ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการแพ้เกสรดอกไม้เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้คนมากมายทั่วโลก เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ อย่างโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (ไข้ละอองฟาง) โรคเยื่อบุอักเสบจากภูมิแพ้ (โรคภูมิแพ้ทางตา) โรคหืด และก่อให้เกิดอาการจาม น้ำตาไหล คัดจมูก น้ำมูกไหล คันคอ และไอได้ [1] โรคต่างๆ เหล่านี้มีสาเหตุหลักมาจากการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะหลั่งสารฮีสตามีน (histamine) ออกมาเพื่อเป็นกลไกในการป้องกันจุลินทรีย์หลากหลายชนิด [2] เนื่องจากสารฮีสตามีนเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่เกิดจากอาการแพ้เกสรดอกไม้ การกำจัดสารฮีสตามีนจึงเป็นวิธีที่ดีในการรักษาอาการแพ้เกสรดอกไม้นี้ คุณสามารถรักษาโดยใช้ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ที่มีมากมายหลายร้อยชนิด แต่ยาเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ได้ ดังนั้น การลองใช้สารต้านฮีสตามีนจากธรรมชาติจึงอาจเป็นไอเดียที่ดีในการบรรเทาอาการแพ้เกสรดอกไม้ของคุณ [3]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้ส่วนผสมจากในครัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทานขมิ้นเพื่อบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินหายใจ. ขมิ้นประกอบด้วยสารที่เรียกว่าเคอร์คูมิน (curcumin) ช่วยป้องกันการหลั่งฮีสตามีนในร่างกาย (ที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้) และยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้แพ้ สามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินหายใจที่เกิดจากภูมิแพ้ได้อีกด้วย [4]
    • คุณสามารถเพิ่มปริมาณการทานขมิ้นได้โดยการเติมขมิ้น 1 หยิบมือลงไปในอาหารจานผัก อาหารจานปลา หรืออาหารจานเนื้อที่คุณทำ ขมิ้นมีรสชาติที่ไม่แรงมากนัก แต่จะทำให้อาหารมีสีเหลืองหรือสีส้มดูน่ารับประทาน
    • ปริมาณขมิ้นที่แนะนำต่อวันคือ 600 มก.
  2. เกสรผึ้งในน้ำผึ้งดิบจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันภูมิแพ้และการติดเชื้อ การทานน้ำผึ้งปริมาณเพียงเล็กน้อยเป็นประจำทุกวันจะเสมือนเป็นวัคซีนป้องกันอาการแพ้เกสรดอกไม้ได้ [5]
    • ควรเลือกทานน้ำผึ้งที่ผลิตในท้องถิ่น เนื่องจากจะประกอบด้วยเกสรผึ้งที่พบได้ในท้องถิ่นของคุณโดยเฉพาะ จึงสามารถใช้เป็นสารต้านฮีสตามีนได้อย่างได้ผลดียิ่งขึ้น
    • ควรทานน้ำผึ้งดิบจากท้องถิ่นวันละ 2 ช้อนโต๊ะ
  3. ใบเบซิลมีสรรพคุณเป็นสารต้านฮีสตามีน ช่วยในการป้องกันการอักเสบที่เกิดจากภูมิแพ้ ใบเบซิลยังสามารถช่วยแก้พิษผึ้งหรือแมลงจากการถูกกัดต่อยได้อีกด้วย [6]
    • หากต้องการเพิ่มปริมาณการทานใบเบซิล ให้คุณสับใบเบซิลสดและเติมลงไปในสลัด ซุป หรือน้ำสลัด
    • หรือจะชงชาใบเบซิลก็ได้เช่นกัน โดยสับใบเบซิลสดและใส่ลงไปในน้ำที่กำลังเดือด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที จากนั้นจึงกรองออกและเติมน้ำผึ้งเพื่อเพิ่มรสชาติ
  4. หัวหอมประกอบด้วยสารเคมีที่เรียกว่าเควอซิทิน (quercetin) ช่วยยับยั้งการสร้างฮีสตามีนในร่างกาย และลดอาการป่วยที่เกิดจากการแพ้เกสรดอกไม้ [7]
    • ลองเติมหัวหอมเพิ่มลงไปในอาหารที่คุณทำ หรือจะทานแบบดิบก็ได้เช่นกัน เนื่องจากหัวหอมดิบจะมีเควอซิทินในปริมาณที่สูงกว่า
    • เควอซิทินยังช่วยให้ช่องทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้น ทำให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
  5. ขิงมีสรรพคุณเป็นยาแก้อักเสบและสารต้านฮีสตามีน ช่วยในการป้องกันอาการแพ้ [8]
    • ในการชงชาขิง ให้หั่นรากขิงยาว 1 นิ้วเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปบดหรือขูด และใส่ลงไปในน้ำที่กำลังเดือด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วจึงกรองออก
    • คุณยังสามารถเติมขิงขูดลงไปในแกง อาหารผัด หรือสลัดได้เช่นกัน เพื่อให้รสชาติอาหารมีกลิ่นอายของอาหารเอเชีย
  6. ทานกระเทียมเพื่อเพิ่มการต่อต้านสารก่อภูมิแพ้ของร่างกาย. กระเทียมจะช่วยยับยั้งเอ็นไซม์บางชนิดที่ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย และยังมีสรรพคุณเป็นยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติ สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและต่อต้านภูมิแพ้และการติดเชื้อ
    • กระเทียมดิบจะมีประสิทธิผลดีกว่ากระเทียมที่ผ่านการปรุงแล้ว ดังนั้น ให้ทานกระเทียมสด 2-3 กลีบเล็กๆ เป็นประจำทุกวัน
    • หากกระเทียมสดมีรสชาติที่แรงเกินไป ให้ลองเติมกระเทียมสับหรือขูดลงไปในซุป อาหารผัด และน้ำสลัด
  7. ชาเขียวประกอบด้วยสารที่เรียกว่าคาเทชิน (catechin) ช่วยป้องกันไม่ให้ฮีสทิดีน (histidine) เปลี่ยนเป็นฮีสตามีน จึงสามารถยับยั้งการเกิดอาการแพ้ก่อนมีโอกาสเกิดอาการป่วยต่างๆ ได้ [9]
    • ดื่มชาเขียววันละ 2-3 ถ้วยเพื่อให้เห็นผลดีที่สุด
    • นอกจากอาการแพ้เกสรดอกไม้แล้ว ชาเขียวยังช่วยรักษาภูมิแพ้อื่นๆ (ฝุ่น รังแค เป็นต้น) ได้อีกด้วย
  8. แอปเปิ้ลประกอบด้วยฟลาโวนอยด์ที่เรียกว่าเควอซิทิน ช่วยควบคุมการหลั่งของฮีสตามีน จึงสามารถยับยั้งอาการแพ้จากเกสรดอกไม้ได้ [10]
    • หลายคนคงเคยได้ยินสำนวน "an apple a day keeps the doctor away" (ทานแอปเปิ้ลวันละผลช่วยให้ห่างไกลจากหมอ) การทานแอปเปิ้ลวันละผลยังช่วยป้องกันอาการแพ้เกสรดอกไม้ได้อีกด้วย
  9. เพิ่มปริมาณการทานวิตามินซีเพื่อช่วยในการต่อต้านฮีสตามีน. วิตามินซีสามารถลดการหลั่งของฮีสตามีน จึงช่วยยับยั้งฮีสตามีนที่หลั่งออกมาได้เร็วขึ้นและลดการออกฤทธิ์ของฮีสตามีนต่อทางเดินหายใจ
    • อาหารที่มีวิตามินซีในปริมาณสูง ได้แก่ มะละกอ กล้วย มะม่วง ฝรั่ง สับปะรด บรอคโคลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และมันเทศ
    • ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำต่อวันสำหรับรักษาภูมิแพ้คือ 1000 มก.
  10. ทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 เพื่อลดการอักเสบของไซนัส. กรดไขมันโอเมก้า-3 มีสรรพคุณเป็นยาแก้อักเสบ ช่วยในการลดการอักเสบของไซนัสที่เกิดจากอาการแพ้เกสรดอกไม้ โอเมก้า-3 ยังช่วยในการทำงานของปอดและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน จึงช่วยให้ร่างกายสามารถป้องกันอาการแพ้เกสรดอกไม้ได้ [10]
    • อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ในปริมาณสูง ได้แก่ แฟล็กซีด วอลนัท ถั่วเหลือง กะหล่ำดอก ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน และกุ้ง
    • ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่แนะนำคือ 1000 มก. วันละ 3 ครั้ง
  11. ดื่มชาเปปเปอร์มินท์เพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น. เปปเปอร์มินท์ประกอบด้วยสารที่เรียกว่าเมนทอล (menthol) ช่วยลดอาการคัดจมูกและผ่อนคลายกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ จึงทำให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น [11]
    • เปปเปอร์มินท์ยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้อักเสบและยาต้านแบคทีเรียแบบอ่อน ช่วยให้ร่างกายสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
    • วิธีการชงชาเปปเปอร์มินท์ ให้ใส่ใบเปปเปอร์มินท์แห้ง ½ ออนซ์ลงไปในกาขนาด 1 ควอท แล้วเติมน้ำที่กำลังเดือดลงไป 2 ใน 3 ของกา และแช่ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที (คุณสามารถสูดดมไอน้ำเพื่อคุณประโยชน์เพิ่มเติมได้) ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วจึงกรองใบชาออกและเพิ่มรสหวานหากต้องการ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้วิธีการรักษาด้วยสมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีนี้อาจทำให้ผู้ที่เคยโดนตำแยรู้สึกแปลกใจ เนื่องจากหลายคนมักมีผื่นคันเกิดขึ้นจากการสัมผัสถูกตำแย แต่จากการวิจัยพบว่าตำแยสามารถช่วยลดปริมาณฮีสตามีนในร่างกายได้ ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า ผู้ที่เข้ารับทดลองเกินครึ่งที่ใช้ตำแยแช่แข็งในการรักษาภูมิแพ้มีอาการบรรเทาลง งานวิจัยอื่นๆ ยังระบุอีกว่าการทานตำแยในรูปแบบอาหารเสริมหรือชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เป็นภูมิแพ้ตามฤดูกาล สามารถลดอาการป่วยที่เกิดจากอาการแพ้เกสรดอกไม้ได้ [12] [13] [14]
    • ตำแยที่เหมาะกับการทานมากที่สุดคือในรูปแบบอาหารเสริม โดยปฏิบัติตามตามคำแนะนำที่ระบุบนฉลาก หรือจะดื่มในรูปแบบชาก็ได้เช่นกัน ควรเริ่มทานอาหารเสริมตำแยหรือดื่มชาตำแย (2-3 ถ้วยต่อวัน) 1-2 สัปดาห์ก่อนช่วงที่เป็นภูมิแพ้ตามฤดูกาล และทานอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ จนหมดฤดูกาล
    • ตำแยสามารถทานได้อย่างปลอดภัย ยกเว้นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกได้
  2. เควอซิทินและรูตินเป็นสารที่มีความเกี่ยวข้องกันทางเคมี สามารถพบได้ในพืชหลากหลายชนิด สารทั้งสองชนิดนี้เป็นสารจำพวกไบโอฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันหลอดเลือดไม่ให้เลือดออกมากเกินไปและลดอาการบวมที่เกิดจากภูมิแพ้ และยังทำหน้าที่เป็นยาแก้อักเสบอีกด้วย [15]
    • ทั้งเควอซิทินและรูตินสามารถทานได้อย่างปลอดภัย และมีรายงานว่ามีผื่นคันและอาการปวดท้องเกิดขึ้นจากการทานสารทั้งสองชนิดนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
    • เควอซิทินและรูตินสามารถทานได้ในรูปแบบอาหารเสริม โดยปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนฉลาก
    • ในปัจจุบันยังไม่มีการทดสอบความปลอดภัยในการใช้เควอซิทินและรูตินต่อเด็กและผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
    • หลักฐานบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า เควอซิทินและรูตินจะส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง ดังนั้น หากคุณกำลังทานยารักษาโรคความดันโลหิต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มทานเควอซิทินหรือรูติน
    • ไม่ควรทานเควอซิทินและรูตินควบคู่กับไซโคลสปอริน (cyclosporine) (เช่น Neoral, Sandimmune)
    • หากคุณกำลังทานยาเจือจางเลือด เช่น วาร์ฟารินหรือแอสไพริน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มทานเควอซิทินหรือรูติน
  3. [16] บรอมีเลน (bromelain) เป็นเอ็นไซม์ที่พบได้ในสับปะรดและพืชอื่นๆ ทำหน้าที่ย่อยอาหารและรักษาอาการอักเสบ [17]
    • การวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าบรอมีเลนอาจมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการหอบหืดจากภูมิแพ้ได้อีกด้วย [18]
    • คณะผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน Commission E แนะนำให้ทานบรอมีเลน 80-320 มก. (200-800 FIP units) 2-3 ครั้งต่อวัน โดยสามารถทานบรอมีเลนได้ในรูปแบบอาหารเสริม
    • ไม่ควรทานบรอมีเลนหากคุณมีอาการแพ้ยางธรรมชาติ แม้จะยังไม่มีเหตุผลแน่ชัด แต่ผู้ที่มีอาการแพ้ทั้งสองชนิดนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก
    • หากคุณกำลังทานยาอะมอกซิซิลลินหรือยาเจือจางเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มทานบรอมีเลน
  4. ใช้อายไบรท์ (หรือที่เรียกว่า euphrasia) เพื่อรักษาอาการอักเสบและระคายเคืองที่ตา. คุณอาจรู้ถึงประโยชน์ของพืชชนิดนี้ได้เมื่อฟังจากชื่อ โดยส่วนใหญ่อายไบรท์ (eyebright) มักใช้ในการรักษาอาการแพ้ (และอื่นๆ) ที่เกิดขึ้นที่ดวงตา อายไบรท์มีสรรพคุณเป็นยาแก้อักเสบ มีประสิทธิภาพเหมือนกับยาอินโดเมตทาซิน [19] และเมื่อรับประทานแล้ว อายไบรท์ยังสามารถรักษาภูมิแพ้ได้อีกด้วย
    • ในปัจจุบันยังไม่มีการทดสอบความปลอดภัยในการใช้อายไบรท์ต่อผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
    • คุณสามารถทานอายไบรท์ได้ทั้งในรูปแบบชาและอาหารเสริม
    • อายไบรท์จะช่วยลดอาการอักเสบในดวงตาที่เกิดจากเปลือกตาอักเสบ (blepharitis) และเยื่อตาอักเสบ (conjunctivitis) โดยสามารถใช้ได้ทั้งแบบน้ำยาล้างตา ยาหยอดตา หรือดื่มในรูปแบบยาชงก็ได้ [20]
    • อายไบรท์ยังสามารถใช้เป็นยาแก้อักเสบสำหรับรักษาไข้ละอองฟาง ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน และการอักเสบของเยื่อเมือก (catarrh) ได้อีกด้วย
  5. มีการใช้เอลเดอร์เบอร์รี่ในการรักษาผู้ที่มีอาการแพ้เกสรดอกไม้กันมาเป็นระยะเวลานาน [21] เอลเดอร์เบอร์รี่ประกอบด้วยไบโอฟลาโวนอยด์ สารต้านการอักเสบ และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง จึงอาจช่วยในการรักษาภูมิแพ้ได้ [22]
    • เอลเดอร์เบอร์รี่ทั้งในรูปแบบชาและอาหารเสริมสามารถใช้กับเด็กได้อย่างปลอดภัย
  6. จากหญ้าที่พบได้ทั่วไปในยุโรป บัตเตอร์เบอร์ (butterbur) (Petasites hybridus) เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับสารต้านฮีสตามีน จากการวิจัยพบว่า บัตเตอร์เบอร์สามารถลดปริมาณฮีสตามีนและสารที่กระตุ้นการอักเสบอื่นๆ ในผู้ที่เป็นภูมิแพ้ได้ [23]
    • จากการวิจัยพบว่า บัตเตอร์เบอร์มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาเซทิไรซีน (cetirizine) สารออกฤทธิ์ที่พบในยาต้านฮีสตามีน Zyrtec [24] แม้ว่าเซทิไรซีนจะเป็นยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน แต่นักวิจัยได้ระบุว่าเซทิไรซีนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน [25] ในขณะที่บัตเตอร์เบอร์นั้นไม่ก่อให้เกิดอาการง่วงนอนใดๆ
    • อย่างไรก็ตาม มีคำเตือนเล็กน้อยในการใช้บัตเตอร์เบอร์ เนื่องจากบัตเตอร์เบอร์เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้าแร็กวีด (ragweed) จึงทำให้อาการแพ้แย่ลงหากผู้ใช้แพ้แร็กวีด
    • ไม่แนะนำให้ใช้บัตเตอร์เบอร์ในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยกับผู้ใหญ่และเด็กส่วนใหญ่
  7. ใช้ตังกุยเพื่อรักษาภูมิแพ้และการติดเชื้อทางเดินหายใจ. สารเคมีหลายชนิดที่พบในตังกุยอาจมีประสิทธิภาพในการต้านฮีสตามีนและเซโรโทนิน ฮีสตามีน เซโรโทนิน และสารอื่นๆ จะถูกปล่อยออกมาจากเกล็ดเลือดจากการตอบสนองต่อสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อร่างกาย เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่น ควันเคมี หรือสะเก็ดผิวหนังของสัตว์ เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการต่างๆ จากภูมิแพ้ และคุณสมบัติในการต้านฮีสตามีนของตังกุยจะช่วยป้องกันอาการแพ้เหล่านี้ได้
    • อาหารเสริมตังกุยสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอาหารเสริมทั่วไป หรือจะนำใบตังกุยมาต้มในน้ำเพื่อชงเป็นชาก็ได้ [26]
  8. ใช้โกลเด้นซีลเพื่อลดอาการที่เกิดจากอาการแพ้เกสรดอกไม้. โกลเด้นซีล (goldenseal) เป็นพืชที่แพทย์สมุนไพรนิยมใช้ในการรักษา โกลเด้นซีลมีสรรพคุณมากมาย สามารถใช้แทนยาลดน้ำมูก ยาแก้อักเสบ ยาฆ่าเชื้อโรค ยาสมานแผล ยาบำรุงรสขม ยาระบาย ยารักษาโรคเบาหวาน และยากระตุ้นกล้ามเนื้อได้
    • ในแง่ของการรักษาภูมิแพ้ โกลเด้นซีลจะทำให้เกิดการหดตัวบริเวณเยื่อเมือกที่ทางเดินหายใจตอนบน ทางเดินอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่ (ใช้เฉพาะที่) และสมานแผลที่ผิวหนังได้
    • เมื่อใช้ร่วมกับสเปรย์น้ำเกลือพ่นจมูก โกลเด้นซีลยังช่วยลดอาการต่างๆ ที่เกิดจากอาการแพ้เกสรดอกไม้ได้อย่างได้ผล [27]
  9. ยูคาลิปตัสเป็นส่วนประกอบที่มักพบในยาอมหรือยาน้ำแก้ไอ คุณสมบัติของยูคาลิปตัสมาจากซิเนออล (cineole) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย สามารถขับเสมหะ ลดอาการไอ แก้อาการคัดจมูก และบรรเทาอาการระคายเคืองที่โพรงจมูก [28]
    • น้ำมันยูคาลิปตัสมีสรรพคุณต้านการอักเสบ เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ไอระเหยจากน้ำมันยูคาลิปตัสจะทำหน้าที่เป็นยาลดอาการคัดจมูกเมื่อถูกสูดเข้าไป จึงสามารถใช้ในการรักษาไซนัสอักเสบได้อย่างได้ผล
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้วิธีรักษาด้วยการสูดไอน้ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เตรียมสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาด้วยการสูดไอน้ำ. หากคุณมีสมุนไพรอบแห้ง เช่น ตำแย อายไบรท์ และบัตเตอร์เบอร์ คุณสามารถนำสมุนไพรเหล่านี้มาใช้ในการรักษาด้วยการสูดไอน้ำได้ โดยใช้สมุนไพรอบแห้งเพียง 1 ช้อนชาต่อครั้ง
  2. เติมสมุนไพรลงไปในน้ำที่ร้อนและกำลังมีไอพุ่งออกมา. คนให้สมุนไพรกับน้ำเข้ากัน ไม่จำเป็นต้องให้น้ำเดือดอยู่ตลอด เพียงให้มีไอน้ำพุ่งออกมาก็พอ
  3. ใช้ผ้าขนหนูคลุมหัวไว้ และสูดไอน้ำเข้าไปโดยผ่านทั้งทางจมูกและปาก คุณสามารถทำได้นานเท่าที่ต้องการ โดยยิ่งนานมากเท่าไหร่ ไซนัสของคุณก็จะยิ่งรู้สึกโล่งมากขึ้นเท่านั้น
  4. ควรระวังไม่ให้ไอน้ำร้อนลวกถูกตัวเอง นอกจากนี้ ในครั้งแรกที่คุณใช้วิธีนี้ ให้สูดไอน้ำเข้าไปครั้งหนึ่งแล้วถอยออกจากไอน้ำ เพื่อทดสอบดูว่าเกิดผลข้างเคียงใดๆ กับสมุนไพรที่ใช้หรือไม่ ลองคิดดูว่าตอนนี้คุณกำลังมีอาการแพ้พืชอย่างละอองเกสรดอกไม้อยู่ ดังนั้นจึงอาจมีโอกาสที่คุณจะแพ้สมุนไพรเหล่านี้ได้เช่นกัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ฮีสตามีนจะส่งผลให้ของเหลวจากหลอดเลือดรั่วซึมออกมามากขึ้น และทำหน้าที่เป็น chemical messenger ที่นำเซลล์อื่นๆ ที่ก่อให้เกิดสารกระตุ้นการอักเสบเข้ามามากขึ้น
  • ฮีสตามีนยังมีหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทในร่างกาย คอยควบคุมวงจรการนอน หลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และยังมีผลต่อปอด ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดลมฝอย [29]
  • นอกเหนือจากวิธีการรักษาเหล่านี้แล้ว คุณยังสามารถใช้วิธีล้างจมูกโดยใช้น้ำเกลือและกาเนติได้เช่นกัน
  • คุณยังสามารถบรรเทาอาการแพ้เกสรดอกไม้ได้โดยการป้องกันไม่ให้ละอองเกสรดอกไม้เข้ามาในบ้าน โดยปิดหน้าต่างและประตูบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้พัดลมระบายอากาศในช่วงที่เกสรดอกไม้แพร่กระจาย (ใช้เครื่องปรับอากาศในการเพิ่มความเย็นของบ้านแทน) และอย่าตากเสื้อผ้าหรือเครื่องนอนไว้ข้างนอก ให้ใช้เครื่องอบผ้าแทน นอกจากนี้ สัตว์เลี้ยงของคุณยังสามารถนำละอองเกสรดอกไม้ที่ติดอยู่ที่ขนของเขาเข้ามาในบ้านได้เช่นกัน ดังนั้น อย่าให้สัตว์เลี้ยงที่คุณปล่อยออกไปข้างนอกเข้ามาในห้องนอนของคุณ
  • ปิดหน้าต่างรถในขณะที่ขับรถอยู่ และเปิดเครื่องปรับอากาศแทนหากรู้สึกร้อน และหากคุณจำเป็นต้องออกไปข้างนอก พยายามรับเกสรดอกไม้ให้น้อยที่สุดโดยเช็คพยากรณ์อากาศล่วงหน้าก่อนวางแผนทำกิจกรรมภายนอก
โฆษณา
  1. 10.0 10.1 http://life.gaiam.com/article/natural-antihistamines-3-foods-fight-allergies
  2. https://umm.edu/health/medical/altmed/herb/peppermint
  3. Bielory, L. (2004). Complementary and alternative interventions in asthma, allergy, and immunology. Annals Of Allergy, Asthma & Immunology, 93(2), S45-54.
  4. Sayin I, Cingi C, Oghan F, Baykal B, Ulusoy S. Complementary therapies in allergic rhinitis. ISRN Allergy. 2013 Nov 13;2013:938751. doi: 10.1155/2013/938751. eCollection 2013.
  5. Mittman P. Randomized, double-blind study of freeze-dried Urtica dioica in the treatment of allergic rhinitis. Planta Med 1990;56:44-7.
  6. Cesarone MR, Belcaro G, Incandela L, et al. Flight microangiopathy in medium-to-long distance flights: prevention of edema and microcirculation alterations with HR (Paroven, Venoruton; 0-(beta-hydroxyethyl)-rutosides): a prospective, randomized, controlled trial. J Cardiovasc Pharmacol Ther 2002;7 Suppl 1:S17-S20.
  7. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-895-bromelain.aspx?activeingredientid=895&activeingredientname=bromelain
  8. Lotz-Winter, H. On the pharmacology of bromelain: an update with special regard to animal studies on dose-dependent effects. Planta Med 1990;56(3):249-253.
  9. Secor, E. R., Jr., Carson, W. F., Cloutier, M. M., Guernsey, L. A., Schramm, C. M., Wu, C. A., and Thrall, R. S. Bromelain exerts anti-inflammatory effects in an ovalbumin-induced murine model of allergic airway disease. Cell Immunol. 2005;237(1):68-75.
  10. Recio, M. C., Giner, R. M., Manez, S., and Rios, J. L. Structural considerations on the iridoids as anti-inflammatory agents. Planta Med 1994;60(3):232-234.
  11. Stoss M, Michels C, Peter E, Beutke R, Gorter RW. Prospective cohort trial of Euphrasia single-dose eye drops in conjunctivitis. J Altern Complement Med. 2000 Dec;6(6):499-508.
  12. Tancred, J. (2006). Herbs for catarrh and congestion. J Comp Med, 5(5), 37.
  13. Zakay-Rones Z, Thom E, Wollan T, Wadstein J. Randomized study of the efficacy and safety of oral elderberry extract in the treatment of influenza A and B virus infections. J Int Med Res 2004;32:132-40.
  14. Thomet OA, Schapowal A, Heinisch IV, et al. Anti-inflammatory activity of an extract of Petasites hybridus in allergic rhinitis. Int Immunopharmacol 2002;2:997-1006.
  15. Schapowal A; Petasites Study Group. Randomised controlled trial of butterbur and cetirizine for treating seasonal allergic rhinitis. BMJ. 2002 Jan 19;324(7330):144-6.
  16. http://www.nhs.uk/conditions/antihistamines/Pages/Introduction.aspx
  17. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000549.htm
  18. http://www.webmd.com/allergies/features/natural-allergy-relief
  19. Ellaissi A, Rouis Z, Salem NA, Mabrouk S, ben Salem Y, Salah KB, Aouni M, Farhat F, Chemli R, Harzallah-Shikri F, Khouja ML. Chemical composition of 8 eucalyptus species’ essential oils and the evaluation of their anti-bacterial, anti-fungal, anti-viral activities. BMC Complement Altern Med. 2012 Jun 28;12:81. doi:10.1186/1472-6682-12-81.
  20. http://sepa.duq.edu/regmed/immune/histamine.html
  21. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000549.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,309 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา