอย่าลืมปิดปากและจมูก จะได้รักษาตัวอย่างสงบ เชื้อโรคไม่ปลิวว่อนจนคนอื่นติด
    • หลังจามหรือไอให้ล้างมือก่อนเผลอไปสัมผัสแตะต้องคนอื่น หรืออะไรก็ตาม อย่างลูกบิดประตูหรือสวิทช์ไฟ
    • หรือจะไอจามใส่ข้อพับตรงข้อศอกก็ได้ เวลาป่วยเชื้อโรคจะได้ไม่กระเด็นกระดอน แถมไม่ต้องล้างมือทุก 2 นาที (แต่ทางที่ดีก็เม้มปากให้แน่นเวลาไอ แค่นี้ก็ไม่ต้องใช้ทั้งข้อพับทั้งมือ)
  3. คุณช่วยลดการแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ แค่เก็บตัวอยู่บ้านสักพักตอนป่วย [16] เป็นไปได้ให้ลางานเลย (หรือทำงานผ่านเน็ตเฉพาะวันนั้น) เพื่อนร่วมงานจะได้ปลอดภัยไร้กังวล
  4. [17] โรงเรียนกับเนิร์สเซอรี่นี่แหละแหล่งเพาะเชื้อเลย หายดีแล้วก็ไปติดจากเพื่อนคนอื่น พอป่วยก็แพร่เชื้อให้เพื่อนอีกคนต่อไป ทำเอาเครียดกันทั้งเด็กและพ่อแม่ แต่คุณป้องกันไว้ก่อนได้โดยให้ลูกหยุดเรียนรักษาตัว รับรองว่าดูแลดีๆ แป๊บเดียวก็หาย แถมถือว่าช่วยพ่อแม่เด็กอื่นไปในตัวอีกต่างหาก
  5. เช็คให้ชัวร์ว่าทั้งลูกและคุณฉีดวัคซีนที่จำเป็นครบถ้วนทุกตัวแล้ว ทั้งอ้างอิงตามอายุและสภาพแวดล้อม วัคซีนนี่แหละช่วยป้องกันการติดเชื้อและโรคต่างๆ ได้โดยตรงเลย กันไว้ดีกว่ามานั่งแก้ทีหลังนะ [18]
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

รู้จักโรคติดเชื้อยอดนิยม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Staphylococci หรือที่คนเรียกกันย่อๆ ว่า “staph” เป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างกลม (cocci) แบบแกรมบวก และเกาะตัวกันเป็นกลุ่ม (clusters) คำว่า “gram” ใน gram-positive หรือแกรมบวก นั้นหมายถึงลักษณะการย้อมแกรมที่เห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์ ส่วน “cocci” บอกรูปร่างของแบคทีเรียเวลามองผ่านกล้องจุลทรรศน์เช่นกัน แบคทีเรียชนิดนี้มักเข้าสู่ร่างกายเวลาคุณถูกอะไรบาดหรือมีแผลเปิด [19]
    • Staph aureus คือเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาการติดเชื้อแบคทีเรีย staph โดยอาจทำให้เกิดโรคปอดบวม (pneumonia) อาหารเป็นพิษ ผิวหนังติดเชื้อ เลือดเป็นพิษ หรือกลุ่มอาการ toxic shock
    • MRSA (methicillin-resistant Staphylococcus aureus) เป็นการติดเชื้อ staph แบบหนึ่งที่รักษาได้ยาก เพราะ MRSA จะไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะบางตัว และพัฒนาไปเป็นเชื้อที่ดื้อยา คุณหมอส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยจ่ายยาปฏิชีวนะให้ในทันที เว้นแต่ในเคสที่จำเป็นจริงๆ [20]
  2. Streptococci หรือที่คนนิยมเรียกกันว่า "strep" เป็นแบคทีเรีย cocci แบบแกรมบวก และเรียงตัวกันยาวเหมือนโซ่ (chains) เป็นแบคทีเรียชนิดที่พบบ่อย Streptococci นั้นทำให้คออักเสบ (strep throat) ปอดบวม เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (cellulitis) โรคพุพอง (impetigo) ไข้อีดําอีแดง (scarlet fever) ไข้รูมาติก (rheumatic fever) หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (acute glomerulonephritis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) หูชั้นกลางอักเสบ (otitis media) ไซนัสอักเสบ (sinusitis) และอื่นๆ อีกมากมาย [21] [22]
  3. หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ E. coli เป็นแบคทีเรียแกรมลบแบบท่อน (gram-negative rod) พบได้ในของเสียของทั้งสัตว์และคน ซึ่ง E.Coli เป็นแบคทีเรียที่กลุ่มใหญ่และหลากหลายมาก บางสายพันธุ์ก็อันตรายมาก แต่ถือเป็นส่วนน้อย E.Coli จะทำให้คุณท้องเสีย ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal infections) ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infections) ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ (respiratory infections) รวมถึงการติดเชื้ออื่นๆ อีกด้วย [23]
  4. Salmonella นั้นเป็นแบคทีเรียแกรมลบแบบท่อน ที่ทำให้ทางเดินอาหารอักเสบได้ รวมถึงโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่มักลงท้ายด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาเป็นเวลานาน อาหารที่เสี่ยงปนเปื้อนเชื้อ salmonella ก็คือพวกไข่กับเนื้อสัตว์ปีกที่ดิบหรือไม่สุกดีนั่นเอง [24]
  5. Haemophilus influenzae หรือเชื้อ HIB นั้นเป็นแบคทีเรียแกรมลบแบบท่อน ติดต่อกันได้ทางอากาศ เพราะงั้นก็ระบาดง่ายน่าดู ทำให้เกิดโรคฝาปิดกล่องเสียงอักเสบ (epiglottis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ และปอดบวม ถ้าติดเชื้อขั้นรุนแรงก็อาจถึงขั้นพิการตลอดชีวิต หรือถึงตายได้เลย [25] [26]
    • Haemophilus influenzae รักษาโดยฉีดแค่วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่หรือ “flu shot” ไม่ได้ แต่เด็กส่วนใหญ่มักได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน Haemophilus influenza มาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว (ก็วัคซีนโรค “Hib” นั่นแหละ)

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณแพ้ยาปฏิชีวนะบางตัว ให้ใส่สายรัดข้อมือหรือพกบัตรประจำตัวที่ระบุตัวยาที่คุณแพ้ไว้ด้วย เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้คุณช่วยตัวเองหรือสื่อสารไม่ได้ขึ้นมา
  • ถ้าคุณไม่สะดวกล้างมือ ให้ใช้เจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อแทน แต่ห้ามใช้แต่เจลอย่างเดียวเด็ดขาด มีโอกาสเมื่อไหร่ให้รีบล้างมือทันที
  • ถ้ามีความจำเป็นต้องติดต่อหรือคลุกคลีกับคนป่วยด้วยเชื้อแบคทีเรียบ่อยๆ อย่าลืมล้างมือทุกครั้งให้สะอาด และถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าไปแตะต้องสัมผัสตัวเขา ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า

คำเตือน

  • คอยสังเกตอาการแพ้ยาปฏิชีวนะไว้ให้ดี ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ และเคยกินยาตัวไหนมา ก็มีสิทธิ์แพ้ยาที่ใช้ปัจจุบันได้ด้วยกันทั้งนั้น อาการที่บอกว่าคุณกำลังแพ้ยาก็เช่น ผดผื่น (โดยเฉพาะลมพิษ (hives หรือ welts)) หรือหายใจติดขัด ถ้าสงสัยว่าตัวเองแพ้ยาให้หยุดยาแล้วรีบไปหาหมอทันที
  • เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ถ้าต้องกินยาปฏิชีวนะกลุ่มที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะกลายเป็นโรคหอบหืด (asthma) แต่ถ้าคุณหมอจ่ายยาชนิดนี้มาให้ ก็แปลว่าคุณหมอคงเล็งเห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการรักษาจริงๆ หรืออาจเป็นเพียงวิธีเดียวที่จะรักษาอาการติดเชื้อได้ [27]
  • สำหรับผู้ใหญ่ ถ้ากินยาปฏิชีวนะกลุ่มที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง ก็อาจทำให้ดื้อยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์แคบได้ [28]

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,753 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม