ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไข้หวัดใหญ่ (flu) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ แต่ปกติก็จะหายเองในประมาณ 1 อาทิตย์ ไม่ต้องกลัวหรือรีบไปหาหมอแต่อย่างใด อาการของไข้หวัดใหญ่ก็เช่น เป็นไข้ประมาณ 37 -38 องศาขึ้นไป หนาวสั่น ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดหัว ปวดตัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน และ/หรือท้องเสีย [1] ถึงจะไปเร่งให้หายหวัดไม่ได้ แต่คุณก็บรรเทาอาการ ดูแลตัวเองได้ รวมถึงซื้อยากินเอง กินยาที่หมอสั่ง และสุดท้ายคือป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นไข้หวัดใหญ่อีกในอนาคตอันใกล้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

รักษาด้วยวิธีธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คัดจมูก แน่นไซนัส เป็นอาการปกติของคนเป็นไข้หวัดใหญ่ ถ้าคุณมีอาการอย่างที่ว่า ให้ลองบรรเทาด้วยไอน้ำดู ไอน้ำร้อนๆ จะทำให้มูกเหลวขึ้น ส่วนความชื้นก็ช่วยเรื่องโพรงจมูกแห้ง [2]
    • ลองอาบน้ำหรือแช่น้ำร้อน (อุ่นจัด) ดู จะช่วยให้จมูกโล่งอย่างรวดเร็ว พยายามใช้น้ำที่ร้อนเท่าที่จะทนได้ โดยปิดประตูห้องน้ำแล้วปล่อยให้ไอน้ำคละคลุ้งไปทั้งห้อง แต่ถ้าร้อนจัดจนคุณอ่อนเพลียหรือวิงเวียน ให้หยุดใช้วิธีนี้ทันที อย่าฝืน
    • ตอนอาบน้ำเสร็จ ให้เช็ดตัวเช็ดผมให้แห้งสนิท ถ้าผมชื้นจะทำให้ร่างกายเย็นลงอย่างรวดเร็ว และจะทำให้ป่วยหนักกว่าเดิม
    • อีกวิธีบรรเทาอาการด้วยไอน้ำ คือรองน้ำร้อนไว้ในอ่างล้างหน้า แล้วเอาหน้าไปอัง อย่าลืมหาผ้ามาคลุมหัวด้วย จะได้ช่วยกักเก็บไอร้อน จะหยดน้ำมันหอมระเหยแก้คัดแน่นไซนัสลงไป 1 - 2 หยดด้วยก็ได้ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส หรือน้ำมันเปปเปอร์มินต์ จะได้ยิ่งโล่งจมูก
  2. กาเนติใส่น้ำเกลือใช้สวนล้างโพรงจมูก ทำให้น้ำมูกเหลวขึ้น สั่งง่าย ปกติกาเนติจะเหมือนกาน้ำชารีๆ ทำจากเซรามิกหรือดินเผา หาซื้อได้ตามร้านออนไลน์ ร้านขายยา และห้างสรรพสินค้า แต่จริงๆ แล้วจะใช้ขวดน้ำหรือภาชนะอื่นๆ ที่มีปากเรียวเหมือนพวยกาก็ได้
    • คุณหาซื้อน้ำเกลือที่ต้องใช้กับกาเนติได้ตามร้านขายยาหรือในเน็ต แต่จริงๆ จะผสมเองก็ได้ โดยใช้เกลือโคเชอร์ (kosher salt) 1/2 ช้อนชา กับน้ำกลั่น 1 ถ้วยตวง สำคัญมากว่าต้องใช้น้ำกลั่นหรือน้ำกรอง แต่จะให้แน่ใจก็ต้มสุก 5 นาทีก่อน แล้วทิ้งไว้จนเย็นเท่าอุณหภูมิห้อง
    • เทน้ำเกลือใส่กาเนติ จากนั้นเอียงคอไปด้านหนึ่งเหนืออ่างล้างหน้า สอดพวยกาเข้าไปในรูจมูกข้างหนึ่ง แล้วค่อยๆ รินน้ำเกลือเข้าไป น้ำเกลือจะไหลเข้ารูจมูกอีกข้าง แล้วไหลออกมา พอน้ำหยดจนหมดแล้ว ให้สั่งน้ำมูกเบาๆ จากนั้นทำซ้ำกับรูจมูกอีกข้าง [3]
  3. คอแห้ง เจ็บคอ คันคอ ก็เป็นอีกอาการประจำของไข้หวัดใหญ่ วิธีธรรมชาติที่ช่วยบรรเทาอาการได้ง่ายๆ ก็คือกลั้วน้ำเกลือ น้ำจะทำให้ชุ่มคอ ส่วนเกลือก็มีสรรพคุณฆ่าเชื้อ [4]
    • ผสมน้ำกลั้วคอโดยละลายเกลือ 1 ช้อนชาในน้ำอุ่น-ร้อน 1 แก้ว ถ้าออกมาเค็มเกินรับ ให้เติมเบคกิ้งโซดา 1 หยิบมือ จะช่วยลดเค็มได้
    • หรือจะกลั้วคอด้วยน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลกับน้ำอุ่นแทน ก็ได้ผลเหมือนกัน
    • กลั้วคอตามสูตรได้มากถึง 4 ครั้งต่อวัน
  4. เราเป็นไข้เพราะร่างกายพยายามสู้กับอาการติดเชื้อตามธรรมชาติ เพราะงั้นถ้าไข้ต่ำกว่า 38°C (101°F) ก็ปล่อยให้เป็นไป ไข้จะทำให้อุณหภูมิร่างกายและเลือดสูงขึ้น ง่ายต่อการยับยั้งอาการติดเชื้อ เพราะไวรัสจะแบ่งตัวไม่ได้ง่ายๆ เวลาร่างกายอุณหภูมิสูงกว่าปกติ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานรับรอง ว่าการกินยา Tylenol เพื่อลดไข้ จะไปขัดขวางไม่ให้ภูมิคุ้มกันทำหน้าที่หรือเปล่า เพราะงั้นก็กิน Tylenol บรรเทาอาการได้ อย่าเพิ่งไปกลัวว่าจะอันตราย ไม่แน่ใจจริงๆ ก็ปรึกษาคุณหมอ ดีที่สุด [5]
    • ต้องไปหาหมอ ถ้าไข้สูงเกิน 38°C (101°F)
    • ถ้าเป็นเด็กอ่อนอายุต่ำกว่า 12 เดือน ไม่ว่ามีไข้ต่ำหรือสูง ก็ต้องพาไปหาหมอ [6]
  5. เพื่อขจัดน้ำมูกที่คั่งอยู่ในไซนัสและโพรงจมูก คนเป็นไข้หวัดใหญ่จะคัดจมูกเป็นพิเศษ ห้ามสูดน้ำมูกกลับเข้าไป เพราะจะไปเพิ่มแรงดันจนปวดไซนัสและปวดหูได้ [7]
    • เวลาสั่งน้ำมูก ให้ใช้สองมือถือทิชชู่ปิดจมูกไว้ทั้ง 2 รู น้ำมูกจะได้ไม่เลอะเปรอะเปื้อน เวลาสั่งให้บีบจมูกข้างหนึ่ง แล้วสั่งน้ำมูกออกอีกข้าง
    • สั่งน้ำมูกเสร็จให้รีบทิ้งทิชชู่แล้วล้างมือเพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาป่วย ร่างกายต้องทำงานหนักเพื่อให้กลับมาเป็นปกติ เลยทำให้ต้องใช้พลังงานทั้งหมดในร่างกาย เลยรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ แบบนี้คุณถึงต้องพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อไม่ไปเพิ่มภาระให้ร่างกาย ถ้ายังฝืนทำอะไรที่ไม่จำเป็น ระวังจะเป็นหวัดนานหรืออาการหนักกว่าเดิม
  2. ยิ่งอุณหภูมิร่างกายสูง ก็ยิ่งฟื้นตัวได้เร็ว ให้เปิดหน้าต่างนอน หรืออย่าเปิดแอร์เย็นมากนัก อากาศจะได้อบอุ่น อีกวิธีคือใส่เสื้อหนาๆ หรือหลายๆ ชั้น นอนห่มผ้าหนาๆ หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อน/ผ้าห่มไฟฟ้า
    • อากาศร้อนและแห้งจะระคายคอกับจมูกได้ เพราะยิ่งแห้งกว่าเดิม ทำให้ยิ่งอาการหนัก ถ้าบ้านคุณอากาศแห้งเป็นพิเศษ ให้หาเครื่องทำความชื้นมาไว้ในห้องที่ขลุกอยู่ตลอด ในอากาศจะได้มีความชื้น ทำให้ไอและคัดจมูกน้อยลง [9]
  3. เวลาป่วยก็ต้องพักผ่อน เป็นวิธีเดียวที่จะทวงคืนความแข็งแรง ให้ร่างกายได้ฟื้นฟู ถ้ายังฝืนไปเรียนไปทำงาน จะกลายเป็นแพร่เชื้อให้คนรอบตัวแทน นอกจากนี้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอ ทำให้ง่ายต่อการเป็นโรคแทรกซ้อน ทีนี้ก็ป่วยนานกว่าเดิม [10]
    • ขอใบรับรองแพทย์ เอาไว้ใช้ลางานหรือลาโรงเรียน 2-3 วัน
  4. สั่งน้ำมูกบ่อยๆ และเหงื่อท่วมตัวตอนเป็นไข้ รวมถึงการอยู่ในที่อุณหภูมิสูง จะทำให้คุณเสียน้ำได้ง่าย แบบนี้อาจทำอาการหนักกว่าเดิม หรือมีอาการอื่นเพิ่มเติม เช่น ปวดหัว คอแห้ง ระคายคอ ช่วงที่ป่วยเลยต้องดื่มน้ำเยอะกว่าปกติ อาจจะดื่มชาร้อนแบบไม่มีคาเฟอีน น้ำเกลือแร่ทั้งของคุณหมอและแบบที่นักกีฬาดื่ม (อย่างหลังต้องเจือจาง) กินซุป และผักผลไม้ฉ่ำน้ำ เช่น แตงโม มะเขือเทศ แตงกวา และสับปะรด แต่ง่ายที่สุดคือดื่มน้ำเปล่าและน้ำผลไม้ให้มากขึ้น
    • อย่าไปดื่มน้ำอัดลมหวานๆ เพราะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทำให้ยิ่งฉี่บ่อย เสียน้ำกว่าเดิม ถ้าท้องไส้ปั่นป่วนให้ดื่มน้ำขิงจินเจอร์เอล (ginger ale) แต่ดื่มน้ำเปล่าให้เยอะกว่า [11]
    • วิธีทดสอบว่าคุณขาดน้ำหรือเปล่า คือสำรวจ "ฉี่" ตัวเอง ยิ่งฉี่เหลืองอ่อนจนเกือบใส ก็แปลว่าดื่มน้ำเยอะดีแล้ว แต่ถ้าฉี่สีเข้ม แปลว่าน่าจะขาดน้ำ ให้ดื่มมากขึ้น [12]
  5. เป็นไข้หวัดใหญ่แล้วจะไม่หายกะทันหัน ต้องรอจนอาการดีขึ้นเรื่อยๆ เอง ปกติอาการจะอยู่ประมาณ 7 - 10 วัน แต่ถ้าเป็นนานกว่านั้น กระทั่งนานกว่า 2 อาทิตย์ ให้รีบไปหาหมอ โดยเฉพาะถ้ามีอาการดังต่อไปนี้
    • หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก
    • อยู่ๆ ก็มึนงง วิงเวียน
    • อาเจียนหนัก หรืออาเจียนเรื่อยๆ
    • ชักเกร็ง
    • อาการไข้หวัดใหญ่ที่ตอนแรกดีขึ้น แต่ก็กลับมาไข้สูงหรือไอหนักอีก
    • คนป่วยเป็นเด็ก แล้วมีอาการผิดปกติทางสมอง (เช่น ง่วงซึมกว่าปกติ/ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหมือนปกติ)
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ซื้อยากินเอง หรือกินยาตามหมอสั่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยาแก้คัดจมูก ช่วยให้หลอดเลือดในเยื่อบุโพรงจมูกที่ตอนแรกบวมหดตัวลง ทำให้จมูกโล่ง หายใจสะดวกขึ้น ยากินแก้คัดจมูกที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาจะเป็นยาเม็ด คือ phenylephrine เช่น Sudafed PE และ pseudoephedrine เช่น Sudafed
    • กินยาแก้คัดจมูกแล้วมักเกิดผลข้างเคียงคือนอนไม่หลับ วิงเวียน หัวใจเต้นแรง และความดันสูงขึ้น
    • อย่ากินยาแก้คัดจมูก ถ้าเป็นโรคหัวใจหรือความดัน ส่วนคนเป็นเบาหวาน ไทรอยด์ ต้อหิน หรือโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก ต้องให้คุณหมอเป็นผู้พิจารณาว่ากินได้ไหม [13]
  2. คุณซื้อยาพ่นแก้คัดจมูกมาใช้เองได้ พ่นแล้วจะจมูกโล่งขึ้นทันที พ่นแค่ 1 - 2 ครั้งก็พอ
    • ตัวยาที่ใช้พ่นแก้คัดจมูกก็เช่น oxymetazoline, phenylephrine, xylometazoline และ naphazoline
    • พ่นจมูกได้บ่อยเท่าที่คำแนะนำที่ฉลากบอก แต่ถ้าใช้ติดต่อกันเกิน 3 - 5 วัน อาจทำให้แน่นจมูกหลังเลิกใช้ อาการแบบนี้เรียกว่า "rebound effect" หรืออาการตีกลับ [14]
  3. ถ้ามีไข้หรือเจ็บปวดตรงไหน ให้ซื้อยาแก้ปวดลดไข้กินเองได้เลย ตัวยาหลักๆ คือ acetaminophen ใน Tylenol หรือยากลุ่ม NSAID (ยาแก้ปวดแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) เช่น ibuprofen และ naproxen
    • ยากินยากลุ่ม NSAID ถ้าเป็นกรดไหลย้อนหรือมีแผลในกระเพาะอาหาร เพราะยาพวกนี้จะทำให้คุณปวดท้อง และถ้าปกติคุณกินยากลุ่ม NSAID แก้โรคอื่น เช่น ลิ่มเลือด หรือข้ออักเสบอยู่แล้ว ให้ปรึกษาคุณหมอก่อนกินยาตัวใหม่
    • ยาที่ใช้แก้หลายอาการในตัวเดียว มักมี acetaminophen แบบนี้ต้องกินตามปริมาณที่แนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะถ้าเกินขนาดจะเป็นพิษต่อตับได้ [15]
    • ห้ามให้เด็กเล็กกระทั่งวัยรุ่นกินแอสไพริน โดยเฉพาะ กรณีที่เด็กมีอาการไข้หวัดใหญ่ เพราะอาจทำให้เป็นโรคตับวาย (Reye's Syndrome) ได้
  4. ถ้าไอหนักจนทรมาน ก็กินยาแก้ไอ ปกติยาแก้ไอจะมีตัวยา dextromethorphan กับ codeine ซึ่งตัวหลังคุณหมอต้องเป็นคนสั่งจ่าย ส่วน dextromethorphan จะเป็นยาเม็ดหรือยาน้ำ บางทีก็ออกฤทธิ์ขับเสมหะด้วย
    • ยาแก้ไอมักมีผลข้างเคียงคือง่วงซึมและท้องผูก
    • ปริมาณที่แนะนำจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและฤทธิ์ของยา เพราะงั้นต้องกินตามหมอสั่งหรือคำแนะนำที่ฉลากอย่างเคร่งครัด [16] [17]
  5. อีกอาการที่พบบ่อยของคนเป็นไข้หวัดใหญ่ ก็คือแน่นหน้าอก แก้ได้โดยกินยาขับเสมหะ เพราะช่วยลดเมือก มูก และเสมหะทั้งหลายที่คั่งอยู่ในอก ทำให้คุณหายใจสะดวกขึ้น จากไอแห้งกลายเป็นไอมีเสมหะ (จะได้ขับออกมา) ยาแก้หวัดและไข้หวัดใหญ่ตามร้านขายยาหลายตัวจะมีฤทธิ์ขับเสมหะ มีขายทั้งแบบน้ำ เม็ดเจล และยาเม็ดธรรมดา
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าควรกินตัวไหนดี ให้ปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกร รวมถึงสอบถามผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยาขับเสมหะด้วย เช่น ง่วงซึม อาเจียน และคลื่นไส้ [18]
  6. ยาที่คุณหาซื้อได้เองตามร้านขายยา มีหลายตัวเลยที่รวมยาหลายชนิดไว้ในตัวเดียว สะดวกสำหรับคนที่เป็นทีเดียวหลายอาการ ส่วนใหญ่จะเป็นลูกผสมระหว่างยาลดไข้กับยาแก้ปวด เช่น acetaminophen, ยาแก้คัดจมูก, ยาแก้ไอ และบางทีก็มียาแก้แพ้ (antihistamine) ด้วย ช่วยให้หลับสบายขึ้น
    • ถ้ากินยารวมแบบนี้ ระวังอย่าไปกินยาตัวอื่นเพิ่มอีก เพราะอาจออกฤทธิ์ซ้ำกัน จะกลายเป็นกินยาเกินขนาดไป [19]
    • ยารวมแบบนี้ก็เช่น Tylenol Cold Multi-Symptom, Robitussin Severe Multi-Symptom Cough Cold & Flu Nighttime, DayQuil Cold & Flu และอื่นๆ
  7. ปกติ "flu" ก็คือไข้หวัดที่รุนแรงกว่าหวัดปกติ ส่วน "Influenza" จะเป็นชื่อไวรัส (ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A หรือ B) ที่เป็นแล้วอาการหนัก อาจถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กอ่อนและคนชรา ถ้าคุณหมอวินิจฉัยว่าคุณมีไวรัสไข้หวัดใหญ่ ก็มักจ่ายยาต้านไวรัสให้สมาชิกในครอบครัวกันไว้ก่อน โดยเฉพาะคนในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง หรือคนชราอายุ 65 ปีขึ้นไป ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่จะช่วยบรรเทาอาการ ทำให้คุณหายเร็วขึ้นอีก 1-2 วัน ป้องกันไม่ให้คุณแพร่เชื้อให้คนในบ้านหรือคนรอบตัว นอกจากนี้ยังลดอาการแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ด้วย [20] ยาต้านไวรัสที่นิยมใช้กันก็เช่น [21]
    • Oseltamivir (Tamiflu)
    • Zanamivir
    • Amantadine
    • Rimantadine
  8. ถ้าจะให้เห็นผล ต้องกินยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการ และกินติดต่อกันนาน 5 วัน แต่ก็มีไวรัสไข้หวัดใหญ่หลายชนิดเหมือนกันที่เริ่มดื้อยา รวมถึงสายพันธุ์ใกล้เคียงด้วย ปกติจะไม่ค่อยพบ แต่ถ้ากินยาต้านไวรัสแล้วมีอาการข้างเคียง ก็จะเป็น [22]
    • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
    • วิงเวียน
    • คัดจมูก น้ำมูกไหล
    • ปวดหัว
    • ไอ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีรักษาทุกโรคในโลกนี้ได้แบบเห็นผลที่สุด ก็คือการป้องกันแต่แรก ใครที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ก็ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะคนที่เสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ รวมถึงคนที่ต้องพบปะพูดคุยกับกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงวัย 65 ปีขึ้นไป เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ (เช่น อยู่ระหว่างการให้คีโม) หรือคนที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด หรือเบาหวาน ถ้าคุณเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วย หรือผู้ดูแลของคนในกลุ่มเสี่ยงตามที่ว่า ก็ต้องรีบพาไปฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แต่เนิ่นๆ
    • ถ้าเป็นประเทศในซีกโลกเหนือ ไข้หวัดใหญ่จะชอบระบาดช่วงฤดูหนาว (ตุลาคม - พฤษภาคม) โดยระบาดหนักสุดช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ แต่ถ้าเป็นประเทศเขตร้อนอย่างเรา มักระบาดช่วงกลางปี (เมษายน - กันยายน) [23] ช่วงที่ว่านี้ (แต่จริงๆ ก็มีเรื่อยๆ) จะหาวัคซีนฉีดได้ง่าย ทั้งตามคลินิก โรงพยาบาล และอนามัย ประกันส่วนใหญ่ก็ครอบคลุม
    • รีบฉีดวัคซีน 2-3 อาทิตย์ก่อนฤดูไข้หวัดใหญ่ระบาด เพราะวัคซีนต้องทิ้งช่วงตามนั้นกว่าจะออกฤทธิ์ โดยสร้างสารภูมิต้านทาน (antibody) ให้ร่างกายต่อต้านไข้หวัดใหญ่ได้ ซึ่งภายใน 2 อาทิตย์นั้นก็ยังเสี่ยงติดเชื้อได้อยู่
    • ถ้ามีอาการคล้ายจะเป็นไข้หวัดใหญ่แต่ไม่มาก ก็ฉีดวัคซีนได้เหมือนกัน บางคนก็เชื่อว่าถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่แล้วไม่ควรฉีดวัคซีน แต่จริงๆ แล้วผิดถนัด
    • ฉีดวัคซีน 1 ครั้งใช้ป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ 1 ฤดู สรุปแล้วคือต้องฉีดซ้ำทุกปี แถมฉีดทีก็ป้องกันได้เฉพาะบางสายพันธุ์ [24]
    • ปกติบริษัทยาที่ผลิตวัคซีนจะร่วมกันค้นคว้าวิจัยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาว่าไวรัสไข้วัดใหญ่สายพันธุ์ไหนที่มีแนวโน้มจะระบาดในปีนั้นๆ และผลิตวัคซีนให้ครอบคลุม บางปีก็คาดการณ์ผิด เลยทำให้วัคซีนไม่มีผล เพราะไม่ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ระบาดในปีนั้น
  2. นอกจากยาฉีดแล้ว ยังมีวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบพ่นจมูกด้วย สะดวกสำหรับบางคน แต่ก็อันตรายกับคนอีกกลุ่มเหมือนกัน เคสที่ห้ามใช้วัคซีนแบบพ่นจมูกก็คือ
    • เด็กกว่า 2 ขวบ หรือสูงวัยกว่า 49 ปี
    • เป็นโรคหัวใจ
    • เป็นโรคปอดหรือหอบหืด
    • เป็นโรคไตหรือเบาหวาน
    • เคยมีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกัน
    • ตั้งครรภ์อยู่
    • เป็นโรคระบบทางเดินหายใจอยู่ เช่น น้ำมูกไหล ไอ และอื่นๆ
  3. บางทีฉีดวัคซีนแล้วอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เพราะงั้นก่อนจะฉีดหรือพ่นวัคซีน ให้ปรึกษาคุณหมอก่อนถ้าคุณ
    • แพ้หรือเคยแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือแพ้ไข่มาก่อน เพราะถ้าแพ้ไข่ จะต้องฉีดวัคซีนตัวอื่น
    • ป่วยอยู่หรือป่วยหนักและมีไข้ แบบนี้ต้องรอจนหายดีแล้วค่อยฉีด
    • เป็นโรคระบบประสาทชนิดหายาก อย่าง Guillain-Barré syndrome เพราะภูมิคุ้มกันจะต่อต้านระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ของตัวเอง (แพ้ภูมิตัวเอง)
    • เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
  4. จริงอยู่ว่าวัคซีนช่วยปกป้องคุณจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีผลข้างเคียง เช่น
    • ปวด บวม บริเวณที่ฉีดวัคซีน
    • ปวดหัว
    • มีไข้
    • คลื่นไส้
    • มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เล็กน้อย [25]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ป้องกันไม่ให้กลับไปเป็นหวัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ดีที่สุด ก็คือไม่ไปคลุกคลีกับคนที่เป็น เช่น ไม่แตะต้องสัมผัสบริเวณริมฝีปาก เพราะงั้นก็ห้ามจุ๊บหรือกอดรัดฟัดเหวี่ยงกับคนเป็นไข้หวัดใหญ่ รวมถึงระวังคนป่วยไอจามใส่ บอกเลยว่าของเหลวทุกชนิดในร่างกายแพร่เชื้อได้ทั้งนั้น
    • อย่าแตะต้องสัมผัสพื้นผิวที่คนป่วยจับ เพราะเต็มไปด้วยเชื้อโรค
  2. ล้างมือให้สะอาดนี่แหละป้องกันได้ทุกโรค ถ้าต้องอยู่ในที่สาธารณะหรือใกล้คนป่วย ให้ล้างมือบ่อยๆ พกเจลแอลกอฮอล์หรือทิชชู่เปียกติดตัวไว้ เผื่อไม่มีห้องน้ำ กองควบคุมโรค หรือ Center for Disease Control (CDC) แนะนำว่าให้ล้างมือตามขั้นตอนต่อไปนี้
    • ล้างมือด้วยน้ำสะอาดที่ไหลตลอด (น้ำก๊อก) จะน้ำร้อนหรือเย็นก็ตามสะดวก ต่อมาปิดก๊อกแล้วฟอกสบู่
    • ถูสองมือให้ขึ้นฟอง อย่าลืมฟอกหลังมือและตามซอกนิ้วซอกเล็บด้วย
    • ถูมืออย่างน้อย 20 วินาที วิธีจับเวลาแบบง่ายๆ ก็คือให้ร้องเพลง "Happy Birthday" จบ 2 รอบ
    • เปิดก๊อกแล้วล้างสบู่ให้หมดจดด้วยน้ำอุ่น
    • เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าแห้งสะอาด หรือจะใช้เครื่องเป่ามือก็แล้วแต่ [26]
  3. ถ้าดูแลร่างกายดีๆ แต่แรก ระบบภูมิคุ้มกันก็จะแข็งแรง ต้านเชื้อได้ด้วยตัวเอง ให้คุณกินอาหารดีมีประโยชน์ เน้นผักผลไม้ ลดน้ำตาลและไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว (saturated fat)
    • วิตามินซีเป็นสุดยอดวิตามินช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แต่จะบรรเทาอาการได้แค่ไหนยังต้องศึกษาเพิ่มเติมกันต่อไป แต่กินอาหารอุดมวิตามินซีและวิตามินอื่นๆ ไว้ก็ไม่เสียหาย ให้เพิ่มผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม เกรปฟรุต ไปจนถึงแคนตาลูป มะม่วง มะละกอ แตงโม บร็อคโคลี่ พริกหยวก พริกขี้หนู และผักใบเขียว [27]
  4. ฝึก โยคะ ไทชิ หรือ นั่งสมาธิ ก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้ทุกวัน ถ้าเครียดจัดเมื่อไหร่ ต้องหาเวลาคลายเครียดประจำวัน ถึงจะดีต่อร่างกาย แค่ครั้งละ 10 นาทีก็ยังดี จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง
  5. ถ้านอนน้อยเป็นนิสัย จะส่งผลเสียหลายอย่าง เช่น ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ [30] จะแข็งแรงสุขภาพดีได้ต้องนอนหลับให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยผู้ใหญ่ทั่วไปให้นอน 7.5-9 ชั่วโมงต่อวัน [31]
  6. มีงานวิจัยที่ชี้ว่าการออกกำลังกายทำให้ไม่ค่อยเป็นหวัด แถมฉีดวัคซีนแล้วยิ่งเห็นผล ให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกหนักปานกลาง อย่างน้อย 30 นาที หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำให้ได้เกือบทุกวัน ร่างกายจะแข็งแรงสุขภาพดี ต้านได้สารพัดเชื้อ
    • จริงๆ นักวิชาการก็ยังฟันธงกันไม่ได้ ว่าทำไมและยังไง แต่มี 2-3 ทฤษฎีที่ว่าการออกกำลังกายช่วยต้านแบคทีเรียและไวรัส เพราะไปขับแบคทีเรียออกทางปอด ปัสสาวะ และเหงื่อ นอกจากนี้ยังชี้ว่าการออกกำลังกายช่วยให้ลำเลียงแอนติบอดีและเซลล์เม็ดเลือดขาวไปทั่วร่างกายได้เร็วขึ้น ตรวจจับความผิดปกติของร่างกายได้แต่เนิ่นๆ และอุณหภูมิที่สูงขึ้นของร่างกายจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย [32]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พักผ่อนอยู่บ้าน ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เยอะๆ
  • นอนพักเยอะๆ
  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเข้าไว้! บางทีที่คุณป่วยก็เพราะร่างกายขาดวิตามิน
  • ยังไม่มีหลักฐานมารองรับชัดเจน ว่าอาหาร อาหารเสริมบางชนิด หรือสมุนไพร ช่วยป้องกันรักษาไข้หวัดใหญ่ได้
  • ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วอาเจียน อย่าเพิ่งรีบดื่มน้ำ ให้รอประมาณ 10 นาทีจนร่างกายฟื้นตัว น้ำขิงจินเจอร์เอลก็ช่วยบรรเทาท้องไส้ปั่นป่วนได้
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/in-depth/cold-remedies/art-20046403
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/flu/basics/lifestyle-home-remedies/con-20035101
  3. http://www.healthline.com/symptom/dark-urine
  4. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682619.html
  5. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a608026.html
  6. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a681004.html
  7. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682492.html
  8. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682065.html
  9. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a682494.html
  10. http://www.drugs.com/mtm/multi-symptom-nighttime-cold-flu-relief.html
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/flu/basics/treatment/con-20035101
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/flu/basics/treatment/con-20035101
  13. http://www.cdc.gov/flu/antivirals/whatyoushould.htm
  14. http://www.cdc.gov/flu/about/season/flu-season.htm
  15. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/flu/in-depth/flu-shots/art-20048000?pg=2
  16. http://healthline.com//health/flu-shot-side-effects?pb=true&utm_expid=54494492-12.A9dzFrQpStmm-Ogq3kOrrA.1&utm#FluShots1
  17. http://www.cdc.gov/handwashing/
  18. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002404.htm
  19. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1361287/
  20. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress/art-20046037
  21. http://www.helpguide.org/articles/sleep/how-much-sleep-do-you-need.htm
  22. http://www.helpguide.org/articles/sleep/how-much-sleep-do-you-need.htm
  23. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/007165.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,992 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา