ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในชีวิตของเรา เราจะเจอคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเป็นเพื่อน คนในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน คนประเภทนี้ทำให้เราประสาทเสียได้ ไม่ว่าจะถกกันเรื่องอะไร คนพวกนี้ก็จะรีบเสนอตัวเป็น "ผู้เชี่ยวชาญ" และแสดงความรู้ที่ลึกซึ้งให้กับใครก็ตามที่ยอมรับฟัง ในการรับมือกับคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่นั้น คุณจะต้องตัดสินใจว่าคุณอยากจะเผชิญหน้ากับเขาไหม หรือจะแค่เรียนรู้ที่จะยอมรับเขาในแบบที่เขาเป็น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เผชิญหน้ากับคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถามตัวเองว่า จำเป็น จะต้องเผชิญหน้ากับพฤติกรรมนี้ไหม. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่ชอบเอาความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องเลือกสนามรบอย่างชาญฉลาดเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่ตกอยู่ในสงครามน้ำลายเวลาที่คนพวกนี้บังเอิญมาเจอคุณ คุณก็ไม่จำเป็นต้องรับมือกับทุกคำวิจารณ์ที่น่ารำคาญ และการพยายามจะเผชิญหน้ากับคนแบบนี้ก็อาจจะไม่ได้มีประโยชน์กับคุณด้วย
    • ความคิดเห็นนี้มีค่าพอที่จะโต้เถียงหรือเปล่า บางความคิดเห็นอาจจะน่ารำคาญจริงแต่ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเถียงด้วย เช่น กลุ่มคนรักนิยายวิทยาศาสตร์อาจจะแทบไม่เคยเห็นตรงกันเลยว่าระหว่าง Star Wars กับ Star Trek เรื่องไหนดีกว่ากัน และนิยายอิงความจริงที่ตายยากพวกนี้ก็ไม่ได้เสื่อมความนิยมไปไม่ว่าอีกฝ่ายจะโต้เถียงอย่างไรก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้วมันก็เป็นเรื่องของความคิดเห็นส่วนบุคคล
    • คุณจะชนะการต่อสู้ครั้งนี้หรือเปล่า การต่อสู้ในสนามรบที่ดีถือเป็นการกระทำที่น่าสรรเสริญ แต่มันก็มีสถานที่และสถานการณ์ที่การกระทำของคุณไม่ได้เปลี่ยนใจใครและคุณเองก็จะได้รับผลกระทบที่ค่อนข้างลบ (หรือที่แย่กว่านั้นก็คือ คนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต้องมารับผลกระทบด้วย) ในระหว่างนั้น ซึ่งรวมถึงในแง่ของพลังงาน เวลา และอารมณ์ของคุณด้วย
    • ความคิดเห็นนี้ทำร้ายใครหรือเปล่า ตามปกติแล้วการว่าคนอื่นว่าเป็นพวกเหยียดเชื้อชาติ เหยียดเพศ อันธพาล หรือบอกว่าการกระทำหรือคำพูดของเขาเป็นอันตรายถือเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่การว่าคนอื่นเพราะว่าเขามีความคิดเห็นที่แตกต่างอาจไม่ถูกต้องนัก
  2. คนเรามักจะไม่พอใจมากๆ หากมีใครหักหน้าเราในที่สาธารณะ ซึ่งอาจจะทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก ถ้าเหมาะสมและเป็นไปได้ ให้ปลีกตัวคนๆ นั้นออกมาและคุยกันเป็นการส่วนตัว การสนทนาในที่สาธารณะมีแต่จะทำให้เกิดความขายหน้าและทำร้ายจิตใจกัน [1]
    • รักษาน้ำเสียงที่สุภาพ น้ำเสียงและทัศนคติเป็นสิ่งสำคัญถ้าคุณจะเริ่มพูดถึงประเด็นในสถานการณ์กับคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ น้ำเสียงของคุณจะต้องไม่โกรธหรือเหน็บแนม และพูดนิ่มๆ โดยไม่แสดงท่าทีคุกคาม ถ้าอีกฝ่ายโกรธ อย่าขึ้นเสียงและอย่าร้อนใจไปกับเขาด้วย
    • ขณะมีปฏิสัมพันธ์กันให้คุณใจเย็นๆ และสำรวมเข้าไว้ การแสดงท่าทีเอาชนะและคุกคามเป็นวิธีที่แย่ที่สุดในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ วิธีนี้จะนำไปสู่เกมการแข่งขันเพื่อพิสูจน์ว่าใครรู้ดีกว่ากันหรือว่าใครจะควบคุมอีกฝ่ายได้เสมอ ซึ่งจะไม่มีใครชนะในสถานการณ์แบบนี้
  3. คุณไม่สามารถตั้งมาตรฐานให้คนอื่นสูงกว่ามาตรฐานที่คุณสร้างให้ตัวเองได้ เพราะฉะนั้นสำหรับพวกที่รู้ดีทุกอย่าง คุณก็ควรสร้างรูปแบบการสนทนาที่ว่าคุณไม่ได้รู้ทุกสิ่งและคุณก็รู้ว่า การยอมรับข้อเสียของตัวเองนั้นไม่ใช่สัญญาณของความอ่อนแอ
    • ใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ฉัน” แทนประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “คุณ” แม้ว่าคุณจะรู้สึกว่าอีกคนกำลังสร้างปัญหา คุณก็ควรยั้งปากไม่ให้พูดเชิงกล่าวโทษออกมา แต่ให้สร้างกรอบประเด็นจากมุมมองของคุณแทน
      • “ฉันถูกคุณพูดขัดมาหลายครั้งแล้วตอนนี้” นั้นดีกว่าการพูดว่า “คุณพูดตลอดเวลาแล้วก็ไม่ให้เกียรติฉันเลย” [2]
    • ฟังให้มากเท่ากับที่คุณพูด เพราะเป็นไปได้ว่าคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่จะโกรธหรือไม่พอใจที่คุณเผชิญหน้ากับเขาหรือเธอ ถ้าเป็นอย่างนั้น ให้หายใจลึกๆ ฟังสิ่งที่เขาพูดและไม่พูดขัด ถ้าคุณจำเป็นต้องเดินออกมาก่อนที่บทสนทนาจะคุกรุ่นไปมากกว่านี้ ก็อย่ากลัวที่จะเดินออกมา
    • ฝึกการฟังเชิงรุก [3] ถ้าอีกฝ่ายไม่พอใจและพยายามจะอธิบายมุมมองของเขาหรือเธอ ให้พูดสิ่งที่อีกฝ่ายพูดซ้ำเพื่อพิสูจน์ว่าคุณได้ยินคำพูดถูกต้อง
      • คุณอาจจะพูดประมาณว่า “ฉันได้ยินคุณพูดว่า คุณไม่ได้อยากจะทำให้ฉันไม่พอใจและฉันก็ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ แต่สิ่งที่คุณกำลังพูดอยู่มันเป็น [การเหยียดเพศ, การเหยียดเชื้อชาติ, การพูดพล่อยๆ, การทำร้ายจิตใจคนอื่น] ซึ่งฉันไม่ชอบเลย” [4]
  4. แม้ว่าคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่จะเป็นตัวตลกที่ไม่รู้อะไรในสิ่งที่เขาหรือเธอกำลังโม้อยู่เลย แต่คุณก็ควรปฏิบัติต่อคนๆ นี้ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งด้วยความเชื่อและความรู้สึกอย่างจริงใจ
    • นอกจากนี้การถามคำถามยังเป็นการแสดงการให้เกียรติด้วย คนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่มักจะไม่มองข้ามความสนใจของคุณถ้าคุณดูเหมือนกำลังพยายามทำความเข้าใจมุมมองของพวกเขาอยู่
      • ตัวอย่างคำถามขณะเผชิญหน้าก็เช่น "ฉันจะสื่อสารกับคุณให้ดีกว่านี้ได้ยังไงคะ" หรือ "คุณคิดว่าต้องทำยังไงเราสองคนถึงจะพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการทำงานได้"
    • ป้องกันตัวเองด้วยข้อเท็จจริง เมื่อเผชิญหน้ากับคนที่เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ คุณต้องแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมของเขาสร้างความเสียหายต่อคนอื่นรวมทั้งตัวคุณอย่างไร บอกข้อมูลตามความเป็นจริงที่ชี้ให้เห็นอย่างละเอียดว่า การร่วมมือในที่ทำงานถูกลดทอนอย่างไรเมื่อคนใดคนหนึ่งเป็นคนคุมงานทั้งหมด หรือมิตรภาพต้องแตกหักอย่างไรเมื่อคนไม่เห็นคุณค่าของเสียงๆ หนึ่ง [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รับมือกับคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในบางกรณี เช่น เวลาที่คนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่อยู่ในตำแหน่งของผู้ที่มีอำนาจเหนือคุณ คุณก็มีตัวเลือกไม่มากนักนอกจากจะทำให้สถานการณ์ที่เลวร้ายออกมาดีที่สุด
    • ปรับกรอบบทสนทนาให้ออกจากหัวข้อที่ทำให้คุณไม่สบายใจ ถ้าคุณไม่อยากจะพูดถึงเรื่องที่คนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่พูดขึ้นมา ให้เปลี่ยนจุดสนใจของบทสนทนาไปที่หัวข้อที่คุณสบายใจที่จะคุยด้วยมากกว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่คุณสนใจเลยก็ได้ แค่หันเหบทสนทนาไปจากหัวข้อที่ละเอียดอ่อน ถามเขาเรื่องครอบครัวหรือความสนใจแทน
  2. ถ้าคุณรู้ว่าคุณจะต้องใช้เวลากับคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ คิดแผนที่จะทำให้คุณใช้เวลาด้วยกันให้น้อยที่สุด [6]
    • ที่ทำงานคุณก็อาจจะเลี่ยงบริเวณที่คนๆ นี้อยู่หรือเตรียมคำตอบไว้เพื่อที่คุณจะได้ขอตัวและออกจากสถานการณ์นั้นได้ ในงานรวมญาติให้คุณวางแผนกิจกรรมที่ทำให้คุณสามารถเลี่ยงการสนทนาต่อหน้ากันได้
  3. ถ้าคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ยืนกรานที่จะพูดเรื่องศาสนา การเมือง เงิน หรือหัวข้ออะไรก็ตามแต่ที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ ให้พยายามบอกคนๆ นั้นเป็นการส่วนตัวว่าคุณไม่ชอบคุยเรื่องพวกนี้ และจะขอบคุณมากถ้าเขาเลี่ยงหัวข้อพวกนี้
    • หนักแน่น ถ้าคนๆ นั้นยังพูดถึงเรื่องพวกนั้นไม่เลิก ให้เตือนเขาหรือเธอว่าคุณไม่อยากคุยเรื่องนั้น เช่น "ฉันดีใจที่คุณมีศรัทธามากขนาดนั้น แต่ฉันรู้สึกว่าความเชื่อในพระเจ้าของฉันเป็นเรื่องส่วนตัว และฉันก็อยากจะพูดเรื่องอื่นมากกว่า"
    • พูดประมาณว่า “ฉันรู้ว่าคุณมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างแรงกล้า แต่หัวข้อนี้ทำให้ฉันอึดอัด ฉันไม่อยากคุยเรื่องนี้จริงๆ”
    • หรือจะแค่เบี่ยงเบนความสนใจ "มาคุยเรื่องเบาๆ กันบ้างดีไหม เจ้าตัวน้อยของคุณเป็นยังไงบ้าง"
  4. [7] ถ้าคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ให้คำแนะนำหรือพยายามจะบอกคุณว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ดีกว่าอยู่เสมอ ก็แค่ตอบไปอย่างให้เกียรติว่า “ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ” หรือ “ขอบคุณที่ชี้แนะนะคะ” ถ้าเขาหรือเธอพูดถูก คุณก็ต้องอยากทำตามคำแนะนำอยู่แล้ว แต่ถ้ามันไม่ถูก คุณก็แค่ลืมๆ มันไปและทำในสิ่งที่ดีที่สุด
    • ตระหนักว่าคุณอาจจะพบว่าตัวเองมีปฏิกิริยาต่อต้านคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ อาจมีบางครั้งที่คนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่เขารู้ในสิ่งที่เขาหรือเธอกำลังพูดอยู่ จริงๆ แต่เขาหรือเธอกลับแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่ไม่น่าพอใจหรือเหมือนควบคุมคนอื่น ในกรณีแบบนี้คุณอาจจะอยากทำเป็นไม่สนใจคำแนะนำเพื่อแสดงออกว่าคุณไม่พอใจ อย่าให้ความโกรธมาครอบงำการตัดสินของคุณ
    • ระงับความรู้สึกที่อยากจะแสดงความไม่พอใจอย่างเงียบๆ แม้ว่าคุณจะไม่ถึงขั้นตะโกนใส่หน้าคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ แต่คุณก็อาจจะอดกลอกตาใส่หรือพึมพำคำวิจารณ์ที่ไม่ให้เกียรติขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ การทำแบบนี้มีแต่จะเพิ่มความตึงเครียดระหว่างคุณกับคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

มองคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ในมุมที่ต่างออกไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายคนได้รับการสั่งสอนมาว่า อย่ามีหรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น การอยู่ท่ามกลางคนที่ไม่เพียงแต่มีความคิดเห็นที่ชัดเจนแต่ยังเต็มใจที่จะแสดงข้อเท็จจริงนั้นอย่างตรงไปตรงมาย่อมสร้างความอึดอัดใจได้ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเขาหรือเธอคิดว่าการถกกันออกรสเป็นเรื่องสนุกจนถึงขั้นต้องหาเรื่องมาถกทั้งที่ไม่มีใครอยากถกด้วย ก็อาจจะมีที่มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน :
    • ความแตกต่างทางวัฒนธรรม บางวัฒนธรรมไม่ได้ให้ความสำคัญกับการถกเถียงกันอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาในเรื่องที่ละเอียดอ่อน ในขณะที่บางวัฒนธรรมถือว่าการไม่พูดออกมาตรงๆ นั้นเป็นเรื่องหยาบคาย
    • การอบรมสั่งสอนตามเพศ ผู้หญิงมักจะได้รับการอบรมสั่งสอนให้เงียบและเคร่งขรึม ไม่เข้าสังคมมากนักและไม่พูดจาโผงผางมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงที่พูดตรงและเปิดเผยมักถูกมองว่าเป็นพวกชอบบงการ ในขณะที่ผู้ชายถ้าทำแบบเดียวกันนี้มักได้รับการประเมินในเชิงบวกมากกว่า
    • การอบรมสั่งสอนจากครอบครัว บางครอบครัวสอนให้เด็กกล้าแสดงความคิดเห็น ในขณะที่บางครอบครัวสอนว่าเป็นเด็กก็ต้องอยู่ส่วนเด็ก ลำดับการเกิดก็อาจสร้างความแตกต่างได้ด้วยเช่นกัน
    • ความแตกต่างทางบุคลิกภาพ บางคนก็อาจจะเข้ากับคนอื่นได้ง่ายและชอบตัดสินคนอื่นมากกว่า ในขณะที่บางคนก็ให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและเปิดใจกว้างมากกว่าที่จะประเมินเรื่องที่ยากและรวดเร็ว ไม่มีบุคลิกแบบไหนที่ดีไปกว่ากัน เพราะบุคลิกที่เหมาะกับการเป็นผู้พิพากษาก็อาจจะไม่ใช่บุคลิกแบบเดียวกับคนที่เหมาะจะเป็นเจ้าอาวาส
  2. คนแต่ละคนไม่สามารถเห็นด้วยในเรื่องเดียวกันเป๊ะๆ และบางครั้งเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะรับมือสำหรับบางคน ทำไมเขาหรือเธอถึงรู้สึกแบบนี้ได้นะ มันไม่ถูกเลย! แต่สิ่งที่คุณต้องจำไว้ก็คือ :
    • การมีความคิดเห็นที่แตกต่างไม่ได้หมายความว่าเขาหรือเธอต้อยต่ำไปกว่าคุณ ความคิดเห็นเป็นคนละเรื่องกับตัวตน คนๆ นี้อาจจะมีความคิดเห็นเหมือนกันกับคุณ แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำให้คนๆ นี้ดีกว่าคนอื่นๆ ที่มีความคิดเห็นต่างกัน
    • การรับฟังไม่ได้หมายความว่าเห็นด้วย แค่การรับฟังมุมมองของคนๆ หนึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณเห็นด้วยกับเขาหรือเธอ มันแค่หมายความว่าคุณได้ยินสิ่งที่เขาหรือเธอพูดออกมาเฉยๆ
    • คุณไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมการถกเถียงทุกครั้งที่มีคนชวน บางคนก็มีชีวิตอยู่เพื่อถกเถียง แต่นั่นก็เป็นเรื่องน่าเหนื่อยหน่ายอยู่เหมือนกัน และคุณก็จะไม่ชนะทุกครั้ง และถ้าคุณจะปล่อยผ่านการถกเถียงบ้างก็ไม่เห็นเป็นไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณแทบไม่ได้หรือไม่ได้อะไรเลย หรือไม่ได้เสียอะไรไปมากนัก
  3. ตระหนักว่าคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่อาจไม่รู้ว่าตัวเองเป็นแบบนั้น. ส่วนใหญ่คนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่มักจะไม่ได้ตั้งใจทำให้คนอื่นไม่พอใจ และอาจสงสัยว่าทำไมคนอื่นถึงหลบหน้าเขา ถ้าคุณแสดงความเข้าอกเข้าใจแทนการตัดสิน คุณอาจเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เขาเข้าใจสถานการณ์ของเขาได้ดีขึ้น
  4. ถ้าคุณไม่ชอบคนๆ นั้นไปแล้ว มันก็คงยากที่จะอยากรู้จักเขาหรือเธอให้มากขึ้น แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น ให้พยายามมองคนๆ นี้ในฐานะคนๆ หนึ่งที่มีครอบครัว มีเพื่อนๆ และมีชีวิต ยิ่งคุณรู้จักเขาในฐานะคนๆ หนึ่งมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งแสดงความเห็นอกเห็นใจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น [8]
  5. มองคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีศักยภาพ. เนื่องจากคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่จะมีความคิดเห็นเสนอให้คุณตลอด คุณก็อาจจะใช้ประโยชน์จากความรู้อะไรก็ได้ที่เขาหรือเธอมีเพื่อประโยชน์ของตัวเอง
    • เช่น คนๆ นี้อาจจะรู้อะไรบางอย่างเกี่ยวกับวิถีในออฟฟิศที่คุณทำงานอยู่ และเปิดเผยมากพอที่จะให้ข้อมูลที่คนอื่นไม่มีทางให้คุณ ถ้าคนๆ นี้เป็นคนในครอบครัว เขาหรือเธอก็อาจจะเล่าเรื่องที่คนอื่นๆ ไม่กล้าพูดถึง คุณอาจจะประหลาดใจในสิ่งที่คุณจะได้รู้ก็ได้
  6. [9] แม้ว่าคุณจะมองว่าคนๆ นี้ไม่น่าคบ แต่คุณสองคนต้องมีความสนใจที่เหมือนกันบ้างแน่ๆ ถ้าคุณไม่อยากคุยเรื่องการเมือง คุณก็อาจจะมีความสนใจในดนตรีเหมือนกันก็ได้ หรือถ้าคุณไม่อยากคุยเรื่องกีฬา คุณก็อาจจะพูดเรื่องการผจญภัยควบคู่ไปกับเรื่องครอบครัวและการเลี้ยงลูก หาจุดที่คุณสองคนเหมือนกันและพยายามคุยเรื่องนั้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นกับการคุกคาม [10] ถ้าเพื่อนร่วมงานยังคงพูดเรื่องที่ฟังแล้วไม่เหมาะสมในทางเพศหรือคุยเรื่องที่โดยปกติแล้วถือเป็นเรื่องส่วนตัวมากๆ คุณก็ไม่ต้องไปคุยกับเขา คำพูดแบบนี้อาจทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เป็นมิตร และคุณก็มีสิทธิ์ที่จะพูดกับฝ่ายบริหาร
  • ถ้าคุณพูดเรื่องพฤติกรรมกับเพื่อนร่วมงานหรือคนรู้จักที่เกี่ยวข้องกับงานที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ออกไปตรงๆ แล้วเขาหรือเธอไม่ฟังหรือทำพฤติกรรมแบบนั้นมากกว่าเดิม คุณอาจจะต้องคุยกับใครสักคนที่มีอำนาจ ใช้การเตือน เมื่อคุณมาถึงขั้นนี้แล้ว คุณไม่สามารถคาดการณ์ผลที่จะตามมาได้ คุณอาจจะถูกมองว่าเป็นพวกชอบสร้างปัญหาหรือเรื่องเยอะ และคุณก็อาจจะทำให้ใครถูกตำหนิหรือตกงานได้
  • ถ้าคุณเริ่มจัดการความเครียดที่เกิดจากการรับมือกับคนที่ชอบเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ไม่ไหว อย่ากลัวที่จะพูดคุยกับนักบำบัด เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะมองสถานการณ์ได้อย่างไม่มีอคติในขณะที่เรายังอยู่ในสถานการณ์นั้น คนนอกที่มองสถานการณ์อย่างไม่มีอคติอาจเสนอมุมมองที่คุณไม่เห็นก็ได้


โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits
ทำให้แฟนเก่ากลับมารักคุณอีกครั้ง
รู้ว่าเมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว
รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า
ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด
ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ
พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา
หาเสี่ยเลี้ยง
ปลอบโยนแฟนสาวของคุณเมื่อเธอรู้สึกแย่
ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่
ดูว่าผู้ชายกำลังหลอกใช้คุณเพื่อเซ็กส์หรือไม่
เรียกความเชื่อใจจากเขาหรือเธอกลับมา
จบความสัมพันธ์
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,958 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา