ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การที่ลูกน้อยต้องมาเจ็บป่วยนั้นเป็นเรื่องน่ากังวลใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลูกอาเจียนและดูเหมือนจะรับประทานอะไรไม่ได้เลย แต่ใจเย็นๆ ก่อน ปกติแล้วการอาเจียนไม่ใช่อาการที่หนักหนาอะไรและโดยทั่วไปคุณก็สามารถรักษาอาการเหล่านี้ได้เองที่บ้านจนกว่าอาการจะหายไป แต่ถ้าลูกอาเจียนอย่างรุนแรง อาเจียนเรื้อรัง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย ให้เข้ารับการประเมินทางการแพทย์

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

รักษาอาการที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การอาเจียนทำให้เด็กสูญเสียน้ำมากมาย คุณจึงต้องพยายามไม่ให้ลูกขาดน้ำในช่วงที่เขาป่วย น้ำเปล่าเป็นของเหลวที่ดีที่สุด แต่การให้เด็กดื่มเครื่องดื่มต่างๆ กันก็ช่วยให้เด็กดื่มน้ำได้มากขึ้น
    • ถ้าทำได้ให้กระตุ้นให้เด็กจิบน้ำทีละน้อยช้าๆ บ่อยๆ ทุก 5 – 10 นาที พยายามวางเครื่องดื่มไว้ข้างตัวเด็กตลอดเวลา [1]
    • พยายามให้เด็กดื่มของเหลวใสเป็นส่วนใหญ่ [2] เครื่องดื่มอัดแก๊สรสเปรี้ยวอย่างจิงเจอร์เอลกับน้ำมะนาวก็ช่วยได้เหมือนกัน [3]
    • หวานเย็น ไอศกรีมแท่ง ไอศกรีมแบบอิตาเลียน และของหวานที่มีลักษณะเป็นน้ำแข็งอื่นๆ สามารถทดแทนของเหลวได้ แต่ก็ควรจะเป็นของหวานที่ทำจากน้ำ ไม่ใช่ไอศกรีมที่มีนมเป็นส่วนผสม (เพราะของแข็งในนมมักทำให้ท้องที่ปวดอยู่ระคายเคือง) แม้ว่าเด็กจะไม่ควรได้รับของเหลวจากของหวานเหล่านี้เพียงอย่างเดียว แต่เด็กหลายคนชอบของหวานเหล่านี้ และเนื่องจากเด็กไม่สามารถรับประทานของหวานเหล่านี้แบบมูมมามหรือกลืนอึกใหญ่ได้ เด็กๆ จึงมักจะค่อยๆ รับประทาน ซึ่งดีกับท้องของเด็กๆ
    • ต้มจืดหรือซุปก็ช่วยให้เด็กๆ ไม่ขาดน้ำได้ด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นซุปให้เลือกซุปใสและอย่าเลือกซุปที่มีมะเขือเทศ มันฝรั่ง และครีม ซุปอย่างซุปไก่ทั่วไปก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี
    • ระวังเครื่องดื่มเกลือแร่ เพราะแม้ว่าจะประกอบด้วยน้ำ อิเล็กโตรไลต์ และมีรสชาติดี แต่เครื่องดื่มเหล่านี้เข้มข้นมากและอาจทำให้อาการแย่กว่าเดิมได้จริงๆ ผงเกลือแร่สำหรับเด็กและน้ำเปล่าจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า
  2. ถ้าเด็กยังอาเจียนบ่อยครั้ง อย่าให้เด็กรับประทานอย่างอื่นนอกจากของเหลวเป็นเวลา 24 ชั่วโมง. ช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการป่วยที่ทำให้อาเจียน เด็กไม่ควรรับประทานอย่างอื่นนอกจากของเหลว ให้ดื่มสารละลายอิเล็กโตรไลต์สำหรับเด็ก ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ นอกจากนี้ก็ควรให้เด็กรับประทานอาหารอย่างวุ้น น้ำหวาน และไอศกรีมแท่งที่ไม่มีส่วนผสมของนมแทนอย่างอื่นที่ไม่ใช่ของเหลว [4]
    • แต่เด็กที่อาเจียนบ่อยครั้งส่วนมากก็ไม่อยากรับประทานอะไรอยู่แล้ว
    • เด็กบางคนจะอยากรับประทานอาหารมากๆ แม้ว่าจะคลื่นไส้ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นเพราะว่าเด็กสับสนระหว่างอาการปวดท้องเกร็งกับปวดท้องเพราะหิว ถ้าลูกของคุณมีนิสัยแบบนี้ ก็ให้ตระหนักไว้และระมัดระวัง
  3. เลี่ยงกลิ่นแรงและสิ่งอื่นๆ ที่ทำให้คลื่นไส้. เด็กบางคน (และผู้ใหญ่โดยทั่วไป) มักจะคลื่นไส้เพราะกลิ่น กลิ่นอาหารและกลิ่นปรุงอาหาร น้ำหอม ควัน ความร้อน ความชื้น และแสงแปลบปลาบอาจทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลงได้ แต่อาการที่ว่านี้ก็ต่างกันออกไปในแต่ละคน แต่ถ้าเด็กบ่นว่าคลื่นไส้ ให้พาเด็กไปที่ห้องสบายๆ ที่มีแสงสว่างปกติที่กลิ่นแรงๆ ไม่สามารถเข้าไปได้ [5]
  4. ปกติเด็กที่คลื่นไส้ก็มักจะซึมๆ อยู่แล้ว แต่บางครั้งเด็กก็จะไม่สนใจอาการคลื่นไส้ถ้าเขาตื่นเต้นหรือกำลังง่วนอยู่กับกิจกรรมบางอย่าง เด็กบางคนจะซนมากขึ้นเล็กน้อยเวลาที่ป่วย แต่การทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายมากเกินไปอาจทำให้อาการของเด็กแย่ลงได้ [6]
  5. ปรึกษาเภสัชกรเกี่ยวกับยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป. ยาแก้อาการคลื่นไส้ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปอาจช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้ แต่หลายตัวยาก็ไม่ปลอดภัยกับเด็ก ขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาที่ช่วยบรรเทาอาการท้องไส้ปั่นป่วนสำหรับเด็กที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป คุณต้องปฏิบัติตามวิธีใช้ทั้งหมดบนฉลากยาเวลาให้เด็กรับประทานยา [7]
  6. หลังจากผ่านไปแล้ว 24 ชั่วโมง คุณสามารถให้เด็กเริ่มรับประทานอาหารปกติได้ถ้าเด็กหายอาเจียนแล้ว อาหารรสอ่อนหรือนิ่มๆ จะทำให้เด็กไม่อาเจียนออกมา
    • กุมารแพทย์หลายคนเคยแนะนำให้เด็กที่อาเจียนรับประทานกล้วย ข้าว ซอสแอปเปิล และขนมปังปิ้ง โดยเชื่อว่าอาหารเหล่านี้ย่อยง่าย ทำให้ลำไส้ได้พักผ่อนและฟื้นฟู แต่กุมารแพทย์ปัจจุบันรู้สึกว่าอาหารเหล่านี้มีสารอาหารไม่เพียงพอที่จะรักษาอาการให้หาย แต่ในช่วงวันแรกๆ ที่เด็กป่วยอาหารเหล่านี้อาจช่วยได้ เพราะเด็กที่คลื่นไส้สามารถรับประทานอาหารเหล่านี้ได้โดยไม่อาเจียน ลองให้เด็กรับประทานเหล่านี้ แล้วหลังจากนั้น 1 หรือ 2 วันก็ให้เด็กรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ผลไม้ และผักที่ดีต่อร่างกายตามปกติ [8]
    • เด็กที่คลื่นไส้อาจจะรับประทานเจลาติน (เช่น วุ้น) และแครกเกอร์เพื่อไม่ให้อาเจียนด้วยก็ได้ ถ้าเด็กสามารถรับประทานอาหารเหล่านี้ได้ ให้เด็กลองรับประทานซีเรียล ผลไม้ และอาหารที่เค็มหรือมีโปรตีนสูง [9]
    • เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและมีรสเผ็ดเพราะอาจทำให้อาการแย่ลง คุณไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหารปกติภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากอาเจียน [10]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เข้ารับการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติอาการคลื่นไส้มักจะเป็นผลมาจากเชื้อจุลินทรีย์อ่อนๆ หรือไข้และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่คุณควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์หากเด็กมีอาการดังต่อไปนี้
    • คุณควรพาเด็กไปพบแพทย์หากเด็กอาเจียนมากกว่า 24 ชั่วโมง หรือ 12 ชั่วโมงหากเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
    • ทารกและเด็กเล็กมักมีโอกาสขาดน้ำมากกว่าเด็กโต ทารกที่อาเจียนตลอดเวลาอาจต้องเข้ารับการรักษาเร็วกว่าเด็กวัยรุ่น ถ้าเด็กมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา อ่อนแอหรือเวียนศีรษะ ปัสสาวะหรือทำกิจกรรมน้อย ก็ควรไปพบแพทย์
    • ถ้าเด็กดูเหมือนจะอาเจียนเป็นเลือดหรืออุจจาระเป็นเลือด ให้พาเด็กไปห้องฉุกเฉินทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการป่วยร้ายแรง [11]
    • ถ้าเด็กมีไข้สูงพร้อมอาเจียน ท้องเสีย หรือปวดท้องรุนแรง ให้ไปพบแพทย์
    • ถ้าเด็กรับประทานของเหลวใสแต่ก็ยังอาเจียนออกมา แพทย์อาจจะต้องให้ของเหลวทดแทนทางเส้นเลือดเพื่อรักษาอาการขาดน้ำหรือสั่งยารักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียน ถ้าคุณเชื่อว่าสาเหตุมาจากอาหารที่เด็กรับประทานเข้าไป คุณก็ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นอาหารเป็นพิษหรือป่วยร้ายแรง [12]
  2. ถ้าอาการอาเจียนของเด็กไม่สามารถหายเองได้ ให้พาเด็กไปตรวจร่างกาย แพทย์จะดูประวัติและทำการตรวจ นอกจากนี้แพทย์อาจจะถามเกี่ยวกับยาที่รับประทานและปัญหาสุขภาพด้วย และอาจมีการตรวจเพิ่มเติมเช่นตรวจเลือดแล้วแต่อาการของเด็ก [13]
  3. แพทย์อาจแนะนำให้เด็กรับประทานยาเพื่อรักษาอาการอาเจียน ถามแพทย์ทุกเรื่องเกี่ยวกับปริมาณยาและผลข้างเคียง
  4. ถ้าเด็กมีปัญหาเรื่องอาเจียนบ่อยๆ ความเครียดอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อาเจียน การฝึกการจัดการความเครียดอาจช่วยระบุปัจจัยเบื้องหลังที่ทำให้เด็กอาเจียนได้
    • การฝึกจัดการความเครียดช่วยให้ตระหนักถึงสัญญาณปฏิกิริยาความเครียดได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การฝึกหายใจลึกๆ มักเป็นเทคนิคที่ใช้ฝึกในระยะแรกๆ นอกจากนี้นักบำบัดยังอาจสอนเทคนิคพฤติกรรมเพื่อลดความเครียดให้กับเด็กด้วย [16]
    • ถ้าคุณสนใจให้เด็กเข้ารับการบำบัดเพื่อจัดการความเครียด ให้ปรึกษาแพทย์ แพทย์สามารถส่งต่อผู้ป่วยไปยังนักบำบัดได้ หรือคุณจะหานักบำบัดเองผ่านบริษัทประกันสุขภาพก็ได้
  5. โภชนบำบัดช่วยระบุว่าเด็กรับประทานอะไรมาบ้างเพื่อจะหาว่าอาหารชนิดไหนที่อาจทำให้อาเจียน ปกติแล้วนักโภชนาการที่ขึ้นทะเบียนจะทำงานร่วมกับคุณและเด็กเพื่อออกแบบแผนการรับประทานอาหารที่ตรงกับความต้องการของเด็กโดยเฉพาะ ปรึกษากุมารแพทย์เกี่ยวกับโภชนบำบัด เพราะแพทย์จะสามารถแนะนำนักโภชนาการให้คุณและเด็กได้ [17]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ส่งเสริมช่วงเวลาพักผ่อนและกิจกรรมเงียบๆ เช่น ดูหนัง ระบายสี หรือดูหนังสือ
  • ถ้าเด็กตื่นมาอาเจียนกลางดึก ให้วางถังพลาสติกใหญ่ๆ ไว้ตรงโต๊ะข้างเตียงเพื่อที่เด็กจะได้ไม่ต้องวิ่งไปห้องน้ำ
  • วางผ้าขนหนูเก่าๆ ไว้ตามที่ต่างๆ อย่างบนเตียงและบนโซฟา ถ้าเด็กอาเจียนจะได้ไม่เลอะเทอะมาก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 168,584 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา