ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

แผลที่ถูกสัตว์กัดเป็นเรื่องที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ประมาณ 2-5 ล้านครั้งในทุกๆ ปี เด็กมักจะถูกกัดมากกว่าผู้ใหญ่และแผลกัดส่วนใหญ่ (85 – 90%) มาจากสุนัข [1] อาการแทรกซ้อนของแผลที่ถูกสัตว์กัดคือการติดเชื้อ ในกรณีหายาก แผลกัดสามารถเป็นบาดแผลรุนแรงและอาจจะทำให้พิการถาวรได้ สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือเมื่อถูกสัตว์กัดคือโรคพิษสุนัขบ้า [2] หากรู้วิธีทำความสะอาดและดูแลแผลสุนัขกัด รวมถึงรู้ว่าเวลาไหนที่ควรจะไปพบแพทย์ คุณก็จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

รักษาแผลกัดที่ไม่รุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แผลสุนัขกัดส่วนใหญ่จะเป็นแผลที่ไม่รุนแรงที่คุณสามารถรักษาเองได้ที่บ้าน ถ้าแผลกัดไม่ค่อยฉีกจากกันหรือเขี้ยวของสุนัขถากแค่ผิวๆ คุณสามารถรักษาแผลเช่นนี้เองได้ที่บ้าน [3]
    • แผลแบบนี้จะแตกต่างจากแผลที่เขี้ยวสุนัขฝังลึกลงไป ฉีกขาด หรือข้อต่อและกระดูกถูกบดหัก ถ้าเป็นแผลแบบนี้ให้ไปพบแพทย์เสมอ การดูแลแผลรุนแรงจะอยู่ในส่วนที่สองของบทความ
  2. ใช้สบู่และน้ำเยอะๆ ล้างแผลกัดให้สะอาด โดยเป็นน้ำที่มีอุณหภูมิที่คุณรู้สึกสบาย [4] นี่จะช่วยทำความสะอาดแผลและขจัดเชื้อโรคที่อยู่รอบแผลหรือที่มาจากปากของสุนัข
    • สบู่อะไรก็สามารถใช้ได้ แต่สบู่ที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียจะดีที่สุดถ้าคุณมีอยู่ที่บ้าน
    • สบู่และน้ำอาจจะทำให้แสบที่แผล แต่ก็ควรที่จะล้างบริเวณนั้นให้สะอาด
  3. ใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าก๊อซกดแผลไว้ถ้ามีเลือดไหลออกมาหลังจากที่ล้างแผลเสร็จ [5] เลือดจะหยุดไหลหรือไหลช้าลงจนแห้งภายในเวลาสักพัก
    • ถ้าเลือดไหลออกมามากและไม่หยุดไหลหลังจากที่กดแผลไปแล้ว 15 นาที คุณควรไปพบแพทย์ [6]
  4. ครีมฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อย่าง Neosporin หรือ Bacitracin สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อของแผลได้ [7] ทาครีมที่แผลตามวิธีที่ระบุที่บรรจุภัณฑ์ของยา
  5. เมื่อคุณทายาฆ่าเชื้อแบคทีเรียแล้ว ให้พันแผลให้เรียบร้อย [8] ให้พันแผลแน่นพอประมาณเพื่อจะป้องกันการบาดเจ็บ แต่อย่าพันแน่นมากเกินไปเพราะมันจะมีผลกับการไหลเวียนของเลือดและทำให้เจ็บ
  6. คุณควรที่จะเปลี่ยนผ้าพันแผลทุกครั้งเมื่อคุณทำมันสกปรก เช่น เมื่อคุณอาบน้ำ ค่อยๆ ล้างแผลเบาๆ อีกครั้ง ทาครีมฆ่าเชื้อ และใช้ผ้าพันแผลอันใหม่
  7. โรคบาดทะยักเป็นอาการติดเชื้อที่เป็นไปได้ซึ่งอาจจะเกิดจากแผลสุนัขกัด [9] ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักหลังจากที่สุนัขกัดถ้าการฉีดวัคซีนครั้งสุดท้ายคือนานกว่า 5 ปี [10]
  8. ดูสัญญาณของการติดเชื้ออื่นๆ ของแผล ถ้าคุณคิดว่าแผลนั้นอาจจะติดเชื้อ ให้ไปพบแพทย์ทันที สัญญาณที่บ่งบอกว่าแผลติดเชื้อได้แก่คือ [11] [12]
    • เจ็บปวดกว่าเดิม
    • บวม
    • แดงหรือบริเวณแผลค่อนข้างอุ่น
    • เป็นไข้
    • มีน้ำหนองออกมา
  9. ดูว่าสุนัขตัวนั้นได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ถ้าเป็นไปได้. โรคพิษสุนัขบ้าเป็นการติดเชื้อที่อาจจะเป็นไปได้ โดยคุณสามารถติดมาจากแผลสุนัขกัดที่แม้จะไม่รุนแรง ผู้ที่ถูกสุนัขกัดมักจะรู้จักสุนัขที่กัดและสามารถระบุได้ว่าก่อนหน้านี้สุนัขได้รับการฉีควัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ ก็ไม่กังวลเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า [13]
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขตัวนั้นฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่ เช่น สุนัขจรจัด ก็ควรต้องสังเกตอาการของสุนัขประมาณ 15 วัน (ถ้าเป็นไปได้) เพื่อตรวจดูว่าเป็นมันมีสัญญาณของโรคพิษสุนัขหรือไม่ คุณควรที่จะไปขอความช่วยเหลือจาดผู้เชี่ยวชาญถ้าคุณไม่สามารถระบุว่าสุนัขฉีดวัคซีนแล้ว
  10. ไปรับการรักษาถ้ามีคุณมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ขณะที่มีแผลกัด. แม้จะเป็นแผลที่ไม่รุนแรงก็ตาม ถ้าคุณป่วยเป็นโรคอื่นอยู่ก่อนแล้ว คุณควรที่จะไปหาแพทย์ โรคเหล่านี้ได้แก่ [14]
    • เบาหวาน
    • โรคตับ
    • มะเร็ง
    • ติดเชื้อเอชไอวี
    • เมื่อใช้ยาบางชนิดที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น ยาสำหรับโรคโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

รักษาแผลสุนัขกัดรุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แผลกัดรุนแรงจะมีรอยฝังลึกจากเขี้ยวของสุนัข 1 แผลหรือมากกว่านั้น ซึ่งมันอาจจะทำให้เนื้อฉีกขาดได้ [15] ขากรรไกรของสุนัขบางสายพันธุ์ที่กัดคุณอาจจะทำให้กระดูก เส้นเอ็น หรือข้อต่อเสียหาย และตุณอาจจะขยับตัวได้อย่างเจ็บปวดหรือไม่สามารถขยับบริเวณที่โดนกัดได้ สัญญาณอื่นๆ ของแผลกัดที่บ่งบอกว่าคุณควรต้องไปพบแพทย์มากกว่าจะรักษาเองที่บ้าน ได้แก่ [16]
    • แผลลึกพอที่จะเห็นไขมัน กล้ามเนื้อ หรือกระดูก
    • แผลฉีกขาดออกจากกันกว้างมากๆ
    • เลือดพุ่งมาจากแผลและเมื่อกดแผลเป็นเวลา 15 นาทีไม่สามารถทำให้เลือดหยุดไหลได้
    • แผลใหญ่กว่า 1-2 เซนติเมตร
    • แผลกัดนั้นอยู่ที่ศีรษะหรือคอ
  2. ก่อนที่จะไปหาแพทย์ ให้ใช้ผ้าขนหนูกดที่แผลเพื่อเลือดไหลช้าลงมากที่สุด [17] ใหกดแผลไว้จนกว่าคุณจะพบแพทย์
  3. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวิเคราะห์และเลือกใช้วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาแผลสุนัขกัด รวมถึงทำให้เลือดหยุดไหล และดูว่าแผลนั้นต้องเย็บแผลหรือไม่ แพทย์จะล้างแผล (โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับการผ่าตัด เช่นไอโอดีน) และจะกำจัดเนื้อเยื่อที่ไม่จำเป็นจากบริเวณแผล ซึ่งรวมถึงผิวหนังที่ตายแล้วออก เนื้อเยื่อที่ติดเชื้อ โดยมันจะขัดขวางการรักษาเนื้อเยื่อที่ดีอยู่บริเวณรอบ [18]
    • แพทย์จะดูที่ประวัติการฉีดวัคซีนของคุณเพื่อดูว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนบาดทะยักหรือไม่
    • ถ้าแพทย์สังเกตว่ากระดูกของคุณเสียหายจากการถูกกัด คุณอาจจะต้องไปเอกซเรย์เพื่อหารับการรักษาที่เหมาะสม [19]
    • บอกกับแพทย์ว่าคุณรู้ว่าสุนัขตัวนั้นฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ถ้าแพทย์เชื่อว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อพิษสุนัขบา แพทย์จะรักษาด้วยการฉีดวัคซีนต้านเชื้อพิษสุนัขบ้าหลายเข็ม [20]
  4. ถ้าคุณมีสัญญาณของการติดเชื้อหรือแพทย์ระบุว่าคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อจากแผล แพทย์จะจ่ายยาฆ่าเชื้อให้ [21]
    • ยาฆ่าเชื้อส่วนใหญ่ที่ใช้กันได้แก่ Amoxicillin-clavulanate (Augmentin) ซึ่งปกติแล้วจะเป็นยาเม็ดและแพทย์จะสั่งให้ใช้เป็นเวลา 3-5 วัน ผลข้างเคียงของยานี้ก็คือจะรบกวนทางเดินอาหาร
  5. แพทย์จะบอกคุณว่าควรเปลี่ยนผ้าพันแผลบ่อยแค่ไหนขณะที่แพทย์รักษาแผลของคุณ [22] แพทย์อาจจะแนะนำให้เปลี่ยนผ้าพันแผล 1-2 ครั้งต่อวัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้ฝึกสุนัขของคุณอย่างเหมาะสมทีละขั้นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกกัด
  • สำหรับข้อมูลต่างๆ ของการป้องกันไม่ให้สุนัขกัดตั้งแต่แรก ให้อ่านบทความอื่นๆ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าแผลกัดเริ่มทำให้ผิวหนังรอบๆ มีอาการคันหรือเริ่มที่จะบวมอย่างรวดเร็ว ควรไปพบแพทย์
  • ถ้าแผลเริ่มแย่ลง ให้ไปพบแพทย์จะดีกว่า
  • ขณะที่บทความนี้นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับแผลสุนัขกัด อย่างไรก็ตาม ไม่ควรถือว่าข้อมูลในบทความนี้เป็นคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ให้ไปพบแพทย์ถ้าคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับความรุนแรงของแผล
  • ถ้าคุณไม่สามารถยืนยันว่าสุนัขฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่ (ไม่ว่าจะเป็นประวัติของสุนัขของคุณเองหรือของคนอื่น) ให้รีบไปพบแพทย์เสมอ การติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสามารถรักษาได้หลังจากโดนกัด แต่ต้องไปพบแพทย์อย่างทันที คุณไม่ควรรอให้อาการปรากฏก่อน [23]
  • แผลกัดที่มือ เท้า และศีรษะ นั้นควรที่จะไปพบแพทย์เพราะว่าผิวหนังบริเวณนั้นบอบบางและมีข้อต่อจำนวนมาก ซึ่งมันอาจได้รับผลกระทบได้ [24]


โฆษณา
  1. http://www.uptodate.com/contents/animal-bites-beyond-the-basics?source=search_result&search=dog+bite&selectedTitle=1~26
  2. http://www.uptodate.com/contents/animal-bites-beyond-the-basics?source=search_result&search=dog+bite&selectedTitle=1~26
  3. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-animal-bites/basics/art-20056591
  4. http://www.uptodate.com/contents/animal-bites-beyond-the-basics?source=search_result&search=dog+bite&selectedTitle=1~26
  5. http://www.uptodate.com/contents/animal-bites-beyond-the-basics?source=search_result&search=dog+bite&selectedTitle=1~26
  6. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-animal-bites/basics/art-20056591
  7. http://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentTypeID=1&ContentID=2978
  8. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-animal-bites/basics/art-20056591
  9. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3178974
  10. http://www.uptodate.com/contents/animal-bites-beyond-the-basics?source=search_result&search=dog+bite&selectedTitle=1~26
  11. http://www.uptodate.com/contents/rabies-beyond-the-basics?source=search_result&search=dog+bite&selectedTitle=7~26
  12. http://www.uptodate.com/contents/soft-tissue-infections-due-to-dog-and-cat-bites?source=see_link&sectionName=Prophylaxis&anchor=H8#H8
  13. http://www.uptodate.com/contents/animal-bites-beyond-the-basics?source=search_result&search=dog+bite&selectedTitle=1~26
  14. http://www.uptodate.com/contents/rabies-beyond-the-basics?source=search_result&search=dog+bite&selectedTitle=7~26
  15. http://www.uptodate.com/contents/animal-bites-beyond-the-basics?source=search_result&search=dog+bite&selectedTitle=1~26

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 41,197 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา