ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Tendinitis หรือโรคเอ็นอักเสบนั้น อาการก็คือเส้นเอ็นจะอักเสบหรือบวม เส้นเอ็น (tendons) เป็นเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะกล้ามเนื้อกับกระดูกเข้าไว้ด้วยกัน Forearm Tendinitis หรือโรคเอ็นปลายแขนอักเสบนั้น จะแตกต่างออกไปจากโรคเอ็นข้อศอกหรือเอ็นข้อมืออักเสบตรงที่จะส่งผลต่อเอ็นที่แขนส่วนปลายเท่านั้น อาการของโรคนี้ก็เช่น ปวด กดแล้วเจ็บ หรือบวมแดง มีหลายปัจจัยด้วยกันที่ทำให้คุณเป็นโรคเอ็นอักเสบได้ แต่สาเหตุยอดฮิตก็คือเล่นกีฬาหนักไปหรือทำท่าเดิมซ้ำๆ ไม่ก็ยกของหนักผิดท่า สุดท้ายก็คือเรื่องของวัย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาเองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. R.I.C.E. ย่อมาจาก Rest (พักแขน), Ice (ใช้น้ำแข็ง), Compression (ประคบเย็น) และ Elevation (ยกแขนสูง) 4 คำจำง่ายแบบนี้แหละ หลักในการรักษาตัวจากโรคเอ็นปลายแขนอักเสบที่คุณต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกวันเพื่อให้เห็นผลที่สุด [1]
  2. การพักอย่าเพิ่งใช้กล้ามเนื้อส่วนที่เอ็นอักเสบนั้นสำคัญมากเวลาดูแลรักษาโรคนี้ โดยเฉพาะพวกนักกีฬา [2] ถ้าใครเป็นนักกีฬาแล้วดื้อ ฝืนใช้อวัยวะส่วนนั้นต่อโดยไม่ใส่ใจอาการเจ็บปวดที่เอ็น ก็เสี่ยงทำโรคลุกลามจากอาการอักเสบเฉียบพลันกลายเป็นอักเสบแบบเรื้อรังไป ทีนี้ล่ะรักษากันนานเลย [3]
    • อย่าเพิ่งเล่นกีฬาหรือออกแรง ห้ามฝืนหรือคิดว่าเจ็บนิดเดียวไม่เป็นไรเด็ดขาด
    • แต่คนที่เอ็นปลายแขนอักเสบก็ยังทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ได้ เพราะถ้าอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย ระวังกล้ามเนื้อส่วนนั้นจะยึดเอา ให้เลือกทำเฉพาะกิจกรรมเบาๆ อย่างว่ายน้ำหรือยืดเส้น กล้ามเนื้อจะได้เคลื่อนไหวบ้างโดยที่ไม่รับหน้าที่หนักหรือใช้มากไป [4]
    • เอ็นปลายแขนอักเสบนั้นมักเกิดจากการใช้มันผิดท่าและมีหัวไหล่ที่ไม่แข็งแรง ซึ่งทำให้ไปเพิ่มแรงกดตรงข้อศอกเมื่อคุณทำท่าทางการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เช่น เมื่อพิมพ์ดีด เขียนหนังสือ ตีกอล์ฟ หรือเล่นเทนนิส
  3. เอาน้ำแข็งประคบตรงที่อักเสบนานไม่เกิน 20 นาที ทำซ้ำหลายๆ ครั้งต่อวัน. เอาผ้าห่อถุงน้ำแข็งแล้วใช้ประคบ หรือจะเอาน้ำแข็งมานวดวนโดยตรงก็ได้ ไม่ก็เอาน้ำแข็งเทใส่น้ำในอ่างแล้วลงไปแช่ได้เลย วิธีทั้งหมดนี้จะช่วยลดปวด บวม กล้ามเนื้อเกร็งได้ [5]
    • วิธีนวดด้วยน้ำแข็งง่ายๆ คือเอาน้ำใส่ถ้วยพลาสติกแล้วไปแช่ช่องฟรีซ เวลาประคบหรือนวดก็ถือตรงถ้วย หันด้านที่เป็นน้ำแข็งลงแนบผิวตรงแขนส่วนปลายโดยตรง
    • หรือจะใช้เจลแพ็ค หรือถุงผักแช่แข็งก็ได้ อย่างถุงถั่วลันเตา เป็นต้น
  4. ประคบเย็นตรงบริเวณที่อักเสบจนกว่าจะเริ่มหายบวม. ถ้าปล่อยให้บวมนานๆ อาจทำให้ข้อที่บาดเจ็บขยับเขยื้อนไม่ได้ ให้ใช้ผ้าหรือผ้ายืดพันแผล (หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป) มาพันรอบแขนที่อักเสบให้กระชับ จนกว่าจะบวมน้อยลง [6]
  5. การยกแขนสูงช่วยลดปวดลดบวมได้ ให้คุณยกแขนข้างที่เป็นสูงกว่าหัวใจ โดยวางไว้บนเก้าอี้หรือหมอนที่ซ้อนกันให้หนาๆ ก็ได้ [7]
  6. กินยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบที่มีขายตามร้านขายยา. ไอบูโพรเฟน แอสไพริน หรือยาแก้อักเสบอื่นๆ จะช่วยลดอาการปวดบวมชั่วคราวได้ (ประมาณ 5 - 7 วัน) [8]
    • ไอบูโพรเฟน (Advil, Motrin) นั้นเป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบที่เห็นผลดีมาก ปกติให้กินครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4 - 6 ชั่วโมง
    • นาพรอกเซนโซเดียม (Aleve) ก็เป็นยาแก้อักเสบที่แนะนำอีกตัว ให้คุณกินทุก 12 ชั่วโมง จนกว่าจะลดปวดลดบวมได้
    • อะเซตามิโนเฟน (Tylenol) ก็เป็นยาแก้ปวดอีกตัวที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดเพราะเอ็นแขนส่วนปลายอักเสบได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

บริหารแขนส่วนปลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การบริหารยืดเส้นเป็นวิธีสร้างเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อปลายแขนได้ดี แถมยังช่วยลดปวดคลายอาการตึงเกร็ง ถ้าคุณหมั่นยืดเส้นและเล่นเวท (เบาๆ) เป็นประจำ ก็จะช่วยบรรเทาอาการเอ็นปลายแขนอักเสบได้ [9] กล้ามเนื้อ extensor หรือ tricep ทำให้คุณยืดหรืองอข้อมือได้ และสำคัญมากถ้าคุณอยากมีกล้ามเนื้อปลายแขนที่แข็งแรง [10]
    • นั่งที่เก้าอี้แล้ววางศอกราบไปบนโต๊ะหรือพื้นผิวเรียบ
    • ยืดแขนให้สุด ให้ข้อมือยืดไปเกินขอบโต๊ะ
    • ใช้มืออีกข้างจับให้ข้อมือของคุณงอลง
    • ให้คุณรู้สึกตึงๆ บนท่อนแขนกับหลังมือที่งอลงของคุณ ยืดเส้นค้างไว้ 15 วินาที แล้วทำซ้ำข้างละ 2 - 3 ครั้ง
    • คุณจะยืดเส้นแบบนี้ตอนยืนก็ได้ หรือตอนกำลังวิ่งเหยาะๆ บนลู่วิ่งหรืออยู่กับที่ [11]
  2. มีกล้ามเนื้อส่วนที่ทำให้คุณยืดหรือขยับเขยื้อนข้อมือได้อยู่
    • ให้คุณนั่งที่เก้าอี้แล้ววางศอกราบไปบนโต๊ะหรือพื้นผิวเรียบ
    • หงายมือแล้วยืดแขนให้สุด
    • ข้อมือควรจะยืดไปเกินขอบโต๊ะ
    • ใช้มืออีกข้างจับข้อมือให้หักลงเพื่อยืดกล้ามเนื้อปลายแขนส่วน flexors ยืดเส้นค้างไว้ 15 วินาที แล้วทำซ้ำข้างละ 2 - 3 ครั้ง
    • คุณจะยืดเส้นแบบนี้ตอนยืนก็ได้ หรือตอนกำลังวิ่งเหยาะๆ บนลู่วิ่งหรืออยู่กับที่ [12]
  3. ให้ยืดเส้น (stretching) ก่อนเสมอ แล้วค่อยเล่นเวท โดยใช้น้ำหนักประมาณ 0.2 กก. หรือไม่เกิน 0.5 กก. หรือง่ายกว่านั้นก็คือใช้กระป๋องซุปหรือค้อนยางแทนก็ได้
    • นั่งที่เก้าอี้แล้ววางแขนราบไปบนโต๊ะหรือพื้นผิวเรียบ
    • ข้อมือควรจะยืดไปเกินขอบโต๊ะ
    • คว่ำมือแล้วยืดแขนให้สุด
    • ถือเวทแล้วงอข้อมือขึ้น
    • งอค้างไว้ 2 วินาทีแล้วค่อยๆ เอาลง ทำรอบละ 30 - 50 ครั้ง 2 รอบต่อวัน แต่ถ้าตอนทำแล้วเกิดเจ็บขึ้นมา ให้ลดจำนวนครั้งต่อวันลง
  4. โดยใช้น้ำหนักประมาณ 0.2 กก. หรือไม่เกิน 0.5 กก.
    • นั่งที่เก้าอี้แล้ววางแขนราบไปบนโต๊ะหรือพื้นผิวเรียบ
    • ข้อมือควรจะยืดไปเกินขอบโต๊ะ
    • หงายมือแล้วยืดแขนให้สุด
    • ถือเวทแล้วงอข้อมือขึ้น
    • งอค้างไว้ 2 วินาทีแล้วค่อยๆ เอาลง ทำรอบละ 30 - 50 ครั้ง 2 รอบต่อวัน แต่ถ้าตอนทำแล้วเกิดเจ็บขึ้นมา ให้ลดจำนวนครั้งต่อวันลง
  5. เป็นกล้ามเนื้อส่วนที่ทำให้คุณขยับข้อมือไปทางซ้ายขวาได้ ให้ใช้น้ำหนักประมาณ 0.2 กก. หรือไม่เกิน 0.5 กก.
    • ถือเวทแบบคว่ำมือลง
    • ขยับข้อมือให้งอขึ้นลง เหมือนใช้กำปั้นที่คว่ำลงของคุณเป็นค้อนตอกตะปู
    • ขยับบริหารเฉพาะตรงข้อมือเท่านั้น อย่าไปขยับที่ข้อศอกหรือหัวไหล่ ทำรอบละ 30 - 50 ครั้ง 2 รอบต่อวัน แต่ถ้าตอนทำแล้วเกิดเจ็บขึ้นมา ให้ลดจำนวนครั้งต่อวันลง
  6. เป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้คุณหมุนมือได้
    • ถือเวทแบบหงายมือขึ้น โดยใช้น้ำหนักประมาณ 0.2 กก. หรือไม่เกิน 0.5 กก.
    • หมุนข้อมือเข้าจนสุด แล้วค้างไว้ 2 วินาที
    • หมุนข้อมือออกจนสุด แล้วค้างไว้ 2 วินาที
    • ทำซ้ำไม่เกิน 50 ครั้ง ถ้าเจ็บให้ลดจำนวนครั้งลง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ไปตรวจรักษากับคุณหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณมีปัญหาร้ายแรงที่ข้อ ปวดมาก บวมแดง หรือขยับข้อไม่ได้ แปลว่าคุณอาจเป็นโรคเอ็นอักเสบขั้นรุนแรง ต้องรีบรักษาอย่างจริงจังแล้วล่ะ [13] [14]
    • บอกอาการคุณหมอให้ละเอียด รวมถึงระยะเวลาที่เกิดอาการด้วย เช่น “ปวดปลายแขนข้างขวานานเป็น 2 ชั่วโมง” หรือ “ปลายแขนข้างซ้ายบวมตอนเย็นๆ”
    • ถ้าลองรักษาตัวเองด้วยวิธีไหนไปแล้วให้บอกคุณหมอด้วย
    • เล่ากิจวัตรประจำวันให้คุณหมอฟัง เพราะโรคเอ็นอักเสบของคุณอาจเกิดหรือทรุดเพราะทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำๆ
  2. ถ้าฉีดสเตียรอยด์รอบๆ เอ็นที่อักเสบก็อาจช่วยลดปวดลดบวมได้ [15] [16]
    • แต่ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้รักษาคนที่เป็นโรคเอ็นอักเสบชนิดเรื้อรังนานเกิน 3 เดือน เพราะการฉีดสเตียรอยด์ซ้ำๆ อาจทำให้เอ็นของคุณหย่อนหรืออ่อนแอ ทีนี้จะเสี่ยงเอ็นฉีกแทน ดังนั้นเลยไม่ค่อยแนะนำให้รักษาด้วย corticosteroids เท่าไหร่ [18]
  3. คุณหมออาจแนะนำให้คุณทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาโรคเอ็นปลายแขนอักเสบ นักกายภาพบำบัดจะวางโปรแกรมกำหนดวิธีบริหารที่เน้นการยืดเส้นและเล่นเวทกล้ามเนื้อปลายแขนโดยเฉพาะ [18]
    • คุณอาจต้องทำกายภาพบำบัดหลายครั้งต่ออาทิตย์ ติดต่อกันหลายเดือน
    • การรักษาหลักๆ ก็คือพักแขน ยืดเส้น แล้วก็เล่นเวทนั่นแหละ
  4. อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ว่าเอ็นคุณอักเสบมากแค่ไหนและนานเท่าไหร่ ถ้าจำเป็นก็ต้องผ่าตัด โดยเฉพาะในเคสที่เส้นเอ็นฉีกขาดออกจากกระดูก
    • ถ้าคุณเป็นโรคเอ็นอักเสบแบบเรื้อรัง ก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัดแบบ Focused aspiration of scar tissue (FAST) หรือผ่าตัดเล็กเพื่อเอาเนื้อเยื่อที่เสียหายจนกลายเป็นแผลเป็นออก [19]
    • การผ่าตัดแบบนี้เป็นการผ่าตัดเล็กโดยใช้อัลตร้าซาวด์นำทางแล้วผ่าตัดด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็ก โดยมีการใช้ยาชาเฉพาะที่
    • การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ใช้ผ่าเอาเนื้อเยื่อที่เสียหายจนกลายเป็นแผลเป็นออกโดยไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของเอ็นโดยรอบ
    • หลังผ่าตัดแบบ FAST ได้ประมาณ 1 - 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็กลับไปใช้ชีวิตทำกิจวัตรได้ตามเดิมแล้ว
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,190 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา