ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคเริมเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า เฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือเอชเอสวี 1 (HSV-1) จะแสดงอาการโดยมีแผลอักเสบรอบปากหรือริมฝีปาก โรคเริมอาจเรียกได้อีกชื่อว่าไข้พุพอง และมีอาการเหมือนกันมาก ไวรัสชนิดนี้จะคล้ายกับไวรัสเอชเอสวี 2 (HSV-2) ซึ่งทำให้เป็นเริมที่อวัยวะสืบพันธุ์ (แต่ไม่ใช่ตัวเดียวกัน) ถึงแม้ว่ามันจะเป็นไวรัสคนละตัว แต่ทั้งสองชนิดนี้พบได้ทั้งบริเวณริมฝีปากและอวัยวะสืบพันธุ์ การติดเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายได้ทางการสัมผัสอย่างใกล้ชิดขณะจูบ ทำกิจกรรมทางเพศโดยใช้ปาก หรือการสัมผัสใดๆ ก็ตามที่ใช้ปาก [1] [2] [3]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

รักษาโรคเริมด้วยการกินอาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไลซีน (lysine) คือกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่มีการวิจัยว่าสามารถช่วยรักษาและป้องกันโรคเริมได้ โดยจะไปสกัดกั้นกรดอะมิโนอีกชนิดที่ชื่อว่า อาร์จินีน (arginine) ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส [4] [5] [6] อาหารที่อุดมไปด้วยไลซีน ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ (สัตว์ปีก แกะ วัว) ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วงอก และถั่วต่างๆ [7]
    • คุณสามารถกินอาหารเสริมไลซีนได้ ปริมาณทั่วไปจะอยู่ที่เม็ดละ 500-1000 มิลลิกรัม กินทุกวันตอนที่ท้องว่าง ปริมาณที่ปลอดภัยคือไม่เกิน 3000 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นห้ามกินเกินที่แนะนำ [8]
  2. อาร์จินีนก็เป็นกรดอะมิโน แต่มันจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันให้กับไวรัสเฮอร์ปีส์ ทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ดี อาร์จินีนจะพบมากในธัญพืชเต็มเมล็ดไม่ขัดสี เมล็ดพืช ถั่วเปลือกแข็ง และช็อกโกแลต
  3. เลี่ยงอาหารรสเปรี้ยวหรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด. เรื่องนี้สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอาหารนั้นสัมผัสกับแผลขณะที่กิน เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์จะเจริญเติบโตดีในสภาพที่เป็นกรด ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นกรดทั้งหลายไม่ให้สัมผัสกับแผล อาหารที่เป็นกรดหรือมีรสเปรี้ยว เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว มะเขือเทศ และอะไรก็ตามที่ใส่น้ำส้มสายชู
  4. ซิงค์ (Zinc) หรือสังกะสี จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคเริมได้ ปริมาณที่แนะนำที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันคือ 10 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิง [9] สำหรับเด็กให้ปรึกษากุมารแพทย์
    • คุณจะใช้ครีมที่มีซิงค์ก็ได้เช่นกัน อย่างเช่น วีรันเดริมเจล (Virunderim gel) ซึ่งมีซิงค์ซัลเฟต (zinc sulfate) 10 เปอร์เซ็นต์ [10] คุณสามารถใช้ติดต่อกันได้นานถึง 12 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคเริม เพื่อช่วยย่นระยะเวลาการเป็นโรค
  5. กินอาหารเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้. ควรกินผักและผลไม้สดเยอะๆ ทุกวัน ผักบางชนิดที่ดีต่อการเพิ่มภูมิคุ้มกัน เช่น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว บร็อกโคลี หอมหัวใหญ่ และกระเทียม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

รักษาโรคเริมโดยใช้สิ่งของในบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำซ้ำสม่ำเสมอ เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ต้องการสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้นในการเจริญเติบโต การประคบน้ำแข็งจะทำให้แผลไม่ร้อน ป้องกันไม่ให้มันลุกลามใหญ่ขึ้น และช่วยให้หายเร็วขึ้น
  2. [11] ใช้สำลีจุ่มเลมอนบาล์มและป้ายแผล 2-3 ครั้งต่อวัน
  3. เติมน้ำมะนาวเล็กน้อยกับนมลงในเกลือ กรดในน้ำมะนาวจะถูกเจือจางโดยโปรตีนในนม มันจึงไม่ระคายเคืองผิวมาก ปั้นส่วนผสมให้เป็นลูกกลมแล้วใช้ป้ายแผลวันละครั้ง หลังจากทาแล้วให้ใช้ว่านหางจระเข้ทาแผลเล็กน้อย
  4. [12] ทำให้นิ้วเปียกและจุ่มลงในเกลือปรุงอาหาร ใช้นิ้วนั้นกดลงบนแผลเบาๆ 30 วินาที เพื่อให้เกลือซึมเข้าสู่แผล หลังจากจับแผลแล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นผสมสบู่
  5. [13] ใส่ถุงชาลงในน้ำร้อน ทิ้งไว้ให้เย็น และวางถุงชาเปียกๆ ลงบนแผล 5-10 นาที ควรใช้ถุงชาใหม่ทุกครั้ง และทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

รักษาโรคเริมด้วยสมุนไพร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้น้ำมันสำหรับทาผิว เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ หรือน้ำมันสะระแหน่. สมุนไพรทั้งสองชนิดนี้เป็นที่รู้กันดีว่าช่วยให้แผลเริมหายเร็วขึ้น ทาน้ำมันที่แผลวันละหลายๆ ครั้ง
    • ใช้ยาทาสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต (Saint John's wort) ป้ายแผลวันละหลายๆ ครั้ง ทำตามข้อแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างระมัดระวัง ยาทาจากสมุนไพรชนิดนี้ใช้ทาภายนอกเท่านั้น และอย่าใช้ถ้ากำลังใช้ยาอื่นๆ จากสมุนไพรชนิดนี้อยู่ เพราะถ้าได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตรายได้
    • กินยารากสมุนไพรอิคิเนเซีย (Echinacea root) วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ช้อนชา กลั้วปาก 2-3 นาที ก่อนกลืน
    • ทาสารสกัดจากคาโมมายล์ที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง หรือดื่มชาคาโมมายล์ และให้น้ำชาร้อนๆ อยู่บนแผล ในคาโมมายล์มีสารไบซาโบลอล (bisabolol) ที่ช่วยรักษาแผลบริเวณเยื่อบุผิวหนัง
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ใช้วิธีแก้อื่นๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นอกจากจะทำให้แผลแย่ลงแล้ว การจับยังทำให้เชื้อไวรัสเอชเอสวี 1 หรือเชื้อโรคเริมส่งผ่านไปสู่นิ้วของคุณด้วย และมันง่ายที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายโดยบังเอิญจากการสัมผัสสิ่งอื่นๆ ต่อ ไวรัสนี้สามารถทำให้เซลล์ผิวหนังติดเชื้อได้หากสัมผัสโดน แม้จะเป็นเซลล์ผิวหนังในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลเริมให้ได้มากที่สุดเพื่อลดการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
  2. แม้จะพยายามไม่สัมผัสโดนแผล แต่หลายคนก็อาจเผลอจับมันโดยไม่ได้ตั้งใจ ควรล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกตัวหลังจากจับแผลหรือบริเวณรอบๆ ปาก
    • โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนหรือหลังกินอาหาร
  3. เชื้อไวรัสเริมสามารถมีชีวิตอยู่ได้บนวัตถุต่างๆ เช่น แปรงสีฟัน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของโรคเริม ให้ใช้แปรงสีฟันใหม่ตั้งแต่เริ่มมีอาการ และทิ้งไปเมื่อหายดีแล้ว
    • เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ควรทำให้แน่ใจว่าแปรงสีฟันไม่ได้สัมผัสโดนฝาของหลอดยาสีฟันเวลาบีบยาใส่แปรง [14]
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าขนหนู มีดโกน ช้อนส้อม หรือผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น ควรซักล้างทุกสิ่งที่สัมผัสกับแผลด้วยน้ำร้อนผสมสบู่
  5. สาเหตุหนึ่งของโรคเริมคือแสงแดด [15] [16] การใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15 หรือมากกว่า จะช่วยให้แผลหายโดยลดความรุนแรงจากแดด
    • การทาครีมกันแดดรอบๆ แผล โดยเว้นบริเวณแผลไว้ ก็จะช่วยลดการเป็นโรคเริมซ้ำอีกได้เช่นกัน
    • อย่าลืมล้างมือทั้งก่อนและหลังทาครีมกันแดด
  6. คุณสามารถทาปิโตรเลียมเจลลี่ (petroleum jelly) หรือพรอพอลิส (propolis) ที่แผลด้วยคอตตอนบัด ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นจากธรรมชาติที่มีไลซีนก็ช่วยได้ดี เช่น ขี้ผึ้งไลซีนของ Basic Organics หรือลิปบาล์มไลซีนแท้ 100% ผสมสมุนไพรของ Ariva
    • พรอพอลิสเป็นยางจากธรรมชาติที่ผึ้งสร้างขึ้น มีสารอาหารมากมาย
  7. ถ้าอยากรู้ว่ามีส่วนผสมอะไรในมอยส์เจอร์ไรเซอร์ของคุณบ้าง คุณสามารถทำเองได้ที่บ้านโดยใช้พรอพอลิสผสมกับน้ำมันหอมระเหย ขี้ผึ้งพรอพอลิส 3% สามารถบรรเทาความเจ็บปวดของแผลเริมได้ [17] วิธีทำยาขี้ผึ้ง ผสมพรอพอลิส 0.5 ออนซ์ (เท่ากับ 1 ช้อนโต๊ะ) กับน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 48.5 ออนซ์ จะใช้เป็นมอยส์เจอร์ไรเซอร์ได้ดี [18] หลังจากนั้น เติมน้ำมันต่อไปนี้อย่างละ 1 หยด
    • น้ำมันการบูร ช่วยลดความเจ็บปวด
    • น้ำมันอิคิเนเซีย เป็นสมุนไพรที่ช่วยต้านเชื้อไวรัสและเพิ่มภูมิคุ้มกัน [19] [20]
    • น้ำมันชะเอมเทศ มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อเอชเอสวี 1 [21]
    • น้ำมันแอนโดรกราฟิสหรือฟ้าทะลายโจร มีทั้งฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสและต้านอาการอักเสบ [22]
    • น้ำมันเสจ มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส ช่วยให้แผลเริมแห้งเร็ว และเป็นทางเลือกที่ดีถ้าหาน้ำมันแอนโดรกราฟิสไม่ได้ [23]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเริมซ้ำอีก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจสอบความเสี่ยงของคุณในการเป็นโรคเริมอีก. หลายคนมีเชื้อไวรัสเอชเอสวี 1 แต่ไม่เป็นโรคเริม และหลายคนก็ไม่เป็นซ้ำอีกหลังจากเคยเป็นมาก่อน [24] อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการต่อไปนี้จะมีโอกาสเสี่ยงสูงในการกลับมาเป็นโรคเริมซ้ำอีก [25]
    • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ภูมิคุ้มกันถูกกด
    • ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือเอดส์ (AIDS) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
    • ผู้ป่วยโรคผื่นผิวหนังอักเสบ
    • ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รับการรักษาแบบเคมีบำบัด
    • ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยจะต้องกินยากดภูมิคุ้มกั้นเพื่อป้องกันการต่อต้านอวัยวะใหม่
    • ผู้ที่มีแผลไหม้รุนแรง
  2. สาเหตุบางอย่างอาจเชื่อมโยงกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดโรคเริมซ้ำ สาเหตุเหล่านั้น ได้แก่
    • ไข้ทุกชนิด (ไม่ว่าจะมาจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย)
    • ประจำเดือน
    • ความเครียดทุกรูปแบบ (ทางกาย, ทางจิต, ทางอารมณ์)
    • ความเหนื่อยล้า
    • การโดนแดด
    • การผ่าตัด
  3. การโดนแดดเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเริม ดังนั้นคุณควรออกแดดให้น้อยลง และอย่าลืมทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลเสียเมื่อคุณต้องออกแดด
  4. อาหารที่เหมาะสมและมีคุณค่าทางโภชนาการสามารถช่วยลดความเหนื่อยล้าและความเครียดได้ ส่วนประกอบหลักของอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีดังนี้
    • กินผักผลไม้สดเยอะๆ หลากหลายชนิด (ยกเว้นผลไม้รสเปรี้ยว) ทั้งผักและผลไม้มีวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน และไฟเบอร์ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดี
    • คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนดีกว่าน้ำตาลธรรมดา หมายความว่าคุณควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูป ถึงมันจะดูธรรมดา แต่ระหว่างกรรมวิธีการผลิตนั้นได้เพิ่มน้ำตาลทุกชนิดเข้าไป รวมถึงน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสสูงด้วย
    • น้ำตาลพวกนี้จะทำให้เกิดภาวะทนต่อการเพิ่มของกลูโคสไม่ได้ (ภาวะก่อนเป็นเบาหวาน) โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคกลุ่มอาการเมตาบอลิก และโรคหัวใจ รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้ [26] [27]
    • เพิ่มปริมาณของเนื้อปลาและเนื้อสัตว์ปีกไม่ติดมัน ในมื้ออาหารของคุณ (และลดปริมาณของเนื้อแดงลงด้วย)
    • ถั่วและพืชมีฝัก เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุชั้นเยี่ยม และมีกรดไฟติก (phytic acid) ในการปรุงควรให้แร่ธาตุออกมาและดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
    • อย่าลืมดื่มน้ำเยอะๆ และทำให้ร่างกายชุ่มชื้นอยู่ตลอด ดื่มน้ำแก้วละ 8 ออนซ์ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
  5. การนอนน้อยจะส่งผลกับทั้งระดับความเครียดและความเหนื่อยล้า ควรนอนหลับ 7-8 ชั่วโมงทุกคืน
  6. แม้ว่าบ่อยครั้งจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานหรือที่บ้าน แต่ควรพยายามเลี่ยงสถานการณ์ตึงเครียดให้ได้มากที่สุด นี่อาจหมายถึงการเดินออกจากสถานการณ์นั้น หรือเพียงแค่ลุกออกจากโต๊ะทำงานสักครู่ วิธีอื่นที่คุณสามารถทำเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียดหรือทำให้มันคงที่ได้ มีดังนี้
    • ใช้เวลาอยู่กับเพื่อน [28]
    • ไปเดินเล่นหรือออกกำลังกาย [29]
    • ฝึกหายใจลึกๆ หรือฝึกสมาธิเป็นกิจวัตรทุกวัน [30] [31] คุณสามารถค้นหาบทความเกี่ยวกับวิธีการหายใจลึกๆ หรือ วิธีการฝึกสมาธิ ได้
  7. นอกจากการกินอาหารและออกกำลังกายแล้ว คุณยังสามารถใช้วิธีอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองได้อีก เช่น ไม่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์อย่างพอเหมาะ หลีกเลี่ยงการไม่สบายและการติดเชื้อโดยล้างมือบ่อยๆ และควบคุมความดันโลหิต
  8. โรคเริมไม่ค่อยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ และโดยปกติแล้วไม่ต้องไปพบแพทย์ก็ได้ แต่คุณควรจะนัดพบแพทย์ถ้ามีอาการต่อไปนี้ [32]
    • เป็นโรคเริมมากกว่า 2-3 ครั้งต่อปี
    • เมื่อเป็นเริมแล้วไม่หายภายใน 2 สัปดาห์
    • ไม่สบายบ่อย ซึ่งอาจบ่งบอกได้ว่าระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
    • มีอาการเจ็บแผลเริมมาก
    • มีอาการเคืองตาเมื่อเป็นโรคเริม ซึ่งอาจหมายถึงการติดเชื้อ
    โฆษณา

คำเตือน

  • มีทฤษฎีอื่นๆ อีกมากมายในการรักษาแผลเริม เช่น ทาน้ำยาล้างเล็บ ยาสมานแผล หรือยาสีฟันลงไป แต่วิธีรักษาส่วนใหญ่นั้นใช้ไม่ได้ผล และบางวิธีอาจจะทำร้ายผิวหรือทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะลองทำ
  • หลายคนติดเชื้อไวรัสเอชเอสวี 1 ตั้งแต่เด็ก ไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin contact) การจูบ การใช้ช้อนส้อมร่วมกัน หรือการใช้สิ่งของอื่นๆ ร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน ลิปบาล์ม ลิปสติก ผ้าขนหนู หรือผ้าเช็ดตัว ในขณะที่ไวรัสเอชเอสวี 2 จะส่งผ่านทางการสัมผัสทางเพศในบางรูปแบบ [33]
  • โรคเริมเกิดจากไวรัสและมักจะเป็นแผลรอบปากหรือริมฝีปาก ซึ่งจะไม่เหมือนกับแผลร้อนในที่หาสาเหตุไม่ได้และเกิดเป็นแผลในปาก
  • ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ห้ามกินไลซีนโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/definition/con-20021310
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/causes/con-20021310
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/risk-factors/con-20021310
  4. Wright, EF.Clinical effectiveness of lysine in treating recurrent aphthous ulcers and herpes labialis. Gen Dent. 1994 Jan-Feb;42(1):40-2.
  5. Singh BB, Udani J, Vinjamury SP, Der-Martirosian C, Gandhi S, Khorsan R, Nanjegowda D, Singh V. Safety and effectiveness of an L-lysine, zinc, and herbal-based product on the treatment of facial and circumoral herpes. Altern Med Rev. 2005 Jun;10(2):123-7.
  6. http://harvardpartnersinternational.staywellsolutionsonline.com/HealthNewsLetters/69,W0307e
  7. http://nutritiondata.self.com/foods-000083000000000000000.html
  8. Agero AL, Verallo-Rowell VM. A randomized double-blind controlled trial comparing extra virgin coconut oil with mineral oil as a moisturizer for mild to moderate xerosis. Dermatitis 2004;15:109-16.
  9. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/zinc/dosing/hrb-20060638
  1. http://www.drugs.com/dosage/zinc-sulfate.html
  2. http://www.disabled-world.com/medical/alternative/homeremedies/cold-sore-remedies.php
  3. http://www.disabled-world.com/medical/alternative/homeremedies/cold-sore-remedies.php
  4. http://www.disabled-world.com/medical/alternative/homeremedies/cold-sore-remedies.php
  5. http://www.doctorslounge.com/dermatology/forums/backup/topic-43740.html
  6. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/e---h/herpes-simplex/who-gets-causes
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/causes/con-20021310
  8. Hoheisel O. The effects of Herstat (3% propolis ointment ACF ) application in cold sores: a double-blind placebo-controlled clinical trial. Journal of Clinical Research 2001;4:65-75
  9. Agero AL, Verallo-Rowell VM. A randomized double-blind controlled trial comparing extra virgin coconut oil with mineral oil as a moisturizer for mild to moderate xerosis. Dermatitis 2004;15:109-16.
  10. Bockhorst H, Gollnick N, Guran S, et al. [Therapy of herpes simplex in practice. Report on the treatment of herpes simplex labialis with Esberitox]. ZFA.(Stuttgart.) 11-20-1982;58:1795-98.
  11. Senchina, D. S., Shah, N. B., Doty, D. M., Sanderson, C. R., and Hallam, J. E. Herbal supplements and athlete immune function--what's proven, disproven, and unproven? Exerc.Immunol.Rev. 2009;15:66-106.
  12. Fiore, C., Eisenhut, M., Krausse, R., Ragazzi, E., Pellati, D., Armanini, D., and Bielenberg, J. Antiviral effects of Glycyrrhiza species. Phytother Res 2008;22(2):141-148.
  13. Lim, J. C., Chan, T. K., Ng, D. S., Sagineedu, S. R., Stanslas, J., and Wong, W. S. Andrographolide and its analogues: versatile bioactive molecules for combating inflammation and cancer. Clin Exp.Pharmacol Physiol 2012;39(3):300-310.
  14. Saller R, Buechi S, Meyrat R, Schmidhauser C. Combined herbal preparation for topical treatment of Herpes labialis. Forsch Komplementarmed Klass Naturheilkd 2001;8:373-82.
  15. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs400/en/
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/risk-factors/con-20021310
  17. Rippe, JM.,Angelopoulos, TJ.(2013). Sucrose, high-fructose corn syrup, and fructose, their metabolism and potential health effects: what do we really know?Advances In Nutrition, 4(2), 236-245.
  18. Bantle, JP. (2009)Dietary fructose and metabolic syndrome and diabetes. J.Nut. 139(6):1263S-1268S.
  19. Grant, N., Hamer, M.,Steptoe, A. (2009). Social Isolation and Stress-related Cardiovascular, Lipid, and Cortisol Responses. Ann. Behav. Med. 37(1); 29-37.
  20. Gleeson,M., Nieman, DC., Pedersen, BK. (2004). Exercise, Nutrition and Immune FUnction. J SportsScience. 22(1);115-125.
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4243490/
  22. Homma I, Masaoka Y.. Breathing rhythms and emotions. Exp Physiol (2008) 93:1011–21
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cold-sore/basics/symptoms/con-20021310
  24. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/e---h/herpes-simplex/who-gets-causes

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 118,030 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา