ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การติดเชื้อของหูชั้นนอก หรือที่ฝรั่งเรียกว่า "swimmer's ear" ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในวัยรุ่นหรือเด็กโตที่ใช้เวลาส่วนมากอยู่ในน้ำ ปกติก็ในเวลาว่ายน้ำหรือดำน้ำ อย่างไรก็ดี ผู้ใหญ่เองก็มีสิทธิติดเชื้อนี้ได้เหมือนกัน มันยังอาจเกิดขึ้นได้ถ้าเกิดคุณไปทำให้เยื่อแก้วหูเกิดอักเสบเวลาทำความสะอาดด้วยไม้ปั่นหูที่คุณดันเข้าไปในรูหูลึกเกินไป [1] หรือเวลาสวมใส่อุปกรณ์ที่ไปขวางกั้นเยื่อแก้วหูอย่างเช่นการใช้ที่อุดหู การทำความเข้าใจว่าจะรักษาอาการติดเชื้อของหูชั้นนอกอย่างไร จะช่วยคลายความเจ็บปวดและช่วยรักษาให้ดีขึ้นได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

รู้จักอาการติดเชื้อของหูชั้นนอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการคันไม่ว่าจะเป็นแบบเบาๆ หรือคันรุนแรงเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณอาจเกิดติดเชื้อที่หูชั้นนอก [2]
    • คุณอาจรู้สึกคันภายในรูหูหรือคันร้าวออกมาถึงข้างนอก [3] อย่างไรก็ตาม การคันเล็กน้อยไม่ได้บ่งบอกโดยอัตโนมัติว่าหูชั้นนอกติดเชื้อแล้ว
  2. สิ่งที่ระบายออกมาจากรูหูไม่ว่าชนิดไหนสามารถบ่งบอกได้ว่าหูติดเชื้อหรือไม่ อย่างไรก็ดี มองหาสิ่งที่ระบายออกมาจากรูหูที่มีสี เหลืองหรือว่าเขียว อีกทั้งถ้ามันมีกลิ่นเหม็น นั่นบอกได้ว่าหูติดเชื้อ [4]
  3. ถ้ารู้สึกปวดในหู มันแสดงว่าหูติดเชื้อ ถ้าคุณกดลงไปที่หูแล้วอาการปวดยิ่งหนักขึ้น ยิ่งบ่งชี้ได้ชัดว่าหูติดเชื้อแน่ [5]
  4. ส่องกระจกตรวจหูอย่างละเอียด ถ้าเห็นว่ามีอาการแดง นั่นอาจชี้ว่าหูติดเชื้อ [7]
  5. อาการหูหนวกเป็นอาการขั้นที่หนักขึ้นมาของหูติดเชื้อ ดังนั้นถ้าเริ่มสังเกตว่าไม่ค่อยได้ยินเสียงอะไร นั่นเป็นเหตุผลต้องไปพบแพทย์ทันที [8]
  6. ถ้าหูหรือต่อมน้ำเหลืองบวมโต นั่นเป็นระยะหูติดเชื้อขั้นรุนแรงมาก หรืออีกอาการก็คือมีไข้เพิ่ม [10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กระทั่งหูติดเชื้อไม่รุนแรงก็ยังพัฒนาอาการได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องไปพบแพทย์ถ้าคุณมีอาการผสมกันเหล่านี้ [11]
  2. หากคุณมีไข้พร้อมกันกับอาการอื่นหรือรู้สึกปวดอย่างยิ่ง คุณควรไปพบแพทย์ในทันที [12]
  3. การทำความสะอาดรูหูนั้นจะช่วยให้ยาที่ใช้รักษาเข้าไปถึงบริเวณที่มันจะต้องเข้าไปให้ถึง แพทย์อาจทำการดูดรูหู หรืออาจใช้เครื่องขูดรูหูเพื่อขูดและลอกรูหูเบาๆ [13]
  4. แพทย์มักจะเขียนใบสั่งจ่ายยาหยอดปฏิชีวนะที่มีส่วนผสมของนีโอมัยซิน (neomycin) คุณต้องหยดลงในรูหูเพื่อลดการติดเชื้อ [14]
  5. แพทย์อาจสั่งจ่ายยาหยอดกรดน้ำส้มหรือกรดอะซีติก ซึ่งเป็นน้ำส้มสายชูรูปแบบหนึ่ง [20] อย่างไรก็ตาม มันจะเข้มข้นกว่าน้ำส้มสายชูที่ใช้ตามบ้านทั่วไป [21] ยาหยอดแบบนี้จะช่วยฟื้นฟูสภาพปลอดเชื้อที่เป็นปกติของหูคืนมา [22] ให้หยอดเหมือนกับยาหยอดหูทั่วไป
  6. หากอาการติดเชื้อในหูนั้นรุนแรง โดยเฉพาะถ้าเชื้อแพร่กระจายไปเกินรูหู คุณจำเป็นต้องทานยาปฏิชีวนะ [23]
    • ให้ทานยาปฏิชีวนะจนครบสูตร คุณควรเริ่มรู้สึกดีขึ้นภายใน 36 ถึง 48 ชั่วโมงหลังเริ่มทานยา และอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายใน 6 วัน
    • การติดเชื้อในบางครั้งอาจเกิดจากเชื้อราแทนที่จะเป็นแบคทีเรีย ในกรณีนี้คุณจำเป็นต้องทานยาฆ่าเชื้อราแทนที่จะเป็นยาปฏิชีวนะ [24]
    • ถ้าคุณเป็นคนที่มีภูมิต้านทานเดิมปกติ (immunocompetent) การรักษาโดยใช้ยากระตุ้นภูมิต้านทานจะถูกใช้แทนการรักษาโดยทานยา
  7. ปรึกษาเรื่องการบำบัดด้วยคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid). ถ้าหูนั้นอักเสบ คุณอาจจำเป็นต้องใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์มาช่วยรักษา มันยังช่วยลดอาการคันหากเรื่องนี้กวนใจคุณ [25]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

รักษาอาการหูชั้นนอกติดเชื้อที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พออยู่ที่บ้าน คุณสามารถทานยาอย่างอะซิตามิโนเฟนหรือไอบูโพรเฟน มันช่วยลดอาการปวด [26]
  2. แม้วิธีนี้อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับยาที่ต้องให้แพทย์สั่งจ่าย แต่คุณสามารถทำยาหยอดหูเองด้วยน้ำเกลือหรือน้ำผสมน้ำส้มสายชู ไม่ว่าจะใช้ตัวไหนให้ใช้มือจับจนอุ่นใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย ก่อนใช้หลอดฉีดดูดมาฉีดใส่หู แล้วเอียงศีรษะให้มันไหลออกมาหลังจากนั้น
  3. ความร้อนสักเล็กน้อย อย่างเช่นกระเป๋าไฟฟ้าที่เปิดระดับต่ำหรือผ้าเปียกหมาดๆ ที่นำไปอุ่นในเตาไมโครเวฟ จะช่วยลดอาการปวดลงได้ ให้นำมาประกบหูในระหว่างนั่ง [27]
    • อย่าเผลอหลับบนกระเป๋าไฟฟ้า มันอาจลวกผิวจนไหม้ได้ [28]
  4. ใช้ยาหยอดหูสำหรับนักว่ายน้ำที่มีวางขายตามร้านขายยา. ใช้ยาหยอดหูเหล่านี้เมื่อคุณเริ่มรู้สึกคันหู หยอดทั้งก่อนและหลังการลงว่ายน้ำ [29]
  5. คุณจำต้องรักษาหูให้แห้งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในตอนพักฟื้นจากการติดเชื้อ ให้เอียงศีรษะออกจากน้ำแม้กระทั่งในตอนอาบน้ำ [30]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ป้องกันหูชั้นนอกติดเชื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช็ดหูให้แห้งหมดจดหลังว่ายน้ำเพื่อป้องกันการติดเชื้อ. เวลาขึ้นจากสระว่ายน้ำ ให้ใช้ผ้าเช็ดตัวเช็ดหูให้ทั่ว เชื้อพวกนี้จะขยายพันธุ์ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น ฉะนั้นการเช็ดหูให้แห้งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ [31]
    • กระนั้น ให้ข้ามขั้นตอนการใช้ไม้ปั่นหู เพราะมันจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อ [32]
  2. ก่อนลงว่ายน้ำ ใส่ที่อุดหู ที่อุดหูจะทำให้รูหูแห้งในขณะว่ายน้ำ [33]
  3. ผสมน้ำส้มสายชู 1 ส่วนกับแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 1 ส่วน หยอดลงไปในรูหูราวหนึ่งช้อนชา เอียงศีรษะเพื่อให้มันไหลกลับออกมา [34]
  4. ถ้าน้ำในสระแลดูขุ่นหรือสกปรก อย่าลงเล่นเป็นอันขาด นอกจากนี้ก็ห้ามลงว่ายตามหนองบึงหรือทะเล [38]
  5. ถ้าต้องฉีดสเปรย์หรือใช้น้ำยากัดสีผม ให้หาสำลีมากันหูไว้ก่อน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจทำให้หูระคายเคือง ฉะนั้นปกป้องรูหูจากพวกมันจะช่วยลดโอกาสติดเชื้อลง [39]
  6. บางทีคุณอาจนึกอยากจะลองการใช้เทียนหูในการทำสปาหู พวกมันเอาเข้าจริงก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากหรอก แถมยังอาจทำความเสียหายให้หูของเราด้วย [40]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การติดเชื้อที่หูชั้นนอกนั้นไม่ใช่โรคติดต่อ คุณจึงไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการพบปะเพื่อนฝูง
  • ปกป้องรูหูตลอดเวลาในระหว่างการรักษา
  • นำสำลีก้อนมาเคลือบปิโตรเลียมเจลลี่ (วาสลีน) แล้ววางที่หูเพื่อป้องกันน้ำเข้ารูหูตอนอาบน้ำ


โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/symptoms/con-20014723
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/symptoms/con-20014723
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/symptoms/con-20014723
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/treatment/con-20014723
  5. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000622.htm
  6. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/neomycin-oral-route/before-using/drg-20065027
  7. http://my.clevelandclinic.org/services/orthopaedics-rheumatology/diseases-conditions/hic-swimmers-ear
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/treatment/con-20014723
  9. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/hydrocortisone-and-acetic-acid-otic-route/proper-use/drg-20061688
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/treatment/con-20014723
  11. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000622.htm
  12. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/hydrocortisone-and-acetic-acid-otic-route/description/drg-20061688
  13. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/treatment/con-20014723
  14. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000622.htm
  15. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/treatment/con-20014723
  16. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000622.htm
  17. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000622.htm
  18. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/ear-canal-problems-swimmers-ear-home-treatment
  19. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/ear-canal-problems-swimmers-ear-home-treatment
  20. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/ear-canal-problems-swimmers-ear-home-treatment
  21. http://kidshealth.org/teen/infections/bacterial_viral/swimmers_ear.html#
  22. http://kidshealth.org/teen/infections/bacterial_viral/swimmers_ear.html#
  23. http://kidshealth.org/teen/infections/bacterial_viral/swimmers_ear.html#
  24. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000622.htm
  25. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/prevention/con-20014723
  26. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/prevention/con-20014723
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/prevention/con-20014723
  28. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/prevention/con-20014723
  29. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000622.htm
  30. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swimmers-ear/basics/prevention/con-20014723
  31. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/ear-canal-problems-swimmers-ear-home-treatment

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,577 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา