ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ขณะที่แพทย์อาจบอกว่าการ "รักษา" อาการสะอึกนั้นมันก็แค่เรื่องหลอกเด็ก แล้วก็ไม่ได้ผลแน่นอน แต่คนอื่นๆ ก็กลับบอกว่าวิธีที่พวกเขาชื่นชอบนั้นได้ผลทุกครั้งไป ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าความเชื่อพื้นบ้านบางอย่างก็เป็นวิธีที่ได้ผล โดยยังมีพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่ วิธีที่คุณเลือกนั่นก็แล้วแต่คุณ (แล้ววิธีก็มีเยอะมากๆ เลยล่ะ) แต่ถ้ามันไม่ได้ผล ก็ต้องมีสักวิธีที่ได้ผลนั่นแหละ และนี่คือวิธีที่ได้คัดสรรออกมาแล้วเพื่อให้คุณได้เริ่มลองดู

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 6:

การกินและการดื่ม (วิธีง่ายๆ)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใส่หลอดลงไปในแก้วน้ำ อุดหูทั้งสองข้างไว้ด้วยนิ้วแล้วดื่มน้ำเข้าไป ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าทำไมมันถึงได้ผล แต่มันเหมือนกับว่าคุณได้’กลืน’ก้อนสะอึกลงไปอย่างไรอย่างนั้น วิธีนี้มีแนวโน้มว่าจะได้ผลที่สุด (หมายถึงดื่มน้ำไม่กี่อึกก็หายแล้ว) ในคนช่วงวัยรุ่นและเด็กๆ ขณะที่ผู้ใหญ่จะต้องลองดื่มหลายครั้งหน่อย
  2. นำแก้วน้ำมาหนึ่งใบและหลอดอีกสองหลอด ใส่หลอดหนึ่งหลอดลงไปในแก้วน้ำเหมือนปกติ ส่วนอีกหลอดให้เอาไว้ข้างแก้วด้านนอก แล้วใส่หลอดทั้งสองเข้าไปในปาก ดูดน้ำเหมือนปกติ โดยให้ดูดอึกใหญ่ๆ
  3. วางแก้วน้ำไว้บนเก้าอี้ตัวหนึ่ง แล้วตัวเองนั่งบนเก้าอี้อีกตัวที่อยู่ข้างหน้าเก้าอี้ที่วางแก้วไว้ จากนั้นก้มลงไปดื่มให้มากที่สุดเท่าที่จะดื่มได้โดยไม่ใช้มือช่วยจับ ถือหรือเอียงแก้ว
  4. เทน้ำลงแก้วธรรมดาหรือแก้วพลาสติกให้ได้ครึ่งแก้ว จากนั้นจะนอนกลับหัว (เช่นนอนอีกด้านของเตียงหรือโซฟา) หรืองอเอวก็ได้ แล้วดื่มน้ำสักอึกสองอึก (อย่าทำหกล่ะ) แล้วค่อยกลับมานั่งแบบเดิม ถ้ายังไม่หายสะอึกก็ให้ดื่มอีก (กลับหัวเหมือนเดิมด้วยนะ) วิธีนี้ได้ผลดีเลยล่ะ!
  5. การใส่รสชาติหวานๆ เข้าปากนั้นอาจทำให้หายสะอึกได้ ลองรับประทานน้ำตาลช้อนชาหนึ่งเต็มๆ น้ำตาลในปริมาณมากจะให้ผลได้ดีที่สุด วิธีนี้ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ฉะนั้นเก็บไว้ลองเป็นวิธีสุดท้ายถ้าคุณเข้าตาจนแล้วจะดีกว่า
  6. กัดเข้าไปแล้วดูดน้ำเลมอนกิน จะโรยน้ำตาลใส่ลงไปด้วยเพื่อให้กินง่ายขึ้นก็ได้
    • รสชาติที่ดูดออกมาอาจให้ปฏิกิริยาของคุณดูคล้ายกับได้เจอใครสักคนมาทำให้คุณกลัวก็ได้ ร่างกายของคุณจะแสดงออกมาประมาณว่า โอ้ ไม่นะ เมื่อได้ลิ้มรสชาติของเลมอนแล้ว
    • จะหยดเหล้าแองโกสทูร่าบิตเตอร์สัก 4 หรือ 5 หยดลงบนชิ้นมะนาวฝานก็ได้ ถ้าคุณอยากลองเป็นบาร์เทนเดอร์ดู มันจะช่วยให้รสชาติดีขึ้น และมีบางคนรู้สึกว่ามันได้ผลดีขึ้นด้วยนะ
  7. ดื่มสักครึ่งช้อนชาทุกๆ ประมาณ 7-10 วินาทีจนกว่าจะหายสะอึก ไม่ชอบน้ำแตงกวาดองหรือน้ำส้มสายชูหรอ? เอาน่า ยังมีวิธีอื่นอีกเยอะ!
  8. น้ำตาลนั้นสามารถใช้แก้อาการสะอึกได้เช่นกัน ตักน้ำตาลทราย (หรือน้ำผึ้ง) มาหนึ่งช้อนแล้วเอาเข้าปากค้างไว้สักห้าวินาที จากนั้นกลืนแล้วจิบน้ำตามอึกหนึ่ง
    • ถ้ามันไม่ได้ผล ก็ไม่แนะนำให้กินไปอีกช้อนเมื่อกินไปแล้วช้อนหนึ่ง ให้เปลี่ยนวิธีถ้าจำเป็น
  9. ตักเนยถั่วให้พูนช้อนแล้วเอาเข้าปากค้างไป 5-10 วินาที จากนั้นกลืนลงไปโดยไม่ต้องเคี้ยว น้ำลายทำให้เนยถั่วนิ่มลงเล็กน้อยแล้ว จึงกลืนได้ง่ายขึ้นแล้วล่ะ
    • จะใช้เนยอัลมอนด์หรือนูเทลล่าแทนก็ได้ อะไรก็ได้ที่เหนียวๆ นุ่มๆ ที่เนื้อคล้ายกับเนยถั่วก็ใช้ได้ทั้งนั้น
  10. กลืนเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ (5 กรัม) แล้วจิบน้ำตามเล็กน้อย ขณะที่ทำอยู่ก็หายใจช้าๆ ผ่อนคลายไปด้วย
  11. 11
    หายใจเข้าลึกๆ จากนั้นก็จิบน้ำตามแก้วหนึ่งก่อนที่จะผ่อนลมหายใจออก. อย่าดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ นอกจากน้ำเปล่า เพราะมันไม่ได้ผลเท่าน้ำเปล่าหรอก วิธีนี้ไม่ได้ผลทุกครั้งเสมอไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 6:

หายใจและกลืน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แล้วกลืนน้ำลายเข้าไปโดยไม่ต้องหายใจออก ถ้าคุณสามารถหายใจเข้าได้อีกนิดก็ทำซะ ให้กลืนและหายใจเข้าเรื่อยๆ จนกว่าจะกลืนหรือหายใจเข้าไม่ได้อีกต่อไป
    • เมื่อคุณกลืนต่อไป ไม่ไหวแล้วจริงๆ ให้ปล่อยลมหายใจออกมายาวๆ แล้วจะกลับมาหายใจได้แบบเดิม
  2. อ้าปากค้างไว้ประมาณสองสามนาที ถ้ารู้สึกอยากกลืนน้ำลายก็กลืนซะ แต่ต้องให้ริมฝีปากทั้งสองห่างออกจากกันตอนกลืนน้ำลายด้วยนะ
    • กลืนน้ำลายทุกๆ สองสามวินาที โดยเฉพาะตอนที่รู้สึกว่ากำลังจะสะอึกออกมา บางทีอาจสะอึกก่อนสักเล็กน้อย แต่ถ้ากลืนน้ำลายต่อไปเรื่อยๆ ก็อาจหายสะอึกได้ภายในเวลา 3 นาที
    • ให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ใส่อะไรที่รัดอยู่บริเวณหน้าอกไว้อยู่ ถ้าใส่อยู่ก็ถอดหรือปลดออกให้หลวมซะ
  3. เมื่อหายใจออกเรียบร้อย ให้หายใจเข้าช้าๆ แล้วบิดตัวไปมาเพื่อให้หายใจเข้า จากนั้นบิดตัวเป็นรูปเลขแปดขณะที่หายใจไปด้วย
    • อาการสะอึกจะหายไปแทบในทันที มันมักจะได้ผลตอนทำไปภายใน 10 รอบ
    • อีกวิธีที่จะทำให้ได้ผลมากที่สุดคือการสูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นเอาไว้ จากนั้นค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกมาทีละน้อย ทำต่อไปเรื่อยๆ ประมาณ 15-20 วินาที หรือจนกว่าจะหายสะอึก
  4. หายใจเข้าช้าๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าไม่สามารถหายใจเข้าได้อีกต่อไป พยายามให้รู้สึกว่าได้หายใจเข้าไปยังช่วงหน้าท้องของคุณ คุณกำลังยืดกะบังลมเพื่อหยุดอาการสะอึกอยู่ไงล่ะ
    • กลั้นหายใจเอาไว้สัก 30 วินาที แล้วหายใจออก ช้าๆ จนกว่าปอดจะโล่ง ทำซ้ำ 4 ถึง 5 ครั้งหรือจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น
  5. หายใจเข้าออกครั้งหนึ่งช้าๆ ในตอนที่หายใจออก ให้ปล่อยลมหายใจออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (จนร่างกายบังคับให้หายใจเข้าอีกครั้งหนึ่ง) จากนั้นหายใจเข้าลึกๆ แล้วแลบลิ้นออกมา กลั้นหายใจเอาไว้ประมาณ 40 วินาทีขณะที่นิ้วทั้งสองข้างอุดหูอยู่
    • หายใจออกช้าๆ ถ้าคุณรู้สึกว่ามันไม่ได้ผลก็ให้ลองอีกครั้ง หลังจากทำไปแค่ 3 ครั้งก็ได้ผลแล้ว
  6. หายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นเอาไว้ ขณะที่กลั้นไว้ก็อุดจมูกและปิดปากไว้ด้วย จากนั้นเริ่มขยับกะบังลมเหมือนว่าหายใจเข้าออกอยู่อย่างรวดเร็ว
    • หายใจออกเมื่อหายสะอึกแล้วหรือเมื่อต้องการอากาศหายใจ ทำซ้ำหากยังสะอึกอยู่
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 6:

เคลื่อนที่ไปรอบๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนอื่น ให้บีบจมูกเอาไว้ จากนั้นหมุนตามเข็มนาฬิกาขณะที่ร้องเพลง "พาย พาย พายเรือน้อย"
    • ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะร้องเพลงจบ 5 ครั้ง เมื่อจบแล้ว ให้เปลี่ยนไปหมุนทวนเข็มนาฬิกาทันทีขณะที่ร้องเพลง "หนูมาลีมีลูกแมวเหมียว" ไปด้วย การร้องเพลงนี้เป็นการจับเวลา และยังทำให้หายใจเข้าออกได้อย่างมีพลังอีกด้วย
  2. นอนลงไปนานๆ จากนั้นก็ลุกขึ้นอย่างรวดเร็ว เท่านี้ก็ได้ผลแล้ว ถ้าเกิดว่าวิธีนี้มันไม่ได้ทำให้คุณสะอึกตั้งแต่แรกน่ะนะ!
    • ถ้าวิธีนี้ไม่ได้ผล ให้ยืนนานๆ แล้วลงไปนอนอย่างรวดเร็วแทน
  3. หาเก้าอี้ที่มีพนักพิงตริงๆ แล้วนั่งหลงไปให้หลังชิดเต็มๆ งอตัวมาข้างหน้าช้าๆ แล้วให้เอื้อมลำแขนข้ามขึ้นไปเก็บด้านบนในท่าทางที่มิดชิด เป็นวิธีเดียวกันกับที่สจ๊วตหรือแอร์โอสเตสแนะนำให้ทำเพื่อ"รับมือกับเครื่องบินตก" ทำท่านี้ไปจนกว่าจะรู้สึกไม่สบายตัว
    • ค่อยๆ รัดแขนทั้งสองข้างช้าๆ และพยายามรัดบีบข้างกายตัวเอง กลั้นหายใจไว้ 5 ถึง 10 วินาที แล้วปล่อยออก ค่อยๆ กลับขึ้นมานั่งตามเดิมแล้วทำซ้ำหากจำเป็น
      • วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหากับหลัง
  4. กลืนอากาศลงไปจนกว่าจะเรอออกมา ท้ายที่สุดอากาศที่กลืนเข้าไปจะออกมาในรูปการเรอ มันจะไปเริ่มการทำงานของเส้นประสาทเวกัสใหม่ ซึ่งจะหยุดการสะอึกได้
  5. นับวินาทีระหว่างการสะอึกแต่ละครั้ง เมื่อถึงเวลาที่จะสะอึก หรือรู้สึกว่ากำลังจะสะอึกออกมา ให้ไอออกมาดังๆ และ/หรือตะโกนออกมา! ทำซ้ำ 3 หรือ 4 ครั้งถ้าจำเป็น
  6. ในการทำวิธีนี้ ให้หายใจเข้าเร็วๆ จนกว่าจะหายใจเข้าต่อไปไม่ได้แล้ว จากนั้นมองลงไปข้างล่าง ฉะนั้นคอคุณจะงอลง ให้อยู่อย่างนั้นเป็นเวลา 10-20 วินาที เพื่อเป็นการบังคับให้อากาศไหลลงข้างล่าง
    • กลับไปยังท่าตั้งตรงตามปกติ และให้อากาศคงอยู่ข้างล่างปอดของคุณ มันจะไปขัดขวางการสะอึกของคุณ แล้วคุณก็จะไม่สะอึกอีกต่อไปนั่นเอง!
  7. ถ้าหากคุณเป็นคนบ้าจี้ด้วยแล้วก็ดีเลย ความรู้สึกจั๊กจี้จะไปขัดขวางคุณจากการสะอึก และคุณก็จะลืมมันไปเลยล่ะ โดยเฉพาะถ้าเขาไม่หยุดจั๊กจี้สักทีนี่แหละ! ไม่ดีเลยนะ
    • บางทีอาจต้องให้เขาจั๊กจี้เป็นเวลา 30 วินาทีหรือนานกว่านั้น ทนได้หรือเปล่าล่ะ? ถ้าทนไม่ไหว ก็ให้เขาทำให้คุณกลัวแทน แต่มันได้ผลจริงๆ นะ! คุณจะรู้สึกตกใจสุดๆ ฉะนั้นคุณก็จะอึ้งและเปลี่ยนกลับไปเริ่มหายใจต้นใหม่ อีกครั้ง
  8. ประโยชน์ของมันก็ขึ้นอยู่กับเวลาที่เหมาะสมใช่ไหมล่ะ?! ว่าแต่มันมีเอาไว้ทำไมล่ะเนี่ย? ให้ดื่มน้ำไปอึกหนึ่งพอประมาณ แต่อย่ากลืนลงไปนะ! อมน้ำไว้ในปาก จากนั้นดึงติ่งหูทั้งสองข้างลงแล้วเอียงหัวไปด้านหลัง กลืนน้ำลงไปแล้วก็ แต่นแต๊น! หายสะอึกเลยล่ะสิ!
  9. กดนิ้วโป้งทั้งสองข้างเอาไว้ตรงใบหูส่วนที่อยู่ด้านหน้ารูหู (เรียกว่ากระดูกอ่อนข้างรูหู (Tragus) แล้วกดเข้าไปเพื่อปิดรูหู จากนั้นใช้นิ้วก้อยทั้งสองปิดจมูกเอาไว้ จากนั้นก็หลับตาลง แล้วสูดหายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • ลองพยายามหายใจให้ปกติหลังจากออกกำลังกายเสร็จดูสิ ตามธรรมชาติร่างกายจะทำให้เราหอบหายใจหนักหรือหายใจเข้าออกลึกมาก ให้ปรับไปหายใจตามปกติเหมือนเดิมดู
  10. ยืนตัวตรงโดยวางเท้าให้กว้างเท่าสะโพก เก็บนิ้วโป้งไว้ในฝ่ายมือโดยเหยียดนิ้วให้ตรง จากนั้นเชิดคางขึ้น มองไปข้างบน แล้วยืดแขนชูขึ้นเหนือหัว (ชูขึ้นฟ้าไปเลย) เกร็งหน้าท้องเอาไว้เหมือนพยายามให้กางเกงหลุดออกจากสะโพก แล้วสูดหายใจเข้าลึกๆ หลายๆ ครั้ง
    • ถ้าคุณไม่ได้สะอึก การทำแบบนี้อาจทำให้คุณหาวออกมาได้
  11. หายใจโดยใช้วิธีหายใจแบบนักร้อง (ใช้เทคนิค Mezza di voce). อาการสะอึกอาจมีสาเหตุมาจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกะบังลมชั่วคราว ฉะนั้นถ้าคุณแก้สมดุลระหว่างการหดตัวและขยายตัวของกะบังลมได้ อาการสะอึกก็จะหายไปด้วย
    • หายใจเข้าช้าๆ
    • จากนั้นค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกโดยออกเป็นเสียง ‘ซี่’ เปล่งเสียงให้ดังขึ้นและเบาลงตามลำดับอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ยังผ่อนลมหายใจเรื่อยๆ (ก็คือให้เริ่มจากเสียงเบาๆ แล้วค่อยๆ ดังขึ้นช้าๆ จนกว่าจะดังมากๆ แล้วค่อยๆ ผ่อนเสียงให้กลับลงมาเบาอีกครั้งนั่นเอง) เท่านี้ก็เรียบร้อย
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 6:

รักษาอาการสะอึกด้วยของใช้ในชีวิตประจำวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยควรให้ดินสออยู่ระหว่างฟันในแนวขวาง จากนั้นดื่มน้ำจากแก้วโดยยังคงคาบดินสอเอาไว้ในปาก ฟังดูง่ายแต่ทำยากใช่ไหมล่ะ?
    • ดื่มน้ำลงไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยอย่าให้ดินสอตกลงมา ไม่ต้องดื่มหมดแก้วก็ได้ แค่สองสามอึกก็ได้ผลแล้ว
  2. ถ้าเพื่อนคุณกำลังมีปัญหาเรื่องการสะอึก ให้รอเขาสะอึกขึ้นมา จากนั้นบอกเขาว่าคุณจะให้เงิน 700 ถ้าเขาสะอึกออกมาทันทีตอนนี้เลย เพื่อนของคุณจะรู้สึกว่าทำไม่ได้ นั่นก็เป็นทั้งการรักษาให้เพื่อนหายสะอึกและรักษาเงิน 700 บาทไว้กับตัวเองด้วย หรืออาจต้องให้เงินไปถ้าเกิดว่าเพื่อนไม่มีทีท่าว่าจะหยุดสะอึกสักทีน่ะนะ
    • นี่เป็นสถานการณ์ที่เหมาะสมที่จะได้ผิดสัญญา เว้นแต่ว่าการสะอึกจะทำให้เขาเจ็บ ซึ่งในกรณีนี้อย่างน้อยคุณก็ควรกอดเพื่อนนะ
  3. สิ่งที่ต้องทำก็คือหักไม้จิ้มฟันเป็นสองท่อน แล้วใส่ครึ่งท่อนลงไปในแก้วน้ำ ดื่มน้ำช้าๆ ขณะที่มองไม้จิ้มฟันไปด้วย (อย่ากลืนมันลงไปล่ะ) ด้วยเหตุผลบางอย่าง สมาธิที่คุณจดจ่อระหว่างดื่มน้ำจะทำให้คุณหายสะอึกไปเลย
  4. ผู้เชี่ยวชาญกล่าวไว้ว่าการหายใจในถุงกระดาษจะเพิ่มจำนวนคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้รับเข้าไป เป็นการบังคับให้ร่างกายกำจัดมันออกแทนที่จะปล่อยให้ไปยุ่งกับการสะอึกไม่หยุดหย่อน เมื่อร่างกายของคุณมีอย่างอื่นให้ทำ (ที่สำคัญกว่ามากๆ) คุณก็จะหยุดสะอึกเอง [1]
    • หายใจลึกๆ ช้าๆ ล่ะ! คุณคงไม่อยากหายใจเร็วเกินไปเพื่อให้ ชนะ อาการสะอึกหรอก ไม่อย่างนั้นได้มีเรื่องยุ่งตามมาทีหลังแน่ๆ
  5. ลองใช้กระดาษเช็ดปากหรือทิชชู่แผ่นหนาวางบนขอบแก้วที่มีน้ำอยู่ แล้วดื่มน้ำผ่านทิชชู่จนกว่าน้ำจะหมด วิธีนี้จะทำให้คุณต้องดื่มน้ำแรงขึ้นเพื่อให้น้ำเข้าปาก ทำให้อวัยวะภายในทำงานหนักขึ้น และหายสะอึกได้
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 6:

วิธีการใช้วิทยาศาสตร์เทียม

ดาวน์โหลดบทความ
    • ทำให้กระดาษสีดำแผ่นหนึ่งเปียก
    • วางไว้บนหน้าผากผู้ที่สะอึก แล้วจะหายสะอึกไปเลย
    • ถามชื่อกลางของคนที่สะอึก แต่อย่าบอกไปว่าถามเพื่ออะไร
    • ขอให้เขาสะกดชื่อกลางตัวเอง
    • พูดว่า "คุณหายสะอึกแล้ว" ถ้ามันได้ผลก็จะได้ผลในทันทีเลย
    โฆษณา
วิธีการ 6
วิธีการ 6 ของ 6:

จัดการกับอาการสะอึกระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไปพบแพทย์ถ้าหากอาการสะอึกยังไม่หายหลังจากผ่านไป 48 ชั่วโมงแล้ว. มีตัวยาแบบต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์จำนวนมากที่รักษาอาการสะอึกได้ นั่นรวมไปถึงตัวยาเหล่านี้:
    • ยาคลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine) มีอีกชื่อว่าโทราซีน (Thorazine) - ยาตัวนี้เป็นยาที่เอาไว้รักษาอาการสะอึกมากที่สุด และเหมาะกับการรักษาระยะสั้น
    • ยาเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) มีอีกชื่อว่าพลาซิล หรือเรกแลน (Reglan) - ตัวนี้เป็นยาที่ใช้มากที่สุดที่ช่วยในการทำให้กระเพาะว่าง แต่ก็รักษาอาการสะอึกได้ดีเหมือนกันนะ
    • ยาบาโคลเฟน (Baclofen) - เป็นยาคลายกล้ามเนื้อที่สามารถรักษาอาการสะอึกได้
    • และยาที่นิยมใช้กันน้อยกว่า อันรวมถึง ยาต้านอาการชัก ยาอะมิทริปไทลีน (รักษาอาการซึมเศร้า) ยากระตุ้น และยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ
      • ชาร์ลส์ ออสบอร์น ชายชาวไอโอว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา มีอาการสะอึกติดต่อกันเป็นเวลานานถึง 68 ปี เขาเสียชีวิต 1 ปีให้หลังจากที่หายสะอึก [2] Maybe they were keeping him alive?
  2. ด้วยเหตุผลบางอย่าง การที่เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดอาจทำให้เกิดการสะอึกได้ ทฤษฎีนี้กล่าวไว้ว่าลมที่โดนกักอยู่ระหว่างชิ้นอาหารจะถูกกลืนลงไป และเกิดผลข้างเคียงออกมาไม่ดีเท่าไร การรับประทานให้ช้าลงนั้นหมายถึงให้เคี้ยวให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นไปได้การสะอึก
    • การรับประทานอาหารช้าๆ ก็ช่วยให้รอบเอวของคุณเล็กลงด้วย นี่ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลยนะเนี่ย! [1]
  3. รับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ. นักวิทยาศาสตร์บางคน (และเหล่าคุณแม่) เชื่อว่าการที่รับประทานอาหารมากเกินไปแล้วเกิดสะอึกขึ้นมา คือสัญญาณที่ร่างกายส่งออกมาบอกว่า "หยุดกินก่อนสิ! ขอเวลาจัดการอะไรหน่อย" ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองสะอึกบ่อยๆ หลังมื้ออาหาร ให้ลองรับประทานให้น้อยลงดู (การรับประทานให้ช้าลงก็ช่วยเรื่องนี้เช่นกันนะ)
    • เหมือนกับการดื่มเครื่องดื่มนั่นแหละ ถ้าหากว่าคุณดื่มมากเกินไป หลอดอาหารก็อาจเกิดการระคายเคืองและทำให้ขยายใหญ่ขึ้นได้ ไม่มีอะไรที่ดีกับร่างกายของคุณและตัวคุณเลยใช่ไหมล่ะ แล้วก็เหมือนกับพวกอาหารรสเผ็ดและแอลกอฮอล์ที่จะระคายเคืองต่อหลอดอาหารของคุณเช่นกัน ฉะนั้นให้บริโภคในประมาณที่เหมาะสมเสมอ [1]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าคุณเปิดปากเอาไว้ อาจสะอึกออกมาเสียงดังเล็กน้อย ถ้าอยู่ในที่สาธารณะก็ไม่ควรใช้วิธีที่เปิดปากทำ
  • อย่าดื่มน้ำเร็วเกินไป ไม่เช่นนั้นอาจปวดท้องได้
  • ลองค่อยๆ ดื่มน้ำอึกเล็กๆ แต่อย่าเพิ่งกลืน แล้วดึงติ่งหูเบาๆ มีคนบอกว่ามันช่วยได้ไวมากเลยนะ
  • ลองพยายามลืมไปว่าตัวเองสะอึกอยู่ และควบคุมตัวเองไว้ บางครั้งก็อาจหายสะอึกโดยไม่รู้ตัวเลยก็ได้!
  • ผ่อนคลายเข้าไว้! การสะอึกอาจเกิดมาจากเบื้องลึกในจิตใจ ฉะนั้นวิธีที่ได้ผลที่สุดก็อาจเป็นวิธีที่คุณคิดไปว่ามันคือวิธีที่ดีที่สุดนั่นเอง ตราบใดที่คุณเชื่อมั่นอย่างแท้จริงน่ะนะ ให้มองโลกในแง่ดีแล้วสูดหายใจเข้าลึกๆ
  • การหายใจพร้อมกับกลืนเป็นวิธีทีดีเลย การทำแบบนี้ต้องใช้กระบวนการ "หายใจเข้า กลืนอึกหนึ่ง หายใจออก กลืนอึกหนึ่ง" และทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
  • การสะอึกนั้นเกิดจากที่กะบังลมเกิดการกระตุกเกร็ง ซึ่งคือกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้ปอดที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจเรานี่เอง ก็เหมือนกับการกระตุกของกล้ามเนื้ออื่นๆ ที่ควบคุมได้ดีที่สุดโดยการยืดกล้ามเนื้อช้าๆ
  • ลองกลั้นหายใจสักประมาณหนึ่งนาที อย่ากลั้นนานไปกว่านั้น มันไม่ดีต่อสุขภาพของคุณ
  • ลองรับประทานส่วนที่เป็นสีขาวของขนมปังกับอะไรสักอย่างแล้วเคี้ยวประมาณ 8 ถึง 13 ครั้ง จากนั้นก็กลืนก้อนขนมปังชิ้นใหญ่ลงไป แล้วตามด้วยน้ำดื่มทันที อาการสะอึกของคุณจะหยุดอย่างรวดเร็วเลยล่ะ
  • ใช้มือป้องปากและจมูกเอาไว้แล้วหายใจตามปกติ
  • ปิดปากเอาไว้ แล้วใช้จมูกหายใจและจิบน้ำหลายๆ อึกเมื่อมีอาการสะอึก
  • ไม่มีวิธีไหนที่รับประกัน 100% ว่าจะรักษาอาการสะอึกได้ ถ้าไม่มีวิธีไหนได้ผลเลย ก็ให้รอจนกว่าจะหายสะอึกเอง
โฆษณา

คำเตือน

  • การสะอึกที่กินเวลานานย่อมมีสาเหตุของมัน และคุณก็ควรไปพบแพทย์ ทางโรงพยาบาลอาจตรวจเลือดและ/หรืออัลตร้าซาวด์ให้ สาเหตุนั้นสามารถเป็นได้ทั้งแบคทีเรียหรืออาการตับวาย (อาจมีโรคอื่นๆ ปรากฏขึ้นด้วย) ฉะนั้นควรไปตรวจร่างกายกับแพทย์เสมอเมื่อรู้สึกว่ามันไม่ปกติ
  • ถ้าคุณกลืนอากาศเข้าไปมากเกินไป ก็อาจเกิดอาการปวดท้องเล็กน้อยขึ้นได้ แต่มันจะหายไปเองถ้าท้ายที่สุดคุณก็เรอออกมา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,606 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา