ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2, ซึ่งทำให้เกิดอาการป่วย COVID-19, ก่อนหน้านี้เรียกว่า 2019-nCoV) กำลังระบาดไปทั่วโลก คุณอาจกังวลถ้าเกิดอาการกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งโดยมากก็น่าจะเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา แต่ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อความมั่นใจ ถ้าคุณป่วย แพทย์จะช่วยรักษาคุณได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

จดจำอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดูอาการไอซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำมูกหรือไม่มีน้ำมูก. ไวรัสโคโรนาเป็นการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจก็จริง อาการของมันจะเป็นการไอ มีไข้ และหายใจไม่สะดวก แต่มันไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอหรือมีน้ำมูก ซึ่งจะเป็นการติดเชื้อชนิดอื่น เช่นไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดธรรมดา ไปพบแพทย์ถ้าคุณไอหรือเพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ หรือคุณได้อยู่ใกล้ใครที่ป่วยหรือเปล่า [1]
    • คุณมีโอกาสจะติดไวรัสโคโรนาถ้ามีการแพร่ระบาดในบริเวณนั้น หรือคุณไปใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ หรือคุณเพิ่งเดินทางไปยังสถานที่ซึ่งมีอัตราการระบาดสูง
    • ถ้าคุณไอ ปิดปากด้วยกระดาษทิชชู่หรือแขนเสื้อเพื่อจะไม่แพร่เชื่อสู่ผู้อื่น คุณอาจสวมหน้ากากอนามัยเพื่อสกัดเชื้อก็ได้
    • ถ้าคุณมีอาการไอ ให้รักษาระยะห่างจากคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ เช่น ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เด็กทารก เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ที่ต้องใช้ยาต้านภูมิคุ้มกัน
  2. เนื่องจากการมีไข้เป็นอาการพื้นฐานของไวรัสโคโรน่า วัดอุณหภูมิถ้าห่วงว่าจะติดเชื้อไวรัส ไข้ที่สูงเกิน 38 องศาเซลเซียสเป็นสัญญาณว่าคุณอาจมีไวรัสโคโรน่าหรือเชื้ออื่นๆ หากมีไข้ ให้พบแพทย์ [2] และนอกเหนือจากนั้นให้อยู่กับบ้าน [3]
    • เวลามีไข้ คุณกำลังจะแพร่เชื้อที่คุณมีอยู่ให้แก่คนอื่น ฉะนั้นป้องกันด้วยการอยู่แต่บ้าน
    • พึงระลึกว่าอาการไข้เป็นอาการของโรคหลายชนิด ไม่จำเป็นว่าคุณติดไวรัสโคโรนา
  3. อาการของมันจะเป็นการไอ มีไข้ และหายใจไม่สะดวก เนื่องจากการหายใจเป็นอาการร้ายแรง ให้พบแพทย์ เพราะคุณมีอาการรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นหรือไม่เป็นไวรัสโคโรนา [4]

    คำเตือน: คนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือกำลังเข้ารับการรักษาทางแพทย์ เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน นั้นเปราะบางต่อการติดเชื้อไวรัสนี้มาก [6] เด็กทารกและคนชราก็เสี่ยงที่จะเกิดอาการเป็นโรคหลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ [7] หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีความเสี่ยง พบแพทย์และหลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้อื่นและสัตว์

  4. จำไว้ว่าถ้าคุณมีอาการอื่นมันอาจไม่ใช่ไวรัสโคโรนา. จนถึงเดือนมีนาคม 2020 ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อกับองค์การอนามัยโลกต่างรายงานว่าอาการของมันจะเป็นการไอ มีไข้ และหายใจไม่สะดวก อาการอื่นเช่น เจ็บคอหรือมีน้ำมูก ปวดศีรษะ หรือปวดเมื่อยตามร่างกายนั้นหมายถึงคุณติดเชื้อชนิดอื่น เช่นไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดธรรมดา ให้แพทย์ตรวจเพื่อความแน่ใจ [8]
    • เข้าใจได้ว่าคุณอาจกังวลเรื่องไวรัสโคโรนาถ้าเกิดไม่สบายขึ้นมา แต่ไม่ควรกังวลถ้าคุณไม่ได้มีอาการตามที่บอก คือไอ มีไข้ และหายใจไม่สะดวก

    เคล็ดลับ: หากคุณยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวและมีสุขภาพแข็งแรง คุณอาจมีอาการโควิด-19 เพียงเล็กน้อย หากคุณเพิ่งเดินทางหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ แล้วมีอาการทางระบบการหายใจ ให้ปรึกษาแพทย์ว่าจำเป็นต้องเข้าทดสอบไหม ในขณะเดียวกัน ให้กักตัวอยู่แต่ในบ้านเพื่อจะได้ไม่แพร่เชื้อแก่ผู้อื่น

    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

เข้ารับการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ติดต่อแพทย์ทันทีที่คิดว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา. การติดเชื้อไวรัสโคโรนาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะเชื้อสายพันธุ์รุนแรงอย่าง MERS หรือ SARS ถ้าคุณเพิ่งใกล้ชิดกับคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือหากคุณอาศัยหรือเพิ่งเดินทางไปในบริเวณที่เชื้อกำลังระบาด ให้ติดต่อแพทย์ทันที และทำตามคำแนะนำที่ได้รับจากแพทย์ [9]
    • ให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรับทราบว่าคุณคิดว่าอาจติดเชื้อไวรัสโคโรน่าก่อนที่คุณจะไปถึง พวกเขาจะได้มีเวลาเตรียมป้องกันและกันคุณออกจากการแพร่เชื้อสู่คนไข้รายอื่น
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    World Health Organization

    องค์การสุขภาพระดับโลก
    องค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นองค์กรของสหประชาชาติที่รับผิดชอบเรื่องสุขภาพของประชากรนานาชาติ ถือกำเนิดขึ้นในปี 1948 โดยองค์กรจะจับตาและตรวจสอบความเสี่ยงด้านสุขภาพต่างๆ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพและรับมือกับปัญหาเร่งด่วน องค์การอนามัยโลกกำลังเป็นหัวหอกในการสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติในการป้องกัน ตรวจหาและรับมือกับโรคระบาดโควิด-19
    World Health Organization
    องค์การสุขภาพระดับโลก

    ผู้เชี่ยวชาญของเราเห็นด้วย: ทางการจะมีข้อมูลของสถานการณ์ในพื้นที่ล่าสุด การโทรนัดล่วงหน้าจะช่วยให้ทางโรงพยาบาลสามารถนำคุณไปยังแผนกที่ต้องดูแลโดยตรงได้เร็ว นี่ยังช่วยป้องกันคุณและช่วยกันไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่นด้วย

  2. ถ้าคุณมีอาการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์รุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้นำตัวอย่างไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันผลตรวจ การทดสอบเหล่านี้มักต้องเก็บตัวอย่างเลือด เสมหะ (น้ำลายกับน้ำมูกที่คุณไอออกมา) หรือสิ่งที่แพทย์ใช้ไม้กวาดออกมาจากจมูกกับลำคอคุณ [10]
    • เป็นไปได้สูงที่แพทย์จะให้คุณเก็บกักตัวอยู่แต่ในบ้าน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถึงอย่างไร คุณก็ต้องถูกแยกเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
    • แพทย์ไม่สามารถทดสอบตัวอย่างเองได้ ต้องส่งให้ทางกระทรางสาธารณสุขหรือศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ
  3. ยังไม่มียารักษาไวรัสโคโรน่าได้ หากแพทย์ตรวจว่าคุณติดเชื้อจริง มักจะให้กลับไปรักษาตัวที่บ้าน เว้นแต่จะมีอาการรุนแรงถึงต้องนอนโรงพยาบาล สอบถามวิธีการรักษาตัวที่บ้านและป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนใกล้เคียง [11]
    • แพทย์อาจจ่ายยาหรือแนะนำยารักษาอาการ มันไม่มียาที่กำจัดไวรัสได้ ทำได้แค่ดูแลตัวเองและรอจนอาการดีขึ้น
    • สอบถามแพทย์ว่าต้องเจออะไรบ้าง และเมื่อไหร่ที่คุณควรกลับมารับการรักษาเพิ่ม (เช่น อาการแย่ลงหรือเกิดอาการอื่นขึ้นมาอีก)
  4. เข้ารับการรักษาฉุกเฉินถ้าคุณมีอาการทางปอดอย่างรุนแรง. บางคนอาจมีอาการติดเชื้อเพียงเล็กน้อย แต่บางคราวมันก็ทำความเสียหายต่อปอดอย่างหนัก อาการเหล่านี้เป็นเรื่องเร่งด่วน แม้จะไม่เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา ให้แจ้งห้องฉุกเฉินหากคุณมีอาการต่อไปนี้: [12]
    • หายใจลำบาก
    • ริมฝีปากหรือใบหน้าเขียวคล้ำ
    • มีอาการปวดหรือแน่นหน้าอก
    • มีอาการสับสน
  5. 5
    ไปโรงพยาบาลถ้าอาการหนักขึ้น. มีบางการรักษาที่จำเป็นเฉพาะกับโควิด-19 แต่มีจำกัดเฉพาะในโรงพยาบาล โดยทั่วไปคุณจำต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลถ้าคุณมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือมีอาการหนัก การรักษาขั้นก้าวหน้าในขณะเดือนมิถุนายน 2021มีดังต่อไปนี้: [13]
    • Monoclonal antibodies (อาจให้แก่ผู้ติดโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการในจำนวนน้อย) เพื่อป้องกันการรุกคืบของเชื้อโควิด-19 [14]
    • Antiviral medication (Remdesivir) เพื่อชะลอไวรัสไม่ให้กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย [15]
    • Convalescent plasma (มีส่วนผสมของเม็ดเลือดขาวจากผู้ป่วยที่หายแล้ว) สามารถช่วยระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองต่อไวรัสดีขึ้น อย่างไรก็ตามคำแนะนำปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานเพียงพอที่จะแนะนำการรักษาแบบนี้ [16]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

รักษาตัวเมื่อป่วย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การพักผ่อนให้เพียงพอจำเป็นต้อการช่วยร่างกายสู้กับเชื้อและฟื้นตัวได้ การอยู่บ้านยังช่วยไม่ให้คุณแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ในระหว่างติดเชื้อ ให้พักงานหรือการเรียน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้กำลัง นอนหลับให้ได้มากที่สุด [17]

    เคล็ดลับ: ถ้าคุณอาศัยร่วมชายคากับคนอื่น พยายามแยกตัวเองออกมาในห้องต่างหาก หากที่บ้านมีห้องน้ำมากกว่าหนึ่งห้อง ให้ใช้ห้องน้ำแยกต่างหากจากคนอื่น นี่จะช่วยป้องกันคนในบ้านไม่ให้ติดเชื้อ [19]

  2. ถ้าคุณมีอาการเช่น ปวดตามร่างกาย ปวดศีรษะ หรือมีไข้ ใช้ยาจำพวกอะซีตามิโนเฟน (Tylenol), ไอบูโปรเฟน (Motrin, Advil) หรือนาพร็อกเซน (Aleve) ถ้าคุณอายุเกิน 18 ปี สามารถใช้แอสไพรินเป็นยาแก้ปวดลดไข้ได้ [20]
    • อย่าให้เด็กหรือวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปีรับประทานยาแอสไพริน เนื่องจากมันอาจก่อให้เกิดอาการที่เรียกว่า เรย์ซินโดรม ( Reye’s Syndrome)
    • ใช้ยาตามคำแนะนำบนฉลากยาหรือที่แพทย์สั่งมาเสมอ ก่อนรับการรักษา ควรแจ้งแพทย์หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่

    เคล็ดลับ: คุณอาจได้เห็นรายงานว่ายาแก้อักเสบแบบไร้สเตียรอยด์ (NSAIDs), อย่างไอบูโปรเฟน (Advil, Motrin) และนาพร็อกเซ็น (Aleve) ทำให้อาการโควิด-19 ยิ่งแย่ลง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว หากคุณกังวลเรื่องใช้ยา ตรวจสอบกับแพทย์ก่อนใช้ [21]

  3. ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นเพื่อบรรเทาอาการไอกับเจ็บคอ. เครื่องเพิ่มความชื้นช่วยให้ลำคอ ปอด และหลอดลมโล่งขึ้น ตั้งไว้ใกล้เตียงในตอนกลางคืนและทุกที่ที่คุณใช้พักในตอนกลางวัน [22]
    • การอาบฝักบัวด้วยน้ำอุ่นหรือนั่งในห้องน้ำใต้ฝักบัวช่วยบรรเทาและลดเสมหะในปอดกับโพรงจมูกได้
  4. เวลาไข้จะทำให้ร่างกายขาดน้ำโดยง่าย ระหว่างพักฟื้น ให้จิบน้ำ น้ำผลไม้ หรือน้ำแบบใสอื่นๆ เพื่อช่วยลดอาการขาดน้ำ [23]
    • น้ำอุ่น เช่น น้ำซุปใส น้ำชา หรือน้ำอุ่นใส่มะนาว ช่วยบรรเทาอาการไอกับเจ็บคอ
  5. กักตัวเองจนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้คุณออกจากบ้าน. เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่คุณต้องอยู่กับบ้านจนกว่าจะปลอดเชื้อเพื่อจะไม่ไปแพร่สู่ผู้อื่น แพทย์จะเป็นผู้ตรวจและอนุญาตเอง แม้คุณจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นจนเป็นปกติแล้วก็ตาม [24]
    • แพทย์อาจทำการทดสอบอีกครั้งว่าคุณยังมีเชื้อหรือไม่
    • หากไม่สามารถทดสอบได้ แพทย์อาจอนุญาตหากคุณไม่แสดงอาการอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง
  6. พยายามอย่าเป็นกังวลจนเกินไป แต่หากติดเชื้อโควิดรุนแรง คุณอาจมีอาการปอดอักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ติดต่อแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการรุนแรง [25] ดังต่อไปนี้
    • หายใจลำบาก
    • ริมฝีปากหรือใบหน้าเขียวคล้ำ
    • มีอาการปวดหรือแน่นหน้าอก
    • มีอาการสับสน
    • อาการเหล่านี้มิใช่มีเพียงเท่านี้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หากคุณมีอาการรุนแรง
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    รับการฉีดวัคซีน. รับการฉีดวัคซีนถ้าพร้อม วัคซีนที่ได้รับการรับรองจากทางการแพทย์นั้นมีหลายตัวทั่วโลก แต่คุณจะได้รับวัคซีนสูตรไหนก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล โดยบุคลากรทางการแพทย์และผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะได้รับวัคซีนก่อน [26]
    • วัคซีนสามชนิดที่ได้รับการรับรองจากทางการไทยแล้วนั้นคือวัคซีนจากแอสตราเซเนกา ซิโนแวค และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
    • คุณอาจไม่สามารถเลือกว่าจะรับวัคซีนตัวไหนเมื่อได้รับการนัดเข้าฉีดวัคซีนเพราะแต่ละชนิดมีปริมาณที่จำกัด อย่างไรกดี ทุกชนิดล้วนแสดงผลว่าสามารถป้องกันเชื้อโควิด-19 ในการทดลองได้อย่างดี และจะลดอัตราเสี่ยงของการติดเชื้อของคุณ [27]
  2. อยู่กับบ้านเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อการเว้นระยะห่างทางสังคม. คุณคงเคยได้ยินคำว่า "social distancing" ซึ่งหมายถึงการจำกัดการใกล้ชิดกับผู้อื่น นี่จะช่วยให้ชุมชนสามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้ ออกจากบ้านเฉพาะเมื่อจำเป็น เช่น ซื้อของใช้ที่จำเป็นหรือไปทำงาน ถ้าเป็นไปได้ก็พยายามจัดการเปลี่ยนมาทำงานที่บ้านในช่วงนี้ [28]
    • เวลาออกนอกบ้าน พยายามรักษาระยะห่าง 2-3 เมตรกับผู้อื่น
    • ถ้าคุณจะพบปะสังสรรค์กับเพื่อนหรือครอบครัว จำกัดให้อยู่ไม่เกินสิบคนและยังรักษาระยะห่าง 2 เมตรระหว่างกัน
  3. การล้างมือเป็นวิธีป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ใช้น้ำอุ่นกับสบู่ล้างมือ โดยเฉพาะหลังสัมผัสพื้นผิวที่มีการจับบ่อย (เช่น ลูกบิดประตูในห้องน้ำสาธารณะ หรือราวบันได หรือราวจับบนรถไฟฟ้า) หรือสัมผัสคนและสัตว์ที่อาจจะป่วย ล้างอย่างน้อย 20 วินาที ให้แน่ใจว่าล้างตามซอกนิ้วด้วย [29]
    • เพื่อให้มั่นใจว่าคุณล้างนานพอ ให้คลอเพลง “Happy Birthday” ไปด้วย
  4. ไวรัสระบบทางเดินหายใจอย่างในตระกูลเชื้อไวรัสโคโรน่าจะเข้าสู่ร่างกายทางเนื้อเยื่อในดวงตา จมูกกับปาก คุณสามารถป้องกันตัวเองโดยไม่เอามือขยี้หรือสัมผัส โดยเฉพาะถ้าไม่ได้ล้างมือมาก่อน [30]
  5. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อวัตถุและพื้นผิวที่สัมผัส. ใช้สเปรย์ฆ่าเชื้อหรือแผ่นฆ่าเชื้อมาทำความสะอาดพื้นผิวเหล่านี้ทุกวัน จะช่วยจำกัดความเสี่ยงการมีไวรัสได้ หรือทำเองโดยใช้น้ำยาฟอกขาว 1 ถ้วยกับน้ำอุ่น 1 แกลลอน ให้แน่ใจว่าพื้นผิวนั้นเปียกเป็นเวลา 10 นาทีเพื่อยาฆ่าเชื้อจะทำงานอย่างได้ผล [31]
    • ถ้าใครในบ้านป่วยด้วยเชื้อไวรัสโคโรนา ป้องกันโรคจากการระบาดโดยทำความสะอาดทุกอย่างที่เขาสัมผัส ใช้สบู่กับน้ำร้อนหรือแผ่นฆ่าเชื้อหรือสเปรย์ฆ่าเชื้อเพื่อให้ทุกอย่างสะอาด ทำความสะอาดชุดเครื่องนอนที่ติดเชื้อในน้ำร้อน
  6. เชื้อไวรัสโคโรนาสามารถแพร่จากคนสู่คน หากคุณทราบว่ามีผู้ป่วยเชื้อไวรัสโคโรนา หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับเขา ล้างมือให้สะอาดถ้าไปสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ และสวมหน้ากากอนามัย คุณสามารถติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้โดย: [32]
    • มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ เช่น กอด จูบ จับมือ หรืออยู่ใกล้ชิดเป็นเวลานานๆ (เช่น นั่งถัดจากกันบนรถหรือเครื่องบิน)
    • ใช้ถ้วยชามภาชนะหรือข้าวของส่วนตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ
    • สัมผัสดวงตา จมูก หรือปากตัวเองหลังสัมผัสผู้ติดเชื้อมา
    • สัมผัสกับของเสียที่ติดเชื้อ (เช่น หากคุณเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทารกที่ติดเชื้อ)
  7. เชื้อไวรัสโคโรนาแพร่จากสัตว์สู่คน หากคุณไปสัมผัสกับสัตว์เหล่านี้ โดยเฉพาะในบริเวณที่เกิดการระบาด ให้ล้างมือจนสะอาด [33]
    • ใส่ใจเป็นพิเศษกับการไม่สัมผัสสัตว์ที่เห็นได้ชัดว่าป่วย
  8. คุณสามารถติดเชื้อไวรัสโคโรนาและโรคอื่นได้จากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนหรือปรุงไม่สุกดี หลีกเลี่ยงการทานอาหารจากสัตว์ที่ดิบหรือไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ และล้างมือกับอุปกรณ์รับประทานที่ผ่านการสัมผัสกับเนื้อดิบหรือปรุงไม่สุกหรือนมเสมอ [34]
  9. คนที่มีเชื้อไวรัสโคโรนาจะแพร่มันโดยการไอและจาม คุณสามารถทำให้ผู้อื่นปลอดภัยโดยใช้กระดาษทิชชู่ ผ้าเช็ดหน้า หรือหน้ากากอนามัยปิดจมูกกับปากเวลาไอหรือจาม [35]
    • ทิ้งกระดาษทิชชู่ที่ใช้แล้วในทันทีแล้วล้างมือด้วยน้ำอุ่นกับสบู่
    • หากเกิดอยากไอหรือจามกระทันหันและคุณไม่มีกระดาษทิชชู่ติดมือ ให้งอข้อศอกแล้วไอหรือจามใส่ตรงข้อพับด้านในแทนที่จะใช้ฝ่ามือปิดปาก แบบนี้คุณจะแพร่ไวรัสออกไปน้อยกว่ามากเวลาคุณสัมผัสสิ่งต่างๆ
  10. ใส่ใจกับคำแนะนำทางการท่องเที่ยวถ้าคุณวางแผนจะเดินทางไปต่างประเทศ. เข้าไปในเว็บไซต์การท่องเที่ยวของประเทศนั้นเพื่อดูว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือไม่ คุณยังอาจตรวจเว็บไซต์ของ CDC หรือองค์การอนามัยโลกสำหรับข้อมูล เว็บไซต์เหล่านี้จะให้คำแนะนำวิธีป้องกันตนเองเวลาเดินทาง [36]
    โฆษณา
  1. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/faq.html#symptoms
  2. https://www.cdc.gov/coronavirus/about/prevention.html
  3. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/symptoms-testing/symptoms.html
  4. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/your-health/treatments-for-severe-illness.html
  5. https://www.covid19treatmentguidelines.nih.gov/therapies/statement-on-casirivimab-plus-imdevimab-eua/
  6. https://www.covid19treatmentguidelines.nih.gov/therapies/antiviral-therapy/remdesivir/
  7. https://www.covid19treatmentguidelines.nih.gov/therapies/anti-sars-cov-2-antibody-products/convalescent-plasma/
  8. https://www.cdc.gov/coronavirus/about/prevention.html
  9. https://www.cdc.gov/sars/about/fs-closecontact.html
  10. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/if-you-are-sick/caring-for-yourself-at-home.html
  11. https://www.cdc.gov/coronavirus/about/prevention.html
  12. https://www.bbc.com/news/51929628
  13. https://www.cdc.gov/coronavirus/about/prevention.html
  14. https://www.cdc.gov/coronavirus/about/prevention.html
  15. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/if-you-are-sick/steps-when-sick.html
  16. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/symptoms-testing/symptoms.html
  17. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/recommendations.html
  18. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/more/fully-vaccinated-people.html
  19. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prepare/transmission.html
  20. https://www.cdc.gov/coronavirus/about/prevention.html
  21. https://www.cdc.gov/coronavirus/about/prevention.html
  22. https://www.cdc.gov/coronavirus/about/prevention.html
  23. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/about/transmission.html?CDC_AA_refVal=https%3A%2F%2Fwww.cdc.gov%2Fcoronavirus%2Fabout%2Ftransmission.html
  24. https://www.who.int/news-room/q-a-detail/q-a-coronaviruses
  25. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/middle-east-respiratory-syndrome-coronavirus-(mers-cov)
  26. https://www.cdc.gov/coronavirus/about/prevention.html
  27. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/travelers/index.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,506 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา