ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณรู้สึกไม่พอใจใครสักคนเพราะเขาเคยทำให้คุณเจ็บปวดมาก่อนหรือเปล่า หรือคุณไม่พอใจใครบางคนเพราะดูรวยกว่าคุณไหม ความไม่พอใจคือกระบวนการของการจมอยู่กับสถานการณ์ที่เจ็บปวดหรือสร้างความทุกข์อยู่ในใจ จนถึงจุดที่ทำให้คุณรู้สึกโกรธหรือขมขื่น ความรู้สึกไม่พอใจจะกัดกินความรู้สึกของคุณและทำร้ายหัวใจของคุณจนไม่สามารถเชื่อใจใคร รู้สึกถึงความเมตตา หรือเปิดใจให้กับความรักในอนาคตได้อีก การเอาชนะความไม่พอใจคือการเลือกที่จะยอมรับว่าเกิดอะไรขึ้นและให้อภัยอีกฝ่าย และนอกจากนี้ยังหมายถึงการสร้างความเปลี่ยนแปลงในตัวเองเพื่อที่ความรู้สึกเหล่านี้จะได้ไม่ส่งผลกระทบที่ไม่ดีกับคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รับรู้ความรู้สึกของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เจาะจงความรู้สึกที่แท้จริงของคุณและทำไมคุณถึงเกิดความรู้สึกเหล่านี้ขึ้นมา พยายามทำความเข้าใจตัวเอง ความรู้สึกไม่พอใจเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ มันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียวหรือหลายๆ ครั้งที่ทำให้คุณรู้สึกแบบนี้ ความไม่พอใจของคุณเกี่ยวข้องกับคนๆ เดียว เช่น คนรัก หรือหลายคน เช่น พ่อแม่หรือครอบครัว
    • การตระหนักถึงสาเหตุของความไม่พอใจจะช่วยให้คุณรู้ทิศทางในการเอาชนะมัน เช่น ถ้าคุณรู้สึกไม่พอใจเพราะว่าคนที่ใกล้ชิดกับคุณทำให้คุณผิดหวังหรือเสียใจ วิธีแก้ไขปัญหาก็อาจจะเป็นการเปลี่ยนความคาดหวังที่มีต่อคนอื่น แน่นอนว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้ เพราะฉะนั้นวิธีแก้ไขปัญหาก็จะอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือเรียนรู้ที่จะยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น
  2. บางครั้งเราก็ไม่พอใจคนอื่นเพราะว่าเราไม่พอใจที่ตัวเองเปราะบางจนกระทั่งให้คนอื่นมาทำร้ายเราได้ ลึกๆ แล้วเราอาจจะรู้สึกสับสนหรืออับอายที่เราไม่เอะใจสักนิดเลยว่าสถานการณ์นี้จะเกิดขึ้น เรารู้สึกโกรธที่เราไม่ระวังตัวและเชื่อใจคนที่ทำร้ายเรา ในแง่หนึ่งก็คือเราโกรธที่เราเป็นมนุษย์นั่นเอง
    • เช่นเดียวกับคำกล่าวที่ชวนให้เห็นภาพว่า "ความไม่พอใจก็เหมือนกับการดื่มยาพิษแล้วรอให้อีกฝ่ายตาย" คุณมีอำนาจที่จะก้าวข้ามความไม่พอใจหรือจมจ่อมอยู่กับความขมขื่นตรงนี้ ตระหนักถึงอำนาจของตัวเองและอย่าโทษอีกฝ่ายไปเสียทั้งหมด
  3. ตั้งคำถามว่าสิ่งที่คุณรู้สึกมันคือความอิจฉาหรือรู้สึกว่าตัวเองมีสิทธิ์ที่จะครอบครองสิ่งนั้นหรือเปล่า. การอยากได้ของที่ไม่ใช่ของเราหรือความรู้สึกที่ว่าคุณควรจะได้ครอบครองสิ่งที่เขามี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือสิ่งที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด สามารถนำไปสู่ความรู้สึกขมขื่นได้ ถ้าคุณไม่พอใจใครสักคนเพราะว่าเขามีในสิ่งที่คุณต้องการ มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะไปเอาความรู้สึกเหล่านี้ไปลงกับอีกฝ่าย คุณต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับกับสิ่งที่คุณคิดว่ามันขาดหายไปจากชีวิตของคุณเพื่อที่จะเอาชนะความไม่พอใจรูปแบบนี้ [1] [2]
    • ตัวอย่างของความอิจฉาที่นำไปสู่ความไม่พอใจก็คือ การที่คุณโกรธเพื่อนร่วมงานที่ได้เลื่อนตำแหน่งที่คุณต่อสู้เพื่อที่จะได้มันมา คุณอาจจะรู้สึกว่าคุณมีสิทธิ์ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเพราะว่าคุณทำงานมานานกว่า
    • เอาชนะความไม่พอใจที่เกิดจากความอิจฉาด้วยการซื่อสัตย์กับตัวเองและลงมือทำอะไรสักอย่าง คนๆ นี้เขาทำให้คุณรู้สึกโกรธจริงๆ หรือจริงๆ แล้วมันมาจากมุมมองบางด้านที่อยู่ในตัวคุณ ถ้าคุณรู้สึกว่าความสามารถของคุณสมควรได้รับการพิจารณาอีกครั้ง คุณก็สามารถเข้าไปคุยกับหัวหน้าเรื่องตำแหน่งอื่นๆ ที่อาจจะเปิดอยู่ หรือถ้าคุณคิดว่าคุณเติบโตเกินกว่าที่จะอยู่กับนายจ้างคนปัจจุบันแล้ว คุณก็อาจจะพยายามหาตำแหน่งที่เหมาะสมกับคุณที่อื่นก็ได้
    • คุณไม่ได้อิจฉาคนๆ นั้น แต่อิจฉาลักษณะบุคลิกหรือความสามารถที่คนๆ นั้นมี นั่งลงแล้วประเมินความรู้สึกของตัวเองอย่างซื่อสัตย์ และเปลี่ยนความอิจฉานั้นไปเป็นการพัฒนาตัวเองแทน [3]
  4. ความโกรธและความไม่พอใจเป็นความรู้สึกที่ทรงพลัง บ่อยครั้งที่เราทำร้ายตัวเองด้วยการทำเป็นไม่รับรู้ถึงความรู้สึกเหล่านี้หรือพยายามผลักไสมันออกไป ความไม่พอใจเกิดขึ้นเพราะเราวิ่งหนีจากความรู้สึกของเราที่มีต่อสถานการณ์ เราก็เลยแทนที่ความรู้สึกเหล่านั้นด้วยการสร้างความเกลียดชังหรือความแค้นที่มีต่อคนที่เราไม่พอใจ เราต้องยอมรับความรู้สึกของเราเพื่อที่จะเยียวยาตัวเอง
    • บ่อยครั้งที่ความโกรธมักจะกลบเกลื่อนอารมณ์ต่างๆ ที่ยากจะเข้าใจหรือแสดงออกมา คนเราแสดงความโกรธเพราะการแสดงความโกรธมันง่ายกว่าการเปิดเผยออกมาว่าเรารู้สึกเหมือนถูกปฏิเสธ ผิดหวัง อิจฉา สับสน หรือเจ็บปวด
    • อยู่กับตัวเองสักพักและอย่าคิดแต่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณ แต่ให้รู้สึกถึงอารมณ์ต่างๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นพร้อมกับสถานการณ์นี้ รู้สึกโกรธถ้าคุณโกรธ รับรู้ถึงความเจ็บปวดหรือความสับสน อย่าผลักไสความรู้สึกนี้ออกไป เพราะคุณจะข้ามผ่านจากจุดนี้ไปได้ก็ต่อเมื่อคุณรู้สึกสิ่งที่คุณรู้สึกจริงๆ เท่านั้น
  5. หาคนที่คุณสามารถคุยด้วยได้และเล่าให้เขาฟังว่าเกิดอะไรขึ้นคุณถึงได้ไม่พอใจมากๆ การพูดคุยถึงความรู้สึกของตัวเองกับคนอื่นอาจช่วยให้คุณเห็นสถานการณ์ได้อย่างเป็นกลางมากขึ้น เพราะอีกคนเขาอาจจะเห็นรูปแบบในพฤติกรรมของคุณที่เป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งที่เกิดขึ้น และอาจจะช่วยคุณระดมสมองคิดหาทางออกได้ การมีคนที่คุณสามารถคุยด้วยได้เป็นสิ่งที่ดีเสมอ
  6. เขียนถึงสถานการณ์นั้นๆ อย่างละเอียดเท่าที่คุณจะจำได้ อย่าตกอะไรไปเด็ดขาด เสร็จแล้วให้เขียนลักษณะบุคลิกภาพของคนๆ นี้ที่คุณไม่ชอบ อย่าเรียกเขาด้วยคำหยาบคายเพื่อให้ตัวเองได้ดูถูกเขา เขาคิดถึงแต่ตัวเอง หยาบคาย ใจร้าย ไม่ให้เกียรติคนอื่นหรือเปล่า ลองคิดถึงสิ่งที่เขาทำและพิจารณาว่าพฤติกรรมนั้นจัดอยู่ประเภทไหนของการไม่ให้เกียรติ
    • จากนั้นเขียนว่าพฤติกรรมของคนๆ นี้ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร อย่าเขียนเพื่อให้ได้ใช้ความโกรธอย่างเดียว แต่ให้มองให้ลึกลงไปถึงสิ่งที่อยู่ภายใต้ความโกรธนั้นด้วย
    • สุดท้ายให้เขียนลงไปว่าพฤติกรรมนี้และความรู้สึกของคุณที่มีต่อพฤติกรรมนี้ส่งผลต่อชีวิตคุณอย่างไร เช่น ถ้าคนรักนอกใจคุณ คุณอาจจะรู้สึกโกรธ เศร้า และสับสน การนอกใจจากคนรักทำให้คุณมีปัญหากับการเชื่อใจหรือเชื่อมโยงกับคนอื่นเพราะคุณกลัวว่าพวกเขาก็อาจจะทำร้ายคุณเหมือนกัน
  7. บอกคนที่ทำให้คุณไม่พอใจว่าเขาทำให้คุณไม่พอใจอย่างไร. ในบางสถานการณ์เวลาที่คนที่เรารักทำร้ายเรา เราก็อยากที่จะเข้าใจ จริงอยู่ว่าการเข้าใจว่าทำไมเขาถึงทำร้ายคุณไม่ได้ทำให้สถานการณ์นั้นหายไป และเขาก็อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำไมเขาถึงทำแบบนั้น แต่การพูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแบบเปิดใจจะเป็นขั้นตอนหนึ่งที่นำไปสู่การเยียวยา [4]
    • ขอให้คนๆ มาเจอคุณเพื่อคุยกัน ใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย "ฉัน" เช่น "ฉันรู้สึกเสียใจที่ ____" ในการแสดงความรู้สึกของคุณที่มีต่อสถานการณ์ออกมา หลังจากที่พูดออกไปโดยไม่วิพากษ์วิจารณ์เขาแล้ว ให้ถามว่าเขาสามารถพยายามอธิบายสถานการณ์จากมุมมองของเขาให้คุณฟังได้ไหม
    • เผชิญหน้ากับเขาก็ต่อเมื่อคุณได้มุมมองที่เป็นกลางของสถานการณ์แล้ว ซึ่งก็คือการที่คุณตระหนักถึงบทบาทและเผชิญหน้ากับความรู้สึกของตัวเองแล้ว
    • ถ้าคุณคิดว่าคุณจะยังคงรักษาความสัมพันธ์กับคนๆ นี้ต่อไป อธิบายให้เขารู้ว่าการได้รับคำขอโทษจากเขามันสำคัญกับคุณแค่ไหน หรือขอให้เขาชดเชยอะไรบางอย่างให้ เช่น ถ้าคนรักของคุณทำอะไรเกินเลย และคุณก็ตัดสินใจที่จะอยู่กับคนๆ นี้ คุณก็ควรกำหนดขอบเขตและแนวทางที่คุณคาดหวังต่อพฤติกรรมของเขาในวันข้างหน้า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ปลดปล่อยความไม่พอใจออกไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การครุ่นคิดคือการคิดถึงสถานการณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งเป็นการดึงคุณออกจากปัจจุบันและทำให้คุณรู้สึกไม่ดี การครุ่นคิดเป็นพื้นฐานของความไม่พอใจ เพราะฉะนั้นในการที่จะปลดปล่อยความครุ่นคิดออกไป คุณต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับความคิดของตัวเองก่อน วิธีเอาชนะการครุ่นคิดมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่: [5] [6]
    • เน้นไปที่การแก้ไขปัญหามากกว่าที่ตัวปัญหา วิธีนี้เป็นวิธีการที่ดีและเป็นการรับมือกับความไม่พอใจแบบมองไปข้างหน้า เพราะการจมจ่อมอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นมา แต่การวางแผนที่จะเรียนรู้จากสถานการณ์จะช่วยให้คุณเติบโตจากสถานการณ์นั้น เขียนวิธีการที่คุณจะใช้แก้ไขสถานการณ์นี้สัก 2-3 วิธี เช่น เพิ่มทักษะการจัดการความเครียดหรือประเมินความคาดหวังที่คุณมีต่อผู้อื่นเสียใหม่
    • ทบทวนการวิเคราะห์สถานการณ์ของคุณเสียใหม่ บางครั้งความไม่พอใจของเราก็อยู่บนพื้นฐานของความผิดที่เรารับรู้ อีกฝ่ายเขาอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาอะไรผิด หรือถ้าเขารู้ เขาก็อาจจะไม่ได้ตั้งใจทำร้ายคุณเลยก็ได้ พยายามมองสถานการณ์ตามความเป็นจริง คุณคาดหวังให้อีกฝ่ายอ่านใจคุณได้เหรอ
    • เน้นไปที่จุดแข็งของคุณ ถ้าอีกฝ่ายทำร้ายคุณ คุณก็อาจจะเสียเวลามากมายไปกับการพิจารณาข้อบกพร่องของตัวเอง พยายามระบุจุดแข็งที่อาจจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เช่น ถ้าเพื่อนคนหนึ่งทำให้คุณผิดหวัง จุดแข็งก็อาจจะเป็นการที่คุณมีเพื่อนคนอื่นๆ ที่คุณยังมีความสัมพันธ์ที่ดีด้วยอยู่ จุดแข็งหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ก็คือการเลือกที่จะให้อภัยเขาแม้ว่าเขาจะทำผิดก็ตาม
  2. เขียนคุณสมบัติที่ชดเชยกันได้ของคนที่ทำร้ายคุณ. วิธีนี้อาจเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณอยากทำ แต่การพยายามรับรู้ถึงคุณสมบัติที่ดีในตัวคนที่ทำร้ายคุณไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณก้าวไปข้างหน้าได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณมองสถานการณ์ได้อย่างเป็นกลางมากขึ้นด้วย มนุษย์เราต่างเคยทำผิดพลาดและไม่มีมนุษย์คนไหนที่เลวไปเสียทั้งหมด ทุกคนล้วนมีคุณสมบัติด้านดีที่ควรค่าแก่การเน้นย้ำ ลองมองหาคุณสมบัติเหล่านี้ในตัวเขา
  3. บาดแผลที่เกิดจากคนที่เราห่วงใยอาจมีผลกระทบกับเรานาน แต่การเก็บความแค้นเคืองเอาไว้จะทำให้คุณไม่ได้เยียวยาตัวเองและเติบโต เลือกที่จะให้อภัยคนที่ทำร้ายคุณ การให้อภัยไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเก็บคนๆ นี้ไว้ในชีวิต และก็ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นด้วย การให้อภัยคือการที่คุณเลือกที่จะปล่อยคนๆ นี้ออกไปจากความโกรธ และคุณก็จะปล่อยความรู้สึกไม่ดีทั้งหลายที่คุณถือเอาไว้ไปด้วย การให้อภัยทำให้ คุณ เป็นคนที่ดีขึ้น [7]
    • การให้อภัยสามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่สุดท้ายแล้วมันก็คือการปลดปล่อยความไม่พอใจออกไป คุณอาจจะแค่พูดออกมาดังๆ หลังจากประมวลความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์แล้ว ว่าคุณจะไม่เคืองแค้นอีกต่อไป พูดว่า "ผมยกโทษให้คุณ" หรือบอกต่อหน้าถ้าคุณยังจะเก็บคนๆ นั้นไว้ในชีวิต
    • หลังจากที่เขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้นลงไปแล้ว ให้ฉีกกระดาษออกเป็นชิ้นๆ หรือโยนเข้าไปในกองไฟ กำจัดอำนาจที่คนๆ นี้มีต่อคุณด้วยการเลือกที่จะให้อภัยเขาและก้าวต่อไป
    • มีเมตตาต่อตนเอง นอกจากจะให้อภัยคนๆ นี้แล้ว คุณก็ต้องพยายามให้อภัยตัวเองด้วยเช่นกัน ปฏิบัติต่อตนเองแบบเดียวกับที่คุณยอมปฏิบัติต่อผู้อื่น เพราะคุณเองก็สมควรได้รับการให้อภัยเช่นเดียวกัน [8] [9]
    • ใช้คำพูดในการให้อภัยตัวเองและมีเมตตาต่อตนเอง ยืนหน้ากระจกแล้วพูดกับตัวเองว่า "ฉันรักเธอนะ" "ฉันก็เป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง" "ฉันยังพัฒนาต่อไปได้" หรือ "ฉันมีค่าพอ"
  4. ถ้าคุณมีศรัทธาทางจิตวิญญาณ พยายามหาความหมายในสถานการณ์ที่คุณแบกรับอยู่ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณเพื่อให้คุณเป็นประจักษ์พยานให้คนอื่นหรือเปล่า ความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นเป็นแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจหรือกำลังให้กับคนอื่นหรือไม่ นอกจากนี้ตามความเชื่อของคุณแล้ว การยึดถือความรู้สึกขมขื่นที่มีต่อผู้อื่นอาจทำลายสุขภาวะทางจิตวิญญาณได้ สวดมนต์ นั่งสมาธิ หรือพูดคุยกับที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณเรื่องการก้าวข้ามความไม่พอใจ
  5. ถ้าคุณมีปัญหากับการให้อภัยและการก้าวข้ามความไม่พอใจ คุณอาจจะต้องเข้ารับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต การยึดถือความโกรธและความแค้นเคืองเอาไว้อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต สุขภาพกาย และสุขภาพทางอารมณ์ คุณอาจจะต้องเข้ารับการรักษาเรื่องการจัดการความโกรธหรือเทคนิคบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมเพื่อช่วยให้คุณเอาชนะการครุ่นคิดได้ [10]
    โฆษณา

คำเตือน

  • พยายามอย่าวางแผนเอาคืนหรือตั้งเป้าทำร้ายคนอื่นเพราะว่าคุณเคยถูกทำร้ายมาก่อน จำไว้ว่าเราไม่สามารถเอาชนะความชั่วด้วยความชั่วได้ มีแต่ความดีเท่านั้นที่เอาชนะความชั่วได้ อย่าเอาแต่จมอยู่กับความเจ็บปวดและความทุกข์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,862 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา