ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

นิ้วซ้น หรือ jammed finger เป็นอาการข้อแพลงชนิดหนึ่ง เกิดจากการกระแทกรุนแรงที่ปลายนิ้ว [1] นิ้วซ้นมักเกิดตอนเล่นกีฬา โดยเฉพาะวอลเลย์บอล บาสเกตบอล ฟุตบอล แล้วก็รักบี้ ปกติจะหายเองได้ไม่ต้องไปหาหมอ แค่ดูแลด้วยตัวเองดีๆ ก็หายเร็วขึ้นแล้ว ส่วนใครที่อาการหนักหน่อยคงต้องไปหาหมอ ไม่งั้นอาจขยับนิ้วไม่ได้ดีเหมือนเดิม

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ดูแลรักษานิ้วซ้นด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระดับความเจ็บปวดที่เกิดจากอาการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ใช้บอกความรุนแรงของอาการไม่ได้เสมอไป พูดง่ายๆ คือถึงจะเจ็บมาก แต่อาการอาจไม่หนักตามก็ได้ นิ้วซ้นมักทำคุณเจ็บหนักตอนแรกๆ แต่จริงๆ แล้วไม่รุนแรงเท่านิ้วหักหรือข้อเคลื่อน [2] อันนี้รู้ๆ กันอยู่ว่าถ้านิ้วงอบิดเบี้ยวผิดรูป ก็เป็นไปได้มากว่าคงข้อเคลื่อนหรือหัก รวมถึงถ้ามีอาการบวม ช้ำ เพราะงั้นถ้าคุณเจ็บนิ้วมาก และ บิดเบี้ยวผิดรูป หรือช้ำบวมเต่ง ให้รีบไปหาหมอทันที แต่ถ้าไม่มีอาการแบบที่ว่า ก็แค่พักนิ้วแล้วดูแลด้วยตัวเองก็พอ
    • แต่ถ้าอาการหนัก ไม่ว่าจะเจ็บปวด ชา อ่อนแรง บวม หรือช้ำ อันนี้ต้องไปโรงพยาบาลด่วน
    • อาการนิ้วซ้นมักเกิดจากเอ็นรอบข้อนิ้วบาดเจ็บเสียหาย ทำให้ข้อนิ้วนั้นขยับเขยื้อนไม่ค่อยได้เพราะบวมตึง
    • นิ้วซ้นเล็กน้อยจะถูกจัดอยู่ในอาการข้อแพลงระดับ 1 (Grade I) คือเอ็นยึดตึงไปหน่อย แต่ไม่ถึงขั้นฉีกขาด [3]
  2. Watermark wikiHow to รักษาอาการนิ้วซ้น
    อาการนิ้วซ้นมักเกิดตอนลูกบาส ลูกวอลเลย์ หรือเบสบอลกระแทกนิ้ว ถ้าเป็นแบบนั้นให้หยุดพักจากการเล่นกีฬาที่ว่า ประมาณ 2-3 วันไปจนถึง 1-2 อาทิตย์ แล้วแต่ความรุนแรง ถ้าหน้าที่การงานของคุณต้องใช้มือ ก็คงต้องลางานหรือสลับไปทำหน้าที่อื่น (ชั่วคราว) ที่ไม่ต้องใช้นิ้วและมือมากเกินไป สรุปแล้วคืออาการข้อแพลง กล้ามเนื้อฉีก ฟกช้ำ และอักเสบ จะหายเร็วขึ้นถ้าหยุดใช้อวัยวะนั้นชั่วคราว
    • ระหว่างนั้นต้องทำใจว่าคุณคงหยิบฉวยอะไรได้ไม่ถนัดนัก รวมถึงการพิมพ์หรือเขียนด้วย โดยเฉพาะถ้าเกิดเหตุกับมือข้างที่ถนัด
    • นอกจากอุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬาแล้ว อยู่บ้านเฉยๆ ก็นิ้วซ้นได้ เช่น ประตูหนีบ เป็นต้น [4]
  3. Watermark wikiHow to รักษาอาการนิ้วซ้น
    ที่คุณเจ็บเวลานิ้วซ้นเป็นเพราะอาการอักเสบ เพราะงั้นให้ประคบเย็นทันที จะบรรเทาอาการได้เยอะ เพราะช่วยไม่ให้เลือดไหลมาเลี้ยงจุดนั้นเยอะเกินไป ลดบวม และลดปวดเพราะความเย็นทำให้เส้นใยประสาทชา [5] อะไรเย็นๆ ก็เอามาประคบได้หมด เช่น ก้อนน้ำแข็ง เจลแพ็ค หรือถุงผักแช่แข็ง (ถั่วลันเตานี่แหละสะดวกสุด) ประคบเย็นทุกชั่วโมง ครั้งละประมาณ 10-15 นาที จนอาการปวดบวมดีขึ้น พอผ่านไป 2-3 วันก็ไม่ต้องประคบเย็นต่อแล้ว
    • ตอนประคบเย็น ให้ยกมือ/แขนสูงโดยเอาหมอนรอง จะได้ต้านแรงโน้มถ่วง ลดปวดบวมอักเสบ
    • เอาผ้าไม่ต้องหนามากห่อของที่จะเอามาประคบเย็นก่อน จะได้ไม่เย็นจัดจนกัดผิว
  4. Watermark wikiHow to รักษาอาการนิ้วซ้น
    อีกวิธีลดปวดบวมอักเสบเวลานิ้วซ้นได้ดี ก็คือกินยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ตามร้านขายยา เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin) หรือนาพรอกเซน (Aleve) เป็นต้น [6] ยากลุ่ม NSAID ช่วยยับยั้งการอักเสบ เลยช่วยลดปวดบวมไปด้วย แต่สำคัญมากว่ายากลุ่ม NSAID และยาแก้ปวดอื่นๆ ต้องกินแค่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น (ไม่เกิน 2 อาทิตย์) เพราะอาจมีผลข้างเคียงทำให้ปวดท้อง หรืออันตรายต่อตับและไต ห้ามกินยากลุ่ม NSAID ตอนท้องว่างเด็ดขาด เพราะอาจระคายเคืองและ/หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้
    • เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่ควรกินยาแอสไพริน เพราะเสี่ยงเกิดโรคเรย์ซินโดรม (Reye's syndrome) ส่วนไอบูโพรเฟนก็ไม่เหมาะสำหรับเด็กอ่อนอายุน้อยกว่า 6 เดือน
    • ถ้าไม่มียา NSAID ก็ให้กินยาแก้ปวดแทน เช่น acetaminophen (Tylenol) ช่วยบรรเทาอาการนิ้วซ้นได้เหมือนกัน แต่อาการอักเสบจะยังคงอยู่
    • นอกจากการกินยาแล้ว อาจทาครีมหรือเจลแก้อักเสบ/แก้ปวดร่วมด้วย ตัวยาจะซึมลงไปในบริเวณที่เป็น ไม่ผ่านกระเพาะจนเกิดผลข้างเคียง
  5. Watermark wikiHow to รักษาอาการนิ้วซ้น
    ช่วงพักฟื้น อาจพิจารณาดามแล้วพันนิ้วที่ซ้นไว้กับนิ้วใกล้เคียง (เรียกว่า "buddy taping") จะได้ปกป้องไม่ให้เกิดกระทบกระเทือนไปกว่าเดิม [7] ให้เลือกเทปพันแผลโดยเฉพาะมาพันดามนิ้วที่ซ้นกับนิ้วข้างเคียงไว้ ระวังอย่าพันแน่นเกินไป ไม่งั้นอาจบวมเต่งกว่าเดิม หรือเลือดไม่เดิน อาจจะเอาผ้ากอซคั่นกลางระหว่างนิ้วด้วย จะได้ไม่เสียดสีกันจนนิ้วพอง
    • ถ้าไม่มีเทปพันแผล จะใช้มาสกิ้งเทป เทป self-adherent (ติดตัวเอง ไม่ติดวัสดุอื่น) เทปพันสายไฟ เวลโครเทป หรือพลาสเตอร์แทนก็ได้
    • วัสดุใช้ดามนิ้วก็เช่น ไม้ไอติมหรือที่ดามแบบอลูมิเนียม ดามเสร็จแล้วก็เอาเทปพันให้เรียบร้อย ถ้าเป็นเฝือกอ่อนหรือที่ดามโดยเฉพาะจะเลือกขนาดให้โค้งพอดีกับนิ้วได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ไปหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to รักษาอาการนิ้วซ้น
    ถ้าพักนิ้ว ไม่ขยับเขยื้อน และดูแลตัวเองด้วยวิธีต่างๆ เป็นอาทิตย์แล้วยังไม่หายปวดบวมหรือยึดตึง ให้ไปหาหมอจะดีกว่า เพราะอาจไม่ใช่นิ้วซ้นแต่กระดูกยาวของนิ้วแตกเป็นเส้นเล็กๆ (hairline) กระดูกหักล้า (stress fracture) หรือปุ่มกระดูกแตกหัก (avulsion fracture) ใกล้ข้อนิ้ว มักเกิดตอนเอ็นแพลงแล้วดึงกระดูกบางส่วนหลุดจากที่ไปด้วย [8] ถ้ากระดูกนิ้วแตกหรือหัก คุณหมอจะดามเหล็กไว้ประมาณ 2 - 3 อาทิตย์
    • คุณหมอจะเอกซเรย์มือเพื่อตรวจหากระดูกแตก/หัก รวมถึงอาการอื่นๆ ที่ทำให้คุณเจ็บปวด เช่น ข้อเสื่อม (osteoarthritis) กระดูกพรุน (osteoporosis) หรือติดเชื้อในกระดูก เป็นต้น
    • ถ้ากระดูกร้าวแบบ hairline อาจจะเอกซเรย์ไม่เห็นจนกว่าจะหายบวม
    • คุณหมออาจขอทำ MRI ด้วย จะได้เห็นอาการของเอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นยึด และกระดูกอ่อนในและรอบนิ้ว
  2. Watermark wikiHow to รักษาอาการนิ้วซ้น
    osteopath กับ chiropractor เป็นนักบำบัดด้านกระดูกและข้อ เน้นรักษาให้กระดูกสันหลังและข้อโดยรอบกลับมาขยับและใช้งานได้ตามปกติ รวมถึงข้อที่มือและนิ้วด้วย ถ้าข้อนิ้วของคุณซ้นรุนแรงหรือเคลื่อน นัก osteopath หรือ chiropractor จะใช้เทคนิคจัดกระดูก (manual joint manipulation) ให้ข้อหายซ้นหรือกลับคืนตำแหน่งเดิม ตอนรักษามักมีเสียงลั่นดัง "ป๊อป" หรือ "แก๊ก" แล้วตามมาด้วยอาการผ่อนคลาย ขยับเขยื้อนได้สะดวกขึ้น
    • บางคนรักษาแค่ครั้งเดียวก็หายปวด ขยับนิ้วได้ตามปกติ แต่ส่วนใหญ่ต้องกลับไปบำบัดซ้ำ 2 - 3 ครั้ง ถึงจะเห็นผล
    • การจัดกระดูกใช้รักษากระดูกแตก/หัก ติดเชื้อ หรือข้ออักเสบ (รูมาตอยด์) ไม่ได้
  3. Watermark wikiHow to รักษาอาการนิ้วซ้น
    ถ้าใน 1 - 2 อาทิตย์ อาการเรื้อรังหรือรุนแรงขึ้น หรือกลับมาขยับนิ้วไม่ได้ดีเหมือนเดิม ควรโอนเคสไปรักษากับคุณหมอโรคกระดูกจะดีกว่า [9] orthopedist เป็นคุณหมอด้านข้อและกระดูกโดยเฉพาะ เน้นรักษาอาการบาดเจ็บเรื้อรังที่ข้อโดยฉีดยาและผ่าตัด ถ้าสรุปแล้วนิ้วไม่ได้ซ้นแต่หัก ไม่หายเองตามปกติ ก็คงต้องผ่าตัดเล็ก หรือฉีดยาที่มีสเตียรอยด์รอบๆ หรือที่เอ็นยึดและ/หรือเอ็นกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ จะช่วยลดอาการอักเสบอย่างรวดเร็ว ทำให้คุณกลับมาขยับนิ้วได้ตามเดิม [10]
    • สเตียรอยด์ที่นิยมฉีดในเคสนี้ก็เช่น prednisolone, dexamethasone และ triamcinolone
    • อาการแทรกซ้อนจากการฉีด corticosteroid ก็เช่น ติดเชื้อ เอ็นหย่อน กล้ามเนื้อฝ่อ และกระทบกระเทือนเส้นประสาท (บางเคสเสียหายถาวร)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • นักกีฬาบางคนชอบรักษานิ้วซ้นเองโดยการดึงข้อ แต่จริงๆ แล้วควรปล่อยเป็นหน้าที่นักกายภาพบำบัดหรือคุณหมอจะดีกว่า
  • ถ้าพันนิ้วไว้ก่อนเล่นกีฬา จะช่วยป้องกันนิ้วซ้นนิ้วแพลงได้
  • ใครชอบหักนิ้วให้ข้อลั่นบ่อยๆ ระวังส่งผลเสียต่อข้อและเนื้อเยื่ออ่อนรอบๆ ทำให้ต่อไปจะบาดเจ็บง่ายกว่าเดิม
  • บาดเจ็บแล้วให้ประคบเย็นทันที พอหายบวมหรือช้ำแล้วค่อยสลับไปประคบร้อน
  • ของใช้ในบ้านรวมถึงสก็อตเทปก็เอามาพันดามนิ้วไว้ชั่วคราวได้ หรืออาจใช้เฝือกอ่อนที่พริ้นท์แบบ 3 มิติ แล้วใช้เทปพันสายไฟ แต่ถ้าไม่มีอะไรก็ดินสอนั่นแหละง่ายดี
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 128,882 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา