ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การรับมือกับคนที่กำลังโกรธคุณอยู่อาจทำได้ยาก ความโกรธอาจประทุขึ้นมาในสถานการณ์ใดก็ได้ เช่น ขณะอยู่กับเพื่อน กับคนแปลกหน้า ที่บ้าน หรือระหว่างเดินทาง การเผชิญหน้าด้วยความโกรธยังอาจเกิดขึ้นได้ ระหว่างการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน กับซุปเปอร์ไวเซอร์ หรือกับลูกค้า และสิ่งนี้มีความน่าจะเป็นๆ พิเศษ หากงานของคุณเกี่ยวข้องกันโดยตรงกับสาธารณชน เช่น เป็นผู้ให้บริการ หรือเป็นผู้จัดการด้านการเงิน [1] ประสบการณ์ในเรื่องนี้อาจพบกันได้ทั่วไป แต่ก็ไม่ได้น่ายินดีและทำให้สับสน คุณไม่อาจควบคุมว่าคนอื่นจะมีปฏิกิริยากับคุณอย่างไร แต่ก็มีบางกลยุทธ์ที่สามารถใช้ได้เพื่อช่วยให้ตัวคุณปลอดภัย และควบคุมปฏิกิริยาของคุณ [2]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

ทำให้มั่นใจว่าคุณปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจไม่มีทางเลือกเสมอไปที่จะผละจากสถานการณ์โกรธเกรี้ยวได้ในทันที เช่น ลูกค้ากำลังตะโกนใส่คุณขณะกำลังทำงาน อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้สึกได้ว่ากำลังตกอยู่ในอันตราย จงออกจากสถานการณ์นั้น หรือพยายามให้มีระยะห่างมากที่สุดระหว่างคุณกับภัยคุกคาม
    • หากคุณกำลังรับมือกับบุคคลผู้โกรธเกรี้ยวที่บ้านของคุณเอง หรือในที่ทำงาน จงออกไปยังสถานที่ปลอดภัย ซึ่งจะดีมากกว่าหากเป็นสถานที่สาธารณะ หลีกเลี่ยงสถานที่ซึ่งไม่มีทางออก เช่น ห้องน้ำ หลีกเลี่ยงสถานที่ซึ่งมีสิ่งที่ใช้ทำอาวุธได้ เช่น ห้องครัว [3]
    • หากคุณกำลังรับมือกับลูกค้าผู้โกรธเกรี้ยวเพราะงานของคุณ จงพยายามให้ตัวคุณอยู่ห่างจากลูกค้าคนนั้น เช่น อยู่ข้างหลังเคาน์เตอร์ หรืออยู่ห่างในระยะเอื้อมไม่ถึง [4]
  2. คุณมีสิทธิที่จะยังคงปลอดภัยอยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของภัยคุกคาม คุณสามารถโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน หากรู้สึกว่าคุณหมิ่นเหม่ต่ออันตราย จงโทรแจ้ง 191 หรือบริการฉุกเฉินต่างๆ [5]
    • หากอยู่ ณ ที่ทำงาน จงเรียกหาบุคคลผู้มีอำนาจ เช่น ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย [6]
  3. หากสถานการณ์เครียด แต่ยังไม่อันตรายถึงขั้นเอาเป็นเอาตาย จงขอเวลานอก โดยใช้ถ้อยแถลงที่ใช้คำว่า “ผม” ตัวอย่างเช่น “ผมจำเป็นต้องขอเวลา 15 นาทีเพื่อให้ใจเย็นลงก่อนที่เราจะคุยกัน” ในระหว่างนั้น ให้ทำบางสิ่งที่ทำให้สงบใจ เพื่อควบคุมอารมณ์ของคุณเอง และให้เวลาอีกฝ่ายได้สงบใจ ก่อนจะกลับไปหารือปัญหากัน ณ สถานที่และเวลาที่ได้กำหนดไว้ [7]
    • จงใช้ถ้อยแถลงที่ใช้คำว่า “ผม” ตอนขอเวลานอก แม้แต่ในกรณีที่คุณเชื่อว่าอีกฝ่ายหนึ่งสมควรจะถูกตำหนิโดยสิ้นเชิงสำหรับสถานการณ์ดังกล่าว การพูดว่า “ผมต้องการเวลาเล็กน้อยที่จะคิด” อาจทำให้ผู้ที่โกรธคุณรู้สึกเป็นปรปักษ์น้อยลง แทนที่จะทำให้เขาหรือเธอตั้งหลักป้องกันตัวเอง
    • หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยแถลงกล่าวหา เช่น “คุณจำเป็นต้องขอเวลานอก” หรือ “ใจเย็นๆ ” แม้หากคุณรู้สึกว่าการพูดแบบนั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง ถ้อยแถลงแบบนั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเพิ่มการป้องกันตัวเองมากขึ้น และอาจทำให้เขาหรือเธอถึงกับโกรธมากกว่าเดิมได้
    • อย่ากลัวที่จะขอเวลานอกอีกครั้ง หากว่าอีกฝ่ายหนึ่งยังคงไม่เป็นมิตร หรือยังคงโกรธอยู่ ตามหลักการนั้น คุณทั้งสองฝ่ายจะทำบางสิ่งเพื่อให้สงบลง และปลอบประโลมใจตัวคุณในระหว่างขอเวลานอก
    • หากการขอเวลานอกเพียงเล็กน้อยยังไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายหนึ่งสงบลง จงพิจารณาเสนอแนะว่าคุณจะขอเลื่อนการหารือปัญหานี้ ออกไปก่อน จนกว่าจะสามารถหาบุคคลที่สามผู้เป็นกลาง มาอยู่ด้วยตอนหารือ ซึ่งคนนี้อาจจะเป็น นักบำบัด (Therapist) ตัวแทนฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR Representative) บุคคลสำคัญด้านจิตวิญญาณ (Spiritual figure) ฯลฯ [8]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ตรวจสอบการโต้ตอบของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สถานการณ์ที่ตึงเครียด เช่น เมื่อมีคนบางคนโกรธเรา อาจกระตุ้นให้เกิดการโต้ตอบแบบ “สู้-หรือ-หนี” ซึ่งจะกระตุ้นอัตราการเต้นหัวใจของเรา แรงกระตุ้นจะทำให้คุณหายใจเร็วและตื้นๆ และส่งฮอร์โมนความเครียดให้พรั่งพรูไปทั่วร่างกาย [9] จงลดผลกระทบของการโต้ตอบแบบนี้ด้วยการหายใจลึกๆ เพื่อช่วยให้คุณยังสงบอยู่ จงจำไว้ว่า คนที่โกรธเกรี้ยวสองคนทำให้สถานการณ์ตึงเครียดเลวร้ายกว่าเดิมเป็นเท่าตัว [10]
    • สูดหายใจเข้าโดยนับหนึ่งถึงสี่ คุณสมควรจะรู้สึกว่าปอดและช่องท้องขยายออกในขณะที่คุณหายใจเข้า [11]
    • กลั้นหายใจไว้ 2 วินาที ก่อนจะค่อยๆ ผ่อนลมหายใจโดยนับ 1 ถึง 4
    • ในขณะที่หายใจออก ให้เน้นผ่อนคลายกล้ามเนื้อบนใบหน้า ลำคอ และบ่า
  2. จงมีปฏิกิริยาอย่างสงบต่อบุคคลผู้โกรธเกรี้ยว จะช่วยทำให้สถานการณ์ตึงเครียดน้อยลง การโต้ตอบด้วยความโกรธของคุณเองรังแต่จะทำให้สถานการณ์บานปลาย และตามปกติจะทำให้สิ่งต่างๆ ยิ่งเลวร้ายลง จงออกไปเดิน ทำสมาธิ และนับถอยหลังจากเลข 50 เหล่านี้คือวิธีทั้งหมดที่คุณสามารถทำให้ตัวคุณเองสงบลง [12]
  3. หลีกเลี่ยงการถือเรื่องนี้เป็นเรื่องส่วนตัว. อาจทำได้ยากมากที่จะแยกแยะความรู้สึกส่วนตัวจากการเผชิญหน้ากับผู้ที่กำลังโกรธสักคนหนึ่ง จงจำว่าความโกรธมักเป็นสัญญาณว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้เรียนรู้ที่จะโต้ตอบอย่างกล้าแสดงออก และอย่างดีต่อสุขภาพ ต่อสถานการณ์ที่เขาหรือเธอประสบเหตุในฐานะภัยคุกคาม [13] ผลการศึกษาหลายรายการได้แสดงให้เห็นว่า เวลาที่ผู้คนเตือนใจตัวเองว่า ตนไม่ได้รับผิดชอบต่อความโกรธของคนอื่นนั้น พวกเขาน่าจะรู้สึกอารมณ์เสียเพราะเรื่องนี้น้อยลง [14]
    • ความโกรธทวีความรุนแรงขึ้นเพราะหลากหลายปัจจัย ซึ่งรวมทั้งความไม่มั่นคง การขาดทางเลือก การมีพฤติกรรมหยาบคาย หรือมีการโต้ตอบที่ก้าวร้าว หรือมีการโต้ตอบต่อปัญหาแบบผู้ถูกกระทำ
    • คนเราจะรู้สึกไม่มั่นคงเมื่อมีความไม่สามารถคาดเดาได้ระดับหนึ่งในสถานการณ์หนึ่ง. เมื่อระดับพื้นฐานของความเป็นระเบียบและความมั่นคงถูกคุกคาม ผู้คนจะแสดงปฏิกิริยาด้วยความโกรธ [15]
    • คนเราอาจจะโต้ตอบอย่างเกลียดชังเมื่อรู้สึกว่ามีทางเลือกจำกัด เรื่องนี้เกิดจากความรู้สึกว่าตัวเองไร้อำนาจ เพราะมีทางเลือกน้อยหรือไม่มีเลยในสถานการณ์หนึ่ง [16]
    • เวลาที่คนเรารู้สึกว่าตนไม่ได้รับความเคารพ พวกเขาอาจมีปฏิกิริยาเพราะความโกรธ ตัวอย่างเช่น หากคุณพูดกับใครบางคนด้วยโทนเสียงที่โกรธเกรี้ยว หรือไม่เคารพต่อเวลาของบางคน เขาหรือเธออาจจะโกรธคุณได้ [17]
    • คนเราอาจจะโกรธเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น หากบางคนโกรธ จงพิจารณาความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นการโต้ตอบต่อบางสิ่งเกี่ยวกับชีวิตของเขาหรือเธอ ไม่ใช่ต่อสิ่งใดก็ตามที่คุณได้กระทำลงไป [18]
    • หากคุณได้ทำผิดต่ออีกฝ่ายหนึ่ง จงรับผิดชอบต่อการกระทำและขออภัย คุณไม่มีวันต้องรับผิดชอบต่อการโต้ตอบของอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีใคร “ทำให้” ใครอื่นโกรธได้ อย่างไรก็ตาม การยอมรับเรื่องพฤติกรรมผิดพลาดของคุณเอง อาจช่วยให้อีกฝ่ายหนึ่งจัดการกับความรู้สึกโกรธและเจ็บปวดของเขาหรือเธอ
  4. พูดด้วยโทนเสียงสงบ อย่าขึ้นเสียง หรือตะโกนตอบโต้กับบุคคลผู้โกรธเกรี้ยว จงใช้ความสงบแต่กล้าแสดงออกด้วยภาษากาย [19]
    • พยายามหลีกเลี่ยงการงอแขนหรือไขว้แขน การกระทำแบบนี้สื่อว่าคุณเบื่อ หรือปิดการสื่อสาร [20]
    • จงดูแลให้ร่างกายของคุณผ่อนคลาย จงกล้าแสดงออก กล่าวคือวางเท้าของคุณอย่างมั่นคงบนพื้น ยืนโดยดันบ่าไปข้างหลังและดันอกมาข้างหน้า จงสบตากับอีกฝ่ายหนึ่ง ภาษากายแบบนี้แสดงว่าคุณสงบและควบคุมตัวเองอยู่ แต่ก็ไม่ใช่คนที่ยอมแพ้ง่ายๆ [21]
    • มองหาการโต้ตอบแบบก้าวร้าว เช่น กำกำปั้นหรือขบกราม การละเมิด “พื้นที่ส่วนตัว” (ตามปกติคือระยะห่างสามฟุต) ของคนอื่น เป็นสัญญาณบ่งชี้เช่นกันว่าคุณอาจกำลังเริ่มจะก้าวร้าวเกินไป [22]
    • ยืนทำมุมจากผู้ที่กำลังโกรธ แทนที่จะยืนตรงข้ามโดยตรงกับเขาหรือเธอ การยืนด้วยท่าทีแบบนี้อาจรู้สึกว่าเป็นการเผชิญหน้าน้อยลง [23]
  5. อาจทำได้ยากมากที่คุณจะยังอารมณ์เย็นในตอนที่มีบางคนโกรธคุณอยู่ แต่มีความสำคัญที่คุณจะยังคงไว้ซึ่งการติดต่อสื่อสารที่สงบ และมีอารมณ์ที่มั่นคง หากคุณสังเกตว่ามีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้คืบคลานเข้ามาในปฏิกิริยาต่อกัน แสดงว่าการติดต่อสื่อสารของคุณกำลังพลาดพลั้ง และคุณจำเป็นต้องแก้ไขในทันที: [24]
    • ตะโกน
    • ข่มขู่
    • เรียกชื่อ
    • ใช้ถ้อยแถลงที่เหมือนกับเล่นละคร หรือเกินความจริง
    • ใช้คำถามที่แสดงความเกลียดชัง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่โกรธเกรี้ยว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จงรู้ว่าเมื่อไรไม่ใช่เวลาที่ดีสำหรับการพูดคุย. มีการบ่งบอกเป็นนัยทางอารมณ์และทางกายบางประการ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้หลักว่าเมื่อไรจะเกิดการติดต่อสื่อสารที่แตกสลาย ตัวบ่งชี้เหล่านี้อธิบายด้วยตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษว่า H.A.L.T. ซึ่งย่อมาจากคำว่า ความหิว (Hungry) ความโกรธ (Angry) ความเปล่าเปลี่ยว (Lonely) และความเหนื่อย (Tired) อาการเหล่านี้สามารถทำให้สถานการณ์ที่ร้อนอยู่แล้วรุนแรงมากขึ้น และขัดขวางการแก้ปัญหา แน่นอนว่า บุคคลผู้นี้โกรธคุณอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม หากความโกรธของอีกฝ่ายหนึ่งไม่ลดน้อยลง (ทั้งที่ได้ขอเวลานอกแล้ว) หรือหากถูกนำไปเชื่อมต่อกับอีกเรื่องหนึ่งในสถานการณ์อื่นๆ จะดีที่สุดที่จะเลื่อนการถกปัญหาระหว่างกันออกไป จนกว่าความจำเป็นทั้งทางอารมณ์และร่างกายของทุกคนจะได้รับการตอบสนองแล้ว เราจะถกปัญหากันสั้นๆ ว่าเหตุใดแต่ละอาการเหล่านี้จึงขัดขวางความคืบหน้าของการติดต่อสื่อสารและการแก้ปัญหา [25]
    • เวลาที่คุณประสบกับ ความหิว ทางกายภาพ ความคิดที่มีเหตุมีผลและมีความหมายจะเปล่าประโยชน์ ร่างกายของคุณมีเชื้อเพลิงต่ำ และคุณอาจพูดหรือทำอะไรก็ได้เพื่อเต็มน้ำมันให้กลับมาเต็มถัง ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าคนและสัตว์ที่หิวโหยจะยอมเสี่ยงเพิ่มขึ้น ความหิวส่งผลกระทบต่อทักษะ และพฤติกรรมด้านการตัดสินใจของเรา ซึ่งเป็นสองสิ่งที่แน่นอนว่าคุณไม่ต้องการให้หลุดจากการควบคุมในระหว่างการเผชิญหน้ากัน [26]
    • ความโกรธ เป็นอารมณ์ซึ่งมีน้อยคนเรียนรู้ที่จะแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ตามปกตินั้น ความโกรธจะแสดงออกพร้อมกับการดูถูก การเรียกชื่อ การหัวเราะเยาะ หรือแม้แต่ความรุนแรงทางกายภาพ ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ ผู้คนมักแสดงความโกรธ ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น พวกเขากำลังเจ็บปวด สับสน อิจฉา หรือถูกปฏิเสธ และเมื่ออารมณ์ที่สำคัญและซ่อนอยู่ถูกชักนำไปเป็นความโกรธ คนผู้นั้นจะมีความน่าจะเป็นน้อยลง ที่จะมองดูสถานการณ์อย่างถูกต้องและพยายามอย่างหนักเพื่อแก้ปัญหา จะดีที่สุดที่จะให้เวลาและพื้นที่แก่คนผู้นี้เพื่อดึงเอาความรู้สึกของเขาเข้ามา ก่อนจะเกิดการติดต่อสื่อสารใดๆ ที่เกิดผล
    • ความเปล่าเปลี่ยว หมายความว่า คนๆ หนึ่งรู้สึกว่าถูกโดดเดี่ยวจากคนอื่นๆ บุคคลผู้ที่ไม่ผสมผเสไปกับความรู้สึกของชุมชน จะมีปัญหาที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นกลางในระหว่างการเผชิญหน้า
    • การรู้สึก เหนื่อย ระหว่างการโต้เถียงกัน อาจนำสู่หายนะ การอดนอนนำมาซึ่งอารมณ์ขุ่นมัว กระบวนการรับรู้ทำงานได้ไม่ดี การรู้สึกเหนื่อยยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการตัดสินใจของคุณด้วย คุณอาจสามารถมองเห็นหนทางแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจน หากได้พักผ่อนอย่างดี แต่ความง่วงนอนอาจส่งผลให้การโต้เถียงของคุณวกวนเป็นงูกินหางอยู่นานหลายชั่วโมงโดยมองไม่เห็นทางออก [27]
  2. เวลาที่มีคนกำลังแผดเสียงใส่คุณ สิ่งสุดท้ายที่คุณอาจจะต้องการ คือการยอมรับรู้เรื่องความโกรธของเขาหรือเธอ อย่างไรก็ตาม ความโกรธมักเป็นการโต้ตอบต่อความรู้สึกว่าตนถูกเข้าใจผิดหรือถูกเมิน [28] การรับรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่ง กำลัง โกรธ ไม่เหมือนกับการพูดว่า เธอ/เขากำลังมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม [29]
    • พยายามพูดบางสิ่งเช่น “ผมเข้าใจว่าคุณกำลังรู้สึกโกรธ ผมต้องการจะเข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น อะไรทำให้คุณกำลังรู้สึกโกรธ?” การทำเช่นนี้แสดงว่าคุณกำลังพยายามจะมองสิ่งต่างๆ จากมุมมองของคนอื่น ซึ่งอาจจะช่วยให้เขาหรือเธอรู้สึกดีขึ้น
    • พยายามหลีกเลี่ยงการทำเสียงเหมือนกับว่าคุณได้ตัดสินไปแล้ว ในเวลาเช่นนี้ อย่าตั้งคำถามประเภท “ทำไมคุณถึงได้ช่างทำตัวเหมือนไอ้งั่งขี้โมโห?”
    • ขอให้อีกฝ่ายหนึ่งพูดอย่างชัดเจน. สอบถามอย่างสงบเรื่องสิ่งเฉพาะเจาะจง ที่อีกฝ่ายหนึ่งกำลังจะตอบโต้ ตัวอย่างเช่น “คุณได้ยินผมพูดอะไรที่ทำให้คุณอารมณ์เสียหรือครับ?” การพูดเช่นนี้อาจกระตุ้นให้อีกฝ่ายหนึ่งชะงัก และคิดว่าทำไมเขา/เธอถึงได้โกรธ – แล้วเขา/เธออาจตระหนักว่าทั้งหมดเป็นเรื่องเข้าใจผิด
  3. “การปิดปากอีกฝ่ายหนึ่ง” หรือการหยุดอีกฝ่ายไม่ให้แสดงความรู้สึกของเขาหรือเธอ จะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น มันอาจทำให้กับอีกฝ่ายหนึ่งโกรธมากขึ้น [30]
    • การปิดกั้นไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งพูด คือการส่งข่าวสารว่า คุณไม่ได้มองความรู้สึกของเขาหรือเธอว่ามีความชอบธรรม จงจำไว้ว่าถึงหากคุณไม่เข้าใจประสบการณ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่มันจริงจังมากสำหรับเจ้าตัว การเมินเฉยต่อสิ่งนั้นจะไม่ช่วยให้คุณสามารถปลดชนวนของสถานการณ์ได้ [31]
  4. จงเป็นผู้ฟังที่กระตือรือร้น จงแสดงว่าคุณมีส่วนร่วมกับอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการสบตา ผงกศีรษะ และใช้วลีเช่น “ฮา ฮะ” หรือ “อึม-อึม” [32] [33]
    • อย่าหมกมุ่นกับการเตรียมการป้องกันตัวคุณเอง ในขณะที่คู่กรณีกำลังพูด จงเพ่งความสนใจต่อสิ่งที่เขา/เธอกำลัง พูด [34]
    • จงฟังเหตุผลต่างๆ ที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งโกรธ. พยายามจินตนาการสถานการณ์จากมุมมองของเขาหรือเธอ หากคุณประสบกับสถานการณ์นี้ คุณจะรู้สึกแบบเดียวกันไหม?
  5. เหตุผลหนึ่งที่สถานการณ์เคร่งเครียดเพิ่มมากขึ้นเพราะการสื่อสารที่ผิดพลาด เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งบอกกับคุณว่าทำไมเธอ/เขาถึงได้โกรธคุณ จงยืนยันสิ่งที่คุณได้ยิน. [35]
    • ใช้ถ้อยแถลงที่เน้น “ผม” ตัวอย่างเช่น “ผมได้ยินคุณพูดว่าคุณโมโหเพราะนี่เป็นโทรศัพท์เครื่องที่สามซึ่งคุณได้ซื้อจากเรา และมันไม่ทำงาน นั่นถูกต้องใช่ไหมครับ?”
    • พูดสิ่งต่างๆ เช่น “ฟังดูเหมือนกับว่าคุณกำลังพูดว่า______” หรือ “_________คุณหมายความว่าอย่างไรครับ?” จะช่วยให้คุณเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่ง และยังจะช่วยให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าเป็นที่ยอมรับด้วย ซึ่งสามารถช่วยให้อารมณ์โกรธบรรเทาลงได้
    • อย่าเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่เป็นจริง หรือเปลี่ยนคำพูดใหม่สำหรับถ้อยแถลงของอีกฝ่ายหนึ่ง ในตอนที่คุณกล่าวยืนยันถ้อยแถลงนั้น ตัวอย่างเช่น หากอีกฝ่ายหนึ่งได้บ่นว่าคุณไปรับเขาล่าช้าในช่วง 6 วันที่ผ่านมา อย่าพูดบางสิ่งประเภท “ผมได้ยินคุณพูดว่า คุณโกรธผมเพราะผมมาช้าเสมอ”แทนที่จะทำเช่นนั้น จงให้ความสนใจกับสิ่งที่เขาพูดจริงๆ โดยพูดว่า “ผมได้ยินคุณพูดว่าคุณโกรธเพราะผมมาช้าในช่วง 6 วันที่ผ่านมา”
  6. ใช้ถ้อยแถลงประเภท “ผม” เพื่อสื่อสารว่าเป็นความจำเป็นของคุณเอง. หากอีกฝ่ายหนึ่งยังคงกำลังตะโกนหรือก้าวร้าวใส่คุณ จงใช้ถ้อยแถลงที่เน้นคำว่า “ผม”-เพื่อสื่อสารความจำเป็นต่างๆ ของคุณ การทำเช่นนี้จะหลีกเลี่ยงการฟังเหมือนกับว่าคุณกำลังตำหนิอีกฝ่ายหนึ่ง
    • ตัวอย่างเช่น หากอีกฝ่ายหนึ่งกำลังตะโกนใส่คุณ คุณสามารถพูดบางสิ่งประเภท “ผมอยากจะช่วยคุณ แต่ผมไม่อาจจะเข้าใจได้ว่าคุณกำลังพูดอะไร คุณพูดเสียงดังเหลือเกิน คุณช่วยพูดซ้ำสิ่งที่ได้พูดไปด้วยเสียงที่นุ่มนวลกว่านี้ได้ไหมครับ?”
  7. พยายามพิจารณาสถานการณ์จากมุมมองของอีกฝ่ายหนึ่ง [36] การทำเช่นนั้นอาจช่วยให้คุณควบคุมการตอบสนองทางอารมณ์ของตัวเองได้ มันยังสามารถช่วยให้คุณสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับคนอื่นอย่างได้ผล [37] [38]
    • พูดบางสิ่งเช่น “นั่นฟังน่าผิดหวังมากนะครับ” หรือ “ผมสามารถเห็นได้ว่า ทำไมเรื่องนั้นถึงได้น่ายุ่งยากใจ” จะสามารถช่วยทำให้ตึงเครียดน้อยลง ในบางกรณีนั้น บางคนเพียงแค่อยากให้ความรู้สึกคับข้องใจของตนมีค่า เมื่อพวกเขารู้สึกว่ามีคนเข้าใจ พวกเขาอาจจะสงบลง
    • คุณอาจจะต้องบอกกับตัวเองในใจว่า ฝ่ายตรงข้ามอารมณ์เสีย และกำลังทำอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสื่ออารมณ์ของตนออกมา สิ่งนี้สามารถช่วยให้คุณเปลี่ยนมุมมองของสถานการณ์ในใจของคุณเอง [39]
    • อย่าทำให้ปัญหาดูเป็นเรื่องเล็ก แม้จะดูจิ๊บจ๊อยสำหรับคุณ แต่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกรุนแรงเกี่ยวกับมัน [40]
  8. แทนที่จะทำเช่นนั้น จงคิดถึงผลที่จะตามมาหากใครบางคนโกรธคุณมาก บุคคลผู้นี้รู้สึกไม่ดีกับคุณในบางรูปแบบ ปฏิกิริยาแรกของคุณอาจเพื่อปกป้องตัวคุณเอง และระบุความตั้งใจของคุณ ตัวอย่างเช่น จงละเว้นการพูดว่า "ผมตั้งใจจะไปรับชุดสูทของคุณจากร้านซักแห้ง ผมแค่ลืมเพราะผมออกจากที่ทำงานช้า" แม้ความตั้งใจของคุณอาจจะดี แต่ ณ จุดนี้ อีกฝ่ายหนึ่งไม่สนใจแล้ว บุคคลผู้นั้นกำลังรับมือกับผลที่ตามมาจากการกระทำต่างๆ ของคุณ และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้เขา/เธออารมณ์เสีย [41]
    • แทนที่จะประกาศความตั้งใจดีของคุณ จงพยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา และสังเกตว่าผลกระทบที่ตามมาจากการกระทำต่างๆ ของคุณได้ส่งผลกระทบต่อคนผู้นี้อย่างไร จงกล่าวแสดงความเห็นประเภท "ผมเห็นแล้วในตอนนี้ว่าการที่ผมลืมชุดสูทของคุณได้ทำให้คุณไม่รู้จะทำอย่างไรสำหรับการประชุมของคุณในวันพรุ่งนี้"
    • แนวคิดนี้อาจจะดูเหมือนกับว่าคุณกำลังไม่ซื่อตรงกับความเชื่อของตัวเอง คุณอาจรู้สึกอย่างซื่อตรงว่าคุณได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง และมีปัญหาที่จะรับมือกับนิยามที่ว่าคุณเป็นฝ่ายผิด หากนี่คือปัญหา จงพยายามจินตนาการว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้โกรธคุณ แต่โกรธคนอื่น/สิ่งอื่น จงพิจารณาว่าคุณจะแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างไรหากว่าคุณไม่ได้เป็น 'ฝ่ายผิด'
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

แก้ปัญหาเรื่องความโกรธ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณได้รับฟังอีกฝ่ายหนึ่ง จงพิจารณาว่าคุณจะสามารถจัดการกับสถานการณ์นี้ได้อย่างไร [42]
    • หากคุณเชื่อว่าอีกฝ่ายหนึ่ง มีความไม่พอใจคุณอย่างมีเหตุผล จงยอมรับความผิดของตัวเอง และสอบถามว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อแก้ไข [43]
    • อย่าหาข้อแก้ตัว หรือพยายามปกป้องตัวคุณเอง. การทำเช่นนี้มักทำให้อีกฝ่ายหนึ่งโมโหมากยิ่งขึ้น เพราะเธอ/เขาจะรู้สึกราวกับว่า คุณกำลังเมินเฉยต่อความต้องการของเขาหรือเธอ [44]
  2. จงมีเหตุผล กับจงติดต่อสื่อสารอย่างสงบและชัดเจน พยายามคุมให้คำอธิบายของคุณเพ่งความสนใจอยู่ที่สิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งสื่อสารมาถึงคุณ [45]
    • ตัวอย่างเช่น หากอีกฝ่ายหนึ่งโกรธเพราะลูกของคุณโยนลูกบอลใส่หน้าต่างจนทำกระจกหน้าต่างแตก จงบอกกล่าวว่าคุณเต็มใจจะทำอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น “ลูกสาวของผมโยนลูกบอลใส่หน้าต่างของคุณจนกระจกแตก ผมสามารถส่งช่างซ่อมไปเปลี่ยนให้ใหม่ภายในสองวัน หรือ คุณให้ช่างของคุณซ่อมก็ได้ครับ แล้วส่งใบแจ้งค่าบริการมาให้ผม”
  3. หากฝ่ายตรงข้ามไม่พอใจกับข้อเสนอแนะของคุณ จงขอให้เขาหรือเธอเสนอแนะหนทางแก้ไขสักทางหนึ่งที่เขา/เธอจะพอใจ [46] ตัวอย่างเช่น คุณอาจถามว่า "คุณอยากเห็นอะไรเกิดขึ้นในสถานการณ์แบบนี้ครับ?"
    • พยายามจะเสนอทางเลือกนี้ในฐานะเป็นหนทางแก้ปัญหาซึ่งเน้น “เรา” เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกันตัวอย่างเช่น “โอเค หากข้อเสนอแนะของผมไม่อาจจะยอมรับได้ ผมยังคงอยากทราบว่าเราจะสามารถหาทางที่จะแก้ปัญหานี้ เราจะทำอย่างไรกันดีเพื่อแก้ไขสถานการณ์นี้?” [47]
    • หากอีกฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแนะบางสิ่งที่คุณพบว่าไม่สมเหตุสมผล อย่าเริ่มต้นด่าว่าฝ่ายนั้น แทนที่จะทำเช่นนั้น จงยื่นข้อเสนอกลับ ตัวอย่างเช่น "ผมได้ยินคุณพูดว่าต้องการให้ผมซ่อมกระจกหน้าต่างที่แตก และจ่ายค่าทำความสะอาดพรมของคุณทั้งบ้าน ผมคิดว่าจะเป็นธรรมสำหรับผม ที่จะเปลี่ยนกระจกบานที่แตก กับจ่ายค่าทำความสะอาดพรมในห้อง นั่งเล่น นั่นฟังเป็นอย่างไรบ้างครับ?"
    • การพยายามหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างคุณกับคนที่โกรธคุณ สามารถช่วยหันเหปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันไปสู่การแก้ปัญหา [48] ตัวอย่างเช่น คุณสามารถพูดบางสิ่ง ได้แก่ "ผมเข้าใจว่าความยุติธรรมมีความสำหรับคุณ มันสำคัญสำหรับผมเช่นกันครับ…" คำพูดนี้สามารถช่วยสื่อสารว่าคุณกำลังทำงานไปสู่เป้าหมายเดียวกัน [49]
  4. คำว่า “แต่” เป็นที่รู้จักว่าเป็น “คำพูดที่เหมือนกับยางลบ” เพราะมันสามารถลบล้างสิ่งที่คุณพูดก่อนหน้านั้นโดยสมบูรณ์ เวลาที่คนได้ยินคำว่า“แต่” พวกเขามีแนวโน้มที่จะหยุดรับฟัง เพราะทั้งหมดที่พวกเขาได้ยินคือ ”คุณผิด” [50]
    • ตัวอย่าง เช่น อย่าใช้คำพูดประเภท "ผมเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังพูด แต่ คุณจำเป็นต้อง________"
    • ให้ใช้คำว่า "และ" ในถ้อยแถลงเช่น "ผมสามารถมองเห็นประเด็นของคุณได้ และผมสามารถเห็นความจำเป็นสำหรับ _______".
  5. หากคุณสามารถหาข้อสรุปได้ จงห่อหุ้มการสื่อสารของคุณด้วยคำพูดแสดงความขอบคุณอีกฝ่ายหนึ่ง การทำเช่นนี้แสดงความเคารพของคุณต่ออีกฝ่ายหนึ่ง และสามารถช่วยให้เขาหรือเธอรู้สึกว่า ความจำเป็นของเขาหรือเธอได้รับการตอบสนอง [51]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณสามารถจะเจรจาต่อรองกับลูกค้าผู้โกรธเกรี้ยว คุณสามารถพูดได้ว่า “ขอบคุณที่อนุญาตให้เราแก้ไขปัญหานี้ให้ถูกต้องครับ”
  6. ในบางกรณีนั้น ความโกรธของอีกฝ่ายหนึ่งอาจจะไม่หายไปในทันที แม้หากว่าคุณได้ทำทั้งหมดที่สามารถทำได้เพื่อแก้ไขสถานการณ์แล้ว เรื่องนี้จะเป็นจริงเป็นพิเศษในสถานการณ์ที่มีความเจ็บปวดทางอารมณ์อย่างล้ำลึก เช่น ความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง ถูกทรยศ หรือถูกชักใยในบางรูปแบบ จงยอมรับว่าอาจใช้เวลาบ้าง เพื่อที่ความโกรธจะแก้ปัญหาด้วยตัวมันเอง และอย่ากดดัน
  7. หากว่าจำเป็น จงหาสื่อกลางซึ่งเป็นบุคคลที่สาม. ไม่ใช่ว่าความขัดแย้งจะสามารถแก้ไขได้ และไม่ใช่ว่าความโกรธของทุกคนจะค่อยๆ ลดลง ถึงแม้หากคุณยังคงใจเย็น และน่าเคารพตลอดวัน หากคุณได้ลองใช้กลยุทธ์ต่างๆ ที่นี่ แล้วไม่มีความคืบหน้า อาจถึงเวลาที่จะก้าวออกไปหาบุคคลที่สาม เช่น นักบำบัด. คนกลาง หรือตัวแทนของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ อาจสามารถช่วยให้คุณเจรจาต่อรองสถานการณ์ได้ [52]
  8. นอกเหนือจากการใช้บริการของคนกลาง การเข้าพบนักบำบัด หรือนักจิตวิทยา ผู้ได้รับการฝึกเรื่องแก้ไขความขัดแย้ง หรือการจัดการกับความโกรธ อาจจะช่วยได้ เรื่องนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ หากคนที่โกรธอยู่กับคุณเป็นคนสำคัญในชีวิตคุณ ตัวอย่างเช่น คู่สมรส ผู้ปกครอง พี่น้อง หรือ ลูก หากพวกคุณสองคนโต้เถียงกันอย่างไม่ลดละ หรือหากคนหนึ่งมีแนวโน้มจะโกรธจัดเพียงด้วยสิ่งเร้าเล็กน้อยที่สุด คุณอาจจำเป็นต้องหามืออาชีพผู้ไม่เพียงแค่เข้าช่วยประนีประนอมสถานการณ์ แต่ยังสอนคุณเรื่องทักษะในการสื่อสาร และแก้ปัญหาอย่างได้ผล
    • นักบำบัดสามารถสอนให้สมาชิกในครอบครัวของคุณ หรือเพื่อนๆ รู้จักวิธีที่จะผ่อนคลาย และจัดการกับความเครียด วิธีเอาชนะความโกรธ ยุทธศาสตร์ของการแสดงอารมณ์ และวิธีที่จะยอมรับรูปแบบต่างๆ ของความคิดในด้านลบที่ทำให้เกิดความโกรธ [53]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

การขอโทษอย่างมีประสิทธิผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณทำบางสิ่งที่ผิดพลาด คุณอาจจำเป็นต้องเยียวยาสถานการณ์ ด้วยการขออภัยและแก้ไขความผิดพลาดนั้น [54]
    • อย่าพยายามหาข้อแก้ตัวเรื่องพฤติกรรมของคุณ หากคุณทำผิดกับคนอื่น คุณจำเป็นต้องยอมรับเรื่องความผิดพลาดของคุณ
    • คิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือ สมควรกล่าวขอโทษในระหว่างที่กำลังมีปฏิกิริยากันอยู่ หรือในช่วงหลังจากนั้น ในตอนที่เธอ/เขาได้สงบลงแล้ว
    • ประเมินว่าการกล่าวขอโทษจะทำให้รู้สึกซาบซึ้งใจและมีความหมายหรือไม่ในสถานการณ์นั้น คุณไม่สมควรกล่าวขอโทษหากคุณไม่ได้คิดเช่นนั้น เพราะการทำเช่นนี้ยิ่งอาจทำให้ปัญหาลุกลามไปไกลมากขึ้น
  2. คุณจำเป็นต้องแสดงต่ออีกฝ่ายหนึ่งว่า คุณรู้สึกเสียใจต่อการที่คำพูดหรือปฏิกิริยาของคุณ ได้ส่งผลกระทบต่อเขาหรือเธอ [55]
    • คุณอาจจะไม่ได้ตั้งใจจะทำให้คนๆ นี้โกรธ หรือทำร้ายความรู้สึกของเขาหรือเธอ แต่ไม่ว่าคุณจะตั้งใจหรือไม่ คุณจำเป็นต้องยอมรับว่าการกระทำของคุณส่งผลกระทบในด้านลบต่ออีกฝ่ายหนึ่ง
    • ตีกรอบคำขออภัยของคุณโดยเริ่มต้นขั้นแรกด้วยการกล่าวแสดงความเสียใจ ตัวอย่างเช่น คุณอาจเริ่มด้วยการพูดว่า "ผมเสียใจมาก ผมรู้ว่าผมทำร้ายความรู้สึกของคุณ"
  3. คำขอโทษของคุณจำเป็นต้องรวมถึงถ้อยแถลงเกี่ยวกับความรับผิดชอบ เพื่อที่จะเกิดผล และช่วยแก้ไขสถานการณ์ที่เลวร้าย พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณจำเป็นต้องระบุว่า พฤติกรรมของคุณเป็นสาเหตุของความรู้สึกเจ็บปวด หรือผิดหวังของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไร [56]
    • การกล่าวถ้อยแถลงแสดงความรับผิดชอบ อาจฟังดูคล้ายๆ กันกับ "ขอโทษครับ ผมทราบแล้วว่าการที่ผมมาสายได้ทำให้เราพลาดงานนี้"
    • อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ คุณอาจพูดว่า "ขอโทษครับ ผมรู้ว่าความสะเพร่าของผมทำให้คุณล้มเหลว"
  4. การกล่าวขอโทษจะไร้ความหมาย นอกเสียจากคุณจะได้ระบุด้วยว่าจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร หรือวิธีหลีกเลี่ยงปัญหาในอนาคต [57]
    • ข้อเสนอที่จะเยียวยาสถานการณ์ อาจรวมถึงข้อเสนอที่จะช่วยอีกฝ่ายหนึ่ง หรือวิธีการที่จะช่วยไม่ให้คุณทำผิดซ้ำเดิมอีกในอนาคต
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดว่า "ขอโทษครับ ผมรู้ว่าผมมาสายจนพลาดงานนี้ นับจากนี้ไป ผมจะตั้งเตือนบนโทรศัพท์มือถือ หนึ่งชั่วโมงก่อนเวลาที่ผมจำเป็นจะต้องพร้อม "
    • อีกตัวอย่างหนึ่ง อาจจะเป็น "ขอโทษครับ ผมรู้ว่าความสะเพร่าของผมทำให้คุณพลาด ผมจะใส่ใจมากกว่านี้เรื่องสถานที่วางสิ่งของๆ ผมในคราวหน้า"
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่ากลัวที่จะขอเวลาอยู่ตามลำพังสี่ห้านาที ก่อนจะรับมือกับสถานการณ์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับความโกรธ การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากสถานการณ์ และจะช่วยให้คุณควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้
  • พยายามพูดให้ฟังดูจริงใจในเวลาที่คุณกล่าวขอโทษ มนุษย์เราเก่งมากเรื่องตรวจจับท่าทีเอื้อเฟื้อ และความไม่จริงใจ ซึ่งมักจะทำให้เรายิ่งโกรธมากขึ้น
  • จงจำใส่ใจ: คุณไม่อาจควบคุมการโต้ตอบของบุคคลอื่น คุณสามารถเพียงควบคุมพฤติกรรมของคุณเองเท่านั้น
โฆษณา

คำเตือน

  • จงระวังคนที่พูดบางสิ่ง เช่น “ทำไมคุณชอบ ทำให้ ผมโกรธเสียเหลือเกิน?” นี่เป็นสัญญาณว่าพวกเขาไม่ได้กำลังยอมรับผิดชอบต่อการกระทำต่างๆ ของ พวกเขา
  • หากรู้สึกว่าคุณตกอยู่ในอันตราย จงร้องขอความช่วยเหลือ และพยายามผละจากสถานการณ์นั้น
  • อย่าหันไปใช้คำพูดรุนแรง หรือแสดงพฤติกรรมรุนแรงของตัวคุณเอง
โฆษณา
  1. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/07/26/how-to-switch-off-an-angry-person/
  2. http://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/relaxation-techniques-breath-control-helps-quell-errant-stress-response
  3. http://academicaffairs.ucsd.edu/_files/ug-ed/uaac/Dealing_with_an_Angry_Individual.pdf
  4. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/07/26/how-to-switch-off-an-angry-person/
  5. http://pss.sagepub.com/content/23/4/346.short
  6. http://www.medicalteams.org/docs/default-source/Volunteer-Materials/preventing_and_diffusing_anger_and_hostility.pdf?sfvrsn=2
  7. http://www.medicalteams.org/docs/default-source/Volunteer-Materials/preventing_and_diffusing_anger_and_hostility.pdf?sfvrsn=2
  8. http://www.medicalteams.org/docs/default-source/Volunteer-Materials/preventing_and_diffusing_anger_and_hostility.pdf?sfvrsn=2
  9. http://psycnet.apa.org/journals/psp/81/1/17/
  10. http://www.bodylanguageexpert.co.uk/bodylanguagetodealwithdifficultpeople.html
  11. http://www.northeastern.edu/careers/blog/keep-calm-and-body-language/
  12. http://changingminds.org/techniques/body/assertive_body.htm
  13. http://www.cci.health.wa.gov.au/docs/Assertmodule%202.pdf
  14. https://access.ewu.edu/caps/facultystaffres/defusinganger
  15. http://www.health.qld.gov.au/mentalhealth/docs/aggressive.pdf
  16. http://www.chinnstreetcounseling.com/zomerland/zomerland_11.shtml
  17. http://bigthink.com/risk-reason-and-reality/the-risks-of-hunger-it-makes-you-take-more-risks
  18. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/sleep_before_you_bicker
  19. http://www.ext.colostate.edu/pubs/consumer/10237.html
  20. http://academicaffairs.ucsd.edu/_files/ug-ed/uaac/Dealing_with_an_Angry_Individual.pdf
  21. http://academicaffairs.ucsd.edu/_files/ug-ed/uaac/Dealing_with_an_Angry_Individual.pdf
  22. http://www.mindtools.com/pages/article/dealing-with-angry-people.htm
  23. http://www.angermanagementresource.com/angry-people.html
  24. http://www.mindtools.com/CommSkll/ActiveListening.htm
  25. https://access.ewu.edu/caps/facultystaffres/defusinganger
  26. http://www.mindtools.com/CommSkll/ActiveListening.htm
  27. http://bottomlinehealth.com/how-to-handle-someone-elses-rage/
  28. http://www.mindtools.com/pages/article/dealing-with-angry-people.htm
  29. https://access.ewu.edu/caps/facultystaffres/defusinganger
  30. http://www.medicalteams.org/docs/default-source/Volunteer-Materials/preventing_and_diffusing_anger_and_hostility.pdf?sfvrsn=2
  31. http://bottomlinehealth.com/how-to-handle-someone-elses-rage/
  32. https://www.psychologytoday.com/blog/how-we-work/201304/what-do-when-you-ve-made-someone-angry
  33. http://www.ext.colostate.edu/pubs/consumer/10237.html
  34. http://www.mindtools.com/CommSkll/ActiveListening.htm
  35. http://www.mindtools.com/pages/article/dealing-with-angry-people.htm
  36. http://bottomlinehealth.com/how-to-handle-someone-elses-rage/
  37. http://bottomlinehealth.com/how-to-handle-someone-elses-rage/
  38. http://www.ext.colostate.edu/pubs/consumer/10237.html
  39. http://www.medicalteams.org/docs/default-source/Volunteer-Materials/preventing_and_diffusing_anger_and_hostility.pdf?sfvrsn=2
  40. https://access.ewu.edu/caps/facultystaffres/defusinganger
  41. http://strategicdiscipline.positioningsystems.com/blog-0/bid/82716/Verbal-Eraser-Destroys-Positive-Reinforcement
  42. http://bottomlinehealth.com/how-to-handle-someone-elses-rage/
  43. http://www.ext.colostate.edu/pubs/consumer/10237.html
  44. http://www.apa.org/topics/anger/help.aspx
  45. http://www.umass.edu/fambiz/articles/resolving_conflict/meaningful_apology.html
  46. http://www.umass.edu/fambiz/articles/resolving_conflict/meaningful_apology.html
  47. http://www.umass.edu/fambiz/articles/resolving_conflict/meaningful_apology.html
  48. http://www.umass.edu/fambiz/articles/resolving_conflict/meaningful_apology.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,272 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา