ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าจู่ๆ คุณก็เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ หรือแน่นจมูก แสดงว่าคุณอาจจะกำลังเป็นไข้หวัดใหญ่ สาเหตุของไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและสามารถป้องกันได้ แม้ว่าโดยทั่วไปอาการไข้หวัดใหญ่มักจะหายไปใน 2-3 สัปดาห์ แต่ก็มีวิธีการต่างๆ มากมายที่ช่วยประคับประคองร่างกายและช่วยให้คุณรู้สึกสบายตัวขึ้นระหว่างรอให้หาย อ่านต่อด้านล่างเพื่อเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองและการใช้ยารักษาอาการไข้หวัดใหญ่เพื่อให้อาการดีขึ้น

สิ่งที่คุณควรรู้

  • พักผ่อนและดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสามารถเอาชนะไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้
  • คุณสามารถรักษาอาการไข้หวัดใหญ่ได้ด้วยการดูแลตัวเอง เช่น รับประทานซุป กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ ประคบร้อนและเย็น และเพิ่มความชื้นในอากาศ
  • ยาลดไข้และยาแก้หวัดตามร้านขายยาทั่วไปช่วยให้คุณรู้สึกสบายตัวขึ้นระหว่างรอให้หายได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้หายเร็วขึ้น
  • ​​ขอให้แพทย์สั่งยาต้านไวรัสให้หากคุณรู้สึกไม่สบายมากๆ หรืออาการแย่ลง
1

พักผ่อนอยู่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การพักผ่อนระหว่างที่ร่างกายกำลังป่วยช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับไข้หวัดใหญ่ได้. ทันทีที่รู้ว่าตัวเองเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้โทรไปที่ทำงานหรือที่โรงเรียนเพื่อแจ้งว่าคุณป่วยและขอหยุดรักษาตัว ขณะอยู่บ้านก็พยายามพักผ่อนให้ได้มากที่สุดและงดกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานเยอะ พยายามรักษาระยะห่างกับคนอื่น คนอื่นจะได้ไม่ติดจากคุณ [1]
    • อยู่บ้านอย่างน้อย 1 วันหลังจากหายไข้ หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ให้สวมหน้ากากอนามัย คนอื่นจะได้ไม่ติดไข้หวัดใหญ่จากคุณ
    • ถ้าคุณนอนไม่หลับเพราะเมื่อนอนราบแล้วยิ่งแน่นจมูก ลองเพิ่มหมอนอีกใบเพื่อยกศีรษะให้สูงขึ้น
    โฆษณา
2

ดื่มน้ำเยอะๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้ และของเหลวใสอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ. ถ้าคุณมีไข้สูงเนื่องจากเป็นไข้หวัดใหญ่ คุณน่าจะมีเหงื่อซึมและสูญเสียความชื้น ค่อยๆ จิบน้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้ตลอดทั้งวันเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ นอกจากนี้คุณก็อาจจะดื่มเครื่องดื่มร้อนๆ เช่น ชาที่ไม่มีคาเฟอีนหรือน้ำอุ่นผสมมะนาว เพื่อเติมน้ำเข้าไปในร่างกายและช่วยลดอาการเจ็บคอ [2]
    • งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ระหว่างรักษาตัว เพราะเครื่องดื่มทั้งสองชนิดนี้อาจทำให้อาการแย่ลงได้
    • ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่หากคุณอาเจียนหรือท้องเสีย เพราะจะช่วยรักษาร่างกายไม่ให้ขาดน้ำ [3]
3

รับประทานอาหารรสอ่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอาการไข้หวัดใหญ่ทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้ อาหารรสอ่อนจะช่วยให้คุณรับประทานได้มากขึ้น. ถ้าไข้หวัดใหญ่ทำให้คุณรู้สึกวิงเวียน ให้เริ่มจากการจิบซุปใสอุ่นๆ หรือทำก๋วยเตี๋ยวไก่เพราะเป็นอาหารที่รับประทานง่ายและช่วยบรรเทาอาการได้ [4] ถ้ารับประทานซุปแล้วไม่อาเจียน ให้ลองรับประทานขนมปัง แครกเกอร์ ข้าวโอ๊ต และอาหารรสอ่อนอื่นๆ ที่มีกากใยต่ำ [5]
    • รับประทานอาหารน้อยๆ แต่บ่อยๆ ตลอดทั้งวันเพื่อไม่ให้ท้องไส้ปั่นป่วน [6]
    • งดอาหารมัน เผ็ด หรืออาหารแปรรูปในช่วงที่คุณป่วย เพราะร่างกายย่อยอาหารเหล่านี้ไม่ค่อยได้และอาจทำให้คุณยิ่งรู้สึกแย่ลง
    โฆษณา
4

กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ บรรเทาอาการเจ็บคอหรือคันคอ. ละลายเกลือบริโภค ¼–½ ช้อนชาในน้ำอุ่น 1 แก้ว (240 มล.) จิบน้ำเกลือและกลั้วตรงด้านหลังของคอประมาณ 1 นาทีก่อนบ้วนทิ้ง [7]
    • อย่าให้เด็กอายุไม่เกิน 6 ขวบกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เพราะเด็กอาจจะไม่รู้วิธีกลั้วคอและกลืนลงไปแทน
5

ประคบร้อนตรงไซนัส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความร้อนช่วยระบายน้ำมูกหากไข้หวัดใหญ่ทำให้คุณคัดจมูก. เมื่อคุณแน่นจมูก ให้น้ำผ้าขนหนูผืนเล็กๆ จุ่มลงในน้ำอุ่นและบิดให้แห้งสนิท วางผ้าอุ่นๆ คลุมลงบนจมูกและบริเวณไซนัสที่อยู่ระหว่างดวงตาทั้งสองข้าง ผ่านไป 2-3 นาทีให้ลองสั่งน้ำมูกเพื่อให้น้ำมูกกระจายตัว คุณจะได้หายใจสะดวกอีกครั้ง [8]
    • นอกจากนี้การประคบร้อนยังช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหรือปวดศีรษะซึ่งเป็นอาการอื่นๆ ของไข้หวัดใหญ่ได้ด้วย
    โฆษณา
6

ใช้สเปรย์น้ำเกลือสำหรับพ่นทำความสะอาดโพรงจมูกเพื่อลดน้ำมูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สเปรย์น้ำเกลือสำหรับพ่นทำความสะอาดโพรงจมูกลดอาการคัดจมูกที่เกิดจากไข้หวัดใหญ่. ใช้สเปรย์น้ำเกลือสำหรับพ่นทำความสะอาดโพรงจมูกหากคุณมีอาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหลเนื่องจากไข้หวัดใหญ่ [9] เริ่มจากการสั่งน้ำมูกเบาๆ แล้วสอดหัวฉีดสเปรย์เข้าไปในรูจมูก กดหัวฉีดสเปรย์แล้วหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ เพื่อให้น้ำมูกคลายตัว [10]
    • หรือคุณจะ ใช้กาเนติ ล้างน้ำมูกออกจากไซนัสก็ได้
  1. ไอน้ำช่วยละลายน้ำมูก ทำให้คุณสั่งน้ำมูกได้ง่ายขึ้น. หนึ่งในวิธีการรักษาอาการคัดจมูกจากไข้หวัดใหญ่ที่ง่ายที่สุดก็คือ การอาบน้ำอุ่นหรือนั่งในห้องน้ำแล้วเปิดน้ำอุ่นจากฝักบัวไปด้วย หรืออีกวิธีหนึ่งคือให้คุณใส่น้ำลงในชามแล้วนำไปอุ่นในไมโครเวฟจนน้ำร้อนเป็นไอแล้วโน้มตัวไปสูดไอน้ำ หายใจสูดไอน้ำเข้าไปลึกๆ ช้าๆ เพื่อละลายน้ำมูก [11]
    • อย่าสูดไอน้ำร้อนจากน้ำต้มที่อยู่ในหม้อเพราะอาจทำให้ทางเดินหายใจพองได้
    โฆษณา
8

เปิดเครื่องทำความชื้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เครื่องทำความชื้นบรรเทาอาการเจ็บคอและเปิดไซนัส. อากาศแห้งทำให้อาการเจ็บคอหรือคัดจมูกจากไข้หวัดใหญ่ยิ่งแย่ลง แต่เครื่องทำความชื้นช่วยเพิ่มความชื้นซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น [12] เปิดเครื่องทำความชื้น ตลอดเวลาระหว่างพักฟื้น และเปลี่ยนน้ำวันละ 1 ครั้งเพื่อบรรเทาอาการอย่างต่อเนื่อง [13]
    • ใส่วาโปรับ 1 ช้อนชา (15 มล.) ในเครื่องทำความชื้นเพื่อให้บรรเทาอาการคัดจมูกได้ดียิ่งขึ้น [14]
9

ประคบเย็นเพื่อลดไข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จุ่มผ้าขนหนูผืนเล็กลงในน้ำเย็นและบิดให้หมาด จากนั้นวางผ้าขนหนูลงบนหน้าผากทิ้งไว้สักครู่จนคุณเริ่มรู้สึกว่าตัวเย็นขึ้น [15]
    • คุณจะใช้ผ้าขนหนูพันรอบเจลเก็บความเย็นเพื่อให้ตัวเย็นลงก็ได้
    โฆษณา
10

รับประทานยาแก้ปวดเพื่อลดอาการปวดและลดไข้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อะเซตามิโนเฟนและไอบูโพรเฟนช่วยลดความไม่สบายตัวที่เกิดจากไข้หวัดใหญ่ได้. แม้ว่ายาเหล่านี้จะไม่ได้ช่วยให้อาการหายเร็วขึ้น แต่การรับประทานยาแก้ปวดที่ซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปก็ช่วยให้คุณอดทนกับอาการเหล่านี้ได้มากขึ้น [16] โดยทั่วไปคุณสามารถรับประทานได้ครั้งละ 1-2 เม็ดทุก 4-6 ชั่วโมง แต่อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำที่ข้างขวดอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันไม่ให้คุณรับประทานเกินปริมาณที่กำหนดในแต่ละวัน [17]
    • คุณสามารถรับประทานอะเซตามิโนเฟนและไอบูโพรเฟนร่วมกันได้เพื่อบรรเทาอาการปวดให้ดียิ่งขึ้น [18]
    • อย่าให้วัยรุ่นและเด็กรับประทานร่วมกับแอสไพริน เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะกลุ่มอาการเรย์ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
    • ห้ามรับประทานไอบูโพรเฟนเกิน 1,200 มก. หรืออะเซตามิโนเฟนเกิน 4,000 มก. ใน 24 ชั่วโมง [19]
11

รับประทานยาแก้ไอและยาแก้หวัดที่ซื้อได้ตามร้านขายยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาลดน้ำมูกและยาแก้ไอช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ได้. หากคุณมีอาการคัดจมูก ให้รับประทานยาลดน้ำมูกเพื่อกำจัดน้ำมูกและทำให้คุณหายใจสะดวกขึ้น หากคุณมีอาการเจ็บคอและไอเรื้อรัง ให้รับประทานยาแก้ไอชนิดเม็ดหรือชนิดน้ำเพื่อบรรเทาอาการ [20]
    • ยาขับเสมหะช่วยละลายน้ำมูก ทำให้คุณสั่งน้ำมูกได้ง่ายขึ้น
    • หากน้ำมูกไหลให้รับประทานยาต้านฮีสตามีน
    • ลองอมยาอมแก้เจ็บคอเพื่อบรรเทาอาการไอหรือเจ็บคอที่เกิดจากไข้หวัดใหญ่
    • ยารักษาไข้หวัดใหญ่บางชนิดมีส่วนประกอบของยาแก้ปวดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหากคุณรับประทานยารักษาไข้หวัดใหญ่ อย่ารับประทานร่วมกับอะเซตามิโนเฟนหรือไอบูโพรเฟน
    โฆษณา
12

รับประทานอาหารเสริมจากสมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เอลเดอร์เบอร์รีและเอ็กไคนาเซียมีคุณสมบัติต้านไวรัสที่อาจต่อสู้กับไข้หวัดใหญ่ได้. แม้ว่าหลักฐานเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมจากสมุนไพรรักษาไข้หวัดใหญ่จะมีไม่มากนัก แต่จากการศึกษาพบว่า อาหารเสริมจากสมุนไพรสามารถรักษาไข้หวัดใหญ่ได้ ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มรับประทานอาหารเสริมชนิดใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถรับประทานร่วมกับยาหรืออาหารเสริมอื่นๆ ของคุณได้อย่างปลอดภัย [21]
13

ขอให้แพทย์สั่งยาต้านไวรัส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์อาจจ่ายยาต้านไวรัสให้ในกรณีที่เป็นไข้หวัดใหญ่รุนแรง. หากคุณรู้สึกไม่สบายมากๆ หรืออาการแย่ลง ให้สอบถามแพทย์ว่าคุณสามารถรับประทานยาอะไรได้บ้าง คุณอาจรับประทานยาต้านไวรัสเพื่อช่วยจัดการกับไวรัสไข้หวัดใหญ่และทำให้อาการหายไป [23]
    • โอเซลทามิเวียร์ ฟอสเฟตเป็นยารับประทาน เด็กอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไปสามารถรับประทานได้
    • ยาซานามิเวียร์เป็นยาพ่น ใช้ได้กับเด็กอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป อย่าใช้ยาซานามิเวียร์หากคุณเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด
    • เพอรามิเวียร์ต้องให้แพทย์ฉีดเข้าเส้นเลือดและใช้ได้กับเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
    • อย่ารับประทานยาปฏิชีวนะเพราะไม่ได้ช่วยรักษาอาการไข้หวัดใหญ่
    โฆษณา
14

เข้ารับการรักษาหากคุณป่วยหนัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้หากอาการรุนแรง. หากผ่านไปแล้ว 7 วันอาการยังคงอยู่หรือหากจู่ๆ คุณก็เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด ให้พบแพทย์ทันที [24] ไข้หวัดใหญ่รุนแรงอาจทำให้ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือติดเชื้ออื่นๆ ได้ แต่แพทย์จะสามารถรักษาอาการตามความจำเป็นเพื่อให้คุณเริ่มรู้สึกดีขึ้นและฟื้นตัวได้ [25]
    • นอกจากนี้คุณก็ควรพบแพทย์หากคุณอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ตั้งครรภ์ หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอด หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

เคล็ดลับ

โฆษณา

คำเตือน

โฆษณา
  1. https://www.parents.com/health/cold-flu/cold/how-to-give-nasal-drops/
  2. https://medlineplus.gov/ency/article/003049.htm
  3. https://www.pennmedicine.org/updates/blogs/health-and-wellness/2018/february/sore-throat
  4. https://healthychildren.org/English/health-issues/conditions/flu/Pages/caring-for-Your-childs-cold-or-flu.aspx
  5. https://www.pennmedicine.org/updates/blogs/health-and-wellness/2018/february/sore-throat
  6. https://www.cdc.gov/flu/pdf/freeresources/general/influenza_flu_homecare_guide.pdf
  7. https://newsinhealth.nih.gov/2014/10/cold-flu-or-allergy
  8. https://www.getreliefresponsibly.com/sites/getreliefresponsibly_us/files/adult_dosing_chart.pdf
  9. https://www.drugs.com/medical-answers/safe-ibuprofen-with-acetaminophen-2991821/
  10. https://www.drugs.com/medical-answers/safe-ibuprofen-with-acetaminophen-2991821/
  11. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/13756--colds-and-flu-symptoms-treatment-prevention-when-to-call
  12. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5871211/
  13. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4848651/
  14. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/4335-influenza-flu
  15. https://www.nhs.uk/conditions/flu/
  16. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2504709/
  17. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/10-flu-myths
  18. https://health.clevelandclinic.org/can-immune-boosters-with-vitamin-c-or-zinc-help-my-cold/
  19. https://www.cdc.gov/flu/treatment/takingcare.htm
  20. https://www.cdc.gov/flu/symptoms/flu-vs-covid19.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,554 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา