ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคเริมที่ริมฝีปาก มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ ชนิดที่ 1 (type-1 herpes simplex virus) [1] เริมสามารถพบได้ในหลายส่วนของร่างกาย แต่โดยมากมักพบบริเวณริมฝีปาก แก้ม จมูก และในดวงตาซึ่งอาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ผู้คนส่วนใหญ่เกือบ 50-90 เปอร์เซ็นต์นั้นเป็นพาหะของเชื้อไวรัสชนิดนี้ แต่หลายคนไม่เคยประสบหรือตระหนักรู้เกี่ยวกับอาการ โดยปกติแล้วโรคเริมจะหายเองภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่เนื่องจากการเป็นโรคเริมนั้นทั้งเจ็บปวดและน่าอาย คุณจึงอาจต้องการให้หายดีโดยเร็วที่สุด แม้ว่าการรักษาด้วยตนเองโดยส่วนมากจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รับรองอย่างแน่ชัด แต่ก็มีหลายวิธีที่มีหลักฐานว่าสามารถรักษาโรคเริมอย่างได้ผล

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ใช้วิธีการรักษาแบบธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคและต้านไวรัส สามารถช่วยลดการอักเสบและป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดเริมได้ [2]
    • นำสำลีก้อนหรือไม้พันสำลีจุ่มลงในไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 1 ช้อนชา แล้วกดลงไปบนบริเวณที่เป็นเริมประมาณ 5 นาที จากนั้นจึงค่อยๆ ล้างหน้าด้วยน้ำเย็น และนำสำลีที่ใช้แล้วทิ้งไป
    • ควรระวังอย่ากลืนไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ในขณะที่กำลังใช้
  2. เมื่อเริมแห้งแล้ว ให้ทาป้องกันด้วยปิโตรเลียมเจลลี่ เช่น วาสลีน จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้บาดแผล และป้องกันไม่ให้ผิวแตก เพื่อเพิ่มเกราะป้องกันให้กับแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น [3]
    • ไม่ควรใช้นิ้วมือทาปิโตรเลียมเจลลี่ เนื่องจากอาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่ปลายนิ้วได้ ให้ใช้สำลีก้อนหรือไม้พันสำลีแทน โดยทาปิโตรเลียมเจลลี่จนกระทั่งแผลหายดี
    • หากไม่มีปิโตรเลียมเจลลี่ คุณอาจใช้น้ำผึ้งแทนได้ น้ำผึ้งมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสและแบคทีเรีย สามารถป้องกันแผลเริมจากเชื้อโรคภายนอกอื่นๆ และยังช่วยกำจัดเชื้อไวรัสที่มีอยู่ได้อีกด้วย ใช้ก้านสำลีชุบน้ำผึ้งเพียงเล็กน้อย และทาลงบนบริเวณที่เป็นเริมให้ทั่ว
  3. นำน้ำแข็งก้อนหรือถุงน้ำแข็งประคบลงไปบนบริเวณที่เป็นเริมประมาณ 2-3 นาที เพื่อลดการอักเสบและความเจ็บปวด หากใช้น้ำแข็งก้อน ให้พันด้วยผ้าขนหนูก่อนเพื่อให้ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น นำด้านที่เย็นประคบลงแผลเริม เมื่อรู้สึกชาสักพักแล้วจึงเอาออก และระวังอย่าประคบไว้นานจนเกินไป ทำซ้ำทุกๆ 1-3 ชั่วโมง [4] [5]
    • ควรประคบเย็นเฉพาะตอนที่เริมเพิ่งเกิดขึ้นเท่านั้น เพราะหากเริมแตกออกเป็นแผลแล้ว การประคบด้วยน้ำแข็งจะเป็นการยับยั้งกระบวนการฟื้นฟูของแผล เนื่องจากจะทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลง (ที่เป็นตัวสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูของแผล) ทำให้เกิดรอยโรคได้
  4. เชื่อกันว่าชาอิชินาเชียจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค จึงช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับโรคเริม เตรียมชาโดยการแช่ถุงชาอิชินาเชียในน้ำร้อน (250 มล.) ประมาณ 10 นาที แล้วจึงดื่ม ให้ดื่มวันละ 1 ครั้งจนกระทั่งโรคเริมหายดี [6]
    • คุณสามารถเลือกทานอาหารเสริมอิชินาเชีย 350 มิลลิกรัมได้เช่นกัน โดยทานอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคของคุณ
    • ไม่ควรให้เด็กรับประทานอิชินาเชียหากไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือกุมารแพทย์ให้ดีก่อน
    • ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิต้านตนเอง โรคเบาหวาน วัณโรค โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคตับ เอชไอวีหรือโรคเอดส์ ไม่ควรรับประทานอิชินาเชีย
    • ผู้ที่แพ้พืชในตระกูลเดซี่อาจมีอาการแพ้อิชินาเชียได้เช่นกัน
  5. ผลการวิจัยจำนวนมากแนะนำให้ใช้สะระแหน่เป็นยารักษาโรค เพื่อลดอาการแดงและการอักเสบของโรคเริม รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดขึ้นซ้ำ นอกจากนี้ สะระแหน่ยังสามารถช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล และอาหารไม่ย่อยได้อีกด้วย สะระแหน่ประกอบด้วยยูจีนอล ที่ช่วยลดการกระตุกของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ส่วนน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากใบสะระแหน่มีสารเคมีที่ชื่อว่า เทอร์พีน ซึ่งทำหน้าที่ให้ความผ่อนคลายและต้านไวรัส สะระแหน่มีทั้งในรูปแบบอาหารเสริม ยาทาเฉพาะที่ ทิงเจอร์ และชาสมุนไพร หาซื้อได้ตามร้านขายอาหารเสริมและร้านขายยาสมุนไพรทั่วไป [7] [8]
    • ทายาสะระแหน่บนบริเวณที่เป็นเริมอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง หรืออาจเลือกชงชาสะระแหน่ โดยนำใบชาสะระแหน่ ¼ ช้อนชาแช่ในน้ำอุ่น (80-85 องศาเซลเซียส) ประมาณ 3-5 นาที จากนั้นจึงกรองใบชาออกแล้วดื่มทันทีโดยไม่ต้องเติมสารให้ความหวานใดๆ นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้สำลีชุบลงในชาสะระแหน่ 1 ช้อนชา และนำไปทาลงบนแผลเริมได้เช่นกัน
    • ยาทาเฉพาะที่สะระแหน่นั้นปลอดภัยต่อเด็ก แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือกุมารแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่แนะนำในการใช้ของเด็กเล็กและเด็กทารก
  6. น้ำมันหรือสารสกัดจากธรรมชาติมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค และเมื่อนำไปทาบนแผลเริมโดยตรง ก็จะช่วยต่อต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเริมได้ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์สมานบาดแผล ช่วยให้บริเวณที่เป็นเริมแห้งลง และป้องกันการติดเชื้อที่ทำให้แผลมีอาการแย่ลง [9]
    • น้ำมันเปปเปอร์มินท์ ช่วยในการกำจัดไวรัสในบริเวณที่ติดเชื้อ ทำให้แผลเริมมีอาการดีขึ้น นำก้านพันสำลีจุ่มในน้ำมันเปปเปอร์มินท์ และทาลงบนแผลเริม ทำวันละ 2 ครั้งจนแผลหายดี
    • น้ำมันวิชฮาเซล ช่วยในการสมานแผลและฆ่าเชื้อโรค นำก้านพันสำลีจุ่มในน้ำมันวิชฮาเซล 1 ช้อนชา (5 มล.) และทาลงบนแผลเริมโดยตรงโดยไม่ต้องล้างออก ทำวันละ 1-2 ครั้ง
    • สารสกัดวานิลลา เป็นสารละลายผสมแอลกอฮอล์ ช่วยในการกำจัดเชื้อไวรัส นำก้านพันสำลีจุ่มในสารสกัดวานิลลา ½ ช้อนชา (2.5 มล.) และกดลงบนแผลเริมโดยตรงประมาณ 1-2 นาที ทำอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง
    • น้ำมันทีทรีและน้ำมันกระเทียม ช่วยในกระบวนการฟื้นฟูโดยการทำให้แผลนุ่มขึ้น เพื่อลดโอกาสทำให้แผลเปิด เพราะหากแผลเปิดออก อาจส่งผลให้อาการเกิดขึ้นซ้ำและหนักขึ้น นำน้ำมันชนิดใดชนิดหนึ่งทาเบาๆ บนแผลเริมโดยตรงวันละ 1-2 ครั้ง
  7. มีการวิจัยแนะนำว่า ยาที่มีสารสกัดจากรูบาร์บและเสจ 23 มิลลิกรัมมีประสิทธิภาพเท่ากับยาตามใบสั่งแพทย์ในการรักษาโรคเริม [10] [11] โดยหาซื้อได้จากร้านขายผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ วิธีใช้ เพียงบีบยาให้มีขนาดเท่าเม็ดถั่วลงบนก้านพันสำลีหรือสำลีก้อน และนำไปทาบนแผลเริม
    • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทารูเบิร์บและเสจกับเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
  8. กรดกลีซีริซิกที่พบได้ในรากชะเอมเทศ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่พบได้ในยานี้ มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบและไวรัส รวมถึงช่วยบรรเทาอาการและต่อต้านการเพิ่มจำนวนของเซลล์ไวรัส [12]
    • ผสมชะเอมเทศผงหรือสารสกัดชะเอมเทศ 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.) เข้ากับน้ำเปล่า ½ ช้อนชา (2.5 มล.) หรือปิโตรเลียมเจลลี่ 2 ช้อนชา (10 มล.) นำครีมป้ายลงบนแผลเริมให้ทั่ว และทิ้งไว้หลายๆ ชั่วโมงหรือตลอดทั้งคืน
    • อีกวิธีหนึ่งคือ ผสมชะเอมเทศผงเข้ากับปิโตรเลียมเจลลี่ ซึ่งมีคุณสมบัติในการฟื้นฟูบาดแผลเช่นเดียวกัน โดยเริ่มจากการผสมปิโตรเลียมเจลลี่ 1 ช้อนชาเข้ากับผลชะเอมเทศ จากนั้นจึงเติมปิโตรเลียมเจลลี่เพิ่มลงไปจนกระทั่งข้นพอที่คุณต้องการ
  9. เชื่อกันว่าทั้งนมและโยเกิร์ตที่แช่เย็นมีส่วนช่วยในการต่อต้านโรคเริม เพราะในนมประกอบด้วยสารภูมิต้านทานที่เรียกว่าอิมมิวโนโกบูลิน ที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อไวรัส และไลซีน ที่ทำหน้าที่ต่อต้านอาร์จินีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ส่งผลให้เริมมีอาการรุนแรงขึ้นได้ นำสำลีก้อนจุ่มลงในนมแช่เย็น 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.) และทาบนบริเวณที่เป็นเริมโดยตรงประมาณ 2-3 นาที [13]
    • โปรไบโอติกส์ในโยเกิร์ตสามารถช่วยกำจัดไวรัสเฮอร์ปีส์ที่ก่อให้เกิดโรคเริมได้ ให้ใช้โยเกิร์ตรสธรรมชาติเพียงเล็กน้อยทาบางๆ บนแผลเริมโดยตรง หรือทานโยเกิร์ตไม่มีไขมันวันละ 2-3 ถ้วยในช่วงที่เป็นโรคเริม [14]
  10. ว่านหางจระเข้สามารถบรรเทาความเจ็บปวดของโรคเริม (รวมถึงการระคายเคืองผิวจากสาเหตุอื่นๆ) และกำจัดแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อและทำให้อาการแย่ลง ทั้งยังช่วยเร่งให้อาการหายเร็วขึ้นได้อีกด้วย [15]
    • ใช้ก้านพันสำลีทาเจลว่านหางจระเข้ ½ ช้อนชา (2.5 มล.) บนแผลเริมโดยตรงแล้วทิ้งไว้ เจลว่านหางจระเข้ที่ดีที่สุดคืดว่านหางจระเข้จากต้น ที่สามารถหาได้ง่ายและเก็บไว้ได้นาน ให้ปอกเปลือกใบว่านหางจระเข้สดออก แล้วนำเนื้อมาทาบริเวณที่เป็นเริมโดยตรง
    • หากไม่สามารถหาต้นว่านหางจระเข้ได้ ให้ซื้อเจลว่านหางจระเข้จากธรรมชาติ 100% ที่มีคุณภาพดี โดยสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยา
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาหารบางชนิดจะไปชะลอกระบวนการฟื้นฟูของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง และเพิ่มการอักเสบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เป็นโรคภูมิต้านตนเอง ผู้ที่กำลังทานยาสำหรับโรคหัวใจ โรคปอด หรือการย่อยอาหาร และผู้ที่เพิ่งมีอาการหวัด ไอ หรือไข้ ควรหลีกเลี่ยงเป็นพิเศษ หากคุณกำลังเป็นโรคเริม ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ เพราะอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงได้ [16]
    • คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น ขนมปังขาว ขนมอบ และโดนัท
    • อาหารทอดที่เต็มไปด้วยไขมัน
    • เครื่องดื่มรสหวาน เช่น โซดาหรือเครื่องดื่มชูกำลัง
    • เนื้อแดง เช่น เนื้อลูกวัว แฮม หรือสเต็ก และเนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก
    • เนยเทียม ชอร์ตเทนนิง และมันหมู
  2. แม้ว่าอาหารบางชนิดจะส่งผลให้เกิดการอักเสบ แต่ก็มีอาหารอีกหลายชนิดที่สามารถช่วยลดการอักเสบได้ ซึ่งอาหารสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนส่วนมากนั้นเป็นอาหารที่มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบ ได้แก่ [17]
    • ผลไม้ เช่น สตรอว์เบอร์รี เชอร์รี และส้ม
    • ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ และวอลนัท
    • ผักใบเขียว เช่น ผักปวยเล้งหรือผักเคล ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
    • ปลาที่อุดมไปด้วยไขมันและโอเมกา-3 เช่น แซลมอน แมคเคอเรล ทูน่า และซาร์ดีน
    • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง คีนัว ข้าวฟ่าง โอ๊ตมีล และเมล็ดแฟลกซ์
    • น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันคาโนลา
  3. อาร์จินีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่พบได้ในอาหารหลายชนิด มีส่วนสำคัญในการสร้างไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การลดปริมาณอาหารที่อุดมไปด้วยอาร์จินีนอาจช่วยควบคุมการเกิดขึ้นและการเกิดขึ้นซ้ำของโรคเริม ทั้งยังช่วยลดการอักเสบของแผลเริมได้อีกด้วย [18] .
    • อาหารที่มีอาร์จินีน ได้แก่ ช็อคโกแลต โคล่า ถั่ว ธัญพืชขัดสี เจลาติน ถั่วลิสง มะม่วงหิมพานต์ และเบียร์
  4. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อต้านไวรัสและแบคทีเรีย จะช่วยให้ร่างกายของคุณฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการติดเชื้อในภายหลัง การวิจัยพบว่า วิตามินซีมีบทบาทสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ช่วยในการฟื้นฟูของโรค และช่วยให้ผิวดูเป็นธรรมชาติ วิตามินซีสามารถเลือกทานได้ทั้งแบบอาหารเสริม (1000 มก./วัน) หรือจากอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งคุณสามารถรับวิตามินซีได้ง่ายๆ จากการทานอาหาร เพียงแค่รับประทานผักหรือผลไม้ให้มากขึ้น อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินซี ได้แก่ [19]
    • พริกหวานสีแดงหรือสีเขียว
    • ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม ส้มโอ เกรปฟรุต มะนาว หรือน้ำผลไม้ตระกูลส้มเข้มข้น
    • ผักปวยเล้ง บรอกโคลี หรือกะหล่ำดาว
    • ผลเบอร์รี เช่น สตรอว์เบอร์รีและราสเบอร์รี
    • มะเขือเทศ
  5. กระเทียมมีสรรพคุณในการต้านไวรัสและการอักเสบ ช่วยเร่งกระบวนการฟื้นฟูของร่างกาย และยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินบี 6 วิตามินซี และแมงกานีส ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคและต่อต้านการติดเชื้อต่างๆ รวมถึงเฮอร์ปีส์ นักวิจัยเชื่อว่าคุณสมบัติในทางรักษาเหล่านี้เกิดขึ้นจากการออกฤทธิ์ของกรดซัลฟิวริกที่ชื่อว่า อัลลิอิน ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่พบในกระเทียม [20] [21]
    • วิธีการทานกระเทียมที่ดีที่สุดคือการทานเป็นกลีบแบบดิบ เพื่อให้สารอัลลิอินปล่อยออกมา ซึ่งกลีบหนึ่งจะหนักประมาณ 1 กรัม เพื่อให้ทานได้ง่ายขึ้น ให้นำกระเทียมมาบดอย่างละเอียดกับน้ำผึ้งหรือน้ำมันมะกอก 1 ช้อน วิธีการรักษาโดยธรรมชาตินี้จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรงขึ้น และลดโอกาสในการเกิดโรคซ้ำ
    • สำหรับการทำยาทาเฉพาะที่ ให้นำกระเทียม 2-4 กลีบมาบดให้ละเอียด แล้วจึงทาทิ้งไว้บนแผลเริมโดยใช้สำลีก้อนประมาณ 10-15 นาที วิธีนี้อาจทำให้รู้สึกระคายเคืองเล็กน้อยและมีกลิ่นฉุนบ้าง แต่สรรพคุณในการต้านไวรัสของกระเทียมนั้นสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรค และทำให้เริมหายเร็วขึ้นได้
    • การทานกระเทียมในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดกลิ่นปากและความดันเลือดต่ำลงได้ ดังนั้นจึงควรควบคุมปริมาณโดยทานเพียงวันละ 2-4 กลีบ สำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดหรือผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติไม่ควรรับประทานกระเทียม หรือหากมีผลข้างเคียงจากการทานกระเทียมใดๆ เช่น ท้องอืด เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ หรือภูมิแพ้ต่างๆ เช่น หืด ผื่นคัน และรอยโรค ให้หยุดใช้กระเทียมและไปพบแพทย์ทันที
  6. สังกะสีเป็นแร่ธาตุรองที่จำเป็นที่พบได้ในอาหารหลายชนิดที่คุณทานเป็นประจำ สามารถช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้ สังกะสีมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ที่จะช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกายจากแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ รวมถึงไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ บ่อยครั้งที่ร่างกายของเรามีระดับสังกะสีที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นจึงควรทานยาวิตามินรวมหรือทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อช่วยให้คุณได้รับสังกะสีอย่างเพียงพอ อาหารที่เป็นแหล่งสำคัญของสังกะสี ได้แก่ หอยนางรม สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เนื้อแดง สัตว์ปีก ชีส กุ้ง และปู [22]
    • หรืออาจลองใช้ยาทาสังกะสีในการบรรเทาอาการเริมและเร่งกระบวนการฟื้นฟู ให้บีบยาลงบนสำลีก้อนในปริมาณเล็กน้อยและทาทิ้งไว้บนแผลเริมประมาณ 3-5 นาที โดยทาอย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง
    • สังกะสีสามารถพบได้ทั้งในอาหารเสริมและในยาแคปซูลวิตามินรวม โดยควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนรับประทานอาหารเสริมสังกะสี หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร เช่น กรดไหลย้อน อาจเลือกทานสังกะสีในรูปแบบที่ดูดซึมได้ง่าย เช่น ซิงค์พิโคลิเนต (zinc picolinate) ซิงค์ซิเตรต (zinc citrate) ซิงค์อะซีเตท (zinc acetate) ซิงค์กลูโคเนต (zinc glycerate) และซิงค์โมโนเมไธโอนีน (zinc monomethionine) คุณสามารถดูปริมาณของสังกะสีได้บนฉลากสินค้า (ส่วนใหญ่มักมีปริมาณ 30-50 มก.) และเพื่อกำหนดปริมาณของสังกะสีในรูปแบบอาหารเสริมที่ควรทาน จำไว้ว่าคุณจะได้รับสังกะสีจากการทานอาหารประมาณ 10-15 มก. ซึ่งโดยปกติแล้วปริมาณของสังกะสีที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 8-11 มก. ไม่ควรรับประทานสังกะสีในปริมาณมากเกินไปติดต่อกันหลายวันหากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  7. ไลซีนเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นที่พบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น แซลมอน ทูน่า เนื้อไก่ นมขาดมันเนย พาเมซานชีส ถั่วเหลือง ไข่ ถั่วเลนทิล ถั่วแดง ถั่วชิกพี และคีนัว หรืออาจทานอาหารเสริมไลซีนแทนได้เช่นเดียวกัน ผู้ที่เป็นโรคเริมมากกว่า 3 ครั้งต่อปีควรทานไลซีนเพิ่มเติมในปริมาณ 2000-3000 มก. เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดขึ้นซ้ำของโรคเริม ทานไลซีน 1000 มก.วันละ 3 ครั้งในขณะที่ท้องว่าง และห้ามรับประทานพร้อมกับนม [23] [24]
    • อย่าทานอาหารเสริมไลซีนหากไม่ได้ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นโรคไขมันในเลือดสูงหรือโรคหัวใจ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณกำลังเป็นโรคเริม ให้นำหมอนจำนวนเล็กน้อยมาหนุนศีรษะไว้ในเวลานอน โดยแรงโน้มถ่วงจะช่วยให้แผลเริมแห้งลง ไม่เช่นนั้นอาจยังมีของเหลวอยู่ด้านในแผลในเวลากลางคืนได้ [25]
    • หมอนที่ใช้ควรรองรับสรีระของคอได้ดีและหนุนได้สบาย หมอนที่สูงเกินไปจะทำให้คออยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้กล้ามเนื้อทั้งส่วนหลัง คอ และไหล่เกิดการอักเสบ ดังนั้นจึงควรเลือกใช้หมอนที่หนุนแล้วต้นคออยู่ในระดับเดียวกับหน้าอกและหลังส่วนล่าง
  2. การออกกำลังกายเป็นประจำต่อสัปดาห์หรือทุกวันสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดขึ้นซ้ำของโรคเริม การออกกำลังกายทั้งแบบเบาหรือแบบปานกลาง เช่น เดิน โยคะ และกายบริหารแบบยืดเส้น ต่างก็มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย นอกเหนือจากการลดเวลาในการฟื้นฟูร่างกายให้สั้นลงและการบรรเทาอาการโรคเริม [26]
    • การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในระยะยาว รวมถึงลดระดับความเครียด ทำให้อารมณ์แจ่มใสยิ่งขึ้น ควรออกกำลังกายแบบปานกลางวันละ 30-45 นาที เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ และว่ายน้ำ
    • ลองปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณ
  3. การได้รับแสงแดดอ่อนๆ มีประโยชน์ต่อภูมิคุ้มกันโรคของคุณ เนื่องจากแสงแดดจะช่วยเพิ่มการผลิตของวิตามินดีได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นใหเกิดโรคเริมได้คือแสงแดด ดังนั้นจึงควรใช้ครีมกันแดดและลิปบาล์มที่มีค่าเอสพีเอฟ (SPF) เป็นประจำเมื่อออกไปข้างนอก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเริม เพื่อปกป้องผิวของคุณจากการทำร้ายของแสงแดด ให้ใช้ครีมกันแดดที่ไม่ก่อให้เกิดสิวที่มีค่าเอสพีเอฟอย่างน้อย 30 [27]
    • สารเคมีบางชนิดในครีมกันแดดอาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อหาครีมกันแดดที่เหมาะกับคุณ
  4. การเกิดโรคเริมทำให้เกิดความเครียดมากขึ้น ส่งผลให้ขาดความมั่นใจในตนเอง วิตกกังวล และรู้สึกหดหู่ได้ ในขณะเดียวกัน ความเครียดยังเป็นสาเหตุทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เป็นเหตุให้ติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ รวมถึงเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ ได้ง่ายยิ่งขึ้น วิธีจัดการกับความเครียด มีดังนี้ [28]
    • ลองจดบันทึก โดยใช้เวลาเพียง 10-20 นาทีในแต่ละวันเขียนความรู้สึกนึกคิดของคุณลงไป การจดบันทึกสามารถผ่อนคลายความเครียดของคุณได้เป็นอย่างดี โดยช่วยให้คุณได้จัดระเบียบความคิด ทำให้เข้าใจได้ชัดเจน และแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น [29]
    • การฟังเพลงช่วยบรรเทาความเครียดได้อย่างได้ผลทั้งในผู้ที่มีสุขภาพดีและผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ การวิจัยพบว่าการฟังเพลงสบายๆ สามารถลดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และความหดหู่ได้
    • หาเวลาในการทำกิจกรรม โดยใช้เวลาว่างในแต่ละสัปดาห์ทำกิจกรรมที่ทำให้คุณรู้สึกเพลิดเพลินและผ่อนคลาย อาจเล่นโยคะ อ่านหนังสือ ทำอาหาร เย็บผ้า หรืออะไรก็ตามที่คุณชอบ
    • ลองใช้วิธีการผ่อนคลายตัวเองและการทำสมาธิ เช่น โยคะ การหายใจลึกๆ และไทชิ การทำสมาธิจะช่วยลดความดันโลหิต อาการเจ็บปวดเรื้อรัง ความวิตกกังวล และระดับไขมัน จึงช่วยให้สุขภาพร่างกายและอารมณ์ดีขึ้น ในการทำสมาธิแบบง่ายๆ ให้นั่งขัดสมาธิในบริเวณที่เงียบสงบ และหายใจเข้าออกลึกๆ อย่างช้าๆ อย่างน้อย 5-10 นาที ลองทำสมาธิทุกวัน อย่างน้อยวันละ 5 นาที เพื่อจัดการกับความเครียดของคุณ
  5. เนื่องจากเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์สามารถแพร่เชื้อได้ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการจูบหรือการร่วมเพศทางปากในขณะที่เป็นโรคระบาด (เช่น โรคเริม) จนกระทั่งหายดีอย่างสมบูรณ์ การร่วมเพศทางปากสามารถแพร่เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ได้ และอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ชนิดที่ 2 จากผู้ติดเชื้อ เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์จะไม่แสดงอาการออกมาทุกครั้ง และอาจทำให้คุณแพร่เชื้อไปสู่คู่รักได้โดยไม่รู้ตัว [30] [31]
    • ผู้ที่มีคู่รักที่กำลังติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาที่คุณบาดเจ็บจากการอักเสบ คุณอาจรู้สึกอยากบีบหรือจิกลงบนแผล แต่การสัมผัสแผลเริมหรือการสัมผัสถูกผู้อื่นจะทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปยังปลายนิ้ว และก่อให้เกิดเริมที่นิ้วได้ การสัมผัสแผลเริมยังเป็นการชะลอกระบวนการฟื้นฟู ทำให้แผลหายช้าลง และเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย [32]
  2. ในขณะที่เป็นโรคเริม ควรล้างมือให้สะอาดก่อนจับใบหน้าหรือสัมผัสตัวผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องสัมผัสตัวเด็กทารก เนื่องจากเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วด้วยวิธีการสัมผัส [33]
    • อาจพกเจลล้างมือหรือผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวแบบเปียกติดตัวไว้เมื่อคุณออกไปข้างนอกหรือไปทำงาน เพื่อให้มือของคุณสะอาดอยู่ตลอดเวลา
  3. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อุปกรณ์ทานอาหาร ผ้าขนหนู ลิปบาล์ม แปรงสีฟัน หรือสิ่งของอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของไวรัสจากผู้หนึ่งไปสู่อีกผู้หนึ่ง แบคทีเรียและไวรัสสามารถเกาะติดบนพื้นผิวได้อย่างรวดเร็ว และติดต่อถึงกันระหว่างบุคคล ส่งผลให้โรคเริมหายช้าและอาการแย่ลง และไม่ควรเก็บอุปกรณ์ทานอาหารและของใช้ส่วนตัวอื่นๆ ไว้ในที่ที่มีความชื้นมาก เนื่องจากแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่ชื้น [34]
  4. ใช้กระดาษทิชชู่ปิดปากเมื่อจามหรือไอ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อโรคทางอากาศ รวมถึงหลีกเลี่ยงไม่ให้แบคทีเรียหรือไวรัสอื่นๆ เข้าสู่ปอดเมื่อคุณหายใจเข้า [35]
    • หากไม่มีกระดาษทิชชู่ ให้ใช้ศอกปิดปากในขณะที่ไอหรือจามแทนการใช้มือป้องปาก เพราะจะทำให้เชื้อโรคติดอยู่ที่มือ
  5. ล้างแปรงสีฟันทุกครั้งก่อนและหลังใช้งาน เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรียบนขนแปรง ในขณะที่คุณเป็นโรคเริม ให้เก็บแปรงสีฟันแยกไว้กับผู้อื่นหากอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว [36]
    • อย่าใช้แปรงสีฟันร่วมกับผู้อื่น เพราะจะทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ติดต่อถึงกันได้ผ่านทางปาก
    • อย่านำสิ่งใดมาครอบแปรงสีฟันหรือเก็บแปรงสีฟันไว้ในที่เก็บที่มีฝาปิด เพราะบริเวณที่มืดและชื้นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี
    • เปลี่ยนแปรงสีฟันทุกๆ 3-4 เดือน และเปลี่ยนโดยทันทีเมื่อคุณหายจากโรคเริม หวัด ไอ หรือเจ็บคอแล้ว และเพื่อเป็นการป้องกันที่ดีขึ้น ให้นำแปรงสีฟันจุ่มลงไปในไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์และน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ปริมาณ 1 ออนซ์ แล้วทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ยังหลงเหลืออยู่บนขนแปรง
    โฆษณา

คำเตือน

  • พยายามอย่าใช้เครื่องสำอางปกปิดแผลเริม เนื่องจากเครื่องสำอางจะทำให้แผลเริมแย่ลง และทำให้กระบวนการฟื้นฟูช้าลงได้
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/definition/con-20021310
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003059.htm
  3. Editors of Prevention, (2010),The Doctors Book of Home Remedies: Quick Fixes, Clever Techniques, and Uncommon Cures to Get You Feeling Better Fast, ISBN: 1605298662
  4. Editors of Prevention, (2010),The Doctors Book of Home Remedies: Quick Fixes, Clever Techniques, and Uncommon Cures to Get You Feeling Better Fast, ISBN: 1605298662
  5. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/herpes-simplex-virus
  6. http://umm.edu/health/medical-reference-guide/complementary-and-alternative-medicine-guide/herb/echinacea
  7. Editors of Prevention, (2010),The Doctors Book of Home Remedies: Quick Fixes, Clever Techniques, and Uncommon Cures to Get You Feeling Better Fast, ISBN: 1605298662
  8. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/lemon-balm
  9. http://everydayroots.com/cold-sore-remedies
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/alternative-medicine/con-20021310
  2. Saller R, Buechi S, Meyrat R, et al. Combined herbal preparation for topical treatment of Herpes labialis. Forsch Komplementarmed Klass Naturheilkd. 2001;8:373-382.
  3. http://everydayroots.com/cold-sore-remedies
  4. http://everydayroots.com/cold-sore-remedies
  5. http://fiveremedies.com/infections/cold-sore-home-remedies/
  6. http://everydayroots.com/cold-sore-remedies
  7. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
  8. http://www.health.harvard.edu/staying-healthy/foods-that-fight-inflammation
  9. Editors of Prevention, (2010),The Doctors Book of Home Remedies: Quick Fixes, Clever Techniques, and Uncommon Cures to Get You Feeling Better Fast, ISBN: 1605298662
  10. http://umm.edu/health/medical/ency/articles/vitamin-c
  11. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1470664
  12. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/garlic
  13. http://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/zinc
  14. http://www.healwithfood.org/coldsores/
  15. Editors of Prevention, (2010),The Doctors Book of Home Remedies: Quick Fixes, Clever Techniques, and Uncommon Cures to Get You Feeling Better Fast, ISBN: 1605298662
  16. Editors of Prevention, (2010),The Doctors Book of Home Remedies: Quick Fixes, Clever Techniques, and Uncommon Cures to Get You Feeling Better Fast, ISBN: 1605298662
  17. Editors of Prevention, (2010),The Doctors Book of Home Remedies: Quick Fixes, Clever Techniques, and Uncommon Cures to Get You Feeling Better Fast, ISBN: 1605298662
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/in-depth/health-tip/art-20048777
  19. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/herpes-simplex-virus
  20. http://msue.anr.msu.edu/news/journaling_to_reduce_stress
  21. http://umm.edu/health/medical/altmed/condition/herpes-simplex-virus
  22. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0069184/
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/prevention/con-20021310
  24. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/prevention/con-20021310
  25. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/prevention/con-20021310
  26. http://www.cdc.gov/healthywater/hygiene/etiquette/coughing_sneezing.html
  27. http://www.ada.org/en/about-the-ada/ada-positions-policies-and-statements/statement-on-toothbrush-care-cleaning-storage-and-

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 40,080 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา