PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

แผลไหม้นั้นเป็นแผลที่เกิดขึ้นได้ง่ายแต่สร้างความเจ็บปวดแสนสาหัสยิ่ง แผลไหม้เล็กน้อยอาจรักษาหายเองได้โดยไม่ต้องพึ่งแพทย์นัก แต่แผลไหม้อย่างรุนแรงนั้นจะรักษาหายก็ต่อเมื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นพิเศษเท่านั้น เพื่อจะป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของรอยแผลเป็น ก่อนที่คุณจะทำการพยาบาลรักษาแผลไหม้ มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่าคุณมีแผลไหม้ประเภทหรือระดับไหน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ตรวจสอบระดับความรุนแรงของแผลไหม้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. แผลไหม้ระดับแรกพบเห็นได้ประจำ ส่วนใหญ่เกิดจากการโดนไฟลวกเล็กน้อย การสัมผัสกับของร้อน และแสงแดด ความเสียหายจะเกิดเฉพาะผิวชั้นนอกสุด [1] พวกมันมักจะเป็นรอยแดง มีอาการบวมเล็กน้อย และอาจจะรู้สึกปวดบ้างหรือไม่ก็ได้ คุณสามารถรักษาแผลไหม้ระดับแรกได้ที่บ้าน เนื่องจากมันไม่จำเป็นต้องใช้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญใดๆ ผิวส่วนนอกสุดของคนเรานั้นมีความสามารถที่จะรักษาตัวเองให้หายเองได้ตามการดูแลและเวลา [2]
    • แผลไหม้ระดับแรกนั้นถูกจำแนกให้เป็น ‘แผลไหม้เล็กน้อย’ และควรได้รับการรักษาแบบนั้น บางครั้งคุณอาจเจอแผลไหม้ระดับแรกแบบรุนแรงหน่อย อย่างเช่นโดนแดดเผาทั้งตัว แต่มันก็ไม่จำเป็นต้องถึงมือหมอแต่ประการใด
  2. ผิวหนังของคุณจะดูเหมือนเป็นแผลพุพอง มีตุ่มเกิดขึ้น และจะรู้สึกเจ็บปวดอย่างยิ่ง แผลไหม้ระดับสองเกิดจากการสัมผัสกับของที่ร้อนจัดมากในระยะสั้นๆ (เช่น น้ำเดือด) หรือการสัมผัสของร้อนในเวลาที่นานขึ้น หรือการถูกแดดแรงเผาเป็นเวลานาน แผลไหม้ระดับสองนี้ให้รักษาเหมือนการเป็นแผลไหม้เล็กน้อย เว้นแต่ว่าแผลนั้นจะเกิดที่มือ, เท้า, ขาหนีบ, หรือใบหน้า ถ้าผิวคุณเกิดตุ่มน้ำ อย่าไปเจาะมัน ถ้าหากตุ่มน้ำถูกเจาะไปแล้ว ให้ทำความสะอาดโดยการใช้น้ำล้างและทาด้วยขี้ผึ้งต้านเชื้อแบคทีเรีย คุณยังอาจใช้พลาสเตอร์ปิดทับขี้ผึ้งไว้อีกชั้น
    • แผลไหม้ระดับสองจะไหม้ชั้นผิวหนังไปสองชั้น ถ้าแผลไหม้ระดับสองของคุณนั้นกินบริเวณกว้างเกินสามนิ้ว หรือเกิดขึ้นบริเวณมือ, เท้า, ข้อต่อ, หรือตรงอวัยวะสืบพันธุ์ หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังผ่านไปหลายสัปดาห์ คุณก็ควรไปพบแพทย์ [3]
  3. แผลไหม้ระดับสามเป็นชนิดที่รุนแรงและต้องการการรักษาโดยทันที มันจะเกิดขึ้นเมื่อคุณสัมผัสกับของร้อนเป็นเวลานานมากจนผิวไหม้ทั้งสามชั้น บางครั้งก็สร้างความเสียหายให้แก่กล้ามเนื้อ, ชั้นไขมัน, และกระดูกด้วยได้ แผลนั้นจะดูเหมือนหนังสัตว์และอาจดูมีสีขาวหรือดำ ความเจ็บปวดนั้นขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายของระบบประสาทในชั้นผิวหนัง (ตัวรับความรู้สึกปวด) แผลไหม้นี้อาจดู “แฉะ” เนื่องด้วยเซลล์ถูกทำลายจนฉีกขาดและโปรตีนรั่วทะลักออกมา
    • แผลไหม้ระดับสามถูกจัดอยู่ในระดับการไหม้อย่างรุนแรง และต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์โดยด่วนที่สุด [4]
  4. นี่คือ ‘แผลไหม้’ ที่เกิดเมื่อผิวของคุณสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำมากๆ อย่างหิมะหรือน้ำแข็ง เป็นระยะเวลานาน บริเวณที่เกิดแผลจะดูแดงกล่ำ, ขาวซีดหรือดำคล้ำ และจะมีความรู้สึกแสบไหม้ตอนที่ผิวหนังได้รับความอบอุ่นขึ้นอีกครั้ง “แผลไหม้”อุณหภูมิต่ำนี้ถูกจัดว่าเป็นแผลไหม้เพราะมันทำลายชั้นเนื้อเยื่อของผิว
  5. พิจารณาว่าแผลไหม้นั้นเป็นแผลไหม้จากสารเคมีหรือไม่. แผลไหม้จากสารเคมีนั้นเป็นแผลไหม้อีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากผิวหนังไปสัมผัสกับสารเคมีอันตรายจนทำให้ชั้นผิวหนังเสียหาย แผลไหม้ประเภทนี้จะปรากฏในรูปแบบของการเกิดเป็นรอยแดง, เป็นผื่น, เป็นตุ่มน้ำ, หรือเป็นแผลเปิดบนผิวหนัง ขั้นตอนแรกจะต้องตรวจดูว่าอะไรเป็นสารต้นเหตุให้เกิดแผลไหม้และให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
    • ติดต่อเจ้าหน้าที่จากกรมอนามัยทันทีที่คุณเชื่อว่าเกิดแผลไหม้ จะต้องมีการดูแลและควบคุมให้สารกลับมามีสภาพเป็นกลางและควบคุมการแพร่กระจายของสารเคมีนั้น [7]
    • ให้ใช้น้ำเปล่าราดบนแผลไหม้จากสารเคมี แต่อย่างไรก็ดี หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหากไปสัมผัสกับปูนขาวแห้งหรือโลหะหนัก (อย่างเช่น โซเดียม, แมกนีเซียม, ฟอสฟอรัส, ลิเธียม เป็นต้น) เนื่องจากสารเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำได้และอาจทำให้อาการบาดเจ็บแย่ลงกว่าเดิม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

รักษาแผลไหม้ระดับเล็กน้อย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ราดน้ำลงบนแผลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ นี่จะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวหนังถูกทำลายไปมากกว่านี้ ให้ราดน้ำลงบนแผลต่อเนื่องไปเป็นเวลา 10-15 นาทีหรือจนกว่าอาการปวดจะทุเลาลง หลีกเลี่ยงการใช้น้ำเย็น เนื่องจากมันสามารถทำลายผิวรอบๆ บริเวณแผลไหม้ได้ [8]
  2. ถอดชุดเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่รัดแน่นอยู่ออกทันที. ให้ถอดอะไรก็ตามที่อาจจะรัดผิวของคุณออกในทันทีที่ทำได้หรือในตอนที่ราดน้ำบนแผล เนื่องจากผิวของคุณจะบวมขึ้นมา ถ้าไม่แน่ใจ ให้ถอดออกมาก่อน มันจะช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปที่บริเวณแผลและเริ่มกระบวนการรักษาตัวเองได้ การถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายอื่นลงไปอีก [10]
  3. ถ้าหากน้ำเย็นไม่สามารถทำได้ ให้ใช้แผ่นประคบเย็นหรือถุงน้ำแข็งห่อด้วยผ้าขนหนูมาวางบนรอยแผล ประคบเย็นไว้สัก 10-15 นาที แล้วรอสัก 30 นาที จากนั้นประคบเย็นอีก 10-15 นาที [11]
    • ห้ามวางน้ำแข็งหรือแผ่นประคบไว้บนรอยแผลโดยตรง เนื่องจากจะทำให้ผิวหนังเสียหาย ให้เอามาห่อด้วยผ้าขนหนูก่อน
  4. ยาแก้ปวดที่วางขายทั่วไปอย่างไอบูโพรเฟน, อะซีตามีโนเฟน, แอสไพริน, หรือนาพร็อกเซนสามารถช่วยได้ถ้าคุณรู้สึกปวดแผล ถ้าหากอาการไม่ทุเลาลงหลังผ่านไปหลายชั่วโมง ให้รับประทานยาเพิ่มอีกเม็ด หลีกเลี่ยงการให้ยาแอสไพรินแก่เด็กหรือหากคุณเพิ่งหายจากหวัดหรืออีสุกอีใส [12]
    • ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ข้างขวดยา ยาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดที่คุณเลือกใช้
  5. หลังจากล้างมือแล้ว ให้ใช้สบู่กับน้ำทำความสะอาดรอยแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ให้ทายาปฏิชีวนะอย่างนีโอสปอรินเมื่อคุณทำความสะอาดแผลเสร็จ [13] ว่านหางจระเข้สามารถเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว ให้มองหาครีมว่านหางจระเข้ที่มีส่วนผสมอื่นเพิ่มน้อยที่สุด ยาปฏิชีวนะหรือครีมว่านหางจระเข้ยังช่วยไม่ให้พลาสเตอร์ปิดแผลนั้นติดกับรอยแผลอีกด้วย [14]
    • อย่าเจาะตุ่มน้ำในระหว่างทำความสะอาดแผลเนื่องจากมันป้องกันไม่ให้ผิวมีโอกาสติดเชื้อ พยายามไม่เจาะตุ่มน้ำหรือทำให้ตุ่มมันยุบ เนื่องจากร่างกายสามารถดูแลรักษาตุ่มน้ำให้หายเองได้ ถ้าตุ่มน้ำไม่แตกก็ไม่จำเป็นต้องทายาปฏิชีวนะแต่ประการใด แต่หากตุ่มเกิดแตกหรือทำให้แผลเปิดออกมา ให้ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ [15]
  6. คุณอาจไม่จำเป็นต้องติดพลาสเตอร์บนแผลไหม้ระดับแรก, หรือบนตุ่มน้ำที่ไม่แตก หรือบนผิวที่ไม่ได้เปิดออก [16] แต่ถ้าเป็นแผลไหม้ระดับสองจำเป็นต้องพันแผลไว้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ให้ใช้ผ้ากอซปิดแผลเบาๆ และใช้เทปติดแผลมาติดให้แน่นขึ้น เปลี่ยนผ้ากอซใหม่ทุกวัน [17]
    • อย่าวางผ้ากอซลงบนแผลใดๆ โดยตรง แผลจะต้องได้รับการทาด้วยครีมหรือขี้ผึ้งก่อนปิดผ้ากอซ ไม่อย่างนั้นตอนที่จะดึงผ้ากอซออก มันจะลอกเอาผิวที่กำลังเกิดใหม่ให้ลอกตามไปด้วย
    • เอาผ้ากอซออกในทิศทางเดียวกับขนที่มีอยู่รอบแผล หากผ้ากอซติดกับรอยแผล ให้ใช้น้ำพออุ่นหรือน้ำเกลือมาทาตรงบริเวณที่ผ้ากอซติดเพื่อเอามันออกได้ง่ายขึ้น ทำน้ำเกลือโดยใช้เกลือหนึ่งช้อนชาเติมลงในน้ำหนึ่งแกลลอน [18]
  7. หลีกเลี่ยงการใช้สูตรรักษาประจำบ้านอย่างไข่ขาว, เนย, หรือชา. อินเตอร์เน็ตนั้นเต็มไปด้วยวิธีรักษาแผลไหม้แบบ "มหัศจรรย์" แต่การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่ามันไม่ได้ช่วยอะไรเลยจริงๆ [19] ตามแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้หลายแห่ง อย่างเช่นขององค์การกาชาดสากล พบว่ามันยิ่งทำให้อาการไหม้ แย่ลง เพราะพวกมันมีแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ [20]
    • ตัวสร้างความชุ่มชื่นตามธรรมชาติอย่างว่านหางจระเข้หรือถั่วเหลืองนั้นอาจช่วยได้ในกรณีผิวเกรียมจากการถูกแดด
  8. จับตาดูความเปลี่ยนแปลงของแผลไหม้ว่ามีสีเปลี่ยนเป็นสีแดง, น้ำตาล หรือดำหรือไม่ นอกจากนี้ ให้ดูการเปลี่ยนสีเป็นออกเขียวของชั้นไขมันใต้และรอบบริเวณแผลไหม้ ให้ไปพบแพทย์ถ้าผ่านไปหลายสัปดาห์แล้วแผลยังไม่หาย แผลไหม้ที่ไม่ยอมหายอาจเป็นสัญญาณของการเกิดภาวะแทรกซ้อน, การติดเชื้อ หรือแผลไหม้อาจรุนแรงกว่าที่คิดไว้ [21] ให้แพทย์ได้ทราบหากคุณพบสัญญาณดังต่อไปนี้:
    • แผลมีอาการร้อนผ่าวๆ
    • กดเจ็บ
    • บริเวณแผลแข็งขึ้น
    • มีไข้สูงกว่า 39°C หรือต่ำกว่า 36.5°C (นี่เป็นสัญญาณของการติดเชื้ออย่างรุนแรงและต้องพบแพทย์โดยด่วน) [22]
  9. อาการคันเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยจะบ่นเป็นปกติในระหว่างการรักษาแผลไหม้ระดับเล็กน้อยในเบื้องต้น ยาทาอย่างครีมว่านหางจระเข้หรือเจลชนิดที่ละลายในน้ำมันสามารถเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับบริเวณผิวหนังที่รู้สึกคันได้ การทานยาแก้แพ้ก็ช่วยแก้อาการคันได้เหมือนกัน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

รักษาแผลไหม้ขั้นรุนแรง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าพยายามรักษาเองที่บ้าน พวกมันต้องได้รับการดูแลจากมืออาชีพเท่านั้น ให้โทรเรียกรถฉุกเฉินหรือพาไปห้องฉุกเฉินในทันที [23]
    • อย่า พยายามรักษาแผลไหม้รุนแรงด้วยตัวเอง คำแนะนำต่อไปนี้เป็นเพียงขั้นตอนที่สามารถทำได้เบื้องต้นระหว่างรอรถฉุกเฉินเท่านั้น
  2. ให้นำเหยื่อออกจากแหล่งต้นตอของความร้อนอย่างปลอดภัย. หากเป็นไปได้ ให้ทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันไม่ให้แผลไหม้หรืออาการบาดเจ็บลุกลาม ดับไฟหรือย้ายเหยื่อออกมา
    • ห้ามดึงหรือเคลื่อนย้ายใครโดยใช้บริเวณที่ถูกไหม้เป็นจุดประคองตัว หากทำเช่นนั้น คุณจะยิ่งทำให้ผิวหนังเสียหายและอาจทำให้บาดแผลเปิดมากขึ้นได้ ซึ่งมันจะสร้างความเจ็บปวดแก่เหยื่ออย่างมากจนถึงขั้นช็อคหมดสติได้
  3. หาผ้าขนหนูชื้นพอหมาดมาคลุมบริเวณแผลไหม้เพื่อป้องกันมันไว้จนกว่าจะถึงมือแพทย์ อย่าใช้น้ำแข็งหรือจุ่มบริเวณที่ไหม้ลงไปในน้ำเย็น มันอาจทำให้เกิดสภาวะอุณหภูมิในร่างกายลดผิดปกติหรือทำให้บริเวณนั้นเสียหายมากขึ้นได้
  4. หากแผลไหม้มีสาเหตุมาจากสารเคมี ให้ทำความสะอาดกำจัดสารเคมีตกค้างในบริเวณนั้น ใช้น้ำเย็นราดบนบริเวณแผลไหม้หรือใช้การประคบเย็นในระหว่างรอความช่วยเหลือ อย่าพยายามใช้ยาหรือสิ่งที่ใช้ในการรักษาใดในบ้านมาใช้กับแผลไหม้ที่เกิดจากสารเคมีโดยเด็ดขาด
  5. ทำอย่างนี้ได้ก็ต่อเมื่อคุณสามารถยกบริเวณแผลไหม้ขึ้นได้โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายใดเพิ่มเติม [24]
  6. ตรวจดูสัญญาณอาการช็อค: ชีพจรอ่อนหรือเต้นเร็ว, ความดันโลหิตตก, เนื้อตัวเย็นและมีเหงื่อ, สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัวหรือหมดสติ, อาเจียน, มีอาการดิ้นเกร็ง ถ้าคุณสังเกตพบอาการช็อคจากการถูกแผลไหม้ระดับสาม ให้โทรแจ้งแพทย์โดยด่วน เรียกรถฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาลทันที นี่เป็นสถานการณ์รุนแรงถึงแก่ชีวิตซ้ำบนสถานการณ์ที่มีอันตรายมากยิ่งนักอยู่แล้ว
    • แผลไหม้ระดับสามอย่างรุนแรงนั้นทำให้เกิดอาการช็อคได้เพราะร่างกายต้องสูญเสียของเหลวจำนวนมากมายยามที่ถูกไหม้ในบริเวณกว้าง ร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเมื่อมีระดับของเหลวในตัวและระดับเลือดต่ำขนาดนั้น
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เข้าใจการรักษาแผลไหม้ระดับรุนแรงของทางโรงพยาบาล

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เหยื่ออาจได้รับการส่งตัวจากโรงพยาบาลไปยังศูนย์ดูแลผู้ป่วยแผลไหม้ ให้ถอดเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่ยังอยู่บนร่างเหยื่อออกเพราะมันอาจรัดร่างกายจากการที่เกิดอาการบวม
    • ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับออก. เหยื่ออาจได้รับการส่งตัวจากโรงพยาบาลไปยังศูนย์ดูแลผู้ป่วยแผลไหม้ ให้ถอดเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่ยังอยู่บนร่างเหยื่อออกเพราะมันอาจรัดร่างกายจากการที่เกิดอาการบวม [25]
  2. สำหรับผู้ถูกแผลไหม้ขั้นรุนแรงทั้งหมด แพทย์จะให้ออกซิเจน 100% โดยการใส่ท่อช่วยหายใจ [26] สัญญาณชีพจะได้รับการตรวจวัดทางจอมอนิเตอร์ คนไข้จะต้องได้รับการเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด
  3. หยุดการสูญเสียของเหลวและเสริมสมรรถภาพร่างกายด้วยการให้สารน้ำ (I.V. solution) โดยจะพิจารณาชนิดและปริมาณของสารน้ำตามระดับการไหม้ของเหยื่อแต่ละราย [27]
  4. ให้ยาปฏิชีวนะและยาบรรเทาปวดเพื่อเหยื่อจะทนปวดได้ดีขึ้น ยาปฏิชีวนะถือเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้
    • ที่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะก็เนื่องจากระบบการป้องกันการติดเชื้อด่านสำคัญของร่างกาย (ผิวหนังนั่นเอง) เกิดความเสียหาย การใช้ยาก็เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลและทำให้ติดเชื้อ [28]
  5. แนะนำให้เลือกอาหารที่มีโปรตีนสูงและมีแคลอรี่เยอะ มันจะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายด้วยพลังงานและโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการไปซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลายจากการไหม้ [29]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ใครก็ตามที่ถูกแผลไหม้ถึงระดับสามขึ้นไปต้องพาขึ้นรถฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสหรือรักษาแผลไหม้ สวมถุงมือถ้าทำได้
  • ให้ใช้เฉพาะน้ำสะอาดบริสุทธิ์ในอุณหภูมิปกติหรือใช้น้ำเกลือถ้าหากหาได้ มาใช้ปฐมพยาบาลแผลไหม้รุนแรง ป้องกันบริเวณรอยแผลด้วยผ้าพันแผลปลอดเชื้อหรือสะอาดมากๆ อย่างเช่นผ้าปูที่นอนในขณะที่รอรับการรักษา
  • คำแนะนำนี้ไม่ควรเอามาใช้แทนการปรึกษาแพทย์ หากสงสัยอะไร ให้ปรึกษาแพทย์ ทันที
  • หากหาผ้าพันแผลไม่ได้ ให้พันแผลไหม้ไม่ว่าระดับเล็กน้อยหรือรุนแรงด้วยพลาสติกห่ออาหาร มันจะช่วยป้องกันการติดเชื้อระหว่างทางไปโรงพยาบาล
  • คุณไม่ควรจุ่มรอยแผลไหม้ที่เกิดจากสารเคมีลงไปในน้ำโดยที่ยังบอกไม่ได้ว่าสารเคมีที่ว่าคือสารอะไร เนื่องจากมันอาจแพร่กระจายในน้ำและทำความเสียหายแก่ผิวหนังเป็นบริเวณกว้างขึ้น น้ำสามารถทำให้แผลไหม้จากสารเคมีบางตัว อย่างเช่นแผลที่เกิดจากปูนขาวแห้ง ให้แย่ลงกว่าเดิมอีก
  • อย่าเปิดบาดแผลให้โดนสารที่เป็นอันตราย
  • การทาด้วยครีมว่านหางจระเข้จะช่วยชโลมผิวให้ชุ่มชื่นขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • ไปพบแพทย์ทันที่ที่มีรอยแผลไหม้รุนแรง มันไม่สามารถหายเองได้และต้องการการดูแลรักษาทางแพทย์
  • แผลไหม้จากสารกัมมันตรังสีนั้นมีความแตกต่างกันออกไปและถือว่าต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ให้ไปพบแพทย์ในทันทีเมื่อสันนิษฐานว่าได้รับรังสีและควรรักษาระยะห่างจากผู้อื่นเพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวคุณและผู้ป่วยคนอื่น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,353 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา