PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เป็นเรื่องปกติที่ลูกๆ จะรู้สึกว่าพ่อแม่เข้มงวดมากจนไม่ปล่อยให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตของตัวเองบ้าง ซึ่งบางครั้งมันก็เป็นเพราะว่าตัวเด็กเองก็ชอบท้าทายขอบเขตของพ่อแม่และอาจจะโตเร็วกว่าที่พ่อแม่คาดไว้เล็กน้อย แต่บางครั้งมันก็เป็นเพราะว่าพ่อแม่พยายามที่จะควบคุมชีวิตของลูก คุณอาจจะอยากควบคุมลูกด้วยเหตุผลต่างๆ กันไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะคุณเป็นคนชอบความสมบูรณ์แบบ หรือคุณอาจจะกลัวว่าลูกจะทำผิดซ้ำรอยคุณ แต่สิ่งที่พ่อแม่มักจะไม่ได้ตระหนักก็คือการทำอย่างนั้นถือเป็นการทำร้ายลูกมากกว่าจะช่วยปกป้องเขา

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

เพิ่มอำนาจในการใช้ชีวิตของตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตพฤติกรรมชอบบงการ . พ่อแม่บางคนคาดหวังกับลูกมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาชอบบงการเสมอไป คนที่ชอบบงการจะใช้กลอุบายบางอย่างในการควบคุมคนอื่น ซึ่งอาจเป็นกลอุบายที่เห็นได้ชัดเจนหรือแนบเนียนก็ได้ พฤติกรรมแบบนี้อาจมีตั้งแต่การวิจารณ์อย่างไม่ไว้หน้าไปจนถึงคำขู่อ้อมๆ สัญญาณที่บ่งบอกว่าพ่อแม่กำลังบงการคุณอยู่ได้แก่ [1]
    • แยกตัวคุณออกจากสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ และ/หรือเพื่อนๆ เช่น ไม่เคยอนุญาตให้คุณใช้เวลากับเพื่อนๆ หรือสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ เลย
    • วิจารณ์คุณเรื่องไร้สาระไม่หยุด เช่น รูปร่างหน้าตา มารยาท หรือสิ่งที่คุณเลือก
    • ขู่ว่าจะทำร้ายคุณหรือขู่ว่าจะทำร้ายตัวเองด้วยการพูดว่า “ถ้าแกไม่กลับมาบ้านเดี๋ยวนี้แม่จะฆ่าตัวตาย!”
    • ให้ความรักและการยอมรับแบบมีเงื่อนไข “แม่จะรักลูกก็ต่อเมื่อลูกรักษาห้องให้สะอาด”
    • นับความผิดพลาดของคุณในอดีต เช่น ร่ายรายการความผิดพลาดที่คุณเคยทำในอดีตเพื่อทำให้คุณรู้สึกแย่หรือเพื่อให้คุณทำอะไรให้
    • ใช้ความรู้สึกผิดมาบังคับให้คุณทำอะไรให้ เช่นพูดว่า “แม่รอคลอดแก 18 ชั่วโมงกว่าแกจะได้ออกมาลืมตาดูโลก แล้วแกจะอยู่กับฉันสัก 2-3 ชั่วโมงไม่ได้เลยหรือไง”
    • แอบส่องคุณหรือไม่เคารพความเป็นส่วนตัวของคุณ เช่น ค้นห้องของคุณหรืออ่านข้อความในโทรศัพท์มือถือของคุณตอนที่คุณไม่อยู่ในห้อง
  2. แม้ว่าพ่อแม่อาจจะชอบบงการชีวิตของคุณ แต่คุณต้องเป็นคนตัดสินใจว่าคุณจะตอบโต้อย่างไร คุณต้องเป็นคนเลือกเองว่าจะปล่อยให้พ่อแม่มาบงการการตัดสินใจของคุณหรือว่าคุณจะลุกขึ้นมาต่อต้านพวกเขา และคุณยังสามารถเลือกเองได้ด้วยว่าคุณจะตอบโต้พ่อแม่อย่างให้เกียรติ หรือจะปล่อยให้ตัวเองโกรธเป็นฟืนเป็นไฟจนทำให้สถานการณ์คุกรุ่นยิ่งกว่าเดิม [2]
    • คุณอาจจะเริ่มคิดว่าคุณจะตอบโต้อย่างไรด้วยการมองเข้าไปในกระจกแล้วฝึกพูดคนเดียว ลองเลือกสถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นระหว่างคุณกับพ่อแม่หลายๆ สถานการณ์และฝึกตอบโต้ด้วยวิธีการที่คุณเลือก วิธีนี้จะช่วยให้คุณควบคุมตัวเองได้ง่ายกว่าเมื่อสถานการณ์นั้นมาถึง
  3. มันเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องทำให้คุณเติบโตมาเป็นมนุษย์ที่มีความสุข สุขภาพดี และเป็นคนดี และมันก็เป็นหน้าที่ของคุณที่คุณจะต้อง มีความสุข สุขภาพดี และเป็นคนดี แต่ถ้าสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่คาดหวัง คุณก็ต้อง ทำในสิ่งที่คุณสบายใจ มากกว่าจะทำให้พ่อแม่สบายใจ เพราะนี่เป็นชีวิตของคุณ [3]
  4. มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะสามารถออกจากสถานการณ์ที่มีการบังคับเกิดขึ้นได้ภายในวูบเดียว แต่การเริ่มตัดสินใจอะไรๆ ด้วยตัวเองต้องอาศัยแผนปฏิบัติที่แนบเนียนและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง โดยแผนการอาจจะเริ่มจากอะไรง่ายๆ อย่างการบอกตัวเองทุกวันว่า คุณจะเป็นผู้ที่ สร้างความมั่นใจให้ตัวเอง ตามหลักแล้วมันจะค่อยๆ ทำให้คุณสามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคุณได้มากขึ้นเรื่อยๆ [4]
  5. คุณไม่สามารถเปลี่ยนความคิดหรือความรู้สึกของพ่อแม่ได้ เหมือนที่พ่อแม่เองก็ไม่สามารถควบคุมความคิดหรือความรู้สึกของคุณได้เช่นกัน แต่คุณสามารถเปลี่ยนวิธีการตอบโต้กับพวกเขาได้ ซึ่งบางครั้งการตอบโต้ของคุณก็จะเปลี่ยนวิธีการที่พวกเขาปฏิบัติต่อคุณด้วย ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ของคุณว่าเขาจะเปลี่ยนนิสัยของเขาหรือเปล่าและจะเปลี่ยนเมื่อไหร่ [5]
    • การบังคับให้พ่อแม่เปลี่ยนแปลงตัวเองก็ไม่ต่างจากการที่พ่อแม่จะพยายามมีอำนาจเหนือคุณ ถ้าคุณเตือนตัวเองให้นึกถึงข้อนี้ได้ คุณก็จะยอมรับได้โดยปริยายว่าพ่อแม่ก็มีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจเหมือนกันว่าพวกเขาจะเปลี่ยนไหม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่วนใหญ่คนเรามักจะใช้อารมณ์ในการแสดงอำนาจเหนือคนอื่น ซึ่งอาจมาในรูปแบบของความโกรธ ความรู้สึกผิด หรือการไม่ยอมรับ ถ้าคุณอยากจะหลุดจากกรอบอำนาจของคนที่ควบคุมคุณอยู่ (ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือคนอื่น) คุณอาจจะต้องตีตัวออกห่างจากเขาหรือเธอ เช่น ใช้เวลาด้วยกันให้น้อยลงและโทรศัพท์หาน้อยลง
    • ถ้าคุณยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นผู้เยาว์) การตีตัวออกห่างอาจเป็นเรื่องยาก แต่คุณก็สามารถ กำหนดขอบเขต ระหว่างคุณกับพ่อแม่ได้ โดยขอความช่วยเหลือจากครูหรือครูแนะแนว
  2. การอยู่กับพ่อแม่น้อยลงอาจทำให้พวกเขาไม่พอใจและตะคอกใส่คุณ ถ้าพ่อแม่บ่นว่าคุณใช้เวลากับพ่อแม่น้อยเกินไปหรือหาว่าคุณไม่รักพวกเขา ก็พยายามอย่าเก็บมาเป็นอารมณ์ [6]
    • คุณอาจจะลองพูดว่า “หนูขอโทษนะคะที่ทำให้แม่พ่อกับแม่โกรธ หนูรู้ค่ะว่ามันน่าโกรธขนาดไหน”
    • จำไว้ว่าสถานการณ์เกี่ยวกับพ่อแม่อาจจะแย่ลงก่อนที่คุณจะเห็นว่ามันดีขึ้น แต่คุณต้องรักษาระยะห่างและอย่าหลงไปกับคำขู่ เช่น ถ้าแม่ขู่ว่าจะฆ่าตัวตายถ้าคุณไม่มาหา ก็บอกไปว่าคุณกำลังโทรศัพท์หา 191 วางโทรศัพท์ แล้วจบแค่นั้น อย่าตาลีตาลานรีบไปหาแม่ที่บ้านหรือยอมทำตามคำสั่งของแม่
  3. อีกหนึ่งอำนาจที่มักนำมาใช้ในการควบคุมลูกก็คือเงิน ถ้าคุณสามารถหาเงินเองได้ ให้แยกเรื่องเงินของตัวเองออกจากพ่อแม่ ถึงมันจะยาก แต่คุณก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ เอง ซื้อของเอง และจำกัดงบด้วยตัวเอง ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณมีความรับผิดชอบมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการลดอำนาจของพ่อแม่ที่ชอบบงการลูกด้วย [7]
    • เรื่องนี้ก็อาจเป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ทำได้ยากเช่นกัน แต่ก็ไม่ถึงกับว่าจะทำในขั้นตอนเล็กๆ ไม่ได้เลย ถึงคุณจะไม่ได้จ่ายค่าเช่าบ้านและค่าน้ำค่าไฟเอง แต่ก็ให้พยายามหาเงินสำหรับไปเที่ยวข้างนอกรอบพิเศษที่คุณอยากไป ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่คุณจะอนุญาต เพียงแต่ว่าการหาเงินไปดูหนังได้เองก็จะเป็นการกำจัดข้อจำกัดที่พ่อแม่จอมบงการจะสามารถใช้กับคุณได้ไปอีกหนึ่งจุด
  4. การขอความช่วยเหลือจะทำให้พ่อแม่อยู่ในจุดที่ต่อรองได้ ถ้าคุณอยากให้พวกเขาช่วยเติมเต็มความต้องการของคุณ คุณก็จะต้องทำอะไรให้เป็นการตอบแทน แม้โดยธรรมชาติแล้วมันจะไม่ได้เป็นเรื่องแย่ แต่มันจะทำให้คุณอยู่ในจุดที่ต้องเสียอำนาจในการตัดสินใจให้กับพ่อแม่อย่างรวดเร็ว ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือ ให้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ หรือสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ แทน [8]
  5. ถ้าคุณเป็นเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกทำร้าย ให้โทรศัพท์หาฝ่ายคุ้มครองเด็กหรือเล่าให้ใครสักคนที่โรงเรียนฟัง เช่น ครูหรือครูแนะแนว การทำร้ายอาจเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่แน่ใจว่าคุณกำลังถูกทำร้ายอยู่หรือเปล่า ให้ลองคุยกับครูแนะแนว ตัวอย่างรูปแบบของการทำร้ายได้แก่
    • การทำร้ายร่างกาย เช่น ตบ ต่อย กักขัง ใช้ไฟจี้ หรือทำร้ายร่างกายคุณในรูปแบบอื่นๆ
    • การทำร้ายจิตใจ เช่น เรียกด้วยคำหยาบคาย ทำให้อับอาย กล่าวโทษ และออกคำสั่งอย่างไม่สมเหตุสมผล
    • การทำร้ายทางเพศ เช่น ลูบไล้หรือสัมผัสอย่างไม่เหมาะสม ร่วมเพศ และกามกิจอื่นๆ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ฟื้นฟูความสัมพันธ์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยอมรับเรื่องราวในอดีต . การเจ็บแค้นพ่อแม่หรือตัวเองไม่ใช่วิธีฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ดี ดังนั้นการให้อภัยพ่อแม่ในเรื่องที่พวกเขาทำผิดพลาดจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด และคุณก็อาจจะอยากให้อภัยตัวเองเรื่องที่คุณตอบโต้พ่อแม่อย่างไม่ให้เกียรติเวลาที่พวกเขาทำผิดพลาดด้วย
    • จำไว้ว่าการให้อภัยไม่ได้เป็นเรื่องของอีกฝ่าย แต่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีด้านอารมณ์ของคุณเอง [9] การให้อภัยพ่อแม่เป็นการเลือกที่จะทิ้งความโกรธที่คุณมีต่อพ่อแม่ แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่พ่อแม่พูดหรือทำกับคุณเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ [10]
    • ในการให้อภัยใครสักคนนั้น คุณจะต้องตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่าคุณจะปล่อยความโกรธที่อยู่ในตัวคุณออกไป ซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ก็คือการเขียนจดหมายถึงพ่อแม่ที่คุณจะไม่ได้ส่งมันจริงๆ ในจดหมายให้เขียนความรู้สึกของคุณอย่างตรงไปตรงมาว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมคุณถึงโกรธ และคุณคิดว่าทำไมพ่อแม่ถึงทำแบบนี้ [11] จากนั้นให้จบจดหมายด้วยการเขียนประมาณว่า “หนูยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับหนูไม่ได้ แต่หนูก็เลือกที่จะปลดปล่อยความโกรธเรื่องนี้ออกไป หนูให้อภัยพ่อกับแม่ค่ะ” หรือคุณจะพูดข้อความนี้กับตัวเองดังๆ ก็ได้
  2. คุณต้องบอกพ่อแม่ว่าคุณรู้สึกอย่างไรและทำไมคุณถึงตีตัวออกห่างตั้งแต่แรก เพราะพ่อแม่จะไม่มีทางแก้ปัญหาได้เลยถ้าเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีปัญหาเกิดขึ้น อย่าแสดงการกล่าวโทษหรือไม่ให้ความเคารพ บอกพวกเขาว่าคุณรู้สึกอย่างไร แต่ไม่ต้องพูดว่าพวกเขาทำอะไรไว้บ้าง
    • แทนที่จะพูดว่า “พ่อแม่พรากสิทธิ์ในความเป็นมนุษย์ของหนูไป” ให้พูดในเชิงที่เป็นลบน้อยกว่าอย่างเช่น “หนูรู้สึกว่าหนูไม่มีสิทธิ์ที่จะเป็นตัวเองด้วยซ้ำ”
  3. กำหนดขอบเขตที่ชัดเจนเพื่อตัวคุณเองและพ่อแม่. พอคุณเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับพ่อแม่แล้ว คุณก็ต้องเลี่ยงไม่ให้สถานการณ์มันกลับไปเป็นอีหรอบเดิม ตัดสินใจล่วงหน้าว่าการตัดสินใจเรื่องอะไรบ้างที่พ่อแม่เข้ามายุ่งได้ และเรื่องอะไรบ้างที่ไม่ได้ นอกจากนี้ก็ให้ตั้งขอบเขตให้พ่อแม่ด้วยว่าการตัดสินใจในเรื่องไหนของพ่อแม่ที่คุณเข้าไปยุ่งได้ หรือคุณจะขออะไรจากพ่อแม่ได้บ้าง [12]
    • เช่น คุณอาจจะตัดสินใจว่าคุณจะปรึกษาพ่อแม่ในเรื่องการเลือกเส้นทางอาชีพที่สำคัญๆ เช่น จะเรียนต่อมหาวิทยาลัยไหนหรือจะตอบรับเข้าทำงานตามที่ได้ดีไหม แต่พ่อแม่จะต้องไม่เข้ามายุ่งในเรื่องการตัดสินใจเรื่องส่วนตัว เช่น คุณจะคบกับใครหรือจะแต่งงานกับใคร
    • เช่นเดียวกันคือคุณอาจจะปฏิเสธไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาบางอย่างที่พ่อแม่ลากคุณไปเอี่ยวด้วย เช่น ปัญหาเรื่องความรัก แต่คุณอาจตัดสินใจที่จะให้ความช่วยเหลือถ้าพ่อแม่มีปัญหาสุขภาพใหญ่ๆ เช่น มะเร็งหรือปัญหาเรื่องหัวใจ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

รักษาขอบเขต

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอคุณกำหนดขอบเขตขึ้นมาแล้ว คุณก็ต้องเคารพขอบเขตนั้น คุณไม่สามารถคาดหวังให้พ่อแม่เคารพพื้นที่ส่วนตัวและขอบเขตของคุณได้โดยที่คุณเองกลับไม่เคารพพื้นที่และขอบเขตของพ่อแม่ ถ้าคุณมีปัญหากับขอบเขตที่กำหนดขึ้นมา ให้พูดคุยเรื่องนี้กันอย่างเปิดใจกับพ่อแม่และหาทางแก้ปัญหา [13]
    • เวลามีปัญหาเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ของคุณกับพ่อแม่ การใช้คำพูดที่บอกถึงหน้าที่ของแต่ละฝ่ายกันก็อาจช่วยคุณได้ [14] ลองพูดประมาณว่า “หนูเคารพขอบเขตของพ่อแม่นะคะ แต่บางครั้งหนูก็รู้สึกว่าพ่อกับแม่ไม่ได้เคารพขอบเขตของหนู แล้วเราจะทำยังไงเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ในสิ่งที่ต้องการดีคะ”
  2. พูดถึงการละเมิดสิทธิ์ในการตัดสินใจเรื่องส่วนตัวของคุณ. ถ้าพ่อแม่ก้าวข้ามขอบเขตของคุณ คุณจะต้องบอกให้พวกเขาทราบ ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องโกรธหรือไม่พอใจ บอกพ่อแม่ด้วยความเคารพและใจเย็นๆ ว่าพวกเขาล้ำเส้นของคุณและขอให้พวกเขาหยุด ถ้าพวกเขาเคารพคุณจริงๆ พวกเขาจะต้องให้พื้นที่แก่คุณแน่นอน [15]
    • การพูดติดตลกก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการรับมือกับคนที่ชอบบงการคนอื่น [16] เช่น ถ้าพ่อแม่วิจารณ์เรื่องเส้นทางอาชีพของคุณอยู่บ่อยๆ ก็อาจจะลองพูดตลกกับเรื่องนี้ด้วยการพูดว่า “อย่าลืมนะ แม่ไม่ชอบอาชีพนี้ เข้าใจแล้วค่ะ มีอะไรอีกไหมคะแม่”
  3. ถ้าอะไรๆ เริ่ม “กลับไปเป็นเหมือนเดิม” คุณก็อาจจะต้องใช้เวลากับพ่อแม่ให้น้อยลงอีกครั้ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณต้องตัดขาดกับพ่อแม่ในทุกๆ ด้าน เพียงแต่มันมักจะหมายความว่าอะไรๆ มันเริ่มใกล้ชิดกันมากเกินไปสำหรับเขา (หรือคุณเอง) จนไม่สามารถที่จะทำตามข้อตกลงเรื่องขอบเขตตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันไว้ได้ ห่างกันให้มากขึ้น แล้วค่อยลองใหม่ทีหลัง [17]
  4. ในบางสถานการณ์ปัญหามันอาจจะรุนแรงจนคุณกับพ่อแม่ต้องไปพบนักบำบัดด้วยกันเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ถ้าคุณพยายามรักษาขอบเขตแล้วแต่มันไม่ได้ผล ให้คุยกับพ่อแม่เรื่องการไปพบนักบำบัดด้วยกัน
    • ลองพูดว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างหนูกับพ่อแม่สำคัญกับหนูมากนะคะ แต่หนูคิดว่าเราอาจต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้ความสัมพันธ์ของเรามันดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ พ่อแม่อยากไปพบนักบำบัดกับหนูไหมคะ”
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เล่าปัญหาของคุณให้เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวฟัง พวกเขาอาจช่วยคุณได้
  • ลองคุยกับพ่อแม่ให้เข้าใจก่อนจะตีตัวออกห่าง เพราะมันอาจจะมีวิธีแก้ปัญหาที่ละมุนละม่อนกว่านี้
  • พยายามหาช่วงเวลาที่พ่อแม่อารมณ์ดีๆ หน่อย พยายามอย่าเข้าหาตอนที่พวกเขาเพิ่งกลับจากทำงาน ลองพูดว่า "แม่คะ พ่อคะ หนูรู้ว่าพ่อกับแม่ทำงานเหนื่อยเพื่อหนูแค่ไหนและหนูก็ซาบซึ้งมากค่ะ แต่ตอนนี้หนูอยากให้พ่อแม่ปล่อยให้หนูตัดสินใจเรื่องของตัวเองบ้าง เพราะหนูรู้สึกเหมือนเป็นเด็กอมมือเวลาที่หนูต้องให้พ่อแม่ตัดสินใจให้ เพราะฉะนั้นตอนนี้หนูขอตัดสินใจเรื่องของหนูเองได้ไหมคะ" แล้วก็เตรียมใจไว้ด้วยว่าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอาจจะปฏิเสธ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณถูกทำร้ายและรู้สึกว่าต้องการความช่วยเหลือโดยด่วน ให้ติดต่อฝ่ายคุ้มครองเด็กท้องถิ่น
  • อย่าคิดเอาเองว่าทุกคำแนะนำเป็นการ “ ควบคุม ” ตามปกติแล้วพ่อแม่มักจะคิดถึงประโยชน์ของลูกเป็นที่ตั้งเสมอ และพวกเขาก็มีประสบการณ์ชีวิตมากกว่าคุณด้วย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 35,279 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา